15 มิถุนายน 2562
การนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงปู่โต๊ะ แห่งวัดประดู่ฉิมพลี
ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะท่านจะสอนวิธีนั่งเจริญกรรมฐาน วิปัสสนาให้แก่ศิษย์ ท่านจะได้ศิษย์แต่ละคนที่มีความประสงค์จะถวายตัวเป็นศิษย์ทางนั่งเจริญกรรมฐานวิปัสสนา เพื่อแสวงหาความสงบทางใจ จัดหาดอกไม้ธูป เทียน มาสักการะท่านเป็นการขึ้นครูหรือเรียกว่าขอขันธ์๕จากท่านก่อน และท่านจะนัดให้มาในวันพฤหัส โดยแต่ละคนต้องนำ
๑.ธูป ๕ ดอก
๒.เทียนขาว ๕ เล่ม
๓.ดอกไม้ ๕ กระทง
๔.ข้าวตอก ๕ กระทง
เมื่อมากันพร้อมแล้ว ท่านจะนำเข้าสู่พระอุโบสถและเริ่มสอนวิธีนั่งปฎิบัติเจริญกรรมฐานวิปัสสนาต่อไปนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ นิจจะสีละวะเสนะสาธุกัง อัปปมาเทนะ รกฺขิตัพพานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลัง วิโสธะเย
จุดธูปเทียนได้………………………………………..
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ(กราบ) ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ(กราบ) สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ(กราบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า คุณบิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ข้าพเจ้าจะขออย่างพระลักษณะปิติทั้ง๕ จงมาบังเกิดใน จักขุทวาร โสตะทวาร ฆานะทวาร ชิวหาทวาร กายะทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิด นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ(กราบ)
(หลวงปู่บอกวิธีนั่งเจริญสมาธิ)
เท้าขวาทับเท้าซ้าย…มือขวาทับมือซ้าย…ตั้งตัวให้ตรง…แล้วมองดูพระประธาน…ผิวพรรณวรรณ สัณฐาน ท่านเป็นอย่างไร…หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง ลืมตาเห็นผิวพรรณ สัณฐานเป็นอย่างไร แม้หลับตาก็เห็นผิวพรรณวรรณท่านเหมือนอย่างกับลืมตา ทำอย่างนั้นไป
น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา…น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย…น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม…น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก…น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ…น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว…ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว…ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว
ภาวนาว่า”พุทโธ”ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…
ภาวนาว่า”พุทโธ”ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…(ให้เวลาปฎิบัติพอสมควรแล้ว หลวงปู่จะสอนและแนะแนวทางปฎิบัติ)
ต่อไปนี้ จะแนะแนวทางของการปฎิบัติในกรรมฐาน กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ สมถะกรรมฐานประการหนึ่ง วิปัสสนากรมมฐานประการหนึ่ง สมถะเรียกว่าความสงบ วิปัสสนา ปัญญาเห็นแจ้ง สมถะ สงบจากอะไร “นิวรณ์๕” มีอะไรบ้าง กามฉันทะ ความใคร่ในกาม กามคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส ดผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่กามเรียกว่า กามคุณ๕ เราพึงสังเกตุดูว่า จิตของเรามันตกอยู่ในกามตัวใดบ้าง เมื่อเรารู้ว่า อ้อ มันติดอยู่ที่ความพอใจ ในรูปก็ดี ในเสียงก็ดี ในกลิ่นก็ดี ในสัมผัสก็ดี ในรสก็ดี เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม ความสงบหาเกิดขึ้นกับเราไม่ เพราะเหตุใด เพราะจิตมันเข้าไปอยู่ในกาม ความสงบไม่มี เมื่อความสงบไม่มีเรียกว่าอะไรไม่ใช่สมถะไม่ใช่สมถะ แล้วเรียกว่าอะไร จิตฟุ้งซ่าน ไปในรูปบ้าง ไปในเสียงบ้าง ไปในกลิ่นบ้าง ไปในรสบ้าง ไปในสัมผัสบ้าง จิตตกอยู่ในกาม ความสงบหาเกิดขึ้นได้ไม่ สมถะกรรมฐาน ถ้าความสงบไม่มีเรียกว่าสมถะไม่ได้ จิตมันตกอยู่ในอำนาจของกามคุณแล้ว
เรามีวิธีอะไรที่จะพึงแก้ ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง๕นั้นได้
มีทางแก้ พิจารณา กายะคะตานุสติ ก็ได้ หรืออสุภะกรรมฐานก็ได้ เพื่อแก้ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง๕
ไอ้ที่จิตมันตกไปในกามคุณ เพราะเราเห็นผิดว่าเป็นไปตามจริตของจิตที่มันพอใจ มันชอบรูป เออ!รูปดี มันชอบเสียง เออ!เสียงเพราะดี ชอบกลิ่น เออ!หอมดี ชอบรส รสอย่างนั้น รสอย่างนี้ ชอบสัมผัส การถูกต้องนิ่มนวลอะไรๆเหล่านี้ ธรรมารมณ์อารมณ์พอใจ ไม่พอใจเพิ่มขึ้น แก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ไม่แน่นอน มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มันมาได้อย่างไร อะไรเป็นตัวทุกข์ชาติ ชาติเป็นตัวทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ นี่เป็นตัวทุกข์ ไหนบ่นกันอยู่เรื่อยๆว่า เป็นทุกข์จริง ฉันนี่เป็นทุกข์จริง แล้วเราก็เข้าไปหาทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรานะ เราไม่ต้องการความทุกข์ เราต้องการความสุข แต่ทำไมจิตมันตกไปเองในเรื่องทุกข์อย่างนั้น ทุกข์อย่างนี้ ทุกข์อย่างโน้น ทุกข์ร้อยแปดพันเก้า กิเลส กิเลสกรรมวิบาก กิเลสความใคร่ ใคร่ไปในเรื่องต่างๆ กรรมแปลว่ากระทำ กิเลสกรรม กระทำดี กระทำชั่ว วิบาก เราทำดี ได้รับผลดี เราทำชั่ว ได้รับหลชั่ว พวกนี้เอง ทำให้เราเห็นไปในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม มันก็เพลินในเรื่องความเห็นผิด มันเพลินไป ความเพลินที่เราเพลินเลยเผลอ เผลอไป เผลอไป เผลอไปเลยหลง หลงว่าอย่างนี้ดี หลงไปหมด คนที่หลงนั่นเป็นเพราะอะไร
ปราศจากสติ คนปราศจากสติ ปราศจากสติ เขาเรียกว่าอะไร คนประมาท อ้อ!เรานี่เป็นคนประมาทนะ ทำเป็นคนไม่ประมาทเสียบ้างซี เอ้อ! ทำไง
ทำสมถะกรรมฐานนี่ละ เพื่อความไม่ประมาท เพื่อความสงบจากกาม แล้วรู้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความสงบ รู้ได้ มีสติเข้าไปคุมจิต เมื่อเรามีสติเข้าไปคุมจิต เราจะรู้ว่า จิตมีอะไรเป็นอารมณ์ มีดีกับชั่ว อะไรดี กุศลจิต นี่ดี เป็นคนฉลาดเกิดขึ้นในจิตของตนเอง
รู้เหตุผล นี่ควร นี่ไม่ควร เกิดปัญญาขี้นในจิต อกุศลจิต นี่จิตโง่ จิตไม่ฉลาด เรียกว่าอกุศลจิต เกิดขึ้นรู้ไม่เท่าทัน อะไรเป็นอารมณ์ของจิต กุศลจิต อกุศลจิต พุทโธ นี่เรียกว่ากุศลจิต มีประโยชน์อะไร ภาวนาพุทโธ มีประโยชน์อะไร แล้วทำไมมีตั้งหลายอย่างหนัก เดี๋ยวก็ให้ตั้ง เดี๋ยวก็ไม่ให้ตั้ง ตั้งอย่างนั้น ตั้งอย่างนี้ ก็เพื่อทดลอง สติกับจิต ให้รู้ว่า ตั้งที่ตรงนั้นน่ะ จิตใจมันเป็นอย่างไรไม่ทราบ มันยังส่ายออกออกไปนอกพุทโธ หรือว่าอยู่ในพุทโธ
เมื่อมันส่ายออกออกไปนอกพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร สติคุมไว้ เมื่อมันอยู่ในพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร ความสุขอยู่นอกพุทโธ ได้ผลอย่างไรบ้าง ในเรื่องการปฎิบัติ จิตมันอยู่ในพุทโธมันได้ผลอะไรบ้าง ในการปฎิบัติของแต่ละท่าน ละท่าน มันเป็นอย่างงั้น พุทโธนี่เป็นอารมณ์ของจิต สติ จิต แล้วก็อารมณ์ จะต้องมีสติคุมจิตเสมอ คุมอะไร เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่โน้น เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่นี่ เพราะจริตของคน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบโยกย้าย ดี โยกย้าย ได้เห็นสิ่งอะไรผิดแปลก แปลก ของที่เราไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน เราก็เห็น ก็ได้ยิน ถิ่นที่เราไม่เคยไป เอ้อ! ไปได้ ไปได้ดูของแปลกๆ เมื่อไปดูของแปลกๆน่ะ มันมีประโยชน์อะไรสำหรับรู้ สำหรับเห็น มันเป็นประโยชน์ทางโลกหรือว่าประโยชน์ทางธรรม หรือเอาทางโลกมาเปรียบเทียบกับทางธรรม หรือเอาทางธรรมมาเปรียบเทียบกับทางโลก บางคนชอบอย่างนั้น บางคนไม่ไปอยู่เฉยๆ อยู่ที่เดียวดีกว่า มันไม่ยุ่ง อยู่ที่เดียวอย่างงั้นก็มี ไม่อยากเที่ยวไปโน้น ไม่อยากเที่ยวไปนี่ อยู่ที่ไหนก็อยากอยู่ที่นั่นมันสบาย มีศีล มีจิตที่ตั้ง เราก็ตั้งดู มันสบายที่ไหน อยู่ที่นั่นก็ได้ เห็นว่ามันไม่สบายก็ย้ายไปอีก ย้ายไปหาความสุขเกิดจากจิตใจของเรา ทำไป ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ต้องมีอย่างนี้ มีพระปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ปริยัติเป็นข้อที่ดี ว่าพุทโธเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็นำเอาพุทโธมาปฎิบัติ เรียกว่าธรรม เราภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้สังเกตอยู่ที่ใจ ใจมันเลื่อมใสในพุทโธ บางคราวมันไม่เลื่อมใสในเครื่องพุทโธ เมื่อภาวนาพุทโธเมื่อไหร่มันไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เมื่อไม่เห็นด้วย เราจะต้องทำ ต้องแก้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ ปล่อยไปใหญ่ ต้องแก้ ต้องอ้อนวอน ชวนให้ทำงาน ชวนจิตให้มาทำงานว่า ไอ้งานที่ทำๆกันน่ะ ฉันเคยทำเหมือนกันน่ะ ไอ้งานเหล่านั้นน่ะ แต่มันได้ประโยชน์น้อย งานที่ฉันได้ใหม่ได้ประโยชน์มาก เชิญมาลองทำดู ดูฉันเป็นตัวอย่าง เดี๋ยวนี้ฉันทำงานอีกอย่างหนึ่งแล้ว รู้สึกสบาย
