14 ธันวาคม 2566

ธ ร ร ม ช า ติ เ ดิ ม


🔘 ธ ร ร ม ช า ติ เ ดิ ม 🔘
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรง
เปล่งวาจาว่า "แปลกจริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมด
ทุกคน ต่างกันแต่เพียงมีผู้รู้กับไม่รู้เท่ากัน..."

เซนพูดถึงเรื่องนี้ในทำนองเดียวกัน หรือบางทีอาจจะได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้เหมือนกัน นั่นคือมนุษย์เราทุกคนล้วนมีธรรมชาติแห่งพุทธะ (Buddha-nature) ในตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น มันคือพื้นฐานดั้งเดิมของมนุษย์ทุกคนก่อนที่จะถูกเปลือกแห่งอวิชชาครอบงำ ธรรมชาติแห่งพุทธะเป็นศัพท์สำคัญยิ่งในทางเซน ภาษาจีนเรียก 佛性 (ฝูซิ่ง) ภาษาสันสกฤตเรียก พุทธธาตุ 
ก็คือธาตุแห่งพุทธ.

นี่คือความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคน
มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ 
ขอเพียงปลดปล่อยตัวเองออกจากเปลือกแห่งอวิชชาที่เกาะไว้อย่างแน่นหนา ใครๆ ก็มีสิทธิ์ 'ตื่น' ได้ ข้อแตกต่างอยู่ที่เราจะหา 'นาฬิกาปลุก' ในตัวพบหรือไม่ การรู้แจ้งเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อไปถูกที่ ถูกจังหวะเวลา และในเมื่อพุทธภาวะอยู่กับเราแล้ว การแสวงหามันก็คือการสูญเสียมัน!

พุทธทาสภิกขุอธิบายหลักการของการบรรลุธรรมของเซน
ไว้อย่างง่ายๆ ว่า ก็คือ "เข้าถึง
ตัวธรรมชาติตามธรรมชาติเดิม
ของมันเท่านั้น แล้วเรื่องก็จบกัน โดยที่จิตชนิดนั้นจะหยุด จะว่าง จะสงบ จะไม่มีทุกข์ จะอะไรอื่นๆ ทุกอย่างตามธรรมชาติเดิม
ของมัน."

การรู้แจ้งในทางเซนจึงเป็น 
'การรื้อแล้วพบ' มากกว่า 
'การแสวงหาแล้วพบ' เพราะมันอยู่กับเรามาตลอดเวลา ปัญหาคือเราจะเห็นมันหรือไม่.

เห็นเมื่อไร ก็ตื่นเมื่อนั้น.

แต่การเห็นมันไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมนุษย์เราชอบปกปิดครอบมันด้วยอวิชชา แต่ในทางเซนไม่ใช่เรื่องยากเกินเอื้อม บ่อยครั้งเป็นเช่นเส้นผมบังภูเขา ละวางเส้นผมได้เมื่อไร ก็บรรลุซาโตริในฉับพลันทันใด ยกตัวอย่าง เช่น นางชีจิโนโยะเรียนเซนมานานปี ก็ยังไม่สามารถเข้าใจความหมายของเซน แต่ในคืนหนึ่งที่จันทร์สว่างกลางฟ้า นางตักน้ำใส่ถังไม้ไผ่ เห็นจันทร์บนผิวน้ำในถัง ยามนั้นไม้ไผ่หัก ฐานล่างของถังหลุดออก พลันนางชีก็บรรลุซาโตริ เช่นเดียวกับพระผานซานเป่าจีรู้แจ้งกลางตลาดขณะได้ยินคนขายเนื้อคุยกับลูกค้าคนหนึ่ง เป็นต้น.

เซนเห็นว่าธรรมชาติแห่งพุทธะ
ก็คือธรรมชาติของจิต จุดหมายของเซนคือการค้นพบธรรมชาติแห่งพุทธะผ่านการทำสมาธิ 
(ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูป
ของการนั่ง) และการรับรู้จากประสบการณ์ของแต่ละวัน สิ่งนี้ช่วยเปลี่ยนมุมมองและความรู้
ในตัวตน นำไปสู่การรู้แจ้ง.

เมื่อตื่นก็เป็นอิสระ นี่ก็คือ
พุทธภาวะ คือสภาวะแห่งการตื่น คือการเข้าใจความว่าง.

• จาก ‘มังกรเซน’ ฉบับปรับปรุง หนังสือเซนที่ต้องค่อยๆละเลียด ตอนนี้มีโปรโมชั่นพิเศษ + 
ของแถม limited edition Zen Book สั่งได้ที่เว็บ winbookclub.com หรือ Shopee (ค้นคำ namol113)

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...