29 เมษายน 2564

กราบให้ถึงพระ

เวลาที่เรากราบพระทุกครั้งนี่ หรือไหว้พระทุกครั้ง จิตจะต้องเห็นพระพุทธเจ้าอยู่เป็นปรกติ แล้วกล่าวว่า "อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ" นั่นหมายถึงว่า เรากราบพระพุทธเจ้า ถ้าเวลาจิตที่กราบ ความจริงเราอาจนั่งอยู่หน้าพระพุทธรูป หรือว่าที่เรากราบไม่มีพระพุทธรูปก็ตาม แต่ว่าจิตของเราถ้าได้ มโนมยิทธิ ต้องส่งจิตขึ้นไปที่นิพพาน แล้วกราบลงไปต่อหน้าพระพักตร์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนี้เขาเรียกว่า "กราบถึงพระ"

กราบครั้งที่สอง ที่เรียกกันว่า กราบพระธรรม ที่เป็นคำสอนของ หลวงพ่อปาน ก็ดี อาจารย์อีกทั้ง ๑๐ องค์ของอาตมาก็ดีสอนเหมือนกัน เพราะอีก ๑๐ องค์ เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อปานเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านบอกว่า เวลากราบพระธรรม ให้จิตคิดกำหนดไว้ว่า เมื่อกราบลงไปแล้วเห็นเป็น ดอกมะลิแก้ว ไหลออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ลงมาบนเศียรเกล้าของเรา พระธรรมให้ตั้งเป็นนิมิต ให้เหมือนกับ ดอกมะลิแก้ว ที่ใสสะอาด มีความแพรวพราว ไหลออกจากพระโอษฐ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลงบนเศียรของเรา

แล้วเวลา กราบพระอริยสงฆ์ ตอนนี้พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน ที่นั่นย่อมไม่ว่างจากพระอริยสงฆ์ เวลาที่กราบลงไปครั้งที่สาม ก็ตั้งใจเห็นพระอริยสงฆ์ ซึ่งมี พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น กราบครั้งที่สาม ก็คิดว่าเรากราบลงไปข้างหน้าท่านทั้งสอง หรือพระองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้

ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำเป็นปรกติ เป็นกิจประจำวัน เวลากราบพระทีไรเห็นสภาพแบบนี้ หรือนึกถึงพระขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราเห็นที่นิพพาน ให้มันจับใจเราอยู่เสมอเป็นปรกติ

รวมความว่าหายใจเป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ต้องมีจิตคิดไว้เสมอว่า เราไม่ต้องการอะไรทั้งหมด ตัดอารมณ์ย่อๆ องค์สมเด็จพระบรมสุคต คือพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน เวลาตายแล้วเราขอไปที่นั่น เราขอไปอยู่กับท่าน ถ้าท่านมีอารมณ์คิดอย่างนี้ไว้เป็นปรกติ ถ้ามันตายเมื่อไร เราก็ไปนิพพานเมื่อนั้น ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านทำตามนี้นะ

จากเรื่อง : การใช้อารมณ์มโนมยิทธิให้เป็นประโยชน์ สนทนาหลังกรรมฐาน วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๒๒ จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ฉบับที่ ๓๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

24 เมษายน 2564

เมื่ออยากรู้ว่าการปฏิบัติของเราไปถูกทางหรือยัง ?

#อมตธรรมหลวงปู่ดู่   

- เมื่ออยากรู้ว่าการปฏิบัติของเราไปถูกทางหรือยัง ?
"ปฏิบัติแล้ว โลภ โกรธ หลง ของแกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ ถ้าลดลง ข้าว่าแกใช้ได้" 

- เมื่ออยากรู้ว่าคนนั้นเป็นคนดีจริงไหม เราเป็นคนดีหรือยัง ?
"คนดี เขาไม่ตีใคร"

- เมื่ออยากรู้ว่าเกิดมาทำไม ?
"คนเราเกิดมา ไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอย่างเดียว สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติภาวนา"

- เมื่ออยากรู้ว่าต้องปฏิบัติอีกแค่ไหนถึงจะเก่ง ?
"ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าว นั่นแหละถึงไม่ต้องทำ"

- เมื่ออยากรู้ว่าสิ่งที่เราคิด เราแก้ไข เป็นการแก้ที่ถูกทางไหม ?
"โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม... เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่น ไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ไล่ตัวเราเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง...

- เมื่อคิดว่าเราไม่มีดีไม่มีค่าเลยหรือ ?
"แกแน่ใจหรือว่าไม่มีอะไรดี แกรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือเปล่า นั่นซิ แล้วแกทำไมจึงคิดว่าตัวเราไม่มีดี"

- เมื่อหลงไหลใฝ่ฝันในสิ่งสวยงามต่างๆจนเกินควบคุม
"แกมันดูตัวเกิด ไม่ดูตัวดับ ไม่สวย ไม่งาม ตาย เน่า เหม็น ให้เห็นอย่างนี้ได้เมื่อไหร่ ข้าว่าแกใช้ได้"

- เมื่อหงุดหงิดโมโหไม่พอใจกับสารพัดเหตุการณ์ในโลก
"ใครจะใหญ่เกินกรรม"

- เมื่อท้อแท้กับความผิดพลาด
"พอล้มให้รีบลุก ...เหมือนตอนแกเป็นเด็กคลอดออกมา กว่าจะเดินเป็น แกต้องล้มกี่ทีเคยนับไหม พอล้ใแกก็ต้องลุกขึ้นมาใหม่ใช่ไหม ค่อยๆทำไป ...ของข้าเสียมามากกว่าอายุแกซะอีก ไม่เป็นไร ตั้งมันกลับขึ้นมาใหม่"

-เมื่อคิดว่า เสียดายเหลือเกินที่ไม่เคยได้เจอหลวงปู่ เราคงไม่ได้รับความเมตตาจากท่าน
"แกคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงแก แกไม่คิดถึงข้า ข้าก็ยังคิดถึงแก"

น้อมกราบพ่อแม่ครูบาอาจารย์มหาโพธิสัตว์ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ด้วยความเคารพรักศรัทธาอย่างสูงสุด สาธุ ๆๆ

ที่มา ดร.รอบทิศ

ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ

[๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
             จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ
             [๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ
จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็น
อารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระ
โยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อม
พิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ
             [๑๑๔] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน
                          รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ
                          การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วย
                          สภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิต
                          ไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ
                          การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ
                          แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า
                          อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา) พระ-
                          *โยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่
                          หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ
                          ปรากฏ ๓ ประการ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็น
ความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3

23 เมษายน 2564

วิธีการทำน้ำมนต์ธรณีสาร ด้วยตนเอง

วิธีการทำน้ำมนต์ธรณีสาร ด้วยตนเอง
1. ให้หาเทียนขี้ผึ้งทำน้ำมนต์ (หาได้ตามร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์) หรือจะเป็นเทียนธรรมดาที่ใช้จุดไหว้พระ ก็ใช้แทนกันพอได้
2. เตรียมภาชนะใส่น้ำ เช่น ขัน หรือแก้ว โดยบรรจุน้ำบริสุทธิ์
3. เตรียมของเสร็จแล้ว ให้คุณตั้งจิตให้สงบ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ น้อมอธิษฐานบุญที่เคยสร้างมา จงมาเป็นกำลัง
4. เมื่อตั้งจิตให้สงบแล้ว ให้คุณลืมตาจุดเทียน พร้อมทั้งตั้งนะโม 3 จบ และสวดพระคาถามนต์ธรณีสาร ทำน้ำมนต์ โดยสวดพระคาถา 3 ครั้ง ไปพร้อมกับการหยดน้ำตาเทียนลงไปในขันหรือแก้วน้ำนั้น
5. เมื่อคุณสวดพระคาถาครบ 3 จบ ให้ดับเทียน โดยการจุ่มเทียน ลงไปในขันน้ำ แล้วเอาน้ำนั้น มาดื่มกิน ผสมน้ำอาบตัว ประพรมทั่วบ้าน กิจการร้านค้า จะช่วยปัดเป่าสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไร คุณไสย และอวิชชา และภัยต่าง ๆ ทั้งปวงให้หมดไป
รีบทำเลยนะครับ ขอให้ทุกคนโชคดี
บทชุมนุมเทวดา        ៙ สัคคเคกาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน 
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิเขตเต 
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะขันธัพพะนาคา 
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระ วะจะนัง สาทะโวเม สุณันตุ
ธัมมัสะสวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสะสวะนะกาโล อะยัมภะทันตา 
ธัมมัสะสวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ
      
บทนมัสการพระรัตนตรัยนะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ………………………………….โองการธรณีสารน้อย៙ องการพินทุนาถัง อุปปันนานัง 
พรหมาสะหะปะตินามัง อาทิกัปเป 
สุอากัปโต ปัญจะปะทุมมัง 
ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทะนัง
៙ สิโร เม พุทธะเทวัญจะ นะลาเต 
พรหมะเทวะตา หะทะเว หัตเถ 
ปะทะเม สุรา ปาเท วิสสะณุกัญเจวะ 
สัพพะกัมมา ประสิทธิ เม 
สัพพะพุทธานุภาเวนะ 
สัพพะธัมมานุภาเวนะ 
สัพพะสังฆานุภาเวนะ 
สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม 
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ 
ตะถาคะโต สิทธิลาโภ นิรันตะรัง 
สิทธิ์เตโช ชะโยนิจจัง สัมพะธัมมา 
ประสิทธิ เม สัพพะสิทธิ ประสิทธิ เม🙏

.ผู้มีวาสนาต่อกันเท่านั้น จึงจะผูกพันต่อกัน

คุณเชื่อเรื่องวาสนาต่อกันไหม
ทำไมคนบางคนจึงได้เป็นกัลยาณมิตร
ต่อกัน ชี้ชวนแนะนำกันไปทำความดี 
ชวนได้โดยง่ายดาย..

แต่กับอีกหลายคนชวนเท่าไรก็ไม่ไป 
สอนกล่าวตักเตือนก็ไม่ฟัง 
ดีกับเขาเขาก็ไม่มีวันดีตอบ 
กลับคิดว่าเราประสงค์ร้าย 
ไม่เห็นความหวังดีของเรา

ไม่ต้องกังวลเดือดร้อนใจไป 
ทุกคนมีบุพกรรมของตนเอง ต้องเคยมีปัจจัยผูก
ฝ่ายกุศลต่อกัน ก็จะเป็นกัลยาณมิตรกัน
พระพุทธเจ้าก็มีสิ่งที่แม้พระองค์ก็ทำไม่ได้ 
สามอย่างที่บันทึกไว้ในมหายาน 

สามประการที่ว่าคือ..

1. ไม่สามารถโปรดสัตว์ที่ไม่มีวาสนาต่อพระองค์ 
2. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกรรมของสัตว์   
3. ไม่สามารถโปรดสัตว์ให้สิ้นได้
.
วันหนึ่งพระศากยมุนีพุทธเจ้า กำลังแสดงธรรมอยู่ 
แล้วทันใดนั้นพระพุทธองค์กล่าวแก่พระอานนท์ว่า 
“อานนท์เธอเอาถังน้ำใบหนึ่ง ไปเบื้องหน้า
ตามทางจะมีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง 
มีหญิงชรานางหนึ่งกำลังซักเสื้อผ้าอยู่ 
ขอน้ำนางกลับมาถังหนึ่ง แต่จำไว้ ..
ต้องแสดงกิริยาสุภาพกับนางด้วย” 

พระอานนท์รับคำ แล้วก็นำถังน้ำเปล่า 
เดินไปทางที่พระพุทธองค์ทรงบอก คิดในใจว่า 
เรื่องเล็กน้อยแค่นี้ ไม่ยากเย็นอะไร 
ก็ไปถึงหมู่บ้านแห่งนั้น เห็นสตรีชราผมขาวนางหนึ่ง
กำลังซักผ้าอยู่จริงๆ พระอานนท์จึงกล่าวปิยวาจา 
ขอน้ำจากหญิงชรานั้นอย่างสุภาพ  
“แม่เฒ่า แม่เฒ่า ข้าอยากจะขอน้ำสักถังจะได้ไหม”

หญิงชรานั้น เมื่อได้เห็นพระอานนท์ 
เหมือนไม่รู้ไปโกรธใครมา “ไม่ได้หรอก น้ำในบ่อนี้ 
ใช้ได้แต่คนที่ในหมู่บ้านนี้เท่านั้น คนอื่นห้ามตักเชียวนะ ไม่ให้ๆ” แถมยังไล่พระอานนท์อีกเสียอย่างนั้น 

พระอานนท์จะอ้อนวอนขอนางอย่างไรก็ไม่เป็นผล  
พระอานนท์สิ้นหนทาง ก็เดินถือถังเปล่ากลับไป
เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แล้วแจ้งความตามที่เกิด 

พระพุทธองค์ทรงพยักหน้ารับ 
แล้วบอกให้พระอานนท์นั่งลง 
แล้วขอให้พระสารีบุตรไปทำแทน

พระสารีบุตรก็กล่าวเช่นเดียวกัน 
“แม่เฒ่า แม่เฒ่า ข้าอยากจะขอน้ำสักถังจะได้ไหม”  
ก็น่าแปลกใจ สตรีชรานางนั้นเมื่อได้เห็นพระสารีบุตร ก็ทำหน้าเหมือนได้พบกับญาติที่ไม่ได้เจอกันเนิ่นนาน ไม่โกรธ ไม่โวยวาย แถมยังกล่าวตอบด้วยดีๆ 

“ได้ๆๆ เอาเลย ตามสบายเลยพระคุณเจ้า 
มาๆ ข้าช่วยท่านตักน้ำดีกว่า” 
ก่อนที่พระสารีบุตรจะกลับ นางก็กุลีกุจอกลับบ้าน 
รีบกลับไปเอาสิ่งของมาถวายพระสารีบุตรให้พระสารีบุตร นำกลับไปอีก เมื่อพระสารีบุตรรับน้ำมาถวายพระพุทธเจ้าแล้ว ก็บอกให้พระสารีบุตรนั่งลง 

พระอานนท์สงสัยเป็นกำลัง จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า 
“ด้วยเหตุอะไร จึงเป็นเช่นนี้พระพุทธเจ้าข้า”

"ที่นางปฏิบัติกับเจ้าทั้งสองแตกต่างกันเช่นนี้ 
เพราะในชาติอันล่วงมาแล้ว สตรีชรานางนี้
มีสภาพเป็นเดรัจฉาน เกิดเป็นหนูตัวหนึ่ง 
แล้วนางก็ตายอยู่บนถนน 
พระอานนท์ในชาตินั้นเป็นพ่อค้าผ่านทางมา 
เมื่อได้เห็นซากของหนูตัวนั้นตายอยู่ 
ในใจของพระอานนท์ก็เกิดความรู้สึกสะอิดสะเอียน 
เดินเอามือปิดจมูกแล้วจากไป 

แต่ตรงกันข้ามกับพระสารีบุตร 
เมื่อพระสารีบุตรได้เห็นซากหนูตัวนั้น 
ก็ให้บังเกิดจิตเวทนาสงสาร ซ้ำยังเอาซากหนูตัวนั้น
ไปฝังกลบอย่างดี เมื่อชาตินี้พวกเจ้าได้พบกันอีกครั้ง 
สิ่งที่นางปฏิบัติต่อเจ้าทั้งสองจึงมีความแตกต่างกันเช่นนี้"  

จิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เราต้องรอบคอบ 
ไม่ก้าวล่วงผู้อื่นแม้ความคิด

จากมหาปรัชญาปารมิโตปเทศน์ มีบันทึกไว้ว่า ..
พระพุทธเจ้าพร้อมพระอานนท์ เดินบิณฑบาต
ในเมืองไวศาลี พระอานนท์มองเห็นสตรีนางหนึ่ง
ยากจนข้นแค้นเป็นที่น่าสงสาร 
พระอานนท์ทูลขอให้พระพุทธองค์ไปโปรดนาง 
พระพุทธองค์ตรัสว่า “เรากับนางไม่มีเหตุปัจจัยผูกต่อกัน ดังนั้นนางก็จะไม่ศรัทธาในเรา เราก็ไม่สามารถที่จะโปรดนางได้”  

พระอานนท์รบเร้าอยู่ถึงสามครั้ง 
พระพุทธเจ้าจึงดำเนินไปหานาง เมื่อยืนต่อหน้านาง 
สตรีนางนั้นก็กลับหันหลัง ไม่สนใจพระพุทธเจ้า 
ไม่ว่าพระองค์จะเดินไปต่อหน้านางกี่ครั้ง 
นางก็จะหันหลังให้กับพระองค์ทุกครั้ง 

แม้พระพุทธองค์จะใช้ฤทธิ์ให้พระกาย
ปรากฏขึ้นทั้งสี่ทิศพร้อมกัน สตรีนางนั้นก็ปิดตาเสีย 
ไม่มอง ไม่สนใจพระองค์ 

พระอานนท์จังได้ประจักษ์แก่คำพูดของพระพุทธเจ้าที่ว่า ...
“หากไร้วาสนา ไร้ปัจจัยผูกพันต่อกัน ไม่สามารถโปรดกันได้” แม้กับพระพุทธเจ้าเองก็ไม่มียกเว้น...

