19 ตุลาคม 2562

หนีการเวียนว่ายตายเกิด


หนีการเวียนว่ายตายเกิด

️วันนี้ก็ขอพูดกันแบบสรุป การที่พระพุทธเจ้าสอนบรรดาท่านพุทธบริษัทบำเพ็ญกุศล​ ความจริงการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนานี่มีสาม
๑..ทานมัย​  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒..สีลมัย     บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.. ภาวนามัย​  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
️การที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดการบำเพ็ญกุศล ๓ ประการในพระพุทธศาสนาก็มีเท่านี้​ เราพูดเกะกะๆ ไปก็มีเท่านี้ ไอ้ที่พูดมากไปเป็นเรื่องของคนพูดมาก แต่ว่าทั้งหมดอยู่แค่ ๓​ ประการเหมือนกัน ทั้งสามอย่างนี้ท่านเรียกรากเหง้าของกุศล และรากเหง้าของอกุศล เราจะต้องเกิดมีความสุขและความทุกข์อย่างไรก็ตาม เพราะอาศัยรากเหง้าของอกุศลเป็นสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถชนะรากเหง้าของอกุศลได้ เราก็ไม่สามารถจะหลีกไปจากวัฏฏะสงสารได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะเป็นปกติ ถ้าเราสามารถทำลายรากเหง้าของอกุศลทั้ง ๓ ประการได้ เราก็ไปนิพพานได้ ลีลาที่ไปนิพพานก็มีหลายแบบที่พระพุทธเจ้าสอนหลายแบบ ก็เพราะว่าอัธยาศัยของคนไม่เสมอกัน มีปัญญาไม่เสมอกัน อาศัยการบำเพ็ญบารมีเข้มข้นคนละจุด พระพุทธเจ้าจึงต้องพูดมากหลายแบบ เพื่อให้ถูกกับอัธยาศัยหรือบุญบารมีเดิมของแต่ละบุคคล
️สำหรับรากเหง้าอกุศลทั้ง ๓ ประการ คือ
๑..โลภะ  ความโลภ
๒..โทสะ  ความโกรธ
๓..โมหะ  ความหลง
️ทั้งสามอย่างถือเป็นรากเหง้าใหญ่ของอกุศล กิเลสจะมีกี่ประเภทก็ตาม ผลที่สุดก็รวมอยู่ที่สามอย่างด้วยกัน ถ้าเราสามารถทำลายรากเหร้าของอกุศลทั้ง ๓ ประการนี้ได้ เราก็ไปนิพพานได้ วิธีที่จะทำลายรากเหง้าของอกุศลได้ เราก็ต้องสร้างรากเหร้าของกุศลขึ้นมาแทน​ นั่น
คือ "ทาน" การให้ หรือที่ที่เรียกว่า
ทานมั้ย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
สีลมัย   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
️สำหรับ ทานมัย บุญสำเร็จด้วย การบริจาคทาน เป็นเครื่อง ตัดโลภะ ความโลภ​ ซึ่งเป็นรากเหง้าไหญ่ส่วนหนึ่งของอกุศล ถ้าการบริจาคทานมีอารมณ์ครบถ้วนในจิต เวลาั้นความโลภก็หมดไปจากจิต
️สำหรับ ศีล เป็นเครื่อง ตัดโทสะ ความโกรธ เพราะว่าคนที่จะปฏิบัติศีล ต้องมี
พรหมวิหาร ๔ คือมีเมตตาและกรุณา
️ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการ เจริญภาวนา อันนี้ ตัดโมหะ​  ความหลง
ถ้าตัดตรงๆ จริงๆ ก็แค่ ๓ อย่าง ที่นีวิธีตัด ถ้าเราจะตัดโลภ​ะ ความโลภ ออกจากจิต พระพุทธเจ้าให้ใช้จาคานุสสติกรรมฐานเป็นกำลังหนุน คำว่า จาคานุสสติ นีก็หมายความว่าจิตคิดไว้เสมอว่าเราจะสงเคราะห์สัตว์อื่นหรือบุคคลอื่นนอกจากตัวเรา ให้มีความสุข ตามกำลังที่เรา
จะพึงทำได้ ถ้ายังคิดอยู่ถือว่าเป็นจาคานุสลติกรรมฐาน ถ้าลงมือทำถือว่าเป็นทานมัย บุญสำเร็จ​ด้วยการบริจาคทาน ถ้าให้ถือว่าเป็นทาน คิดว่าจะให้เป็นจาคานุสสติ​ ทั้ง​ ๒​ อย่างนี้ต้องมีอารมณ์ควบกัน
ที่มา..
พระธรรม​คำสอน​ หลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัดจันทรา​ราม​(ท่า​ซุง)
️จากหนังสือ​คำสอนหลวงพ่อ​วัดท่าซุง​ ๕๖​ หน้าที่๑๑๙~๑๒๐
️พิมพ์​พระธรรม​โดย​ นภา​ อิน​ 

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...