25 มกราคม 2567

#สักกายทิฎฐิพระโสดาบัน_ยังไม่ถึงกับตัดเด็ดขาด !!

🟥
สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันตัดได้เพียงเบาๆ เพียงแค่รู้ตัวว่าจะตายเท่านั้น
มีความรู้สึกอยู่เสมอว่ายังไง ๆ เราก็ตายแน่ ชีวิตของเราไม่สามารถจะทรงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยได้
พระโสดาบัน มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราแก่ลงไปทุกวันๆ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าร่างกายของเรามีความทรุดโทรม
จะมีความป่วยไข้ไม่สบายเป็นปกติ...

#นี่เป็นความรู้สึกของพระโสดาบันในขั้นสักกายทิฎฐิ **#ยังไม่ถึงกับตัดเด็ดขาด
ตามที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงแนะนำว่า ท่านทั้งหลายจงเจริญ 
"มรณานุสติ" ไว้เสมอ ให้รู้ตัวว่าเราจะต้องตาย นี่เมื่อรู้ตัวว่าจะต้องตายแล้ว พระโสดาบันมีความเชื่อในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สงสัย

ทั้งนี้เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าเราตายจากความเป็นคน ถ้ากิเลสหรือสิ่งอกุศลมันยังมีอยู่ เราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฎฎะ ทีนี้อาการเวียนไปเวียนมานี่มันไม่แน่ ถ้ากุศลนำไปสู่แดนของความสุข ถ้าอกุศลนำไปก็ไปสู่แดนของความทุกข์
#พระโสดาบันจึงเลือกเฉพาะทางเดียวคือทางด้านกุศลโดยเฉพาะ  
#เรียกว่าไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาตามเหตุตามผล

หลังจากนั้นแล้วคนที่เป็น "พระโสดาบัน" ก็ต้องหาทางเลือกว่าการตายแล้วเราจะต้องไปนรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง มาเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้าง ถ้ายังไม่หมดกิเลสการเกิดมันยังมีอยู่ เราก็แสวงหาที่เกิดที่ดีที่พึงจะหาได้ อย่างน้อยที่สุด เราก็จะเกิดเป็นคนประเภทชนิดที่จำกัดการเกิด จะไม่ยอมเกิดประเภทที่เรียกว่านับชาติไม่ถ้วน เพราะว่าพระโสดาบันมีการเกิดอยู่ ๓ แบบ

๑. เป็นพระโสดาบันขั้นหยาบ ที่เรียกว่าสัตตักขัตตุง อย่างนี้ต้องเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ แต่การเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานไม่มี
#จะเกิดในช่วงเทวดาหรือพรหมหรือมนุษย์เท่านั้น แต่ว่าต้องเกิดเป็นมนุษย์อีก ๗ ชาติ จึงจะถึงอรหัตผล

๒. โกลังโกละ ถ้ามีอารมณ์อย่างกลางก็จะเกิดอีก ๓ ชาติ

๓. เอกพิชี มีอารมณ์ใจอย่างเข้มก็จะเกิดอีกชาติเดียว.
.
.ที่มา
📕 หนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๑๖
ก.ค. ๒๕๕๐
พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
พิมพ์แบ่งปัน : มงกุฎเพชร อภิญญา

18 มกราคม 2567

๑๘ มกราคม #วันกองทัพไทย #วันยุทธหัตถี #วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


.
กองทัพไทยถือเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เป็น “วันกองทัพไทย” เรียกอีกอย่างว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หรือ “วันยุทธหัตถี” เป็นวันรัฐพิธี แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ
.
ทั้งนี้ แต่เดิมมีการระบุว่า วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชานั้น ตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม ต่อมามีการคำนวณวันใหม่ จึงกำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปี เป็นวันยุทธหัตถี และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ ๒๕ มกราคม โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการเช่นกัน 
.
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

16 มกราคม 2567

ภัย๔ ของนักบวชและพุทธบริษัท

ภัย๔ ของนักบวชและพุทธบริษัท

๑.ภัยจากคลื่น🌊: ทนต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้
๒.ภัยจากจระเข้🐊: อยากกินอยากใช้ตามใจตนเอง
๓.ภัยจากน้ำวน🌪️: ติดกามคุณ สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส
๔.ภัยจากปลาร้าย🦈: เพศตรงข้าม

พุทธบริษัทเหล่าใดเมื่อตั้งใจฟังธรรมด้วยความเคารพ จิตอ่อนโยน น้อมออกจากกาม ละกิเลสโดยสมุทเฉทปหานได้..จึงเข้าถึงโลกุตตรธรรม🪷

