24 พฤษภาคม 2561

วิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม4)


หลวงพ่อเมตตาสอนวิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม4) 
โดยให้หลักไว้ดังนี้
โรคปากเสีย คือ โรคชอบต่อกรรม เมื่อถูกกระทบทางทวารทั้ง 6 (ประตูทั้ง 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบผิวกาย และธรรมารมณ์)
เพราะอุเบกขา หรือวางเฉยไม่เป็น เบรกจึงแตกเป็นปกติ มีผลทำให้กรรมบท 10 หมวดวาจา ไม่เต็มสักที (กรรมบท 10 หมวดวาจา 4 มี ไม่พูดโกหก, ไม่พูดคำหยาบ , ไม่พูดส่อเสียดหรือพูดนินทาผู้อื่น และไม่พูดเรื่องไร้สาระไม่เกิดประโยชน์)
วิธีปฏิบัติแก้โดย
1) พยายามคิดเสียก่อนจึงค่อยพูด
2) หรือพยายามคิดอยู่ตลอดเวลาที่ฟังคนอื่นเขาพูด
3) พยายามดึงจิต อย่าไปไหวตามคำพูดของผู้อื่น (โดยฟังอย่างเดียว ห้ามปรุงแต่งธรรมนั้นๆ)
4) พยายามฟังแล้วกรองเอาสาระจากคำพูดนั้นๆ ของเขา ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (ด้วยปัญญา)
5) เวลาคนอื่นเขาพูด จะยาวจะสั้น ปล่อยเขาพูดให้จบก่อน เราใช้ความคิดฟังไปแล้ว จะรู้ว่า คำพูดนั้นๆ มีสาระหรือไม่มีสาระ ควรพูดหรือไม่ควรพูด หรือ ควรวาง ควรตัด ก็รู้ได้ด้วยความคิด ไม่ใช่ประโยคไหนมากระทบหูแล้ว กูอยากจะพูดก็ว่าไปเรื่อย โดยไร้ความคิดพิจารณา
6) หากทำตาม 5 ข้อแรกแล้ว คิดอยากพูดบ้างก็ให้พิจารณาว่า พูดแล้วเป็นคุณหรือโทษ มีสาระหรือไม่มีสาระ ยิ่งเป็นสาระธรรมในพระพุทธศาสนายิ่งสำคัญ จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเป็นความจริง ไม่ผิดศีล-ไม่ผิดพระวินัย ไม่ผิดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ผิดก็พูดได้ สรุปว่าต้อง นิสสัมมะ กรณัง เสยโย หรือใคร่ครวญด้วยปัญญาเสียก่อนจึงค่อยพูด เพราะแม้ว่าจะเป็นจริงแต่พูดแล้วคนฟังไม่เชื่อ-ไม่ศรัทธา ก็ไร้ประโยชน์ที่จะพูด
ที่มา : ธรรมะที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑ หน้า ๙๒-๙๓

22 พฤษภาคม 2561

จตุธาตุสี่ ธาตุแห่งการพึ่งพา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

#ข่่ายใยเส้นปธานสิบหรือสรีรตันตรปัตราการธมนี(อ่านว่า สะ-รี-ระ-ตัน-ตระ-ปัต-ตรา-การ-ธะ-มะ-นี; ธมนี..คือ กลุ่มเส้นเหนี่ยวนำ)
#อันดับที่3เส้นอากาสธาตุกาละทารี
คัมภีร์วิสุทธิมรรคได้บรรยายการเคลื่อนไหวได้ของร่างกายที่ประกอบด้วยชีวิตปกติ เพราะมีธาตุลม(วาโยธาตุ) เข้าประกอบไว้ ดังนี้....
