15 พฤษภาคม 2567

สมัยก่อน...#ดอยอ่างขาง จากไร่ฝิ่น

สมัยก่อน...#ดอยอ่างขาง ได้ชื่อว่าเป็นดงฝิ่น ในหลวง #รัชกาลที่9 อยากให้ฝิ่นหมดไปจากประเทศ เพราะทรง เห็นว่าไม่ใช่แนวทางการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน ต่อมาใน ปีพ.ศ.2512 ทรงมีแนวพระราชดำริให้ประชาชนช่วย เหลือตัวเอง ด้วยการนำพืชผักทางการเกษตรไปแนะนำ ชาวบ้าน ทรงทดลองปลูกและพัฒนาสายพันธุ์ผลผลิตไป เรื่อยๆ จนมี สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ขึ้นจนถึง ปัจจุบัน
ชาวบ้านที่นั่นก็เลิกปลูกฝิ่นถาวร หันมาปลูกพืชผัก ทางการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จนมีรายได้ มหาศาล

#น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
#ในหลวงรัชกาลที่9 #ในหลวง #ภูบดินทร์
#เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #ตามรอยพ่อ

12 พฤษภาคม 2567

ตำนานเมืองสทิงพระ

#ตำนานเมืองสทิงพระ #เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลาและเจ้าฟ้าชายทนทกุมาร #หรือนี่พระทองนางนาคภาคใต้รึป่าว?
บ้านเมืองเก่าแก่มาจากครั้งโบราณกาล มีวัดวาอารามโบราณมากมาย ตั้งอยู่แทบทุกตารางนิ้ว เปรียบได้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนอีกเมืองหนึ่ง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งในรูปแบบโบราณสถานและโบราณวัตถุ 

ตามนิทาน ตำนาน และเรื่องเล่าที่สืบทอดมา เรามักจะพูดถึงเรื่องการนำพระธาตุและพระพุทธรูปมาทิ้งไว้ในแม่น้ำ จึงเรียกว่า "จะทิ้งพระ" และเพี้ยนมาเป็น "สทิงพระ" แต่น้อยคนจะรู้ว่า มีอีกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารและคำสันนิษฐานทางโบราณวัตถุ เช่น ซากกำแพงเมือง ว่าเมืองแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งในเมืองพัทลุงเก่า ส่วนคำว่า "จะทิ้งพระ" จากหลักฐานและเอกสารเก่าแก่ ได้เขียนไว้ว่า ชื่อ "จะทิ้งพระ" มาจากภาษาทมิฬโบราณ เรียกว่าเมืองแห่งนี้ว่า “ฉทิงพระ” หรือ “จทิงพระ” ที่แปลว่า "แม่น้ำพระ" หรือ "คลองพระ" นั่นเอง (จทิง แปลว่า แม่น้ำ) จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่? แต่ทุกวันนี้ คนสทิงพระก็แทนตัวเองว่าเป็นคน "สทิงพระ" ไปแล้ว

#ตำนานเชิงนิทาน
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเจ้าฟ้าหญิงเหมชาลา และ เจ้าฟ้าชายทนทกุมาร เป็นพระธิดาและพระโอรส ของพระเจ้าโกสีหราชกับพระนางมหาเทวี ครองเมืองนครทันตะปุระ (ประเทศอินเดีย) ขณะนั้นเมืองทันตะปุระ เกิดศึกสงคราม พระเจ้าโกสีหราชแพ้สงคราม ทรงสวรรคตในสนามรบ เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าฟ้าชายทนทกุมาร จึงได้นำพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า หลบหนีออกจากเมืองทันตะปุระ ตามคำสั่งของพระชนก ลงเรือสำเภามุ่งสู่เกาะลังกา (ประเทศศรีลังกา) แล้วเดินทางผ่านหมู่เกาะอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย เข้าสู่ช่องแคบมะละกา มาออกอ่าวไทย จุดมุ่งหมายเพื่อนำพระบรมธาตุ ไปบรรจุพระเจดีย์ที่เมืองนครศรีธรรมราช...

เมื่อล่องเรือสำเภามาถึงท่า เมืองพาราณศรี (เมืองสทิงปุระ ซึ่งเป็นเมืองพัทลุงเก่า) ตรงหาดมหาราชในปัจจุบัน เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลา และเจ้าฟ้าชายทนทกุมาร ได้แวะจอดเรือเพื่อหาน้ำจืดดื่ม และสรงน้ำ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จขึ้นมาพักผ่อน ณ วัดแห่งนี้ และวางพระธาตุไว้ที่ฐานเจดีย์ เมื่อพักผ่อนหายจากเหน็ดเหนื่อย ทรงเดินทางกลับขึ้นเรือสำเภา ต่อไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ทั้งสองพระองค์ก็ลืมพระธาตุไว้...

เจ้าฟ้าหญิงเหมชาลา ตกพระทัย จึงถามเจ้าฟ้าชายทนทกุมาร น้องชายว่า... "น้องจะทิ้งพระธาตุเสียแล้วหรือ"
คำ ๆ นี้เลยกลายเป็นชื่อเรียกสถานที่ วัด บ้าน ชุมชน สืบต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันว่า...จะทิ้งพระ

#พงศาวดารภาค15
จะทิ้งพระ กร่อนมาจากคำว่า สทิงพระ สทิงปุระ หรือ สทิงพาราณศรี เป็นชื่อเมืองโบราณสองฝั่งทะเล ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน บนคาบสมุทรสทิงพระ เป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงในอดีต ในหนังสือประชุมพงศาวดารภาค 15 บันทึกไว้ว่า...เมืองพัทลุงได้ตั้งมาก่อนสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่ที่ สทิงพารณสี เจ้าเมืองชื่อพระยากรงทอง ได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ และก่อพระเชตุพนวิหารขึ้น พร้อมกับวัดเขียนบางแก้วและวัดสทิงปุระ

Legend of Sathing Phra city 
Princess Hemachala and Prince Thanatakumar. It is a story of Phra Thong Nang Nak from southern region of Thailand or not?

