30 มกราคม 2565

คู่บารมี

คู่บารมีจะถูกกระแสบุญหว่านล้อมให้หลงใหลติดใจกัน ทั้งในระดับหยาบ กลาง และละเอียดคือ

ระดับหยาบ หมายถึงความดึงดูดให้ปรารถนาในรสสัมผัสของกันและกันอย่างยิ่งยวด อาจหมายถึงการแตะต้องเพียงแผ่วไล่ไปจนถึงความอยากกอด อยากจูบ หรืออยากมีสัมพันธ์สวาท มันจะไม่ใช่แค่ความรู้สึกอยากได้กระหายหื่น แต่เป็นความรู้สึกตื่นเต็ม และพร้อมรับผิดชอบเยี่ยงเจ้าของเดิม ซึ่งต่างก็มีความสามารถครอบครองกันและกันอยู่แล้ว

ระดับกลาง หมายถึงความเต็มใจจะเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตอีกฝ่าย คือเต็มใจดูแลกัน และพร้อมจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารกันและกัน จนกว่าความตายจะมาพราก คนเราอยากได้ความอบอุ่นจากอะไรอย่างนี้แหละ ถึงเพียรหาคู่แท้ ไม่ใช่คู่นอน

ระดับละเอียด หมายถึงรู้สึกว่าร่าเริงบันเทิงใจที่จะได้ร่วมบุญร่วมกุศลเกินบรรยาย หากเคยทำบุญยิ่งใหญ่ร่วมกันมาหลายภพหลายชาติ แค่ครั้งแรกที่ใส่บาตรร่วมกันก็อาจบันดาลให้ตื้นตันเหมือนเห็นสวรรค์เลยทีเดียว ความปรารถนาจะทำอะไรดีๆร่วมกันนี้ ในกรณีส่วนใหญ่เป็นตัวชี้เลยว่าใช่คู่บุญแน่

หากเป็นคู่บารมีประเภทว่าอะไรว่าตามกัน บนเส้นทางบุญจนเกิดมหาสมุทรแห่งบุญร่วมกันแล้ว ก็แทบไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรเมื่อมาอยู่ด้วยกัน แม้นิสัยบางส่วนจะแตกต่าง หรือแม้ว่าความคิดจะเห็นไม่ลงรอย ก็ยังรู้สึกเป็นพวกเดียวกันเสมอ ยังผลให้ไม่รำคาญเมื่อมีสิ่งใดขัดหูขัดตาหรือแม่ทำอะไรขัดใจกันบ้าง

บุญเก่าของคู่รักไม่ได้จัดสรรเฉพาะรูปร่างหน้าตาให้เข้ากันได้ แต่ยังเลือกเวลาเหมาะที่จะพบกันด้วย
พูดง่ายๆคือ บุญเก่าจะไม่รู้จักความช้าความเร็ว ไม่เอาใจช่วยให้สมหวังในเวลาอันสั้นหรือต้องรอยาว บุญเก่าจะรู้จักแค่กาลอันควรแก่การต่อบุญเท่านั้น

คู่แท้มีเวลาเหมาะสมที่จะพบกัน และเวลานั้นก็คือเวลาที่พบกันแล้วมีความพร้อมจะอยู่ร่วมกันตลอดไป ฉะนั้น คู่ที่เจอกันช้าก็ไม่ได้หมายความว่าทำบุญร่วมกันมาน้อยหรอก

29 มกราคม 2565

รัดเท้ามาจากเมืองจีน แก้เท้าปรับตัวเป็นไทยจนได้เป็นครูละครหลวง! เจ้าจอม ร.๒ ต้นสกุล ๒ นายกรัฐมนตรี!!

รัดเท้ามาจากเมืองจีน แก้เท้าปรับตัวเป็นไทยจนได้เป็นครูละครหลวง! เจ้าจอม ร.๒ ต้นสกุล ๒ นายกรัฐมนตรี!!
...
ชีวิตมหัศจรรย์ชีวิตหนึ่ง เกิดในเมืองจีน รัดเท้าให้เล็กตามธรรมเนียมสาวจีน แต่เมื่อมาอยู่เมืองไทยก็แก้เท้าออกและปรับตัวเป็นไทย เรียนรู้ขนบธรรมเนียมไทย หัดละครในสมัย ร.๑ จนได้เป็นตัวเอก ถูกจารึกชื่อจนถึงปัจจุบันว่าเป็นครูละครหลวง ร.๒ ทรงปฏิพัทธ์ พระราชทานกาพย์พระราชนิพนธ์ “พี่รักเจ้าคนเดียว” มีพระราชโอรสพระราชธิดาถึง ๖ พระองค์ มากกว่าบรรดาเจ้าจอมมารดาใน ร.๒ และเป็นต้นราชสกุลของ ๒ นายกรัฐมนตรีไทย

เจ้าของชีวิตมหัศจรรย์ผู้นี้ ก็คือ เจ้าจอมมารดาอำภา บุตรีของ พระยาอินทรอากร (อิน หรือ โง้ว แซ่หลิม) กับมารดาที่เป็นคนจีน เกิดที่มณฑลฮกเกี้ยน มีพี่น้องร่วมกัน ๗ คน เมื่อพระยาอินทรฯมาทำการค้าในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามรอยพี่ชาย คือ พระยาไกรโกษา (เริก ไกรฤกษ์) ซึ่งเข้ามารับราชการตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในตำแหน่งเสมียนกรมท่าซ้าย มีหน้าที่ติดต่อค้าขายกับประเทศจีน และเป็นต้นสกุล ไกรฤกษ์

เมื่อเจ้าจอมอายุได้ ๘ ขวบ บิดาซึ่งไปมาค้าขายระหว่างสยามกับจีนเป็นประจำ ได้รับตัวมาอยู่เมืองไทยด้วย แล้วแก้ที่รัดเท้าออก ให้ศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบกุลสตรีไทย เมื่ออยู่เมืองไทยได้ ๑ ปี ได้นำไปถวายตัวเป็นละครรุ่นเล็กในรัชกาลที่ ๑ หัดรำจนรำได้สวย ได้แสดงในละครเรื่องอิเหนา เป็นตัว กาญจหนา และแสดงได้ดีจนได้รับฉายาว่า “อำภากาญจหนา” ต่อมาก็ได้เป็นครูละครหลวง จนได้รับการจารึกชื่ออยู่ในทำเนียบครูโขนละคร

ในสมัย ร.๒ เถ้าแก่อินเป็นพ่อค้าที่ถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอย่างใกล้ชิด จนได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอินทรอากร และมีฉายาว่า “เจ้าสัวเตากระทะ” เพราะมีบริวารมากจนต้องใช้กระทะหุงข้าวเลี้ยงกัน

พระยาอินทรได้ถวายบุตรีเป็นบาทบริจาริกา และเป็นเจ้าจอมที่ทรงโปรดปรานมาก พระราชทานกาพย์พระราชนิพนธ์บทหนึ่งให้เจ้าจอมอำภา มีข้อความว่า

สายหยุดพุดจีบจีน เจ้ามีสินพี่มีศักดิ์
ทั้งวังเขาชังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว

เจ้าจอมอำภามีพระราชโอรสธิดาถึง ๖ พระองค์ มากกว่าบรรดาเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๒ คือ

๑.พระองค์เจ้าชายกปิตถา กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ต้นราชสกุล กปิตถา

๒.พระองค์เจ้าชายปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ต้นราชสกุล ปราโมช

๓. พระองค์เจ้าชายเกยุร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ไม่มีทายาทสืบสกุล

๔.พระองค์เจ้าหญิงกัณฐา สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๓

๕.พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณี สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๒

๖.พระองค์เจ้าหญิงกนิษฐน้อยนารี พระราชธิดาองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ ๒ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔

