#อริยวาส_อริยวงศ์
# เรื่องมีอยู่ว่า สมัยที่ผู้เล่าอยู่กับท่าน
พระอาจารย์ที่บ้านหนองผือ มีชาวกรุงเทพมหานครไปกราบนมัสการ
ถวายทานฟังเทศน์ และได้นำกระดาษ
ห่อธูปมีเครื่องหมายการค้ารูปตราพระ
พุทธเจ้า (บัดนี้รูปตรานี้ไม่ปรากฏ) ตกหล่น
ที่บันไดกุฏิท่าน พอได้เวลาผู้เล่าขึ้นไปทำ
ข้อวัตร ปฏิบัติท่านตามปกติ พบเข้าเลยเก็บขึ้นไป พอท่านฯ เหลือบมาเห็นถามว่า “นั่นอะไร” “รูปพระพุทธเจ้าขอรับกระผม” ท่านกล่าว “ดูสิคนเรานับถือพระพุทธเจ้า แต่เอาพระพุทธเจ้าไปขายกิน ไม่กลัวนรกนะ” แล้วท่านก็ยื่นให้ผู้เล่า บอกว่า “ให้บรรจุเสีย”
#ผู้เล่าเอามาพิจารณาอยู่..
เพราะไม่เข้าใจคำว่าบรรจุ จับพิจารณา
ดูพระพักตร์เหมือนแขกอินเดีย ผู้เล่าอยู่
กับท่านองค์เดียว ท่านวันยังไม่ขึ้นมา ท่าน
พูดซ้ำอีกว่า “บรรจุเสีย” “ทำอย่างไรขอรับกระผม” “ไหนเอามาซิ” ยื่นถวายท่าน ท่าน
จับไม่ขีดไฟมาทำการเผาเสีย และพูดต่อว่า “หนังสือธรรมะสวดมนต์ที่ตกหล่นขาดวิ่นไม่ได้ใช้แล้วก็ให้รีบบรรจุเสีย กลัวคนไปเหยียบย่ำจะเป็นบาป”
#ผู้เล่าเลยพูดไปว่า..
“พระพุทธเจ้าเป็นแขกอินเดียนะกระผม”
ท่านฯ ตอบ “หือคนไม่มีตาเขียน เอาพระพุทธเจ้าไปเป็นแขกหัวโตได้” ท่านฯ
กล่าวต่อไปว่า “อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย พระอนุพุทธสาวก
ในยุคพุทธกาล ตลอดจนถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น ชนชาติอื่น แม้แต่สรณคมน์
และศีล ๕ เขาก็ไม่รู้จะเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามากๆ เราได้เล่า
ให้เธอฟังแล้วว่า ชนชาติไทย คือ ชาวมคธ รวมรัฐต่างๆ มีรัฐสักกะเป็นต้น หนีการล้าง
เผ่าพันธุ์มาในยุคนั้นและชนชาวพม่า คือ
ชาวรัฐโกศลเป็นรัฐใหญ่ รวมทั้งรัฐเล็กๆ จะเป็นวัชชี มัลละ เจติ เป็นต้น ก็ทะลักหนีตาย จากผู้ยิ่งใหญ่ด้วยโมหะ อวิชชา มาผสม
ผสานเป็นมอญ (มัลละ) เป็นชนชาติต่างๆ
ในพม่า ในปัจจุบัน”
“ส่วนรัฐสักกะนั้นใกล้กับรัฐมคธ ก็รวมกันอพยพมาสุวรรณภูมิ ตามสายญาติ ที่เดิน
ทางมาแสวงโชคล่วงหน้าก่อนแล้ว” ผู้เล่า
เลยพูดขึ้นว่า “ปัจจุบัน พอจะแยกชนชาติ
ในไทยได้ไหม ขอรับกระผม” “ไม่รู้สิ อาจ
เป็นชาวเชียงใหม่ ชาวเชียงตุงในพม่าก็ได้” #ขณะนั้นท่านวันขึ้นไปพอดี
ตอนท้ายก่อนจบท่านเลยสรุปว่า “อันนี้
(หมายถึงตัวท่าน) ได้พิจารณาแล้ว ทั้งรู้
ทั้งเห็นโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้น” ผู้เล่า
พูดอีกว่า “แขกอินเดียทุกวันนี้คือพวกไหน ขอรับกระผม” ท่านบอก “พวกอิสลามที่มา
ไล่ฆ่าเราน่ะสิ” “ถ้าเช่นนั้นศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เจ้าแม่กาลี การลอยบาปแม่น้ำคงคา ทำไมจึงยังมีอยู่ รวมทั้งภาษาสันสฤตด้วย” “อันนั้นเป็นของเก่า เขาเห็นว่าดี บางพวกก็ยอมรับเอาไปสืบต่อๆ กันมาจนปัจจุบัน ส่วนพวกเราพระพุทธเจ้าสอนให้ละทิ้งหมดแล้ว
เราหนีมาอยู่ทางนี้ พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร
ก็ทำตาม”
#ท่ายังพูดแรงๆ ว่า..
“คุณตาบอด ตาจาวหรือ เมืองเราวัดวา
ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมือง
ไม่เห็นหรือ” (ตาบอดตาจาวเป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะกับผู้เล่า) “แขกอินเดียเขามีเหมือนเมืองไทยไหม ไม่มี มีแต่จะทำลาย
โชคดีที่อังกฤษมาปกครอง เขาออกกฎหมายห้ามทำลายโบราณวัตถุ โบราณสถาน แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น อย่า
ว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอนั่นแหละถ้าได้ไปเห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย
จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด”
“ของเหล่านี้นั้น ต้องไปตามวาสนาตามวงศ์ตระกูล อย่างเช่น วงศ์พระพุทธศาสนาของ
เรานั้น เป็นอริวาส อริยวงศ์ อริยตระกูล เป็นวงศ์ที่พระพุทธเจ้าจะมาอุบัติ คุณแปลธรรม
บทมาแล้ว คำว่า ปุคฺคลฺโล ปุริสาสธฺโญ ลองแปลดูซิว่า พระพุทธเจ้า จะเกิดในมัชฌิมประเทศ หรืออะไรที่ไหนก็แล้วแต่ จะเป็นที่อินเดียหรือที่ไหนก็ตาม ทุกแห่งตกอยู่ใน
ห้วงแห่งสังสาวัฏฏ์ ถึงวันนั้นพวกเราอาจจะ
ไปอยู่อินเดียก็ได้”
#พระพุทธเจ้าทรงวางพระพุทธศาสนาไว้
"จะเป็นระหว่างพุทธันดรก็ดี สูญญกัปก็ดี
ที่ไม่มีพระพุทธศาสนา แต่ชนชาติที่เป็น
อริยวาส อริยวงศ์ อริยประเพณี อริยนิสัย
ก็ยังสืบต่อไปอยู่ ถึงจะขาดแต่ผู้ได้สำเร็จมรรคผลเท่านั้น เพราะว่างจาก บรมครู
ต้องรอบรมครูมาตรัสรู้ จึงว่ากันใหม่”
[ผู้เล่าได้ฟังมาด้วยประการละฉะนี้แลฯ]
#ที่มา_รำลึกวันวาน_เกร็ดประวัติ
#ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา
#ท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทตฺตเถร
*****************************************
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...
-
พระหลวงพ่อทวด ชุดนี้จัดสร้างโดยมีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ดำเนินการร่วมกับพระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาสใ พิธีปลุกเสกเมื่อวัน...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น