22 ธันวาคม 2562
เรื่องการปรามาสพระอริยะเจ้า มีโทษหนักมาก โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
18 ธันวาคม 2562
ผลแห่งการเจริญพุทธานุสสติ
25 พฤศจิกายน 2562
มิจฉาทิฏฐิ มี๓ ประการ
31 ตุลาคม 2562
#พระศรีอริยเมตไตรย์ หรือหลวงพ่อทวด องค์เดียวกัน.
27 ตุลาคม 2562
ท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ยังมีชื่ออีกหลายชื่อ เช่น ธนบดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์ ธเนศวร หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งทรัพย์ อิจฉาวสุ หมายถึง มั่งมีได้ตามใจ ยักษ์ราชหมายถึง เจ้าแห่งยักษ์ มยุราช หมายถึง เป็นเจ้าแห่ง กินนร รากษเสนทร์ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในพวกรากษส ส่วนในเรื่องรามเกียรติ์ เรียกท้าวเวสสุวรรณว่า ท้าวกุเรปัน ในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอดีตชาติของท้าวกุเวร เอาไว้ใน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ว่า ในสมัยที่โลกยังว่าง จากพระพุทธศาสนา ไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ ผู้หนึ่ง นามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพ ด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อย ตัดใส่ลงไปในหีบยนต์ แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตน และบุตรภรรยา ต่อมากิจการ เจริญขึ้น จนเป็นเจ้าของ หีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง 7 เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับ คนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อย จากหีบยนต์เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่น ๆ ให้เป็นทาน แก่คนเดินผ่านไปมา จนตลอดอายุขัย ด้วยอำนาจ แห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตร บนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า'กุเวรเทพบุตร' ต่อมากุเวรเทพบุตร ได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแล พระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า 'ท้าวเวสสุวรรณ'
ตามหลักฐานในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ยืนยันว่า 'ท้าวกุเวร' หรือ 'ท้าวเวสสุวรรณ' เทวราชพระองค์นี้ ได้สำเร็จเป็น พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเมื่อครั้ง 'จุลสุภัททะ ปริพาชก' เกิดความสงสัยในความเป็นมาแห่ง องค์สมเด็จ พระพุทธเจ้า ท่าน'ท้าวเวสสุวรรณ' องค์นี้แหละ ที่ได้เสด็จไปร่วมต้อนรับด้วย และ ยังเป็นประจักษ์พยาน เรื่องพระมหาโมคคัลลานะ ใช้เท้าจิกพื้นไพชยนตวิมาน ของพระอินทร์จนเกิดการ สั่นสะเทือนไป ทั้งดาวดึงส์ เทวโลก อันเป็นการเตือนสติสักกะเทวราชอีกด้วย และก็เชื่อกันตาม ฎีกามาลัยเทวสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า 'คทาวุธ' ของ 'ท้าวเวสสุวรรณ' นั้น เป็นยอดศัสตราวุธ มีอานุภาพสามารถทำลายโลกใบนี้ให้เป็น จุณวิจุณภายในพริบตา จะเห็นได้ว่า ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณนั้น ท่านเป็นเทพที่สำคัญยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ที่พิทักษ์รักษา พระพุทธศาสนา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ท่านท้าวสักกะเทวราช หรือ พระอินทร์เลยทีเดียว ตามวัดวาอารามต่าง ๆ จะมีรูปปั้นยักษ์ 1 ตน บ้าง 2 ตนบ้าง ยืนถือกระบองค้ำพื้น ส่วนมากจะมี 2 ตน เฝ้าอยู่หน้า ประตูโบสถ์ หรือ วิหารที่เก็บของมีค่า มีพระพุทธรูป และโบราณสมบัติล้ำค่าของทางวัดบรรจุอยู่ ด้านละ 1 ตน หรือไม่ก็บริเวณลานวัด หรือที่ที่มีคนผ่านไปมาแล้วเห็นโดยง่าย บ้างก็สร้างเอาไว้ในวิหาร หรือ ศาลาโดยเฉพาะก็มี ซึ่งยักษ์เหล่านั้น ถ้าเป็น ตนเดียว ก็จะหมายถึง รูปเคารพของท้าวเวสสุวรรณ แต่ถ้าเป็น 2ตนก็จะเป็นบริวารของท่านท้าวเวสสุวรรณ คอยทำหน้าที่ ปกปักรักษา ดูแลบริเวณวัด ( หมายเหตุ : มีกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า อาวุธที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกมี ๔ อย่าง คือ
หนึ่ง วชิราวุธของท้าวสักกะ
ถ้าท้าวสักกะทรงพิโรธแล้ว พึงประหารโดยวชิราวุธบนยอดเขาสิเนรุแล้ว วชิราวุธนั้นก็จะพึงชำแรกภูเขาสิเนรุซึ่งสูงหนึ่งแสนหกหมื่นแปดพันโยชน์ ลงไปถึงข้างล่างได้ (เข้าใจว่า ทำไมเหล่าอสูรจึงกลัวที่ท้าวสักกะโกรธกัน ก็สามารถส่งอาวุธลงไปทำลายได้ถึงวิมาณเลย)
สอง คทาวุธของท้าวเวสวัณ (เวสสุวรรณ)
คทาวุธที่ท้าวเวสวัณปล่อยในกาลที่ตนยังเป็นปุถุชนนั้น สามารถทำลายศีรษะของพวกยักษ์หลายพันแล้วได้ในคราวเดียว กลับมาสู่กำมือตั้งอยู่อีกได้ ยักษ์ทั้งหลายจึงกลัว ผีทั้งหลายจึงกลัว ท้าวเวสสุวรรณเป็นหัวหน้าของยักษ์และบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลาย ที่ไครๆไม่อาจต่อกรได้ ท่านวางกฎเกณฑ์ไว้ ต้องรักษาสุดชีวิต ไครจะล่วงละเมิดเป็นไม่ได้ (เข้าใจเลยว่า ทำไมท้าวเวสสุวรรณจึงปกครองเหล่ายักษ์ที่เกเรได้ ส่วนที่ว่าในสมัยที่เป็นปุถุชนนั้น เพราะท้าวเวสสุวรรณตอนนี้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้แล้วที่จริงท้าวสักกะก็เป็นพระโสดาบันแล้วด้วยเช่นกัน)
สาม นัยนาวุธของพระยายม
ถ้าพระยายมพิโรธแล้ว สักว่ามองดูด้วยนัยนาวุธ กุมภัณฑ์หลายพันก็จะลุกเป็นไฟพินาศ ดุจหญ้าและใบไม้บนกระเบื้องร้อนฉะนั้น (เข้าใจเลยว่า ทำไมพระยายมจึงคุมเหล่ากุมภัณฑ์ได้ เพียงแค่มองด้วยนัยตาพิฆาตเมื่อโกรธเท่านั้นเอง ไหม้เป็นจุณได้เลย)
สี่ ทุสสาวุธของอาฬวกยักษ์
อาฬวกยักษ์โกรธ ถ้าปล่อยทุสสาวุธในอากาศแล้ว ฝนก็ไม่พึงตกตลอด ๑๒ ปี ถ้าปล่อยในแผ่นดินไซร้ วัตถุมีต้นไม้และหญ้าทั้งปวงเป็นต้น ก็จะเหี่ยวแห้งไม่งอกอีก ภายใน ๑๒ ปี ถ้าพึงปล่อยในสมุทรไซร้ น้ำทั้งหมดก็พึงเหือดแห้งดุจหยาดน้ำ ในกระเบื้องร้อน ฉะนั้น ถ้าจะพึงปล่อยในภูเขาเช่นกับเขาสิเนรุไซร้ ภูเขาก็จะเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ กระจัดกระจายไป.
ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้น จาตุ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือมียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหา ราชิกา มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ
ท้าว เวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักชะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบ มีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ) กว่าท้าวมหาราชองค์อื่น
พุทธศาสนาของเรานั้น กล่าวถึงท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ทิศ ที่เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔อันได้แก่ ท่านท้าวกุเวร เป็นโลกบาลประจำทิศอุดร (ทิศเหนือ)ท่านท้าวธตรฐ เป็นโลกบาลประจำทิศบูรพา (ตะวันออก) ท่านท้าววิรุฬหก ประจำทิศทักษิณ (ใต้)และท่านท้าววิรูปักษ์ ประจำทิศประจิม (ตะวันตก)
ท้าวทั้ง ๔ คือ ท้าวจตุโลกบาล ผู้รักษาทิศทั้ง ๔ ตามตำนานทางศาสนา ท้าวจตุโลกบาลเป็นเทพในกามาวจรภูมิเป็นสวรรค์ชั้นแรกใน ๖ ชั้น คือ จตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดีปรนิมมิตวสวัตตี
ตามแนวความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ตั้งอยู่บนเขายุคันธรสูงจากพื้นผิวโลก ๔๖,๐๐๐ โยชน์สวรรค์ชั้นนี้นับเป็นสถานที่พิเศษกว่ามนุษยโลกในด้านความเป็นอยู่ และความสุข กามาวจรเทพชั้นนี้เรียกรวมกันว่า “จตุมหาราชิกเทวดา” ในสวรรค์ชั้นนี้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซึ่งมีมหาราชทั้ง ๔องค์ครองอยู่แบ่งเป็นส่วน ๆ ไป คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุ วรรณเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท้าวกุเวร
(หนึ่ง) ท้าววิรูฬปักษ์เป็นเจ้าแห่งพญานาคทั้งปวง (บางตำราก็ว่าเจ้าแห่งครุฑ) ปกครองทิศตะวันตก ท้าววิรูปักษ์ หรือวิรูปักข์นี้ เป็นเทวราช มีนาคเป็นบริวาร มีหน้าที่ดูแลทิศปัจฉิม (ตะวันตก) ของภูเขาสินเนรุราช ในสุธรรมาเทวสภา ท้าวมหาราชองค์นี้จะผินพักตร์ไปทางทิศตะวันออก มีพระโอรสทั้งหมด ๙๐ องค์ ล้วนแต่ทรงพลัง กล้าหาญ งามสง่า และทรงปรีชาในกรณียกิจทั้งหลาย พระโอรสทั้งหมดล้วนแต่มีพระนามว่า “อินทร์” ในเทพนครด้านปัจฉิมนี้มีทิพย์สมบัติต่างๆ อันงดงามและดีเยี่ยม เท่าเทียมกับเทพนครอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันนี้ ท้าววิรูปักษ์ทรงครอบครองราชสมบัตินานเท่าเทียมกับเทวราชองค์อื่น ๆ
(สอง) ท้าวกุเวร หรือเวสสุวัณ เป็นเจ้าแห่งยักษ์และภูติผี ปกครองทิศเหนือ ท้าวไพศรพณ์องค์นี้ เป็นพระราชาธิบดีของยักษ์ทั้งหลาย ในการพิทักษ์อาณาเขตด้านทิศอุดร (เหนือ)ของสุเมรุบรรพต มหาราชองค์นี้มีอาณาจักรครอบคลุมภาคเหนือทั้งหมด มีนครหลวงชื่ออิสนคร พระองค์มีโอรสจำนวน ๙๐ องค์ ล้วนแต่สง่างาม มีศักดานุภาพเป็นอันมาก ราชโอรสเหล่านี้มีพระนามว่า“อินทร์” ในเทพนครนี้เป็นทิพยวิมาน ทิพยสมบัติที่ท้าวเวสสุวรรณครองอยู่ท่ามกลางราชโอรส เป็นเวลาถึง ๕๐๐ปีทิพย์จึงสิ้นวาระแห่งเทพจตุโลกบาล
(สาม) ท้าวธตรัฐ เป็นเจ้าแห่งวิทยาธร และคนธรรพ์ (บางตำราก็ว่าเจ้าแห่งกุมภัณฑ์) ปกครองทิศตะวันออก เป็นองค์หนี่งในมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ที่ครองชั้นจตุมหาราชิกาเป็นหัวหน้า คือราชาแห่งคนธรรพ์ มีหน้าที่บูชาทิศบูรพา (ตะวันออก) ของเขาพระสุเมรุ กล่าวว่าท้าวธตรฐมีโอรสหลายองค์ โดยมีนามเรียกกันว่า “ศิริ"ในวิมานที่อยู่ของมหาราชองค์นี้ล้วนแล้วไปด้วยสิ่งต่าง ๆ กันเป็นที่น่ารื่นรมย์เป็นเสียงดนตรีและร่ายรำ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ชื่นชมแก่พระองค์และพระโอรสทั้งหลาย
(สี่) ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งอสูร และกุมภัณฑ์ (ตามความเชื่อบางคติจะพบได้ว่าท้าววิรุฬหกคือผู้ปกครองครุฑ และนก) ปกครองทิศใต้ มหาราชองค์นี้เป็นใหญ่ในกุมภัณฑ์ ซึ่งให้การอารักขาด้านทิศทักษิณ (ใต้) แห่งเขาพระสุเมรุเทวดาโอรสของพระองค์มี ๙๐ องค์ด้วยกัน แต่ละองค์ล้วนมีแต่ฤทธิ์อานุภาพแกล้วกล้า ปรีชาชาญงามสง่า และเป็นที่ยกย่องเกรงขามทั่วไป ท้าวจตุโลกบาลองค์นี้มีสิ่งประดับบารมีมากมาย เสวยสุขอยู่ในหมู่ราชโอรส ตลอดพระชนมายุ ๕๐ ปีทิพย์หรือปีมนุษย์นับได้ ๑๖,๐๐๐ ปีเป็นประมาณ
โดยเหตุที่ท้าวเวสสุวัณเป็น“เทพเจ้าแห่งทรัพย์ “เป็นผู้รักษาทรัพย์ในแผ่นดินเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศเหนือของสวรรค์ชั้นจตุ มหาราชิกาเป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์และภูตผีปีศาจและความมั่งคั่ง ไพบูลย์ทั้งหลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ไวศรวัณ เวสสุวัณ ธนบดี (เป็นใหญ่ในทรัพย์) ธเนศวร (เจ้าแห่งทรัพย์) อุจฉาวสุ (มั่งมีได้ดั่งใจ) ยักษราช (ขุนแห่งยักษ์) รัตนครณ(พุงแก้ว) อีศะสขี(เพื่อนพระศิวะ)ฯลฯ
ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวัณว่า “ท้าวไพศรพมหาราช”และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า”ท้าว ไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดรเถิงกำแพง จักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุกฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้น บ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้านแลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึง กลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัว๑ดูงามดั่งทอง”จากคำพรรณนาดัง กล่าวแสดงให้เห็นว่าท้าวเวสสุวัณหรือท้าไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมาย ไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง
ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรค ทีฆนิกาย กล่าว ไว้ว่าดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวัณชื่ออาลกมันทาราชธานีเป็นนครเทพเจ้า ที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวัณเทวราชโลกบาลองค์นี้เป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบันและเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าว สักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวัณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราช โอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของ ท้าวเวสสุวัณนั่นเอง
ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่าเมื่อ ถึงวันอุโบสถคือขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอโดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดิน ดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ถ้าใครทำบุญ ประพฤติธรรมทำความดีก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำ ไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลาย ก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้พญายมราช เพื่อให้นายนิรยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรก เหล่านั้น
ศิลาจารึกสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ท้าว เวสสุวัณมีปราสาทช้างเรืองอร่ามด้วยแสงแก้วอยู่เหนือยอดเขายุคนทร มียักษ์เฝ้าประตูวังและยักษ์เสนาบดีอยู่หลายตนมีร่างทิพย์ ม้าทิพย์ ราชรถทิพย์และบุษบกทิพย์ มีศักดิ์เป็นใหญ่แก่ฝูงยักษ์ทั้งหลาย ๙ตนมีบริวารที่เรียกว่า”ยักขรัฏฐิภะ”ซึ่งมีหน้าที่สืบข่าวและตรวจตรา เหตุการณ์ต่างๆรวม ๑๒ ตนและยังมียักษ์ที่สำคัญเป็นเสนาบดียักษ์อีก ๒๘ นายที่คอยรับใช้ท้าวเวสสุวัณอยู่ดังจะเห็นว่า ท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน แม้กระทั่งใน ลัทธิของจีนฝ่ายมหายานว่า ท้าวโลกบาลทิศอุดรมีชื่อว่า”โตบุ๋น”เป็นขุนแห่งยักษ์มีพวกยักษ์บริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ทางทิเบต มีกายสีทองคำถือธงและพังพอน ทางญี่ปุ่น ถือ ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภนามว่า "พิสะมอน "ถือแก้วมณีทวนและธงตามที่ได้พรรณนามานั้นเป็นเพียงประวัติย่อๆของท้าว เวสสุวัณเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่านมีความสำคัญมากเพียงใดโบราณาจารย์จึงได้จัด สร้างรูปไว้เคารพบูชามาตั้งกว่าพันปีมาแล้ว
โดยสรุปแล้วท้าวเวสสุวัณ ถือเป็นเทพเจ้าที่สำคัญยิ่ง เป็นที่เคารพนับถือในหลายต่อหลายประเทศ ในไทยเราเองนั้นนับถือเทพเจ้าองค์นี้มาก ในฐานะผู้คุ้มครองในห้ปลอดภัยจากวิญญาณร้าย ดังเราจะเห็นได้ว่าครุบาอาจารย์มักทำผ้ายันต์ท้าวเวสสุวัณ เป็นผืนสีแดงไว้ติดตามประตู เพื่อป้องกันภูตีผีปีศาจ คติความเชื่อนี้ถือว่าเก่าแก่ และเป็นที่คุ้นตาที่สุด หรืออย่างพิธีสวดภาณยักษ์ ก็เช่น พระคาถาภาณยักษ์ หรือบท “วิปัสสิ”นี้เป็นพระคาถาทีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ท่าน โดยมีท้าวเวสสุวัณเป็นหัวหน้า นำมามอบให้พระพุทธเจ้า เพราะเห็นว่าบริวารของตนนั้นมีมาก บางพวกก็มีนิสัยดี แต่บางพวกมีนิสัยพาลเกเร อาจทำร้ายแก่พระธุดงค์ที่อยู่ตามป่าช้า ตามเขา ตามป่าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงได้มอบพระคาถาภาณยักษ์ถวายแด่พระพุทธองค์
ปัจจุบันเราก็ยังสามารถพบเห็นการสวดภาณยักษ์ได้อยู่ และ จะเห็นรูปท้าวเวสสุวัณเด่นเป็นสง่าเสมอ ในพิธีสวดภาณยักษ์นี้ เพราะท้าวเวสสุวัณเป็นผู้ที่มีสิทธิเฉียบขาดในการลงโทษภูตีผีปีศาจทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นว่า ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเทพเจ้าที่มีคุณในการทำลายล้างสิ่งอัปมงคล ทั้งกันทั้งแก้เรื่องผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำทั้งหลายได้ ทั้งยังให้คุณเรื่องโภคทรัพย์อีกประการหนึ่ง ดังคำกล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งปวง (ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระ กรรมฐาน เป็นต้น
ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวัง ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูป ท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณโณ หรือท้าวกุเวร
(ตั้งนะโม ๓ จบ) ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วว่าดังนี้
อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ ฯ
หนังสือโบราณ Santiya Dakov ว่าด้วยการกำเนิดมนุษย์.
พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ เนื้อสัมฤทธิ์ ปี 2506 วัดประสาทบุญญาวาส
21 ตุลาคม 2562
#คณะอภิญญาโลกอุดรทั้งห้า
คณะหลวงปู่ใหญ่ หรือ หลวงปู่โลกอุดรมิได้มีเพียงองค์เดียวนะลูกหลานเอ๊ย๚ มีหลายองค์ด้วยกัน เรียกว่าเป็นคณะทำงานเพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ตามพุทธพยากรณ์
ในคณะทำงานนั้นแบ่งหน้าที่กันเป็น ๕ ด้าน มีรายนามตามตำนาน ๕ พระองค์ด้วยกัน ดังนี้ คือ....
๑. หลวงตาดำ หรือ หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า
บรมครูสูงสุดแห่งคณะเทพโลกอุดร การเรียก "หลวงปู่ใหญ่" ก็เกิดจากท่าน เพราะท่านอยู่ในฐานะใหญ่ที่สุดในคณะโลกอุดร
๒. ขรัวเศียรบาตร หรือ หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า เป็นศิษย์น้องและน้องชายของหลวงตาดำ
๓. หลวงปู่โพรงโพธิ์ หรือ หลวงปู่มูนียะเถระเจ้า (หลวงปู่อิเกสาโร) เป็นศิษย์เอกขององค์หลวงตาดำ พระมูนียะเถระเจ้า หรือ พระอิเกสาโร หรือ หลวงปู่โพรงโพธิ์ หรือ หลวงปู่เดินหน เป็นองค์เดียวกัน เป็นผู้ชำนาญทางเตโชกสิณ
๔. ขรัวแก้มแดง หรือ หลวงปู่พระฌานียะเถระเจ้า เป็นผู้ชำนาญเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุ เป็นผู้สำเร็จปรอท
๕. ขรัวขี้เถ้า หรือ หลวงปู่พระภูริยะเจ้า
เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ต่างๆขึ้นในราชอาณาจักรที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ คณะหลวงปู่ใหญ่ทั้งห้านี้ท่านจะประชุมกัน แบ่งหน้าที่กันเพื่อสำแดงบุญฤทธิ์-อิทธิฤทธิ์ปกป้องและสืบสานพระพุทธศาสนา รวมทั้งการคุ้มครองส่งเสริมพุทธศาสนิกชนที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบให้ประสบความสุขความเจริญ เพื่อให้คนดีทำหน้าที่ปกป้องและสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป
คณะโลกอุดรทั้ง ๕ นี้ ท่านเป็นผู้ทรงอภิญญาชั้นสูง มีวสีชำนาญในการเข้าออกฌานได้ตามปรารถนา ทั้งยังสามารถแสดงฤทธิ์อวตารหรือจำแลงแปลงตนให้เป็นคนหรือสัตว์ต่างๆได้ตามปรารถนา แต่ท่านจะไม่ทำพร่ำเพรื่อ จะแสดงฤทธิ์เท่าที่จำเป็นสูงสุด เพื่อกิจจำเป็นและสำคัญที่สุดเท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าไม่ส่งเสริมให้ภิกษุแสดงฤทธิ์
ในบรรดา ๕ ท่านนี้ ; - “หลวงตาดำ” คือ “#พระอุตตระเถระ” เป็นองค์สำคัญที่สุด ท่านมีอายุยาวนานมากว่าพันปีมนุษย์ ถือเป็นองค์ประธานของคณะโลกอุดร
- รองลงมาคือ “ขรัวเศียรบาตร” องค์นี้มีฤทธิ์และบุญญาธิการสูงส่ง มีฐานะเป็นน้องและศิษย์น้องของหลวงตาดำ
- รองลงมาอีกก็คือ “หลวงปู่โพรงโพธิ์” องค์นี้ท่านสำเร็จธรรมชั้นสูงมักเป็นตัวแทนของหลวงตาดำหรือหลวงปูใหญ่ไปโปรดสัตว์หรือไปทำภาระหน้าที่ต่างๆ แทนองค์หลวงปู่ใหญ่เสมอๆ ได้รับอนุญาตเป็นพิเศษจากหลวงปู่ใหญ่ให้แสดงฤทธิ์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ท่านจึงปรากฏกายแสดงฤทธิ์โปรดสัตว์บ่อยๆเป็นที่เล่าขานมากที่สุดในบรรดาศิษยานุศิษย์
ดังนั้นศิษย์ส่วนใหญ่ที่ได้พบเห็นหลวงปู่ใหญ่ก็คือได้เห็น “หลวงปู่โพรงโพธิ์” นั่นเอง
หลวงปู่โพรงโพธิ์ คือ องค์ที่มีหน้าตาหนุ่มแต่เกศาขาวโพลน ภาพลักษณ์ของท่านเป็นหน้าตาเดียวกันกับพระครูใบฎีกาพรหม จ.สิงห์บุรี โดยที่ท่านพระครูพรหมองค์นี้ก็คืออวตารของพระโลกอุดรเช่นกัน
เมื่อศิษย์หลวงปู่ใหญ่ทุกคนในยุคหลังๆมานี้ได้รับนิมิต คือ หลวงปู่ใหญ่มาบอกกล่าวสั่งสอน ก็มักจะเห็นเป็นภาพพระครูใบฎีกาพรหม แต่ไม่แน่อาจจะเป็นภาพโครงกระดูก ภาพเทวดา ภาพสัตว์ต่างๆ ตามแต่หลวงปู่ใหญ่ตั้งใจจะสอนธรรมแก่ลูกศิษย์ในเรื่องอะไร
- องค์ต่อมาคือ “ขรัวแก้มแดง” องค์นี้ชำนาญในสมาบัติ ๘ และยังสามารถทางเล่นแร่แปรธาตุ เหล็กไหล ไพรดำ ปรอทกายสิทธิ์ ท่านชำนาญด้านนี้มาก สำเร็จธาตุ สำเร็จปรอท สามารถใช้ฤทธิ์อธิษฐานให้ตัวท่านเองมีอายุยืนยาวได้เป็นกัปนับล้านปี ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ ๘ และอานุภาพปรอทกายสิทธิ์
การที่เรียกท่านว่า “ขรัวแก้มแดง” ก็เพราะเมื่อท่านอมปรอทวิเศษไว้ในปากข้างใดก็ตาม แก้มข้างนั้นจะแดงระเรื่อๆ ขึ้นมา แล้วเปลี่ยนไปอมอีกด้าน แก้มอีกด้านก็จะแดงขึ้นมาแทน ท่านจึงมีนามเรียกตามลักษณะดังกล่าวว่า “ขรัวแก้มแดง”
การหุงปรอทของท่านนั้นนอกจากหุงไว้ใช้เองแล้ว ท่านยังหุงไว้มอบให้ผู้มีบุญ เช่น พระโพธิสัตว์ พระอริยเจ้า หรือ ผู้ทรงฌาน โดยปรอทสำเร็จของท่านบางส่วน ได้ฝากฝังไว้ตามแผ่นผา โขดหิน ผนังถ้ำ รอคอยผู้มีบุญมาค้นพบและนำไปเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสังคมพระพุทธศาสนาสืบไป เพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจในการปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
อิทธิฤทธิ์-บุญฤทธิ์ของคณะโลกอุดรทั้ง ๕ นี้ โดยหลักใหญ่แล้วก็เพื่อเป็นขวัญพลังใจให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ทุกฝ่าย ทุกแขนง ได้ช่วยกันสืบทอดพระพุทธศาสนาให้สืบทอดต่อไปตามพุทธพยากรณ์ถึง พ.ศ. ๕๐๐๐ นั่นเอง.