เจ้าจอมมารดาอำภาเป็นคนเจ้าระเบียบ มารยาทงาม และแต่งกายตามแบบนางใน นุ่งผ้าจีบและห่มสไบสีตามวัน เมื่อชาววังเปลี่ยนมานุ่งโจงกระเบนท่านก็ไม่ได้เปลี่ยนด้วย แม้จะเป็นกุลสตรีไทยเต็มรูปแบบ แต่ท่านก็ไม่ลืมภาษาจีน ทั้งยังสอนให้เจ้านายฝ่ายหญิงบางองค์ด้วย และเมื่อญาติจากเมืองจีนมาพบท่านก็พูดภาษาจีนด้วย

เจ้าจอมมารดาอำภามีความจงรักภักดีต่อเจ้าฟ้ามงกุฎมาก ขณะที่ทรงผนวชเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศก่อนขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ เจ้าจอมอำภาก็ทำอาหารคาวหวานและผลไม้ส่งไปถวายเพลมิได้ขาด ทั้งยังนำพระองค์เจ้าปราโมช หรือ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ บุตรชายคนรองไปถวายเป็นศิษย์ด้วย

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โอรสของพระองค์เจ้าคำรบ ซึ่งเป็นโอรสของกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ได้เขียนใน “โครงกระดูกในตู้” ว่า

“ด้วยความจงรักภักดีอันแน่นแฟ้น ที่เจ้าจอมมารดาอำภามีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงตรัสเรียกเจ้าจอมมารดาอำภาว่า “แม่ภา” แต่เพียงคนเดียวในบรรดาเจ้าจอมและเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ ๒ นับว่าทรงยกย่องเป็นพิเศษ ท่านผู้อื่นนั้นตรัสเรียกหรือตรัสถึงแต่นามเฉยๆ มิได้ทรงใช้คำว่า “แม่” นำหน้านาม”

เจ้าจอมมารดาอำภามักรวบรวมเงินส่วนตัวของท่านใส่ถุงครั้งละมากๆ เพื่อนำทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรงใช้จ่ายตามพระราชอัธยาศัย ด้วยความจงรักภักดีและด้วยเหตุผลว่า

“ในหลวงแผ่นดินนี้ท่านยากจน ทรงผนวชมาแต่ทรงพระเยาว์ และลาผนวชมาเสวยราชสมบัติ ไม่มีเวลาที่จะสะสมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เงินแผ่นดินนั้นต้องทรงใช้จ่ายในราชการแผ่นดิน จะใช้สอยส่วนพระองค์ก็อัตคัด”

แม้จะเข้าวัยชราเจ้าจอมมารดาอำภาก็ยังไม่ทิ้งการสอน แต่การรัดเท้ามาแต่เด็กทำให้เท้าท่านเล็ก มาส่งผลตอนท่านไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน สุจิตต์ วงษ์เทศ เล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านกำลังสอนให้ละครหลายสิบคน ท่านรำข้างหน้าแล้วให้ละครรำตาม พอท่าที่จะต้องยกขาข้างหนึ่งยืนขาเดียว ท่านก็ยืนไม่อยู่ล้มลงกับพื้น พวกละครก็นึกว่าอยู่ในท่าที่ท่านสอน จึงพากันล้มตาม ท่านก็โกรธคิดว่าล้อท่าน ใช้ไม้เรียวที่ใช้เคาะจังหวะหวดพวกที่ล้มตามนั้น

เมื่อเจ้าจอมมารดาอำภาถึงแก่อนิจกรรม คณะละครที่ท่านหัดไว้ก็ตกมาอยู่กับ หม่อมเจ้าหญิงฉวีวาด ธิดาในกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ผู้เป็นหลานย่าของท่าน และเป็นท่านป้าของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ๒ นายกรัฐมนตรีไทย

ปฏิบัติ 4 ข้อ เพื่อไปพระนิพพาน

ปฏิบัติ 4 ข้อ เพื่อไปพระนิพพาน
1. ระงับความพอใจในขันธ์ 5 เสีย คิดว่าร่างกาย
มันตายอยู่ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก
ไม่ลืมความตาย เป็นทั้งสมาธิและวิปัสสนารวมกัน

2. ทรงศีลให้บริสุทธิ์ ควรทำเป็นสีลานุสสติกรรมฐาน
ทรงศีลให้เป็นกำลังฌาน คือ ทรงอารมณ์อยู่ในศีล
ตลอดวันตลอดคืน ไม่ยอมให้ศีลบกพร่องทางใจ
ไม่ใช่ต้องไปนั่งหลับตาปี๋ ให้ลืมตาทำงาน
คุยกับหมากับแมว หรือเจอะหน้าคนด่าคนนินทา
ศีลเราทรงตัวไม่หวั่นไหวใช้ได้
เป็นการตัดสังโยชน์ ข้อ 2 สีลัพตปรามาส

3. ตัดวิจิกิจฉา โดยการน้อมใจเคารพในคุณพระรัตนตรัย
ทั้ง 3 ประการ คือ ทรงพระกรรมฐาน 3 ให้เป็นฌาน
คือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ให้ทรงตัว

4. ตัดสินใจทำความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานในชาตินี้
ไม่ต้องการเกิดเป็นคนรวยสวยแข็งแรง
ไม่ต้องการเกิดเป็นเทพ เทวดา พรหม
กำลังใจมุ่งพระนิพพานเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน

การที่จะหลีกหนีบาปกรรมชั่วหรือนรกได้ ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ทั้ง 4 ข้อนี้ หรือตัดสังโยชน์ 3 ประการได้ ท่านให้ชื่อว่าผู้เข้ากระแสพระนิพพาน คือ พระโสดาบัน ท่านผู้นั้นบาปเก่าทั้งหมดตามไม่ทัน ไม่สามารถถูกลงโทษได้แล้วก็ท่านผู้นั้นจะไม่มีการตกนรก ไม่เกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉานต่อไปอีกทุกชาติที่เกิด จะวนเวียนเฉพาะเป็นมนุษย์ เทวดากับพรหม และต่อไปถ้ากำลังใจเต็มไม่สนใจร่างกาย ไม่สนใจเทวดาพรหมก็ไปนิพพาน

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

25 มกราคม 2565

หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ %‼

พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ %‼
หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ %‼
ในสมัยก่อนหลวงปู่เคยได้ยินว่าหลวงปู่ฉลวย สุธัมโม เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น แต่ก่อนท่านอยู่วัดเขาต้นเกตุ หลวงปู่ก็ตามไปที่วัดเขาต้นเกตุ ตอนนั้นท่านไปตั้งวัดใหม่
ไปก็..."โอ้ย! ปีนเขาขึ้นไป ข้ามลำห้วยเข้าไป" 

ทุกวันนี้ลาดยางเข้าไป...อุ้ย! เจริญ

ตอนนี้ร่างกายท่านยังอยู่นะ ไม่เปื่อยแห้งอยู่อย่างนั้นหลวงปู่ฉลวยนะ ท่านจะไปญัตติเป็นพระธรรมยุติ ได้ยินข่าวมาว่า "หลวงปู่มั่นเป็นพระอริยบุคคลเป็นพระอรหันต์"

ทีนี้หลวงปู่ฉลวยไปกับหลวงปู่กูดไปด้วยกันจากหัวหินนะ พอไปแล้วหลวงปู่ฉลวยเป็นรองลงมาจะไปญัตติด้วยกันในตอนนั้นนะมี 4 รูปท่านว่าอย่างนี้นะ 

พอไปถึงท่าน...เลยพากันทำเพิงเอาเต้นท์มากาง ลป.ฉลวย ท่านก็เลยถามว่า...พากันมาจากไหน?

ลป.ไม : มาจากอุดรครับผม

ลป.ฉลวย : หื้อ!...พระจากอุดรหรอ ?
หลวงปู่มั่น ๑,๐๐๐%ๆ (พอบอกว่ามาจากอุดรท่านเคยไปญัตติที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี) หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ๑,๐๐๐% อย่างนี้เลย ท่านก็เลยเล่าให้ฟังตอนที่ท่านไปญัตติเป็นพระธรรมยุติ องค์อื่นหลวงปู่มั่นท่านให้เปลี่ยนเป็นชุดขาวหมด

แต่ ลป.ฉลวย ก่อนที่ท่านจะไป ท่านได้ไปสมาทานต่อหน้าพระประธานอย่างนี้...

