28 ธันวาคม 2566

หลักธรรมในอดีต, ปัจจุบันและอนาคต

สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้กระทำความผูกพันและหมายมั่นให้สิ่งนั้น
กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยความไม่สมหวังตลอดไป

อนาคต ที่ยังมาไม่ถึงนั้น
เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน

อดีต ปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคต ปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย
.
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลักที่แยกสมถะออกจากวิปัสสนา

หลักที่แยกสมถะออกจากวิปัสสนา คือ ถ้าจิตตั้งมั่นรู้ รับรู้กับสิ่งเดียว อารมณ์เดียว ถือว่าเป็นสมถะ แต่ ถ้าจิตตั้งมั่นรู้ รับรู้กับหลายสิ่ง หลายอารมณ์ โดยไม่ยึดถือ เป็นวิปัสสนา
ในการปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติใหม่ มักมีการสลับกันโดยไม่รู้ตัวระหว่างสมถะกับวิปัสสนาอยู่แล้ว เพราะการปฏิบัติจริง ไม่ได้แตกต่างกันเท่าใด และความที่ยังไม่แม่นในการปฏิบัติ จึงสลับไปมาโดยไม่รู้ตัว

ดูรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเป็นฌาน ดูรู้แบบไม่ยึดในอารมณ์เดียวเห็นการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของอารมณ์ต่างๆ ไม่ยึดในอารมณ์เดียวเป็นญาณ

สมถะกับวิปัสสนานั้น เขาเสริมกันดุจเท้าซ้ายและเท้าขวา ต้องมีคู่กัน เพื่อก้าวหน้าไป ถ้าผู้ปฏิบัติ เผลอไปให้นํ้าหนักกับเท้าข้างใดข้างหนึ่งมากไปโดยไม่รู้ตัว สิ่งนีจะช่วยเตือนให้เห็นว่า เราเผลอไปด้านเดียวนะ ต้องมีอีกด้านตามมาด้วย ธรรมจึงจะงอกงามสมบูรณ์

28 ธันวาคม วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช


วันที่ 28 ธันวาคม วันคล้ายวันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ผู้กอบกู้เอกราชจากพม่าให้แก่ประเทศไทย และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีเพียงพระองค์เดียว 

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สิน” ชื่อจีนเรียกว่า “เซิ้นเซิ้นซิน พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 17 เมษายน 2277 พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ “นายไหฮอง” ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ “นางนกเอี้ยง” ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ 3) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย 

ต่อมา เมื่ออายุครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี 2301 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 เดือนเศษ ก็ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช “สมเด็จพระบรมราชาที่ 3” สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงาน เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ไปชำระความที่หัวเมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งปฏิบัติราชการได้รับความดีความชอบมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตร เมืองตาก ช่วยราชการพระยาตากครั้นพระยาตากถึงแก่กรรม ก็ทรงโปรดให้เลื่อนเป็น “พระยาตาก ปกครองเมืองตาก” พระราชกรณียกิจสำคัญของพระเจ้ากรุงธนบุรี 

เมื่อปี 2309 พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ และได้เสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2310 เหตุการณ์ในกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นเกิดความระส่ำระสาย ทหารพม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ พระยาตากเห็นว่าคงสู้พม่าไม่ได้แล้ว จึงนำทหารจำนวนหนึ่งตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา และได้รวบรวมกำลังอยู่ที่เมืองจันทบุรี แล้วยกทัพกลับไปตีพม่าที่กรุงศรีอยุธยา ทัพของพระยาตากสามารถตีพม่าจนแตกพ่ายไป พระยาตากสามารถรวบรวมผู้คนกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาจากพม่าได้ภายในเวลา 7 เดือน 

หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงเห็นว่าทางกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมากและยากที่จะ ฟื้นฟูให้เจริญเหมือนเดิมได้ พระองค์จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบรี แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พระบรมราชาธิราชที่ 4” ต่อจากนั้นพระองค์ได้ยกกองทัพไปปราบปรามก๊กต่างๆ ทรงใช้เวลารวบรวมอาณาเขตอยู่ 3 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2311 – 2313 จึงได้อาณาเขตกลับคืนมา รวมเป็นพระราชอาณาจักรเดียวกันดังเดิม 

สมเด็จพระเจ้าตากสิน เสด็จสวรรคตเมื่อปี 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี นับว่าเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถกอบกู้ประเทศ ชาติให้เป็นเอกราชอิสรภาพตราบเท่าทุกวันนี้ ประชาราษฎร์ผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ท่านว่า “มหาราช” 

คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย และได้สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนืออัศวราชพาหนะ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ประดิษฐานบนแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ บริเวณวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี 

ที่มา /แพทตี้ อีจัน
ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก: กรมศิลปากร, กรมประชาสัมพันธ์ 

19 ธันวาคม 2566

ความซื่อสัตย์

มีเพื่อนรักอยู่สองคน
คนหนึ่งชื่อ "ฉลาด" อีกคนชื่อ "ซื่อสัตย์"
ทั้งสองคนนั่งเรือออกไปท่องทะเลด้วยกัน
โชคไม่ดี  เจอพายุฝนลูกใหญ่กระหน่ำกลางทะเลจนทำให้เรือล่ม
บนเรือชูชีพมีที่นั่งเพียงคนเดียว
คนชื่อ "ฉลาด" เห็นท่าไม่ดี
รีบถีบ "ซื่อสัตย์" ตกทะเลไป   
แล้วตนเองก็ขี้นเรือชูชีพหนีไป
"ซื่อสัตย์"สำลักน้ำเกือบตาย
โชคยังดีที่ลอยคอมาถึงเกาะเล็กๆเกาะหนึ่ง
พอเอาชีวิตรอดมาได้  ก็ตั้งตาคอยว่าเมื่อไหร่จะมีเรือผ่านมาแถวนั้น

ไม่นานเกินรอ  ก็ได้ยินเสียงเพลงเสียงดนตรีลอยมาแต่ไกล
เป็นเสียงมาจากเรือลำหนึ่งที่กำลังวิ่งผ่านมาทางเกาะที่ตนอยู่
เมื่อเรือเข้าใกล้  สังเกตุเห็นบนเรือปักธงโบกสะบัดว่า "ความสุข"

"ซื่อสัตย์"รีบตะโกนขอความช่วยเหลือ
"ความสุขครับ  ได้โปรดช่วยชีวิตเราด้วย เราชื่อ "ซื่อสัตย์""
พอ "ความสุข" ได้ยิน  ก็ตะโกนตอบไปว่า
"ช่วยไม่ได้หรอก  ถ้าหากเรามัวแต่เป็นคน "ซื่อสัตย์"
ขีวิตเราคงหา "ความสุขไม่ได้เลย
ไม่เห็นเหรอว่า  มีคนมากมายที่พูดความจริงเพราะความ "ซื่อส้ตย์"
และความจริงเหล่านั้นจะย้อนกลับมาทำร้ายคนพูด"
พอพูดเสร็จ  "ความสุข" ก็หันหัวเรือห่างออกไป

ในเวลาต่อมา  เรือ "ตำแหน่ง" ก็แล่นใกล้เข้ามา
"ซื่อส้ตย์" รีบตะโกนขอความช่วยเหลือ
พอ "ตำแหน่ง" รู้ว่าคนขอความช่วยเหลือคือ "ซื่อสัตย์"
จึงรีบปฏิเสธไปว่า  ""ตำแหน่ง”ของเราต้องห้ำหั่นกับผู้คนมากมายกว่าจะได้มา 
และเราจะก้าวต่อไปไม่หยุดยั้งไม่ว่าด้วยวิธีไหนก็ตาม  หากเราต้องดำรงค์ "ตำแหน่ง" ด้วยความ "ซื่อสัตย์"   สงสัยเราจะไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมคนอื่นและคงไปไม่ได้ไกล"
"ซื่อสัตย์" มองดูเรือ "ตำแหน่ง" ค่อยๆห่างออกไป
ก็ต้องจำใจรอเรือลำต่อไปด้วยความหวัง

ไม่นานเกินรอ  ก็เห็นเรือ "แข่งขัน" แล่นมาอีกลำ
จึงตะโกนแต่ไกลว่า  ""แข่งขัน"ครับ  เราคือ "ซื่อสัตย์"  ช่วยมารับเราหน่อย"
พอ "แข่งขัน" รู้ว่าเป็น "ซื่อสัตย์"  เลยตะโกนตอบไปแบบไม่ต้องคิดมาก
"อย่าทำให้เราลำบากใจเลย  ทุกวันนี้การ”แข่งขัน”ในสังคมสูงมาก  
หากเรายังต้องเป็นคน "ซื่อสัตย์"  เราคง "แข่งขัน" สู้คนอื่นไม่ได้แน่นอน"
พอพูดจบ  "แข่งขัน" ก็จากไปอย่างไม่ใยดี

