"เมื่อเวลาเราทำ (สมถ) กรรมฐาน คือกำหนดลม ไม่ต้องพิจารณาอะไร เอาสติประคองจิตของเรา
#ให้รู้ตามลมเข้าออกเท่านั้นไม่ต้องสนใจอย่างอื่น
ไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่น ลมก็สบาย ไม่ขัดข้อง ลมเข้าก็สบาย ลมออกก็สบาย เอาความรู้สึกที่เรียกว่า สติ สติตามลม ส่วนสติสัมปชัญญะ ก็รู้อยู่ว่า สติเราตามลม ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้น มีสติ แล้วก็มีลม มีสติตามลม เราจะมองดูในที่อันนั้น เราจะรู้ลม เห็นลมว่ามันยาวสั้นประการใด
#เห็นลมและมีสติอยู่ว่าเรารู้ลม #แล้วก็เห็นจิตของเราตามลม
#เห็นทั้งลม #เห็นทั้งสติ #เห็นทั้งจิต ๓ ประการรวมกัน หายใจเข้าก็รวม หายใจออกก็รวม รู้สึกอยู่อย่างนี้ มันจะเป็นอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป มันจะมีอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป ทำอย่างนี้มันจะดี จะเป็นอย่างไรต่อไป ไม่ต้องคิด เรียกว่ากำหนดลมเข้าออกสบาย"
......
"พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนส่วนจิต ให้จิตเป็นคนเห็น ถ้าจิตมันเห็นแล้ว จิตมันรู้ของมันแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง เรียกว่าการภาวนาเป็น ฉะนั้นจึงค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันสามวันให้ได้ ให้เห็น เมื่อวานซืนนี่ มีนักศึกษาได้มาปรึกษา จะไปนั่งภาวนากรรมฐาน นั่งสมาธิ มันไม่สบาย มันไม่สงบ มาหาหลวงพ่อ ชาร์จแบตเตอรี่ให้ไม่ได้หรือ นี่อันนี้มันต้องพากันพยายาม พยายามทำไปเรื่อยๆ คนอื่นบอก มันไม่รู้จัก มันจะต้องไปพบด้วยตนเอง ไม่ต้องเอาทีละมากหรอก เอาน้อยๆ แต่เอาทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน แล้วก็เดินจงกรมทุกวัน มันจะมากหรือน้อย เราก็ทำทุกๆ วัน แล้วก็เป็นคนที่พูดน้อย แล้วก็ดูจิตของตัวเองตลอดเวลา
#เมื่อดูจิตของตัวเอง #อะไรมันจะเกิดขึ้นมา
#แล้วมันจะสุขหรือมันจะทุกข์อะไรเหล่านี้ก็บอกปัดปฏิเสธมันเสีย
#ว่าเป็นของไม่แน่นอน #เป็นของหลอกลวงทั้งนั้น"
หลวงพ่อชา สุภัทโท
.........................................................
เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ดังนี้ ชื่อว่าทำอัสสาสปัสสาสนิมิตให้เป็นอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น
#ภิกษุนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตเหมือนกัน
เพราะจิตของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์เป็นไป. เพราะอานาปานสติภาวนาย่อมไม่มีแก่ผู้มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว. เพราะฉะนั้นในสมัยนั้น
#ภิกษุย่อมเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตเป็นต้นโดยอารมณ์.
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย
อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
อานาปานสติสูตร
....
"อนัตตา อานาปานสติ"
"#จริงอยู่เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันชื่อว่าเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน.
ก็บรรดาลักษณะทั้ง ๓ เมื่อเห็นลักษณะหนึ่งก็เป็นอันชื่อว่าเห็นลักษณะ ๒ อย่างนอกนี้เหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เมฆิยะ ก็อนัตตสัญญาย่อมดำรงอยู่แก่ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง.
เมื่อเห็นอนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่าเรามี ก็ชื่อว่าละได้ด้วยนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา ย่อมถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้."
อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ ๑
.....
"#ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น
#แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น
#แม้เวทนาที่เสวยอารมณ์อยู่
#แม้สัญญาที่จำได้อยู่
#แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้น."
---------------------------------------------------------------------
#ไม่ใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น
ถึงเวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับผัสสะนั้น ถึงสัญญาที่จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่คิดถึงอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้ชัดซึ่งอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น. เวทนาปรากฏแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนดอารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกันว่า
#ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึงสัมผัสที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่จำได้อยู่ ถึงเจตนาที่นึกคิดอยู่ ถึงสัญญาที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น.
วิญญาณปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นก็จะกำหนดอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกับว่า
#ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น
#แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น
#แม้เวทนาที่เสวยอารมณ์อยู่
#แม้สัญญาที่จำได้อยู่
#แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับวิญญาณนั้น.
พระโยคาวจรนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้อาศัยอะไรอยู่ดังนี้ จะรู้ชัดว่าอาศัยวัตถุอยู่. กรชกาย ชื่อว่าวัตถุ.
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑๑- ก็แลวิญญาณของเรานี้อิงอาศัยอยู่ในกรชกายนี้ เนื่องแล้วในกรชกายนี้ ทรงหมายเอากรชกายใด กรชกายนั้นโดยเนื้อความ ได้แก่ภูต และอุปทายรูปทั้งหลาย
#เธอเห็นเป็นเพียง #นามกับรูปเท่านั้นว่า
บรรดา ๒ อย่างนี้
#วัตถุเป็นรูป
#ธรรมมีผัสสะเป็นที่๕เป็นนาม
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในสองอย่างนี้
#รูปได้แก่รูปขันธ์ #นามได้แก่ขันธ์๔ ที่ไม่ใช่รูป
ดังนั้นจึงรวมเป็นเพียงขันธ์ ๕.
แท้จริง เบญจขันธ์ที่จะพ้นจากนามรูป หรือนามรูปที่จะพ้นจากเบญจขันธ์ไปเป็นไม่มี. เธอเมื่อใคร่ครวญอยู่ว่าเบญจขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ ก็เห็นว่ามีอวิชชาเป็นเหตุ
#แต่นั้นจะยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยสามารถแห่งนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า
#นามรูปนี้เป็นทั้งปัจจัย #เป็นทั้งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
#ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอย่างอื่นมีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น
แล้วท่องเที่ยวพิจารณาตามลำดับวิปัสสนาว่า
#อนิจจัง #ทุกขัง #อนัตตา ดังนี้.
เธอจำนงหวังปฏิเวธ (การตรัสรู้) อยู่ว่า (เราจะตรัสรู้) ในวันนี้ๆ ในสมัยเช่นนั้น ได้ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย โภชนะเป็นที่สบายหรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว
#นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่านั้น
#ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุดย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.
____________________________
"อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น