- องค์ต่อมา คือ "ขรัวขี้เถ้า" ท่านเป็นผู้ชำนาญทางเตโชกสิณ หรือ กสิณไฟ คือการใช้ไฟในการเผากิเลสตัณหา และใช้ไฟเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้คนไม่หลงใหลติดยึดในวัตถุ หลังจากเผาไฟแล้วทุกสิ่งก็จะเหลือแต่ขี้เถ้า จึงขนานนามท่านว่า "ขรัวขี้เถ้า" พระสงฆ์ผู้เป็นสาวกในสายนี้เมื่อท่านได้รับของถวายมาจากญาติโยมท่านจึงมักเผาไฟให้เป็นที่ประจักษ์ เช่น ท่านหลวงพ่อกบแห่งเขาสาลิกา ท่านหลวงปู่สรวงเทวดาเดินดิน เป็นต้น
เรื่องราวหลวงปู่ใหญ่ เล่าไปเท่าใดไม่มีวันหมด เพราะมีมากมาย ผ่านกาลเวลามายาวนาน และเป็นอจินไตย
การเล่าเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่ ไม่ว่าครั้งนี้หรือครั้งใดๆ ทั้งที่ผ่านมาและกาลเบื้องหน้า ไม่หวังให้ลูกหลานติดยึดในอิทธิฤทธิ์ใดๆทั้งสิ้น เพราะแม้เป็นเรื่องจริงของผู้มีอภิญญาขั้นสูง แต่นั่นไม่ใช่แก่นแท้ ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ นะลูกหลาน ที่เล่าก็เพื่อเจริญศรัทธาหวังให้ลูกหลานทั้งหลายตระหนักรู้ว่า ความเป็นหลวงปู่ใหญ่นี้ เกิดมีขึ้นและดำรงอยู่ เพื่อรักษาสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นมิ่งขวัญพลังใจแก่ลูกหลานทุกคนตลอดไป.. นะลูกหลานเอ๊ย๚
--------------------------
#หลวงปู่เทพโลกอุดร.
พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนไทย
# เรื่องมีอยู่ว่า สมัยที่ผู้เล่าอยู่กับท่าน
พระอาจารย์ที่บ้านหนองผือ มีชาวกรุงเทพมหานครไปกราบนมัสการ
ถวายทานฟังเทศน์ และได้นำกระดาษ
ห่อธูปมีเครื่องหมายการค้ารูปตราพระ
พุทธเจ้า (บัดนี้รูปตรานี้ไม่ปรากฏ) ตกหล่น
ที่บันไดกุฏิท่าน พอได้เวลาผู้เล่าขึ้นไปทำ
ข้อวัตร ปฏิบัติท่านตามปกติ พบเข้าเลยเก็บขึ้นไป พอท่านฯ เหลือบมาเห็นถามว่า “นั่นอะไร” “รูปพระพุทธเจ้าขอรับกระผม” ท่านกล่าว “ดูสิคนเรานับถือพระพุทธเจ้า แต่เอาพระพุทธเจ้าไปขายกิน ไม่กลัวนรกนะ” แล้วท่านก็ยื่นให้ผู้เล่า บอกว่า “ให้บรรจุเสีย”
#ผู้เล่าเอามาพิจารณาอยู่..
เพราะไม่เข้าใจคำว่าบรรจุ จับพิจารณา
ดูพระพักตร์เหมือนแขกอินเดีย ผู้เล่าอยู่
กับท่านองค์เดียว ท่านวันยังไม่ขึ้นมา ท่าน
พูดซ้ำอีกว่า “บรรจุเสีย” “ทำอย่างไรขอรับกระผม” “ไหนเอามาซิ” ยื่นถวายท่าน ท่าน
จับไม่ขีดไฟมาทำการเผาเสีย และพูดต่อว่า “หนังสือธรรมะสวดมนต์ที่ตกหล่นขาดวิ่นไม่ได้ใช้แล้วก็ให้รีบบรรจุเสีย กลัวคนไปเหยียบย่ำจะเป็นบาป”
#ผู้เล่าเลยพูดไปว่า..
“พระพุทธเจ้าเป็นแขกอินเดียนะกระผม”
ท่านฯ ตอบ “หือคนไม่มีตาเขียน เอาพระพุทธเจ้าไปเป็นแขกหัวโตได้” ท่านฯ
กล่าวต่อไปว่า “อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย พระอนุพุทธสาวก
ในยุคพุทธกาล ตลอดจนถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น ชนชาติอื่น แม้แต่สรณคมน์
และศีล ๕ เขาก็ไม่รู้จะเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามากๆ เราได้เล่า
ให้เธอฟังแล้วว่า ชนชาติไทย คือ ชาวมคธ รวมรัฐต่างๆ มีรัฐสักกะเป็นต้น หนีการล้าง
เผ่าพันธุ์มาในยุคนั้นและชนชาวพม่า คือ
ชาวรัฐโกศลเป็นรัฐใหญ่ รวมทั้งรัฐเล็กๆ จะเป็นวัชชี มัลละ เจติ เป็นต้น ก็ทะลักหนีตาย จากผู้ยิ่งใหญ่ด้วยโมหะ อวิชชา มาผสม
ผสานเป็นมอญ (มัลละ) เป็นชนชาติต่างๆ
ในพม่า ในปัจจุบัน”
“ส่วนรัฐสักกะนั้นใกล้กับรัฐมคธ ก็รวมกันอพยพมาสุวรรณภูมิ ตามสายญาติ ที่เดิน
ทางมาแสวงโชคล่วงหน้าก่อนแล้ว” ผู้เล่า
เลยพูดขึ้นว่า “ปัจจุบัน พอจะแยกชนชาติ
ในไทยได้ไหม ขอรับกระผม” “ไม่รู้สิ อาจ
เป็นชาวเชียงใหม่ ชาวเชียงตุงในพม่าก็ได้” #ขณะนั้นท่านวันขึ้นไปพอดี
ตอนท้ายก่อนจบท่านเลยสรุปว่า “อันนี้
(หมายถึงตัวท่าน) ได้พิจารณาแล้ว ทั้งรู้
ทั้งเห็นโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น” ผู้เล่า
พูดอีกว่า “แขกอินเดียทุกวันนี้คือพวกไหน ขอรับกระผม” ท่านบอก “พวกอิสลามที่มา
ไล่ฆ่าเราน่ะสิ” “ถ้าเช่นนั้นศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เจ้าแม่กาลี การลอยบาปแม่น้ำคงคา ทำไมจึงยังมีอยู่ รวมทั้งภาษาสันสฤตด้วย” “อันนั้นเป็นของเก่า เขาเห็นว่าดี บางพวกก็ยอมรับเอาไปสืบต่อๆ กันมาจนปัจจุบัน ส่วนพวกเราพระพุทธเจ้าสอนให้ละทิ้งหมดแล้ว
เราหนีมาอยู่ทางนี้ พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร
ก็ทำตาม”
#ท่ายังพูดแรงๆ ว่า..