#เผยแพร่ธรรมะให้เพื่อนมนุษย์
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า.....
การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง

22 เมษายน 2564

พระสถูปแห่งกบิลพัสดุ์และพระบรมสารีริกธาตุ

- อีกหนึ่งหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในทางประวัติศาสตร์
นอกจากจารึกที่ลุมพินีอันเป็นหลักฐานเชิงลายลักษณ์อักษรที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งอยู่ในยุคพระเจ้าอโศก ยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงมีตัวตนอยู่จริงและประสูติที่หมู่บ้านลุมพินี โบราณคดีได้มีการค้นพบหลักฐานที่เก่าแก่กว่านั้นและสอดคล้องตรงกับพระไตรปิฎกว่าด้วยพระสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตหลังการปรินิพพาน ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็น ๘ ส่วนไปยังเมืองต่างๆ หนึ่งในจำนวนนั้นคือเมืองกบิลพัสดุ์(Kapilvastu कपिलवस्तु) ของเหล่าเจ้าศากยวงศ์-ตระกูลสายโลหิตของพระศาสดา สถูปแห่งกบิลพัสดุ์ตั้งอยู่ใน ณ หมู่บ้านปิปราห์วา(Piprahwa पिपरहवा) ใกล้บิรดปูร์(Birdpur) ในรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย มีหลักฐานสำคัญยิ่งต่อพุทธศาสนาที่เกี่ยวโยงถึงกัน ได้แก่

• พระบรมสารีริกธาตุเป็นชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์
• ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและจารึกอักษรพราหมีโบราณยืนยันว่าเป็นของ"พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาค"
• อีกประการที่น่าสนใจมากคือโครงสร้างพระสถูปดั้งเดิมมีอายุเก่าแก่รุ่นก่อนพระเจ้าอโศก ร่วมสมัยกับระยะเวลาพระพุทธปรินิพพาน และวัสดุก็สมดังที่บันทึกไว้ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาทีเดียว บ่งชี้ว่าเป็นสถูปที่ถูกสร้างทันทีหลังการปรินิพพาน
• ในภายหลังได้รับการบูรณะในยุคต่อมาตรงกับสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชดังที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พุทธอีกเช่นกัน
________________________

๐ การขุดค้นครั้งแรก

หลังการค้นพบเสาหินที่ลุมพินีพร้อมจารึกจากยุคพระเจ้าอโศก ในปี 1896 ที่รุมมินเด ใกล้ชายแดนประเทศเนปาล-อินเดีย ยืนยันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
ฤดูใบไม้ผลิปี 1897 วิลเลียม แคลกซ์ตัน เปปเป(William Claxton Peppe) วิศวการและเจ้าของที่ดินแห่งปิปราห์วาในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ได้เริ่มต้นการขุดค้นเนินดินแห่งหนึ่งซึ่งดูโดดเด่นพิเศษกว่าเนินดินอื่นๆ ใกล้หมู่บ้านปิปราห์วา(Piprahwa) ในเขตบิร์ดปูร์(Birdpur) การตัดสินใจเริ่มขุดค้นครั้งนี้ของเขาอาจมาจากความเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น ตลอดปี 1896-1897 อินเดียภาคกลางและตะวันตกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากความทุพภิกขภัย อัตราการเสียชีวิตจากความอดอยากและโรคระบาดมีสูงมาก ความพยายามเช่นการขุดค้นที่ปิปราหวาอาจช่วยยกระดับขวัญกำลังใจและบรรเทาความอดอยากในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ซึ่งเปปเปในฐานะเจ้าของที่ดินก็ตระหนักถึงสิ่งนี้ดี

หลังจากหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านไปกับการขนย้ายดินและพงป่ารกชัฏที่ปกคลุมเนินดิน การขุดค้นเบื้องต้นพบโครงสร้างก่ออิฐเผาไฟสีแดงจำนวนมากหลังจากทำการขุดเพิ่มเติมเปิดเผยว่าตัวเองเป็นหลังคาโดมขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 130 ฟุต

• ต้นเดือนมกราคม 1898 จากโครงสร้างก่ออิฐหนา เปปเปขุดค้นต่อไปลึกลงไอีก 18 ฟุต และพบแผ่นหินขนาดมหึมาที่ต่อมาปรากฏว่าเป็นสิ่งปกปิดหีบหินทรายทรงสี่เหลี่ยมขนาดมหึมา
• ภายในหีบหินทรายพบภาชนะทำจากหินสบู่ 5 ใบ แต่ละใบสูงไม่เกิดน 7 นิ้วซึ่งบรรจุแก้วอัญมณีมีค่ามากมาย ได้แก่ ดวงดาวทำจากเหล็กและทองจำนวนหนึ่ง แผ่นทองคำที่ประดับตราสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา มุกหลายขนาดจำนวนมากซึ่งถูกหลอมรวมเข้าด้วยกันเป็นชุดละ 2,3,4 มีลูกปัดเจาะ, ดาว และดอกไม้ที่ตัดในคอร์เนเลียนสีแดงหรือสีขาว, หินเขี้ยวหนุมาน, บุษราคัม, โกเมน, ปะการังและคริสตัล
• ที่สำคัญคือหนึ่งในห้าผอบนั้น ผอบใบหนึ่งในมีชิ้นส่วนของเถ้ากระดูกมนุษย์ (พระบรมสารีริกธาตุ) บรรจุอยู่ภายใน พร้อมอักษรจารึกอักษรพราหมี ว่า:

𑀲𑀼𑀓𑀺𑀢𑀺𑀪𑀢𑀺𑀦𑀁 𑀲𑀪𑀕𑀺𑀦𑀺𑀓𑀦𑀁 𑀲𑀧𑀼𑀢𑀤𑀮𑀦𑀁 𑀇𑀬𑀁 𑀮𑀺𑀮𑀦𑀺𑀥𑀸𑀦𑁂 𑀩𑀼𑀥𑀲 𑀪𑀕𑀯𑀢𑁂 𑀲𑀓𑀺𑀬𑀦𑀁
[ สุกิติภตินํ สภคนิกนํ สปุตทลนํ อิยํ สลิลนิธเน พุธส ภควเต สกิยนํ ]

"นี่เป็นที่บรรจุพระสรีรธาตุแห่งพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาค ของเหล่าพี่น้องชายสุกิติตระกูลศากยะ พร้อมทั้งพี่น้องหญิง พร้อมทั้งบุตรและภรรยา"

จารึกนี้ให้ข้อมูลว่าชิ้นส่วนกระดูกเหล่านี้เป็นส่วนที่เหลือจากพระสรีระของพระพุทธเจ้าศากยมุนี -พระศาสดาของชาวพุทธ
________________________

ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกชั้นนำของยุโรปในยุคนั้นเป็นคนแรกถอดรหัสความหมายนี้คือ Georg Bühler ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเดียและจารึกคนอื่นๆในยุคนั้นได้แก่ , Vincent Smith, William Hoey, Thomas Rhys Davids, and Emile Senart, John Fleet ต่างเห็นพ้องกับความหมายเดียวกันนี้ในเวลาต่อมา และยืนยันความเก่าแก่จริงแท้ของโบราณวัตถุ

*จากลักษณะจารึกอักษรพราหมีที่ผอบมีความแตกต่างและไม่ได้ระบุถึงมาตรฐานอาลักษณ์ของพระเจ้าอโศก จึงสันนิษฐานกันว่าผอบนี้มีอจมีอายุก่อนสมัยโมริยะ

*สำหรับบางคนที่ตั้งข้อสงสัยว่าผอบและจารึกอาจถูกปลอมแปลงขึ้นโดย เอ.เอ.ฟูห์เรอร์(Alois Anton Führer)-ผู้นำด้านโบราณคดีของรัฐบาลที่เป็นผู้แกะรหัสจารึกฉบับนี้คนแรก สมมุติฐานนี้ถูกปฏิเสธจากหลักฐานว่า อันที่จริงฟูห์เรอร์ได้มาถึงจุดเกิดเหตุในภายหลังการค้นพบถึง 4 สัปดาห์ หลักฐานภายในจดหมายของเปปเป, วินเซนต์ สมิธ และฟูห์เรอร์ ล้วนแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ฟูห์เรอร์ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการขุดค้นและจารึกของเปปเปได้เลย อนึ่ง เนื้อความในจารึกบ่งถึงความเก่าแก่และเฉพาะถิ่นเป็นถ้อยความผิดปกติจากแหล่งอื่น (หากเป็นการปลอมแปลงเพื่อกล่าวอ้างน่าจะใช้ถ้อยความที่สื่อตรงๆและคนคุ้นเคย) ซึ่งในทุกกรณีชี้ชัดเจนว่าเป็นของแท้ดั้งเดิม

*ชิ้นส่วนพระบรมสารีริกธาตุดั้งเดิมนี้ได้ถูกส่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๕) และปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ ภูเขาทอง วัดสระเกศ
________________________

๐ การขุดค้นครั้งต่อมา

ปี 1971-1973 ทีมโบราณคดีอินเดียนำโดย ศรีวาสตวะ(K.M. Srivastava) ได้ทำการขุดค้นพระสถูปแห่งปิปราห์วาต่อจากระดับที่เปปเปเคยค้นพบหีบศิลามาก่อนลึกลงไปอีกประมาณ 1 เมตร ในชั้นดินยุคก่อนราชวงศ์โมริยะและพบห้องกรุขนาดเล็ก 2 ห้องติดกับชั้นดาน (ดินธรรมชาติ) เยื้องไปทางทิศเหนือและทิศใต้จากตรงกลาง พบผอบหินสบู่ห้องละ 1 ใบ ผอบทั้งสองใบบรรจุชิ้นส่วนกระดูกที่ถูกเผามาก่อนรวมกัน 22 องค์ แม้ไม่ได้มีจารึกใดๆกำกับแต่ก็เชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ชั้นดินอยู่ในยุคเครื่องขัดเงาดำเหนือ(Northern Black Polished Ware) กำหนดอายุประมาณ 4-5 ศตวรรษก่อนค.ศ. อันเป็นช่วงเวลาที่ถือกันว่าพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์ชีพ

*การค้นพบครั้งนี้ ซึ่งได้พบผอบหินสบู่ขัดเงา 2 ชิ้นในลักษณะศิลปะเดียวกันกับผอบหินสบู่ที่มีจารึกระบุว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุในหีบศิลาชั้นบนซึ่งถูกพบมาก่อนโดยเปปเป  จึงเชื่อว่าผอบทั้งสามนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้เป็นผู้ให้ขุดค้นขึ้นมาและบรรจุใหม่ ส่วนหนึ่งทรงบรรจุในสถานที่ดั้งเดิม(ในชั้นดินที่ลึกกว่า)เพื่อแสดงความเคารพให้เกียรติแก่คนรุ่นก่อน(เจ้าศากยะที่บรรจุพระธาตุครั้งแรก) และทรงเลือกออกมาผอบหนึ่งพร้อมทำการจารึกแล้วทรงทำการบรรจุใหม่อย่างวิจิตรอลังการและเก็บไว้อย่างดีในหีบหินทรายเพื่อความแน่นหนามั่นคงพร้อมผอบที่ประดับด้วยเครื่องอัญมณีบูชาอีกสี่ใบ ตั้งไว้ในชั้นบนกว่า เพื่อทรงมีส่วนร่วมในการบูรณะและยกระดับพระสถูปนี้ให้มั่นคงถาวรและยิ่งใหญ่ขึ้น
________________________

๐ พระสถูปถูกสร้างทับซ้อนกันในสามสมัย
พระสถูปปิปราห์วา เป็นหนึ่งในการค้นพบทางโบราณคดียุคแรกสุดของอินเดียเท่าที่ค้นพบ และยังเป็นหลักฐานยืนยันการมีตัวตนของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครูของชาวพุทธในฐานะบุคคลทางประวัติศาสตร์ โดยพระสถูปถูกสร้างขึ้นในสามยุคสมัย

1) ยุคแรกสุด 6-5 ศตวรรษก่อนค.ศ. ใกล้เคียงช่วงเวลาหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยถูกก่อเป็นพูนด้วยดินเหนียวตามธรรมชาติของบริเวณรอบๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับการก่อสร้างสถูปแบบเนินดินในสมัยช่วงพุทธกาล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 38.9 เมตรและสูง 0.9 เมตร

2) สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (น่าจะเสร็จสมบูรณ์หลังการสวรรคตของพระองค์ ประมาณ 253 ปีก่อนค.ศ.) ตามพระราชประสงค์จะสร้างสถูปเจดีย์ 84,000 องค์ทั่วชมพูทวีปเพื่อบรรจุพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงนำพระสารีริกธาตุออกมาจากสถูปเดิมเพื่อแจกจ่ายไปยังสถูปแห่งอื่นๆ และปฏิสังขรณ์พระสถูปเก่านี้พร้อมบรรจุพระสารีริกธาตุส่วนหนึ่งกลับไปด้วย ที่ปิปราหวาพบว่ามีการบูรณะด้วยการเติมดินเหนียวหนาเข้าไปบนโครงสร้างและสร้างทับเป็นสองชั้นด้วยอิฐจากดินเหนียวเผาไฟทำด้วยฟางข้าวและลาดในรางดิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร และสูง 4.55 เมตร

3) สมัยกุษาณะ พระสถูปได้รับการขยายใหญ่จนกระทั่งสูงถึง 6.35 เมตร พร้อมทั้งทำฐานสี่เหลี่ยม โดยรอบพระสถูปยังมีอารามทิศตะวันออกขนาด 45.11 x 41.14 เมตรซึ่งประกอบด้วยลานกลางภายในพร้อมห้องกุฏิเล็กรายรอบกว่า 30 ห้อง และยังมีอารามด้านตะวันตก เหนือ และใต้ด้วย ในพระอารามแห่งปิปราห์วานี้ยังมีถาดดินเผายุคกุษาณจารึกว่า "ของสงฆ์ในสังฆารามแห่งกบิลพัสดุ์" ยืนยันว่าที่นี้คือเมืองกบิลพัสดุ์
____________________________
หมายเหตุ:
* หลายท่านอาจสงสัยว่า ตระกูลศากยะโดนฆ่าทำลายล้างหมดสิ้นโดยความอาฆาตของพระเจ้าวิฑูฑภะผู้เป็นโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศลมิใช่หรือ? หลักฐานหลายฝ่ายในพุทธศาสนาทั้งสายเหนือและใต้ให้ร่องรอยว่า ตระกูลศากยะยังคงสืบทอดเชื้่อสายต่อมาหลังจากการทำลายล้างครั้งนั้น โดยส่วนหนึ่งอาจเล็ดรอดหนีไปได้จากกรุงกบิลพัสดุ์ และอีกส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเจ้าศากยะในเขตนิคมอื่น เนื่องจากมีเพียงเมืองหลวงของศากยะคือกบิลพัสดุ์เท่านั้นที่ถูกระบุว่าโดนทำลาย มิได้รวมศากยะในเมืองน้อยอื่นๆ
*ในเนปาลมีการอ้างว่า เมืองกบิลพัสด์ุนั้นได้แก่ ติเลาราโกต(तिलौराकोत) ในประเทศเนปาล แต่ที่อินเดียก็ถือว่า ปิปราห์วา(पिपरहवा) นี้คือกบิลพัสดุ์ อันที่จริงเป็นไปได้ว่าเมืองโบราณสองแห่งทั้งในอินเดียและเนปาลต่างเป็นกบิลพัสดุ์ทั้งสิ้นเพราะต่างก็มีหลักฐานทางโบราณคดี โดยติเลาราโกตในเนปาลน่าจะเป็นเมืองกบิลพัสดุ์เดิมที่เจ้าชายสิทธัตถะดำรงพระชนม์ชีพช่วง 29 ชันษาแรกก่อนการออกผนวช ส่วนปิปราหวาในอินเดียนี้น่าจะเป็นกบิลพัสดุ์ใหม่ที่เจ้าศากยะซึ่งเหลือรอดมาจากการทำลายล้างของวิฑูฑภะได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นและเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหลังการปรินิพพานนี้แล

* Sukitibhatinaṃ sabhaginikanaṃ saputadalanaṃ iyaṃ salilanidhane budhasa bhavati sakiyanaṃ
[สุกิติภตินํ สภคนิกนํ สปุตทลนํ อิยํ สลิลนิธเน พุธส ภควเต สกิยนํ]
ปริวรรตเทียบเป็นบาลีภาษาว่า:
"สุกิตฺติภาตีนํ สภคินิกานํ สปุตฺตทารานํ อิทํ สรีรนิธานํ พุทฺธสฺส ภควโต สกฺยานํ" 
"นี่เป็นที่บรรจุพระสรีรธาตุแห่งพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาค [อันเป็นทานถวาย]ของเหล่าพี่น้องชายสุกิติตระกูลศากยะ พร้อมทั้งพี่น้องหญิง พร้อมทั้งบุตรและภรรยา"  *สุกิตติ= "มีเกียรติดีงาม" สุกิติภตินํ อาจแปลว่า "เหล่าพี่น้องผู้มีเกียรติงาม" แต่ดูเหมือนจะเป็นชื่อเฉพาะของบุคคลมากกว่า อันน่าจะเป็นผู้ที่ทำภาชนะบรรจุพระธาตุ(สลิลนิธน/สรีรนิธาน)ถวาย   *ในจารึกพราหมีไม่มีการแยกเสียงยาว-สั้น และมีรูปแบบที่แปลกของลิงค์ อย่าง 'อิยํ สลิลนิธเน' = บาลี: 'อยํ สรีรนิธาโน' บ่งชี้ว่าเป็นปุํลิงค์ ในขณะที่บาลี: อิทํ สรีรนิธานํ ควรเป็นนปุํสกลิงค์

อ้างอิง:
http://www.piprahwa.com/home
https://en.wikipedia.org/wiki/Piprahwa
q=%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B9%8C%20%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%9B&epa=SEARCH_BOX
*สารคดีบีบีซี เรื่อง Bones Of The Buddha (กระดูกของพระพุทธเจ้า) ภาษาอังกฤษ อธิบายการค้นพบและแสดงหลักฐานยืนยันความแน่ชัดของพระบรมสารีริกธาตุและผอบบรรจุ
https://www.youtube.com/watch?v=yn3lk6xTF24
ข้อมูลเพิ่มเติมภาษาไทย:
https://www.facebook.com/search/top/?

คาถาเสกยันต์มหารัตนบัลลังก์วิชาตำรับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก


นะโม 3 จบ 
๑.พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง 
พุทโธ ภะคะวาติ ฯ ๓ จบ

๒.พุทธัง อาราธนานัง 
ธัมมัง อาราธนานัง 
สังฆัง อาราธนานัง
ขอบารมีของพระพุทธเจ้ากับยันต์ที่เป็นมหามหารัตนบัลลังก์ ของพระพุทธเจ้านี้ จงดลบันดาลให้เป็นคงกระพัน ชาตรี แคล้วคลาดมหาอำนาจ เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์แก่มนุษยทั้งหลาย โดยอำนาจบารมี ของพระพุทธเจ้ากับยันต์มหารัตนบัลลังก์ ขออาราธนาจงบันดาลโดยเร็ว พุทธัง รักษา ธัมมัง รักษา สังฆัง รักษา พระบิดา รักษา พระมารดา รักษา พระอินทร์ รักษา
พระพรหม รักษา ครูบาอาจารย์ รักษา 
*** อิมัง องคพันธะนั งอธิษฐามิ ***

๓.อิติสุคะโต อุสุวิหิสุ พุทธะสังมิ พุทธะสังมิ 
มะอะอุ อุกัณหะเนหะ อุทธัง อัทโธ โธอุท ธังอัท หังระอะ อะนะปัสสะ ฯ ๓ - ๗ จบ🙏

การเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ บุคคลผู้นั้นต้องมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

ต่อไปในภายภาคหน้า บุคคลที่จะเข้าถึงความสำเร็จ เข้าถึงความสมบูรณ์แห่งความเป็นมนุษย์ บุคคลผู้นั้นต้องมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เมื่อผู้ใดมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง จะพูดก็ดี จะทำก็ดี จะคิดก็ดี ก็จะได้พรวิเศษ 

ดังนั้นบุคคลจะสัมฤทธิ์ในพรในความปรารถนาใดๆก็ตาม บุคคลนั้นต้องมีบุญฤทธิ์เกิดขึ้นในตัวก่อน หรือเรียกคุณวิเศษ หากแม้ว่าไม่มีคุณวิเศษในภูมิธรรมใดแล้ว การที่เราจะไปเที่ยวขอพรหรือได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย..จะหาว่าจะประสิทธิให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เกิดขึ้นได้ยาก เพราะเรานั้นไม่มีฐานบุญที่จะไปรองรับ นั่นก็คืออำนาจแห่งศีล อย่างน้อยต้องมีพื้นฐานของศีล ๕ ในกรรมบท ๑๐ 

ขอให้โยมระลึกถึงอำนาจแห่งศีล..ระลึกถึงอย่างไร ระลึกถึงว่า..ศีลที่เรามีอยู่ในความเป็นมนุษย์นี้ เรามีความบกพร่องอย่างไรบ้าง ก็ขอให้โยมนั้นได้ขอขมาขออโหสิกรรมต่อพระรัตนตรัยให้ได้เสียก่อน เมื่อเราระลึกถึงอย่างนั้นแล้ว นั้นกรรมอันใดศีลอันใดข้อใด ที่เราได้ล่วงมาแล้วในกาย วาจา ใจ ก็ขอให้ละเสีย ณ ขณะนี้ แล้วตั้งใจที่จะรักษากาย วาจา ใจ ในทางกุศลในทางชอบ 

เมื่อเราระลึกและสำรวมสำนึกได้ในกรรมใดก็ตาม ขออโหสิกรรมขอขมากรรม ขออำนาจบุญกุศลที่เราได้มากระทำ จะเป็นการเจริญมนต์ เจริญภาวนา แผ่เมตตาก็ดี ได้สร้างอธิษฐานก่อพระเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาก็ดี เรียกว่าเป็นการชำระหนี้สงฆ์ ชำระหนี้กรรม..

ให้โยมตั้งจิตอธิษฐานแผ่บุญกุศลทั้งหลายนี้ ให้กับดวงจิตวิญญาณเจ้ากรรมนายเวร คู่อาฆาตพยาบาท คู่อิจฉาริษยา น้อมนำจิตนั้นให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง อธิษฐานขอแสงสว่างแห่งพระรัตนตรัย แสงบุญกุศลทั้งหลายที่ข้าพเจ้าได้เคยมีมา ได้กระทำมาในอดีตถึงในปัจจุบัน ในบารมีทั้ง ๑๐ ก็ดี ในทาน ศีล ภาวนาก็ดี 

บุญอันใดกุศลอันใดพึงจะมีพึงจะเกิดแก่ข้าพเจ้าแก่เรา..ก็ขอให้บังเกิดขึ้นมา เมื่อบังเกิดแล้วขอให้เป็นแสงสว่างแห่งบุญ บุญนี้แสงสว่างนี้จงสำเร็จประโยชน์ต่อดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินมีความอาฆาตพยาบาท ขอให้ดวงจิตวิญญาณเหล่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใด จะเสวยทุกข์อยู่ก็ดี เสวยสุขอยู่ก็ดี จงมาโมทนา..

หากแม้วิญญาณเหล่าใดก็ตามไม่สามารถจะรับบุญกุศลกับข้าพเจ้าได้แล้วไซร้ ขอฝากบุญกุศลนี้ไปถึงนายนิรยบาล ท้าวจตุโลกบาลก็ดี ท่านท้าวพญายมก็ดี ให้ฝากบุญกุศลไว้ เมื่อถึงคราวแล้วที่เค้าจะเสวยผลบุญกุศลได้ ก็ขอผลบุญกุศลนี้จงสำเร็จประโยชน์กับดวงจิตวิญญาณเหล่านั้น อย่าได้มีเวรอาฆาตพยาบาท ไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิใดชาติใด หากต้องมาเจอมาพบก็ขอให้เป็นมิตร อย่าได้เป็นศัตรูต่อกัน 

ขอบุญกุศลทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้กระทำ ไม่ว่าจะอยู่กี่ภพกี่ชาติก็ตามจนมาถึงปัจจุบันนี้ ขอรวมเป็นบารมีเป็นกุศล เป็นพลวปัจจัยอุดหนุนค้ำชูให้ข้าพเจ้านั้นจงมีอายุมั่นขวัญยืน ปราศจากโรคภัย แม้มีโรคแม้มีภัยก็ขอให้มียารักษา แม้มีเคราะห์แม้มีภัยขอให้ปลอดภัยแคล้วคลาด แม้มีกรรมหนักก็ขอให้เบาบาง ถึงแม้เคราะห์นั้นจะถึงแก่ชีวิตก็ขอให้กรรมนั้นลหุโทษ ให้ปลงชีวิตสังขารนั้นไว้เพื่อประโยชน์ต่อศาสนาสืบต่อไป ให้โยมทั้งหลายตั้งจิตอธิษฐาน

เมื่อโยมทั้งหลายตั้งจิตอธิษฐานอย่างนี้ได้ วาสนาดวงนั้นก็จะเปิดขึ้น เมื่อเปิดแล้วก็ขอให้โยมทั้งหลายจงระลึกถึงแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีอย่าไประลึกเลย เพราะว่ากรรมทั้งหลายนั้นที่กระทำมาแล้วไม่สามารถย้อนไปแก้ไขได้ เมื่อเราสำนึกแล้วในบาปกรรมนั้น ก็ขอให้วางเป็นธุระอย่างนั้นไว้ตามกำลังของกรรมแห่งกรรม ก็ยกจิตในขณะนี้ตั้งจิตเสียใหม่ ตั้งใจเสียใหม่ อธิษฐานบุญกุศลและบารมีใหม่ ตั้งใจที่จะสร้างคุณความดี..

นั้นสิ่งใดที่โยมยินดีที่โยมปรารถนาไว้ โยมจงอธิษฐานมาเป็นบารมี สิ่งไหนที่เราอธิษฐานปรารถนาพึงจะได้ หากไม่เกินวิสัยในบุญกุศลและบารมีเรานั้น เมื่อเรานั้นได้อธิษฐานปัดเป่าอุปสรรค ในวิบากกรรมดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย คู่อาฆาตพยาบาท อุปสรรคเหล่านี้เมื่อเรานั้นได้อธิษฐานบุญไป บุญกุศลนั้นก็จะผลักดันให้สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถมากล้ำกรายเราได้ในขณะนี้ ก็เหมาะแล้วแก่การที่จะอธิษฐานจิตอธิษฐานบารมี 

การอธิษฐานบารมี..บารมีนั้นคือสิ่งที่เรานั้นปรารถนาหรือความตั้งใจให้เกิด ดังนั้นแล้วไม่มีสิ่งใดเลยที่มนุษย์นั้นจะบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าสิ่งที่เราอธิษฐานหรือปรารถนาบารมีนั้น เป็นการสะสมมาแล้วหลายภพหลายชาติ หากเราไม่เกิดขึ้นอยู่ในภวังค์ของจิตที่เราปรารถนา..จิตเราจะไม่ไปเกี่ยวข้องไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง แต่หากที่เราปราถนาไว้มีความตั้งใจ แสดงว่าสิ่งนั้นเราเคยได้อธิษฐานบารมีแล้วมานับไม่ถ้วน ขอให้โยมนั้นจงอธิษฐานบุญกุศลใหญ่ให้มันเกิดขึ้น 

ดังนั้นทาน ศีล ภาวนาที่เราอบรมมา กุศลในทาน ภาวนาที่เราเคยอบรมมา ธรรมที่เราเคยฟังมา ขอให้โยมนั้นอธิษฐานบุญกุศลนั้น ให้เกิดเป็นตบะเป็นบารมี อธิษฐานที่จะสร้างบารมีใหญ่กับท่านสมเด็จโต ไม่ว่าเราจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม สิ่งที่เราปรารถนา จิตที่เป็นกุศลตั้งมั่นนั่นแล มันจะมีอานิสงส์หนุนนำให้เรานั้นเกิดสภาพความคล่องในทางโลก 

อย่าได้ไปคิดว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ อย่าได้ประมาทในบุญกุศลและบารมีของตัวเราเอง เราไม่รู้หรอกว่าในอดีตเราสร้างบุญ สร้างบารมีมามากเท่าไหร่ สร้างกรรมชั่วมามากเท่าไหร่ ในอดีตเคยเป็นพระราชา เป็นเศรษฐี สร้างกุศล สร้างบารมี สร้างวัดสร้างวามามากเท่าไหร่ เราไม่อาจรู้ได้ 

แต่จงจำไว้ในภพปัจจุบันแห่งกรรม หากเราทำอะไรอยู่แสดงว่าในอดีตเราก็เคยได้กระทำ..ไม่ว่าจะเป็นทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ดังนั้นผลแห่งกรรมอะไรที่จะมีอานิสงส์ มีพละ มีอำนาจที่จะผลักดันให้ผล..คือการเสวยวิบากกรรมก่อน ก็คือกรรมใดก็ตามที่เราระลึกและกระทำอยู่บ่อยๆ กรรมนั้นย่อมมีอำนาจมากกว่าที่จะส่งผล

ดังนั้นอย่าได้ประมาทในบุญกุศลและกรรม จงเอาบุญกุศลและอธิษฐานติดไว้ คืออย่าได้ประมาท เราไม่รู้ได้ว่าเรานั้นจะบรรลุพระโสดาบันได้หรือไม่ที่จะมีอานิสงส์ปิดอบายภูมิ อย่างน้อยขอให้โยมนั้นตั้งมั่นอยู่ในศีล ๕ ศีล ๕ นี้แลย่อมให้สามารถเปิดทางที่จะไปโลกุตรธรรมได้ แม้จะไปแบบหยาบก็ตาม แต่บั้นปลายแล้วของจิตย่อมทำให้ละเอียดเข้าถึงพระนิพพานได้...
ที่มา
มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต

21 เมษายน 2564

เคยเจอปีติตัวไหนกันบ้าง ?