ท่านผู้ใหญ่ก็ชอบว่า ทำงานดี ผู้น้อยก็ชอบว่า ดี ท่านอัธยาศัยใจคอ วางตนเป็นกลางๆ ไม่เข้าไม่ออก ท่านถือเป็นกันเอง เออ! งานดีแล้วท่านเสนองานการของเราที่ทำ เสนอผู้หลักผู้ใหญ่ว่า นาย ก. เขาทำยังงั้นๆได้รับความชมเชย หรือขึ้นเงินดาวเงินเดือนอะไรให้นี่ล่ะ ฉันทำอย่างงี้ได้เพราะกิจการที่ทำชิ้นใหม่
เราก็ชวนเขา เอ้า!ไปวัดประดู่ ไปทำงานที่วัดประดู่ หลวงปู่โต๊ะ ท่านสอนให้ฉันทำงานขึ้นใหม่ ไปซี เราก็ไป เราก็มาขึ้นทำกันนี่ละ บางคราวก็เห็นด้วยที่นั่งภาวนา บางคราวไม่เห็นด้วย เพราะอะไร
เพราะงานมันบีบคั้น นั่งไปนานๆหน่อย เมื่อย ปวดที่นั่น เจ็บที่นี่ ยุงกัดที่โน่น ยุงกัดที่นี่ ง่วงเหงาหาวนอนไป จิตใจไม่สงบ นั่งอยู่ที่นี่ คิดไปที่โน่น ต่อไปถึงที่นั่น อะไรอีก จะถามว่า นั่นแกคิดเรื่องอะไรอยู่บ้างไหม ที่ไปนั่งภาวนานับไม่ถ้วน อะไรต่ออะไร มันเข้ามาวุ่นวายกันใหญ่ ไม่เห็นจะมีท่ามีทาง อย่า อย่า อย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่งใจร้อนต้องอ้อนวอนนิดหน่อย เพราะงานเขายังไม่เคยทำ เขาไม่เคยทำงานชิ้นนี้ ต้องอ้อนวอนหน่อย ให้รู้ว่า ดีนะ งานนี้น่ะดี ทำไปเหอะ ค่อยๆทำไป ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ถึงศรัทธาเวลาไหน ก็เวลานั้นได้ จะถามว่าทำยังไง ยืนก็ทำได้ นอนก็ทำได้ นั่งก็ทำได้ เดินก็ทำได้ มันอยู่ที่การกระทำ เออลองดูซี นั่งก็ทำ ไม่ต้องมาก ๕มินิส๑๐มินิส หรือจะมีศรัทธายิ่งไปกว่านั้นก็ได้ นั่งกำหนดจิตว่า เดี๋ยวนี้จิตมันเป็นอย่างไร
จิตมันเป็นอย่างไร ทีนี้จิตมันก็เชื่องช้า คุ้นกับงานการเข้า ทีหลังเราไม่ต้องเตือน มันเดินไปตามงานมราเรากะให้ทำ ไม่ต้องไปทำกันบ่อยๆ จำได้ก็เข้ามา อารมณ์อื่นๆก็เบาไป เบาไปแล้วเราก็รู้สึกแช่มชื่น จิตใจมันสมคบดี มันรู้เท่าทัน กิเลส ตัญหา อุปาทาน รู้เท่าทันเขา เย็นเข้า เ ย็นเข้า ไอ้พวกนั้นดับ ดับด้วยอะไร ดับด้วยศีล ดับด้วยสมาธิ ดับด้วยปัญญา เรียกง่ายๆเขาว่า”วิมุติ” หลุดไปเป็นครั้งเป็นคราว เป็นขณะ เป็นสมัย เป็นกาล หลุดไปได้เราเคยโกรธคนมากๆ ต่อไปโกรธน้อยลง เรามารู้ตัวว่า เอ๊ะ!ไอ้โกรธนี่ มันต้องเราก่อนซิ เราก่อน มันเผาเราก่อน แล้วมันจึงไปเผาคนอื่น แล้วก็เดือดร้อน ด้วยประการต่างๆ ลดลงเพราะเห็นโทษ ได้ที่โกรธหรือราคะอะไรนี่ เพราะความหลงของเรา เข้าใจว่ามันเป็นยังงั้นๆยังงั้นๆ ทีนี้ก็แก้ความหลง เขาเรียกว่า อวิชชา เราก็ทำ อวิชชานั่นน่ะ เป็นวิชชาขึ้น เมื่อมันเป็นวิชชา ความรู้มันก็ดีขึ้น ความโง่หมดไป ความเขลาหมดไป ความฉลาดก็เกิดขึ้นฉันใด การที่เรามาอบรมใจก็ฉันนั้น ต้องปลอบ ช่วยเหลือตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น การที่จะมาทำจิต ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ตั้งสติคุมจิต จิตก็มีอารมณ์ คือ พุทโธ ทำจิตตัวเอง จะนั่งได้นานเท่าไหร่ก็ตาม ที่ได้อธิบายมานี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้..
11 มิถุนายน 2562
แดนิพพาน
เมื่อเราเข้าสู่ความตระหนักรู้ขั้นสูงสุด หรือ รู้แจ้ง (นิพพาน) แล้วมันเป็นจุดสิ้นสุดของ
ชีวิตหรือไม่?...
"เมื่อคำทำนายที่ว่า หลักคำสอนในพุทธศาสนาจะถูกพิสูจน์ความจริงโดยนักวิทยาศาสตร์
และ จะกลับมาเป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในโลกยุคพลังงานใหม่"!!#
คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่า "นิพพาน" เป็นเรื่องเล่า เรื่องแต่ง เรื่องกุศโลบาย คนส่วนมาก
ก็เชื่อกันอย่างแคลงใจ แต่ในทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า "นิพพาน" เป็นเรื่องจริง!!
มิชิโอะ คากุ เป็นนักฟิสิกส์ และ นักดาราศาสตร์ระดับชั้นนำของโลก ที่เคยเขย่ารากฐาน
ของจักรวาลวิทยามาแล้วหลายครั้ง ตอนแรกนักฟิสิกส์ด้วยกันรับมันไม่ได้ กระทั่งไม่ถึง
สองทศวรรษมานี้เอง จึงได้รับการยอมรับอย่างแทบจะเป็นเอกฉันท์...
นั่นคือ การคาดการณ์ทางจักรวาลวิทยาบางประการ ที่มีข้อพิสูจน์บนสมการคณิตศาสตร์
ว่าด้วยทฤษฎีใยมหัศจรรย์และ ทฤษฎี แมททริกซ์ (string theory / M - theory) และ
ควอนตัม เมคานิกส์ รวมทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ คือ การพิสูจน์ได้ว่า
จักรวาลมีมิติหลากหลาย สสารดำรงอยู่ด้วยพลังงานที่ให้ความถี่ของการสั่นสั่นเทือน
(vibration) ในแต่ละมิติสั่นหยาบหรือละเอียดแตกต่างกัน และ แตกต่างจากจักรวาลที่
สั่นสะเทือนอย่างหยาบ ที่มี 4 มิติ ของเรา
จักรวาลนั้นมี 15 มิติ แต่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเท่าที่พิสูจน์ได้ในตอนนี้ตรวจพบแล้วมี 11
มิติ และ ...
มิชิโอะ บอกว่า มิติที่ 11 เป็นสภาวะนิพพาน (nirvarna) ที่มีคลื่นความสั่นสะเทือนความถี่
ที่ละเอียดอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับโลก 4 มิติ ของเรา
มิชิโอะ กากุ พิสูจน์ได้ว่าจักรวาลมีมากมาย (multiverses) อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยแต่ละจักรวาลจะมีลักษณะเหมือนกับของเหลว - ที่ยุบๆ พองๆ - หรือ ให้ฟองขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา มิชิโอะ บอกว่าจักรวาลถัดไปอาจอยู่ห่างเพียงหนึ่งมิลลิเมตรจากผิว (brane) จักรวาลของเรา แต่เรารับรู้ไม่ได้ เพราะมันอยู่เหนือ (4 มิติ) ของเรา..
มิชิโอะกล่าวว่า เวลานั้นไม่เคยมีอยู่จริง ทุกสรรพสิ่งที่เคยเกิดขึ้น หรือ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่
ล้วนแต่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนี้ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น "ก่อนหน้า" เพราะมันไม่มีก่อนหน้านี้
และ ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้น "หลังจาก" เพราะมันไม่มีอะไรหลังจากนี้ มีเพียงปัจจุบันขณะนี้
เสมอ
ฉะนั้น ดวงวิญญาณของมนุษย์จะคงที่อยู่เสมอ เพราะมันมีที่มาจากจิตวิญญาณดวงเดียว
เอง ที่แบ่งภาค แบ่งตัวเองมาเกิด แต่ถ้ามองจากสายตาของพวกเรา ในตอนนี้ และ ตอนนั้น มันก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอด
ฉะนั้น ดวงวิญญาณจึงสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองบทบาทของตัวเอง เป็นตัวแสดงได้
หลายร้อยหลายพันบุคคลิกในแต่ละภพชาติเกิดเป็นบุคคลได้ต่างๆ กัน ไม่มีจบสิ้น เหมือน
นักแสดงภาพยนต์ที่เปลี่ยนบทบาทไปตามบทที่ผู้กำกับกำหนดมา ในแต่ละเรื่องของหนัง
เรื่องนั้น ตั้งแต่บทพระราชาไปจนถึงยาจก คนดี คนร้าย คนเลว..ฯลฯ
ฉะนั้นมันจึงดูเหมือนมีชีวิตเป็นอนันต์ แต่ทว่า ถ้าเราดูจาก "จุดใดจุดหนึ่งของกาลเวลา" มัน
จึงดูเหมือนมีเพียงดวงวิญญาณเดียว
หลังจากดวงวิญญาณเข้าถึงความตระหนักรู้ขั้นสูงสุด และ เป็นหนึ่งเดียวกับความจริงขั้น
สูงสุดแล้ว (#นิพพาน) วิญญาณนั้นสามารถยอมให้ตัวเอง "ลบเลือนความทรงจำทั้งหมด"
และ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะไม่มีสิ่งใดในจักรวาลที่จะหยุดการเคลื่อนไหวได้ และ ชีวิต
คือสิ่ง "อมตะ" ไม่มีว้นตายได้
และ วิญญาณบางดวงก็เลือกที่จะเป็น "วิญญาณใหม่" อีกรอบ แต่ทว่า วิญญาณทั้งหมด
คือส่วนหนึ่งของกลุ่มวิญญาณแรกเริ่ม ทั้งสิ้น พวกเขาก่อกำเนิด มาพร้อมกับโลกของเรา
ใบนี้ นั่นแหละ เพราะทั้งหมดของดวงวิญญาณ เหล่านี้มีทางเลือกเสรีที่จะตัดสินใจที่จะไป
หาประสบการณ์ชีวิต ยังภพอื่นๆ หรือ โลกอื่นๆ ได้ บนวัฒจักรของจักรวาล
เพราะดวงวิญญาณทั้งหมดนี้มัน "กำลังถูกสร้างขึ้น" และ "เคยถูกสร้างมาก่อน" และ "จะ
ถูกสร้างขึ้นมาใหม่" ในห้วงปัจจุบันขณะ เดียวกันนี้เอง...