“คุณตาบอด ตาจาวหรือ เมืองเราวัดวา
ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมือง
ไม่เห็นหรือ” (ตาบอดตาจาวเป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะกับผู้เล่า) “แขกอินเดียเขามีเหมือนเมืองไทยไหม ไม่มี มีแต่จะทำลาย
โชคดีที่อังกฤษมาปกครอง เขาออกกฎหมายห้ามทำลายโบราณวัตถุ โบราณสถาน แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น อย่า
ว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอนั่นแหละถ้าได้ไปเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย
จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด”
“ของเหล่านี้นั้น ต้องไปตามวาสนาตามวงศ์ตระกูล อย่างเช่น วงศ์พระพุทธศาสนาของ
เรานั้น เป็นอริวาส อริยวงศ์ อริยตระกูล เป็นวงศ์ที่พระพุทธเจ้าจะมาอุบัติ คุณแปลธรรม
บทมาแล้ว คำว่า ปุคฺคลฺโล ปุริสาสธฺโญ ลองแปลดูซิว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดในมัชฌิมประเทศ หรืออะไรที่ไหนก็แล้วแต่ จะเป็นที่อินเดียหรือที่ไหนก็ตาม ทุกแห่งตกอยู่ใน
ห้วงแห่งสังสาวัฏฏ์ ถึงวันนั้นพวกเราอาจจะ
ไปอยู่อินเดียก็ได้”
#พระพุทธเจ้าทรงวางพระพุทธศาสนาไว้
"จะเป็นระหว่างพุทธันดรก็ดี สูญญกัปก็ดี
ที่ไม่มีพระพุทธศาสนา แต่ชนชาติที่เป็น
อริยวาส อริยวงศ์ อริยประเพณี อริยนิสัย
ก็ยังสืบต่อไปอยู่ ถึงจะขาดแต่ผู้ได้สำเร็จมรรคผลเท่านั้น เพราะว่างจาก บรมครู
ต้องรอบรมครูมาตรัสรู้ จึงว่ากันใหม่”
[ผู้เล่าได้ฟังมาด้วยประการละฉะนี้แลฯ]
#ที่มา_รำลึกวันวาน_เกร็ดประวัติ
#ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา
#ท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทตฺตเถร
*****************************************
19 ตุลาคม 2562
หนีการเวียนว่ายตายเกิด
หนีการเวียนว่ายตายเกิด
๑..ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒..สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๑..โลภะ ความโลภ
๒..โทสะ ความโกรธ
๓..โมหะ ความหลง
คือ "ทาน" การให้ หรือที่ที่เรียกว่า
ทานมั้ย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
พรหมวิหาร ๔ คือมีเมตตาและกรุณา
ถ้าตัดตรงๆ จริงๆ ก็แค่ ๓ อย่าง ที่นีวิธีตัด ถ้าเราจะตัดโลภะ ความโลภ ออกจากจิต พระพุทธเจ้าให้ใช้จาคานุสสติกรรมฐานเป็นกำลังหนุน คำว่า จาคานุสสติ นีก็หมายความว่าจิตคิดไว้เสมอว่าเราจะสงเคราะห์สัตว์อื่นหรือบุคคลอื่นนอกจากตัวเรา ให้มีความสุข ตามกำลังที่เรา
จะพึงทำได้ ถ้ายังคิดอยู่ถือว่าเป็นจาคานุสลติกรรมฐาน ถ้าลงมือทำถือว่าเป็นทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน ถ้าให้ถือว่าเป็นทาน คิดว่าจะให้เป็นจาคานุสสติ ทั้ง ๒ อย่างนี้ต้องมีอารมณ์ควบกัน
พระธรรมคำสอน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทราราม(ท่าซุง)
️จากหนังสือคำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง ๕๖ หน้าที่๑๑๙~๑๒๐
คาถาบูชาหลวงปู่หมุน
พระคาถาบูชาขอลาภประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน ดังนี้
ฉิมพะลี จะ มหานามัง สัพพะลาภัง ภะวิสสะติ เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ
ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวา ทูเรหิวา สะมีเปหิวา เถรัสสานุภาเวนะ สะทา โหนติ ปิยัง มะมะ ฯ
ฉิมพะลี จะมหาเถโร โสะโห ปัจจะยาทิมหิ เชยยะลาโภ มหาลาโภ สัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา ฯ
ทิตติตถะภะเวราชา ปิยาจะ คะระตุเม เย สารัตติ นิรันตะรัง สัพพะสุขาวะหา ฯ
ฉิมพะลี จะ มหาเถโร ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ
ฉิมพะลี จะ มหาเถโร เทวะตานะรปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง กะโรนตุ เม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ สัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทาฯ
ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะ ปูชิตัง สัพพะลาภัง ปะสิทธิ เม เถรัสสานุภาเวนะ สะทา สุขี ปิยัง มะมะ ฯ
คาถาบูชาหลวงปู่ทวด
ธูปแขก 9 ดอก มะลิขาว 9 ดอก ท่อง คาถาหลวงปู่ทวด เป็นประจำจะแคล้วคลาดอันตราย
นะโม โพธิสัตว์โต มหาคุโณ มหิทธิโก
มหาลาโภ อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง
อริยะองค์สรวง สัมปันโน อิติปิโส นะโมพุทธายะ
อิสะวาสุติ มหาบันดาล สัจจัง ประสิทธิเม สาธุ สาธุ สาธุ
คาถานี้ได้จากท่านพ่อผู้ใหญ่ลี ที่ในอดีตท่านเคยใกล้ชิดกับหลวงพ่อมุมครับ ปัจจุบันท่านชรามากแล้ว แต่ยังดูแข็งแรง อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี
เวลาสวดภาวนาคาถา ก็ให้น้อมระลึกถึงหลวงพ่อมุม จะสมความปรารถนาทุกประการ.
พระคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
“อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ”
ผู้ที่ได้ทั้งบูชาด้วยการกราบไหว้และนำคุณธรรมของตััวท่านไปปฏิบัติด้วย จะช่วยส่งผลให้เจริญก้าวหน้า และร่ำรวย มีความสุขอย่างแน่นอน
|
ความเจริญพุทธศาสนาในปากีสถาน
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/847428
02 กันยายน 2562
พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ทำศิลาจารึกพ่อขุนรามฯ แต่ทำขึ้นสมัย “ลิไทย” ด้วยเหตุผลทางการเมือง
พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ทำศิลาจารึกพ่อขุนรามฯ แต่ทำขึ้นสมัย “ลิไทย” ด้วยเหตุผลทางการเมือง
ภาพถ่ายทางอากาศเมืองสองแควหรือพิษณุโลก เดิมเป็นเมืองของกลุ่มราชวงศ์ผาเมือง ที่ปกครองแคว้นสุโขทัยมาก่อนราชวงศ์พระร่วง
ผู้เขียนศรีศักร วัลลิโภดมเผยแพร่วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ.2562
เมืองสองแควแต่เดิมน่าจะไม่ได้ขึ้นตรงต่อทางสุโขทัยก็ได้ เพราะแม้แต่ศิลาจารึกที่กล่าวถึงรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงเองก็กล่าวไปในทำนองที่ว่าเมืองสองแควเพิ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ ศิลาจารึกหลักที่ 2 ที่กล่าวว่าสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีทรงเกิดที่เมืองสระหลวงสองแควแสดงให้เห็นว่าเมืองสระหลวงสองแควที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำน่านนี้ เป็นเมืองในความครอบครองของเจ้านายในราชวงศ์ผาเมือง ซึ่งเคยปกครองแคว้นสุโขทัยมาก่อนราชวงศ์พระร่วง เพราะฉะนั้น น่าจะเกิดไม่ลงรอยอย่างใดอย่างหนึ่งกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยก็ได้ อาจมีความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น ซึ่งอาจสังเกตได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบเรื่องราวในศิลาจารึกหลักที่ 1 กับหลักที่ 2
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการบรรยายเรื่องราวของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
จารึกหลักนี้ นักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าข้อความในตอนต้นๆ ของศิลาจารึกเป็นสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้จารึกขึ้น แต่ตอนท้ายๆ มาสร้างขึ้นในสมัยหลัง
แต่ในความเห็นของข้าพเจ้าหลังจากได้ศึกษาเปรียบเทียบกับหลักอื่นๆ แล้วเห็นว่า จารึกนี้ทั้งหลักสร้างขึ้นหลังรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงลงมาแล้ว โดยมีเจตนาที่จะสรรเสริญและกล่าวขวัญถึงความรุ่งเรืองร่มเย็นเป็นสุขของแคว้นสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เพื่อโอ้อวดหรือแสดงความสำคัญของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ศิลาจารึกหลักที่ 1
ศิลาจารึกหลักที่ 2 พบที่วัดศรีชุม เป็นเรื่องการสรรเสริญพระเกียรติคุณของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ผู้เป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนผาเมือง
ในตอนต้นๆ ได้กล่าวถึงเรื่องราวสมัยก่อนราชวงศ์พระร่วงตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นปู่ของสมเด็จพระมหาเถรฯ ครองแคว้นสุโขทัย มีการสร้างพระบรมธาตุในนครสี่แห่งคือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และสระหลวงสองแคว ต่อจากนั้นก็บรรยายถึงเหตุการณ์สู้รบเพื่อขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงของพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว รวมทั้งการให้เมืองสุโขทัยและพระนามศรีอินทรบดินทราทิตย์ของพ่อขุนผาเมืองแก่พ่อขุนบางกลางหาวด้วย
ส่วนในด้านพระราชประวัติของสมเด็จพระมหาเถรฯ นั้น ก็ระบุว่า ทรงเกิดที่เมืองสระหลวงสองแคว ซึ่งพระบิดาของพระองค์ทรงครองอยู่ ในขณะยังเยาว์วัยก่อนออกผนวชนั้น สมเด็จพระมหาเถรฯ ทรงเป็นผู้มีความสามารถ อีกทั้งมีความเก่งกล้าในการรบพุ่งด้วย พอพระชันษาได้ 29 ปีก็ออกผนวช ได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ ของประเทศไทย และได้เดินทางไปลังกาและอินเดียด้วย ทรงสร้างพระธาตุและบูรณะวัดวาอารามตามเมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองสุโขทัยด้วย
ศิลาจารึกหลักนี้ดูเหมือนไม่มีเจตนาที่จะแสดงออกในเรื่องวัตถุประสงค์ทางการเมืองแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงกล่าวถึงภูมิหลังและพระกรณียกิจของสมเด็จพระมหาเถรฯ เท่านั้น เพราะในขณะเดียวกันก็ยกย่องพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพ่อขุนรามคำแหงและสมเด็จพระมหาธรรมราชาเลอไทย ผู้เป็นพระโอรสของพ่อขุนรามคำแหง
สิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า เหตุการณ์หรือเรื่องราวในศิลาจารึกหลักนี้เป็นของที่อยู่ในสมัยก่อนรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ถ้าหากเปรียบเทียบและลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของแคว้นสุโขทัยแล้ว ก็ต้องถือว่าจารึกหลักที่ 2 เป็นเรื่องราวก่อนสมัยราชวงศ์พระร่วง ส่วนจารึกหลักที่ 1 เป็นเรื่องราวของราชวงศ์พระร่วงซึ่งอยู่ในสมัยหลังลงมา
แต่เจตนารมณ์ในการสร้างจารึกหลักที่ 1 นั้น อาจชวนให้คิดและตีความได้ว่าเป็นการข่มทับหรือขัดแย้งกับจารึกหลักที่ 2 เป็นปัญหาทางการเมือง ซึ่งน่าจะสร้างขั้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยลงไป
ที่ว่าอาจมีปัญหาทางการเมือง ก็เพราะว่าจารึกหลักที่ 2 แสดงถึงความราบรื่นของสุโขทัยมาโดยตลอดจนถึงรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเลอไทย แต่หลังจากรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเลอไทยแล้ว เกิดความยุ่งยากขึ้นในแคว้นสุโขทัย เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนจากบรรดาศิลาจารึกในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย ที่ระบุว่าหลังจากรัชกาลของพ่อขุนราชคำแหงลงมาแล้ว บ้านเมืองแตกแยก “หาเป็นขุนหนึ่งไม่” แต่พอมาถึงรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยก็กลับรวมกันได้อีก ศิลาจารึกหลักที่ 4 จารึกวัดป่ามะม่วงได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ครองอยู่เมืองศรีสัชนาลัย ได้ยกกองทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยมายังสุโขทัย ใช้เวลาถึง 3 วันถึงจะมาถึง เมื่อเข้าเมืองสุโขทัยได้แล้วทรงประหารศัตรูของพระองค์ด้วยขวาน ต่อจากนั้นก็ขึ้นครองราชย์ ประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก
เรื่องราวดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนหน้าที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยจะได้เสวยราชย์นั้นได้มีกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัยอยู่แล้ว จะเป็นด้วยได้ราชสมบัติโดยชอบธรรมหรือไม่นั้นไม่ทราบชัด แต่ว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้ราชสมบัติจากการกำจัดผู้ครองเมืองสุโขทัยพระองค์นั้นอย่างแน่นอน โดยเหตุนี้จึงทำพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างใหญ่โต ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นพระราชพิธีปราบดาภิเษกมากกว่าราชาภิเษก เพราะฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์ผู้ถูกสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยประหารเสียนั้น เป็นเจ้านายในราชวงศ์ผาเมืองที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับราชวงศ์พระร่วงมาแต่สมัยพ่อขุนผาเมือง
การสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่บรรยายเกี่ยวกับพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงนั้น คงมีความมุ่งหมายมิใช่น้อยที่จะสร้างภาพพจน์และสิทธิธรรมของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งราชวงศ์พระร่วง
ความขัดแย้งคงเกิดขึ้นระหว่างสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยกับบรรดาเจ้านายในราชวงศ์ผาเมือง ซึ่งคงปกครองบ้านเมืองหลายแห่งอยู่ทางลุ่มน้ำน่านในกลุ่มสระหลวงสองแคว และกินเลยเข้าไปในลุ่มน้ำป่าสักทางเพชรบูรณ์ เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยต้องยกกองทัพไปปราบปรามและมาครองเมืองสองแควอยู่พักหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระบรมธาตุขึ้นที่เมืองสองแคว สร้างพระพุทธบาท แล้วนำคนจากพระบรมธาตุขึ้นที่เมืองสองแคว และลุ่มน้ำป่าสักไปไหว้พระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏเมืองสุโขทัย เป็นต้น
อย่าไรก็ตาม ความขัดแย้งนี้หาได้สิ้นสุดไม่ กลับบานปลายไปถึงการเกี่ยวข้องกับทางอยุธยา เป็นเหตุให้สมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ส่งกองทัพมายึดเมืองสองแคว ซึ่งตามเอกสารของล้านนาเรียกว่าเมืองชัยนาท เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยต้องขอเป็นไมตรีและขอเมืองคืน
เหตุการณ์เช่นนี้ น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าเจ้านายทางฝ่ายราชวงศ์ผาเมืองนั้นมีความสัมพันธ์กับทางลพบุรีและอยุธยาไม่น้อย อาจแลเห็นได้จากข้อมูลในศิลาจารึกสุโขทัยเองด้วยซ้ำ ดังเช่นศิลาจารึกหลักที่ 11 ที่พบที่เขากบเมืองพระบางหรือเมืองนครสวรรค์ มีข้อความในด้านหนึ่งกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าได้เดินทางไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญในเมืองไทยในสมัยนั้น รวมทั้งออกไปต่างประเทศ เช่น อินเดีย และลังกา ได้ทำบุญกุศลสร้างพระธาตุและปลูกต้นพระศรีมหาโพธิในที่ต่างๆ ด้วย ในบรรดาเมืองสำคัญเหล่านี้มีชื่อเมืองอโยธยาอันเป็นที่บุคคลนั้นได้เข้าไปเฝ้า “บุรีบรมราชอโยธยาศรีรามเทพนคร” ซึ่งก็คงหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองอยุธยานั่นเอง
บุคคลที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนี้ ตามความเห็นของนักอ่านจารึกและนักวิชาการปัจจุบันนี้ หลายๆ ท่านเชื่อว่าคือ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เพราะข้อความและเรื่องราวดูสอดคล้องกับจารึกวัดศรีชุมมาก และศิลาจารึกหลักที่พบที่เขากบนี้ เป็นหลักเดียวในบรรดาจารึกต่างๆ ของสุโขทัยที่กล่าวถึงชื่อเมืองอยุธยา
ปัญหาก็คือว่า ถ้าบุคคลผู้นี้คือสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจริง พระองค์ก็ต้องทรงเกี่ยวกันไม่มากก็น้อยกับทางกษัตริย์แห่งอยุธยา ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นอาจจะเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือรัชกาลก่อนหน้านี้ก็ได้
การที่ฝ่ายราชวงศ์ผาเมือง มีความสัมพันธ์กับทางลพบุรีและอยุธยาตามหลักฐานจากจารึกและตำนานตามที่กล่าวมาแล้วนี้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับจารึกหลักที่ 1 ในตอนท้ายๆ ที่กล่าวถึงขอบเขตความสัมพันธ์ของแคว้นสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กับเมืองต่างๆ ที่ไม่ปรากฏชื่อเมืองในเขตแคว้นอยุธยาเลย แต่พบว่าสัมพันธ์กับบ้านเมืองทางซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองแพรกศรีราชา สุพรรณภูมิ เพชรบุรี ราชบุรี ไปจนถึงนครศรีธรรมราช
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ วรรณกรรมการเมือง เรื่อง “อานุภาพพ่อขุนอุปถัมภ์” ศึกศิลาจากรึก ที่พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้แต่งยุคสุโขทัยบทความตอน “พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ทำศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง แต่ทำขึ้นสมัย ‘ลิไทย’ ด้วยเหตุผลทางการเมือง” โดย ศรีศักร วัลลิโภดม (คัดและปรับปรุงย่อหน้าใหม่จากผลการวิจัยเรื่อง เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย เสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530 พิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2532)
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ.2561
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...
-
พระหลวงพ่อทวด ชุดนี้จัดสร้างโดยมีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ดำเนินการร่วมกับพระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาสใ พิธีปลุกเสกเมื่อวัน...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...