๏ ก็วาโยธาตุในสรีระนี้ ซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ มีลักษณะเบ่งขึ้นและไหวได้ ตั้งอยู่ในดิน(ปถวีธาตุ) อันน้ำ(อาโปธาตุ)ยึดไว้ อันไฟ(เตโชธาตุ)ตามรักษา #ย่อมยังกายนี้ให้เคลื่อนไหวได้ ฯ
๏ อนึ่ง กายนี้ อันธาตุลมนั้นอุ้มแล้วจึงไม่ซวนเซไปตั้งอยู่ตรงๆได้ ฯ #อาศัยวาโยธาตุอื่นอีกพัดสม่ำเสมอแล้วย่อมแสดงวิญญัติในอิริยาบถ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน ย่อมงอเข้า เหยียดออก #ยังมือและเท้าให้เคลื่อนไหวได้ ฯ #ยนต์คือมหาภูตรูป4นี้เช่นเดียวกับรูปกลมีมายา #สำหรับล่อลวงชนพาลโดยความเป็นหญิงเป็นชายเป็นต้น เป็นไปอยู่ ดังแถลงมานี้ ฯ พระโยคาวจรพึงใส่ใจโดยละเอียดดังบรรยายมานี้ แล ๚๛
๏.....อันปถวีธาตุนั้น มีลักณะแค่นแข็งมีการตั้งอยู่เป็นรส มีการรับไว้เป็นเครื่องปรากฏ ฯ
๏ อาโปธาตุ มีการหลั่งไหลเป็นลักษณะ มีการพอกพูนเป็นรส มีการยึดไว้เป็นเครื่องปรากฏ ฯ
๏ เตโชธาตุ มีความร้อนเป็นลักษณะ มีการให้ไิออุ่นเป็นรส มีการเพิ่มให้ถึงซึ่งความอ่อนนุ่มเป็นเครื่องปรากฏ ฯ
๏ วาโยธาตุ มีการให้เคลื่อนไหวเป็นลักษณะ มีการเบ่งขึ้นได้เป็นรส มีการเคลื่อนไหวยักย้่ายได้เป็นเครื่องปรากฏ ฯ
๏ #โดยสมุฏฐาน....
๏.....อาหารใหม่ อาหารเก่า หนอง มูตร #มีฤดูเป็นสมุฏฐาน ฯ
๏ น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก #มีฤดูกาลและจิตเป็นสมุฏฐาน
๏ เตโชธาตุ 4 มี ปริณามัคคี-ไฟย่อยอาหาร #มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ฯ
๏ #ลมหายใจออกลมหายใจเข้า(อัสสาสปัสสาโส) #มีจิตเป็นสมุฏฐาน ฯ ฉะนี้ พระโยคาวจร พึงไฝ่ใจมนสิการ ด้วยอาการดังบรรยายมานี้แล ๚๛
เส้นสายที่จิตแสดงวิญญัติชักรูปสรีรยนต์ให้เคลื่อนไหวได้ตามคัมภีร์บรรยายข้างต้นไม่พบในชั้นพระวิสุทธิมรรค แต่..ไปมีรายละเอียดเป็นคู่มือ(ทีปนี)เอกเทศ อยู่ในวิชานวดแผนโบราณ หากไม่มีความสัมพันธ์ในเรื่องธาตุ4 และสมมาตรโครงสร้างร่วมกัน ก็ไม่สามารถเห็นการเชื่อมโยงนี้ได้
การหมุนเวียนของระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบน้ำเหลือง ทั้งสามระบบนี้ต่างมีโครงสร้างโดยธรรมชาติเป็นโครงสร้างสมมาตรที่ซ้อนทับและทำงานร่วมกันเป็นสรีรยนต์อัตโนมัติที่ถูกควบคุม(วิญญัติ)อย่างมีเอกภาพ โดยจิตที่เกิดจากกายสังเคราะห์จิต และจิตที่เกิดจากจิตสังเคราะห์กาย
และระบบสมมาตรโครงสร้างทั้ง 3 ระบบ จะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ขึ้นอยู่กับ เส้นอากาสธาตุเหนี่ยวนำตัวเดียวกัน คือที่วิชานวดแผนโบราณดั้งเดิมเรียกว่า...
"#เส้นกาละทารี"
เส้นอากาสธาตุเหนี่ยวนำการทำงานเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเป็นอิริยาบถของสรีระขณะชีวิตดำรงอยู่นี้
...จะ คล้ายกันกับ ที่วิทยาศาสตร์ได้ฉงนฉงายกับคุณสมบัติของอวกาศที่แสดงผลต่อแรงโน้มถ่วงร่วมของดวงดาวที่ถักประสานเป็นระบบของจักรวาลขึ้นมา.....แล้วตั้งสมมติฐานสมรรถนะการเหนี่ยวนำในอวกาศนี้ว่า มันคือ อีเธอร์...Ether...?!!
อาการป่วยกว่า 90% ของผู้คนในปัจจุบัน ล้วนเกิดจากการอุดตันของเส้นอากาสธาตุเหนี่ยวนำ ชื่อกาละทารี และการเสื่อมสมรรถนะในการเหนี่ยวนำระบบเลือดระบบน้ำเหลืองในโครงสร้างสมมาตรของสรีระโดยเส้นกาละทารี ก็มาจาก การเสื่อมประสิทธิภาพของลมหายใจออกลมหายใจเข้า...อัสสาสะปัสสาโส เพราะ...จิตแปดเปื้อนไปด้วยข้อมูลขยะกลบฝังข้อมูลจริงเสียสิ้น....นั่นเอง
การเสื่ิอมสมรรถนะของเส้นอากาสธาตุในการเหนี่ยวนำ กระแสเลือดและการหมุนเวียนน้ำเหลืองในระบบ...เป็นที่มาของอาการคั่ง(แพทย์แผนโบราณของไทยดั้งเดิม เรียกว่า "#กล่อน")ตามจุดต่างๆของอวัยวะ ที่หย่อมเส้นอากาสธาตุกาละทารีนั้นดับ...