"ข้าพเจ้าบวชเข้ามาจะไม่เอาผ้าเหลืองออกจากกายแม้แต่ชิ้นเดียว"

"ตั้งแต่เป็นพระมหานิกายมา...ถ้าเราไปญัตติกับหลวงปู่มั่น และหลวงปู่มั่นไม่รู้ความปรารถนาของข้าพเจ้า ไม่รู้สัจจะของข้าพเจ้า ก็แสดงว่าไม่ใช่พระอรหันต์...เราจะไม่ญัตติเป็นเด็ดขาด!! "

"แต่ถ้าท่านอาจารย์มั่นรู้ความปรารถนาเรา ท่านก็จะอนุโลมให้ไม่ต้องเอาจีวรออก"

"ไม่ต้องใส่ชุดขาว แต่ถ้าสั่งให้เอาชุดเหลืองออกเมื่อไหร่ เราจะลุกหนีทันที (นี้หลวงปู่ฉลวยท่านสัจจะไว้)

พอไปญัตติรูปที่ ๑ เข้ามาก็เปลี่ยนชุดขาวมา
รูปที่ ๒ ก็เปลี่ยนขุดขาวมา
รูปที่ ๓ เปลี่ยนเข้ามา...
(ทีนี้หลวงปู่ฉลวยตั้งใจไว้แล้ว ถ้าสั่งกูจะลุกทันที)

รูปที่ ๔ หลวงปู่มั่นประกาศขึ้น : #ท่านฉลวยไม่ต้องเอาผ้าออกญัตติเลย !!

หลวงปู่ฉลวยร้องไห้ต่อหน้าหลวงปู่มั่น เสียงดังไม่อายใครเลย

๑,๐๐๐% ลป.มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ ๑,๐๐๐% (หลวงปู่ฉลวยท่านพูดนะ)

นี้คือพระอรหันต์ผู้ที่ท่านรู้จริง เห็นจริง หลวงปู่ท่านประกาศไว้ หลวงปู่ตามไปหาก็ได้ไปพักอยู่กับท่าน ไปก็ได้รับธรรมะแต่ละองค์ๆได้ข้อเด็ดๆจากหลวงปู่มั่นแต่ละองค์ ท่านให้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์ได้ ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาเด้ พอได้แล้วก็เอามาประพฤติเอามาปฏิบัตินะทีนี้ หลวงปู่พูดคำไหนเอาคำนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

ถอดจากเทปพระธรรมเทศนาหลวงปู่ไม อินทสิริ
วัดป่าเขาภูหลวง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
(หลวงปู่ฉลวย สุธัมโม กล่าวถึงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมตตาเล่าเรื่องโดย หลวงปู่ไม อินทสิริ )

ถอดเทป/เรียบเรียง : นรินทร์ ศรีสุทธิ์

#คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า


ในสมัยหนึ่ง มีคนเขาหาท่าน (หมายถึงองค์หลวงพ่อ) แต่เขาส่งหนังสือมาให้ เวลานั้นเป็นเวลาค่ำ ท่านบอกว่าเวลาค่ำอย่างนี้อ่านหนังสือไม่ออกจะต้องจุดไฟ แล้วก็ใช้กระแสไฟอ่าน พอตกเวลากลางคืนก็ปรากฏว่าเวลาที่ท่านเจริญพระกรรมฐาน ก็ใช้กำลังของอภิญญาหก ส่งจิตโดยใช้มโนมายิทธิ ขึ้นไปนมัสการสมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่จุฬามณีเจดีย์สถาน พอไปถึงที่กราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พอเงยหน้าขึ้นท่านก็บอกว่าตามธรรมดานี่พระถึงไม่มีแสงไฟก็ควรจะอ่านหนังสือออก ท่านก็ถามว่าทำอย่างไรจึงจะอ่านหนังสือออกพระพุทธเจ้าข้า สมเด็จ พระบรมมาครูตรัสว่าเป็นทิพพจักขุญาณของเธอมีแล้ว แต่อาศัยที่เป็นผู้ปรารถนาพุทธะภูมิมาเดิม ทิพพจักขุญาณจึงไม่แจ่มใสเหมือนพระอริยะเจ้า ฉะนั้นเพื่อจะให้ความแจ่มใสเกิดขึ้นเห็นภาพชัดเจน

ควรปฏิบัติอย่างนี้ควรจะให้คาถานี้ไปภาวนาจนกว่าจะเป็นฌานสมาบัติ เรื่องฌาณนี่เรื่องเล็กท่านว่าจะคว้าอะไรมามันก็เป็นฌาณทันที เพราะมีการคล่องตัวอยู่แล้วคาถาก็เห็นจะเป็นมงกุฎพระพุทธเจ้า ท่านบอกอย่างนี้

อิติปิ โส วิเสเสอิ
อิเสเสพุทธนาเมอิ
อิเมนา พุทธตังโสอิ
อิโสตัง พุทธปิติอิ

พระองค์ตรัสว่า คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาณ นิมิตต่างๆจะแจ่มใส คนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสือออกได้ และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามประสงค์  ถ้าใช้คาถานี้เป็นฌาณ ทรงย้ำมาว่ามืดๆก็อ่านหนังสือออก  ท่านก็มาทำ มาทำได้ไม่นานทำเพียงชั่วครู่จิตเข้าถึงฌาณสี่ ทรงฌาณสี่สบายๆ ก็เลยว่ากันถึงฌาณแปด ถึงฌาณแปดสบาย ก็หลบลงไปถึงฌาณสี่ในรูปฌาณ ทำไปทำมาก็ลองหลับตาอ่านหนังสือก็อ่านหนังสือออก แต่วิธีนี้ท่านจะใช้ทั่วๆไปไม่ได้ เอาไว้แต่เมื่อมันจำเป็น จำเป็นจริงๆไม่ต้องหยิบหนังสือมา เป็นแต่เพียงนึกว่าจะอ่านหนังสือ มันก็เข้าใจว่าหนังสือฉบับนั้นเขาว่าอย่างไร
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
จากหนังสือพ่อรักลูก ๓ หน้า ๓๕๖

24 มกราคม 2565

เมื่อใจไม่ดี อะไรๆก็ไม่ดี

"เมื่อใจไม่ดี ทำอะไรก็ไม่ดี การงานก็ไม่ดี 
ครอบครัวก็ไม่ดี ทำมาหากิน เล่าเรียนอะไรก็ไม่ดี 
ชาวบ้านร้านตลาด ประเทศชาติก็ไม่ดี เมื่อเป็นเช่นนี้ 
ไม่ใช่อื่น ไม่ใช่ฟ้าอากาศไม่ดี ใจเราไม่ดี"

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ชื่อว่าสัมมาสมาธิ

#ในส่วนเบื้องต้นเป็นโลกิยะ, 

#ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ 

#ท่านกล่าวว่า 

#ชื่อว่าสัมมาสมาธิ.

บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิ เป็นอย่างไร 

คือ ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ 

เพราะวิตกวิจารระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่เป็นความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ 

เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญว่า 
“ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” 

เพราะละสุขและทุกข์ได้และเพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข 
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ 

นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
……………
ข้อความบางตอนใน สุตมยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=14

บทว่า อยํ วุจฺจติ สมฺมาสมาธิ - นี้ ท่านกล่าวว่าสัมมาสมาธิ. 
ความว่า ความที่จิตมีอารมณ์เดียวในฌาน ๔ เหล่านี้ ในส่วนเบื้องต้นเป็นโลกิยะ, ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าสัมมาสมาธิ. 
……………
ข้อความบางตอนใน อรรถกถามรรคสัจนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=85&p=3&fbclid=IwAR0VJHB_P1qLMcNG95CHDrOd2NjD5cdJgV_QzrGz7BnmMmdlrWk_vOyOWlU

               

.....

 สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ 

#คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ #ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. 

#ก็หรือว่าเมื่อเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน 

#พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้น ความเสื่อม. 

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้ดำรงจิตไว้เสมอคือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ 

แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า 

#เราจักตั้งจิตไว้มั่น #หายใจเข้าหายใจออก.

               สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน คือเมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจากวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน.
               
#ก็หรือว่าเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน #โดยความสิ้น #ความเสื่อม #ในขณะแห่งวิปัสสนา #เธอนั้นเปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง), เปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากสุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์), จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน), จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย), จากราคะ (ความกำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความกำหนัด), จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเห็นเครื่องดับ), จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หายใจเข้าและหายใจออกอยู่.
               เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก.
               จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
               ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ พึงทราบอนิจจัง (ของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
               ในลักษณะ ๔ อย่างมีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่าอนิจจัง ได้แก่เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
               ที่ชื่อว่าอนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเองมีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับไม่มี.
               อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่นแล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.
               ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นว่าไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.
               ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนานั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนี้หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.
               ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัดโดยส่วนเดียว ๑.
               บรรดาวิราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่าขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่าอัจจันตวิราคะ. วิปัสสนาและมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้าหายใจออก.
               แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
               ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืออุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่าง คือปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความแล่นไป ๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่าปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
               คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่นเป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค.
               จริงอยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่าการสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพานซึ่งผิดจากสังขารนั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.
               มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืนคือการแล่นไป เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.
               ก็วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้นๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อปฏินิสสัคคะในภายหลัง หายใจเข้าหายใจออก ดังนี้.
               คำว่า เอวํ ภาวิโต ความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยอาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
               กถาว่าด้วยอานาปานัสสติสมาธิ

สวดพระคาถาเงินล้าน ด้วยความตั้งใจ จะช่วยแก้ความฝืดเคืองได้

กฏของกรรมนี่เราแก้กันไม่ได้ สมมุติว่าสีมันเข้มเราก็พยายามเอาสีหนึ่งเข้ามาผสมให้มันจาง สีมันไม่จางแต่สีอื่นมันทับ นั่นคือกฏของกรรมที่ทำให้คนลำบาก คือบาปในชาติก่อน เราก็สร้างบุญให้มันเยอะ
การสร้างบุญให้มันเยอะไม่ใช่ต้องใช้เงินเยอะ บางทีกุศลก็ไม่มาก ไม่แน่นะ อย่างพวกที่เจริญกรรมฐาน บูชาพระสวดมนต์ จิตก็สะอาดขึ้น ทำอย่างนี้เรื่อยๆ ไปก็แล้วกัน

วิธีแก้อีกวิธีหนึ่งที่ท่านย่าบอกไว้คือ ให้ว่า "คาถาเงินล้าน" ด้วยความตั้งใจ อย่างน้อยวันละ ๓๐ จบ ไม่ต้องจบครั้งเดียวนะ หลายครั้งภายในวันเดียวนะ อย่างนี้จะแก้ความฝืดเคืองได้

ค่อยๆแก้ แล้วก็ไม่ต้องไปแก้ดวงมือง แก้ดวงของเราก็แล้วกัน ใช่ไหม ถ้าดวงของเราดีหมด เมืองของเราก็ดีด้วย

(จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๗๔ เมษายน ๒๕๓๐ หน้า ๑๙-๒๐)

#กราบหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

เทวดาสวดมนต์ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

“เทวดาสวดมนต์”
“หลวงปู่ชอบ ฐานสโม” ท่านได้บอกเตือนลูกศิษย์เรื่องการสวดมนต์ว่า “เทวดาในแต่ละสถานที่เขาชอบบทสวดมนต์ที่แตกต่างกัน”

บางสถานที่ก็ชอบ… บทธัมมะจักกัปปะวัตตสูตร
บางสถานที่ก็ชอบ… บทกะระณียะเมตตะสูตร
บางสถานที่ก็ชอบ… บทมาติกา
บางสถานที่ก็ชอบ… บทเมตตาสังนะสูตร

พอสวดฮอด(ถึง)บทที่พวกเขาชื่นชอบละก็เขาจะพากันเปล่งเสียงสาธุการดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่ว!! เทวดาเขาพากันออนซอนสะออนหลาย(พากันชื่นชอบเป็นอย่างยิ่ง)

หลวงปู่ท่านเน้นย้ำเรื่องการสวดมนต์ว่า…
“เวลาสวดมนต์ไหว้พระ อย่าทำเป็นเล่น เห็นเป็นของสนุกคะนองปาก ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสูง ควรค่าต่อการเคารพเป็นอย่างยิ่ง หากพากันเห็นเป็นของเล่นแล้ว ก็จะเป็นบาปเป็นกรรมกับตัวเอง นักปราชญ์ได้ยินท่านก็ตำหนิ เทวดาเขาก็พากันตำหนิ”

“เวลาไหว้พระสวดมนต์ ให้พากันตั้งใจสวดจริงๆ เวลาสวดก็ให้มีสมาธิจดจ่อลงไปในบทนั้นๆ มันถึงจะมีอานิสงส์เกิดขึ้นกับตัวเจ้าของ(ตัวเอง)”

“การสวดมนต์ไหว้พระเป็นการทำสมาธิไปในตัว บางทีข้ออรรถ ข้อธรรมต่างๆ มันก็จะผุดขึ้นมาในขณะที่สวดมนต์ก็มี”
“เทวดาทั้งหลายนั้น เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับพวกเรามาก่อน มีจิตใจฝักใฝ่ในบุญกุศล พอตายทำลายขันธ์จากโลกนี้ไปแล้ว ก็ได้ไปจุติในสวรรค์ชั้นต่างๆ สูงบ้างต่ำบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนเองได้สั่งสมมาในตอนเป็นมนุษย์”

“ถึงแม้ว่าจะเป็นเทวดาอยู่ก็ตาม จิตของพวกเขายังฝังไว้ในบุญกุศล พอได้ยินหรือได้เห็นผู้ใดทำคุณงามความดี พวกเขาก็จะพากันมาร่วมอนุโมทนาด้วย หากว่าเรามีจิตที่ละเอียดเป็นสมาธิบ้าง เราก็

จะเห็นเขามาร่วมอนุโมทนากับเราด้วย”
“อย่างหยาบๆ ที่พวกเราจะรับทราบได้ ก็คือ
ขนพองสยองเกล้า เป็นต้น ”

ด้วยหลวงปู่ท่านให้ความสำคัญเรื่องการสวดมนต์ไม่น้อยกว่าการทำสมาธิภาวนา ยามกลางค่ำกลางคืน ท่านก็ยังออกมานั่งรถเข็นจงกลมไปในบริเวณวัด ฟังพระเณรลูกหลานสวดมนต์ไหว้พระ เหมือนเป็นการให้กำลังใจลูกหลานพระเณรไปในตัว
พอหลังจากไหว้พระสวดมนต์กันเสร็จแล้ว ในบางคืน ลูกหลานพระเณรก็จะได้กราบเรียนสอบถามองค์ท่าน

“หลวงปู่ครับ! วันนี้เทวดาเขามาร่วมสวดมนต์ไหว้พระด้วยไหมครับ?”

หลวงปู่ท่านก็มักจะตอบว่า “มีมาทุกวัน” วันไหนมีมากเท่าไร ท่านก็จะบอกจำนวนให้ทราบด้วย หรือบางครั้ง ท่านก็จะระบุชื่อพระเณรเป็นรายคนด้วย เช่น

“เทวดาเขาชมว่าพระ…เณร…องค์นี้ สวดมนต์ม่วนหลาย เสียงดังกังวานไปไกล เทวดาเขาได้ยิน เขาขออนุโมทนาด้วย”
พอได้ยินหลวงปู่ท่านว่าให้ฟังเช่นนี้ พระเณรลูกหลานก็พากันปลื้มอกปลื้มใจเป็นอย่างยิ่ง พอถึงเวลาไหว้พระสวดมนต์ จึงพากันตั้งอกตั้งใจสวดกันอย่างเต็มที่...”