ทันใดนั้น  เสียงฟ้าร้องฟ้าผ่าก็ดังก้องทั่วท้องทะเล
พายุลูกใหญ่โหมกระหน่ำอย่างแรง
"ซื่อสัตย์" ที่กำลังอยู่ในอาการหมดหวัง สับสนกับจุดยืนของชีวิตตน
ก็ได้ยินเสียงเรียกอย่างปราณีว่า
"ลูกเอ๋ย  มาขึ้นเรือเราเถอะ"
พอ "ซื่อสัตย์" มองหาไปยังต้นเสียง  จึงได้รู้ว่าเป็นผู้เฒ่าแห่ง "กาลเวลา"
เมื่อขึ้นเรือเสร็จ  เขาจึงถาม "กาลเวลา" ว่า
"ทำไมท่านจึงช่วยเรา"
ท่านผู้เฒ่าตอบด้วยรอยยิ้มว่า
"มีแต่ "กาลเวลา" เท่านั้น  ที่จะพิสูจน์ให้รู้ว่า  ความ "ซื่อสัตย์" มีความสำคัญแค่ไหน"

บนเส้นทางที่กำลังแล่นเรือกลับบ้าน
"กาลเวลา" ชี้ให้มองดู "ฉลาด" "ความสุข" "ตำแหน่ง"  และ "แข่งขัน" 
ทั้งหมดล้วนตะเกียกตะกายอยู่กลางทะเลที่กำลังจะจมหายไปในน้ำ

ท่านผู้เฒ่าถอนหายใจพร้อมกล่าวว่า
"หากไร้ซึ่งความ "ซื่อสัตย์".......
"ฉลาด" ก็จะทำร้ายตัวเองในที่สุด
"ความสุข" จะอยู่ได้ไม่จีรัง
"ตำแหน่ง" อยู่ท่ามกลางเสียงสาปแช่ง
"แข่งขัน" ก็จะเป็นได้แค่ผู้พ่ายแพ้
สุดท้ายแล้ว  มีแต่ความ "ซื่อสัตย์" เท่านั้น
ที่จะเป็นความอมตะนิรันดร์

"ขจรศักดิ์" 
แปลและเรียบเรียง
จาก 正能量家族
#บทความดีๆภาพคำคมดีๆข้อคิดดีๆ
เรามาช่วยกันแบ่งปันนะครับ
ขอขอบคุณเจ้าของภาพและบทความ🙏

นักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร?


โอวาทธรรม
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

คือ ปฏิบัติจิตนั้นเอง

คือ ทำจิตให้สงบ
ทำจิตให้สว่าง
ทำจิตให้บริสุทธิ์ 

จิตบริสุทธิ์ ก็คือความสงบนั่นเอง

เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบ

ก็ไม่มีอะไรมากมาย 
คือภาวนา 

การภาวนา
ก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก

เอา "พุทโธ" 
อย่างเดียวก็พอแล้ว 

ก่อนที่จะภาวนา

เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอก
ออกให้หมดเสียก่อน

คือ ไม่ส่งอารมณ์
ออกไปนอก 

อารมณ์ที่ส่งไปนอก.. 
ไปหาปรุงหาแต่ง
ไปหาก่อหาเกิด 

ไม่มีที่สิ้นสุด 
จิตของเราก็จะไม่สงบ

เพราะฉะนั้น
ก่อนที่จะภาวนา 

เราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด

ไม่ต้องส่งจิตไปนอก

หันมาดูจิตของเรา 
อยู่ในจิตของเรา

ตั้งสติ.. อยู่ในจิต 
แล้วก็บริกรรม

ให้ 'จิต' เป็นผู้บริกรรมเอง

ไม่เอาอะไรมากมาย

"พุทโธ" อย่างเดียวก็พอแล้ว

แต่ว่า.. ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง

ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง 

ไม่ต้องว่ากับปาก

วิธีนั่งบริกรรม

นั่งขัดสมาธิก็ได้ 
นั่งพับเพียบก็ได้

เอาตีนขวาทับตีนซ้าย

ตั้งกายให้ตรง 
แล้วก็หลับตา

แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง 

จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้ว
ในคนทุกคน

ไม่ต้องไปหาที่อื่น 

ตั้งจิตอยู่ในจิต

ตั้งสติอยู่ในจิต 

ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง

ไม่เอาอะไรมากมาย 

เอา 'พุทโธ' อย่างเดียว

แล้วบริกรรม..
พุทโธ พุทโธ พุทโธไป

จนจิตของเรามันสงบ 

ในการบริกรรมพุทโธ

ผู้บริกรรมพุทโธอยู่ตรงไหน

ตั้งสติอยู่ตรงนั้น 

ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง

ไม่ต้องว่ากับปาก 
ตาของเราหลับ

แล้วให้จิตเป็นผู้ว่าเอง

ตั้งสติอยู่ตรงนั้น..

บริกรรมเรื่อยไป..

เวลามันสงบเราจะรู้เอง

คือจิตมันรวม 
มันรวมวูบลง

แล้วก็จิตมีอารมณ์อันเดียว

นั่นมันสงบแล้ว 
แล้วถ้าจิตสงบแล้ว

เราไม่ต้องบริกรรมต่อไป

จิตกำหนดอยู่เฉยๆ

หมายถึงว่า 
จิตหลุดจากคำบริกรรมไป

นั่นจิตมันรวม 
จิตมันสงบ

แล้วเราก็
ไม่ต้องหันมาบริกรรมอีก 

ความสงบอยู่ไหน
ก็ตั้งสติอยู่นั้น

แล้วกำหนดดูอาการของสมาธินั้น..
ว่าเป็นอย่างไร

แล้วก็ต้องจำให้ชัดเจน 
จิตของเราสงบแล้ว

นี่ให้รู้จักว่าจิตของเราสงบแล้ว

กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง

ก็ไปรวมอยู่ที่จิตที่สงบนั้นเอง 

ที่สูงสุดอยู่ตรงนี้ 

หาที่อื่นไม่พบ

จิตที่สงบนั้นคือตัวบุญ

เราต้องจำให้ชัด เวลาเรารู้ 

เรารู้เอง !!

มันผุดขึ้นมาในจิตของเรา

ให้รู้เฉพาะตน 

นั่นละตัวบุญที่แท้จริง

แล้วไปหาที่อื่นไม่พบหรอกบุญ

ต้องหาจากจิตจากใจของเรา

ถ้าจิตของเราสงบ 
บุญเกิดขึ้นแล้ว

ไม่ต้องไปหาที่อื่น 
หาที่อื่นก็ไม่พบ 

บุญกับบาป
ก็ประจำอยู่แล้วทุกๆคนนั่นแหละ

แต่บุญคือความสุข 
บาปคือความทุกข์

ทำจิตของเราให้สงบแล้ว

 หมายความว่า
"เราทำบุญเกิดแล้ว"

   ∆∆∆∆ ^ ∆∆∆∆
"อตุโล ไม่มีใดเทียม"
  หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

14 ธันวาคม 2566

รากของ...คนจีน


รากของ...คนจีน ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายรมต.โจว เอินไหล
งานเลี้ยงในกรุงปักกิ่งที่ชาวยุโรปกับชาวจีนสังสรรค์ร่วมกัน คำถามเชิงเหยียดหยามของชาวยุโรปทำให้นายกรมต..โจวเอินไหลอธิบายจนชาวยุโรปเองกับนิ่งงันเหมือนคำที่ถามเหยียดหยามตัวเอง 
 ชาวจีนชาวยุโรปชนชั้นสูงงานเลี้ยงนายกรมต.โจวเอินไหล
นายกรมต.โจวเอินไหลขงจีน
รากของ...คนจีน ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายรมต.โจว เอินไหล

ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่ง  

ชาวจีนกลุ่มหนึ่งมาร่วมงานในฐานะเจ้าบ้าน คณะแขกในงานคือชนชั้นสูงที่ส่วนใหญ่เป็นวงศาคณาญาติของเครือราชวงศ์ในแถบประเทศยุโรป แขกทุกคนล้วนมีการศึกษาสูงและกิริยามารยาทในสังคมดีเลิศทั้งนั้น  

แต่เบื้องหลังแต่ละคนล้วนซ่อนความหยิ่งยโสไว้เกือบทุกคน อาจเป็นเพราะงานคืนนั้นเป็นงานเลี้ยงส่งคณะผู้มาเยือนเป็นคืนสุดท้าย แต่ละคนอาจดื่มหนักไปหน่อย เลยพูดจาค่อนข้างปล่อยวางตามอำเภอใจ และแล้ว ก็มีฝรั่งท่านหนึ่งลุกขึ้นยืนแล้วถามว่า

