13 มีนาคม 2567

13 มีนาคม วันช้างไทย

#วันช้างไทย (๑๓ มีนาคม) 
ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต และถูกกล่าวถึงในเรื่องมีส่วนช่วยกู้บ้านกู้เมือง ซึ่งเรามักได้ยินเรื่องช้างอยู่บ่อยครั้ง เช่น ศึกระหว่างสมเด็จพระนเศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา เป็นต้น วันนี้แอดจึงหยิบเรื่อง #ช้างทรงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่คนไทยรู้จักในนาม #ช้างพังคีรีบัญชร เป็นช้างเพศเมียแต่มีงายาว ๑ ศอกงอกออกมา ซึ่งจะมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า #ขนาย (ตามความเชื่อกล่าวว่า...#ช้างตัวเมียที่มีขนายยาวออกมาจะมีความขลังกว่างาของช้างตัวผู้) ส่วนที่มาของช้างพังคีรีบัญชรกล่าวกันว่า...เมื่อตอนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่ในบริเวณวัดกองดินปืน พระองค์ได้ตั้งจิตอธิษฐานบอกกล่าวแก่เทพยดาว่า...ประสงค์ช้างตัวประเสริฐสำหรับใช้ตีเมืองจันทน์ ต่อมาจึงได้ช้างเชือกหนึ่งซึ่งช้างตัวนั้นก็คือ “พังคีรีบัญชร”
.
เรื่องช้างทรงของพระเจ้าตากตอนมาตีเมืองจันทบุรี ถูกบันทึกไว้ในตอน #แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สงครามครั้งที่ ๒๔ คราวเสียกรุงฯ ครั้งหลังปีกุน (พ.ศ. ๒๓๑๐) หน้า ๒๑๗ - ๒๕๐ ของเล่มที่ ๑๑ โดยมีใจความที่กล่าวถึงช้างทรงของพระเจ้าตากความว่า “...จึงเรียกนายทัพนายกองมาสั่งว่า…เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือแลต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว...ครั้นเวลาค่ำพระเจ้าตากจึงกะหน้าที่ให้ทหารไทย-จีนลอบไปซุ่มอยู่มิให้ชาวเมืองรู้ตัว สั่งให้คอยฟังเสียงปืนสัญญาเข้าปล้นเมืองให้พร้อมกัน...ครั้นตระเตรียมพร้อมเสร็จพอได้ฤกษ์เวลาดึก ๓ นาฬิกา พระเจ้าตากก็ทรงคอช้างพังคีรีบัญชร แลให้ยิงปืนสัญญาบอกพวกทหารให้เข้าปล้นพร้อมกันทุกหน้าที่ ส่วนพระเจ้าตากก็ขับช้างที่นั่งเข้าพังประตูเมือง ขณะนั้นพวกชาวเมืองซึ่งรักษาหน้าที่ยิงปืนใหญ่น้อยระดมมาเป็นอันมาก นายท้ายช้างที่นั่งเห็นลูกปืนพวกชาวเมืองหนานักเกรงจะมาถูกพระเจ้าตาก จึงเกี่ยวช้างที่นั่งให้ถอยออกมา พระเจ้าตากขัดพระทัยจึงชักพระแสงหันมาจะฟัน นายท้ายช้างตกใจร้องทูลขอชีวิตไว้ แลไสช้างกลับเข้ารื้อบานประตูเมืองพังลง...” (พระเจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ ปีกุน (พ.ศ. ๒๓๑๐) หลังเสียกรุงศรีอยุธยาได้ราว ๒ เดือน)
.
♦Thai Elephant Day (March 13) makes admin think of King Taksin the Great's elephants. (Illustration: Thai painting of King Taksin the Great riding an elephant to break through the gates of Chanthaburi.)
.
♦Elephants have been considered a respectable animal in Thailand since ancient times and are said to have helped save the country in times of war from enemies because kings or generals would ride elephants in battle. Thai people often hear stories about elephants, such as the battle on the back of an elephant between King Naresuan the Great of Ayutthaya (Thailand) and Phra Maha Uparaja or Mingyi Swa of Hongsawadee (Burma), etc.
.
♦So the admin picked up the story of King Taksin the Great's elephant, known to Thai people as the Pang Khiri Banchorn elephant, it is a female elephant but has 1 cubit long tusks growing out of it, which is called "Khanai" in Thai. According to belief, female elephants with long "Khanai" are more powerful than the tusks of male elephants. As for the origin of the Pang Khiri Banchorn elephant, it is said that when King Taksin the Great was in the area of Wat Kong Din Puen, King Taksin the Great prayed for blessings from the gods and angels that he wanted a skilled and good elephant for use in the war with Chan city. Later he obtained an elephant, which was "Phang Khiri Banchorn".
.
♦King Taksin the Great rides an elephant at Phang Khiri Banchorn until were able to destroy the city gate of Chanthaburi until it was destroyed and was able to defeat the city of Chanthaburi. King Taksin the Great was a hero who helped save the country from the Burmese.
.
📌บทความนี้แปลโดยเพจ Love Thai Culture
.

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...