ดังนั้น องค์รวมของดวงวิญญาณ มันเพียงแต่นั่งดูเราโลดแล่นในบทละครละครแห่งชีวิต
เสมือนจริง เจ็บจริง ตายจริง ภพแล้ว ภพเล่า โดยไม่เคลื่อนที่ไปไหน เลย ในม่านพราง
ของทวิภาวะ...
ที่มา
แสงสว่าง มองการไกล...
ชีวิตหรือไม่?...
"เมื่อคำทำนายที่ว่า หลักคำสอนในพุทธศาสนาจะถูกพิสูจน์ความจริงโดยนักวิทยาศาสตร์
และ จะกลับมาเป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในโลกยุคพลังงานใหม่"!!#
คนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่า "นิพพาน" เป็นเรื่องเล่า เรื่องแต่ง เรื่องกุศโลบาย คนส่วนมาก
ก็เชื่อกันอย่างแคลงใจ แต่ในทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า "นิพพาน" เป็นเรื่องจริง!!
มิชิโอะ คากุ เป็นนักฟิสิกส์ และ นักดาราศาสตร์ระดับชั้นนำของโลก ที่เคยเขย่ารากฐาน
ของจักรวาลวิทยามาแล้วหลายครั้ง ตอนแรกนักฟิสิกส์ด้วยกันรับมันไม่ได้ กระทั่งไม่ถึง
สองทศวรรษมานี้เอง จึงได้รับการยอมรับอย่างแทบจะเป็นเอกฉันท์...
นั่นคือ การคาดการณ์ทางจักรวาลวิทยาบางประการ ที่มีข้อพิสูจน์บนสมการคณิตศาสตร์
ว่าด้วยทฤษฎีใยมหัศจรรย์และ ทฤษฎี แมททริกซ์ (string theory / M - theory) และ
ควอนตัม เมคานิกส์ รวมทั้งทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ คือ การพิสูจน์ได้ว่า
จักรวาลมีมิติหลากหลาย สสารดำรงอยู่ด้วยพลังงานที่ให้ความถี่ของการสั่นสั่นเทือน
(vibration) ในแต่ละมิติสั่นหยาบหรือละเอียดแตกต่างกัน และ แตกต่างจากจักรวาลที่
สั่นสะเทือนอย่างหยาบ ที่มี 4 มิติ ของเรา
จักรวาลนั้นมี 15 มิติ แต่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเท่าที่พิสูจน์ได้ในตอนนี้ตรวจพบแล้วมี 11
มิติ และ ...
มิชิโอะ บอกว่า มิติที่ 11 เป็นสภาวะนิพพาน (nirvarna) ที่มีคลื่นความสั่นสะเทือนความถี่
ที่ละเอียดอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับโลก 4 มิติ ของเรา
มิชิโอะ กากุ พิสูจน์ได้ว่าจักรวาลมีมากมาย (multiverses) อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยแต่ละจักรวาลจะมีลักษณะเหมือนกับของเหลว - ที่ยุบๆ พองๆ - หรือ ให้ฟองขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา มิชิโอะ บอกว่าจักรวาลถัดไปอาจอยู่ห่างเพียงหนึ่งมิลลิเมตรจากผิว (brane) จักรวาลของเรา แต่เรารับรู้ไม่ได้ เพราะมันอยู่เหนือ (4 มิติ) ของเรา..
มิชิโอะกล่าวว่า เวลานั้นไม่เคยมีอยู่จริง ทุกสรรพสิ่งที่เคยเกิดขึ้น หรือ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่
ล้วนแต่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนี้ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น "ก่อนหน้า" เพราะมันไม่มีก่อนหน้านี้
และ ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้น "หลังจาก" เพราะมันไม่มีอะไรหลังจากนี้ มีเพียงปัจจุบันขณะนี้
เสมอ
ฉะนั้น ดวงวิญญาณของมนุษย์จะคงที่อยู่เสมอ เพราะมันมีที่มาจากจิตวิญญาณดวงเดียว
เอง ที่แบ่งภาค แบ่งตัวเองมาเกิด แต่ถ้ามองจากสายตาของพวกเรา ในตอนนี้ และ ตอนนั้น มันก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอด
ฉะนั้น ดวงวิญญาณจึงสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองบทบาทของตัวเอง เป็นตัวแสดงได้
หลายร้อยหลายพันบุคคลิกในแต่ละภพชาติเกิดเป็นบุคคลได้ต่างๆ กัน ไม่มีจบสิ้น เหมือน
นักแสดงภาพยนต์ที่เปลี่ยนบทบาทไปตามบทที่ผู้กำกับกำหนดมา ในแต่ละเรื่องของหนัง
เรื่องนั้น ตั้งแต่บทพระราชาไปจนถึงยาจก คนดี คนร้าย คนเลว..ฯลฯ
ฉะนั้นมันจึงดูเหมือนมีชีวิตเป็นอนันต์ แต่ทว่า ถ้าเราดูจาก "จุดใดจุดหนึ่งของกาลเวลา" มัน
จึงดูเหมือนมีเพียงดวงวิญญาณเดียว
หลังจากดวงวิญญาณเข้าถึงความตระหนักรู้ขั้นสูงสุด และ เป็นหนึ่งเดียวกับความจริงขั้น
สูงสุดแล้ว (#นิพพาน) วิญญาณนั้นสามารถยอมให้ตัวเอง "ลบเลือนความทรงจำทั้งหมด"
และ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เพราะไม่มีสิ่งใดในจักรวาลที่จะหยุดการเคลื่อนไหวได้ และ ชีวิต
คือสิ่ง "อมตะ" ไม่มีว้นตายได้
และ วิญญาณบางดวงก็เลือกที่จะเป็น "วิญญาณใหม่" อีกรอบ แต่ทว่า วิญญาณทั้งหมด
คือส่วนหนึ่งของกลุ่มวิญญาณแรกเริ่ม ทั้งสิ้น พวกเขาก่อกำเนิด มาพร้อมกับโลกของเรา
ใบนี้ นั่นแหละ เพราะทั้งหมดของดวงวิญญาณ เหล่านี้มีทางเลือกเสรีที่จะตัดสินใจที่จะไป
หาประสบการณ์ชีวิต ยังภพอื่นๆ หรือ โลกอื่นๆ ได้ บนวัฒจักรของจักรวาล
เพราะดวงวิญญาณทั้งหมดนี้มัน "กำลังถูกสร้างขึ้น" และ "เคยถูกสร้างมาก่อน" และ "จะ
ถูกสร้างขึ้นมาใหม่" ในห้วงปัจจุบันขณะ เดียวกันนี้เอง...
ดังนั้น องค์รวมของดวงวิญญาณ มันเพียงแต่นั่งดูเราโลดแล่นในบทละครละครแห่งชีวิต
เสมือนจริง เจ็บจริง ตายจริง ภพแล้ว ภพเล่า โดยไม่เคลื่อนที่ไปไหน เลย ในม่านพราง
ของทวิภาวะ...
ที่มา
แสงสว่าง มองการไกล...
05 มิถุนายน 2562
วิปัสสนาประเภทต่างๆ
547.. วิปัสสนากรรมฐานในมโนมยิทธิ
..หลายท่าน..รู้เพียงว่า..การวิปัสสนา..คือ..สติปัฏฐาน4.. รู้กาย- รู้ใจ..รู้กาย..เวทนา..จิต..ธรรม.ตามดูตามรู้..รูปนาม..จนเห็นความจริง..ของกายใจ..ของรูปนาม..ว่า..เป็นอนิจจัง ทุกขัง..อนัตตา..ไม่มีใครเป็นเจ้าของ..แตกพังหมด..จึงเกิดความเบื่อหน่าย..ในกายในใจ..จิตจึงวางเฉย..ในขันธ์5 ในกายใจ..แล้วจึงถอดถอน..ความยึดมั่น..กิเลสราคะ..ที่ฝังอยู่ในจิต..ออกมา..จนกิเลส..หมดจากใจ..พ้นจากโลก..
#.. นั่นคือ..วิปัสสนา..ปัญญาเห็นความจริงในจิตปกติ..แต่ยังมีวิปัสสนาอีกแบบ..สำหรับคนได้ฌาน..สามารถจะวิปัสสนา..ในนิมิตได้..ส่วนใหญ่..จะเห็นเป็นอุคคนิมิตร..ปฏิภาคนิมิต..เช่น..พิจารณา..กายจนเห็นกายเน่าเปื่อย..เป็นอสุภะ..จนกระดูกสลายลงดิน..เป็นอสุภัง ..เกิดความเบื่อหน่ายกายเช่นกัน..
*"*.. ทีนี้..ยังมีวิปัสสนาอีกอย่าง..น้อยคนจะทำได้..คนนั้นจะต้องมีฐานอภิญญาจิต..มีกำลังฌาน..ได้มโนมยิทธิเต็มกำลัง..เรียก..วิปัสสนาในมโนมยิทธิ(ข้าพเจ้าตั้งเอง..เพื่อให้เข้าใจง่าย)...
#.. วิธีการ..เมื่อถอดจิต..หรือ..อทิสมานรกาย..ออกจากกายเนื้อแล้ว..กายใน..ออกไปยืนดูกายเนื้อ...แล้วกายใน..จะพิจารณาลอกกายเนื้อ..จนเห็นกระดูก..เอาอวัยวะ..ตับไตไส้พุงออกมา..ต่อมา..โครงกระดูกเริ่มผุพัง..จมหายในดิน..ช่วงนี้น..จะเกิดกลิ่นเหม็น..สะอิดสะเอียน..จน..กายในที่ยืนมองดู..กายที่เน่าเหม็นไม่ไหว..