ถ้าเราเจริญสติ ด้วยความสบาย ผ่อนคลาย 
สภาวะรู้สึกทั้งตัวจะเกิดขึ้นมาได้เองโดยธรรมชาติ
รู้กายทั้งกาย รวมถึงลมหายใจ 
ก็จะถูกรู้ขึ้นมาได้เองโดยความเป็นธรรมชาติ 
....ด้วยความผ่อนคลาย
 
เมื่อทำไปเรื่อยๆ สติก็จะมีความมั่นคงขึ้น 
เกิดสภาวะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
รู้สึกทั้งตัว รู้พร้อมทั้งกายทั้งใจ 

....รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้...
จะเป็นสภาวะของสัมมาสมาธิ 
ที่เกิดเมื่อมีสติมั่นคง มีจิตตั้งมั่น
....สัมมาสติ ส่งเข้าสู่ สัมมาสมาธิ 
สติจะวางจากฐานกาย 

เข้าสู่ฐานของเวทนานุปัสสนา
เมื่อเข้าสู่สภาวะของชั้นสัมมาสมาธิ 
จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า... 
รู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมา

เมื่อเกิดสภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้ว
....จึงเกิดปีติขึ้นมา
ขนลุกทั้งตัวบ้าง ตัวโยกโคลงทั้งตัวบ้าง 
ควงไปข้างหน้า ข้างหลัง หมุนควงบ้าง 

....อาการภายในมันควง
บางทีก็เกิดอาการเหมือนตัวลอยบ้าง 
ตัวหนักบ้าง 
เกิดความรู้สึกเหมือนขยายตัวออกไป 

ตัวใหญ่บ้าง หดตัวเหลือตัวเล็กบ้าง 
เกิดกระแสความร้อนทั้งตัวบ้าง ความเย็นบ้าง 
เกิดสภาวะแข็งเป็นหินทั้งตัวบ้าง
แต่ผู้ปฏิบัติจะพบว่า... 

ใจเรานิ่งขึ้น ตั้งมั่นขึ้น 
มันเป็นสภาวะของปีติ ของความรู้สึกตัว
ลมหายใจจะสงบ ระงับ ลงไปโดยลำดับ
แต่ความรู้สึกทั้งตัว จะเด่นชัดขึ้นมาแทน 

เรียกว่ามีลมหายใจเป็นพี่เลี้ยง 
มีความรู้สึกตัวเป็นลักษณะเด่น
....ก็จะหลุดพ้นจากสมมุติบัญญัติ
โลกของความคิดปรุงแต่ง 
เหลือแต่ปรมัตถธรรมที่เรียกว่า... 
ความรู้สึกล้วน ๆ อยู่

สภาวะของความรู้สึกตัวนี้...
จะเป็นความรู้สึกของร่างกายทั้งตัว 
....ก็ให้แช่อยู่กับความรู้สึกตัวไปเรื่อย ๆ 
เหมือนว่าเราแช่อยู่ในน้ำที่เย็นชุ่มฉ่ำ

ด้วยความผ่อนคลายสบาย ๆ
 
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนี้...สติสัมปชัญญะ 
จะพัฒนาได้อย่างเต็มฐานทั้งตัว 
ความรู้สึกมีอยู่ทั้งตัว หัวตัวแขนขาทั้งตัว
....การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องส่งเข้าสู่

สภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งสิ้น 
สติปัฏฐาน๔ ทุกข้อ ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้อง 
จะส่งเข้าสู่สภาวะนี้ทั้งสิ้น
 
ที่ทรงตรัสว่า... มีความเพียร 
#มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม 

มีสติ ละความพอใจ ไม่พอใจในโลก
....#สัมมาสมาธิ #เริ่มต้นที่ตรงนี้ 

สภาวะของความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร

สมเด็จองค์พระปฐม

ผู้ถาม : ผมอยากจะถามว่า พระพุทธเจ้าองค์แรกพระนามว่าอะไรครับ?

 หลวงพ่อ : พระกกุสันโธเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกสำหรับกัปนี้..แต่องค์แรกจริงๆไม่ใช่องค์นี้ ที่เราเรียกว่า "#องค์ปฐม"

#องค์ปฐมน่ะท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก
.
 เคยถามท่านว่าใช้เวลาถอยหลังไปเท่าไร

 ท่านบอกว่า ให้ตั้งเลข ๕ ขึ้นมา แล้วเอาศูนย์ไปใส่ ๕๐ ตัว ได้เท่าไรบอกฉันด้วย นับเป็นอสงไขยกัปนะ ไม่ใช่นับเป็นกัปเฉยๆ อสงไขยของกัป ถ้าจะถามว่ามากเกินไปไหม ก็ต้องตอบว่าไม่มากหรอก เราต้องดูซิว่าพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งท่านใช้เวลาบำเพ็ญบารมีกี่กัป

อย่างพระพุทธเจ้าขั้น #ปัญญาธิกะ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัป

ถ้า #ศรัทธาธิกะ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๘ อสงไขยกับแสนกัป

ถ้า #วิริยาธิกะ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป ไม่เท่ากัน

ทีนี้กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้ากี่องค์ สำหรับ #สุญญกัป กับ #อันตรกัป นี่ไม่มีพระพุทธเจ้า มีแต่พระปัจเจกพระพุทธเจ้า อันตรกัปนี่เป็นกัปที่มีอันตรายมาก รบราฆ่าฟันกันเป็นประจำ มันมีแต่พวกที่มาจากอบายภูมิมาเกิด อันนี้เป็นเรื่องจริง
.
บางกัปมี ๒ องค์ ๕ องค์ ยังไม่เคยเจอ แต่กัปนี้มีถึง ๑๐ องค์นะ ฉะนั้นคนที่เกิดในกัปนี้ เฮงที่สุด แล้วก็ ซวยที่สุด

ผู้ถาม : เป็นยังไงครับ ?

หลวงพ่อ : เฮงที่สุดก็คือ เกิดมาแล้วตั้งใจทำความดี ตายไปเป็นเทวดาหรือพรหม เมื่อเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว พระพุทธเจ้าไปเทศน์ครั้งเดียวก็เป็นพระโสดาบัน

ไอ้ซวยที่สุดก็คือ เกิดมาชาตินี้ไม่ทำความดี ตายไปก็ลงนรก ลงนรกแล้วพระพุทธเจ้าอีก ๖ องค์มาตรัส นึกว่าจะเกิดมาได้พบ ไม่มีทาง อีก ๓๐ องค์ก็ยังไม่ได้พบ

ผู้ถาม : โอ้โฮ ! ที่นี้ผลต่างกันไหมครับที่ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน?

หลวงพ่อ : ผลมันต่างกันแน่ อย่างพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้บำเพ็ญบารมีขั้นปัญญาธิกะ จะเห็นว่าโลกมันก็เป็นอย่างนี้ล่ะ มีการรบราฆ่าฟันกัน มีคนจน มีคนรวย

ถ้าศรัทธาธิกะละก็คนจนไม่มี มีแต่คนรวย เพราะพระพุทธเจ้าท่านมีบารมีมาก

ส่วนวิริยาธิกะละก็เพียบพร้อมไปทุกอย่าง สมัยโน้นจะหาคำว่าลำบากสักนิดไม่มี ความป่วยไข้ไม่สบายเกือบหาไม่ได้ ที่ท่านต้องบำเพ็ญบารมีมาก ก็เพื่อสั่งสมความดีให้มาก แล้วก็คนที่ไปเกิดในสมัยนั้น ก็ต้องเป็นคนที่ต้องบำเพ็ญบารมีตามกันไป

   พระพุทธเจ้าแต่ละองค์มิใช่จะโปรดคนได้หมด ต้องโปรดคนได้เฉพาะคนที่บำเพ็ญบารมีร่วมกันมาแต่ละชาติที่เกิดร่วมกันมาเป็นพวกเป็นพ้อง ทำอะไรก็ทำด้วยกัน เวลาทำบาปก็ทำด้วยกัน ไปสวรรค์ก็ไปด้วยกัน ไปนรกก็ไปด้วยกัน...

จาก : หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๒๐๐ หน้า ๙๕-๙๖ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

20 เมษายน 2564

ปลุกเสกพระ ปลุกเสกใจ

ในการปลุกเสกอธิษฐานของหลวงปู่แต่ละครั้ง จะไม่มีพิธีอะไรมาก บางครั้งท่านจะชุมนุมเทวดาก่อน แล้วจึงอธิษฐานปลุกเสกตามลำดับ ท่านบอกว่า "อาราธนามาหมด พระทั้งแสนโกฏิจักรวาล" พระพุทธเจ้าไม่ใช่มีแต่จักรวาลนี้ สมัยเมื่อพระโมคคัลลาน์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านท่องไปในจักรวาลต่างๆ ไปจักรวาลไหนก็เอาเม็ดถั่วเขียวทิ้งไว้ ไปจนหลงกลับไม่ถูก ไปพบพระพุทธเจ้าอีกจักรวาลหนึ่ง ท่านเลยบอกให้นึกถึงพระพุทธเจ้าที่พระโมคคัลลาน์เป็นอัครสาวกอยู่ เมื่อนึกแล้ว พระโมคคัลลาน์จึงกลับมาได้ การเสกของคนคนเดียวน่ะขลังยาก ต้องอาศัยบารมีพระ บารมีพรหม เทวดาช่วย คนเราต้องไหวดี เอาตัวเองเก่งคนเดียวนั้นยาก พระโมคคัลลาน์ท่านเก่งทางฤทธิ์ แต่อย่างไรก็สู้ทางปัญญาไม่ได้ ดังเช่นคราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าให้พระโมคคัลลาน์นับเม็ดฝนที่ตกในจักรวาล พระโมคคัลลาน์ใช้ฤทธิ์เหาะไปนับ แต่พระสารีบุตรไม่ไป อยู่กับที่ใช้ปัญญาถามพระพุทธเจ้า ผลออกมาเหมือนกัน แต่เหนื่อยผิดกัน

สำหรับคาถาที่ท่านใช้ปลุกเสกมีหลายบท แต่ท่านสรุปว่า

"บรรดามนต์ดลต่างๆ นั้น สู้บทสวดมนต์ไม่ได้ เพราะมีอานุภาพมากกว่ากัน บทไหนก็ใช้ได้ทั้งนั้น ดีทั้งนั้น เมื่อก่อนข้าเรียนมาหมด เวทมนต์คาถาว่าเละไปด้วยกัน เดี๋ยวนี้ทิ้งหมดแล้ว เอาคุณพระดีกว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง น่ะยอดคาถาอยู่แล้ว ไม่ว่าบทไหนก็ตาม จะต้องมีการปลุกเสกด้วยบทมหาจักรพรรดิ์ทั้งสิ้น พระที่ข้าทำน่ะ ข้าก็ว่าทำดีแล้ว แต่คนที่ไปใช้จะทำดีตามหรือเปล่า บางคนก็กลัวว่าไปรอดราวตากผ้า ไปทำไม่ดี พระจะเสื่อมหรือไม่ ของดีน่ะไม่มีเสื่อม ไอ้ที่เสื่อมน่ะ ใจคนเสื่อม"

ที่หลวงปู่บอกว่า การสวดมนต์นั้นจะดีกว่าการใช้มนต์ดล การใช้มนต์ดลคือ คำหน้า ที่ใช้คำว่า "โอม" ก็ดี หรือคำที่ใช้คำกล่าวถึงเทพหรือฤๅษีต่างๆ นั้น หลวงปู่บอกว่าใน ๗ ตำนาน หรือ ๑๒ ตำนานนั้น เป็นการแสดงถึงบารมีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ บารมีเหล่านี้เป็นสิ่งที่ซึ่งแสดงออกมาได้ และเมื่อท่านผู้หนึ่งผู้ใด สำเร็จในพลังจิตแล้ว มีแต่การนำเอาบทสวดมนต์ใน ๗ ตำนาน มาสวดในการปลุกเสก โดยยังไม่ทันเข้าสมาธิ ก็สามารถทำให้วัตถุนั้น เกิดเป็นพลังงาน พลังจิตขึ้นมาได้

อย่างเช่น หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต เวลาท่านปลุกเสกวัตถุมงคล ท่านจะสวดมนต์หลายบท ซึ่งมนต์หลายบทนั้นก็อยู่ใน ๗ ตำนาน หรือแม้แต่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง การปลุกเสกพระสมเด็จ ท่านก็ใช้คาถาชินบัญชร ซึ่งแสดงว่าพระที่ท่านมีพลังจิตแล้ว แม้ท่านจะกล่าวอะไรขึ้นมาก็ตาม ก็ย่อมเกิดเป็นพลังงานได้ง่าย

สำหรับการปลุกเสกพระของหลวงพ่อวัดประดู่ทรงธรรมนั้น จะต้องมีธาตุทั้ง ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศธาตุ อันนี้ก็หมายถึง ในคนเช่นมนุษย์ทั่วไป ก็จะมีธาตุเหล่านี้ประกอบอยู่ ดังนั้นวัตถุหรือรูปเปรียบ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งยังไม่มีการปลุกเสกก็เสมือนเป็นตุ๊กตาหรือเป็นรูปธรรม แต่เมื่อมีการปลุกเสกหรือการอธิษฐานแล้ว ก็เป็นการเชิญพลังงานเหล่านี้ มาสถิตอยู่ในองค์พระเหมือนกับบรรจุลงไป เมื่อบรรจุลงไปแล้ว ก็จะทำให้วัตถุนั้นเป็นวัตถุที่มีพลังขึ้นมาได้

หรือแม้แต่ หลวงพ่อคล้าย วัดจันทร์ดี การปลุกเสกของท่าน ท่านก็อธิษฐานเอาความว่างเปล่าลงไปไว้ในวัตถุเหล่านั้น ความว่างเปล่านั้น ไม่มีผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย มีแต่ความบริสุทธิ์ เมื่อมีความว่างเปล่าไปบรรจุในวัตถุ วัตถุนั้นก็ย่อมมีพลานุภาพขึ้นมาได้ จึงมีทั้งรูปธรรม และนามธรรมเกิดขึ้นในวัตถุมงคลเหล่านั้น

ข้าพเจ้า "พระเครื่องที่ทำด้วยโลหะกับเนื้อผง เนื้อผงน่าจะแรงกว่าใช่ไหมครับ"

หลวงปู่ "ไม่จำเป็น ดูอย่างหลวงพ่อเกษม ท่านเสกก้านธูป คนเอาไปยิงไม่ออก อยู่ที่ผู้เสกหรือตัวอาจารย์นั่นแหละ"

ข้าพเจ้า "แล้วพระที่มีการจารด้วยเหล็กจาร กับไม่จารนั้นต่างกันหรือไม่"

หลวงปู่ "การจารนั้นก็คือ นำมาทำอีกครั้งหนึ่ง อธิษฐานอีกครั้งหนึ่ง"

ข้าพเจ้า "การปลุกเสกพระด้วยคณาจารย์หลายๆ องค์ กับองค์เดียวทำ หรืออธิษฐานจากที่หนึ่ง ไปช่วยอีกที่หนึ่งนั้นเป็นไปได้ไหม"

หลวงปู่ "เป็นไปได้ อำนาจจิตน่ะเป็นของวิเศษ ไปได้เกินกว่าแสนโยชน์ แต่การที่เขาต้องมีพิธีปลุกเสก โดยให้มีคณาจารย์นั่งรวมกันหลายๆ องค์ ก็เพื่อประโยชน์ของผู้ที่จะนำไปใช้ คือเกิดกำลังใจดีกว่ากัน ที่จริงผลเหมือนกัน"

ข้าพเจ้า "แล้วการที่ปลุกเสกหลายๆ วัน กับปลุกเสกช่วงระยะเวลาเดี๋ยวเดียว อย่างหลวงปู่แหวนปลุกเสกไม่เกิน ๑๕ นาที หรือหลวงปู่เสก ก็เห็นเต็มหมดแล้วนี่ครับ"

หลวงปู่ "อยู่ที่เชื่อ หลวงพ่อเกษมท่านให้คนถือของหรือกล่องที่จะเสก เดินผ่านช่องกุฏิ ท่านเป่าพรวดเดียวก็ใช้ได้ การปลุกเสกนานๆ อย่างเช่น ในไตรมาส ก็เป็นการบังคับให้ต้องทำเสมอ เสกนานก็ทำให้เพิ่มเติมอะไรที่เห็นว่าขาดตกบกพร่อง ถ้าใครเชื่อข้า ข้าก็ไม่ต้องเสก หยิบให้แล้วนำไปใช้ได้เลย"

ข้าพเจ้า "พระอรหันต์ประเภท สุกขวิปัสสโก ท่านจะมีความสามารถในการเสกพระหรือไม่ครับ"

