27 สิงหาคม 2566

นิพพาน หรือ การบรรลุอรหันต์ ถือเป็นกิเลสอย่างหนึ่งหรือไม่ ?

ปุจฉา : การปฏิบัติธรรมเพื่อหวังผลประโยชน์ในทางศาสนาพุทธ เช่น นิพพาน หรือ การบรรลุอรหันต์ ถือเป็นกิเลสอย่างหนึ่งหรือไม่ ?
วิสัชนา : เขาเรียกธรรมปรารภ (ความปรารถนาในการปฏิบัติธรรม) = ซึ่ง เป้าหมายในการปฏิบัติธรรม = การบรรลุมรรคผล = พระอรหันต์ (ตัดกิเลสจนหมดสิ้น) ย่อมไม่ใช่กิเลส

กิเลส คือ การที่บุคคลใด ๆ ก็ตาม ทำอะไรก็ตาม แล้ว โลภะ โทสะ โมหะ ที่มี นั้น นอกจากไม่ลดลง แล้วยังเพิ่มมากขึ้น อันนี้แหล่ะ กิเลส    

เช่น ปกติเคยกินอาหารร้านข้างทางได้สบาย ๆ รู้สึกพอใจ (มีความสุข) แต่วันนึ้พอเดินผ่านร้านอาหารหรู ๆ - ราคาแพง ๆ มีแต่คนรวย ๆ นั่งกินอาหาร พอเห็นคนอื่นได้กินอาหารหรู ๆ ดี ๆ แพง ๆ แล้วเกิดความอิจฉา และ ไม่พอใจ (โทสะ) = นี่แหล่ะ กิเลส ล่ะ  

อนึ่ง การทึ่บุคคลใด กินข้าว - อาหาร - น้ำ แบบคนทั่ว ๆ ไปไม่ได้ทะยานอยากจะกินแต่อาหารหรู ๆ ราคาแพงตามใจอยากของตน มีเงินเท่าไหร่ ก็ซื้อกินตามสมควรแก่อัตภาพ อันนี้ ไม่ใช่กิเลส เพราะ คนเราถ้าอดอาหาร = ทรมานตัวเอง เพราะ การกินอาหารเป็นความต้องการของทางร่างกาย    

เช่นเดียวกัน การปรารถนาจะปฏิบัติธรรมเพื่อการลด - ละ - เลิก (ตัดกิเลส) = การปรารถในธรรม (ปรารถนาปฏิบัติธรรมเพื่อการบรรลุมรรคผล) = อันนี้ก็ย่อมไม่ใช่กิเลส เพราะ การปฏิบัติธรรมเป็นการทำให้ โลภะ - โทสะ - โมหะ ลงน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนหมดสิ้นไปในที่สุด (บรรลุพระอรหันต์) นั่นเอง  

** แยกให้ออกระหว่าง จำเป็น กับ อยากได้แล้วทำให้เกิดกิเลสให้ดี 

- บางคนที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อรถยนต์ไว้ทำงาน แต่ อาจมีความจำเป็นต้องเดินทางไปอื่น ๆ อยู่บ้าง เช่น โรงพยาบาล และ บ้านญาติ ๆ ซึ่งอยู่ไกลหลายกิโล เขาจึงซื้อรถจักรยานยนต์เอาไว้ใช้ในการเดินทาง อันนี้ไม่ใช่กิเลส เพราะ จำเป็นต้องใช้ หรือ จะให้เขาเดินไปโรงพยาบาล และ เดินไปบ้านญาติ ๆ ล่ะ ???

- บางคนเคยเดินทางไปทำงานด้วยรถจักรยานยนต์ทุกวัน ก็ไม่เคยรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจอะไร แต่พอวันหนึ่งเห็นเพื่อนซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ขับไปทำงาน เกิดความรู้สึกด้อยกว่าเพื่อน จึงตัดสินใจจะทำทุกวิถีทางเพื่อซื้อรถมาขับโชว์แข่งกับเพื่อน ๆ ให้ได้ จึงไปกู้เงินดอกร้อยละ 20 มา 8 แสนบาท แล้วรีบไปซื้อรถด้วยเงินสด ตอนแรกเขารู้สึกเท่มากที่ซื้อรถรุ่นใหม่ ใคร ๆ เห็นก็ชื่นชม แต่ ต่อมาเขาต้องจ่ายเงินผ่อนให้เจ้าหนี้นอกระบบถึงเดือนละหลายหมื่นบาท ทำให้เงินเดือนเริ่มไม่พอใช้จ่าย (เกิดความทุกข์) เขาจึงไปกู้เงินคนอื่น ๆ เพื่อมาจ่ายหนี้ พันกันยุ่งเหยิงไปหมด สุดท้ายไม่มีเงินใช้หนี้ ต้องยอมขายรถ - ขายบ้านเพื่อใช้หนี้ = กิเลส 100%    