ก้อนลม ก้อนไขมัน ตะกรันแคลเซียมจากเซลล์เม็ดเลือด และ จุดกำเนิดมะเร็งนานาชนิด ในสรีระที่ประกอบด้วยชีวิต ซึ่งไม่อาจพบและไม่อาจหาได้จากศพ(Body)....
กลับเป็นงานวิจัยที่พระพุทธศาสนาค้นพบแล้วถ่ายทอดไว้ในวิชาการแพทย์แผนโบราณที่สังคมไทยรับเป็นมรดกตกทอดมานับพันๆปี...แล้วครับ.

จตุธาตุ ๔ ในกายสังขาร ตาม คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่กล่าวไว้ ที่ควรรู้ สาธุ

21 พฤษภาคม 2561

กาลามสูตร



จริงหรือไม่ที่ความเชื่อเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งในสังคมโลกทุกยุคทุก สมัย เมื่อความเชื่อของมนุษย์แตกต่างกันการแตกแยกและปัญหาก็ย่อมพลันเป็นผลตาม มีหลายครั้งที่ท่านอาจเกิดความสงสัยว่าทำาไมคนบางกลุ่มถึงได้มีแนวความคิดที่แปลก ประหลาดผิดแผกไปจากท่านนัก ทำาไมใครบางคนจึงมีทรรศนะที่ไม่ตรงกับท่านเสียเลย ทำไมไม่มีใครหยั่งถึงในสิ่งที่ท่านกำาลังรู้สึก หรือทำาไมการตัดสินใจของท่านจึงแทบไม่ ได้รับการสนับสนุนทั้ง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยแท้ เพราะเหตุนี้เองเรา คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ และทัศนคติ ต่างเป็นพื้นฐานที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่ออันหล่อหลอมมาจากความเป็นตัวตนและเอกลักษณ์ของ ปัจเจกบุคคลได้อย่างแท้จริง ความแตกต่างทางความเชื่อล้วนสร้างปัญหานานัปการให้กับสังคมของมนุษย์ทุก หมู่เหล่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคเกษตรกรรมจนก้าวลำ้ามาสู่ยุคแห่งข้อมูล ข่าวสาร ยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนย่อโลกทั้งใบให้ใกล้เข้ามาแค่เพียงเอื้อมมือ ความ ลำ้าหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตามมาสร้างช่องทางการสื่อสารขึ้นมาหลาย รูปแบบ จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าความสะดวกรวดเร็วจากการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเชื่อม โยงผ่านเครือข่ายสารสนเทศหรือการคมนาคมระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องธรรมดา สามัญไปแล้วสำหรับกระแสโลกาภิวัฒน์ปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยสำาคัญในการ ดำาเนินธุรกิจของสังคมเมือง สิ่งสำาคัญที่สุดที่เราควรคำานึงถึงในการรับสารไม่ใช่ความ พิสมัยในวิทยาการสมัยใหม่ แต่เป็นการใช้วิจารณญานในการกลั่นกรองข้อมูลหรือ ข่าวสารที่ได้รับก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ ไม่ว่าสารนั้นจะสื่อออกมาในรูปของเอกสาร เครื่องมือสื่อสาร สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ข้อมูลอิเล็กโทรนิกส์ หรือแม้แต่การสื่อสารผ่านบุคคล เองก็ตาม มีแนวทางปฏิบัติต่อความสงสัยและความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาอยู่ แนวทางหนึ่ง แนวทางซึ่งเปรียบเสมือนข้อเตือนใจที่ช่วยให้มนุษย์พิเคราะห์ว่าสารและ ข้อมูลที่รับมานั้นจริงเท็จประการใด ถูกและควรหรือไม่ก่อนการตัดสินใจทำาอะไรลงไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา แนวทางปฏิบัติที่ว่าก็คือ "กาลามสูตร" หลักพึงคิดสิบประการ ก่อนการตัดสินใจว่าควรเชื่อหรือไม่นั่นเอง หลัก "กาลามสูตร" ประการแรก คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (อนุสฺสเวน) หมายความว่าจงอย่าเชื่อคำาบอกเล่าต่อ ๆ กันมา ไม่ว่าจะมาจากการคำาชื่ม ชม การนินทาว่าร้ายหรือบอกให้เชื่อฟังทำาตาม ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าหากสวม