฿.. กายใน..หรือ..อทิสมารกาย..จะเห็นว่า..กายมนุษย๋..ช่างเน่าเหม็น..ไม่อยากได้กายนี้..จึงผละทิ้งไป..อย่างไม่เสียดาย..แล้ว..กายใน..มันมีปัญญา..เพราะฝึกมาจนชิน..มันบอกตนเองว่า..มันจะไปนิพพาน..ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า..
..**.. ในขณะที่กายใน..มันไปโน่น..ไปนี้..มันยังมีกายอีกตัวตามดู..ตามรู้ตลอดด้วย..
@#฿.. สรุป..วิปัสสนาในมโนมยิทธิ..จะมีกาย..4 ..ตัว..
..กายที่หนึ่ง...คือ..กายเนื้อจริงมีธาตุ4 ดิน น้ำ ลม ไฟ.
..กายที่สอง..คือ..กายที่เน่าเปื่อยผุพัง..(กายอุคคนิมิตร)..
..กายที่สาม..คือ..อทิสมานกาย..หรือ..กายใน..หรือ.จิต..ที่ยืนดูกายที่เน่าเปื่อย..
..กายที่สี่...คือ..กายสติ..ที่ตามรู้..กายใน.ตลอด..
#.. นี่แหละ..วิปัสสนาที่ทำยาก..แต่มีคนนึง..ที่ทำง่าย..คือ..เจ้....ตาดี..นั่นเอง...เจ้...พูดไม่ค่อยเป็น..แต่ข้าพเจ้าจับประเด็นได้..เพราะชำนาญในการย่อ..ขยาย..เนื้อความ..สิ่งนี้..จึงบันทึกไว้..อยากให้ผู้สนใจ..แชร๋เก็บไว้..เพราะหาอ่านที่ไหนได้ยาก..
&.. แม้ข้าพเจ้าจะลงด้านอภิญญา..อจืณไตย..แต่อยู่ในหลักไตรสิกขา..ศีล สมาธิ ปัญญา..เสมอ..ไม่ได้เพ้อฝัน..มีเหตุมีผล..ถ้าคนนั้นทำได้..สาธุ
ที่มา มโนธาตุ
..หลายท่าน..รู้เพียงว่า..การวิปัสสนา..คือ..สติปัฏฐาน4.. รู้กาย- รู้ใจ..รู้กาย..เวทนา..จิต..ธรรม.ตามดูตามรู้..รูปนาม..จนเห็นความจริง..ของกายใจ..ของรูปนาม..ว่า..เป็นอนิจจัง ทุกขัง..อนัตตา..ไม่มีใครเป็นเจ้าของ..แตกพังหมด..จึงเกิดความเบื่อหน่าย..ในกายในใจ..จิตจึงวางเฉย..ในขันธ์5 ในกายใจ..แล้วจึงถอดถอน..ความยึดมั่น..กิเลสราคะ..ที่ฝังอยู่ในจิต..ออกมา..จนกิเลส..หมดจากใจ..พ้นจากโลก..
#.. นั่นคือ..วิปัสสนา..ปัญญาเห็นความจริงในจิตปกติ..แต่ยังมีวิปัสสนาอีกแบบ..สำหรับคนได้ฌาน..สามารถจะวิปัสสนา..ในนิมิตได้..ส่วนใหญ่..จะเห็นเป็นอุคคนิมิตร..ปฏิภาคนิมิต..เช่น..พิจารณา..กายจนเห็นกายเน่าเปื่อย..เป็นอสุภะ..จนกระดูกสลายลงดิน..เป็นอสุภัง ..เกิดความเบื่อหน่ายกายเช่นกัน..
*"*.. ทีนี้..ยังมีวิปัสสนาอีกอย่าง..น้อยคนจะทำได้..คนนั้นจะต้องมีฐานอภิญญาจิต..มีกำลังฌาน..ได้มโนมยิทธิเต็มกำลัง..เรียก..วิปัสสนาในมโนมยิทธิ(ข้าพเจ้าตั้งเอง..เพื่อให้เข้าใจง่าย)...
#.. วิธีการ..เมื่อถอดจิต..หรือ..อทิสมานรกาย..ออกจากกายเนื้อแล้ว..กายใน..ออกไปยืนดูกายเนื้อ...แล้วกายใน..จะพิจารณาลอกกายเนื้อ..จนเห็นกระดูก..เอาอวัยวะ..ตับไตไส้พุงออกมา..ต่อมา..โครงกระดูกเริ่มผุพัง..จมหายในดิน..ช่วงนี้น..จะเกิดกลิ่นเหม็น..สะอิดสะเอียน..จน..กายในที่ยืนมองดู..กายที่เน่าเหม็นไม่ไหว..
฿.. กายใน..หรือ..อทิสมารกาย..จะเห็นว่า..กายมนุษย๋..ช่างเน่าเหม็น..ไม่อยากได้กายนี้..จึงผละทิ้งไป..อย่างไม่เสียดาย..แล้ว..กายใน..มันมีปัญญา..เพราะฝึกมาจนชิน..มันบอกตนเองว่า..มันจะไปนิพพาน..ไปอยู่กับพระพุทธเจ้า..
..**.. ในขณะที่กายใน..มันไปโน่น..ไปนี้..มันยังมีกายอีกตัวตามดู..ตามรู้ตลอดด้วย..
@#฿.. สรุป..วิปัสสนาในมโนมยิทธิ..จะมีกาย..4 ..ตัว..
..กายที่หนึ่ง...คือ..กายเนื้อจริงมีธาตุ4 ดิน น้ำ ลม ไฟ.
..กายที่สอง..คือ..กายที่เน่าเปื่อยผุพัง..(กายอุคคนิมิตร)..
..กายที่สาม..คือ..อทิสมานกาย..หรือ..กายใน..หรือ.จิต..ที่ยืนดูกายที่เน่าเปื่อย..
..กายที่สี่...คือ..กายสติ..ที่ตามรู้..กายใน.ตลอด..
#.. นี่แหละ..วิปัสสนาที่ทำยาก..แต่มีคนนึง..ที่ทำง่าย..คือ..เจ้....ตาดี..นั่นเอง...เจ้...พูดไม่ค่อยเป็น..แต่ข้าพเจ้าจับประเด็นได้..เพราะชำนาญในการย่อ..ขยาย..เนื้อความ..สิ่งนี้..จึงบันทึกไว้..อยากให้ผู้สนใจ..แชร๋เก็บไว้..เพราะหาอ่านที่ไหนได้ยาก..
&.. แม้ข้าพเจ้าจะลงด้านอภิญญา..อจืณไตย..แต่อยู่ในหลักไตรสิกขา..ศีล สมาธิ ปัญญา..เสมอ..ไม่ได้เพ้อฝัน..มีเหตุมีผล..ถ้าคนนั้นทำได้..สาธุ
ที่มา มโนธาตุ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คำที่ว่าเวทนานั้น ได้แก่ ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากอาการกระทำของตัวที่เรียกว่ากรรม ถ้าจะกล่าวโดยประเภทนั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. เวทนาภายใน
๒. เวทนาภายนอก
๓. เวทนาในเวทนา
เวทนาภายในนั้น ถ้าจำแนกตามความรู้สึกที่เป็นอยู่มี ๓ อย่างคือ
๑. สุขเวทนา ความสบายปลอดโปร่ง ในจิตใจของตน
๒. ทุกข์เวทนา ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความหงุดหงิด ดวงจิตเหี่ยวแห้งไม่เบิกบาน
๓. อุเปกขาเวทนา ใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ในระหว่างสุข ในระหว่างทุกข์ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เวทนาทั้ง ๓ อย่างนี้เรียก เวทนาภายใน
ส่วนเวทนาภายนอกนั้นก็มี ๓ อย่างเหมือนกันคือ
๑. โสมนัสสเวทนา ความยินดีปรีดา ร่าเริงอยู่ในอารมณ์ภายนอก เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ เป็นต้น เมื่อใจได้ถูกต้องดูดดื่มยินดีอยู่ในอารมณ์อันนั้นเรียกว่า โสมนัสสาเวทนา
๒. โทมนัสสเวทนา ความคับแค้นน้อยใจ ได้เกิดขึ้นจากอาการที่ได้ประจวบกับอารมณ์ภายนอก เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอาทิ เมื่อปรากฏแก่ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้นแล้ว สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเป็นที่ไม่พอใจของตน เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา จึงได้เกิดโทมนัสสเวทนาประการหนึ่ง
๓. อุเปกขาเวทนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นอาทิทั้งหลายเหล่านั้น ได้ผ่านมากระทบถูกต้องอายตนะภายใน ก็มิได้ยินดียินร้าย ใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ เรียกว่า อุเปกขาเวทนา
ที่เรียกว่า เวทนาภายนอก เพราะเหตุว่า เนื่องด้วยการเกิดจากอายตนะภายนอก
ส่วนข้อ ๓ เวทนาในเวทนานั้น คือหมายเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของเวทนาทั้งหลายที่กล่าวมานั้น คือ ไม่ต้องเลือก เป็นต้นว่า มีสุขปรากฏแก่ตนเมื่อไร ให้จิตพิจารณาอยู่ในเวทนาอันนั้น เช่นว่า มีสุข ก็ให้ตั้งสติกำหนดระลึกอยู่ในที่นั้น ประคองสุขอันนั้นให้อยู่ในตน ประคองตนให้อยู่ในสุข อย่าให้คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น และอย่าให้ความปรารถนาใดๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วค่อยใช้อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาดูความจริงของเขา สัมปชัญญะความรู้ดีให้คอยสังเกตจิตใจให้รู้ตัวอยู่กับที่ อย่าให้กระแสของสมุทัยเกิดขึ้น สมุทัยที่จะเกิดขึ้นในครั้งแรกนั้น เกิดจากความไม่รู้สึกตัวดีแล้วก็มีจิตหวั่นไหว ลักษณะที่ไหวตัวนั่นแหละเรียกว่าตัววิภวตัณหา เมื่อไหวแรงขึ้นมีกระแสจิตเกิดขึ้นแล่นส่ายออกไป กระแสที่ส่ายอยู่นั้นเป็นตัวภวตัณหา เมื่อเจอะสิ่งใดอันเป็นส่วนอายตนะภายนอกแล้วเข้ายึดเอา นั่นเรียกว่าตัวกามตัณหา ฉะนั้นจึงให้ประคองจิตของตนอยู่ในอารมณ์หนึ่ง เรียกว่า สุขเวทนา อย่าเอาอารมณ์อื่นเข้าปะปน ให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ประจำตน แล้วให้เพียรเพ่งพิจารณา ให้ดูจนรู้ความจริงของเวทนานั้นๆ ที่เรียกว่าอาตาปี เมื่อทำได้เช่นนี้จึงจะเรียกว่า