โอวาทธรรม
 หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
 วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน อ.วังสะพุง จ.เลย
 (พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๘)

21 มกราคม 2565

คาถาสนองกลับ ผู้กระทำไสยศาสตร์ "สัมปจิตฉามิ"

  คาถาบทนี้ “พระองค์ที่ ๑๐” มาบอกหลวงพ่อในขณะที่หลวงพ่อพักอยู่ที่เมือง #ควีนส์ทาวน์ ประเทศ #นิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๘ เวลา ๐๕.๐๐น.

 ก่อนนอนหลวงพ่อนอนภาวนาเป็นปกติ ตื่นขึ้นมามีอาการปากขยับไม่ได้ มือขยับไม่ได้ รู้สึกอึดอัด คล้ายเป็นอัมพาต แต่ใจสบาย พระองค์ที่ ๑๐ มาบอกว่า "เวลานี้มีคนคิดทำให้เธอเป็นแบบนี้ และท่านให้เห็นตัวผู้ทำชัดเจน พระองค์ที่ ๑๐ ให้ภาวนาว่า "สัมปจิตฉามิ" จึงคลายตัว คาถาบทนี้ไม่ได้ให้ใช้เฉพาะหลวงพ่อเท่านั้น อนุญาตให้พุทธบริษัทศิษยานุศิษย์และลูกหลานหลวงพ่อใช้ได้ด้วย

   ก่อนนอนภาวนาให้ตั้ง “นะโม ๓ จบ”และต่อด้วย
   “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ”
   “ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ”
   “สังฆัง สรณัง คัจฉามิ”

   และสวด “อิติปิ โสฯ ๓ จบ” จึงภาวนาเรื่อยๆ ไปในขณะที่ภาวนาให้ทำใจสบายๆ ผลของคาถาบทนี้ จะมีผลต่อผู้สั่ง ผู้รับคำสั่ง ผู้ร่วมมือ และผู้กระทำไสยศาสตร์มายังเราโดยฉับพลัน

   #ผลพิเศษ ถ้าตั้งใจรักษาศีล ๕ บริสุทธิ์หรือตั้งใจรักษากรรมบถ ๑๐ ได้ครบถ้วน สามารถระงับนิวรณ์ ๕ ได้ ภาวนาวันละ ๑ ชั่วโมง เป็นเวลา ๓ เดือนติดต่อกันจะมีผลคล้าย #อภิญญา

   หมายเหตุ: "สัมปจิตฉามิ" อ่านว่า สัม-ปะ-จิต-ฉา-มิ คาถาบทนี้ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เป็น #สัมมาทิฏฐิ เท่านั้น ไม่มีผลสำหรับผู้เป็น #มิจฉาทิฏฐิ พระโมคคัลลาน์ท่านมายืนยันว่า คาถาบทนี้เป็นคาถาอภิญญา บอกว่าคนที่ได้อภิญญามาในชาติก่อน ถ้าใช้คาถาบทนี้ของเก่าจะรวมตัว คือว่าทำไปๆ ถ้าเข้าถึงผรณาปีติจะรู้สึกว่าตัวไม่มี เหลือแต่หน้า ต่อไปก็ไม่มีอะไรเหลือเลย หน้าก็ไม่มี ถ้าทำได้เช่นนี้บ่อยๆ ไม่ช้าก็รวมตัวจะไปไหนก็ได้ เที่ยวต่างประเทศเรื่องเล็ก ฆราวาสทำได้ทุกอย่าง แต่พระห้ามแสดงต่อหน้าคน

   อย่าง #ท่านปิณโฑลภารทวาชะ เป็นต้นบัญญัติ ถูกห้ามเพราะอะไร เพราะถ้าไปทำอย่างนั้น คนก็ไม่ต้องการธรรมะ ต้องการพระแสดงปาฏิหาริย์ ถ้าขอให้พระแสดงปาฏิหาริย์ พระทำให้ คนนั้นตายแล้วเกิดใหม่ต้องไปเป็นทาสเขา ๕๐๐ ชาติ ถ้าพระไม่ทำให้แล้วโกรธก็เลยลงนรก

   พระพุทธเจ้าจึงทรงห้าม แต่ว่าพระที่อยู่ในป่าท่านมีความจำเป็นก็ใช้ได้ แต่ต้องไม่ให้คนเห็น อย่างพระที่เข้านิโรธสมาบัติ ออกมาแล้วปั๊บร่างกายต้องการอาหารก็ต้องดู เราจะไปหาที่ไหน เห็นหน้าคนที่จะให้ปั๊บก็เหาะไปทันที แต่ต้องไม่ให้คนเห็น พอเห็นว่าคนจะเห็นก็ต้องลงเดิน ถ้าเหาะจริงๆ แล้วไวมาก ตามบาลีว่าที่พระโมคคัลลาน์ขึ้นไปดาวดึงส์ในคราวนั้น บอกว่า "แค่ลัดนิ้วมือเดียว” ความจริงไวกว่านั้น แต่ศัพท์ภาษาไทยไม่รู้จะใช้อะไรความจริงนึกก็ถึงเลย...สวัสดี*

🙏🏻🙏🏻พระธรรมคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
📖หนังสืออภิญญา หน้าที่ ๒๓~๒๕
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

🖊พิมพ์โดย นภา อิน🙏🏻

19 มกราคม 2565

บทพิสูจน์ของเทวดา

    การต้องถูกพิสูจน์นี่มีน้อยคน ไม่ใช่ทุกคน ท่านที่จะถูกพิสูจน์อย่างหนักจริงๆ หนักมากก็ต้องเป็นพวกที่มาจากพระโพธิสัตว์ อดีตเคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อน อยากเป็นพระพุทธเจ้า การที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็ต้องถือว่าเป็นจอมทัพ ท่านที่จะเป็นจอมทัพปราบข้าศึกคือ “กิเลส” ต้องมีความเข้มแข็งมาก ท่านพวกนี้จะถูกพิสูจน์ด้วยเทวดาขั้นจาตุมหาราชซึ่งเป็นเทวดาผู้ทรงฌาน แต่เทวดาเขาจะพิสูจน์เราก็ต่อเมื่อเราไม่กลัว ถ้าเรายังกลัวอยู่เขาไม่มาหรอก เสียเวลา และท่านพวกนี้ต้องมาจากสายพุทธภูมิ สายสาวกภูมิเขาไม่ลองมาก ขืนลองมากเดี่ยวเป็นบ้าไปเลย ดีไม่ดีเดี๋ยวเลิกเพราะกำลังใจอ่อน การทดลองของเขาก็ไม่ซ้ำแบบ ถ้าเรากล้วเขาก็เลิก หรือเราไม่รู้จักกลัวเขาก็เลิก คนไม่กลัวจริงๆ นี่เลยบาท

    กำลังใจของคนทุกคน อาจสู้กันไปสู้กันมา ให้พ้นจากความตาย เหมือนสู้กับข้าศึก คนเลยบาทคิดสู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันว่าร่างกายนี้จะตายก็ช่างมัน แต่ความดีส่วนหนึ่งต้องเอาให้ได้ ถ้าความดีส่วนนี้เราไม่ได้เพียงใดเราจะไม่ยอมเลิกเด็ดขาด มันจะตายก็ยอม เรียกว่า #รักธรรมะยิ่งกว่ารักชีวิต อย่างนี้เขาเรียก “คนเกินบาท" มีกำลังใจเข้มข้นมาก

    บทพิสูจน์ของเทวดา ถ้าอารมณ์เข้าใกล้จะเป็นพระอริยเจ้า โดยเฉพาะถ้าท่านพุทธบริษัทเคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อนจึงจะมีวิธีการป้องกันตัว คือ ก่อนภาวนาหรือพิจารณาคิดว่า #มันจะตายเวลานี้ก็เชิญ #ถ้าตายเวลานี้อย่างเลวเราไปสวรรค์ #อย่างกลางไปพรหมโลก #อย่างสูงสุดเราไปนิพพาน #อะไรจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม #เราไม่ยอมหวั่นไหวไม่ยอมแพ้