ใส่เครื่องลางองค์จาตุคามารามเทพแล้วจะทำามาค้าขึ้น รำ่ารวยเป็นเศรษฐี ตามความจริง แล้วเรามิอาจพิสูจน์ได้ว่าคำาโฆษณาหรือการบอกต่อกันมาอีกทีนั้นจะเกิดขึ้นจริงตาม หลักวิทยาศาสตร์ แต่เราก็ไม่ควรที่จะลบหลู่ให้เกิดข้อพิพาทใด ๆ ทั้งสิ้น ทางที่ดีเราควร พินิจให้รอบคอบตามแนวทางการเตือนสติผู้นิยมเครื่องลางของขลังของพระพิศาล ธรรมวาที(พยอม กัลยาโณ) ซึ่งท่านได้เผยแพร่ คุกกี้ "จตุคำา" รุ่นฉุกคิดสี่คำา อันได้แก่ อุ กา กะ สะ ซึ่ง อุ มาจากคำาว่า อุฏฐานสัมปทา คือความขยันหมั่นเพียรหรือขยันหา “ ” “ ” อา มาจากอารักขสัมปทา หมายถึงการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบธรรม หรือ ขยันเก็บ กะ มาจากกัลยาณมิตตา คือการคบหาคนดีหรือการเลือกคบคน ส่วนคำาว่า “ ” “ ” สะ มาจากสมชีวิตา คือการใช้จ่ายอย่างประหยัด ดังนั้น อุ อา กะ สะ คือการขยันหา ขยันเก็บ เลือกคบ เลือกใช้ เมื่อฉุกคิดแล้วและเข้าใจก็จะรำ่ารวยได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพา วัตถุมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น วัต จตุคามรามเทพแทนที่จตุราอริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ อันเป็นคำาสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อ ให้คนไทยได้คิด ไม่ยึดติดหลงใหลหรือเชื่อในวัตถุอย่างไร้สติ ประการที่สอง คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบกันมา (มา ปรมฺปราย) นั่น หมายความว่า จงอย่าหลงเชื่อในคำากล่าวอ้างตามวัฒนธรรมและประเพณี หรือตามคำา ปรัมปราที่ยึดถือสืบต่อกันมาช้านาน ในลักษณะ โบราณว่า หรือ เขาว่ากันว่า “ ” “ ” ตัวอย่างซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย ก็คือความเชื่อในการย่างเท้าออกจากบ้านหรือ การเขม่นตา บ้างก็ว่าขวาร้ายซายดี ซ้ายดีขวาร้ายต่างกันออกไป นอกจากนั้นจิ้งจกทัก ก็ถือเป็นลางร้ายบอกเหตุว่าจงอย่าออกจากบ้านอย่างเด็ดขาด หรือกระทั่งนกแสกบิน ข้ามหลังคาหมู่บ้านก็ขอให้เตรียมการไว้เพราะเป็นลางบอกเหตุร้ายของการสูญเสียชีวิต อีกตัวอย่างความเชื่อที่น่าสนใจตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยดั้งเดิมก็คือความเชื่อที่ ว่าหญิงไทยนั้นจะต้องเก็บรักษาพรหมจารีย์เอาไว้ให้เฉพาะชายที่จะได้แต่งงานด้วยกัน เท่านั้น หลายคนจึงถกเถียงกันว่าคู่รักในสังคมเราควรจะอยู่ก่อนแต่งแบบวัฒนธรรมต่าง ชาติ หรือแต่งก่อนอยู่อย่างวัฒนธรรมไทย ในเมื่อผู้หญิงก็มีสิทธิในร่างกายของตนเอง ชายใดหากจะคิดรักเธอก็ควรจะรักที่จิตใจและนิสัย หาใช่เพียงแค่เรื่องของความใคร่ และกามารมณ์เท่านั้น ผู้หญิงหลายคนจึงตั้งคำาถามขึ้นมาว่าทำาไมผู้ชายถึงสามารถมี เพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นก่อนแต่งได้โดยที่สังคมไม่ประนามหรือตำาหนิ แต่ในทางกลับกัน เรามองได้อีกแง่หนึ่งว่าผู้ที่เป็นหญิงสาวควรจะเก็บความบริสุทธิ์ไว้ เนื่องจากเพศหญิง เป็นเพศที่อ่อนโยน จึงควรจะรักนวลสงวนตัว ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการกุลสตรีที่ดี ทั้งนี้การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ พร้อมยังรักษาภาพพจน์ไม่ให้เสื่อมเสียก่อนการแต่งงานได้อีกด้วย ความเชื่อและค่า นิยมบางครั้งก็เดินคู่กันเป็นเส้นขนาน การรับเอาแนวความคิดและวัฒนธรรมต่าง ประเทศเข้ามาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ประการที่สาม คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย) ในที่นี้ หมายรวมถึง การลำ่าลือ ข่าวลือ และข่าวโคมลอยทั้งหลาย ตัวอย่างข่าวลือข่าวหนึ่งที่ โด่งดังมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเกิดขึ้นในช่วงกลางปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) เสด็จสวรรคต ศัตรู ทางการเมืองของท่าน ศาสตราจารย์ ดร .