" เจ้ากรรมนายเวร "
(ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง)
..เจ้ากรรมนายเวร หมายถึงบาปที่เป็นอกุศล
ที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ในอดีตชาติก็ดี
...
ในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง
เราทำร้ายเขาบ้าง เขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว
ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้ว แต่ไอ้ตัวบาปที่เราทำไว้
อย่างคนที่ไปขโมยของเขา เจ้าของเขาไม่ติดใจ
แต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยากตาม แต่กฎหมายให้ตาม
ฉะ...นั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติ
ในขั้นสุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น
แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโชขึ้นไปเขาเห็น ดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้
เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร
ขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญ
พอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่
พอเข้ามาใกล้ก็บอกว่า "ผมกับท่านหมดเรื่องกัน"
อาตมาก็ถามว่า "หมดเรื่องอะไร"
เขาก็บอกว่า "หมดเรื่องที่จะต้องติดตามจองล้างจองผลาญกัน"
ก็ถามอีกว่า "จองล้างจองผลาญฉันทำไม"
เขาก็บอกว่า "เปล่าครับ ผมไม่ได้จองล้างจองผลาญ"
ก็ถามว่า "แล้วเข้ามาทำไม"
เขาก็เลยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า "ในอดีตนับเป็นสิบ ๆ ชาติ ท่านกับผมรบกันมาเรื่อย"
เป็นคู่สงครามกัน ตัวเขาเก่งขวานทุกชาติ ส่วนอาตมาเก่งดาบสองมือทุกชาติ
ถ้าเวลาให้รบตัวต่อตัว ต้องเอาคู่นี้มารบกัน ถ้าคนอื่นหัวขาด พอถึงเวลากินข้าวก็บอกว่า
"พักรบก่อน กินข้าวเสร็จมารบกันใหม่" วันนั้นทั้งวันไม่มีใครเสียท่ากัน
อาตมาถามว่า "มันมีเวรกรรมอะไรกันล่ะ"
เขาบอกว่า "กฎของกรรมเขาถือว่ามี แต่เวลานี้กฎของกรรมสลายตัวแล้ว"
ก็เลยถามว่า "เวลานี้ไปเกิดที่ไหน"
เขาก็บอกว่า "ผมเป็นพรหมครับ"
ถามว่า "พรหมยังจองกรรมหรือ"
เขาตอบว่า "ผมไม่ได้จองแต่กฎของกรรมมันจอง เรื่องของกรรมหนัก ๆ ระหว่างสงครามหมดกันแค่นี้"
เราอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เขาจะได้รับหรือไม่ได้รับก็ตาม บุญที่เราทำเป็นผลให้เกิดความสุข
ไอ้กรรมต่าง ๆ ที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไปแล้ว เราไปยับยั้งมันไม่ได้
แต่ทว่าถ้าเราทำกรรมดีให้มีกำลังเหนือบาป บาปต่าง ๆ ก็จะตามเราไม่ทันเหมือนกัน
เรียกได้ว่า เป็นการทำบุญหนีบาป ไม่ใช่ทำบุญล้างบาปทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ที่ไม่ทำความชั่วเลยน่ะไม่มี
ดังนั้นถ้าเราจะชดใช้บาปก็คงจะชดใช้กันไม่ไหวมีทางเดียวในกิจของพระพุทธศาสนาคือ หนีบาปด้วยการปฏิบัติดังนี้
๑) การคิดถึงคุณพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระอริยสงฆคุณ
๒) ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
๓) มีพรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน
๔) มีอิทธิบาท ๔ ทรงตัว
๕) มีการภาวนาให้จิตทรงตัว
๖) พยายามรวบรวมบารมี ๑๐ ประการให้มีในจิตให้ครบถ้วน
๗) พยายามตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการให้หมด
๘) จรณะ ๑๕ ปฏิบัติให้ครบถ้วน
เมื่อมีการทรงตัวดังกล่าวมาแล้วนี้ได้ทั้งหมด ก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดกันอีกต่อไป
นั่นคือตายเมื่อใดก็ไปพระนิพพานอันเป็นแดนที่มีความสุขที่สุด.."
23 เมษายน 2562
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
หล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปางเทศนา หลังพระปางอุ้มบาตร เนื้อเมฆพัด ลงรักปิดทอง สร้าง พ.ศ.๒๔๑๑ เจ้าพระคุณสมเด็จโต สร้างและปลุกเสก...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น