🙏🏻พระธรรมคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง)ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
📖หนังสือพ่อสอนลูก หน้าที่ ๑๗๙~๑๘๐
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

🖊พิมพ์โดย นภา อิน

ตายโหงและการทำบุญอุทิศให้ผีตายโหง

ตายโหงและการทำบุญอุทิศ
ให้ผีตายโหง
กรรมที่เป็นอุปฆาตกรรม 
คือบรรดาสัมภเวสี ที่เดินอยู่ข้างหน้า 
เดินเกลื่อนไปเกลื่อนมา 
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคนธรรมดา 
เวลาที่เขาตาย เวลาที่ตายแต่งตัวแบบไหน นุ่งผ้าประเภทไหน 
ก็แต่งตัวแบบนั้น แล้วก็สำรวยต่าง ๆ ท่าทางแข็งแรง แต่ดูเหมือนว่ามีความกังวลอยู่อย่างหนึ่ง คือมีความทุกข์ใจไม่รู้จะเกิดที่ไหน ไม่รู้จะพักผ่อนที่ไหนได้แน่นอน 
บรรดาสัมภเวสีพวกนี้มีความลำบาก
นี่ถ้าหากว่าบรรดาเขารู้ในด้านการตัดอุปฆาตกรรม เสียได้แล้วละก็เขาจะมีความสุขมาก
ถ้าญาติของเราตาย ตายด้วยอำนาจของสัมภเวสี คือ ไม่สิ้นอายุ
ฟ้าผ่าตาย สุนัขกัดตาย มดกัดตาย ยุงกัดตาย คลอดบุตรตาย ถูกฆ่าตาย ถูกยิงตาย รถชนตายหรือที่เรียกกันว่า ตายโหง
แต่ก็ไม่แน่นักนะ บรรดาพวกนี้ถึงอายุขัยก็มี แต่เผื่อเหนียวไว้ก่อน
สมมุติว่าเขาเป็นสัมภเวสี 
พอตายไปแล้วไม่ต้องทำบุญมาก 
ทำบุญให้ได้บุญชัด ๆ 
หาอาหารชนิดที่ไม่มีบาป
เอาผ้าไตรมา ๑ ไตร 
เอาพระพุทธรูปมา ๑ องค์ 
นิมนต์พระมารับสังฆทานที่บ้าน
ทำเงียบ ๆ อย่าให้มีเหล้ายาปลาปิ้ง 
อย่าทุบแม้แต่ไข่สักหนึ่งฟอง
เมื่อทำบุญเสร็จ อุทิศส่วนกุศลให้เฉพาะคนที่ตาย ไม่ให้ใครทั้งหมด
ถ้าทำอย่างนี้ละท่านพวกนี้จะมีความสุข ได้รับผลบุญทันที มีความผ่องใส มีความอิ่มเอิบเมื่อเข้าถึงอายุขัย เมื่อใด
ก็เป็นอันว่าพวกนี้จะไปถึงด้านของสวรรค์ก่อน
จากหนังสือ : ไตรภูมิ
เรื่อง : อสุรกาย พวกที่ ๑-๒ และ สัมภเวสี
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง)

การภาวนา ท่านต้องการให้เห็นกิเลสของตนเท่านั้น

"..การภาวนา ท่านต้องการให้เห็นกิเลสของตนเท่านั้น เห็นอย่างอื่นไม่สำคัญ เท่ากับเห็นกิเลสของตน
คือ เห็นความโลภของตน เห็นความโกรธของตน เห็นความหลงของตน เห็นมานะทิฏฐิของตน เห็นราคะตัณหาของตน

เมื่อเราเห็นกิเลสดังกล่าวนี้แล้ว เราต้องวางแผนทำลายกิเลสดังกล่าวนี้ให้หมดสิ้นจากจิตใจของเรา 

สิ่งนี้จึงเป็นความรู้ความเห็นที่ถูกต้อง ตามหลักที่ท่านแสดงไว้..."

หลวงปู่คำดี ปภาโส

#ความเป็นพระโสดาบัน


ความเป็นพระโสดาบันนั้น 
ก็ได้แก่คน ที่มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระ ธรรม ในพระสงฆ์ 
#มีศีลบริสุทธิ์ 
พยายาม ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ปลดไปทีละน้อยๆ จงอย่าหนักใจว่าศีล ๕ ประการเราเว้น ไม่ได้ 
#ความจริงเราเว้นได้ ค่อยๆ ลดมันไป ใหม่ๆ มันก็เผลอไปบ้าง ความอยากมันก็เกิดขึ้นมาบ้าง พยายาม นึกเข้าไว้ ก่อนจะหลับนึกถึงศีล ตื่นมา ใหม่ๆ ก็นึกถึงศีล ว่าเราจะไม่ละเมิดศีล อย่างนี้ก็ชื่อว่าจิตของท่านเป็นสมาธิใน ด้านสีลานุสสติกรรมฐาน อย่างเลวที่สุด ก็ไปเป็นเทวดา หรือเป็นมนุษย์ก็มีความ สบายใจ

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
_______________
จากหนังสือ คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง ฉบับที่ ๔๗ หน้า ๙๘ คัดลอกโดย คณะบุญสุประวีณ์
FB : กุลปราการ นันทิกานต์

13 มกราคม 2565

ดูลม ดูจิต รู้ไตรลักษณ์

ดูลม ดูจิต รู้ไตรลักษณ์
"เมื่อเวลาเราทำ (สมถ) กรรมฐาน คือกำหนดลม ไม่ต้องพิจารณาอะไร เอาสติประคองจิตของเรา 

#ให้รู้ตามลมเข้าออกเท่านั้นไม่ต้องสนใจอย่างอื่น 

ไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่น ลมก็สบาย ไม่ขัดข้อง ลมเข้าก็สบาย ลมออกก็สบาย เอาความรู้สึกที่เรียกว่า สติ สติตามลม ส่วนสติสัมปชัญญะ ก็รู้อยู่ว่า สติเราตามลม ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้น มีสติ แล้วก็มีลม มีสติตามลม เราจะมองดูในที่อันนั้น เราจะรู้ลม เห็นลมว่ามันยาวสั้นประการใด 

#เห็นลมและมีสติอยู่ว่าเรารู้ลม #แล้วก็เห็นจิตของเราตามลม 

#เห็นทั้งลม #เห็นทั้งสติ #เห็นทั้งจิต ๓ ประการรวมกัน หายใจเข้าก็รวม หายใจออกก็รวม รู้สึกอยู่อย่างนี้ มันจะเป็นอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป มันจะมีอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป ทำอย่างนี้มันจะดี จะเป็นอย่างไรต่อไป ไม่ต้องคิด เรียกว่ากำหนดลมเข้าออกสบาย"

......

"พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนส่วนจิต ให้จิตเป็นคนเห็น ถ้าจิตมันเห็นแล้ว จิตมันรู้ของมันแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง เรียกว่าการภาวนาเป็น ฉะนั้นจึงค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันสามวันให้ได้ ให้เห็น เมื่อวานซืนนี่ มีนักศึกษาได้มาปรึกษา จะไปนั่งภาวนากรรมฐาน นั่งสมาธิ มันไม่สบาย มันไม่สงบ มาหาหลวงพ่อ ชาร์จแบตเตอรี่ให้ไม่ได้หรือ นี่อันนี้มันต้องพากันพยายาม พยายามทำไปเรื่อยๆ คนอื่นบอก มันไม่รู้จัก มันจะต้องไปพบด้วยตนเอง ไม่ต้องเอาทีละมากหรอก เอาน้อยๆ แต่เอาทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน แล้วก็เดินจงกรมทุกวัน มันจะมากหรือน้อย เราก็ทำทุกๆ วัน แล้วก็เป็นคนที่พูดน้อย แล้วก็ดูจิตของตัวเองตลอดเวลา 

#เมื่อดูจิตของตัวเอง #อะไรมันจะเกิดขึ้นมา 
#แล้วมันจะสุขหรือมันจะทุกข์อะไรเหล่านี้ก็บอกปัดปฏิเสธมันเสีย 

#ว่าเป็นของไม่แน่นอน #เป็นของหลอกลวงทั้งนั้น"

หลวงพ่อชา สุภัทโท

          .........................................................

เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ดังนี้ ชื่อว่าทำอัสสาสปัสสาสนิมิตให้เป็นอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น 

#ภิกษุนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตเหมือนกัน 

เพราะจิตของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์เป็นไป. เพราะอานาปานสติภาวนาย่อมไม่มีแก่ผู้มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว. เพราะฉะนั้นในสมัยนั้น 

#ภิกษุย่อมเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตเป็นต้นโดยอารมณ์.

อรรถกถา มัชฌิมนิกาย 
อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
อานาปานสติสูตร

....

"อนัตตา อานาปานสติ"

    "#จริงอยู่เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันชื่อว่าเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน. 

ก็บรรดาลักษณะทั้ง ๓ เมื่อเห็นลักษณะหนึ่งก็เป็นอันชื่อว่าเห็นลักษณะ ๒ อย่างนอกนี้เหมือนกัน. 

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เมฆิยะ ก็อนัตตสัญญาย่อมดำรงอยู่แก่ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง.

    เมื่อเห็นอนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่าเรามี ก็ชื่อว่าละได้ด้วยนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา ย่อมถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้."

อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ ๑

.....

    

"#ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น 
#แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น 

#แม้เวทนาที่เสวยอารมณ์อยู่ 
#แม้สัญญาที่จำได้อยู่ 
#แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้น."

 ---------------------------------------------------------------------

#ไม่ใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น 

ถึงเวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับผัสสะนั้น ถึงสัญญาที่จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่คิดถึงอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้ชัดซึ่งอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น. เวทนาปรากฏแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนดอารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกันว่า 

#ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงสัมผัสที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่จำได้อยู่ ถึงเจตนาที่นึกคิดอยู่ ถึงสัญญาที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น. 

วิญญาณปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นก็จะกำหนดอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกับว่า 

#ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น 
#แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น 

#แม้เวทนาที่เสวยอารมณ์อยู่ 
#แม้สัญญาที่จำได้อยู่ 
#แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้น.
 
               พระโยคาวจรนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้อาศัยอะไรอยู่ดังนี้ จะรู้ชัดว่าอาศัยวัตถุอยู่. กรชกาย ชื่อว่าวัตถุ. 

               คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑๑- ก็แลวิญญาณของเรานี้อิงอาศัยอยู่ในกรชกายนี้ เนื่องแล้วในกรชกายนี้ ทรงหมายเอากรชกายใด กรชกายนั้นโดยเนื้อความ ได้แก่ภูต และอุปทายรูปทั้งหลาย 

#เธอเห็นเป็นเพียง #นามกับรูปเท่านั้นว่า 

บรรดา ๒ อย่างนี้ 

#วัตถุเป็นรูป 

#ธรรมมีผัสสะเป็นที่๕เป็นนาม 

ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในสองอย่างนี้ 

#รูปได้แก่รูปขันธ์ #นามได้แก่ขันธ์๔ ที่ไม่ใช่รูป 

ดังนั้นจึงรวมเป็นเพียงขันธ์ ๕. 

               แท้จริง เบญจขันธ์ที่จะพ้นจากนามรูป หรือนามรูปที่จะพ้นจากเบญจขันธ์ไปเป็นไม่มี. เธอเมื่อใคร่ครวญอยู่ว่าเบญจขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็เห็นว่ามีอวิชชาเป็นเหตุ 

#แต่นั้นจะยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยสามารถแห่งนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า 

#นามรูปนี้เป็นทั้งปัจจัย #เป็นทั้งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น 

#ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอย่างอื่นมีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น 

แล้วท่องเที่ยวพิจารณาตามลำดับวิปัสสนาว่า 

#อนิจจัง #ทุกขัง #อนัตตา ดังนี้. 

               เธอจำนงหวังปฏิเวธ (การตรัสรู้) อยู่ว่า (เราจะตรัสรู้) ในวันนี้ๆ ในสมัยเช่นนั้น ได้ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย โภชนะเป็นที่สบายหรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว 

#นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่านั้น 

#ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุดย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. 
                  ____________________________

"อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร"

07 มกราคม 2565

บวชกาย บวชจิต

#บวชกาย...คือบวชแต่ภายนอก จิตยังไม่เข้าถึงธรรม ยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ เรียกว่าสมมุติสงฆ์ ยกให้เป็นพระเพราะการถือบวช
#บวชจิต...คือจิตเข้าถึงธรรมหรือเป็นพระอริยะบุุคล ถึงแม้จะไม่ได้บวชกาย แต่จิตใจมีเมตตากรุณา มีศีลธรรม หากเข้าถึงมรรคผลก็เป็นพระอริยะบุคคล เป็นพระแท้ที่พระพุทธองค์รับรอง

#บวชทั้งจิตบวชทั้งใจ...คือจิตเข้าถึงธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบวชทั้งกายและใจ หากบรรลุมรรคผล เรียกว่าพระอริยะสงฆ์(พระแท้)

คนที่ภาวนาเป็นแล้วจะรู้หน้าที่ของตน

“คนที่ภาวนาเป็นแล้วจะรู้หน้าที่ของตน”
คนที่ภาวนาเป็นแล้ว จะรู้ว่าต้องการสถานที่แบบไหน เขาจะไม่ต้องการพวกแสงสีเสียง ไม่ต้องการเพื่อน ไม่ต้องการคนนั้นคนนี้มาแก้เหงาด้วยการคุยกัน เพราะจิตที่ได้เข้าสู่ความสงบแล้ว จะไม่ค่อยคิดถึงอะไร เพราะไม่ค่อยได้ปรุงแต่งกับเรื่องอะไร 

แต่จิตที่ยังไม่สงบ ก็จะคิดไปเรื่อยเปื่อย คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้ แล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นมา คิดในเรื่องที่เคยทำให้มีความสุขในขณะที่ไม่มีความสุขนั้นแล้ว ก็จะทำให้เศร้าสร้อยหงอยเหงา อยากจะหวนกลับไปหาความสุขแบบนั้นอีก 

ถ้าเคยมีความสุขกับเพื่อนกับฝูง กับการทำกิจกรรมต่างๆ พอต้องมาฝึกจิตอยู่คนเดียวในป่า ก็จะอดคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่เคยสัมผัสมาไม่ได้ อดที่จะคิดถึงเพื่อนคนนั้นเพื่อนคนนี้กิจกรรมนั้นกิจกรรมนี้ไม่ได้ ก็เลยเกิดอารมณ์ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยวขึ้นมา จึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องกลับไปหาเพื่อนหาฝูง หากิจกรรมต่างๆ 

แต่ถ้าเคยได้ฝึกจิตมาก่อน แล้วสามารถทำจิตให้สงบได้ เวลามาอยู่สถานที่แบบนี้ จะไม่ค่อยคิดถึงเรื่องราวเหล่านั้น เพราะมีงานทำ รู้หน้าที่ของตน รู้ว่าต้องทำอะไร คือคอยควบคุมสังขารความคิดปรุงนี้เอง

จุลธรรมนำใจ ๑, กัณฑ์ที่ ๒๒๘       
วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี

06 มกราคม 2565

บวชกาย บวชจิต

#บวชกาย...คือบวชแต่ภายนอก จิตยังไม่เข้าถึงธรรม ยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ เรียกว่าสมมุติสงฆ์ ยกให้เป็นพระเพราะการถือบวช
#บวชจิต...คือจิตเข้าถึงธรรมหรือเป็นพระอริยะบุุคล ถึงแม้จะไม่ได้บวชกาย แต่จิตใจมีเมตตากรุณา มีศีลธรรม หากเข้าถึงมรรคผลก็เป็นพระอริยะบุคคล เป็นพระแท้ที่พระพุทธองค์รับรอง

#บวชทั้งจิตบวชทั้งใจ...คือจิตเข้าถึงธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบวชทั้งกายและใจ หากบรรลุมรรคผล เรียกว่าพระอริยะสงฆ์(พระแท้)

เรื่อง.* สมาบัติ ๘ ก็เรื่องเล็ก ถ้าสนใจจริง

เรื่อง.* สมาบัติ ๘ ก็เรื่องเล็ก ถ้าสนใจจริง *
* โอวาท : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ ( สอนพระสงฆ์ )

..." คนในวัดของเราทั้งหมดนี่ ผมว่าถ้าสนใจจริง ๆ ตั้งใจจริง ๆ เรื่องสมาบัติ ๘ นี่มันเล็กเหลือเกิน..