ปรีดี พนมยงค์ สบโอกาสในการทำาลายชื่อเสียง โดยการกระจ่ายข่าวว่าท่านเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ จนกระแสข่าวลือสร้างความกดดัน จนนำาไปสู่การลาออกจากตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีและตำาแหน่งสำาคัญทางการเมือง ทั้งหมดในช่วงปลายปีดังกล่าว ท่านเชื่อหรือไม่ว่าข่าวลือนี้เป็นความจริง แล้วท่านเชื่อ หรือไม่ว่าข่าวลือนี้ทำาให้ผู้อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย ผู้ที่มีคุณณูปการแก่ ชาติอย่างมากมายมหาศาล กลับเป็นผู้ที่โดนใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ กลายเป็นคนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ ดั่งภาพแปรอักษร เพื่อระลึกคุณความดีของท่านปรีดีในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ประจำาปี พุทธศักราช ๒๕๒๖ ที่ว่า พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้น “ ธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ” ประการที่สี่ คือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำาราหรือคัมภีร์ (มา ปิฎกสมฺป ทาเนน) คืออย่าเชื่อตามคำากล่าวอ้าง แม้ว่าจะอิงจากพระไตรปิฏก คัมภีร์หรือตำาราที่ดู น่าเชื่อถือตามหลักวิชาการก็ตาม เพราะฉะนั้นเราต้องไตร่ตรองให้รอบคอบว่าข้อมูล หรือข้อความที่อ้างอิงมานั้นสามารถเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด จริงเท็จทั้งหมดทั้งมวล 2 หรือไม่ ตัวอย่างหนึ่งที่เราต่างทราบกันมาช้านานนั่นคือเรื่องราวของคัมภีร์ในศาสนา คริสต์ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก ศาสนาดังกล่าวแตกแขนงออกเป็น นิกายต่าง ๆ อาทิเช่น โปรแตสแตนต์ คาทอลิก และคริสเตียนนิตี้ ความแตกต่างของ หลักการและแนวความเชื่อบางประการทำาให้คัมภีร์ใบเบิ้ลของแต่ละนิกายมีความ ผิดแผกไปจากกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการปรุงแต่ง แทรกเสริมข้อมูล ลดละตัดทอน รวมถึง การบิดเบือนความจริงบางอย่างจากต้นฉบับ นอกจากนั้นคัมภีร์ฉบับแปลที่จัดทำาออกมา นับสิบเป็นร้อยภาษานั้น ท่านก็ควรตริตรองให้ดีถึงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของการ แปล ว่าภาษาในฉบับแปลเล่มนั้นถ่ายทอดความหมายได้ตรงกับหลักคำาสอนตาม ต้นฉบับและคงความศักดิ์สิทธิ์ไว้ได้ทุกถ้อยคำาหรือไม่ ประการที่ห้า คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ) ไม่ว่าจะเป็นการ คำานวณทางคณิตศาสตร์หรือตรรกศาสตร์ เพราะเครื่องคิดเลขและคอมพิวเตอร์ ตลอด จนเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ใช้ในการคำานวณ ไม่สามารถเชื่อถือได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ท่าน ทราบหรือไม่ว่าการคำานวณที่ผิดพลาดคร่าชีวิตนับร้อยเพียงชั่วข้ามคืน ดังตัวอย่างตึก ถล่มที่โรงแรมรอยัลพลาซ่าที่จังหวัดนครราชสีมาได้พรากชีวิตคณาจารย์และนัก วิชาการ รวมถึงผู้บริสุทธิ์อีกมากมายในงานสัมมนาวันนั้นอย่างน่าสลดใจ เพราะความ ผิดพลาดจากการคำานวณความสามารถในการรองรับนำ้าหนักของเสาอาคารโดยวิศวกร ผู้ออกแบบตึก นอกจากนั้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อไม่นานมานี้ก็คือความเสียหาย