The old city comes from ancient times. There are many ancient temples located on almost every square inch. It can be compared to another city as the center of Buddhism. There is a lot of historical evidence. both in the form of ancient sites and antiques.

According to stories, legends, and stories that have been passed down We often talk about leaving relics and Buddha images in the river, so it is called "Ja Thing Phra" and is changed to "Sathing Phra", but few people know that. There is another historical evidence that were recorded in the annals and hypothesized by antiquities such as the remains of the city wall that this city was a part of the old city of Phatthalung, as for the word "will leave the Buddha" from evidence and old documents It is written that the name "Cha Thing Phra" comes from the ancient Tamil language. This city is called "Chthing Phra" or "Chthing Phra" which means "River Phra" or "Khlong Phra" (Chthing means river). Is it true or not? But today, Sathing Phra people refer to themselves as "Sathing Phra" people.

Legendary tales
Once upon a time There is Princess Hemchala and Prince Thanatakumar. They are the daughter and son. of King Kosiharaja and Queen Mahadevi Dominated the city of Tantapur. (India) at that time the city of Tantapur A war broke out. King Kosiharaja lost the war. He died on the battlefield. Princess Hemchala and Prince Thanathakumar Therefore, the relics of the Lord Buddha were brought Escape from Tantapur City according to the orders of Phra Chanok Board a junk boat heading to Lanka Island. (Sri Lanka) and then travel through the Andaman Islands. in the Indian Ocean Entering the Malacca Strait and exiting the Gulf of Thailand. The aim is to bring the Buddha's relics. Going to place the pagoda in Nakhon Si Thammarat city...

When the junk arrived at the port Varanasi City (Sathingpura city which is the old city of Phatthalung) at present Maharat Beach Princess Hemchala and Prince Thanathakumar Stopped by a boat to find fresh water to drink and bathe. Both of them came up to rest at this temple and placed the relics at the base of the pagoda. When resting and recovering from tiredness He returned to board the junk. Continue to Nakhon Si Thammarat city. Both of them forgot the relics...

Princess Hemchala was shocked and asked Prince Thanathakumar. My younger brother said... "Are you going to throw away the relics?"
This word has become a name for a place, a temple, a house, a community, continuing until the present... to abandon the Buddha image.

Chronicles Part 15
To leave the Buddha amulet comes from the word Sathing Phra, Sathing Pura or Sathing Paranasri, which is the name of an ancient city on both sides of the sea. that had prosperity before On the Sathing Phra Peninsula It is the location of the city of Phatthalung in the past. In the meeting book of the Chronicles, Part 15, it is recorded that...the city of Patthalung was established before Sukhothai. The city is located at Sathing Pharanasi, the governor's name is Phraya Krong Thong. Phra Mahathat Chedi was built and built Phra Chetuphon Viharn along with Khian Bang Kaew Temple and Sathingpura Temple.

ที่มา
#SONGKHLA #THAILAND 🇹🇭

10 พฤษภาคม 2567

สงสัยกันไหม? พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เหตุใดใช้พระโค หรือ “วัว” เป็นผู้ทำน

สงสัยกันไหม? พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เหตุใดใช้พระโค หรือ “วัว” เป็นผู้ทำนาย ทั้งที่สังคมไทยแต่โบราณกาลใช้ “ควาย” ทำนามาตลอด
.
ในเมื่อควายเกี่ยวข้องกับการทำนาโดยตรง ทำไมไม่ให้สิทธิควายในพิธีสำคัญของวัฒนธรรมเกษตรบ้านเรา เรื่องนี้อธิบายได้จากรากฐานทางความเชื่อที่ประกอบกันเป็นพระราชพิธีพืชมงคล
.
อนึ่ง พระราชพิธีนี้เป็นประเพณีสำคัญของไทยมาแต่โบราณ จัดทำขึ้นเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการทำเกษตร อาชีพหลักของคนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า พืชพันธุ์ธัญญาหารจะเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์
.
รากฐานของพระราชพิธีพืชมงคลมาจากความเชื่อในพุทธศาสนา ผสมผสานกับพราหมณ์-ฮินดู และความเชื่อเรื่องผี รากเหง้าทางความคิดอันเก่าแก่ในสังคมไทย ข้อสังเกตคือ ในพิธีแรกนาหรือทำนาตาแฮกที่ชาวบ้านทำกันเอง จะใช้ควายกันเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้วัวอย่างในพระราชพิธี
.
กล่าวได้ว่า เหตุผลหลัก ๆ ที่ “วัว” เป็นพระเอก ส่วน “ควาย” ถูกเมิน ในพระราชพิธีพืชมงคล เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู...
.
อ่านต่อ : (https://www.silpa-mag.com/culture/article_132329)
.
ภาพ : “พระโคแรกนาขวัญ” ณ ทุ่งพระเมรุ หรือสนามหลวง สมัยรัชกาลที่ 4 (จากเพจ : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) และควายไทย (ภาพโดย Rutpratheep Nilpechr ใน Pexels)
.
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม
#พระราชพิธีพืชมงคล #แรกนาขวัญ #พืชมงคล #พระโค #SilpaCulture #ศิลปวัฒนธรรม #SilpaMag

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...