เพราะ เดิม รถจักรยานยนต์ที่เขามีก็สามารถใช้เดินทางไปทำงานได้สบาย ๆ แต่ เพราะ กิเลส (ความอยากอวดเพื่อน) จึงไปกู้เงินมาซื้อรถยนต์ ทำให้ต้องไปกู้หนี้นอกระบบมา พอถึงเวลาผ่อนคืนพร้อมดอกเบี้ย (ร้อยละ 20) หาเงินมาคืนไม่ไหวจึงตัองขายรถ - ขายบ้าน = เกิดความเดือดร้อน ในที่สุด

รถ จำเป็นมากไหมในชีวิต ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องซื้อ แต่ ถ้าจำเป็น เช่น ใช้เดินทางไปทำงาน - พา พ่อ - แม่ ไปโรงพยาบาล - พาลูกไปโรงเรียน 9ล9 = จำเป็นต้องใช้รถ จึงต้องไปหาซื้อรถไว้ใช้ = อันนี้ไม่ใช่กิเลส   

หรือ คุณจะพาลูกเดินไปโรงเรียน - พา พ่อแม่ ที่ป่วยเดินไปโรงพยาบาล และ เดินไปทำงานแต่เช้ามืด ล่ะ ???

เงิน จำเป็นไหมในชีวิต ? ถ้าบอกว่าไม่จำเป็น แล้ว ค่าน้ำ - ค่าไฟ - ภาษีที่ดิน - ค่าอาหาร - ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 9ล9 จะเอาอะไรมาใช้จ่ายล่ะ ? ดังนั้น การทำงานเพื่ออยากหาเงินมาใช้จ่าย = ไม่ใช่กิเลส แต่ คือความจำเป็นในชีวิต

การอยากได้เงิน และ พยายามหางาน - ทำงานในอาชีพที่สุจริตเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย เพราะ เป็นความจำเป็นในชีวิตประจำวัน อันนี้ไม่ใช่กิเลส เพราะ คือความจำเป็น     

แต่ การที่อยากรวยเป็น สิบล้าน - ร้อยล้าน - พันล้าน แล้ว เกิดความเครียด - เกิดความโลภ จนยอมเป็นขโมย - ถ้ารับราชการก็ยอมคอรัปชั่น เพื่อให้ได้เงินมามาก ๆ - ถ้าเป็นหมอก็คิดค่ารักษาเกินราคา เช่น จาก 1 แสนบาท ก็ คิด 2 - 3 แสนบาท ยอมทรยศต่อจรรยาบรรณ คดโกง เพราะ อยากรวยมีเงินเยอะ ๆ = แบบนี้แหล่ะ กิเลส 100%  

อีกตัวอย่างหนึ่ง ลองคิดง่าย ๆ นะ การกินข้าว - อาหาร - น้ำ เนี่ย เป็นความจำเป็นของร่างกายของมนุษย์ทุกคน ขนาดพระอรหันต์ ท่านยังต้องกินข้าว - ทานอาหาร - น้ำ เลย ถามว่าเวลาหิว แล้ว อยากกินข้าว - อาหาร เป็น กิเลสไหมล่ะ ??? มันจะเป็นได้ไง เพราะ มันเป็นความจำเป็นพื้นฐานของร่างกาย น่ะสิ คนอดอาหาร - ไม่กินข้าว อาจป่วย - ตาย เอาได้เลยนะ 

#ขอบอก 

หรือ ใครจะคิดว่า เวลาหิวข้าว แล้ว ต้องยอมอดข้าว - อาหาร เพราะ กลัวเป็นกิเลส ก็เชิญตามสบายนะ 555+

#วัชระวรมนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...