เป็นผู้เจริญในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ข้อนี้โดยมากคนเราเมื่อมีเวทนาอันใดเกิดขึ้นแล้ว มักทำความปรารถนาต่างๆ ให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สุขเวทนาได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็อยากให้สุขนั้นเป็นอยู่คงที่ หรืออยากให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เลยกลายเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ที่เรียกว่าสมุทัย เลยได้รับผลตรงข้ามกับความต้องการของตน บางทีก็มีทุกข์เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ต้องการ ดิ้นรนหาความสุขต่อไปเลยกลายเป็นเพิ่มทุกข์ บางขณะใจก็เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย เป็นกลางวางเฉยอยู่เช่นนั้น แล้วก็อยากให้เป็นอยู่เช่นนั้นเป็นนิจ บางทีก็เห็นว่าตนไม่ฉลาด เป็นเหตุให้เกิดความปรารถนาขึ้นอีกได้ แล้วก็ดิ้นรนขวนขวายอยากให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าตนที่เป็นอยู่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในสติปัฏฐานไม่ได้ ถึงแม้มีสติระลึกได้อยู่ว่าสุขหรือทุกข์ หรืออุเปกขาก็ตาม แต่ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นเช่นนั้น นี่ก็ส่อให้เห็นว่าขาดคุณธรรม ๓ อย่าง ทะนุบำรุงช่วยสนับสนุนสติอันนั้นให้เป็นองค์มรรคขึ้น คือให้มีสัมปชัญญะความรู้ดี ประจำใจไว้เป็นเบื้องต้นนี้หนึ่ง แล้วใช้สติแล่นติดต่ออารมณ์กับจิต อย่าให้จิตเคลื่อนคลาดจากอารมณ์ทั้งนั้น อย่าให้อารมณ์นั้นคลาดเคลื่อนจากจิต ตั้งสติกับอารมณ์นั้น ประคองจิตไว้ในอารมณ์เดียวให้แน่วแน่อยู่ ส่วนอารมณ์นี้เป็นหน้าที่ของอาตาปี คือความเพียงเพ่งพิจารณาตามอาการของเวทนาทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก สุข ทุกข์ อุเปกขา อาการใดอาการหนึ่ง เช่น ทุกข์เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เป็นหน้าที่ของความเพียรเพ่งพิจารณา ดูจนกว่าจะรู้จริงนี้หนึ่ง จะเป็นเวทนานอกก็ตาม ในก็ตาม เป็นหน้าที่ของอาตาปี เวทนาทั้งหลายเหล่านั้นปรากฏอยู่ในที่แห่งใด จำจะต้องใช้ความเพียรเพ่งพิจารณาแผดเผาเร่าร้อนอยู่ในที่นั้น นี่เป็นวาระที่ ๑ ของความเพียรเพ่งพิจารณา
๒. ให้ดูความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันมีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องสาวไปในที่อื่น ทำความเห็นว่า จะเกิดมาจากเหตุอะไรก็ตาม ให้กำหนดจดจ้องดูอยู่แต่ปัจจุบัน
๓. ให้พิจารณาความเสื่อมไปของเวทนานั้น
๔. ให้เพ่งดูความดับของเวทนานั้น
๕. ทำความรู้ไว้ว่า เวทนานี้มีแต่ความเกิดและความดับ ความทำลายถ่ายเทกันไปด้วยประการต่างๆ หาเป็นแก่นสารไม่
เมื่อใครทำได้ด้วยอาการเช่นนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมเป็นองค์มรรคสมังคีอยู่ในที่นั้น ถ้าจะย่นให้เป็นองค์มรรค ต้องย่นอย่างนี้ คือ
สัมปชัญญะความรู้ดีคอยประคองจิตอยู่ ทำความรู้ตัวอยู่ ไม่ปล่อยจิตของตนให้แล่นไปสู่อกุศล ทำจิตของตนให้เป็นปรกติอยู่ นี้เรียกว่าศีล
สติคอยประสานจิตกับอารมณ์ไม่ให้คลาดเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่น นี้เรียกว่าสมาธิ
อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณาในอารมณ์นั้นๆ ให้รู้แจ้ง เห็นจริง รู้ได้ทั้งความเกิดความดับ นี้เรียกว่าปัญญา
คุณธรรม ๓ ประการนี้ต้องให้มีให้เกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันในขณะจิตอันใดอันหนึ่ง จึงเรียกว่า มรรคสมังคี แล้วมรรคเหล่านั้นทำงานตามหน้าที่แห่งตน ก็จะรู้แจ้งเห็นจริง โดยไม่ต้องละโน่นทำนี่ ละนี่ทำโน่น ละนอกทำใน ละในทำนอก
เมื่ออาศัยคุณธรรม ๓ ประการนี้พร้อมแล้ว จะไปทำในอารมณ์ใดก็ตาม อดีต อนาคต ปัจจุบัน สุข ทุกข์ อุเบกขา อาการใดก็แล้วแต่ เมื่อสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมแล้ว ย่อมแล่นเข้าไปถึงกันหมด จึงได้เปรียบไว้ในเบื้องต้นว่า จิตเปรียบเหมือนเหล็กเพลาจักร สัมปชัญญะเปรียบเหมือนมู่เล่หมุนตัวอยู่ประจำที่ของตน สติเหมือนสายพานคอยประสานอารมณ์กับจิตมิให้คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลง อาตาปีเหมือนเลื่อยจักรชักไปคอยมาตัดรอนอารมณ์นั้นๆ ให้กระจายออกเป็นส่วนๆ นี้เรียกว่า ภควา ผู้มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการทำสติปัฏฐานในข้อนี้
ที่มา :: หนังสือสติปัฏฐาน
โดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม
คำที่ว่าเวทนานั้น ได้แก่ ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากอาการกระทำของตัวที่เรียกว่ากรรม ถ้าจะกล่าวโดยประเภทนั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. เวทนาภายใน
๒. เวทนาภายนอก
๓. เวทนาในเวทนา
เวทนาภายในนั้น ถ้าจำแนกตามความรู้สึกที่เป็นอยู่มี ๓ อย่างคือ
๑. สุขเวทนา ความสบายปลอดโปร่ง ในจิตใจของตน
๒. ทุกข์เวทนา ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความหงุดหงิด ดวงจิตเหี่ยวแห้งไม่เบิกบาน
๓. อุเปกขาเวทนา ใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ในระหว่างสุข ในระหว่างทุกข์ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
เวทนาทั้ง ๓ อย่างนี้เรียก เวทนาภายใน
ส่วนเวทนาภายนอกนั้นก็มี ๓ อย่างเหมือนกันคือ
๑. โสมนัสสเวทนา ความยินดีปรีดา ร่าเริงอยู่ในอารมณ์ภายนอก เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ เป็นต้น เมื่อใจได้ถูกต้องดูดดื่มยินดีอยู่ในอารมณ์อันนั้นเรียกว่า โสมนัสสาเวทนา
๒. โทมนัสสเวทนา ความคับแค้นน้อยใจ ได้เกิดขึ้นจากอาการที่ได้ประจวบกับอารมณ์ภายนอก เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอาทิ เมื่อปรากฏแก่ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้นแล้ว สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเป็นที่ไม่พอใจของตน เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา จึงได้เกิดโทมนัสสเวทนาประการหนึ่ง
๓. อุเปกขาเวทนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นอาทิทั้งหลายเหล่านั้น ได้ผ่านมากระทบถูกต้องอายตนะภายใน ก็มิได้ยินดียินร้าย ใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ เรียกว่า อุเปกขาเวทนา
ที่เรียกว่า เวทนาภายนอก เพราะเหตุว่า เนื่องด้วยการเกิดจากอายตนะภายนอก