~ สำหรับ อภิญญา นี่.. ก็ยังหนักใจนิด เพราะว่า.. ใช้ความพยายามมาก.. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังโยชน์ ๓ สังโยชน์ ๕ สังโยชน์ ๑๐ เป็นของไม่ยาก.. เพราะพูดกันไปพูดกันมาอยู่ตลอดเวลา..

* เว้นไว้แต่พวกท่านทั้งหลาย จะไม่สนใจในความดีเท่านั้น ที่จะไม่ได้..

~ พึงจะเห็นได้ว่า.. เวลาเขาเปิดโทรทัศน์ ก็ไปนั่งออที่หน้าโทรทัศน์บ้าง.. เวลาที่เขามีร้านค้า ก็ไปนั่งชุมนุมกันที่นั่นบ้าง.. 

~ เวลาจะพูดจาปราศรัยเรื่องอะไร ก็ไม่ได้ดูละ ไม่ได้ดูหน้าดูหลัง ไม่ดูกาลเวลา ไม่ได้ดูบุคค.. อันนี้แสดงว่า บุคคลประเภทนั้นไม่ได้มีความเข้าใจ หรือไม่ได้สนใจในสมณวิสัย ซึ่งได้ดีไม่ได้..ไม่มีทางใด ที่จะได้ดี เพราะขาดการระมัดระวัง..

* ถ้ามีการสำรวมอยู่ ปฏิบัติตนอยู่ในจรณะ ๑๕ แล้วสมาบัติ ๘ เป็นของเล็ก.. เพราะ จรณะ ๑๕ นี่ จบสมาบัติ ๔ แล้ว.. ถ้าได้สมาบัติ ๔ แล้ว เจริญสมาบัติ ๘ ในอรูปฌาน ไม่เกินครึ่งเดือนได้หมด นี่เป็นของง่าย ๆ

* ถ้าให้ดีนะ พิจารณาตัวเองด้วย "อัตตนา โจทยัตตานัง" จงเตือนตนเอง.. แต่ว่าการเจริญสมาบัติ ๘ นี่ ยากกว่าการตัดสังโยชน์ ๓ เพราะสังโยชน์ ๓ นี่ ตัดง่าย เว้นไว้แต่ว่า เราจะไม่สนใจกันเท่านั้น..

~ ดูพวกเราเองนะ ชอบไปออกันที่ร้านค้าไหม.. ชอบไปชุมนุมกันที่นั่นไหม.. ชอบพูดจาปราศัยในการที่ไม่สมควรไห.. ชอบดูโทรทัศน์ไหม.. ถ้าชอบแบบนี้ ไม่มีทาง เพราะไม่ใช่สมณวิสัยที่จะทำแบบนั้น..."

( จากหนังสือ *รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ* เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๘ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี..คัดลอกโดย ยุพยง พัฒนเจริญ )

01 มกราคม 2565

อานิสงส์บริจาคโลหิตเป็นทาน

 
🧑ผู้ถาม : “ทีนี้การ บริจาคโลหิตเป็นทาน นั้น อยากจะเรียนถามว่าเป็นทานขั้นไหนครับ…?”

♤หลวงพ่อ : “เขาเรียกว่า ทานภายใน นะ จะถือว่าเป็นปรมัตถทานก็ยังไม่ได้ เขาเรียกทานภายใน คือให้ของภายในกายนี่เป็น ทานภายใน ให้ของนอกกายเขาเรียก ทานภายนอก นะ ยังจะถือว่าเป็นปรมัตถทานไม่ได้นะ ถ้าเป็นปรมัตถทานต้องอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทำ”

🧑ผู้ถาม : “เป็นยังไงครับหลวงพ่อ…?”

♤หลวงพ่อ :- “เชือดเนื้อเอาไปเลี้ยงเขาเลย”

🧑ผู้ถาม : “ถึงขนาดนั้นเชียวหรือครับ…?”

♤หลวงพ่อ : “ใช่ นั่นเป็น ปรมัตถทาน เราถือว่าเป็นปกติทานก็แล้วกัน แต่เป็นทานภายในเพราะอานิสงส์สูงมาก อาจจะสูงกว่าทานภายนอกสักหน่อยหนึ่งนะ”

🧑ผู้ถาม : “แล้ว การบริจาคโลหิต กับ การอุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาล เป็นทาน อันไหนมีอานิสงส์มากกว่ากันครับ…?”

♤หลวงพ่อ “อุทิศเลือดให้ขณะยังไม่ตายมีอานิสงส์สูงกว่าเมื่อตายแล้ว ตายแล้วเหมือนของเขาทิ้งแล้ว ร่างกายใช้อะไรไม่ได้ มีประโยชน์เพียงแค่วัตถุทาน จะให้มีอานิสงส์สูงเท่ากับให้เลือดตอนมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้แน่ ใช่ไหม…

 ดูอย่างพระพุทธเจ้าเมื่อสมัยเป็นพระเวสสันดร ตอนนั้นที่คนเขามาขอช้างหรือของต่าง ๆ พระองค์ก็คิดว่าทำไมไม่ขอดวงตา ถ้าขอท่านก็จะให้ ไม่ว่าจะเป็นแขนซ้ายหรือแขนขวาก็จะให้ นี่ท่านตั้งใจให้ตอนมีชีวิตอยู่ ไม่ใช่ตอนตายแล้ว ฉะนั้นถ้าให้ได้ก็เป็นปรมัตถบารมี

🧑ผู้ถาม : “ทีนี้ถ้าจะบริจาคร่างกายให้นักศึกษาแพทย์เขาศึกษาต่อเมื่อเราตายแล้ว แต่อธิฐานไว้ว่า “ตายเมื่อไรขอพ้นจากวัฏฏสงสาร” อย่างนี้จะมีโอกาสไม่ให้มาเกิดอีกใช่หรือเปล่าครับ…?”

♤หลวงพ่อ : “ถ้าเวลาจะตายนะ จิตตัดกิเลสแน่นอน ไม่อยากมาเกิดอีก หรือเมื่อนั้นเมื่อเวลาจะตาย จิตตัดความรักในระหว่างเพศ ตัดความโกรธ ก็ไม่มาเกิดอีก มันไม่แน่นะ เดาส่งไม่ได้ มันเฉพาะจิตใช่ไหม…จะเดาไม่ได้ แต่บังเอิญก่อนที่จะตาย เวลานี้ทรงอารมณ์ของพระโสดาบันได้นะ และก็ตัดสินใจไว้เสมอทุกเช้าว่า “ร่างกายนี้ตายเมื่อไร ขอไปนิพพานเมื่อนั้น” อันนี้จิตทรงตัวแน่นอน อย่างนี้ไปได้ทันที”

📖พิมพ์จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๔ หน้า ๗๖-๗๗
♤คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
        《ธรรมทาน》

🖊พิมพ์โดย นภา อิน♤♤

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...