21 พฤษภาคม 2561
กาลามสูตร
จริงหรือไม่ที่ความเชื่อเป็นสาเหตุหนึ่งของความขัดแย้งในสังคมโลกทุกยุคทุก สมัย เมื่อความเชื่อของมนุษย์แตกต่างกันการแตกแยกและปัญหาก็ย่อมพลันเป็นผลตาม มีหลายครั้งที่ท่านอาจเกิดความสงสัยว่าทำาไมคนบางกลุ่มถึงได้มีแนวความคิดที่แปลก ประหลาดผิดแผกไปจากท่านนัก ทำาไมใครบางคนจึงมีทรรศนะที่ไม่ตรงกับท่านเสียเลย ทำไมไม่มีใครหยั่งถึงในสิ่งที่ท่านกำาลังรู้สึก หรือทำาไมการตัดสินใจของท่านจึงแทบไม่ ได้รับการสนับสนุนทั้ง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยแท้ เพราะเหตุนี้เองเรา คงมิอาจปฏิเสธได้ว่าความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ และทัศนคติ ต่างเป็นพื้นฐานที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่ออันหล่อหลอมมาจากความเป็นตัวตนและเอกลักษณ์ของ ปัจเจกบุคคลได้อย่างแท้จริง ความแตกต่างทางความเชื่อล้วนสร้างปัญหานานัปการให้กับสังคมของมนุษย์ทุก หมู่เหล่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคเกษตรกรรมจนก้าวลำ้ามาสู่ยุคแห่งข้อมูล ข่าวสาร ยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนย่อโลกทั้งใบให้ใกล้เข้ามาแค่เพียงเอื้อมมือ ความ ลำ้าหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตามมาสร้างช่องทางการสื่อสารขึ้นมาหลาย รูปแบบ จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าความสะดวกรวดเร็วจากการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเชื่อม โยงผ่านเครือข่ายสารสนเทศหรือการคมนาคมระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องธรรมดา สามัญไปแล้วสำหรับกระแสโลกาภิวัฒน์ปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารเป็นปัจจัยสำาคัญในการ ดำาเนินธุรกิจของสังคมเมือง สิ่งสำาคัญที่สุดที่เราควรคำานึงถึงในการรับสารไม่ใช่ความ พิสมัยในวิทยาการสมัยใหม่ แต่เป็นการใช้วิจารณญานในการกลั่นกรองข้อมูลหรือ ข่าวสารที่ได้รับก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อ ไม่ว่าสารนั้นจะสื่อออกมาในรูปของเอกสาร เครื่องมือสื่อสาร สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ข้อมูลอิเล็กโทรนิกส์ หรือแม้แต่การสื่อสารผ่านบุคคล เองก็ตาม มีแนวทางปฏิบัติต่อความสงสัยและความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาอยู่ แนวทางหนึ่ง แนวทางซึ่งเปรียบเสมือนข้อเตือนใจที่ช่วยให้มนุษย์พิเคราะห์ว่าสารและ ข้อมูลที่รับมานั้นจริงเท็จประการใด ถูกและควรหรือไม่ก่อนการตัดสินใจทำาอะไรลงไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมา แนวทางปฏิบัติที่ว่าก็คือ "กาลามสูตร" หลักพึงคิดสิบประการ ก่อนการตัดสินใจว่าควรเชื่อหรือไม่นั่นเอง หลัก "กาลามสูตร" ประการแรก คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (อนุสฺสเวน) หมายความว่าจงอย่าเชื่อคำาบอกเล่าต่อ ๆ กันมา ไม่ว่าจะมาจากการคำาชื่ม ชม การนินทาว่าร้ายหรือบอกให้เชื่อฟังทำาตาม ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าหากสวม ใส่เครื่องลางองค์จาตุคามารามเทพแล้วจะทำามาค้าขึ้น รำ่ารวยเป็นเศรษฐี ตามความจริง แล้วเรามิอาจพิสูจน์ได้ว่าคำาโฆษณาหรือการบอกต่อกันมาอีกทีนั้นจะเกิดขึ้นจริงตาม หลักวิทยาศาสตร์ แต่เราก็ไม่ควรที่จะลบหลู่ให้เกิดข้อพิพาทใด ๆ ทั้งสิ้น ทางที่ดีเราควร พินิจให้รอบคอบตามแนวทางการเตือนสติผู้นิยมเครื่องลางของขลังของพระพิศาล ธรรมวาที(พยอม กัลยาโณ) ซึ่งท่านได้เผยแพร่ คุกกี้ "จตุคำา" รุ่นฉุกคิดสี่คำา อันได้แก่ อุ กา กะ สะ ซึ่ง อุ มาจากคำาว่า อุฏฐานสัมปทา คือความขยันหมั่นเพียรหรือขยันหา “ ” “ ” อา มาจากอารักขสัมปทา หมายถึงการเก็บรักษาทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบธรรม หรือ ขยันเก็บ กะ มาจากกัลยาณมิตตา คือการคบหาคนดีหรือการเลือกคบคน ส่วนคำาว่า “ ” “ ” สะ มาจากสมชีวิตา คือการใช้จ่ายอย่างประหยัด ดังนั้น อุ อา กะ สะ คือการขยันหา ขยันเก็บ เลือกคบ เลือกใช้ เมื่อฉุกคิดแล้วและเข้าใจก็จะรำ่ารวยได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพา วัตถุมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น วัต จตุคามรามเทพแทนที่จตุราอริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ อันเป็นคำาสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อ ให้คนไทยได้คิด ไม่ยึดติดหลงใหลหรือเชื่อในวัตถุอย่างไร้สติ ประการที่สอง คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบกันมา (มา ปรมฺปราย) นั่น หมายความว่า จงอย่าหลงเชื่อในคำากล่าวอ้างตามวัฒนธรรมและประเพณี หรือตามคำา ปรัมปราที่ยึดถือสืบต่อกันมาช้านาน ในลักษณะ โบราณว่า หรือ เขาว่ากันว่า “ ” “ ” ตัวอย่างซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย ก็คือความเชื่อในการย่างเท้าออกจากบ้านหรือ การเขม่นตา บ้างก็ว่าขวาร้ายซายดี ซ้ายดีขวาร้ายต่างกันออกไป นอกจากนั้นจิ้งจกทัก ก็ถือเป็นลางร้ายบอกเหตุว่าจงอย่าออกจากบ้านอย่างเด็ดขาด หรือกระทั่งนกแสกบิน ข้ามหลังคาหมู่บ้านก็ขอให้เตรียมการไว้เพราะเป็นลางบอกเหตุร้ายของการสูญเสียชีวิต อีกตัวอย่างความเชื่อที่น่าสนใจตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยดั้งเดิมก็คือความเชื่อที่ ว่าหญิงไทยนั้นจะต้องเก็บรักษาพรหมจารีย์เอาไว้ให้เฉพาะชายที่จะได้แต่งงานด้วยกัน เท่านั้น หลายคนจึงถกเถียงกันว่าคู่รักในสังคมเราควรจะอยู่ก่อนแต่งแบบวัฒนธรรมต่าง ชาติ หรือแต่งก่อนอยู่อย่างวัฒนธรรมไทย ในเมื่อผู้หญิงก็มีสิทธิในร่างกายของตนเอง ชายใดหากจะคิดรักเธอก็ควรจะรักที่จิตใจและนิสัย หาใช่เพียงแค่เรื่องของความใคร่ และกามารมณ์เท่านั้น ผู้หญิงหลายคนจึงตั้งคำาถามขึ้นมาว่าทำาไมผู้ชายถึงสามารถมี เพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นก่อนแต่งได้โดยที่สังคมไม่ประนามหรือตำาหนิ แต่ในทางกลับกัน เรามองได้อีกแง่หนึ่งว่าผู้ที่เป็นหญิงสาวควรจะเก็บความบริสุทธิ์ไว้ เนื่องจากเพศหญิง เป็นเพศที่อ่อนโยน จึงควรจะรักนวลสงวนตัว ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการกุลสตรีที่ดี ทั้งนี้การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ พร้อมยังรักษาภาพพจน์ไม่ให้เสื่อมเสียก่อนการแต่งงานได้อีกด้วย ความเชื่อและค่า นิยมบางครั้งก็เดินคู่กันเป็นเส้นขนาน การรับเอาแนวความคิดและวัฒนธรรมต่าง ประเทศเข้ามาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ประการที่สาม คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย) ในที่นี้ หมายรวมถึง การลำ่าลือ ข่าวลือ และข่าวโคมลอยทั้งหลาย ตัวอย่างข่าวลือข่าวหนึ่งที่ โด่งดังมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเกิดขึ้นในช่วงกลางปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) เสด็จสวรรคต ศัตรู ทางการเมืองของท่าน ศาสตราจารย์ ดร .ปรีดี พนมยงค์ สบโอกาสในการทำาลายชื่อเสียง โดยการกระจ่ายข่าวว่าท่านเป็นผู้ลอบปลงพระชนม์ จนกระแสข่าวลือสร้างความกดดัน จนนำาไปสู่การลาออกจากตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีและตำาแหน่งสำาคัญทางการเมือง ทั้งหมดในช่วงปลายปีดังกล่าว ท่านเชื่อหรือไม่ว่าข่าวลือนี้เป็นความจริง แล้วท่านเชื่อ หรือไม่ว่าข่าวลือนี้ทำาให้ผู้อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย ผู้ที่มีคุณณูปการแก่ ชาติอย่างมากมายมหาศาล กลับเป็นผู้ที่โดนใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ กลายเป็นคนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ ดั่งภาพแปรอักษร เพื่อระลึกคุณความดีของท่านปรีดีในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ประจำาปี พุทธศักราช ๒๕๒๖ ที่ว่า พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้น “ ธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ ” ประการที่สี่ คือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำาราหรือคัมภีร์ (มา ปิฎกสมฺป ทาเนน) คืออย่าเชื่อตามคำากล่าวอ้าง แม้ว่าจะอิงจากพระไตรปิฏก คัมภีร์หรือตำาราที่ดู น่าเชื่อถือตามหลักวิชาการก็ตาม เพราะฉะนั้นเราต้องไตร่ตรองให้รอบคอบว่าข้อมูล หรือข้อความที่อ้างอิงมานั้นสามารถเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด จริงเท็จทั้งหมดทั้งมวล 2 หรือไม่ ตัวอย่างหนึ่งที่เราต่างทราบกันมาช้านานนั่นคือเรื่องราวของคัมภีร์ในศาสนา คริสต์ซึ่งเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก ศาสนาดังกล่าวแตกแขนงออกเป็น นิกายต่าง ๆ อาทิเช่น โปรแตสแตนต์ คาทอลิก และคริสเตียนนิตี้ ความแตกต่างของ หลักการและแนวความเชื่อบางประการทำาให้คัมภีร์ใบเบิ้ลของแต่ละนิกายมีความ ผิดแผกไปจากกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการปรุงแต่ง แทรกเสริมข้อมูล ลดละตัดทอน รวมถึง การบิดเบือนความจริงบางอย่างจากต้นฉบับ นอกจากนั้นคัมภีร์ฉบับแปลที่จัดทำาออกมา