ส่วนข้อ ๓ เวทนาในเวทนานั้น คือหมายเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของเวทนาทั้งหลายที่กล่าวมานั้น คือ ไม่ต้องเลือก เป็นต้นว่า มีสุขปรากฏแก่ตนเมื่อไร ให้จิตพิจารณาอยู่ในเวทนาอันนั้น เช่นว่า มีสุข ก็ให้ตั้งสติกำหนดระลึกอยู่ในที่นั้น ประคองสุขอันนั้นให้อยู่ในตน ประคองตนให้อยู่ในสุข อย่าให้คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น และอย่าให้ความปรารถนาใดๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วค่อยใช้อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาดูความจริงของเขา สัมปชัญญะความรู้ดีให้คอยสังเกตจิตใจให้รู้ตัวอยู่กับที่ อย่าให้กระแสของสมุทัยเกิดขึ้น สมุทัยที่จะเกิดขึ้นในครั้งแรกนั้น เกิดจากความไม่รู้สึกตัวดีแล้วก็มีจิตหวั่นไหว ลักษณะที่ไหวตัวนั่นแหละเรียกว่าตัววิภวตัณหา เมื่อไหวแรงขึ้นมีกระแสจิตเกิดขึ้นแล่นส่ายออกไป กระแสที่ส่ายอยู่นั้นเป็นตัวภวตัณหา เมื่อเจอะสิ่งใดอันเป็นส่วนอายตนะภายนอกแล้วเข้ายึดเอา นั่นเรียกว่าตัวกามตัณหา ฉะนั้นจึงให้ประคองจิตของตนอยู่ในอารมณ์หนึ่ง เรียกว่า สุขเวทนา อย่าเอาอารมณ์อื่นเข้าปะปน ให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ประจำตน แล้วให้เพียรเพ่งพิจารณา ให้ดูจนรู้ความจริงของเวทนานั้นๆ ที่เรียกว่าอาตาปี เมื่อทำได้เช่นนี้จึงจะเรียกว่า เป็นผู้เจริญในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ข้อนี้โดยมากคนเราเมื่อมีเวทนาอันใดเกิดขึ้นแล้ว มักทำความปรารถนาต่างๆ ให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สุขเวทนาได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็อยากให้สุขนั้นเป็นอยู่คงที่ หรืออยากให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เลยกลายเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ที่เรียกว่าสมุทัย เลยได้รับผลตรงข้ามกับความต้องการของตน บางทีก็มีทุกข์เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ต้องการ ดิ้นรนหาความสุขต่อไปเลยกลายเป็นเพิ่มทุกข์ บางขณะใจก็เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย เป็นกลางวางเฉยอยู่เช่นนั้น แล้วก็อยากให้เป็นอยู่เช่นนั้นเป็นนิจ บางทีก็เห็นว่าตนไม่ฉลาด เป็นเหตุให้เกิดความปรารถนาขึ้นอีกได้ แล้วก็ดิ้นรนขวนขวายอยากให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าตนที่เป็นอยู่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในสติปัฏฐานไม่ได้ ถึงแม้มีสติระลึกได้อยู่ว่าสุขหรือทุกข์ หรืออุเปกขาก็ตาม แต่ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นเช่นนั้น นี่ก็ส่อให้เห็นว่าขาดคุณธรรม ๓ อย่าง ทะนุบำรุงช่วยสนับสนุนสติอันนั้นให้เป็นองค์มรรคขึ้น คือให้มีสัมปชัญญะความรู้ดี ประจำใจไว้เป็นเบื้องต้นนี้หนึ่ง แล้วใช้สติแล่นติดต่ออารมณ์กับจิต อย่าให้จิตเคลื่อนคลาดจากอารมณ์ทั้งนั้น อย่าให้อารมณ์นั้นคลาดเคลื่อนจากจิต ตั้งสติกับอารมณ์นั้น ประคองจิตไว้ในอารมณ์เดียวให้แน่วแน่อยู่ ส่วนอารมณ์นี้เป็นหน้าที่ของอาตาปี คือความเพียงเพ่งพิจารณาตามอาการของเวทนาทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก สุข ทุกข์ อุเปกขา อาการใดอาการหนึ่ง เช่น ทุกข์เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เป็นหน้าที่ของความเพียรเพ่งพิจารณา ดูจนกว่าจะรู้จริงนี้หนึ่ง จะเป็นเวทนานอกก็ตาม ในก็ตาม เป็นหน้าที่ของอาตาปี เวทนาทั้งหลายเหล่านั้นปรากฏอยู่ในที่แห่งใด จำจะต้องใช้ความเพียรเพ่งพิจารณาแผดเผาเร่าร้อนอยู่ในที่นั้น นี่เป็นวาระที่ ๑ ของความเพียรเพ่งพิจารณา
๒. ให้ดูความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันมีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องสาวไปในที่อื่น ทำความเห็นว่า จะเกิดมาจากเหตุอะไรก็ตาม ให้กำหนดจดจ้องดูอยู่แต่ปัจจุบัน
๓. ให้พิจารณาความเสื่อมไปของเวทนานั้น
๔. ให้เพ่งดูความดับของเวทนานั้น
๕. ทำความรู้ไว้ว่า เวทนานี้มีแต่ความเกิดและความดับ ความทำลายถ่ายเทกันไปด้วยประการต่างๆ หาเป็นแก่นสารไม่
เมื่อใครทำได้ด้วยอาการเช่นนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมเป็นองค์มรรคสมังคีอยู่ในที่นั้น ถ้าจะย่นให้เป็นองค์มรรค ต้องย่นอย่างนี้ คือ
สัมปชัญญะความรู้ดีคอยประคองจิตอยู่ ทำความรู้ตัวอยู่ ไม่ปล่อยจิตของตนให้แล่นไปสู่อกุศล ทำจิตของตนให้เป็นปรกติอยู่ นี้เรียกว่าศีล
สติคอยประสานจิตกับอารมณ์ไม่ให้คลาดเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่น นี้เรียกว่าสมาธิ
อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณาในอารมณ์นั้นๆ ให้รู้แจ้ง เห็นจริง รู้ได้ทั้งความเกิดความดับ นี้เรียกว่าปัญญา
คุณธรรม ๓ ประการนี้ต้องให้มีให้เกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันในขณะจิตอันใดอันหนึ่ง จึงเรียกว่า มรรคสมังคี แล้วมรรคเหล่านั้นทำงานตามหน้าที่แห่งตน ก็จะรู้แจ้งเห็นจริง โดยไม่ต้องละโน่นทำนี่ ละนี่ทำโน่น ละนอกทำใน ละในทำนอก
เมื่ออาศัยคุณธรรม ๓ ประการนี้พร้อมแล้ว จะไปทำในอารมณ์ใดก็ตาม อดีต อนาคต ปัจจุบัน สุข ทุกข์ อุเบกขา อาการใดก็แล้วแต่ เมื่อสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมแล้ว ย่อมแล่นเข้าไปถึงกันหมด จึงได้เปรียบไว้ในเบื้องต้นว่า จิตเปรียบเหมือนเหล็กเพลาจักร สัมปชัญญะเปรียบเหมือนมู่เล่หมุนตัวอยู่ประจำที่ของตน สติเหมือนสายพานคอยประสานอารมณ์กับจิตมิให้คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลง อาตาปีเหมือนเลื่อยจักรชักไปคอยมาตัดรอนอารมณ์นั้นๆ ให้กระจายออกเป็นส่วนๆ นี้เรียกว่า ภควา ผู้มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการทำสติปัฏฐานในข้อนี้
ที่มา :: หนังสือสติปัฏฐาน
โดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม
01 มิถุนายน 2562
โลกหมุนตามจิต
ใช้พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ!! เผยคำสอนท่านพ่อลี "โลกนี้หมุนไปตามจิต" รวมพลังเล็กๆรวมกันก็ยิ่งใหญ่!
เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนไปและที่สำคัญคือโลกกำลังปรับสมดุลตัวเองด้วยการสร้างปรากฏการณ์ต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด การเปลี่ยนแปลงของอากาศตามประเทศต่างๆ ที่เคยร้อนกลับเย็นที่เคยเย็นกลับร้อน หลายเรื่องที่คนไม่เคยเจอไม่เคยเห็นก็ได้เห็นกันในยุคนี้
มีหลายท่านตั้งคำถามว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร โลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงและก้าวไปทางไหนทางเสื่อมหรือเจริญ เมื่อเจอคำถามนี้ผู้เขียนก็นึกถึงคำสอนของท่านพ่อลี หรือ “หลวงพ่อลีแห่งวัดอโศการาม” ซึ่งท่านเคยสอนไว้นานแล้ว เป็นคำสอนที่มาแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพัญญูสมณะโคดม ซึ่งท่านสอนไว้เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าที่ผ่านมาว่า "โลกนี้หมุนไปตามจิต"
เมื่อใดจิตมนุษย์มีคุณธรรมมีความเจริญภายในใจ เป็นไปในทางที่ดี เมื่อนั้นโลกก็จะสุขสงบ
แต่เมื่อใดที่จิตใจมนุษย์หมกหมุ่นรุ่มร้อนด้วยกิเลสเมื่อนั้นโลกก็หมุนไปสู่ความเสื่อม มีแต่ความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ฝนฟ้าจะวิปริต แผ่นดินจะไหว ภูเขาไฟปะทุสารพัดภัยพิบัติจะเกิดขึ้น
อันกาลเวลาแห่งจิตใจมนุษย์เจริญทางศีลธรรมนั้น มิได้หมายความว่าโลกนั้นต้องเจริญด้วยวัตถุเทคโนโลยีก็หาไม่ เพราะโลกหรือสังคมที่สงบสุขน่าอยู่ มีความร่มเย็นนั้นไม่จำเป็นว่าโลกนั้นๆ สังคมนั้นๆ ต้องเต็มไปด้วยวัตถุที่งาม ตาน่ารักน่าชม ไม่จำเป็นต้องเต็มไปความเครื่องมือเครื่องไม้อันทันสมัยสะดวกสบาย ความสุขของมนุษย์แท้ที่จริงอยู่ที่ใจ ยิ่งไกลจากใจก็ไกลจากความสุข
เช่นเดียวกันที่ว่าโลกที่มีความทันสมัยนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าโลกนั้นจะเต็มไปด้วยความสุขแต่อย่างใด ยิ่งมีวัตถุมากสมบัติมากก็ยิ่งมีทุกข์ มีเดือดร้อนมากตามไปด้วย ไกลจากใจเท่าใดก็ทุกข์มากเท่านั้น
