“…โพธิสัตว์ คือ ผู้ข้องเกี่ยวอยู่กับสัตว์ เวียนว่าย ตาย เกิด อยู่ในสังสารวัฏ เพื่อรื้อขนสัตว์โลกออกจากกองทุกข์…”
สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่ยังเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ที่สร้างบารมีสมบูรณ์แล้ว จะได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก ต่อพระพักตร์พุทธเจ้า ต้องมีธรรมสโมธาน ๘ ประการสมบูรณ์ จึงได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นองค์พระพุทธเจ้า ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น ก็กลายเป็น นิยตะโพธิสตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้
ธรรมสโมธาน ๘ ประการคือ
๑. ได้เกิดเป็นมนุษย์
๒. เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกระเทย
๓. มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน(ถ้าเกิดเปลียนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที)
๔. ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อพระพักตร์
๕. ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤาษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสผู้ครองเรือน
๖. ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ
๗. เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ
๘. ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง
กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตะโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม ๔ ประการ คือ
๑) อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง
๒) อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม
๓) อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน
๔) หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ
อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตะโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี ๖ ประการ
๑. เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา
๒. วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ
๓. อโลภ พอใจในการบริจาคทาน
๔. อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา
๕. อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา
๖. นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น