นับสิบเป็นร้อยภาษานั้น ท่านก็ควรตริตรองให้ดีถึงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของการ แปล ว่าภาษาในฉบับแปลเล่มนั้นถ่ายทอดความหมายได้ตรงกับหลักคำาสอนตาม ต้นฉบับและคงความศักดิ์สิทธิ์ไว้ได้ทุกถ้อยคำาหรือไม่ ประการที่ห้า คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ) ไม่ว่าจะเป็นการ คำานวณทางคณิตศาสตร์หรือตรรกศาสตร์ เพราะเครื่องคิดเลขและคอมพิวเตอร์ ตลอด จนเทคโนโลยีอันทันสมัยที่ใช้ในการคำานวณ ไม่สามารถเชื่อถือได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ท่าน ทราบหรือไม่ว่าการคำานวณที่ผิดพลาดคร่าชีวิตนับร้อยเพียงชั่วข้ามคืน ดังตัวอย่างตึก ถล่มที่โรงแรมรอยัลพลาซ่าที่จังหวัดนครราชสีมาได้พรากชีวิตคณาจารย์และนัก วิชาการ รวมถึงผู้บริสุทธิ์อีกมากมายในงานสัมมนาวันนั้นอย่างน่าสลดใจ เพราะความ ผิดพลาดจากการคำานวณความสามารถในการรองรับนำ้าหนักของเสาอาคารโดยวิศวกร ผู้ออกแบบตึก นอกจากนั้นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อไม่นานมานี้ก็คือความเสียหาย จากการทรุดตัวของทางขึ้นลงเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินที่ถือเป็นความ ภาคภูมิใจของชาวไทย สนามบินที่สร้างขึ้นโดยการรวบรวมสถาปนิกและวิศวกรระดับ ชาติทุกแขนง แต่แล้วความผิดพลาดในการคำานวณการก่อสร้างพื้นที่ลานขึ้นลงเครื่อง บินกลับทำาลายชื่อเสียงของวงการวิศวกรรมและสถาปนิกของประเทศไทยไปอย่างไม่ น่าเชื่อ ยังผลให้สายการบินภายในประเทศไทยบางส่วนต้องย้ายกลับมาใช้สนามบิน ดอนเมืองดังเดิม ประการที่หก คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน (มา นยเหตุ) รวมถึงการคาด คะเน คาดเดา หรือสรุปความเอาเอง เพราะสิ่งนั้นอาจไม่จริงอย่างที่คาด หากย้อนกลับ ไปยังยุคโบราณ เราจะทราบว่ามนุษย์ในโลกตะวันตกสมัยนั้นมีความเชื่อจากการ อนุมานกันว่า โลกแบน เพราะว่ามองออกไปทางใด ก็เห็นว่าพื้นพิภพช่างกว้างไกลลิบ “ ” ตา จนไม่กล้าล่องเรือออกไปไกลจากฝั่งเพราะกลัวว่าจะตกออกจากโลก ความเชื่อนี้ ไม่มีใครกล้าขัดแย้งในอดีตกาลเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างหนักจากสังคมและ ศาสนจักร จนเมื่อ ๔๐๐ ปีที่ผ่านมา กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีได้กล่าวว่าโลก ของเราไม่ได้แบน จึงทำาให้เขาถูกคุมขังและข่มขู่ให้เปลี่ยนความเชื่อนี้เสีย จนกระทั่งต่อ มาคริสตอเฟอร์ โคลัมบัส ได้แล่นเรือพร้อมกับลูกเรืออีกกว่า ๙๐ ชีวิต เดินทางข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก โดยไม่มีท่าทีว่าจะตกออกไปจากโลกแต่อย่างใด พวกเขาได้เดิน ทางไปตั้งรกรากยังทวีปอมริกาได้สำาเร็จ และค้นพบความจริงในที่สุดว่า โลกกลม “ ” ประการที่เจ็ด คือ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการตรองตามแนวเหตุผลจากอาการหรือ ลักษณะการ (มา อาการปริวิตกฺเกน) ในที่นี้หมายถึง ความเชื่อโดยเหตุผลพื้นฐานที่คำานึง จากลักษณะของสภาพ อาการหรือรูปลักษณ์ที่พึงเห็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือความจริง ที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมตรวจสุขภาพประจำาปีกัน เชื่อว่าสุขภาพของตนแข็งแรงดี และอาการทุกอย่างของร่างกายก็ดูเหมือนว่าจะเป็นปกติทุกอย่าง จึงไม่เห็นความจำาเป็น ใด ๆ ที่จะต้องเสียเงินเข้ารับการตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาล แต่พอเวลาผ่านไปได้ไม่ นานโรคร้ายบางอย่างไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งหรือการติดเชื้อจากไวรัสชนิดต่าง ๆ กลับ 3 แสดงอาการให้เห็นเฉพาะในระยะที่เกิดอาการการกำาเริบอย่างรุนแรงภายหลัง ซำ้าร้าย ไปกว่านั้นโรคภัยและเชื้อไวรัสบางชนิดหากไม่ได้รับการเยียวยาให้ทันท่วงทีก็มิอาจจะ รักษาให้หายขาดหรือกลับฟื้นคืนมาเป็นปกติได้ ประการที่แปด คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเห็นว่าเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้ (มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา) หมายความว่าจงอย่าปักใจเชื่อในทฤษฎีที่ตรองดูแล้วว่าถูกต้อง ตามหลักการหรือตามเห็นสมควร เพราะทฤษฏีทุกแขนงที่ดูน่าเชื่อถืออาจไม่เป็นจริง เสมอไป ท่านเชื่อหรือไม่ว่าทฤษฎีบางประการของนักปราชญ์ชาวกรีกระดับโลก อย่าง เช่น อริสโตเติล ก็มีความผิดพลาดได้เช่นกัน ดังทฤษฎีที่ว่าโลกอยู่ตรงกลางของระบบ สุริยจักรวาลโดยมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หมุนรอบ หรือแม้แต่ทฤษฏีที่ว่าของหนักมัก จะตกถึงพื้นก่อนของเบา เพราะกาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ชาวอิตาลีได้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอถ้าตกลงมาจากที่สูงเท่ากัน นัก วิทยาศาสตร์บางท่านในยุคนั้นจึงกล่าวหาว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ทำาให้ความเจริญทาง วิทยาศาสตร์ต้องชะงักและเสื่อมลงไปอีก สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า สี่ตีนยังรู้พลาดนัก “ ปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ประการที่เก้า คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย) หรือพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า อย่าปลงใจเชื่อเพราะเห็นว่าสิ่งนั้นมีความน่าจะ เป็นไปได้ โดยรูปการณ์ ภาพรวม และลักษณะที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเหตุการณ์ใน อดีตที่หน่วยงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั่วประเทศไทยต่างออกมาประกาศ เพิ่มเงินลงทุนและเร่งแข่งขัน การตลาดกันขนานใหญ่เพื่อตอบรับความ เชื่อมั่นจากแนวโน้มในการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๗-๓๘ แต่แล้ว ความเป็นจริงในสองปีหลังกลับแตกต่างจากความเชื่อมั่นก่อนหน้านี้อย่างคาดไม่ถึง เพราะความล้มเหลวทางเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ทำาให้รัฐบาลไทยต้องประกาศปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว และหันไปพึ่งเงินกู้ จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ส่งผลให้เศรษฐกิจมวลรวมทั้งประเทศ ตกตำ่าจนถึงขีดสุดในรอบหลายทศวรรษ ประการที่สิบ คือ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ ) อย่าปลงใจเชื่อในบุคคลที่ท่านนับว่าเป็น ครู หรือแบบอย่างในการ “ ” ดำาเนินชีวิต เพราะความเชื่อมั่นศรัทธาของท่านที่มีต่อบุคคลเหล่านั้นอาจไม่เป็นจริง อย่างที่เห็นดังตัวอย่างที่สะเทือนใจแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายคือข่าวของอดีตพระสงฆ์ ชื่อดังสององค์ องค์แรก คือ พระยันตระ อมโรภิกขุ อดีตพระรูปงามจากวัดสุญตาราม กาญจนบุรี ผู้มีรูปงามและลีลาการเทศน์ไพเราะจับใจทำาให้ ชื่อเสียงโด่งดัง มีลูกศิษย์ นับถือทั่วประเทศ เห็นได้จากการที่หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๓๗ กล่าวสรรเสริญพระยันตระในคอลัมน์ อริยะและโลกที่ ๖ ว่า "ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ที่ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีปฏิปทาศีลจารวัตรที่งดงาม สมควรกราบไหว้บูชาอย่างแท้จริง ท่านเป็นเนื้อนาบุญ ของพระพุทธศาสนา เป็นสมณะที่เจริญธรรม ตามรอยยุคลบาท พระบรมศาสดา ด้วยดวงใจบริสุทธิ์ที่ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว" ในขณะที่กิตติศัพท์ของพระยันตระ กำาลังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ก็ได้มีข่าวที่แสดงให้เห็นตัวตนที่แท้จริงออกมากว่า พระ ยันตระแอบมีภรรยา คือนางจันทิมา มายะรังษี และบุตรอีกหนึ่งคนแล้ว แต่ทานกลับไม่ ยอมรับความจริง แม้ว่าจะมีพยานบุคคลจากภรรยาของท่านเอง พร้อมกับพยานหลัก 4 ฐานต่าง ๆ มากมาย หลังจากนั้นไม่นานพระยันตระถูกเรียกร้องให้ตรวจเลือดพิสูจน์ ดีเอ็นเอกับบุตรของนางจันทิมา แต่ท่านกลับปฏิเสธอย่างแข็งขัน เมื่อถูกกดดันเป็นเวลา นานท่านจึงตัดสินใจเปลื้องจีวรออกหันไปนุ่งเขียวหุ่มเขียวและหลบหนีไปต่างประเทศ ไม่รับผิดข้อกล่าวหาใด ๆ ทั้งสิ้น อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องราวของ อดีจหล่วงพ่อภาวนา พุทโธ กับฉายา คนบาปในคราบนักบุญ เพราะไม่ทันจะสิ้นจากคดีพระยันตระในกลาง “ ” ปี ๒๕๓๙ พระนักบุญในนามหลวงพ่อภาวนาพทธโธ เจ้าอาวาสวัดสามพรานได้สร้าง ข่าวอื้อฉาวจากการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชาวเขาที่นำามาอุปการะไว้ที่วัด หลวงพ่อภาวนา พุทโธเป็นอดีตพระใจบุญที่อุปการะเด็กชาวเขาจำานวนมากรู้จักกันในภาพพจน์ของนัก ปฏิบัติธรรมผู้นำาคณะสงฆ์ออกเดินธุดงค์สอนให้คนละการทำาบาป แต่เขากลับสร้างบาป เสียเอง จึงได้แต่รอลงอาญาจากมหาเถรสมาคมในปีดังกล่าว หลังจากพบความผิดชี้ชัด พร้อมกับหลักฐานมัดตัวแน่นหนาจนมิอาจปฏิเสธได้ จากตัวอย่างทั้งหมดนี้บอกเป็นนัยได้ว่าความเชื่อของคนเรานั้นเป็นดัชนีชี้นำา พฤติกรรม เพราะคนส่วนใหญ่มักประพฤติปฏิบัติและดำาเนินชีวิตทั้งในเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การศึกษา