หลวงปู่ "สุกขวิปัสสโก ก็ประเภททำให้หมดทุกข์คนเดียว แต่แกเอ๋ย พระอรหันต์น่ะ ท่านทำอะไรก็ได้ เพียงแต่การอธิษฐานว่า ขอให้วัตถุเหล่านี้ จงศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำไปใช้จงมีความสำเร็จ เช่นเดียวกับข้าพเจ้าก็ใช้ได้แล้ว"

หลวงปู่ยังได้เล่าถึง วิธีการปลุกเสกพระ ตามแบบฉบับของ วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดอยุธยา ดังนี้

"การปลุกเสกพระจริงๆ แล้ว จะต้องมีผู้ทำอย่างน้อย ๔ คน หมายถึง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ โดยมีตัวอาจารย์เป็นผู้ควบคุม และหมายถึงอากาศธาตุ ต้องทำให้สว่าง เวลาจะลงเป็นอย่างไหนต้องรับรองได้ การนำไปใช้จึงสัมฤทธิผล สมัยโบราณเขาต้องมีการยิงปืน ตีดาบให้ได้ยินเสียง เพื่อเป็นการปลุกจิตปลุกใจเพื่อเสก เพื่อให้เกิดความขลังได้ง่าย"

ข้าพเจ้า "การที่หลวงปู่จะทำอะไรทุกครั้งเห็นต้องมีคนคุม คือคอยตรวจสอบดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าเกิดไม่มีเขาเหล่านั้น แล้วหลวงปู่จะทำอย่างไร"

หลวงปู่ "ไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะเราแน่ใจว่าเมื่อตั้งอธิษฐานอะไรแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้น"

ข้าพเจ้า (ยกมือขึ้นสาธุ) "แสดงว่าหลวงปู่ต้องการให้ผู้ที่นั่งอยู่เกิดบุญ เพราะจะได้โมทนาในสิ่งที่ตนรู้เห็น เป็นการช่วยให้เขาได้บุญน่ะครับ"

หลวงปู่ท่านยิ้มอย่างมีเมตตา และทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า หลวงปู่ท่านมีกุศโลบายในการที่จะทำให้คนได้บุญ และท่านยังเสริมอีกว่า

"บุญนั้นหมั่นทำไว้ ปฏิบัติไว้ คนไหนที่เขาว่าทำได้ดีได้เห็นอะไรก็ตาม โมทนาไปเลยไม่มีเสีย มีแต่ได้ อย่าไปขัดเขา เวลาเดินผ่านไปไหนเห็นดอกไม้เขาปลูกอยู่ เราก็นึกถวายพระแทนเขา ของอะไรก็ตามนึกถวายพระพุทธเจ้าได้บุญทั้งนั้น เวลาจะเปิดไฟ ถ้าอยากได้บุญก็ว่า โอม อัคคีไฟฟ้า พุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา ก็ได้แล้ว"

ข้าพเจ้า "ถ้าเราถวายแทนเขาโดยไม่ขออนุญาตนี้ จะผิดศีลข้อ ๒ หรือไม่ครับ"

หลวงปู่ "ก็แกแผ่เมตตาให้เจ้าของเขาหรือเปล่าล่ะ ถ้าแผ่เมตตาให้เขาก็ไม่บาป" (ผู้เขียนเข้าใจว่า ถ้าไม่แผ่เมตตาให้เจ้าของก็ไม่ผิดศีลข้อ ๒ แต่ที่หลวงปู่ว่าไม่บาป คงหมายถึงทำให้ใจเราไม่เศร้าหมอง)

หลวงปู่ท่านยิ้ม แล้วตอบให้ศิษย์หายข้องใจ โดยท่านสรุปการปลุกเสกพระให้ขลังไว้ดังนี้

"เรื่องของคงกระพันชาตรีน่ะทำง่าย แค่ขนลุกก็เหนียวแล้ว แคล้วคลาดน่ะดีกว่า เพราะไม่เจ็บตัว การเสกพระทำน้ำมนต์ให้ดีให้ขลัง ต้องทำใจของเราให้มีเมตตา คือรักเขายิ่งชีวิตแล้วจะได้ผลดี การเสกพระให้มีพุทธคุณทางเมตตาน่ะ ทำยากที่สุด หมั่นปฏิบัติไปเถิด"

คำพูดของหลวงปู่ถือเป็นสัจธรรม หรืออมตธรรมที่ตรงกับพระพุทธภาษิตที่ว่า "โลโกปัตถัมภิกาเมตตา เมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก" คือต้องทำตัวเราเองให้เป็นคนดีเสียก่อน จึงจะมีผลในการดำเนินชีวิต และทำให้คนใกล้ชิดได้รับความสุขไปด้วย

พวกติดคุกติดตะรางหรือไอ้เสือทั้งหลายเหล่านี้ มักจะมีความสามารถทางคงกระพันชาตรี แล้วเกิดฮึกเหิมขาดศีลธรรม ทำให้เขาต้องประพฤติตัวออกนอกลู่นอกทางไปในที่สุด บางคนไม่มีพระ ไม่มีคาถาอาคม ก็ยังสามารถรอดจากภยันตรายได้ เรื่องมีว่า มีคนเหนือไปทำงานแถบปราจีนบุรี ซึ่งมีพวกเขมรมาก และเกิดไปขัดใจกับพวกนั้น พวกเขมรนั้นเก่งทางทำของ ทำคุณไสย เขาก็ปล่อยมาให้เจ้าคนนี้ แต่ก็น่าแปลกใจที่ไม่สามารถทำอะไรได้ จนในที่สุดคนทำของเกิดความสงสัยจึงไปถาม

เขาตอบว่า "ไม่มีเครื่องรางของขลังอะไรเลย คาถาอาคมก็ไม่มี แต่ก่อนจะนอนทุกคืนต้องกราบหมอน ไหว้พ่อไหว้แม่ เป็นเช่นนี้มิได้ขาด"

คนทำของจึงบอกว่า "คืนนี้แกอย่าไหว้พ่อ ไหว้แม่นะ ข้าจะปล่อยของแล้วจะแก้ให้"

เขาก็ทำตาม ตอนนี้เป็นเพื่อนกันแล้ว คืนนั้นก็ปล่อยของเข้าตัวได้ แล้วเขาก็แก้ให้ นี่ขนาดไหว้พ่อ ไหว้แม่นะ ทำให้จริงยังสามารถป้องกันตัวได้ หลวงปู่สอนให้พวกเรามีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นคุณธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติ ดังพุทธภาษิตว่า "นิมิตตัง สาธุ รูปานัง กตัญญูกตเวทิตา" ความกตัญญูกตเวทิตา เป็นเครื่องหมายของคนดี

#ญาติธรรมลูกศิษย์หลานศิษย์หลวงปู่ร่วมด้วยช่วยกัน
♦️กดแชร์♦️
#เพื่อเป็นการเผยแพร่ธรรมทานอานิสงส์สูงที่สุด 

ขอบคุณที่มาหนังสือกายสิทธิ์ยุคอภิญญา 
เขียนโดย อาจารย์ ศุภรัตย์ แสงจันทร์ 

#หลวงปู่ดู่ #พรหมปัญโญ #หลวงตาม้า #ศิษหลวงตาม้า #โพธิสัตว์ #พุทธภูมิ #พระพุทษศาสนา #โพธิญาณ #ภพภูมิ #หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ #สร้างบารมี #ธรรมะ #อมตะธรรม #หลวงปู่ทวด #จักรพรรดิ

หลวงปู่ใหญ่กับพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ​

ลูกหลานทั้งหลายเอ๊ย​ฯ​ .. ประเทศชาติก็เหมือนบุคคล มีทั้งช่วงเวลาแห่งความสุขและความทุกข์ สลับคละเคล้ากันไป. ประเทศไทย-สยามเรานี้ก็เช่นกัน. สมัยก่อน ไทย-สยามเราเคยมีเจ้าแผ่นดิน 2 พระองค์. องค์เอกเรียกเจ้าวังหลวง องค์รองเรียกเจ้าวังหน้า. 

เจ้าทั้ง 2 วังนี้ เคยมีเรื่องระหองระแหงหวาดระแวงกัน หวิดจะเกิดสงครามกลางเมืองแย่งชิงบัลลังก์กันหลายครั้ง แต่สยามประเทศมีพลังศักดิ์สิทธิ์แห่งพระรัตนตรัย จึงทำให้เราไม่สูญสิ้นชาติไปโดยง่าย แม้จะต้องเปลี่ยนเมืองหลวงเปลี่ยนราชอาณาจักรมาหลายครั้งหลายคราวก็ตาม

เจ้าวังหน้าองค์สุดท้ายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้​พบ​หลวง​ปู่​ใหญ่​ใน​ญาณ​สมาธิ​ของ​ท่าน​ 

โดย​ที่​เจ้า​วังหน้า​องค์​นี้​ท่าน​บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ และท่านใฝ่การบุญแบบคนสมัยใหม่ในยุคนั้น คือ ชอบทรงงานด้านเรือกลไฟ ปืนใหญ่ เหมืองแร่ ฯลฯ ไปพร้อมกับชอบทำกรรมฐาน เวทย์มนต์คาถา ว่านยา เล่นแร่แปรธาตุ  

เจ้าท่านนี้คือ.. "พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ"

ก่อนหน้านั้น หลวงปู่ใหญ่ยังไม่ได้มีนามเรียกขานเป็นทางการ ว่า "หลวงปู่เทพโลกอุดร"

แต่เป็นด้วยเจ้ายอดยิ่งยศท่านนี้เองเป็นผู้เรียกขานนาม "หลวงปู่เทพโลกอุดร" เป็นท่านแรก

นับแต่นั้น นาม หลวงปู่เทพโลกอุดร จึงเป็นที่เรียกขานสืบทอดเรื่อยมา

และการที่ท่านพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศเป็นผู้ใฝ่ใจในพระพุทธศาสนา ชอบเจริญฌานกรรมฐานจนกระทั่งได้พบ หลวงปู่ใหญ่ นี่เอง จึงมีผลทำให้พระทัยของท่านสงบเยือกเย็น มิฉะนั้นประเทศชาติไทยอาจไม่เป็นดังเช่นทุกวันนี้

ด้วยมีอยู่คราวหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดวิกฤติใหญ่ มีความขัดแย้งลุกลามบานปลายระหว่างวังหลวงกับวังหน้า วังหน้าโดยพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศได้ไปพึ่งกงสุลอังกฤษ โดยที่หากมีกองทหารอังกฤษเข้ามาแทรกแซง ประเทศสยามจะต้องแตกเป็นเสี่ยง​ ๆ เพราะในเวลานั้นเป็นยุคล่าอาณานิคม พวกฝรั่งเศส อังกฤษ ล้วนจ้องที่จะฮุบสยามเป็นเมืองขึ้นอยู่แล้ว. 

แต่ด้วยน้ำพระทัยพระองค์เจ้ายอดที่ทรงไว้ด้วยพระสติปัญญา และทรงฟังเสียงหลวงปู่ใหญ่ในพระญาณ ว่า "อย่าให้การขัดแย้งดำเนินไปถึงขั้นแตกแยกประหัตประหารกันในหมู่ชาวสยามด้วยกันเองเลย" พระองค์จึงทรงตั้งพระสติได้มั่นคง ใช้วิธีเจรจาโดยสันติ เหตุการณ์ร้ายจึงสงบลงไปได้ด้วยดีในที่สุด
------------------
ที่มา  #หลวงปู่เทพโลกอุดร.

การไหว้ขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน ของ.."สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี"

1. ไหว้ครั้งแรก เพื่อบูชาและขอขมา"พระพุทธเจ้า" น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่ช่วยชี้ทางสว่างให้สัตว์โลก พร้อมสำนึกน้อมรับในสิ่งที่พระพุทธองค์ฝากเราไว้ให้ปฏิบัติได้แก่ "ทาน ศีล ภาวนา"
2. ไหว้ครั้งที่สอง เพื่อบูชาและขอขมา"พระธรรม" น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมที่ช่วยรื้อถอน กิเลสให้สัตว์โลกและนำพาสัตว์โลกสู่ความสุขอย่างแท้จริง พร้อมสำนึกและน้อมรับพระธรรมที่พอจะนึกออกมาพิจารณาเนือง ๆ
3. ไหว้ครั้งที่สาม เพื่อบูชาขอขมา"พระสงฆ์" สาวกผู้มีพระคุณสานต่อจากพระพุทธเจ้าในการช่วยกันนำพาสัตว์โลกสู่ทางสว่าง ระลึกถึงพระที่ท่านเคารพรักนับถือแล้วอธิษฐานให้มาเป็นครูบาอาจารย์เพื่อปก ปักรักษาท่าน พร้อมสำนึกและน้อมรับในการช่วยส่งเสริมสถาบันสงฆ์ เพื่อช่วยการสานต่อศาสนาเช่น บำรุงสงฆ์ น้อมรับคำสอน ทำบุญตักบาตร และช่วยเผยแพร่ธรรม เป็นต้น
4. ไหว้ครั้งที่สี่ เพื่อ กราบไหว้บูชาขอขมา"พ่อ-แม่" ไม่ว่าท่านทั้งสองจะล่วงลับหรือยังอยู่ การกราบไหว้ท่านก่อนนอนเป็นประจำจะช่วยสร้างสิริมงคลให้ชีวิตและส่งเสริมให้ ผู้กราบได้บุตรที่ดีในอนาคต การงานและชีวิตส่วนตัวของผู้กราบจะเจริญรุ่งเรือง "ด้วยอานุภาพแห่งความกตัญญู" ขอให้ท่านน้อมระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ในขณะที่กราบพร้อมขอขมาท่านด้วยใจจริง น้อมสำนึกว่าจะไม่ทำความผิดต่อพ่อแม่อีกทั้งในภพนี้และภพหน้า
5. ไหว้ครั้งที่ห้า เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมา"พระสยามเทวาธิราชและพระมหากษัตริย์" ท่านเหล่านี้ล้วนมีบุญบารมีในการปกปักรักษาบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้บ้านเมืองของพวกเรา พึงกราบไหว้ก่อนนอนเพื่อขอขมาและขอบารมีท่านมาปกปักรักษาสร้างสิริมงคลให้ ชีวิต ขณะกราบพึงน้อมระลึกสำนึกในหน้าที่ที่ท่านต้องทำเพื่อประเทศชาติ สิ่งศักดิ์สิิทธิ์จะมาอนุโมทนาและคอยส่งเสริมกิจการงานท่านให้เจริญ รุ่งเรือง
6. ไหว้ครั้งที่หก เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมา"ครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรม"ทั้งหลาย ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะมาในรูปแบบไหน ( เช่น เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นคนรู้จัก เป็นเจ้านาย ฯลฯ ) พึงน้อมระลึกสำนึกในบุญคุณของพวกท่านเหล่านั้นและขอขมาต่อสิ่งที่ได้ทำผิด พลาดลงไป
7. ไหว้ครั้งที่เจ็ด เพื่อ กราบไหว้ขอขมา"เจ้ากรรมนายเวร" ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นดวงวิญญาณจากหลายภพหลายชาติ ( แม้แต่สัตว์ที่ท่านทานเข้าไป ) ให้ท่านน้อมระลึกในความทุกข์ของท่านที่กำลังประสบอยู่ ยิ่งทุกข์มาก แสดงว่ากรรมท่านก็มาก เพราะเคยทำผิดไว้มาก ตาม"กฏแห่งกรรม"ธรรมดาโลก
ให้ท่านขอขมาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ท่านเคยล่วงเกินไว้ไม่ว่าจะในภพนี้ หรือภพที่ผ่านๆมา เพื่อขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร พึงน้อมสำนึกว่าจะไม่ก่อกรรมร้ายใดๆอีกตราบเท่าที่จะพยายามทำได้เพื่อไม่ให้ เป็นภาระในกาลข้างหน้าอีก ( การไม่ก่อกรรมชั่ว คือการไม่สร้างหนี้สินให้ตัวเอง )
หลังจากไหว้ครบ 7 ครั้ง พึงน้อมจิตแผ่เมตตาดังนี้
“ พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ตลอดทั่วขอบรอบจักรวาล ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรุปทุกนาม จงมีแต่ความสุขกาย สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงมีแต่ความสบายจิตสบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้นเทอญ ”

