ในเมื่อควายเกี่ยวข้องกับการทำนาโดยตรง ทำไมไม่ให้สิทธิควายในพิธีสำคัญของวัฒนธรรมเกษตรบ้านเรา เรื่องนี้อธิบายได้จากรากฐานทางความเชื่อที่ประกอบกันเป็นพระราชพิธีพืชมงคล
.
อนึ่ง พระราชพิธีนี้เป็นประเพณีสำคัญของไทยมาแต่โบราณ จัดทำขึ้นเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการทำเกษตร อาชีพหลักของคนในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า พืชพันธุ์ธัญญาหารจะเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์
.
รากฐานของพระราชพิธีพืชมงคลมาจากความเชื่อในพุทธศาสนา ผสมผสานกับพราหมณ์-ฮินดู และความเชื่อเรื่องผี รากเหง้าทางความคิดอันเก่าแก่ในสังคมไทย ข้อสังเกตคือ ในพิธีแรกนาหรือทำนาตาแฮกที่ชาวบ้านทำกันเอง จะใช้ควายกันเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้วัวอย่างในพระราชพิธี
.
กล่าวได้ว่า เหตุผลหลัก ๆ ที่ “วัว” เป็นพระเอก ส่วน “ควาย” ถูกเมิน ในพระราชพิธีพืชมงคล เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและความเชื่อจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู...
.
อ่านต่อ : (https://www.silpa-mag.com/culture/article_132329)
.
ภาพ : “พระโคแรกนาขวัญ” ณ ทุ่งพระเมรุ หรือสนามหลวง สมัยรัชกาลที่ 4 (จากเพจ : National Museum Bangkok : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) และควายไทย (ภาพโดย Rutpratheep Nilpechr ใน Pexels)
.
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม
#พระราชพิธีพืชมงคล #แรกนาขวัญ #พืชมงคล #พระโค #SilpaCulture #ศิลปวัฒนธรรม #SilpaMag
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น