"ขอทราบเหตุผลหน่อย ทำไมปีนักษัตร 12 ราศีของจีน จึงมีแต่พวกหมู หมา กา ไก่มาเป็นตัวสัญลักษณ์ ไม่เห็นจะเหมือนของพวกเราเลย ล้วนฟังดูดีมีสกุล เช่น กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวแมงป่อง ไม่รู้บรรพบุรุษพวกคุณเอาส่วนไหนของร่างกายมาคิดตั้งราศีบ้านๆพวกนี้ออกมา"

พอพูดจบ ก็เป็นเสียงฮาเฮของเหล่าฝรั่งหัวแดง พร้อมชนแก้วดื่มกันสนั่นหวั่นไหว ความเป็นผู้ดีหายไปในชั่วพริบตา

สัตว์ประจำ นักษัตร 12ราศรี
รากของ...คนจีน ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายรมต.โจว เอินไหล
เมื่อถูกเขาเจริญพรถึงบรรพบุรุษกันขนาดนี้ จะเถียงเขาอย่างไรดี จะทุบโต๊ะแสดงความไม่พอใจก็ย่อมจะทำได้ แต่อาจเพราะยังตั้งหลักไม่ทัน ต่างคนต่างยังเก็บความเคืองแค้นด้วยความเงียบ แต่แล้วก็มีชาวจีนท่านหนึ่งลุกขึ้นยืน แล้วใช้น้ำเสียงอันราบเรียบที่สุภาพพูดขึ้นว่า

"ท่านทั้งหลาย บรรพบุรุษของพวกเรามักยืนอยู่บนฐานแห่งความเป็นจริง ปีราศีของพวกเราจับกันเป็นคู่ๆ หมุนเวียนกันหกรอบ แสดงถึงความหวังและความต้องการของบรรพบุรุษของเราที่มีต่อพวกเราทุกคน"

ในเวลานั้น เสียงฮาเฮเริ่มค่อยๆเบาบางลง แต่สีหน้าของชาวต่างชาติแทบทุกคนยังคงแฝงไว้ด้วยแววตาที่เย้ยหยัน

"ราศีคู่แรก คือหนูและวัว หนูคือตัวแทนของความเฉลียวฉลาด วัวคือสัญลักษณ์ของความขยัน หากคนเราฉลาดแต่ขี้เกียจ ก็ไปไม่ได้ไกล แต่ถ้าขยันแล้วแต่ไร้หัวคิด ก็กลายเป็นไอ้โง่ สองสิ่งนี้ต้องบวกกันเป็นหนึ่ง ก็คือคนฉลาดที่ขยัน นั่นคือสิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่บรรพบุรุษคาดหวังในตัวพวกเรา"

นักษัตร 12 ราศีของชาวจีนและชาวไทย
รากของ...คนจีน ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายรมต.โจว เอินไหล
"คู่ที่สองคือเสือและกระต่าย เสือมีความกล้าหาญเต็มร้อย กระต่ายมีความระมัดระวังเป็นคุณสมบัติประจำตัว ความกล้าบวกกับความระมัดระวัง ถึงจะเรียกว่าคนใจถึงแต่รอบคอบ หากมีแต่ความกล้า มันคือความมุทะลุ หากมีแต่ความระแวดระวังเกินกว่าเหตุ มันคือความขี้ขลาด"

คนจีนผู้นั่นมองกลุ่มฝรั่งนิดนึง แล้วพูดต่อเพื่อรักษามารยาทอันดีงาม 

"บางครั้งอาจเห็นพวกเรามักนิ่งเงียบ คงจะกำลังครุ่นคิด จงอย่าเข้าใจว่าพวกเราไม่มีความกล้าซ่อนอยู่"

"คู่ที่สามคือมังกรและงู (งูใหญ่และงูเล็กของไทย) มังกรคือความแข็งแกร่ง งูคือความพริ้วไหว ชีวิตที่แข็งทื่อเกินไปอาจต้องเผชิญกับการแตกหัก "ยอมหักไม่ยอมงอ"จึงอาจไม่ใช่สิ่งดีเสมอไป แต่พลิ้วไหวไปก็ไร้จุดยืน เพราะฉะนั้น ในความแข็งแกร่งต้องมีความอ่อนโยนซ่อนอยู่ ผู้ใหญ่ท่านสอนไว้แบบนี้"

"ชุดต่อไปคือม้าและแพะ ม้ามุ่งตะลุยไปข้างหน้าอย่างเดียว แพะคือสัญลักษณ์ของความอ่อนโยน หากคนเราเอาแต่ลุยไปข้างหน้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง คงต้องกระทบกระทั่งเขาไปทั่ว หนทางสู่จุดหมายปลายทางคงทุลักทุเลน่าดู แต่ถ้ามีแต่ความอ่อนโยน ว่านอนสอนง่าย สุดท้ายต้องหลงทางแน่นอน สองสิ่งนี้ต้องรวมกัน เส้นทางสู่จุดหมายจึงจะราบเรียบ"

"คู่ต่อไปคือลิงกับไก่ ลิงมีความว่องไว ไก่ขันตามเวลาทุกเช้า มันคือความแน่นอน ความว่องไวที่ปราศจากความแน่นอน เขาเรียกว่าความวุ่นวาย ความแน่นอนแต่เชื่องช้าเกินเหตุ อันนี้ชีวิตอับเฉาไร้รสชาติ ชีวิตต้องดำเนินไปด้วยความสมดุลย์ของสองสิ่งนี้ แล้วชีวิตจะสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น"

"คู่สุดท้ายคือสุนัขและสุกร สุนัขมีความซื่อสัตย์สูงสุด สุกรว่านอนสอนง่ายที่สุด คนเราถ้าซื่อตรงจนเกินไป ไม่รู้จักผ่อนกฏผ่อนเกณฑ์กันบ้าง จะสร้างศัตรูโดยไม่รู้ตัว หรืออาจเครียดเกินเหตุ แต่หากหัวอ่อนไป ก็จะไม่มีบรรทัดฐานของตัวเอง ลู่ไปตามลม คงไม่ดีแน่ แต่การรวมกันของสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ความสมดุลย์จะเกิดขึ้นภายในจิตใจเรา"

นักษัตร 12 ราศีฝรั่ง
รากของ...คนจีน ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายรมต.โจว เอินไหล
ชาวจีนที่อาสาเป็นผู้อธิบายถึงความหมายและที่มาของสิบสองราศีท่านนี้ ก็คืออดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน ที่ชื่อว่า "โจว เอิน ไหล"
รากของ...คนจีน ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่กรุงปักกิ่งของนายรมต.โจว เอินไหล
พออธิบายที่มาของสิบสองราศีจนครบถ้วน ชาวจีนผู้นั้นจึงถามชาวยุโรปว่า

"คงต้องขอทราบว่า สิบสองราศีของพวกคุณ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มดาวแมงป่อง คนแบกหม้อ คนยิงธนู มีความหมายต้องการจะสื่ออะไรหรือเปล่า แล้วที่บรรพบุรุษพวกคุณคัดสรรพวกนี้ออกมา ต้องการหรือคาดหวังอะไรจากพวกคุณบ้าง ช่วยชี้แนะด้วยครับ"

มีแต่ความเงียบ ไม่มีคำตอบ ไม่ได้ยินแม้แต่เสียงหายใจแรงๆ

ชาวจีนที่อาสาเป็นผู้อธิบายถึงความหมายและที่มาของสิบสองราศีท่านนี้ ก็คืออดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศจีน ที่ชื่อว่า "โจว เอิน ไหล"


ที่มา
"ขจรศักดิ์"

แปลและเรียบเรียงมา

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

www.google.co.th

ธรรมะสากลของโลก


ภายใต้กฎแห่ง ‘ตถตา’
คือความเป็นเช่นนั้นเอง
สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
ล้วนมีอิสรภาพที่เต็มเปี่ยม
ในอันที่จะเลือก
วิถีแห่งการดำเนินชีวิต
ตามแนวทางนั้นๆ อยู่แล้ว.
ไม่ว่าจะเรียกมันว่า
เป็นศาสนาหรือลัทธิ
เป็นสำนักหรือกลุ่มนิยมวิธี
ใดๆ ก็ตาม.

แต่ผลของมันก็เป็นของเสมอกันตามธรรมชาติ
ที่กลุ่มนั้นๆจะได้รับ
ตามเหตุปัจจัย
ซึ่งมีความซับซ้อน
อีกด้วยหลายเหตุปัจจัย
สัมพันธ์กันอยู่ด้วย.

ธรรมชาติของความยุติธรรม
ก็มี
ธรรมชาติของความไม่ยุติธรรม
ก็มี
จนกระทั่งถึงธรรมชาติ
ของทุจริตกรรม
และธรรมชาติของสุจริตกรรม.