** อานิสงค์จากการไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน **
1. ทำให้เป็นที่รักใคร่ของมวลสัตว์โลก และโลกวิญญาณทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน
2. หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น ยศตำแหน่งรุ่งเรือง เจ้านายเมตตา
3. สิ่งศักดิ์สิิทธิ์คุ้มครอง ไปที่ไหนก็แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง
4. จิตแจ่มใส มีสติ มีความเมตตาและความอ่อนโยนอยู่เนือง ๆ
5. สติปัญญาดี ไม่อับจนหนทาง
6. ปราศจากเจ้ากรรมนายเวรอาฆาตพยาบาท
7. เงินทองไหลมาเทมาด้วยอานุภาพของสิ่งทั้ง 7 ที่กราบไหว้
8. จิตเกิดสมาธิได้เร็ว จิตไม่มีมารมาคอยทำให้ฟุ้งซ่าน
9. ปัญหาชีวิตคลี่คลาย จากหนักเป็นเบา
10. ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง รักใคร่ปรองดอง

คติธรรมคำสอน…."สมเด็จพระพุฒาจารย์" (โต พฺรหฺมรํสี)
ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

ธาตุกายสิทธิ์

ลูกศิษย์ : ขอความรู้นิดนึงครับหลวงปู่ ที่ว่าหลวงปู่พูดถึงธาตุกายสิทธิ์ที่ว่ามีพุทธคุณอยู่ อย่างเหล็กไหลก็เป็นใช่มั้ยครับหลวงปู่ 

หลวงปู่ : อันว่าเหล็กไหลนี้มันเกิดจากกสิณ ผู้ที่ไปฝึกฌานสมาบัติเพ่งกสิณ นั้นก็มีจิตวิญญาณ อะไรที่งอกได้โตได้..เหล่านี้เรียกว่ามีจิตวิญญาณมีชีวิต เรียกว่าเป็นพวกโอปปาติกะก็ดี สิ่งเหล่านี้โยมรู้ไปก็หามีประโยชน์อะไรไม่ เพราะไม่ทำให้โยมนั้นหลุดพ้นได้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ

สิ่งที่ดีคือโยมอยากมีเหล็กไหลมั้ยจ๊ะ แต่ธาตุโยมก็มีธาตุเหล็กอยู่แล้วนี่ โยมภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ เจริญมนต์พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ชินบัญชรน่ะ..สวดภาวนาอยู่บ่อยๆ ภาวนาให้มันเป็นอารมณ์แห่งฌาน เป็นสมาธิ ไม่นานมันจะเป็นอภิญญา จิตที่เราสวดภาวนาชินบัญชรมันฟอกอยู่ตลอดเวลา จิตมันจะไปฟอกธาตุขันธ์ จิตที่มันจะมีอำนาจฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธิ์ ให้มีอิทธิฤทธิ์อิทธิเจได้เพราะอะไร..มันด้วยอำนาจของฌานของจิต ก็คือจิตที่เรานั้นบริสุทธิ์

จิตที่บริสุทธิ์เป็นยังไง อารมณ์ของจิตที่บริสุทธิ์คือว่าจิตที่ไม่มีโมหะ โลภะ ราคะ จิตปราศจากนิวรณ์ จิตปราศจากความอาฆาตพยาบาท..นี้จิตที่เรียกว่าจิตบริสุทธิ์ จิตที่เข้าถึงความสงบ จิตที่ว่างแล้วนั่นแล เข้าใจมั้ยจ๊ะ ภาวนาชินบัญชรเข้าไป เราจะนับประคำก็ได้ ไอ้ลูกประคำนี้มีไว้ทำอะไร..เอาไว้คลำจิตเอาไว้คลำใจ จิตคือให้รู้อารมณ์ที่เราทำอยู่ ใจคือมีสติให้มันตั้งมั่น คลำไว้อย่างนี้..

เมื่อเราจะมาภาวนาบริกรรมพระคาถาชินบัญชร อ้าว..เราจะเอาสักกี่จบ การว่าตั้งจบ ๓ จบ ๑๐ จบ ๑๐๘ จบนี้เค้าเรียกว่าเป็นการเดินจงกรมจิต เข้าใจมั้ยจ๊ะ มีความตั้งปรารถนากำหนดจุดหมายปลายจงกรมไว้ เมื่อจิตมันผูกไว้จุดหมายปลายจงกรมอย่างนี้แล นี่เรียกว่าการฝึกสติอย่างหนึ่ง เป็นการฝึกการย่นระยะทางอย่างหนึ่ง 

เพราะเมื่อโยมภาวนามากๆเข้าแล้ว ใจที่มันเห็นอริยสัจแล้ว มันเห็นตามความเป็นจริง มันเห็นว่าทุกข์ที่เกิดขึ้น เห็นความไม่เที่ยง เห็นการตั้งอยู่..ดับไปของอารมณ์ทั้งหลาย เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วจิตมันก็วาง จิตมันก็สงบได้ ไม่นานสมาธิมันก็บังเกิด ปัญญามันก็บังเกิด โยมก็จะตัดอารมณ์ทั้งหลายได้นั่นเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

อย่างนี้..ทำอย่างนี้แล ร่างกายสังขารโยมก็จะมีธาตุกายสิทธิ์ เช่นว่าเป็นพระธาตุขึ้นมาบ้าง หรือว่าเกิดอุบัติเหตุแล้วก็แคล้วคลาดปลอดภัยอย่างนี้ เข้าใจมั้ยจ๊ะ เอาแค่ป้องกันโรคระบาดได้ก็มีธาตุกายสิทธิ์แล้วในตัว เค้าเรียกว่ามีคุณวิเศษในตัว บุคคลที่จะเจริญฌานได้ เจริญสมาธิได้ ภาวนามนต์อยู่เป็นนิตย์ แผ่เมตตาเป็นประจำ นี่เค้าเรียกผู้มีคุณวิเศษอยู่ในตัว 

คำว่า"คุณวิเศษในตัว" อสรพิษนี้จะไม่สามารถทำอะไรได้ แม้ง้างปากจะกัดก็จะเกิดนะจังงัง แม้จะเกิดอุบัติเหตุ ชีวิตก็ยังอยู่ เข้าใจมั้ยจ๊ะ แต่ยานยนต์ยานพาหนะไม่ได้ไปปลุกเสกไว้..มันคงไม่เหลือ แล้วถ้าโยมเชื่อในเรื่องนี้มันก็ทำให้เป็นกำลังใจอย่างหนึ่ง นั้นโยมอย่าไปตามหาเลยไอ้ของวิเศษอะไร โยมทำตัวเองให้วิเศษจะดีกว่ามั้ยจ๊ะ 

ในตัวเรามีทุกอย่างอยู่แล้วธาตุกายสิทธิ์ เพราะเรามีอะไร ดิน มีน้ำ มีลม มีไฟ ครบมั้ยจ๊ะ แต่แค่ไม่เป็นหนึ่งแค่นั้นเอง พอไม่เป็นหนึ่งมันก็ไม่เป็นก้อนไม่เป็นกำ เข้าใจมั้ยจ๊ะ นั้นเราต้องควบคุมอำนาจแห่งจิตให้ได้ ถ้าเราควบคุมได้..จิตนี้แหล่ะคือที่มีความวิเศษที่สุดแล้ว 

พุทธคุณไม่ว่าจะเป็นเหล็กไหล ของอะไรก็ตาม เมื่อมีจิตของพระผู้ที่มีอภิญญา หรืออธิษฐานจิตไว้ แม้ท่านตายไปแล้ว..อำนาจแห่งจิตนั้นที่อยู่ในของมงคลในวัตถุ..ยังอยู่มั้ยจ๊ะ (ลูกศิษย์ : อยู่ครับ) ถูกต้อง..ยังอยู่ เพราะว่าของนั้นมันเป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม จิตสามารถไปอาศัยอยู่ได้ มันก็เป็นวัตถุอย่างหนึ่ง 

เค้าถึงบอกว่าสมเด็จมีอยู่กี่องค์ก็ตาม มีพระอธิษฐานจิตไว้ นี้ถ้าโยมรู้เลยได้ว่าจิตของใครเป็นผู้ทำ มันก็จะปรากฏขึ้นมา เข้าใจมั้ยจ๊ะ เค้าจึงต้องมีเทวดามาคอยรักษาองค์พระ มันไม่ใช่ของที่ว่า..เค้าถึงบอกว่าดินที่แผ่นดินสยามจึงว่ามีราคาแพงมาก ก็องค์น้อยๆก็หลายบาทอยู่นะ ใช่มั้ยจ๊ะ

แต่มันสู้การมาอธิษฐานจิตปลุกเสกตัวเองไม่ได้หรอกจ้ะ ให้เรามีความเชื่อมีความตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เมื่อเรามีความตั้งมั่นในพระรัตนตรัยแล้วเราจะมีหิริโอตับปะ มีความเกรงกลัวต่อบาป มีความละอาย เมื่อนั้นแล้วเราจะไม่กล้าทำความชั่ว ถ้าเราคิดจะทำมันก็จะละของมันเอง เข้าใจมั้ยจ๊ะ

ที่มา
มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต

พระคาถาเงินล้าน

 สัมปจิตฉามิ คาถาสนองกลับ เหตุร้ายไม่เกิด ภัยที่เขาจะเข้ามาหาเรา จะถูกผลักไปหาเจ้าของ คือการปัดอุปสรรคไม่ให้กล้ำกรายเข้ามา

 นาสังสิโม คาถาพระพุทธกัสสป สัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชทาน สวดคาถาจบแรกนึกถึงพระองค์คาถาเงินล้านจึงมีผล

 บทแรก " พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ "

ตัดอุปสรรค ที่ลาภจะมา อันนี้ตัดอุปสรรคที่ลาภจะมา แต่เขามาบอกว่ามีผลแน่นอน คือว่าแกจะไม่ยอมให้ลูกแกจน พูดง่าย ๆ ก็แล้วกัน พระพุทธเจ้าก็ทรงยืนยันบอกว่าให้หมด

 บทที่สอง " พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม "
คาถาบทนี้เป็นคาถาเงินแสนของท่าน

 บทที่สาม " มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม " บทนี้เป็นคาถาเรียกลาภ ปลุกพระวัดพนัญเชิง

 บทที่สี่ " มิเตพาหุหะติ "
เป็นคาถาเงินล้าน มียักษ์ตนหนึ่งนำความจากท้าวเวสสุวรรณนำคาถามาบทหนึ่งเป็นของพระกัสปะสัมพุทธเจ้าสวดภาวนาทุกวันจะมีอำนาจ เหตุร้ายไม่เกิด และเป็นมหาลาภ นำมาสวดก่อนคาถาพระปัจเจก..(จากหนังสือลูกศิษย์บันทึกหน้า หน้า ๕๐)ให้นึกขอกับท่านสมเด็จพระกัสปสัมมาพุทธเจ้า และท่านท้าวเวสสุวรรณถึงมีผล

 บทที่ห้า " พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม "

เป็นคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า สืบจาก หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค คาถาเงินงอกหลวงพ่อวัดท่าซุง เคยเล่าให้ฟังว่า นายแจ่ม เปาเล้ง ภาวนา คาถาพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ประเภทภาวนาเป็นล่ำเป็นสัน บอกลูกบอกเมียว่า หลวงพ่อปานบอกว่าคาถาบทนี้ภาวนาแล้วรวย

  บทที่หก " สัมปติจฉามิ " บทนี้ เป็นคาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น

 บทที่เจ็ด " เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ "

เป็นคาถามหาลาภ“ พระปัจเจกพุทธเจ้ามาบอกหลวงพ่อเมื่อ พ.ย.๒๕๓๓ เป็นภาษาโบราณ แต่เทียบกับภาษาไทยอ่านได้อย่างนี้ เป็นคาถามหาลาภ มีผลยิ่งใหญ่มาก หลวงพ่อสอนว่า "คาถาเงินล้าน สวดแค่วันละ ๙ จบยังทำไม่ได้ คน ๆ นั้นก็ไม่น่าจะรวยตามอานุภาพคาถา"

✱ สวดคาถานี้จบแรก...หลวงพ่อฤๅษีกำชับให้นึกขอบารมีพระพุทธเจ้าคาถาจึงมีผล

17 เมษายน 2564

วันที่ 17 เมษายน เมื่อ พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) เป็นวันเกิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

" วันที่ 17 เมษายน เมื่อ พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) เป็นวันเกิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) "

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (นามเดิม: โต) หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมตะเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือ

ประวัติ
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี) เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331) ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายฉบับ เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ

อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง
สำหรับบิดาของท่านนั้น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งทรงพระยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และแม้ในฉบับของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป

บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นนาคหลวงจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
จริยาวัตร

ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลักและไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใด ๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล

ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้างจะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ การจะสร้างปูชนียสถานขนาดใหญ่เช่นนี้ล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศรัทธาและบารมีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนในย่านที่ท่านได้ธุดงค์ผ่านไปอย่างชัดเจน

สมณศักดิ์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดปรานพระมหาโตเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2395 พระองค์จึงได้พระราชทานสมณศักดิ์พระมหาโตเป็นครั้งแรก เป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ขณะนั้นท่านอายุ 65 ปี โดยปกติแล้วพระมหาโตมักพยายามหลีกเลี่ยงการรับพระราชทานสมณศักดิ์ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ทำให้ท่านต้องยอมรับพระราชทานสมณศักดิ์ในที่สุด อีก 2 ปีต่อมา (พ.ศ. 2397) ท่านจึงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ "พระเทพกระวี" หลังจากนั้นอีก 10 ปี (พ.ศ. 2407) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นสมเด็จพระราชาคณะที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า

สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวงฯ

สมณศักดิ์ดังกล่าวนี้นับเป็นสมณศักดิ์ชั้นสูงสุดและเป็นชั้นสุดท้ายที่ท่านได้รับตราบจนกระทั่งถึงวันมรณภาพ คนทั่วไปนิยมเรียกท่านว่า "สมเด็จโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" ส่วนคนในยุคร่วมสมัยกับท่านเรียกท่านว่า "ขรัวโต"

ปัจฉิมวัย

ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร (ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน) ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี

คำสอนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

เป็นพระเกจิเถราจารย์ที่เป็นที่เคารพนับถือนอกจากด้านคาถาอาคมแล้ว ท่านยังได้ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออกของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลัง มักบันทึกถึงความเป็นพระเถระผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม เอกสารที่บันทึกประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ชั้นเก่าสุด คือเอกสารฉบับของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) ซึ่งเป็นฉบับที่รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่รวบรวมขึ้นในปี พ.ศ. 2473 ไม่ได้บันทึกคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ไว้เป็นหมวดหมู่ เพียงแต่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงชีวิตของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ต่างกรรมต่างวาระกัน ตามที่ผู้รวบรวมได้บันทึกมาจากปากคำผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เท่านั้น

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันได้ปรากฏมีคำสอนต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคำสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ที่เป็นที่นิยมนับถือกันทั่วไป โดยไม่มีการอ้างอิงที่มาที่แน่ชัด เช่น

"บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า ..."
"ลูกเอ๋ย ก่อนที่จะเข้าไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่ไปเที่ยวขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง...จงจำไว้นะ... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้... ครั้นเมื่อถึงเวลา... ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

๑๗ เมษายน ๒๕๖๔ ขอน้อมรำลึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ เนื่องในวันคล้าย
วันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (๑๗ เมษายน ๒๒๒๗)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมารดาชื่อนกเอี้ยง(พ่อเป็นคนจีน) ในยุคนั้นการจะแต่งตั้งใครครองเมืองต่างๆ ต้องเป็นเชื้อสายพระราชวงค์เท่านั้น 

 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หาไม่คงไม่ได้รับการแต่งตั้งพระองค์ไปเป็นเจ้าเมืองต่างๆ เช่นทรงได้รับการแต่งตั้งครองเมืองตาก และเมืองกำแพงเพชร ตามลำดับ 

ประวัติในอดีตเพื่อความปลอดภัยจึงต้องแต่งเรื่องราวพระราชประวัติให้สมจริงตามสถานการณ์บ้านเมือง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มอบหมายให้พระยาจักรีไปรับเด็กชายสินเป็นบุตรบุญธรรม และนำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) ทรงศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน จากนั้นเมื่อเล่าเรียนจบ พระยาจักรีได้พาเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ด้วยความเฉลียวฉลาด รอบรู้ และพูดได้ถึง 3 ภาษา พระองค์จึงได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นมหาดเล็กรายงานราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง 

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงมีเชื่อไทย 75% จีน 25% ไม่ใช่เชื้อสายจีน 100% ตามที่เข้าใจกัน 

อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
แด่ศาสนา สมณะ พุทธโคดม
ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
สมณะพราหมฌ์ ชีปฏิบัติ ให้พอสม
เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
ถวายบังคม แทบบาท พระศาสดา
คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
พระพุทธศาสน์ อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน.

