14 ธันวาคม 2566

ธรรมะสากลของโลก


ภายใต้กฎแห่ง ‘ตถตา’
คือความเป็นเช่นนั้นเอง
สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
ล้วนมีอิสรภาพที่เต็มเปี่ยม
ในอันที่จะเลือก
วิถีแห่งการดำเนินชีวิต
ตามแนวทางนั้นๆ อยู่แล้ว.
ไม่ว่าจะเรียกมันว่า
เป็นศาสนาหรือลัทธิ
เป็นสำนักหรือกลุ่มนิยมวิธี
ใดๆ ก็ตาม.

แต่ผลของมันก็เป็นของเสมอกันตามธรรมชาติ
ที่กลุ่มนั้นๆจะได้รับ
ตามเหตุปัจจัย
ซึ่งมีความซับซ้อน
อีกด้วยหลายเหตุปัจจัย
สัมพันธ์กันอยู่ด้วย.

ธรรมชาติของความยุติธรรม
ก็มี
ธรรมชาติของความไม่ยุติธรรม
ก็มี
จนกระทั่งถึงธรรมชาติ
ของทุจริตกรรม
และธรรมชาติของสุจริตกรรม.

ก็ถือว่ามีได้เป็นได้
ตามสภาพปัจจัย
ที่ส่งให้มีให้เป็นแล้วปรากฏขึ้น
เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ’.

เราจะเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับธรรมชาตินั้นๆอย่างไร
ก็จะเป็นผู้รับผลจากเหตุ
แห่งความสัมพันธ์นั้นๆอย่างนั้น.

ท่าทีที่ปฏิบัติต่อธรรมชาติ
(กรรม)
ก็ส่งผลให้ผู้กระทำได้รับผล
(วิบาก)
ตามธรรมชาติทั้งฝ่ายดี
อันเป็นกุศลธรรม
และธรรมชาติฝ่ายเลว
อันเป็นอกุศลธรรม.

ธรรมะจึงเป็นของสากล
ที่ข้ามพ้นความเป็นศาสนา
หรือแนวคิดของกลุ่มชน
คนที่จะตีกรอบให้คำนิยาม
แก่ธรรมะ.

ไม่ว่าศาสนาใดแนวคิดใด
จะให้คำนิยามเช่นใด
ก็เป็นเพียงการอธิบาย
และให้ข้อเสนอแนะ
สำหรับการปฏิบัติ
และท่าทีต่อธรรมะ
เท่านี้ปัญญาในขณะนั้น
จะสืบค้นศึกษาได้.

แต่ท้ายที่สุดแล้ว
ก็เป็นเรื่องของมนุษย์นี้แหล่ะ
ว่าจะเอายังไงกับธรรมะนั้นๆ.

อิสรภาพในการเลือกเหล่านั้น 
เป็นของมนุษย์เอง
เช่นกับผลของการเลือก
ที่จะเกิดขึ้นกับเขาเองเช่นกัน
ฯลฯ.
ที่มา
‘บันทึกยามใจอรุณ’
☘️พระมหาพงศธร ธมฺมภาณี


ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...