ก็ถือว่ามีได้เป็นได้
ตามสภาพปัจจัย
ที่ส่งให้มีให้เป็นแล้วปรากฏขึ้น
เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ’.

เราจะเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับธรรมชาตินั้นๆอย่างไร
ก็จะเป็นผู้รับผลจากเหตุ
แห่งความสัมพันธ์นั้นๆอย่างนั้น.

ท่าทีที่ปฏิบัติต่อธรรมชาติ
(กรรม)
ก็ส่งผลให้ผู้กระทำได้รับผล
(วิบาก)
ตามธรรมชาติทั้งฝ่ายดี
อันเป็นกุศลธรรม
และธรรมชาติฝ่ายเลว
อันเป็นอกุศลธรรม.

ธรรมะจึงเป็นของสากล
ที่ข้ามพ้นความเป็นศาสนา
หรือแนวคิดของกลุ่มชน
คนที่จะตีกรอบให้คำนิยาม
แก่ธรรมะ.

ไม่ว่าศาสนาใดแนวคิดใด
จะให้คำนิยามเช่นใด
ก็เป็นเพียงการอธิบาย
และให้ข้อเสนอแนะ
สำหรับการปฏิบัติ
และท่าทีต่อธรรมะ
เท่านี้ปัญญาในขณะนั้น
จะสืบค้นศึกษาได้.

แต่ท้ายที่สุดแล้ว
ก็เป็นเรื่องของมนุษย์นี้แหล่ะ
ว่าจะเอายังไงกับธรรมะนั้นๆ.

อิสรภาพในการเลือกเหล่านั้น 
เป็นของมนุษย์เอง
เช่นกับผลของการเลือก
ที่จะเกิดขึ้นกับเขาเองเช่นกัน
ฯลฯ.
ที่มา
‘บันทึกยามใจอรุณ’
☘️พระมหาพงศธร ธมฺมภาณี


ธ ร ร ม ช า ติ เ ดิ ม


🔘 ธ ร ร ม ช า ติ เ ดิ ม 🔘
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรง
เปล่งวาจาว่า "แปลกจริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมด
ทุกคน ต่างกันแต่เพียงมีผู้รู้กับไม่รู้เท่ากัน..."

เซนพูดถึงเรื่องนี้ในทำนองเดียวกัน หรือบางทีอาจจะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้เหมือนกัน นั่นคือมนุษย์เราทุกคนล้วนมีธรรมชาติแห่งพุทธะ (Buddha-nature) ในตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น มันคือพื้นฐานดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคนก่อนที่จะถูกเปลือกแห่งอวิชชาครอบงำ ธรรมชาติแห่งพุทธะเป็นศัพท์สำคัญยิ่งในทางเซน ภาษาจีนเรียก 佛性 (ฝูซิ่ง) ภาษาสันสกฤตเรียก พุทธธาตุ 
ก็คือธาตุแห่งพุทธ.

นี่คือความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคน
มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ 
ขอเพียงปลดปล่อยตัวเองออกจากเปลือกแห่งอวิชชาที่เกาะไว้อย่างแน่นหนา ใครๆ ก็มีสิทธิ์ 'ตื่น' ได้ ข้อแตกต่างอยู่ที่เราจะหา 'นาฬิกาปลุก' ในตัวพบหรือไม่ การรู้แจ้งเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อไปถูกที่ ถูกจังหวะเวลา และในเมื่อพุทธภาวะอยู่กับเราแล้ว การแสวงหามันก็คือการสูญเสียมัน!

พุทธทาสภิกขุอธิบายหลักการของการบรรลุธรรมของเซน
ไว้อย่างง่ายๆ ว่า ก็คือ "เข้าถึง
ตัวธรรมชาติตามธรรมชาติเดิม
ของมันเท่านั้น แล้วเรื่องก็จบกัน โดยที่จิตชนิดนั้นจะหยุด จะว่าง จะสงบ จะไม่มีทุกข์ จะอะไรอื่นๆ ทุกอย่างตามธรรมชาติเดิม
ของมัน."

การรู้แจ้งในทางเซนจึงเป็น 
'การรื้อแล้วพบ' มากกว่า 
'การแสวงหาแล้วพบ' เพราะมันอยู่กับเรามาตลอดเวลา ปัญหาคือเราจะเห็นมันหรือไม่.

เห็นเมื่อไร ก็ตื่นเมื่อนั้น.

แต่การเห็นมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมนุษย์เราชอบปกปิดครอบมันด้วยอวิชชา แต่ในทางเซนไม่ใช่เรื่องยากเกินเอื้อม บ่อยครั้งเป็นเช่นเส้นผมบังภูเขา ละวางเส้นผมได้เมื่อไร ก็บรรลุซาโตริในฉับพลันทันใด ยกตัวอย่าง เช่น นางชีจิโนโยะเรียนเซนมานานปี ก็ยังไม่สามารถเข้าใจความหมายของเซน แต่ในคืนหนึ่งที่จันทร์สว่างกลางฟ้า นางตักน้ำใส่ถังไม้ไผ่ เห็นจันทร์บนผิวน้ำในถัง ยามนั้นไม้ไผ่หัก ฐานล่างของถังหลุดออก พลันนางชีก็บรรลุซาโตริ เช่นเดียวกับพระผานซานเป่าจีรู้แจ้งกลางตลาดขณะได้ยินคนขายเนื้อคุยกับลูกค้าคนหนึ่ง เป็นต้น.

เซนเห็นว่าธรรมชาติแห่งพุทธะ
ก็คือธรรมชาติของจิต จุดหมายของเซนคือการค้นพบธรรมชาติแห่งพุทธะผ่านการทำสมาธิ 
(ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูป
ของการนั่ง) และการรับรู้จากประสบการณ์ของแต่ละวัน สิ่งนี้ช่วยเปลี่ยนมุมมองและความรู้
ในตัวตน นำไปสู่การรู้แจ้ง.

เมื่อตื่นก็เป็นอิสระ นี่ก็คือ
พุทธภาวะ คือสภาวะแห่งการตื่น คือการเข้าใจความว่าง.

• จาก ‘มังกรเซน’ ฉบับปรับปรุง หนังสือเซนที่ต้องค่อยๆละเลียด ตอนนี้มีโปรโมชั่นพิเศษ + 
ของแถม limited edition Zen Book สั่งได้ที่เว็บ winbookclub.com หรือ Shopee (ค้นคำ namol113)

การเดินทางแสวงบุญของพระถังซัมจั๋ง


การเดินทางแสวงบุญ
ของพระถังซัมจั๋ง
บนเส้นทางอันตรายรอบด้าน ก่อนถึงดินแดนพุทธภูมิ
การเดินทางไปเยือนดินแดน
พุทธภูมิในอินเดียของ
พระถังซัมจั๋ง เกิดจากพลังดึงดูดของสิ่งที่เรียกว่า ‘การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรม’ 
(cultural mobility) เมื่อพ้นจาก Jade Gate ของเส้นทางสายไหม ที่เรียกชื่อตามเส้นทางค้าหยก
ในเวลานั้น. 

พระถังซัมจั๋งรู้ทันทีถึงอันตรายรอบด้าน เพราะเข้าสู่ดินแดน
ที่เคยเป็นสนามรบของชนเผ่าต่างๆของพวกเติร์ก อาจถูกดึงไปเป็นพวก หรือถูกปล้นโจมตี เวลา 16 ปีต่อมา เมื่อพระถังซัมจั๋งเดินทางกลับจีน ดินแดนส่วนนี้กลายเป็นของจีนไปแล้ว ปัจจุบันเรียกว่า ‘ซินเกียง’.

พระถังซัมจั๋งรู้ดีถึงอันตรายต่างๆ เพราะฐานะการเป็นชาวพุทธ 
เป็นคนที่ลักลอบออกนอกประเทศ เป็นคณะเดินทางเดี่ยว ชาวพุทธอาจถูกประหัดประหาร แต่ในที่สุด พระถังซัมจั๋งก็สามารถ
เดินทางผ่านดินแดนที่มีการสู้รบเหล่านี้อย่างปลอดภัย.

ส่วนหนึ่งมาจากความช่วยเหลือของชุมชนชาวพุทธตามเส้นทาง ที่ผุดขึ้นมาตามแหล่งน้ำโอเอซิส และเมืองต่างๆ อีกส่วนหนึ่งจากความช่วยเหลือของผู้ปกครองดินแดนต่างๆ ที่สนับสนุนวัตถุปัจจัย และเขียนจดหมายแนะนำต่อ
ผู้ปกครองอีกดินแดนหนึ่ง.

สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดคือ 
พวกโจรดักปล้นตามเส้นทาง highway robber เพราะเห็น
เป็นเหยื่อที่ง่าย อันตรายที่สุด
อีกอย่างคือภูมิประเทศ ที่ยากลำบาก พระถังซัมจั๋งเกือบมรณภาพในทะเลทราย แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากคณะเดินทางอื่น ต่อมาพระถังซัมจั๋งเขียนไว้ว่า "เราเข้าไปยังทะเลทราย
ที่มองไม่เห็นขอบ ที่ไม่มีน้ำหรือต้นไม้ รู้เส้นทางข้างหน้า โดยอาศัยภูเขาที่มองเห็นอยู่ข้างหน้าเท่านั้น."

เมื่อเข้าใกล้อินเดีย เห็นสัญลักษณ์พุทธศาสนาคือพระพุทธรูป ในเทือกเขาบิมายัน ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน 
พระถังซัมจั๋งตกตะลึงถึงพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่แกะสลักจากหน้าผา ที่ตกแต่งด้วยสีสรรค์ต่างๆ สะท้อนความสำคัญของพุทธศานาในท้องถิ่นนี้ สิ่งที่
พระถังซัมจั๋งประทับใจในพุทธรูป ไม่เพียงขนาดที่ใหญ่โต แต่คือการที่ตัวเองเดินทางใกล้ถึง
ดินแดนพุทธภูมิแล้ว.

หลังจากเดินทางผ่านดินแดน
ที่ปัจจุบันคือปากีสถาน ในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรของพระเจ้าอโศก ที่ได้สร้างพระพุทธรูปหลายหมื่นรูปในอาณาจักพระองค์ ในที่สุด 
พระถังซัมจั๋งก็เดินทางมาถึง
ดินแดนพุทธภูมิ.

☘️ Pridi Boonsue 

แม้จะเป็นคำจริง ก็มิใช่ว่าจะควรพูดเสมอไป


แม้จะเป็นคำจริง 
ก็มิใช่ว่าจะควรพูดเสมอไป 
บัณฑิตจะพูดวาจาใด 
แม้รู้ว่าจริง 
ก็ยังต้องพิจารณาถึง
ความเป็นธรรม 
คือความสมควร 
และพิจารณาถึง
ประโยชน์ตน 
ประโยชน์ผู้อื่นเสียก่อน 
เมื่อเห็นว่าสมควร
และเป็นประโยชน์แล้ว จึงพูด 
แม้จะเป็นวาจาจริง 
แต่เมื่อพูดไป
แล้วเป็นโทษแก่ผู้อื่น 
เช่น ทำให้เขาทะเลาะกัน 
หรือทำให้ครอบครัวเขาแตกร้าว
ก็เว้นคำพูดเช่นนั้นเสีย.

• ‘ธรรมะเพื่อครองใจคน’
☘️ อาจารย์วศิน อินทสระ
#เพจอาจารย์วศิน อินทสระ

10 ธันวาคม 2566

#หน้าตาเงินถุงแดงที่ช่วยสยามจากฝรั่งเศษไว้

#หน้าตาเงินถุงแดงที่ช่วยสยามจากฝรั่งเศษไว้ 
- ภาวะเงินเฟ้อในยุคที่ยอมรับเงินเหรียญสเปน –
ยุคแห่งการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ปริมาณการผลิตโลหะเงินของโลกเพิ่มขึ้นจากยุคก่อนหน้าหลายเท่าตัว เมื่อชาวสเปนนำแร่เงินที่ผลิตได้ปริมาณมหาศาลจากภูเขาในทวีปอเมริกาใต้ มาผลิตเหรียญที่โรงกษาปณ์ในเม็กซิโกและเปรู ก่อนจะขนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อใช้ซื้อสินค้าในยุโรป อีกส่วนหนึ่งก็ขนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกจากเม็กซิโกมายังมะนิลา ก่อนจะกระจายไปตามเมืองท่าของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงอยุธยา ทำให้เหรียญเงินของสเปนจำนวนมากเข้ามาหมุนเวียนในระบบการเงินและระบบการค้าของโลกที่เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกันผ่านการอิงมูลค่าของโลหะเงิน อุปทานแร่เงินที่เพิ่มขึ้นปริมาณมหาศาลอย่างฉับพลัน เมื่อรวมกับแร่เงินจากเหมืองของญี่ปุ่น ส่งผลให้มูลค่าของเงินตราสกุลอื่นของโลกถดถอย สินค้าทั่วโลกมีราคาสูงขึ้นมาก เหตุการณ์เงินเฟ้อครั้งยิ่งใหญ่นี้เรียกว่า การปฏิวัติราคา เกิดขึ้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ นับเป็นเหตุการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบระดับโลกอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
.
นอกจากนั้น แร่เงินจากทวีปอเมริกาใต้และญี่ปุ่นยังช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวทางการค้าของเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่เหรียญเงินสเปน โดยเฉพาะเหรียญเงินที่ผลิตขึ้นในเม็กซิโก ได้รับการยอมรับให้เป็นเงินตรากลางสำหรับใช้ซื้อหาสินค้าได้ทั่วภูมิภาค ทั้งยังเป็นเงินตราสกุลหลักซึ่งเงินตราสกุลอื่น ๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิกใช้เทียบค่าเพื่อกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน กล่าวได้ว่า เงินเหรียญสเปนจากเม็กซิโกที่มีหน่วยเป็น เรียล เคยมีบทบาทราวกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน และยังเป็นที่มาของคำว่า “เหรียญ” ซึ่งใช้เรียกโลหะที่มีลักษณะกลมแบนในปัจจุบัน
.
ชมเหรียญเม็กซิโกได้ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. โดยไม่ต้องจองล่วงหน้านะคะ (กรณีต้องการผู้นำชม มี ๓ รอบ ได้แก่ ๑๐.๓๐ น., ๑๓.๓๐ น. และ ๑๕.๐๐ น.)

#อ้างอิง : พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
__________________________
#atBOTMUSEUM #BOTMUSEUM #พิพิธภัณฑ์เงินตรา #พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย #ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย #ศูนย์การเรียนรู้แบงก์ชาติ #BOTLC

ผอบบรรจุอัฐิของพระมัชฌิมะ

ผอบบรรจุอัฐิของพระมัชฌิมะ
ผอบชิ้นนี้ขุดพบในสถูปหมายเลข 2 ที่เมืองโสนาริ ห่างจากเมืองสาญจี ประเทศอินเดีย ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 6 ไมล์ในปี ค.ศ. 1851 โดย อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม (Alexander Cunningham) และ เอฟ. ซี. ไมเซย์ (F.C. Maisey) ผอบนี้ทำจากหินสเตทไทต์กลึงจนกลมเป็นสองส่วนบนฐานรองทรงกลมที่อยู่เหนือเกลียวสี่ชั้น บางทีอาจหมายถึงฉัตร 

ภายในพบว่ามีกระดูกที่เผาแล้วหนึ่งชิ้น มีลักษณะเป็นกระดูกที่เผาจนขาวนวล ส่วนบนของผอบสลักด้วยอักขระพราหมีภาษาปรากฤตความว่า "สปุริสสะ มัฌิมาสะ โกทินิปุตสะ"

"สปุริสะ" คือ สัปบุรุษ หมายถึง คนดี คนสงบ คนที่พร้อมมูลด้วยธรรม หรือแปลว่าผู้หลุดพ้น (emancipated) ส่วนชื่อ "มัฌิมาสะ โกทินิปุตสะ" คือพระมัชฌิมะ เป็นลูก (ปุตสะ) อยู่ในตระกูลโกทินิ (คาดว่าเป็นชื่อภาษาปรากฤตของคำว่า "โกณฑัญญะ") ซึ่งอาจหมายความว่าท่านเป็นลูกของคนชื่อโกณฑัญญะก็ได้ หรืออาจเป็นธรรมทายาทในสายของพระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้เหมือนกัน

ในมหาวงศ์พงศาวดารลังกาบันทึกว่า ท่านคือพระธรรมทูตที่เดินทางไปประกาศพระศาสนาที่ภาคกลางของหิมาลัยพร้อมกับพระสงฆ์อีก 4 รูป หลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนา) ในปีที่ 18 ของรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 273-232) 

ดังนั้น นี่คือหลักฐานสำคัญของพระเถระที่ช่วยเผยแผ่พุทธศาสนาครั้งใหญ่ในยุคสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช จนทุกวันนี้ พุทธศาสนาก็ยังรุ่งเรืองอยู่ในแถบหิมาลัย คือ ตอนเหนือของอินเดีย เนปาล ทิเบต และภูฏาน 

ปัจจุบัน ผอบนี้อยู่ที่ Victoria and Albert Museum กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

08 ธันวาคม 2566

"พระครูญาณวิลาศ" (แดง รตฺโต)