ทางเพจจึงขอนำเสนอข้อมูลการศึกษาค้นประวัติศาสตร์อีกทางเลือกของการเรียนรู้ ด้วยการสืบพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากพระกระแสพลังจิตญาณภายในผ่านพลังจิตจักรวาล 

ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้จะถูกบันทึกร่องรอยหลักฐานทางประวัติตั้งแต่การกำเนิดขึ้น ตั้งอยู่และดับสลายไป และพลังงานในจักรวาลไม่หายไปไหน ยังคงสับเปลี่ยนหมุนเวียนรูปร่างไปตามกระแสวิบากกรรมจนกว่าจะพัฒนากลับสู่จุดเดิมคือจักรวาล(นิพพาน)
ข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บไว้ภายในตนเองรวมทั้งสิ่งที่สืบทอดต่อเนื่องเกี่ยวพัน รวมลงในคลังศูนย์ข้อมูลใหญ่ของจักรวาล(Big Data Center Cosmic)

รวมทั้งทุกๆคนที่เกิดมาบนโลกนี้ จะมีกระแสพลังจิตจากบิดา มารดา แฝงในจิตวิญญาณทุกๆคน เนื่องจากต้องอาศัยธาตุทั้งสี่จากบิดา มารดา ผสมกันถูกส่วน วิญญาณจึงจุติลงได้ จึงมีกระแสพลังจากบิดา มารดา ติดมาพร้อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเดียวกับการตรวจ DNA ที่ทางวิทยาศาสตร์ยอมรับ

นายไหฮอง พระราชบิดา ว่าเป็นชาวจีน ปรากฎไม่มีกระแสพลังงานจิตธาตุใดๆ ปรากฎ จึงสรุปว่า ไม่มีตัวตนจริง

นางนกเอี้ยง เดิมชื่อ หยง กระแสพลังงานพบว่าเป็นคนเชื้อสายจากแม่คนไทย-พ่อคนจีน 

แต่ปรากฎกระแสพลังงานจิตพระราชบิดาพระองค์จริงๆ คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา ชัดเจน 100%

สรุป

ความจริงแล้วพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แท้จริงๆ คือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง ส่วนพระราชมารดา คือนางนกเอี้ยง ชื่อเดิมคือ "หยง" แม่คนไทย พ่อเป็นชาวจีน ส่วน นายไหฮอง เป็นนามสมมุติขึ้น เพื่อปกปิดพระราชประวัติ และความปลอดภัย และเป็นเกียรติให้วงตระกูลชาวไหฮอง "แซ่แต้" จากชนพื้นเมืองหนึ่งในประเทศจีน หากไม่แล้วคงไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ครองเมือง ตาก และเมืองกำแพงเพชร เป็นแน่ สมัยก่อนต้องเป็นเชื้อสายจากพระมหากษัตริย์ เท่านั้นที่จะได้ไปขึ้นครองเมืองใหญ่ๆ ตามลำดับได้ จึงสิ้นสงสัย ที่พระราชประวัติพระองค์มีความสับสน และขาดความชัดเจนตลอดระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน

อีกเกียรติพระราชประวัติที่ภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

ขอน้อมรำลึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ 🙏

16 เมษายน 2564

จิตถึงจิตนี่แหละเป็นของจริงในพระพุทธศาสนา

          สมเด็จองค์ปฐมทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

          ๑. เรื่องที่ท่านฤๅษีบอกกับลูกๆ หลานๆ ว่า 
ผู้ใดที่ไม่ทิ้งอภิญญาสมาบัติ หรือ มโนมยิทธิ แม้ท่านเองจะทิ้งขันธ์ ๕ ไปแล้ว ก็ยังเหมือนท่านอยู่ใกล้ๆ 
เพราะเมื่อท่านฤๅษีละขันธ์ ๕ ไปแล้ว กายจริงๆ ก็คือจิต หรืออาทิสมานกาย ซึ่งลูกๆ หลานๆ ศิษย์ทุกคน จักเห็นท่านได้ด้วยกำลัง อภิญญาสมาบัติหรือ มโนมยิทธินั้น กำหนดจิตที่ใดก็เห็นท่านอยู่ทุกที่ ดังนั้น จึงได้ชื่อว่าท่านอยู่ใกล้ๆ

          ๒. จิตถึงจิตนี่แหละเป็นของจริง ในพระพุทธศาสนานี้ กำลังของจิตมีอำนาจมหาศาล อยู่คนละภพคนละชาติ หรืออีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในดินแดนอมตะ ก็ยังสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยอำนาจแห่งจิตที่มีกำลังนั้น

          ๓. บุคคลผู้เข้าถึงศีล - สมาธิ - ปัญญาพร้อม 
ความมั่นคงของจิตก็จักเกิดขึ้นได้มากยิ่งกว่าปุถุชน ที่ทรงฌานโลกีย์ อำนาจกำลังของจิตที่จักรู้ในภพต่างๆ ชาติต่างๆ หรือดินแดนอมตะ ก็จักไม่เสื่อม รู้จริง - เห็นจริง - ทราบจริงอยู่ในจิตของบุคคลผู้นั้น มีความมั่นใจในตนเองทุกๆ เมื่อ คำว่าหลงตายไม่มีสำหรับบุคคลผู้นั้น 
ขอเพียงแต่อย่าติดเปลือก คือ ร่างกายของคนหรือสัตว์ ให้มองทะลุเปลือกเข้าไปถึงภายในแล้ว จิตก็จักเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ สื่อสารเป็นความรู้ ความเข้าใจถึงกันและกันได้ด้วยภาษาของจิต นั่นแหละเป็นของจริงในพระพุทธศาสนา

          ๔. เพื่อนของผมก็เห็นหลวงพ่อท่านนั่งยิ้มอยู่ ท่านผ่องใสเป็นสุขอย่างยิ่ง ท่านพูดว่า ก็เพราะไม่มีขันธ์ ๕ น่ะซิ จึงได้สุขอย่างนี้ การไม่เกิดมีขันธ์ ๕ หรือร่างกายอีกจึงเป็นยอดของความสุขเตสังวู (สังโว) ปะสะโม สุขโข อันเดียวกัน

          ๕. ทรงตรัสว่า ถ้าต้องการจะเป็นสุขอย่างท่านฤๅษี ก็จงตั้งจิตให้มั่นคงเข้าไว้ เพียรละสังโยชน์ทั้ง ๗ ประการที่คั่งค้างอยู่ในจิต อย่าท้อแท้ กำหนดรู้ทั้งวิธีตัดสังโยชน์ ใช้กรรมฐานให้ถูกกอง แก้จริตที่ยังละไม่ได้อย่างไม่หยุดยั้ง วันหนึ่งข้างหน้าคำนี้ ก็จักเกิดแก่เจ้าเอง นิพพานังปรมัง สุขัง หรือ เตสังวู ปะสะโม สุโข นั่นแหละเหมือนกัน

 
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

06 เมษายน 2564

ภูมิบ้านภูมิเมืองต้นราชวงศ์จักรี

เคยสงสัยมั้ย ว่าทำไมกรมสมเด็จพระเทพรัตน์ ไปปลูกบ้านอยู่ที่อุทัยธานี

บ้านสะแกกรัง ภูมิบ้านภูมิเมืองต้นราชวงศ์จักรี

บ้านสะแกกรังเป็นเมืองพระชนกจักรี ซึ่งมีหลักฐานจากพระราชหัตถเลขาระบุว่า บ้านสะแกกรังหรือจังหวัดอุทัยธานีวันนี้ คือ ถิ่นกำเนิดของพระชนกแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี อันเป็นภูมิสถานที่ตั้งอยู่กลางประเทศไทย

เรื่องราวของ สมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ ผู้เป็นพระชนกแห่งรัชกาลที่ 1 นั้นหม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประทานความรู้และแนะนำให้นายพลาดิศัย สิทธิธัญกิจ ผู้เป็นศิษย์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและนำเสนอจังหวัดอุทัยธานี 

โดยนายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี และนายน้อย มัทธวรัตน์ ประธานสภาจังหวัดอุทัยธานีให้ความเห็นชอบและเสนอกระทรวงมหาดไทยริเริ่มโครงการสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมชนกขึ้น 

โดยมีการจัดงาน"ลุ่มน้ำสะแกรังและกาชาดอุทัยธานี"หาทุนและรับการบริจาคจากชาวอุทัยธานี จนสามารถสร้างจนสำเร็จ พร้อมกับขอใช้รูปพลับพลาอนุสาวรีย์แห่งนี้เป็นตราจังหวัดอุทัยธานีจนทุกวันนี้

............................................................................
สมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ เดิมชื่อว่า "ทองดี" เป็นบุตรคนโตของพระยาราชนิกูล ( ทองคำ) 

พระยาราชนิกูล ( ทองคำ) เป็นบุตรของเจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง)

เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) เป็นบุตรของโกษาปานผู้สืบเชื้อสายมาแต่กรมพระเทพามาตย์หรือเจ้าแม่วัดดุสิต

............................................................................
ท่านเกิดใน แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกษฐ์ ซึ่งถือกำเนิดที่ "บ้านสะแกกรัง" เมืองอุทัยธานี 

เมื่อครั้งพระยาราชนิกูลเป็นจมื่นมหาสนิท มหาดเล็กในเจ้าฟ้าเพชร ที่ออกมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านสะแกกรังในแผ่นดินพระเจ้าเสือ ต่อมามีความชอบที่ช่วยให้เจ้าฟ้าเพชร ได้ครองราชย์เป็น พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จึงได้ย้ายครอบครัวเข้าไปรับราชการและตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยา แถววัดสุวรรณดาราราม

นายทองดี นั้นได้ถวายตัวเข้ารับราชการอยู่กับบิดาในกรมมหาดไทย และแต่งงานกับดาวเรือง ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็น หลวงพินิจอักษร และเป็นพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย 

พระอักษรสุนทรศาสตร์กับคุณดาวเรืองนั้น มีบุตรธิดา 5 คน ภายหลังได้รับพระอิริยยศในการสถาปนาพระบรมวงศานุวงศ์ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2338 ดังนี้

1.สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระเทพสุดาวดี (สา) 
2.พระเจ้ารามรงค์ 
3.สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) 
4.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ทองด้วง) 
5.สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระราชวังบวรเจ้ามหาสุรสิงหนาท (บุญมา)

หลังจากเกิดเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่านั้น พระอักษรสุนทรศาสตร์ได้หลบไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลกกับคุณบุญมา ภรรยาน้อย และสิ้นชีวิตที่นั่น   

ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาราชวงศ์จักรีแล้ว จึงอัญเชิญพระอัฐิของพระชนกมาสถาปนาเป็น "สมเด็จพระชนกาธิบดี" เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2338 เช่นเดียวกันพร้อมกับทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างมหาเวชยันต์ราชรถขึ้นเพื่อใช้ในงานถวายพระเพลิงพระอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดีพระองค์นี้

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2553 พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ และชมรมประวัติศาสตร์สยาม

ภาพประกอบ ยอดเขาสะแกกรัง และพระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ
ที่มา.............................................................
อัษฎางค์ ยมนาค

คู่บุญ คู่ธรรม คู่บารมีและ บุพเพสันนิวาส

เรื่องของคู่ บุพเพสันนิวาส กรรมที่หลายคนยินดีรับ คำถามที่ว่าทุกคนต้องมีคู่หรือไม่คำตอบตรงๆคือ ไม่จำเป็น
ถ้าจะถามแล้วควรมีหรือไม่คำตอบคือ แล้วแต่จุดมุ่งหมาย
บุคคลที่อยู่ในระดับสูงของวิวัฒนาการแล้ว และมีคุณสมบัติเป็นมนุษย์พิเศษจำนวนมาก ที่ไม่มีคู่ชีวิต เช่น พระสารีบุตร พระโมคัลลานะ พระกัจจายนะ พระรัฐปาลและพระราหุล เป็นต้น แต่บุคคลเหล่านี้จะมีคู่ธรรมแทน

เช่นพระสารีบุตร เป็นคู่ธรรมกับพระโมคคัลลานะ จะเกิดด้วยกันเกือบทุกชาติ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกันในการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งชาติสุดท้ายได้สำเร็จอรหันต์ในตำแหน่ง อัครสาวกด้วยกัน นับเป็นเพื่อนแท้อีกคู่หนึ่งในโลก หรืออย่างพระราหุล กับ พระนางอุบลวรรณา (กัณหา-ชาลี ในอดีตชาติ) เป็นคู่ธรรมกัน มักจะเกิดเป็นพี่น้องกันเกือบทุกชาติ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลการปฏิบัติธรรมของกันและกัน นับเป็นพี่น้องที่ยืนยาวมากอีกคู่หนึ่งในโลก บุคคลเหล่านี้ท่านไม่นิยมคู่ชีวิตเพราะยุ่งยาก ไม่เป็นอิสระ ไม่เอื้อต่อความสงบจึงมีคู่ธรรมแทน
บุคคลที่ควรจะมีคู่คือ ผู้ที่จะบำเพ็ญเพียรเป็นพระพุทธเจ้า บุคคลเหล่านี้จะต้องฝ่าความระกำลำบากนานาประการ เป็นสัตว์ทุกชนิด เป็นมนุษย์ทุกประเภท เป็นเทวดาทุกภพทุกภูมิ เป็นพรหมทุกชั้น ต้องเคยอยู่เคยเป็นทุกอย่าง เพื่อจะได้รู้แจ้งแทงตลอดธรรมชาติอย่างโปร่งปรุ

พระพุทธเจ้าเปรียบว่า ผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า เสมือนคนที่เห็นทะเลกำลังเดือด แล้วประสงค์จะว่ายน้ำ ฝ่าทะเลเดือดเพื่อไปช่วยมหาชน ณ ฝั่ง ที่ยังมองไม่เห็น ใครมีความกล้าอุทิศตนถึงเพียงนี้ จึงอาจบำเพ็ญเพียรเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าได้ และในการบำเพ็ญตลอดทางอันไกลกันดารยาวนานนั้น มักจะทรงเลือกคู่บารมี เพื่อจะคอยเกื้อกูลประคับประคองกันในการปฏิบัติธรรม
หากจะถามว่า พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญเพียรอยู่นั้นกับคู่บารมีของพระองค์ มีทุกข์ระหว่างกันบ้างหรือไม่ ก็บอกได้เลยว่ามี มีมากกว่าคนธรรมดาด้วย เพราะความผูกพันธ์อันยาวนานจะฝังรากลึก เวลาสมหวังก็ดีใจลึกๆ เวลาผิดหวังก็เสียใจร้าวลึกเช่นกัน แต่คนที่จะเป็นคู่บารมีได้ จะต้องอุทิศชีวิตให้แก่กันและกันได้ และจะต้องมีอธิษฐานจิตกำกับทุกชาติไป ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมักถูกคลี่คลายได้โดยไม่ยาก

