24 พฤษภาคม 2561
วิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม4)
หลวงพ่อเมตตาสอนวิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม4)
โดยให้หลักไว้ดังนี้
โรคปากเสีย คือ โรคชอบต่อกรรม เมื่อถูกกระทบทางทวารทั้ง 6 (ประตูทั้ง 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบผิวกาย และธรรมารมณ์)
เพราะอุเบกขา หรือวางเฉยไม่เป็น เบรกจึงแตกเป็นปกติ มีผลทำให้กรรมบท 10 หมวดวาจา ไม่เต็มสักที (กรรมบท 10 หมวดวาจา 4 มี ไม่พูดโกหก, ไม่พูดคำหยาบ , ไม่พูดส่อเสียดหรือพูดนินทาผู้อื่น และไม่พูดเรื่องไร้สาระไม่เกิดประโยชน์)
วิธีปฏิบัติแก้โดย
1) พยายามคิดเสียก่อนจึงค่อยพูด
2) หรือพยายามคิดอยู่ตลอดเวลาที่ฟังคนอื่นเขาพูด
3) พยายามดึงจิต อย่าไปไหวตามคำพูดของผู้อื่น (โดยฟังอย่างเดียว ห้ามปรุงแต่งธรรมนั้นๆ)
4) พยายามฟังแล้วกรองเอาสาระจากคำพูดนั้นๆ ของเขา ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (ด้วยปัญญา)
5) เวลาคนอื่นเขาพูด จะยาวจะสั้น ปล่อยเขาพูดให้จบก่อน เราใช้ความคิดฟังไปแล้ว จะรู้ว่า คำพูดนั้นๆ มีสาระหรือไม่มีสาระ ควรพูดหรือไม่ควรพูด หรือ ควรวาง ควรตัด ก็รู้ได้ด้วยความคิด ไม่ใช่ประโยคไหนมากระทบหูแล้ว กูอยากจะพูดก็ว่าไปเรื่อย โดยไร้ความคิดพิจารณา
6) หากทำตาม 5 ข้อแรกแล้ว คิดอยากพูดบ้างก็ให้พิจารณาว่า พูดแล้วเป็นคุณหรือโทษ มีสาระหรือไม่มีสาระ ยิ่งเป็นสาระธรรมในพระพุทธศาสนายิ่งสำคัญ จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเป็นความจริง ไม่ผิดศีล-ไม่ผิดพระวินัย ไม่ผิดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ผิดก็พูดได้ สรุปว่าต้อง นิสสัมมะ กรณัง เสยโย หรือใคร่ครวญด้วยปัญญาเสียก่อนจึงค่อยพูด เพราะแม้ว่าจะเป็นจริงแต่พูดแล้วคนฟังไม่เชื่อ-ไม่ศรัทธา ก็ไร้ประโยชน์ที่จะพูด
ที่มา : ธรรมะที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑ หน้า ๙๒-๙๓
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
หล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปางเทศนา หลังพระปางอุ้มบาตร เนื้อเมฆพัด ลงรักปิดทอง สร้าง พ.ศ.๒๔๑๑ เจ้าพระคุณสมเด็จโต สร้างและปลุกเสก...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น