พระพุทธองค์กล่าวแล้วว่าแม้ว่าจะเนรมิตรภูเขาทั้งแท่งเป็นทอง ก็หาพอต่อความอยากความต้องการของมนุษย์ไม่ ทรัพย์สินมีเท่าไหร่ให้เงินตกลงมาเป็นฝน คนก็ยังไม่มีความพอ เพราะคนไม่รู้จักใจที่แท้จึงหาความสุขไม่ได้ ตัณหาว่าแล้วไม่พออิ่ม จึงเปรียบได้ว่า แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาเป็นไม่มี
โลกใบนี้เจริญมามาก โตทางด้านวัตถุ ดังนั้นทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยผู้คนที่มีความทุกข์ทางใจ ทุกข์โดยรู้ตัวก็มี ไม่รู้ ตัวก็มี หลวงพ่อลีท่านกล่าวว่า กระแสความร้อนจากใจคนแต่ละคนนั้น เมื่อมันมารวมกันก็เป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นมวลพลังงานความร้อน ที่ทำให้โลกวิปริต อากาศฟ้าฝนวิปริต ด้วยกระแสจิตกระแสอารมณ์ร้อนๆ ของแต่ละคนเข้ามารวมตัวกัน มันมีอำนาจทำให้โลกวิปริตได้ ดูสิว่ามันมีอำนาจขนาดไหน ในขณะที่จิตใจอันเยือกเย็นของแต่ละคน ก็จับกลุ่มรวมตัวทำให้โลกใบนี้ร่มเย็น เป็นสุขได้เช่นเดียวกัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงพอเห็นภาพได้ว่า คนเราจำนวนมากมายมหาศาลแค่ไหนที่ไม่เคยฝึกจิตไม่เคยควบคุมจิตปล่อยให้อำนาจกิเลสสร้างความร้อนแผดเผาจิตใจตนเอง จิตใจผู้อื่น กลายเป็นเพลิงกิเลสลุกลาม ต่อๆ กันไปไม่สิ้นสุด ผลสุดท้ายก็ร้อนรนไปทั้งโลก กระแสความร้อนเหล่านั้นก็ไม่ได้หายไปไหน ไปจับกลุ่มรวมตัวกันทำให้โลกนี้ วิปริตไปในลักษณะต่างๆ เกิดความลำเค็ญยากเข็ญเป็นภัยพิบัตินานาชนิดนี่แหละมา จากจิตมาจากใจของคนเราแท้ๆ ไม่ผิดไปจากพุทธพจน์และคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์เลยแต่น้อย ถ้าวันนี้เราจะช่วยกันเอาตัวรอดก็ดี ช่วยกันให้โลกนี้ผ่อนจากหนักเป็นเบาก็ดี ก็ต้องอาศัยการฝึกใจ อาศัยธรรมะดั่งคำที่ว่า “ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ” นั่นเอง
แนวทางการฝึกจิตฝึกฝนตนเอง
ด้านการฝึกจิตนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันและอนาคต เมื่อเราเป็นสุขแล้วอำนาจจิตจากคุณความดีซึ่งมีกระแสเย็นจะทำให้คนรอบข้างพลอยรับอานิสงส์ความเย็นความชุ่มชื่นไปด้วย ทำให้สังคมมีความสุขมากขึ้น นอกจากนี้การฝึกจิตยังเป็นไปเพื่อความความสุขในอนาคต ยามสิ้นใจก็ได้ไปสู่สุคติมีสวรรค์นิพพานเป็นต้น แม้เมื่อเกิดภัยพิบัติอำนาจจิตหรืออานิสงส์จากคุณความดีที่เราทำไว้ก็จะมาช่วยเหลือให้ผ่านพ้นภัยพิบัติไปได้
มีคำถามเราควรเริ่มฝึกจิตอย่างไร
ตอบว่า เราเริ่มจากการทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่าจิตของเรานั้นปกติมักรุ่มร้อน หรือวุ่นวายในเรื่องต่างๆ ไม่มีความสงบเยือกเย็นหรือมีก็น้อยมาก ดังนั้นเรามาทำจิตให้เย็นเป็นกุศล เพื่อความสุขภายในของเรา และเป็นการบรรเทาภัยพิบัติเป็นการลดกระแสความร้อนของจิตที่จะไปรวมตัวกันจนเกิดภัยพิบัติได้
เริ่มต้น ต้องเริ่มจากการมี “ศีล” ถือศีลรักษาความสงบสำรวมเรียบร้อยในกายวาจาใจของเราก่อน ศีลเบื้องต้นมีเพียง ๕ ข้อถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะยิ่งคนเราผิดศีล ๕ ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่งมากๆ โลกก็วุ่นวาย เราเองผู้ประมาทผู้ผิดศีลเองก็เดือดร้อน ศีล ๕
ผู้ที่รักษาศีล รักศีล จะเยือกเย็นเองโดยอัติโนมัติ ผู้รักศีลที่ตนรักษา ใจจะชุ่มชื่นเกิดเมตตา เกิดความสงบขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน คนที่รักษาศีลภายนอกก็จะยังไม่รู้สึกปลาบปลื้มปีติในศีลที่รักษาอยู่ ไม่เข้าใจความสงบความเย็นจากศีลได้ ต้องบ่มเพาะต่อไปจนเกิดความรักความเย็นใจในศีลของตน
เมื่อชั้นแรกคือศีลเราได้รักษา ก็จะไม่มีความกังวลว่าเราไปทำอะไรไม่ดีมาหรือเปล่า จิตใจเบื้องต้นก็เบาสบายไม่มีกังวลเนื่องด้วยบาปกรรม ซึ่งนั่นให้เราทำความเข้าใจใน “สมาธิ”
“สมาธิ” นั้นเป็นการยกจิตขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เป็นการบ่มเพาะจิตให้เจริญให้สูงขึ้นด้วยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องพากเพียรการทำสมาธิเบื้องต้นนั้นคือ ทำจิตทำใจให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นก็เรียกว่าสมาธิ เช่นอ่านหนังสือก็เป็นการทำสมาธิ เล่นกีฬาก็เป็นการทำสมาธิหรือวาดภาพ เล่นดนตรีก็ล้วนเป็นการฝึกสมาธิในตัวทั้งสิ้น แต่การทำสมาธิให้ยิ่งให้ละเอียดขึ้นไปนั้น เป็นการทำสมาธิโดยหันเข้ามาภายในตัวของตัวเอง ได้แก่การฝึกบริกรรมภาวนา
ท่านผู้อ่านทั้งหลายตรงนี้สำคัญมากพ่อแม่ครูอาจารย์มีพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ปาน โสนันโท วัดบางนมโค หรือพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านก็ผ่านการปฏิบัติจาการบริกรรมภาวนามาทั้งสิ้น เอาคำว่า “พุทโธ” เป็นหลักยึดของใจ ให้หมั่นบริกรรรมเข้าไว้จะนั่งนอนยืนเดิน นึกได้เมื่อไหร่ก็บริกรรมเข้าเมื่อนั้น ก่อนนอนให้มานั่งสมาธิสัก ๑๐-๑๕ นาที ออกจากการนั่งสมาธิแล้วก็ให้บริกรรมพุทโธต่อไป เรียกว่าบริกรรมเป็นกิจวัตร ทำให้ต่อเนื่องถึงจะได้ผลเพราะการฝึกฝนวันละ ๑๐ – ๑๕ ไม่เพียงพอ
การฝึกสมาธิด้วยการบริกรรมที่ได้ผลนั้นคือ ว่างเมื่อไหร่ทำทันที และทำในทุกๆ อิริยาบทด้วยใครทำได้ดังนี้จิตจะคุ้นชินกับคำบริกรรม จิตจะค่อยๆ หลอมเป็นหนึ่งเดียวกับพุทโธ ตอนนี่แหละที่จิตจะเริ่มมีพลังมีความสงบมีความเย็นและพัฒนาขึ้น กว่าจิตจะรวมกับพุทโธได้ต้องใช้เวลาค่อยๆ ทำหมั่นเพียรไปเรื่อยก็จะสำเร็จ สำหรับเริ่มต้นเอาเพียงแค่นี้ถ้าทำกันจริงก็จะเข้าใจในความสงบของจิตจากการทำสมาธิโดยการบริกรรมได้
ข้อสุดท้ายคือ “ปัญญา” คือเราหมั่นคิดตรึกตรองเสมอว่าคนเรามีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา สุดท้ายก็สรุปได้ว่ามีเกิดแล้วมีดับเป็นเรื่องจริงที่หนีไม่ได้และควรยอมรับ เมื่อยอมรับธรรมะนี้จิตจะเยือกเย็นและเกิดสมาธิขึ้นเพราะจิตรู้แล้วว่าวุ่นวายเรื่องภายนอกก็วนเวียนไม่จบไม่สิ้น ไม่มีสาระมีแต่ความทุกข์ เมื่อนั้นจิตจึงรวมกลับสู่ภายในเพื่อความรู้แจ้ง ปัญญาชั้นนี้ถ้าทำอย่างติดต่อจะสามารถถอดถอนกิเลสพ้นเกิดพ้นตายได้ทีเดียว
“ศีล สมาธิ ปัญญา” คือหัวใจของการปฏิบัติ ทำตามนี้แล้วจิตจะเยือกเย็นสว่างไสวมีพลังขึ้นเรื่อยๆ พลังงานที่แผ่จากจิตที่ผ่านการบำเพ็ญทางศีล สมาธิ ปัญญานั้นจะมีอานุภาพลี้ลับ ภูตผีปีศาจไม่กล้าเข้าใกล้ ผู้ฝึกเองก็จะไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งใดง่ายๆ เพราะมีกำลังสมาธิ สติ ปัญญาแก่กล้า มีสติเท่าทันเหตุการณ์ ยามเกิดภยันอันตรายขึ้นอำนาจจากจิตที่มีกำลังก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา หรือแคล้วคลาดทำให้ปลอดภัยได้อย่างน่าอัศจรรย์
ที่สำคัญที่สุดคือไม่ว่าวันหน้าจะเกิดภัยพิบัติหรือไม่ สิ่งที่เราฝึกเอาไว้ก็จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ ทั้งทุกข์จากเหตุการณ์เฉพาะหน้าและทุกข์จากการเกิดการตาย จึงนับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราท่านทั้งหลายควรขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติ อย่าปล่อยเวลาผ่านไปวันๆ เป็นการเสียวันเวลาไปอย่างน่าเสียดาย
........................................................................
