๐
มัตตัญญุตา สทา สาธุ
ความรู้จักพอดียังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
ความรู้จักพอดียังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ
"...ครั้งนั้น พระโสณะ อยู่ที่ป่าสีตวัน ใกล้เมืองราชคฤห์ ท่านทำความเพียรเดินจงกรมจนเท้าแตก ก็ไม่อาจให้บรรลุมรรคผลได้ จึงคิดว่า “บรรดาสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร มีความบากบั่นมั่นคง เราก็เป็นคนหนึ่ง ถึงกระนั้นจิตของเราก็หาหลุดพ้นจากอาสวะไม่ ตระกูลของเรามีโภคทรัพย์ที่จะใช้สอยเลี้ยงชีพให้เป็นสุขและทำความดีทั้งหลาย เราควรลาสิกขาไปใช้จ่ายโภคทรัพย์และทำความดีต่าง ๆ ”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระโสณะ จึงเสด็จมาสนทนาด้วย เนื่องจากท่านพระโสณะ สมัยเมื่อเป็นคฤหัสถ์เป็นผู้ชำนาญในการดีดพิณ จึงตรัสถามเรื่องสายพิณว่าต้องขึงสายพิณแต่พอดี เสียงพิณจึงจะไพเราะ หย่อนเกินไปก็ไม่ดัง ตึงเกินไปก็สายขาด ใช่หรือไม่
เมื่อท่านพระโสณะ ทูลรับว่าจริงอย่างนั้นแล้ว ก็ตรัสสอนอุปไมยว่าความเพียรก็เหมือนกัน ถ้าหย่อนเกินไปก็จะเอียงไปทางเกียจคร้าน ถ้าตึงเกินไปก็จะฟุ้งซ่าน จึงควรทำความเพียรแต่พอดี
พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทพระโสณะแล้วเสด็จไปยังภูเขาคิชฌกูฏ ฝ่ายพระโสณะทำความเพียรให้เสมอกันกับอินทรีย์ทั้งหลาย (คือ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา รวมวิริยะด้วยเป็นอินทรีย์ ๕) กล่าวคือทำ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาให้พอ ๆ กัน ทำความเพียรไม่หย่อนเกิน ไม่ตึงเกิน ไม่นานนักก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง..."
- มิลินทปัญหา อธิบายโดย อาจารย์วศิน อินทสระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น