แล้วคนทั่วไปล่ะ ควรมีคู่หรือไม่ เรื่องนี้แล้วแต่จดมุ่งหมายของแต่ละคน ถ้าท่านจะเอาดีเป็นผู้วิเศษ ก็ไม่ควรมี เพราะคู่จะบั่นทอนความผ่องใสของจิตใจของกันและกันระดับหนึ่งทีเดียว แต่ถ้าท่านจะเอาดีทางการปกครอง เป็นผู้นำของชุมชน การมีคู่ก็เป็นไปตามธรรมเนียมของโลก ที่ทำให้ท่านไม่เบี่ยงเบนจากสังคมจนเกินไป

สำหรับมนุษย์โดยทั่วไปที่ไม่ได้อธิษฐานเป็นคู่กันตลอดกาล มักจะพานพบและมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามอย่างสับสน ชาติหนึ่งอาจจะเป็นคู่กับอีกคนหนึ่ง พออีกชาติหนึ่งไปเป็นคู่กับอีกคนหนึ่ง ชาติอื่นอาจจะไปเป็นคู่ของคนอื่นอีกเรื่อยไป ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ทำความเข้าใจกันใหม่อยู่ร่ำไป ครั้นมาเจอคู่คนเก่าในชาติเดียวกันก็จะหลายใจ และมักมีปัญหาความสำส่อนตามมา อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งสิ้น จึงทำให้เกิด คู่กัด คู่กาม คู่กรรม ตามแต่กรณี
ประเภทของคู่

จากความสับสนในความสัมพันธ์ และความสำส่อนของบุคคลผู้ที่มิได้มีคู่แท้ถาวร ทำให้เกิดคู่ประเภทต่างๆมาพัวพันชีวิต กอปรกับคู่ถาวรของบุคคลที่มีคู่บารมี หรือคู่ธรรมจึงทำให้จำแนกประเภทคู่ต่างๆออกได้ห้าประเภท คือ คู่กัด คู่กาม คู่กรรม คู่ธรรม และคู่บารมี

คู่กัดคือ คู่ที่ผูกใจเจ็บ อาฆาตพยาบาท หรือสาปแช่งกันไว้ คู่ประเภทนี้ บางทีก็มาเป็นแฟนกัน บางทีก็มาเป็นพี่น้องกัน บางทีก็มาเป็นเพื่อนกัน บางทีก็มาเป็นคนรู้จักกันในฐานะต่างๆ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไร จะมีความอิจฉาริษยา การแข่งขัน กีดกัน และทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่เนืองๆ เช่น คู่พระพุทธเจ้ากับพระเทวทัตต์ คู่ประเภทนี้ จะมีประโยชน์ประการเดียว คือช่วยให้เราได้ฝึกความดีในท่ามกลางความชั่ว

การแก้หรือขจัดคู่กัดเสียได้โดยเด็ดขาด สามารถทำได้โดยต่างฝ่ายต่างสำนึกถึงภัยของพยาบาทที่ ทำลายความสุขและเป็นทุกข์ทั้งคู่ แล้วละพยาบาท ถอนคำอาฆาตเสีย ขออภัยและให้อภัยแก่กันและกัน แล้วปรองดองกัน คือเปลี่ยนจากความเป็นศัตรูมาเป็นมิตรเสียนั่นเอง

คู่กามคือ คู่ที่มีกามสัมพันธ์กันแบบสักแต่ว่าเสพกามกันไป ไม่มีเจตนาผูกพันหรือเจตนาร่วมชีวิตกัน การมีคู่ประเภทนี้อาจเกิดได้โดยกิจกาม เช่นการเที่ยวโสเภณี หรือพวกฟรีเซ็กซ์ทั้งหลาย คู่ประเภทนี้เมื่อเจอกันอีกในชาติใดใด ก็จะมีใจกระสันเข้าหากัน แต่ไม่มีบุญหรือบาปรองรับ จึงไม่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง และมักเป็นคู่ที่เข้ามารบกวนหรือทำลายความสัมพันธ์ของคู่ที่แท้จริงเป็นระยะๆ ในลักษณะของคู่สัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ซึ่งบางทีเป็นเหตุให้สูญเสียคู่ที่แท้จริงไป หรือแม้ไม่สูญเสียไปก็ทำให้อยู่กันไม่เป็นสุข เพื่อไม่ให้มีปัญหาแก่คุณค่าแห่งชีวิตคู่ จึงควรละคู่กามเสียให้พ้น

คู่กรรมคือ คู่ที่ได้ร่วมทำบุญหรือปาบมาด้วยกันทำให้มีกรรมพัวพันกัน ต้องมาเกิดมีความสัมพันธ์กันในฐานะต่างๆเช่น เป็น พ่อแม่ลูกกัน เป็นสามีภรรยากันบ้าง เป็นพี่น้องกันบ้าง เป็นครูอาจารย์กันบ้าง เป็นเพื่อนพ้องกันบ้าง เป็นคนรู้จักเกี่ยวข้องกันบ้างตามแต่กรณี ซึ่งในแต่ละชาติก็ไม่เหมือนกัน หมุนเวียนเปลียนไป ผลัดกันเป็น เช่นชาตินี้อาจเป็นแม่เป็นลูกกันชาติหน้าอาจกลับกัน เป็นลูกเป็นแม่กัน อีกชาติหนึ่งอาจเป็นศิษย์อาจารย์กัน ชาติถัดไปอาจเป็นเพื่อนกัน เป็นต้นคู่แบบนี้จะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับกรรมที่ร่วมกันทำมาดังนั้น ควรหมั่นทำดีกับทุกคนรอบข้าง และสร้างกรรมดีร่วมกัน โดยพยายามหลีกเลี่ยงการทำเลวต่อกันและไม่ร่วมกันทำกรรมเลวใดใด ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายในชีวิตจะได้ดีต่อกัน ซึ่งจะเป็นการสานสร้างความสัมพันธ์อันอบอุ่น มั่นคงให้เกิดขึ้นได้

คู่ธรรมคือ คู่ที่ตั้งจิตอธิษฐาน ที่จะปฏิบัติธรรมร่วมกัน เกื้อกูลแก่กัน ซึ่งบางชาติอาจเกิดมาเป็นเพื่อนกัน บางชาติอาจเป็นพี่น้องกัน บางชาติอาจเป็นพ่อแม่ลูกกัน บางชาติอาจเป็นอาจารย์กับศิษย์ บางชาติอาจเป็นสามีภรรยากัน ถ้าเป็นสามีภรรยากันก็จะมีความเป็นกันเองเสมือนเพื่อนมากกว่า จะเป็นสามีภรรยาทั่วไป และบางคู่แต่งงานกันแล้ว ก็ไม่เสพกามกันเลยอยู่กันเป็นเพื่อนปฏิบัติธรรมกันไป ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่สะอาด คู่ประเภทนี้จะสนิทใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันมาก ไม่ทำร้ายทำลายหรือเรียกร้องอะไรจากกัน มีแต่จะช่วยเหลือเกื้อกลูกัน

คู่บารมี คือ คู่ที่อธิษฐานจะบำเพ็ญบารมีร่วมกัน เผชิญสุขเผชิญทุกข์ด้วยกัน คอยประคับประคองปรองดองกันให้ถึงเป้าหมายสูงสุดอันแสนไกล คู่บารมีจะมีลักษณะเป็นเพื่อนแท้ที่ยอมตายให้แก่กันและกันได้ มีความเสียสละสูง มีความถาวร จะพบกันเกือบทุกชาติไป บางชาติก็อาจได้อยู่ด้วยกัน บางชาติก็อาจมีปัญหาไม่ได้อยู่ด้วยกันตามแต่กรรม แต่ก็จะเกื้อกลูกันทุกชาติไป คู่ประเภทนี้จะมีความผูกพันกันล้ำลึก เข้าใจกันได้ ความรักของคู่ประเภทนี้จะสะอาด จริงใจ เชื่อถือได้ แต่ก็มีปัญหาเล็กๆน้อยๆบ้าง ตามประสาคนที่จิตยังไม่บริสุทธิ์...

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน
เครดิต​ : เพจพระอรหันต์​ สายหลวงปู่มั่น

การประดิษฐานพระบรมรูปในปราสาทพระเทพบิดร

---------------------------------------------------------
เนื่องในวันจักรี ๖ เมษายน เป็นวันที่รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชวงศ์จักรี  ปราสาทพระเทพบิดร เปิดให้ประชาชนเข้ากราบบังคมพระบรมรูปพระบูรพมหากษัตริยาธิราชที่ประดิษฐานอยู่ภายใน ในการนี้จึงขอกล่าวถึงที่มาของการหล่อพระบรมรูป และการประดิษฐานพระบรมรูป เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า ปัจจุบันพระบรมรูปประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดรได้อย่างไร
---------------------------------------------------------
ตามโบราณราชประเพณี การสร้างพระรูปพระเจ้าแผ่นดินเป็นอนุสรณ์​ ทำแต่เป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูป เรียกว่า พระพุทธรูปหรือเทวรูปฉลองพระองค์

การสร้างพระรูปเหมือนพระองค์จริงนี้ เริ่มขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยในสมัยนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินทางยุโรป ส่งพระรูปเหมือนพระองค์เข้ามาถวายเป็นบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชดำริที่จะทำพระบรมรูปเพื่อทรงพระราชทานตอบแทน ได้โปรดส่งพระบรมฉายาลักษณ์ออกไปให้ช่างฝรั่งปั้น แต่เมื่อทอดพระเนตรแล้วก็ไม่โปรด ด้วยฝรั่งได้แต่พระบรมฉายาลักษณ์ไป จึงปั้นแผกเพี้ยนไปจากพระองค์จริงมาก จึงทรงให้ช่างปั้นพระบรมรูปขึ้นใหม่ การสร้างพระบรมรูปเป็นมนุษย์จึงได้เริ่มแต่ในรัชกาลนี้

ส่วนการสร้างพระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ต้นรัชกาล คือใน พ.ศ.๒๔๑๒ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงสันนิษฐานว่า อาจเป็นพระราชดำริของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งได้มีพระราชปรารภไว้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรืออาจจะเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ทำนองเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่คราวนี้มีพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ หล่อเป็นพระรูปเหมือนจริงอยู่ จึงได้ทรงพระราชดำริที่จะสร้างพระบรมรูปโดยตรงขึ้นทั้ง ๔ รัชกาล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงสืบสวนเรื่องนี้จากพระยามหานิเวศน์ ซึ่งปู่ของท่านได้เป็นผู้รู้เห็นในการสร้างพระบรมรูปในครั้งนี้ ได้ความว่าการสร้างเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชประสงค์ที่จะไว้สักการบูชาในฐานะพระเทพบิดร จึงเป็นอันยุติว่า การสร้างพระบรมรูปเหมือนพระองค์เริ่มมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ทั้งได้ทรงพระราชดำริต่อไปที่จะสร้างพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตล่วงลับไปแล้วไว้สักการะอย่างพระเทพบิดรเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา

การสร้างพระบรมรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้อำนวยการปั้นและหล่อ เมื่อปั้นหุ่นนั้นทราบได้แน่คือ ขนาดพระองค์ว่าสูงเท่าใด ด้วยมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อยู่ ส่วนพระรูปโฉมนั้นมีข้อลำบากอยู่ ที่เหลือผู้รู้เห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์อยู่น้อยคน เท่าที่หาได้ในเวลานั้นมีเพียง ๔ คน คือ พระองค์เจ้าหญิงปุก พระราชธิดาในในรัชกาลที่ ๒ พระองค์๑  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี)วัดระฆังองค์๑ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) คน๑ กับเจ้าพระยาธรรมาธิกรณบดี (ลมั่ง สนธิรัตน) คน๑ ส่วนรัชกาลอื่นๆ ยังเหลือผู้เคยเห็นพระองค์อยู่มาก จึงไม่มีข้อลำบากนัก  การปั้นพระบรมรูปได้อาศัยท่านเหล่านี้ได้บอกพระลักษณะและคอยติให้ช่างแก้ไข จนกระทั่งเป็นที่รับกันว่าเหมือนจริง จนสำเร็จลง หล่อเป็นพระบรมรูปแล้วเสร็จในปีมะแม พ.ศ.๒๔๑๔

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงเล่าเรื่องการปั้นการหล่อในครั้งนี้ว่า

...ตอนแรกจำได้ว่าตั้งการปั้นหุ่นพระบรมรูปทั้ง ๔ พระองค์นั้น อยู่ที่ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังข้างตะวันออกริมทางเสด็จขึ้นพระอุโบสถ ตอนที่ ๒ จำได้ว่าเสด็จพระราชดำเนินไปในการกาไหล่พระบรมรูปที่โรงหล่ออันตั้งอยู่ที่ศาลาสหทัยเดี๋ยวนี้ เห็นเขาเอาเหล็กร้อยพระองค์แต่พระบาททะลุออกพระเศียรเป็นแกน นอนพระบรมรูปเรียงกันผันพระเศียรไปทางเหนือ ที่หัวแกน ท้ายแกน ปักหลักรับ ที่ท้ายแกนมีกงพัดจับหมุนได้ ตรงกลางก่อเป็นเตาที่ติดไฟ ทรงปฏิบัติพระราชกิจอะไรบ้างจำไม่ได้ จำได้แต่เขาถือกงพัดหมุนพระบรมรูปไปช้าๆ...

และได้ทรงสรุปเวลาในการนี้ไว้ดังนี้
ปั้นหุ่น  ปีมะเส็ง จ.ศ.๑๒๓๑ – พ.ศ.๒๔๑๒
หล่อ ปีมะแม จ.ศ.๑๒๓๓ – พ.ศ.๒๔๑๔
บัญญัติถวายบังคมประจำปี จ.ศ.๑๒๓๕ ปีระกา  พ.ศ.๒๔๑๔

โดยพระบรมรูปได้อัญเชิญไปประดิษฐานยังสถานที่ต่างๆตามลำดับ ดังนี้

>>> เมื่อหล่อพระบรมรูปเสร็จ ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาททางมุขตะวันออก มีเศวตฉัตรกั้นถวายทุกพระองค์ 

>>> ครั้นถึงปีระกา พ.ศ.๒๔๑๔ เมื่อสร้างตราจุลจอมเกล้า ได้ทรงพระราชปรารภให้มีการถวายบังคมพระรูปเนื่องกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จึงโปรดให้ย้ายพระบรมรูปไปประดิษฐานในพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท เพื่อสะดวกในการถวายบังคม เพราะพระราชทานตราที่พระที่นั่งอนันตสมาคม (พระที่นั่งอนันตสมาคม ในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในสวนศิวาลัย ต่อมาได้รื้อลง  เป็นคนละองค์กับพระที่นั่งอนันตสมาคมในปัจจุบัน) ทั้งได้ทรงพระราชดำริสืบไปว่าควรมีปราสาทสำหรับประดิษฐานโดยเฉพาะ

>>> จากพระราชดำริในคราวนั่น ต่อมาจึงได้กะการสร้างปราสาท ที่ในบริเวณระหว่างพระพุทธรัตนสถานกับพระกุฏิ เป็นปราสาทยอดปรางค์ เรียกกันว่า ปราสาทพระรูป แต่ทำค้างอยู่ คงเห็นขัดขวางด้วยเป็นที่อยู่ข้างใน ข้าราชการเข้าไปถวายบังคมไม่สะดวก จึงได้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นเป็นที่ไว้ใหม่ มีพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐานที่พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทในปี พ.ศ.๒๔๒๕ อันเป็นพระราชพิธีเนื่องในการสมโภชพระนครร้อยปี

>>> ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ทรงพระราชดำริว่าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๕ รัชกาล (หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่มอีกพระองค์หนึ่ง ประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลก่อนหน้า) ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ยังไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี จึงโปรดให้ซ่อมแปลงพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร ได้มีพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมรูปเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑

---------------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูลจาก : 
- ความทรงจำ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- สาส์นสมเด็จ เล่ม ๓ /สาส์นสมเด็จ เล่ม ๔ (ฉบับคุรุสภา ๒๕๑๕)

ภาพ : ภายในปราสาทพระเทพบิดร ถ่ายโดย : สิทธิโชค ปรีงาม. /วันอังคารที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๔

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...