และอาชีพตามความเชื่อที่ตนมีอยู่ ถ้าเชื่อในทางที่ถูกที่ควร (สัมมา ทิฐิ) ก็จะทำาในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร (มิฉาทิฐิ) ก็จะทำาในสิ่งที่ผิด พลาดตามมา ความเชื่อของบุคคลถูกหล่อหลอมมาจากการอบรมสั่งสอน สิ่งแวดล้อม และการกระทำา (กรรม) ในอดีตที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติในปัจจุบัน แนวคิด ทางพุทธศาสนาเห็นว่า ความเชื่อของบุคคลจะถูกผิดมากน้อยเพียงใด ลึกซึ้งแค่ไหนขึ้น อยู่กับระดับความรู้และสติปัญญาตามลักษณะบัว ๔ เหล่า กล่าวคือ ๑) บุคลลักษณะ บัวพ้นนำ้า จะมีระดับสติปัญญาดีรู้ผิดชอบชั่วดี รู้กตัญญูด้วยตนเอง ๒) บุคคลลักษณะ บัวปริ่มนำ้า จะมีระดับสติปัญญาปานกลาง รู้ผิดชอบชั่วดี รู้ กตัญญูโดยการอบรมสั่งสอน ๓) บุคคลลักษณะ บัวใต้นำ้า จะมีระดับสติปัญญาตำ่าลง รู้ผิดชอบชั่วดี รู้กตัญญูโดย การฝึกอบรมสั่งสอนซำ้า ๆ ต้องคอยยำ้าเตือนและทบทวนบ่อย ๔) บุคคลลักษณะ บัวใต้ดิน จะมีระดับสติปัญญาตำ่าสุด ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไม่รู้จัก กตัญญู หัวดื้อสอนยาก เชื่อคนง่าย มักจะเชื่อและประพฤติตนในทางที่เสื่อมเสียแก่ ตนเองและผู้อื่น เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เกรียจคร้านไม่สู้งาน คิดรวยทางลัด งมงายอยู่ กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบนบานศาลกล่าวรอการประทานลาภยศสรรเสริญมาให้ ใครจะ มาอบรมสั่งสอนก็มักจะโกรธและปฏิเสธเพราะจิตคิดอกุศลเป็นอาจินต์จนติดเป็นนิสัย ความเชื่อจึงเป็นสิ่งสำาคัญยิ่งต่อการดำาเนินชีวิตของปัจเจกบุคคล ที่มีผลกระทบต่อ สังคม ประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติ สามารถนำาพามาซึ่งความสงบสุข ความทุกข์ หรือแม้แต่การฆ้าล้างเผ่าพันธ์ สงครามทางศาสนา จนกระทั่งสงครามล้างโลกก็เป็นได้ ฉะนั้น แนวทางปฏิบัติตามในเรื่องที่ควรสงสัยหรือควรเชื่อตามหลัก กาลามสูตร จึง “ ” เป็นการยำ้าเตือนให้ให้มนุษย์รู้จักใช้สติและปัญญาพิจารณาไตร่ตรองดูว่าสารหรือ ข้อมูลที่ได้รับฟังมากับหูหรือดูด้วยตาตนเองนั้นเป็นจริงและถูกต้องมากน้อยเพียงใด เพราะยุคแห่งข้อมุลข่าวสารสมัยใหม่มีกลวิธีล่อลวงให้มนุษย์ที่อ่อนหัดและขาด ประสบการณ์ตกหลุมพรางได้ง่าย ยิ่งถ้าหากใครขาดวิจารณญาณในการใคร่ครวญให้ ละเอียดถี่ถ้วนแล้วไซร้ ภัยที่เกิดขึ้นตามมาทีหลังอาจรุนแรงและแก้ไขได้ไม่ทันกาล หลักกาลมสูตรจึงเป็นสิ่งจำาเป็นอย่างยิ่งในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดนในปัจจุบัน
(เขียนโดย นายอิศรินทร์ ติสันเทียะ )
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...
-
พระหลวงพ่อทวด ชุดนี้จัดสร้างโดยมีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ดำเนินการร่วมกับพระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาสใ พิธีปลุกเสกเมื่อวัน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น