26 สิงหาคม 2566

ศีล สมาธิ ปัญญา

***********
             ก็ท่านแสดงความที่ข้อปฏิบัติของพระเถระเหล่านั้น งามในเบื้องต้นด้วยศีล. และศีลชื่อว่างามในเบื้องต้น ด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า โก จาทิ กุสลานํ ธมฺมานํ สีลญฺจ สุวิสุทฺธํ (ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย ได้แก่ศีลที่บริสุทธิ์ดีแล้ว) บ้าง สีเล ปติฏฺฐาย (นระตั้งอยู่แล้วในศีล) บ้าง สพฺพปาปสฺส อกรณํ (การไม่ทำบาปทั้งปวง) บ้าง เพราะความเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณธรรม มีความไม่ต้องเดือดร้อนเป็นต้น. 
               ท่านแสดงความงามในท่ามกลางด้วยสมาธิ สมาธิชื่อว่างามในท่ามกลางด้วยข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า จิตฺตํ ภาวยํ (ยังจิตให้เจริญอยู่) บ้าง กุสลสฺส อุปสมฺปทา (ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม) บ้าง เพราะเป็นเหตุนำมาซึ่งคุณมีอิทธิวิธะเป็นต้น. 
               ท่านแสดงความงามในที่สุดด้วยปัญญา ปัญญาชื่อว่าเป็นที่สุดของข้อปฏิบัติ โดยพระบาลีว่า สจิตฺตปริโยทปนํ (การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว) บ้าง ปญฺญํ ภาวยํ (ยังปัญญาให้เจริญ) บ้าง ปัญญานั่นแหละชื่อว่างาม โดยเหตุที่ปัญญาเหนือกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย.
………….
ข้อความบางตอนใน นิทานกถาวรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26.0...
ข้อความข้างต้นสรุปได้ว่า
สพฺพปาปสฺส อกรณํ (การไม่ทำบาปทั้งปวง) = งามในเบื้องต้นด้วยศีล
กุสลสฺส อุปสมฺปทา (ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม) = งามในท่ามกลางด้วยสมาธิ
สจิตฺตปริโยทปนํ (การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว) = งามในที่สุดด้วยปัญญา
#ศีล #สมาธิ #ปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...