"พระครูญาณวิลาศ" (แดง รตฺโต)
"..เมื่อฉันหมดลมหายใจแล้วอย่าเผา ให้เก็บร่างฉันไว้ที่หอสวดมนต์ และให้เอาเหรียญที่ปลุกเสกรุ่น ๑ ใส่ปากไว้ พร้อมเงินพดด้วง ๑ ก้อน ส่วนนี้ฉันเอาไปได้ และให้เอาขมิ้นมาทาตัวฉันให้เหลืองเหมือนทองคำ.."
หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ 
สุดยอดพระเกจิอาจารย์ มหาเถระ ของเมืองเพชรบุรีอีกหนึ่งรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก โดยท่านเป็นศิษย์ที่สืบทอดวิทยาคมมาจาก "หลวงพ่อฉุย" (แห่งวัดคงคาราม)

**คนฉลาดเขาเอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐานหมด**

**สมเด็จองค์ปฐม** ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้

**คนฉลาดเขาเอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐานหมด** **อย่างเจ้าทำงานซ่อมแซมบูรณะวิหารอยู่ก็พึงคิดว่า ที่เราต้องมาทำงานอยู่นี่ เพราะของเก่าที่คนในอดีตทำเอาไว้ดีแล้วมันพังลงตามกฎของธรรมดา** **งานที่เราทำก็เหมือนกัน ไม่ช้ามันก็ก้าวไปสู่ความเสื่อมและพังไปตามกฎธรรมดาเหมือนกัน นี่คือสัจธรรม ธรรมของโลกเป็นอย่างนี้ แม้แต่ร่างกายของเราก็เป็นอย่างนี้**

**เราจักหลงเกาะสังโยชน์อยู่เพื่อประโยชน์อันใด** **พอใจหรือไม่พอใจในตัวบุคคล หรือไม่ช้าไม่นานร่างกายต่างคนต่างก็พังไป การยึดถือกายเขากายเราก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดได้ นี่เป็น สักกายทิฎฐิ ทั้งนั้นพิจารณาให้ดีๆ เถิด อุปมาอุปไมยเข้าไว้ให้จิตยอมรับสภาพความเป็นจริง อันเป็นกฎธรรมดาเสียให้ได้แล้ว จิตของเจ้าจักมีความสุข เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย**

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กรกฎาคมตอน ๑

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

#สมเด็จองค์ปฐม4** **#ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น4

เรื่อง เหรียญเงินลายธรรมจักรและจารึก

องค์ความรู้: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เรื่อง เหรียญเงินลายธรรมจักรและจารึก
เหรียญเงินลายธรรมจักรและจารึก
สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒
พบที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม จ่าสิบเอกอำนวย ดีไชย ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด
ให้เมื่อ ๒๙ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๕๑๓
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เหรียญเงินแผ่นกลม มีลายทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งเป็นลายธรรมจักร อีกด้านหนึ่งมีข้อความอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ความว่า “ศฺรีสุจริต วิกฺรานฺต” แปลว่า “วีรบุรุษผู้สุจริต”
 
จักร สื่อถึง “กงล้อ” (wheel) ที่หมุนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ดังกงล้อรถศึกของพระเจ้าจักรพรรรดิกล่าวคือ กษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพซึ่งทำสงครามขยายอำนาจเหนือกษัตริย์ดินแดนอื่น และตามคติของผู้มีสถานะเป็นจักรพรรดิจะต้องครอบครอง “จักรรัตนะ” หรือจักรแก้ว ๑ ใน แก้ว ๗ สิ่งของพระจักรพรรดิ ดังนั้นทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์จึงปรากฏรูปจักรกับบุคคลที่แสดงถึงอำนาจหรือผู้เป็นใหญ่ กรณีศาสนาพราหมณ์มีตัวอย่างชัดเจนคือ พระวิษณุทรงจักรเป็นอาวุธ ส่วนในพุทธศาสนาคือ ธรรมจักร หรือ กงล้อแห่งพระธรรม โดยพระพุทธเจ้าทรงมีฐานะเป็นธรรมจักรพรรดิ หรือ ผู้ที่หมุนกงล้อแห่งธรรม ด้วยการประกาศเผยแผ่หลักธรรม โดยหลักธรรมแรกของพระองค์คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในงานศิลปกรรมการสร้างรูปธรรมจักรจึงมักจะพบอยู่คู่กับรูปกวางหมอบ เพื่อแสดงว่าคือสวนกวางสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
 
ปัจจุบันเหตุการณ์พุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา หรือแสดงพระธรรมครั้งแรกนั้นตรงกับวัน “อาสาฬหบูชา” (วันเพ็ญเดือน ๘) เนื้อหาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ในครั้งนั้นกล่าวถึง การดำรงตนในทางสายกลาง หรือ “มัชฌิมาปฏิปทา” ประกอบด้วยอริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการงานชอบ)สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรพยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ)และสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตชอบ) การปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวนี้เป็นทางสายกลางเพื่อไปสู่การตรัสรู้และนิพพาน“...ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้นที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ...”
 
จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่ ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สมุหทัย (สาเหตุแห่งการเกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) มรรค (หลักปฏิบัติการดับทุกข์) การแสดงธรรมครั้งนี้โกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้ฟังก็เกิดบรรลุทางธรรม“...ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่าท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่าอัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้ฯ...”
 
กล่าวคือภายหลังจากโกณฑัญญะได้ฟังพระธรรมครั้งนี้ จึงทูลขอบรรพชาเป็นพระสาวก ถือว่าเป็นวันที่พระสาวกรูปแรกบังเกิดขึ้น และพุทธศาสนามีองค์ประกอบครบสามประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ที่รู้จักกันในนาม “พระรัตนตรัย”
 
ในวัฒนธรรมทวารวดี “ธรรมจักร” เป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา สื่อถึงการเผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้รูปธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดียังปรากฏใน พระพิมพ์ รอยพระพุทธบาท* และเหรียญเงิน อีกด้วย

*ตัวอย่างเช่น รอยพระพุทธบาทคู่ ที่โบราณสถานสระมรกตอำเภอศรีมโหสถจังหวัดปราจีนบุรี

อ้างอิง
พุทธมงคล (นางแฝง). สารัตถสมุจจัย อธิบายธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์, ๒๕๒๗.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน). จารึกในประเทศไทย (จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประ โทนเจดีย์ 1).[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖,จาก:https://db.sac.or.th/inscriptions
 /inscribe/detail/695

บทความโดย นาย พนมกร นวเสลา ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

05 ธันวาคม 2566

“เหตุที่พุทธสูญสิ้นที่อินเดีย"

อินเดียเจอมาแล้ว...ไทยอย่าเป็นรายต่อไป!! ป.อ. ปยุตโต ชี้ชัด "ใครทำให้พุทธอินเดียถึงกาลอวสาน?" ... พุทธไทยรู้แล้วอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย!!

มูลเหตุแห่งการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียนั้นมีหลากหลายความเห็นจากปราชญ์และนักวิชาการ ซึ่งล้วนแต่มีเหตุผลและความเป็นไปได้ทั้งสิ้น  โดยเฉพาะปราชญ์ทางด้านพุทธศาสนาอย่างสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) นั้น ท่านได้กล่าวถึงสาเหตุที่สำคัญไว้หลายอย่าง โดยมีการสรุปไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

๑. ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน

          เหตุอันแรกที่เห็นได้คือ ชาวพุทธเราใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย  นี่เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาสูญสิ้นไป  เพราะว่าเมื่อพุทธศาสนาเกิดขึ้นนั้นก็สอนเพียงแต่หลักธรรมเป็นกลางให้คนประพฤติดี ทำความดี  จะนับถือหรือไม่นับถือก็ไม่ได้ว่าอะไร  ถ้าเป็นคนดีแล้วก็ไปสู่คติที่ดีหมด  ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวพุทธจึงจะไปสวรรค์ได้  หรือว่าชาวพุทธที่มานับถือแล้วทำตัวไม่ดีก็ไปนรกเหมือนกัน

          เมื่อชาวพุทธได้เป็นใหญ่ เช่นอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชครองแผ่นดิน ก็อุปถัมภ์ทุกศาสนาเหมือนกันหมด  แต่ผู้ที่ได้รับอุปถัมภ์เขาไม่ได้ใจกว้างตามด้วย  เพราะฉะนั้นพวกอำมาตย์พราหมณ์ของราชวงศ์อโศกเองก็เป็นผู้กำจัดราชวงศ์อโศก  จะเห็นว่าอำมาตย์ที่ชื่อปุษยมิตรก็ได้ปลงพระชนม์พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นหลานของพระเจ้าอโศก แล้วตั้งราชวงศ์ใหม่ที่กำจัดชาวพุทธ แต่ก็กำจัดได้ไม่เสร็จสิ้น มีมาเรื่อย  จนกระทั่งถึงพระเจ้าหรรษวรรธนะครองราชย์ อำมาตย์ฮินดูก็กำจัดพระองค์เสียอีก  ก็เป็นมาอย่างนี้ จนในที่สุด มุสลิมก็เข้ามาบุกกำจัดเรียบไปเลยเมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐

          ในด้านหนึ่ง ความใจกว้างของชาวพุทธนั้นบางทีก็กว้างเลยเถิดไปจนกลายเป็นลืมหลักหรือใจกว้างอย่างไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้  กว้างไปกว้างมาเลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขาจนศาสนาของตัวเองหายไปเลย  ที่หายไปให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดู  ตอนที่มุสลิมยังไม่เข้ามา ศาสนาพุทธเราก็อ่อนมากแล้ว เพราะไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดูมาก ปล่อยให้ความเชื่อของฮินดูเข้ามาปะปน

๒. คลาดหลักกรรม คลำไปหาฤทธิ์

          ในทางพุทธศาสนานั้นจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งในบรรดาปาฏิหาริย์สาม  แต่ต้องยืนยันหลักไว้เสมอว่า ปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุดคือ "อนุศาสนีปาฏิหาริย์" ปาฏิหาริย์ที่เป็นหลักคำสอน  ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ที่เป็นการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ  ในทางพุทธศาสนาให้ถือการกระทำของเราเป็นหลัก  ส่วนฤทธิ์หรือเทพเจ้านั้นจะมาเป็นตัวประกอบหรือช่วยเสริมการกระทำของเรา  จะต้องเอาการกระทำของตัวเองเป็นหลักเสียก่อน  ถ้าหากว่าเราไม่เอาการกระทำหรือกรรมเป็นหลัก เราก็จะไปหวังพึ่งการดลบันดาลของเทพเจ้า หวังพึ่งฤทธิ์ของผู้อื่นมาทำให้ ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ความเสื่อมไป

          จุดที่เสื่อมก็คือตอนที่ชาวพุทธลืมหลักกรรม ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก ไปหวังพึ่งเทพเจ้า ไปหวังพึ่งฤทธิ์พึ่งปาฏิหาริย์  ตราบใดที่เรายืนหลักได้ คือเอากรรมหรือเอาการกระทำเป็นหลัก แล้วถ้าจะไปนับถือฤทธิ์ปาฏิหาริย์บ้าง ฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้นก็มาประกอบเสริมการกระทำ ก็ยังพอยอม  แต่ถ้าใครใจแข็งพอก็ไม่ต้องพึ่งฤทธิ์ ไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์อะไรทั้งสิ้น เพราะพุทธศาสนานั้น ถ้าเราเอากรรมหรือการกระทำเป็นหลักแล้วก็จะยืนหยัดอยู่ได้เสมอ

๓. เฉยไม่ใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น

          พอมีภัยหรือเรื่องกระทบกระเทือนส่วนรวม ชาวพุทธไม่น้อยมีลักษณะที่วางเฉย ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไป  เห็นว่าใครไม่เอาเรื่องเอาราว มีอะไรเกิดขึ้นก็เฉย ๆ ไม่เอาเรื่อง กลายเป็นดี ไม่มีกิเลส เห็นอย่างนี้ไปก็มี  ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็แสดงว่ามีกิเลส  อันนี้อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว และจะกลายเป็นเหยื่อเขา  ในทางพุทธศาสนานั้น ผู้ไม่มีกิเลสท่านยุ่งกับเรื่องที่กระทบกระเทือนกิจการส่วนรวม  แต่การยุ่งของท่านมีลักษณะที่ไม่เป็นไปด้วยกิเลส คือทำด้วยใจที่บริสุทธิ์  ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำเป็นคติไว้แล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล

          กิจการส่วนรวมเป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันพิจารณาเอาใจใส่ นี้เป็นคติทางพุทธศาสนา  แต่ในบางยุคบางสมัยเราไปถือว่า การไม่เอาธุระ จะมีเรื่องราวกระทบกระเทือน มีภัยเกิดขึ้นกับส่วนรวม ก็ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรต่าง ๆ แล้วเป็นว่าไม่มีกิเลสไปก็มี  อย่างนี้เป็นทางหนึ่งของความเสื่อมในพุทธศาสนา  คติที่ถูกต้องนั้นสอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า พระอรหันต์หรือท่านผู้หมดกิเลสนั้นเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตัวเองแล้ว จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่

๔. โจรเข้ามาปล้นศาสน์ เลยยกวัดให้แก่โจร

          อีกอย่างหนึ่งคือการฝากศาสนาไว้กับพระ  ชาวพุทธเป็นจำนวนมากทีเดียวชอบฝากศาสนาไว้กับพระอย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัทสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา  ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน

          ทีนี้พวกเรามักจะมองว่าพระศาสนาเป็นเรื่องของพระ  บางทีเมื่อมีพระประพฤติไม่ดี ชาวบ้านบางคนบอกว่าไม่อยากนับถือพุทธศาสนาแล้ว อย่างนี้ก็มี  แทนที่จะเห็นว่าพุทธศาสนาเป็นของเรา  พระองค์นี้ประพฤติไม่ดี เราต้องช่วยกันแก้ ต้องเอาออกไป แทนที่จะคิดอย่างนั้นกลับกลายเป็นว่าเรายกศาสนาให้พระองค์นั้น  เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา แทนที่จะรักษาสมบัติของเรากลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย  พระองค์ที่ไม่ดีก็เลยดีใจ กลายเป็นเจ้าของศาสนา  เรายกให้แล้ว บอกไม่เอาแล้วศาสนานี้  เป็นอย่างนี้ก็มี  นี่เป็นทัศนคติที่ผิด  ชาวพุทธเราทั่วไปไม่น้อยมีความคิดแบบนี้ ทำเหมือนกับว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระ เราก็ไม่ต้องรู้ด้วย

          สาเหตุที่พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดียนั้นอาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง  แต่ปัจจัยสำคัญก็คือสาเหตุทั้งสี่อย่างตามที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้วิเคราะห์เอาไว้นี้

          สำคัญกว่านั้น ประเทศที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของโลกในเวลานี้อย่างประเทศไทยสมควรอย่างยิ่งที่จะตระหนักและทบทวนตนเองอยู่เสมอตามที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้ตรัสเตือนไว้ เพื่อมิให้ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกับอินเดียที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนที่ให้กำเนิดพุทธศาสนา!!

ธรรมบรรยาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

04 ธันวาคม 2566

หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มรณภาพแล้วท่านไปพระนิพพาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ



 หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มรณภาพแล้วท่านไปพระนิพพาน 
 
 
 “..ขึ้นไปพระจุฬามณีเจดียสถาน บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก พอจะเข้าประตูก็พบพระอรหันต์องค์หนึ่งออกมา ท่านคือ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ถามท่านว่า “หลวงพ่ออยู่ที่ไหนครับ”ท่านบอกว่า “แกเสือกบอกเขาแล้วว่า ข้าไปอยู่นิพพาน แกมาถามข้าทำไม” ถามต่อว่า “หลวงพ่อไปหรือเปล่า ถ้าไม่ไปผมโกหกเขานะ”
 
 ท่านตอบว่า “ไม่โกหกหรอก ข้าไปนิพพานแน่” เรื่องที่เขาพูดหาว่าข้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ที่ตั้งฐานกำหนดลมไว้ ๗ ฐาน เกินพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านกำหนดไว้ ๓ ฐาน เขาเลยหาว่าข้าแข่งบารมีกับพระพุทธเจ้า แต่ความจริงเจตนาข้ามันเป็นอย่างนี้ ไอ้คนจิตฟุ้งซ่าน ถ้าจะมีอารมณ์จิตเป็นสมาธิจะต้องจับหลายๆ แห่ง เพราะต้องระวังมากอารมณ์ถึงจะทรงอยู่ นี่เขาไม่สนใจกัน มีแกคนเดียวที่เข้าใจดี และกายเทพ กายพรหม กายธรรม กายนิพพานก็เหมือนกัน ก็มีแกคนเดียวที่เข้าใจข้า นอกนั้นเขาหาว่าข้าบ้า เอาเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนมาสอน”
 
** กายทิพย์ หมายความว่า ได้อุปจารฌานเล็กน้อย จัดเป็นกายทิพย์
 กายเทพ ก็เข้าถึงจุดอุปจารฌาน จะเกิดเป็นเทวดาชั้นยามาได้เหมือนกัน ถ้าพูดถึงกายภายในเหมือนกันหมด
 กายพรหม ก็เป็นที่ทรงฌานได้ครบองค์ฌาน พอตายแล้วไปเป็นพรหม ก็เลยเรียกว่ากายพรหม
 กายธรรม ก็หมายถึงว่า ได้อริยเจ้า
 กายนิพพาน ก็หมายถึงว่า คนนั้นได้อรหันต์แล้ว**
 
 ท่านบอกว่า “**มีแกคนเดียวที่พอพูดให้ชาวบ้านเขาฟัง มันตรงตามความประสงค์ของข้า**นอกนั้นเขาหาว่าข้าบ้าๆ บอๆ บางคนหาว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม ข้าก็ไม่ว่าอะไรเขาหรอก”หลังจากนั้นอาตมาก็ลาท่านเข้าไปในพระจุฬามณี วันนี้พระอรหันต์เต็มเอี๊ยด พรหมออกมาหมดแล้ว เทวดาก็ยังไม่กลับ พระอรหันต์เหมือนเอาดาวไปวางไว้สวยสะพรั่ง ร่างกายเป็นเหมือนแก้ว พระอรหันต์นิพพานแล้วบ้าง พระอรหันต์คนบ้าง ก็สวยเหมือนกัน พระพุทธเจ้าทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีต่างๆ สวยมาก..”