เมื่อโลกกำลังเปลี่ยนไปและที่สำคัญคือโลกกำลังปรับสมดุลตัวเองด้วยการสร้างปรากฏการณ์ต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด การเปลี่ยนแปลงของอากาศตามประเทศต่างๆ ที่เคยร้อนกลับเย็นที่เคยเย็นกลับร้อน หลายเรื่องที่คนไม่เคยเจอไม่เคยเห็นก็ได้เห็นกันในยุคนี้
มีหลายท่านตั้งคำถามว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร โลกเรากำลังเปลี่ยนแปลงและก้าวไปทางไหนทางเสื่อมหรือเจริญ เมื่อเจอคำถามนี้ผู้เขียนก็นึกถึงคำสอนของท่านพ่อลี หรือ “หลวงพ่อลีแห่งวัดอโศการาม” ซึ่งท่านเคยสอนไว้นานแล้ว เป็นคำสอนที่มาแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพัญญูสมณะโคดม ซึ่งท่านสอนไว้เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าที่ผ่านมาว่า "โลกนี้หมุนไปตามจิต"
เมื่อใดจิตมนุษย์มีคุณธรรมมีความเจริญภายในใจ เป็นไปในทางที่ดี เมื่อนั้นโลกก็จะสุขสงบ
แต่เมื่อใดที่จิตใจมนุษย์หมกหมุ่นรุ่มร้อนด้วยกิเลสเมื่อนั้นโลกก็หมุนไปสู่ความเสื่อม มีแต่ความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ฝนฟ้าจะวิปริต แผ่นดินจะไหว ภูเขาไฟปะทุสารพัดภัยพิบัติจะเกิดขึ้น
อันกาลเวลาแห่งจิตใจมนุษย์เจริญทางศีลธรรมนั้น มิได้หมายความว่าโลกนั้นต้องเจริญด้วยวัตถุเทคโนโลยีก็หาไม่ เพราะโลกหรือสังคมที่สงบสุขน่าอยู่ มีความร่มเย็นนั้นไม่จำเป็นว่าโลกนั้นๆ สังคมนั้นๆ ต้องเต็มไปด้วยวัตถุที่งาม ตาน่ารักน่าชม ไม่จำเป็นต้องเต็มไปความเครื่องมือเครื่องไม้อันทันสมัยสะดวกสบาย ความสุขของมนุษย์แท้ที่จริงอยู่ที่ใจ ยิ่งไกลจากใจก็ไกลจากความสุข
เช่นเดียวกันที่ว่าโลกที่มีความทันสมัยนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าโลกนั้นจะเต็มไปด้วยความสุขแต่อย่างใด ยิ่งมีวัตถุมากสมบัติมากก็ยิ่งมีทุกข์ มีเดือดร้อนมากตามไปด้วย ไกลจากใจเท่าใดก็ทุกข์มากเท่านั้น
พระพุทธองค์กล่าวแล้วว่าแม้ว่าจะเนรมิตรภูเขาทั้งแท่งเป็นทอง ก็หาพอต่อความอยากความต้องการของมนุษย์ไม่ ทรัพย์สินมีเท่าไหร่ให้เงินตกลงมาเป็นฝน คนก็ยังไม่มีความพอ เพราะคนไม่รู้จักใจที่แท้จึงหาความสุขไม่ได้ ตัณหาว่าแล้วไม่พออิ่ม จึงเปรียบได้ว่า แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาเป็นไม่มี
โลกใบนี้เจริญมามาก โตทางด้านวัตถุ ดังนั้นทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยผู้คนที่มีความทุกข์ทางใจ ทุกข์โดยรู้ตัวก็มี ไม่รู้ ตัวก็มี หลวงพ่อลีท่านกล่าวว่า กระแสความร้อนจากใจคนแต่ละคนนั้น เมื่อมันมารวมกันก็เป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นมวลพลังงานความร้อน ที่ทำให้โลกวิปริต อากาศฟ้าฝนวิปริต ด้วยกระแสจิตกระแสอารมณ์ร้อนๆ ของแต่ละคนเข้ามารวมตัวกัน มันมีอำนาจทำให้โลกวิปริตได้ ดูสิว่ามันมีอำนาจขนาดไหน ในขณะที่จิตใจอันเยือกเย็นของแต่ละคน ก็จับกลุ่มรวมตัวทำให้โลกใบนี้ร่มเย็น เป็นสุขได้เช่นเดียวกัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านผู้อ่านทั้งหลายคงพอเห็นภาพได้ว่า คนเราจำนวนมากมายมหาศาลแค่ไหนที่ไม่เคยฝึกจิตไม่เคยควบคุมจิตปล่อยให้อำนาจกิเลสสร้างความร้อนแผดเผาจิตใจตนเอง จิตใจผู้อื่น กลายเป็นเพลิงกิเลสลุกลาม ต่อๆ กันไปไม่สิ้นสุด ผลสุดท้ายก็ร้อนรนไปทั้งโลก กระแสความร้อนเหล่านั้นก็ไม่ได้หายไปไหน ไปจับกลุ่มรวมตัวกันทำให้โลกนี้ วิปริตไปในลักษณะต่างๆ เกิดความลำเค็ญยากเข็ญเป็นภัยพิบัตินานาชนิดนี่แหละมา จากจิตมาจากใจของคนเราแท้ๆ ไม่ผิดไปจากพุทธพจน์และคำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์เลยแต่น้อย ถ้าวันนี้เราจะช่วยกันเอาตัวรอดก็ดี ช่วยกันให้โลกนี้ผ่อนจากหนักเป็นเบาก็ดี ก็ต้องอาศัยการฝึกใจ อาศัยธรรมะดั่งคำที่ว่า “ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ” นั่นเอง
แนวทางการฝึกจิตฝึกฝนตนเอง
ด้านการฝึกจิตนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันและอนาคต เมื่อเราเป็นสุขแล้วอำนาจจิตจากคุณความดีซึ่งมีกระแสเย็นจะทำให้คนรอบข้างพลอยรับอานิสงส์ความเย็นความชุ่มชื่นไปด้วย ทำให้สังคมมีความสุขมากขึ้น นอกจากนี้การฝึกจิตยังเป็นไปเพื่อความความสุขในอนาคต ยามสิ้นใจก็ได้ไปสู่สุคติมีสวรรค์นิพพานเป็นต้น แม้เมื่อเกิดภัยพิบัติอำนาจจิตหรืออานิสงส์จากคุณความดีที่เราทำไว้ก็จะมาช่วยเหลือให้ผ่านพ้นภัยพิบัติไปได้
มีคำถามเราควรเริ่มฝึกจิตอย่างไร
ตอบว่า เราเริ่มจากการทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่าจิตของเรานั้นปกติมักรุ่มร้อน หรือวุ่นวายในเรื่องต่างๆ ไม่มีความสงบเยือกเย็นหรือมีก็น้อยมาก ดังนั้นเรามาทำจิตให้เย็นเป็นกุศล เพื่อความสุขภายในของเรา และเป็นการบรรเทาภัยพิบัติเป็นการลดกระแสความร้อนของจิตที่จะไปรวมตัวกันจนเกิดภัยพิบัติได้
เริ่มต้น ต้องเริ่มจากการมี “ศีล” ถือศีลรักษาความสงบสำรวมเรียบร้อยในกายวาจาใจของเราก่อน ศีลเบื้องต้นมีเพียง ๕ ข้อถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะยิ่งคนเราผิดศีล ๕ ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่งมากๆ โลกก็วุ่นวาย เราเองผู้ประมาทผู้ผิดศีลเองก็เดือดร้อน ศีล ๕
ผู้ที่รักษาศีล รักศีล จะเยือกเย็นเองโดยอัติโนมัติ ผู้รักศีลที่ตนรักษา ใจจะชุ่มชื่นเกิดเมตตา เกิดความสงบขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน คนที่รักษาศีลภายนอกก็จะยังไม่รู้สึกปลาบปลื้มปีติในศีลที่รักษาอยู่ ไม่เข้าใจความสงบความเย็นจากศีลได้ ต้องบ่มเพาะต่อไปจนเกิดความรักความเย็นใจในศีลของตน
เมื่อชั้นแรกคือศีลเราได้รักษา ก็จะไม่มีความกังวลว่าเราไปทำอะไรไม่ดีมาหรือเปล่า จิตใจเบื้องต้นก็เบาสบายไม่มีกังวลเนื่องด้วยบาปกรรม ซึ่งนั่นให้เราทำความเข้าใจใน “สมาธิ”
“สมาธิ” นั้นเป็นการยกจิตขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เป็นการบ่มเพาะจิตให้เจริญให้สูงขึ้นด้วยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องพากเพียรการทำสมาธิเบื้องต้นนั้นคือ ทำจิตทำใจให้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นก็เรียกว่าสมาธิ เช่นอ่านหนังสือก็เป็นการทำสมาธิ เล่นกีฬาก็เป็นการทำสมาธิหรือวาดภาพ เล่นดนตรีก็ล้วนเป็นการฝึกสมาธิในตัวทั้งสิ้น แต่การทำสมาธิให้ยิ่งให้ละเอียดขึ้นไปนั้น เป็นการทำสมาธิโดยหันเข้ามาภายในตัวของตัวเอง ได้แก่การฝึกบริกรรมภาวนา
ท่านผู้อ่านทั้งหลายตรงนี้สำคัญมากพ่อแม่ครูอาจารย์มีพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ปาน โสนันโท วัดบางนมโค หรือพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านก็ผ่านการปฏิบัติจาการบริกรรมภาวนามาทั้งสิ้น เอาคำว่า “พุทโธ” เป็นหลักยึดของใจ ให้หมั่นบริกรรรมเข้าไว้จะนั่งนอนยืนเดิน นึกได้เมื่อไหร่ก็บริกรรมเข้าเมื่อนั้น ก่อนนอนให้มานั่งสมาธิสัก ๑๐-๑๕ นาที ออกจากการนั่งสมาธิแล้วก็ให้บริกรรมพุทโธต่อไป เรียกว่าบริกรรมเป็นกิจวัตร ทำให้ต่อเนื่องถึงจะได้ผลเพราะการฝึกฝนวันละ ๑๐ – ๑๕ ไม่เพียงพอ
การฝึกสมาธิด้วยการบริกรรมที่ได้ผลนั้นคือ ว่างเมื่อไหร่ทำทันที และทำในทุกๆ อิริยาบทด้วยใครทำได้ดังนี้จิตจะคุ้นชินกับคำบริกรรม จิตจะค่อยๆ หลอมเป็นหนึ่งเดียวกับพุทโธ ตอนนี่แหละที่จิตจะเริ่มมีพลังมีความสงบมีความเย็นและพัฒนาขึ้น กว่าจิตจะรวมกับพุทโธได้ต้องใช้เวลาค่อยๆ ทำหมั่นเพียรไปเรื่อยก็จะสำเร็จ สำหรับเริ่มต้นเอาเพียงแค่นี้ถ้าทำกันจริงก็จะเข้าใจในความสงบของจิตจากการทำสมาธิโดยการบริกรรมได้
ข้อสุดท้ายคือ “ปัญญา” คือเราหมั่นคิดตรึกตรองเสมอว่าคนเรามีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา สุดท้ายก็สรุปได้ว่ามีเกิดแล้วมีดับเป็นเรื่องจริงที่หนีไม่ได้และควรยอมรับ เมื่อยอมรับธรรมะนี้จิตจะเยือกเย็นและเกิดสมาธิขึ้นเพราะจิตรู้แล้วว่าวุ่นวายเรื่องภายนอกก็วนเวียนไม่จบไม่สิ้น ไม่มีสาระมีแต่ความทุกข์ เมื่อนั้นจิตจึงรวมกลับสู่ภายในเพื่อความรู้แจ้ง ปัญญาชั้นนี้ถ้าทำอย่างติดต่อจะสามารถถอดถอนกิเลสพ้นเกิดพ้นตายได้ทีเดียว
“ศีล สมาธิ ปัญญา” คือหัวใจของการปฏิบัติ ทำตามนี้แล้วจิตจะเยือกเย็นสว่างไสวมีพลังขึ้นเรื่อยๆ พลังงานที่แผ่จากจิตที่ผ่านการบำเพ็ญทางศีล สมาธิ ปัญญานั้นจะมีอานุภาพลี้ลับ ภูตผีปีศาจไม่กล้าเข้าใกล้ ผู้ฝึกเองก็จะไม่มีความหวั่นไหวต่อสิ่งใดง่ายๆ เพราะมีกำลังสมาธิ สติ ปัญญาแก่กล้า มีสติเท่าทันเหตุการณ์ ยามเกิดภยันอันตรายขึ้นอำนาจจากจิตที่มีกำลังก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา หรือแคล้วคลาดทำให้ปลอดภัยได้อย่างน่าอัศจรรย์
ที่สำคัญที่สุดคือไม่ว่าวันหน้าจะเกิดภัยพิบัติหรือไม่ สิ่งที่เราฝึกเอาไว้ก็จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ ทั้งทุกข์จากเหตุการณ์เฉพาะหน้าและทุกข์จากการเกิดการตาย จึงนับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราท่านทั้งหลายควรขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติ อย่าปล่อยเวลาผ่านไปวันๆ เป็นการเสียวันเวลาไปอย่างน่าเสียดาย
........................................................................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
หล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปางเทศนา หลังพระปางอุ้มบาตร เนื้อเมฆพัด ลงรักปิดทอง สร้าง พ.ศ.๒๔๑๑ เจ้าพระคุณสมเด็จโต สร้างและปลุกเสก...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...