สมาธิ คือจิตที่แน่นอยู่ในอารมณ์เดียวเรียกว่า “สมถะ” จิตที่ไม่ติดต่อกับสิ่งใด มีความสะอาด ปราศจากอารมณ์ภายนอก มีสติสัมปชัญญะ รู้รอบคอบ ปลดปล่อยอารมณ์เสียได้ เรียกว่า “วิปัสสนา” เมื่อสมาธิซึ่งประกอบด้วยวิปัสสนาเกิดขึ้น ความเป็นใหญ่ เป็นอิสระในตัวทั้ง ๕ อย่างก็จะบังเกิดขึ้นพร้อมกันคือ
๑. ”สัททินทรีย์” ศรัทธาความเชื่อก็เข้มแข็งมั่นคง ใครจะมาพูดดีหรือไม่ดีอย่างไร ใจก็ไม่หวั่นไหว
๒. “วิริยินทรีย์” ความพากเพียรก็แก่กล้า ถึงใครจะมาสอนให้หรือไม่สอนให้ ก็ทำไปเรื่อย ไม่ท้อถอยหรือหยุดหย่อน
๓. “สตินทรีย์” สติก็เป็นใหญ่ เป็นมหาสติ ไม่ต้องไปข่มไปบังคับ มันก็แผ่จ้ากระจายไปทั่วตัวเหมือนต้นไม้ใหญ่ กิ่งก้านใบของมันย่อมจะแผ่สาขาลงมาคลุมลำต้นของมันไว้ และพัดกระพือขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครไปจับเขย่าหรือดึงยอดมันลงมา ความรู้ของเราก็จะจ้าไปหมด ทั้งยืนเดิน นั่ง นอนทุกอิริยาบถ มันรู้ของมันได้เองโดยไม่ต้องไปนึก ความรู้รอบอย่างนี้แหละเรียกว่า ”มหาสติปัฏฐาน”
๔. “สมาธินทรีย์” สมาธิของเราก็เป็นใหญ่ จะทำอะไร ๆ อยู่ก็ตาม จิตก็ไม่มีวอกแวก ถึงจะพูด จะคุยกันให้ปากอ้าออกไปตั้งวา ใจก็คงที่เป็นปกติอยู่ กายมันจะอยากกิน อยากนอน อยากนั่ง อยากยืน อยากเดิน อยากวิ่ง อยากนึก อยากคิด อยากพูด อยากทำก็ทำไป ช่างมัน หรือว่ากายมันจะเจ็บ จะป่วย จะปวด จะเมื่อยที่ตรงไหนก็ให้มันเป็นไป จิตใจก็ตั้งเที่ยงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่วอกแวกไปทางอื่น
๕ “ปัญญินทริย์” ปัญญาความฉลาดรู้ก็เป็นให้เกิดขึ้นในตนเอง อาจสามารถที่จะทำดวงจิตของตนให้บรรลุธรรมสำเร็จมรรคผลเป็นโสดา สกิทาคา อนาคาจนถึง อรหันต์ ก็ได้
-:- ท่านพ่อลี ธมฺมธโร -:-
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ภาพ พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ หน้าพระอุโบสถวัดวัง จ.พัทลุง
27 เมษายน 2562
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
อริยสัจ 4 และมรรคแปด
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...
-
https://youtu.be/V5b6fr4VMjU หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง - พลังจตุธาตุหนักแน่นเช่นเดิม มาเต็มๆ 100 ทุกพลังธาตุ ตามมาตรฐานหลวงปู่ทิม...
-
พระหลวงพ่อทวด ชุดนี้จัดสร้างโดยมีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ดำเนินการร่วมกับพระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาสใ พิธีปลุกเสกเมื่อวัน...
-
การจับพลังพระเครื่องนั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมีรูปแบบการใช้อยู่อย่างหลากหลายเพื่อให้ทราบว่า พระเครื่ององค์นี้ หรือวัตถุมงคล ชิ้นนี้ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น