ข้อมูลจากหนังสือ ตายแล้วไปไหน_หลวงพ่อฤาษี

#ตายแล้วไปไหน_หลวงพ่อฤาษี2

#รวมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์14 #หลวงพ่อฤาษี7

🙏#การปฏิบัติมุ่งสมาธิอย่างเดียว ทำไป 100 #ปีก็ไม่ได้ผล

🌟ผู้ถาม: หลวงพ่อขอรับ ผมทำสมาธิทุกวัน 
วันละ หนึ่ง ชั่วโมง มาเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้วครับ 
มันไม่ไปเหนือไปไม่ไปใต้เลย 
ขอบารมีหลวงพ่อ ช่วยแก้ไขหน่อยเถิดขอรับ?

🙏หลวงพ่อ: #สมาธินี่ถ้าทำเฉย ๆ ก็ไม่ไปไหนนะ 

มันก็อยู่แค่ ฌาน ถึงฌานหรือเปล่าก็ไม่รู้ 

น่ากลัวจะไม่ถึงฌาน 

น่ากลัว #ตะเกียกตะกายอยู่ข้างฌาน

มันขึ้นฌานไม่ไหว 

แต่ความจริงถ้าเรื่องสมาธิจริง ๆ นะ 

ถ้าหากว่าได้จริง ๆ #ก็อยู่แค่ฌาน ๔ 

ฌาน ๔ #แล้วก็ไม่ไปไหนละ 

🌟ทีนี้ผลการปฏิบัติจริง ๆ 
#เขาไม่ได้มุ่งสมาธิ 

ต้องหวังตัด สังโยชน์ 

#ต้องดูอารมณ์ใจตัวตัด #ไม่ใช่ดูสมาธิ 

🌟อันดับแรก ความโลภ 
อยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นมีในเราหรือเปล่า
#เบาลงไปไหม 

🌟ประการที่ ๒ ความโกรธ #เบาไหม 

🌟ประการที่ ๓ ความหลง #เบาลงไหม 
สิ่งที่มีความสำคัญคือ

1. ลืมความตายหรือเปล่า
2. เคารพพระไตรสรณคมน์จริงจังไหม
3. มีศีล ๕ บริสุทธิ์ไหม
4. หวังพระนิพพานจริงจังหรือเปล่า?

เขาดูตรงนี้นะ 

มุ่งเอาสมาธิกลุ้มใจตาย #มันไม่มีการทรงตัว
เวลาใดร่างกายดีไม่มีอารมณ์กลุ้ม 
สมาธิก็ทรงตัวใช่ไหม
ร่างกายอ่อนเพลียหน่อย

สมาธิก็ทรุดตัว #เอาแต่สมาธิไปไม่รอด

จุดหมายเขาคือ #ตัดสังโยชน์

🌟ผู้ถาม: ทีนี้ถ้าหากว่าไม่ได้อะไรเลย 
แต่ถ้าตั้งใจว่าตายเมื่อไหร่ไปนิพพานเมื่อนั้น
พอจะไปได้ไหมครับ?

🙏หลวงพ่อ: พอเห็นทาง #แต่ไม่เข้าทาง

🌟ผู้ถาม: ๒๐ ปีแล้วนะครับ

🙏หลวงพ่อ ๑๐๐ ปีก็ไม่ได้ ถ้าเข้าทางจริงต้องคิดว่า

๑.ชีวิตนี้จะต้องตาย #ตัวสักกายทิฏฐินะ

๒.วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์

๓.มีศีล ๕ บริสุทธิ์

๔.#มีจิตมุ่งเฉพาะพระนิพพาน อันนี้ถึงจะได้ 
#อันนี้ถึงจะเข้าทางหรือเข้าเขตเลย

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

#ทำจิตก่อนตายไปนิพพาน

🙏ขอน้อมกราบบูชาคุณพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งของลูกตลอดชีวิต กราบบูชาพระธรรมคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง และน้อมกราบบูชาพระคุณ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทุก ๆ พระองค์ ด้วยความเคารพยิ่ง

  ⚜️ #ทำจิตก่อนตายไปนิพพาน⚜️
👸ผู้ถาม : "#หลวงพ่อเจ้าขาคนที่จะสงบจิตก่อนตายทำใจแบบไหนไปนิพพานเจ้าคะ..?"

🙏หลวงพ่อ : "รู้แต่แบบไปอเวจี...ก่อนจะตายถ้าต้องการไปนิพพานนะ เขาทำแบบนี้ #ให้ตัดสักกายทิฎฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เพราะว่าร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันมีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด #เราไม่ขอยึดถือมั่นในร่างกายต่อไป #ถ้าหากร่างกายตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจแบบนี้นะ ตัวสุดท้ายนะ ตัวนี้นะ"

👸ผู้ถาม : "การจะไปนิพพานนี้ พระไปมากกว่าฆราวาสใช่ไหมคะ..?"

🙏หลวงพ่อ : "ฆราวาสไปมากกว่าพระ"

👸ผู้ถาม :   "ทำไมคะ..?"

🙏หลวงพ่อ : "เพราะฆราวาสมากกว่าพระ (หัวเราะ) อ้าว...ไปมากจริงๆนะ เวลานี้ไปตั้งเยอะแล้วนะ เพียงแค่ ๑๐ ปีกว่าๆนี่เยอะแล้วนะ ไม่ใช่น้อยนะ พระเสียอีก นิพพานล่างเสียบานเลย ไปดิ่งเลย"

👸ผู้ถาม : "สาเหตุเพราะอะไรคะ..?"

🙏หลวงพ่อ : "ประการที่ ๑ ที่ง่ายที่สุด เรื่องเงินที่ถวายเข้ามา นี่ง่ายมาก เงินที่เขาถวายเข้ามาเป็นส่วนกลาง เผลอไปใช้เป็นส่วนตัว นี่ไม่เว้นเลยสตางค์เดียว ลงอเวจี ประการที่ ๒ เงินที่เขาถวายเป็นส่วนตัว ใช้นอกรีตนอกรอย ที่ถวายหลวงพ่อโดยตรง หลวงพ่อใช้ได้แน่ ใช้ในฐานะหลวงพ่อ แต่ว่าใช้ในฐานะเจ้าสัวเมื่อไรก็เมื่อนั้นแหละ นอกทางพระใช่ไหม..นี่พระใช้เงินยาก ไม่ใช่ง่าย แต่ฉันใช้เงินง่าย เพราะอะไร..#เพราะใช้ในเรื่องของสงฆ์ ใช้อะไรก็ได้ #ทั้งหมดที่ใช้ไปเป็นเรื่องของสงฆ์ ถ้าเขาถวายเป็นการส่วนตัวโดยเฉพาะ อย่างจะไปอเมริกา มีสตางค์ไหม..เหลือเป็นค่าเครื่องบินเข้ากระเป๋าไป เข้ากระเป๋าสงฆ์ ถ้าเขาให้อย่างนั้นเอาไปใช้ได้ แต่ต้องไปในเรื่องประกอบโดยธรรม"

============================
📙ที่มาข้อธรรมคำสอนจากหนังสือ
📚หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๔ หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๒
🙏พระราชพรหมยาน
 (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี)

🖍️👸ผู้เขียนพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน โดย
 Apinya Wongthong 🙏
           

02 ธันวาคม 2566

หากจะสร้างรูปพระสงฆ์ให้คนได้กราบไหว้บูชา...

" หากจะสร้างรูปพระสงฆ์ให้คนได้กราบไหว้บูชาแล้ว ให้ทำรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังจะดีมาก เพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์โต นั้น มีลูกศิษย์ที่เป็นเทวดามากที่สุด 
คนที่กราบไหว้ขอพรจากสมเด็จพระพุฒาจารย์โตทั่วบ้านทั่วเมืองจำนวนไม่น้อย ที่ลูกศิษย์ซึ่งเป็นเทวดาของสมเด็จท่านได้จัดการแทนให้ อันจะเป็นกุศลและประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว "
.
--- คำกล่าวของพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...