จากการทรุดตัวของทางขึ้นลงเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่ถือเป็นความ ภาคภูมิใจของชาวไทย สนามบินที่สร้างขึ้นโดยการรวบรวมสถาปนิกและวิศวกรระดับ ชาติทุกแขนง แต่แล้วความผิดพลาดในการคำานวณการก่อสร้างพื้นที่ลานขึ้นลงเครื่อง บินกลับทำาลายชื่อเสียงของวงการวิศวกรรมและสถาปนิกของประเทศไทยไปอย่างไม่ น่าเชื่อ ยังผลให้สายการบินภายในประเทศไทยบางส่วนต้องย้ายกลับมาใช้สนามบิน ดอนเมืองดังเดิม ประการที่หก คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน (มา นยเหตุ) รวมถึงการคาด คะเน คาดเดา หรือสรุปความเอาเอง เพราะสิ่งนั้นอาจไม่จริงอย่างที่คาด หากย้อนกลับ ไปยังยุคโบราณ เราจะทราบว่ามนุษย์ในโลกตะวันตกสมัยนั้นมีความเชื่อจากการ อนุมานกันว่า โลกแบน เพราะว่ามองออกไปทางใด ก็เห็นว่าพื้นพิภพช่างกว้างไกลลิบ “ ” ตา จนไม่กล้าล่องเรือออกไปไกลจากฝั่งเพราะกลัวว่าจะตกออกจากโลก ความเชื่อนี้ ไม่มีใครกล้าขัดแย้งในอดีตกาลเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างหนักจากสังคมและ ศาสนจักร จนเมื่อ ๔๐๐ ปีที่ผ่านมา กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีได้กล่าวว่าโลก ของเราไม่ได้แบน จึงทำาให้เขาถูกคุมขังและข่มขู่ให้เปลี่ยนความเชื่อนี้เสีย จนกระทั่งต่อ มาคริสตอเฟอร์ โคลัมบัส ได้แล่นเรือพร้อมกับลูกเรืออีกกว่า ๙๐ ชีวิต เดินทางข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก โดยไม่มีท่าทีว่าจะตกออกไปจากโลกแต่อย่างใด พวกเขาได้เดิน ทางไปตั้งรกรากยังทวีปอมริกาได้สำาเร็จ และค้นพบความจริงในที่สุดว่า โลกกลม “ ” ประการที่เจ็ด คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการตรองตามแนวเหตุผลจากอาการหรือ ลักษณะการ (มา อาการปริวิตกฺเกน) ในที่นี้หมายถึง ความเชื่อโดยเหตุผลพื้นฐานที่คำานึง จากลักษณะของสภาพ อาการหรือรูปลักษณ์ที่พึงเห็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือความจริง ที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมตรวจสุขภาพประจำาปีกัน เชื่อว่าสุขภาพของตนแข็งแรงดี และอาการทุกอย่างของร่างกายก็ดูเหมือนว่าจะเป็นปกติทุกอย่าง จึงไม่เห็นความจำาเป็น ใด ๆ ที่จะต้องเสียเงินเข้ารับการตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาล แต่พอเวลาผ่านไปได้ไม่ นานโรคร้ายบางอย่างไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งหรือการติดเชื้อจากไวรัสชนิดต่าง ๆ กลับ 3 แสดงอาการให้เห็นเฉพาะในระยะที่เกิดอาการการกำาเริบอย่างรุนแรงภายหลัง ซำ้าร้าย ไปกว่านั้นโรคภัยและเชื้อไวรัสบางชนิดหากไม่ได้รับการเยียวยาให้ทันท่วงทีก็มิอาจจะ รักษาให้หายขาดหรือกลับฟื้นคืนมาเป็นปกติได้ ประการที่แปด คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเห็นว่าเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา) หมายความว่าจงอย่าปักใจเชื่อในทฤษฎีที่ตรองดูแล้วว่าถูกต้อง ตามหลักการหรือตามเห็นสมควร เพราะทฤษฏีทุกแขนงที่ดูน่าเชื่อถืออาจไม่เป็นจริง เสมอไป ท่านเชื่อหรือไม่ว่าทฤษฎีบางประการของนักปราชญ์ชาวกรีกระดับโลก อย่าง เช่น อริสโตเติล ก็มีความผิดพลาดได้เช่นกัน ดังทฤษฎีที่ว่าโลกอยู่ตรงกลางของระบบ สุริยจักรวาลโดยมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หมุนรอบ หรือแม้แต่ทฤษฏีที่ว่าของหนักมัก จะตกถึงพื้นก่อนของเบา เพราะกาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอิตาลีได้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอถ้าตกลงมาจากที่สูงเท่ากัน นัก วิทยาศาสตร์บางท่านในยุคนั้นจึงกล่าวหาว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ทำาให้ความเจริญทาง วิทยาศาสตร์ต้องชะงักและเสื่อมลงไปอีก สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า สี่ตีนยังรู้พลาดนัก “ ปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ประการที่เก้า คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย) หรือพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า อย่าปลงใจเชื่อเพราะเห็นว่าสิ่งนั้นมีความน่าจะ เป็นไปได้ โดยรูปการณ์ ภาพรวม และลักษณะที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเหตุการณ์ใน อดีตที่หน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั่วประเทศไทยต่างออกมาประกาศ เพิ่มเงินลงทุนและเร่งแข่งขัน การตลาดกันขนานใหญ่เพื่อตอบรับความ เชื่อมั่นจากแนวโน้มในการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๓๘ แต่แล้ว ความเป็นจริงในสองปีหลังกลับแตกต่างจากความเชื่อมั่นก่อนหน้านี้อย่างคาดไม่ถึง เพราะความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ทำาให้รัฐบาลไทยต้องประกาศปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว และหันไปพึ่งเงินกู้ จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ส่งผลให้เศรษฐกิจมวลรวมทั้งประเทศ ตกตำ่าจนถึงขีดสุดในรอบหลายทศวรรษ ประการที่สิบ คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ ) อย่าปลงใจเชื่อในบุคคลที่ท่านนับว่าเป็น ครู หรือแบบอย่างในการ “ ” ดำาเนินชีวิต เพราะความเชื่อมั่นศรัทธาของท่านที่มีต่อบุคคลเหล่านั้นอาจไม่เป็นจริง อย่างที่เห็นดังตัวอย่างที่สะเทือนใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายคือข่าวของอดีตพระสงฆ์ ชื่อดังสององค์ องค์แรก คือ พระยันตระ อมโรภิกขุ อดีตพระรูปงามจากวัดสุญตาราม กาญจนบุรี ผู้มีรูปงามและลีลาการเทศน์ไพเราะจับใจทำาให้ ชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ นับถือทั่วประเทศ เห็นได้จากการที่หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๓๗ กล่าวสรรเสริญพระยันตระในคอลัมน์ อริยะและโลกที่ ๖ ว่า "ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีปฏิปทาศีลจารวัตรที่งดงาม สมควรกราบไหว้บูชาอย่างแท้จริง ท่านเป็นเนื้อนาบุญ ของพระพุทธศาสนา เป็นสมณะที่เจริญธรรม ตามรอยยุคลบาท พระบรมศาสดา ด้วยดวงใจบริสุทธิ์ที่ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว" ในขณะที่กิตติศัพท์ของพระยันตระ กำาลังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ก็ได้มีข่าวที่แสดงให้เห็นตัวตนที่แท้จริงออกมากว่า พระ ยันตระแอบมีภรรยา คือนางจันทิมา มายะรังษี และบุตรอีกหนึ่งคนแล้ว แต่ทานกลับไม่ ยอมรับความจริง แม้ว่าจะมีพยานบุคคลจากภรรยาของท่านเอง พร้อมกับพยานหลัก 4 ฐานต่าง ๆ มากมาย หลังจากนั้นไม่นานพระยันตระถูกเรียกร้องให้ตรวจเลือดพิสูจน์ ดีเอ็นเอกับบุตรของนางจันทิมา แต่ท่านกลับปฏิเสธอย่างแข็งขัน เมื่อถูกกดดันเป็นเวลา นานท่านจึงตัดสินใจเปลื้องจีวรออกหันไปนุ่งเขียวหุ่มเขียวและหลบหนีไปต่างประเทศ ไม่รับผิดข้อกล่าวหาใด ๆ ทั้งสิ้น อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องราวของ อดีจหล่วงพ่อภาวนา พุทโธ กับฉายา คนบาปในคราบนักบุญ เพราะไม่ทันจะสิ้นจากคดีพระยันตระในกลาง “ ” ปี ๒๕๓๙ พระนักบุญในนามหลวงพ่อภาวนาพทธโธ เจ้าอาวาสวัดสามพรานได้สร้าง ข่าวอื้อฉาวจากการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชาวเขาที่นำามาอุปการะไว้ที่วัด หลวงพ่อภาวนา พุทโธเป็นอดีตพระใจบุญที่อุปการะเด็กชาวเขาจำานวนมากรู้จักกันในภาพพจน์ของนัก ปฏิบัติธรรมผู้นำาคณะสงฆ์ออกเดินธุดงค์สอนให้คนละการทำาบาป แต่เขากลับสร้างบาป เสียเอง จึงได้แต่รอลงอาญาจากมหาเถรสมาคมในปีดังกล่าว หลังจากพบความผิดชี้ชัด พร้อมกับหลักฐานมัดตัวแน่นหนาจนมิอาจปฏิเสธได้ จากตัวอย่างทั้งหมดนี้บอกเป็นนัยได้ว่าความเชื่อของคนเรานั้นเป็นดัชนีชี้นำา พฤติกรรม เพราะคนส่วนใหญ่มักประพฤติปฏิบัติและดำาเนินชีวิตทั้งในเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การศึกษา และอาชีพตามความเชื่อที่ตนมีอยู่ ถ้าเชื่อในทางที่ถูกที่ควร (สัมมา ทิฐิ) ก็จะทำาในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร (มิฉาทิฐิ) ก็จะทำาในสิ่งที่ผิด พลาดตามมา ความเชื่อของบุคคลถูกหล่อหลอมมาจากการอบรมสั่งสอน สิ่งแวดล้อม และการกระทำา (กรรม) ในอดีตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติในปัจจุบัน แนวคิด ทางพุทธศาสนาเห็นว่า ความเชื่อของบุคคลจะถูกผิดมากน้อยเพียงใด ลึกซึ้งแค่ไหนขึ้น อยู่กับระดับความรู้และสติปัญญาตามลักษณะบัว ๔ เหล่า กล่าวคือ ๑) บุคลลักษณะ บัวพ้นนำ้า จะมีระดับสติปัญญาดีรู้ผิดชอบชั่วดี รู้กตัญญูด้วยตนเอง ๒) บุคคลลักษณะ บัวปริ่มนำ้า จะมีระดับสติปัญญาปานกลาง รู้ผิดชอบชั่วดี รู้ กตัญญูโดยการอบรมสั่งสอน ๓) บุคคลลักษณะ บัวใต้นำ้า จะมีระดับสติปัญญาตำ่าลง รู้ผิดชอบชั่วดี รู้กตัญญูโดย การฝึกอบรมสั่งสอนซำ้า ๆ ต้องคอยยำ้าเตือนและทบทวนบ่อย ๔) บุคคลลักษณะ บัวใต้ดิน จะมีระดับสติปัญญาตำ่าสุด ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จัก กตัญญู หัวดื้อสอนยาก เชื่อคนง่าย มักจะเชื่อและประพฤติตนในทางที่เสื่อมเสียแก่ ตนเองและผู้อื่น เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เกรียจคร้านไม่สู้งาน คิดรวยทางลัด งมงายอยู่ กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบนบานศาลกล่าวรอการประทานลาภยศสรรเสริญมาให้ ใครจะ มาอบรมสั่งสอนก็มักจะโกรธและปฏิเสธเพราะจิตคิดอกุศลเป็นอาจินต์จนติดเป็นนิสัย ความเชื่อจึงเป็นสิ่งสำาคัญยิ่งต่อการดำาเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล ที่มีผลกระทบต่อ สังคม ประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติ สามารถนำาพามาซึ่งความสงบสุข ความทุกข์ หรือแม้แต่การฆ้าล้างเผ่าพันธ์ สงครามทางศาสนา จนกระทั่งสงครามล้างโลกก็เป็นได้ ฉะนั้น แนวทางปฏิบัติตามในเรื่องที่ควรสงสัยหรือควรเชื่อตามหลัก กาลามสูตร จึง “ ” เป็นการยำ้าเตือนให้ให้มนุษย์รู้จักใช้สติและปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดูว่าสารหรือ ข้อมูลที่ได้รับฟังมากับหูหรือดูด้วยตาตนเองนั้นเป็นจริงและถูกต้องมากน้อยเพียงใด เพราะยุคแห่งข้อมุลข่าวสารสมัยใหม่มีกลวิธีล่อลวงให้มนุษย์ที่อ่อนหัดและขาด ประสบการณ์ตกหลุมพรางได้ง่าย ยิ่งถ้าหากใครขาดวิจารณญาณในการใคร่ครวญให้ ละเอียดถี่ถ้วนแล้วไซร้ ภัยที่เกิดขึ้นตามมาทีหลังอาจรุนแรงและแก้ไขได้ไม่ทันกาล หลักกาลมสูตรจึงเป็นสิ่งจำาเป็นอย่างยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนในปัจจุบัน

 (เขียนโดย นายอิศรินทร์ ติสันเทียะ )

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...