14 มกราคม 2567

ประวัติและความเป็นมา สิบสองปันนา

ประวัติและความเป็นมา สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา 

ยุคแรก ( ยุคโบราณ) 
 ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นมาโดยกษัตริย์ องค์แรกคือ พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 
แต่ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรนี้ขึ้นมา ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมืองต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน และต่อมาในราว 800 กว่าปีที่ผ่านมา โดยนำการพญาเจือง ได้ก่อนตั้งอาณาจักรนี้ขึ้นมา ได้มีการรวบร่วมชนชาติไทลื้อหรือไตลื้อเข้ามาเป็นปึกแผ่นเดียวกัน ชึ่งชนชาติไทลื้อนี้มีประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภาษา และภูมิปัญญา ที่มีความยืนยาวนานมากกว่า 2000 ปี ราวปี พ.ศ.1723 พญาเจียง ได้สถาปนาตัวเอง ขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่1 โดยมีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่ เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งชื่อเมืองนี้มีความหมายว่า “เมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส” การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอาณานี้โดย ราชวงค์อาฬโวสวนตาลในช่วง พระเจ้าหอคำเชียงรุ่ง กษัตริย์ท้าวอินเมิง หรือท้าวอินเมือง อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด ท้าวอินเมืองได้ท่านทรงได้จัดสรรเมือง 2 ฝากฝั่งแม่น้ำโขงออกเป็น 12 หัวเมืองใหญ่ ซึ่งมีคำกล่าวได้ของภาษาไทลื้อว่า 5 เมืองตะวันตก 6 เมืองตะวันออก หมายถึงมีหัวเมืองทางตะวันออก 6 หัวเมือง มีหัวเมืองทางตะวันตกอีก 5 หัวเมือง และรวมกับเมืองเชียงรุ่งอีก 1 เมือง รวมเป็น 12 เมือง เรียกว่า สิบสองปันนาหรือสิบสองพันนา อาจจะกล่าวได้ว่าคำว่า “นา” อาจจะมีความหมายเดียวกันกับคำว่า “ไร่”ในภาษาไทย เช่น มี นา 100นา มีความหมายว่า มีนา 100ไร่ ดั่งคำกล่าวที่ว่า “สิบสองพัน” อาจจะหมายถึงมีพื้นที่นาอยู่ สิบสองพันนาผืน หรือ หนึ่งหมื่นสองพันผื่นนานั้นเอง ซึ่งแต่ละเขตมีพื้นที่อยู่ประมาณ 1,000 นา หรือ 1,000 ไร่ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง การว่านเพาะปลูกข้าวมีหน่วยเป็น “ต่า” หรือกระบุง การว่านข้าว สิบสองพันต่า ก็คือ หนึ่งหมื่นสองพันกระบุง ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมๆกันของชาวบ้าน ซึ่งกล่าวได้ว่าในพื้นที่นั้น คือหนึ่งพันนา ก็คือ หนึ่งหัวเมืองนั้นเอง
ส่วนคำว่า “ปันนา” มาจากคำว่า “พันนา” ในสำเนียงของภาษาไทลื้อ จะออกเสียง “พ” เป็น “ป”นั้นเอง  
อีกกรณีหนึ่ง สิบสองปันนา มีความหมายว่า "12 อำเภอ" คำว่า "พันนา" เป็นหน่วยการปกครองของคนชนชาติไทลื้อในอดีต สิบสองปันนา ปกครองเป็น 12 หัวเมืองใหญ่ โดยจัดแบ่งหัวเมืองใหญ่ 28 เมืองเป็น 12 เขตปกครอง จึงเรียกว่า สิบสองปันนา หรือ “สิบสองพันนา” ได้แก่ 
1. เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
2 .เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
3. เมืองลวง เป็น 1 พันนา
4. เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
5. เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
6. เมืองงาด เมืองขาง เมืองวังเป็น 1 พันนา
7. เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
8. เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
9. เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
10. เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
11. เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
12. เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
ในลักษณะภูมิศาสตร์พื้นที่ประมาณมา 12000 กิโลเมตรของอาณาจักรสิบสองพันนาเป็นพื้นที่ราบลุ่มในหุ่บเขามีแม่น้ำโข่ง หรือภาษาไทลื้อเรียกว่าแม่น้ำ”ล้านช้าง”ได้ไหล่ผ่านได้หล่อเลี้ยงทางวัฒนาธรรมอันยาวนาน
อาณาเขตสิบสองปันนา ทางทิศเหนือติดกับ อาณาจักรจีน ทิศใต้ติดกับอาณาจักรล้านช้างและอาณาจักรล้านนาของไทย ส่านทางทิศตะวันตกติดกับอาณาจักรของชาวเชียงตุงไทเขินซึ่งอยู่ในรัฐฉานประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน 
 ส่วนลักษณะภูมิอากาศ เป็นป่าฝนเมืองร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 18- 21 องศาเซลเซียส ต่อปี มีฝนตกชุก จึงทำให้ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างเติมที สิบสองปันเหมาะสำหรับทำเพราะปลูกการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ข้าว อ้อย ใบชา ยางพารา กาแฟ ต้นปาล์มน้ำมัน และผลไม้ต่างๆ อาณาจักรนี้ได้รับสมนายามนามว่า เมืองแห่งต้นไม้ เป็นไข่มุกสีเขียว 

ในการขยายเขตของอาณาในยุคนั้น ครอบคุมไปถึงเมืองเชียงตุงประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน 
เมืองแถง (เดียนเบียนฟูประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) เชียงแสน ประเทศไทยในปัจจุบัน อาณาจักรล้านช้าง ประเทศลาวในปัจจุบัน ดั่งนั้น จึงได้เป็นเหตุให้มีการอพยพชนชาติชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่งและอีกหลายๆหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน แถบหัวเมืองทางเหนือของประเทศลาว รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง แถบใต้คง หรือเมืองมาวหลวง เมืองขอน หรือเต๋อหง ของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
อาณาจักรสิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ ประมาณ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 1835 ได้สิ้นสุดอำนาจการปกครองลง และได้ยอมรับอำนาจของราชวงค์มองโกล ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 33 ของอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อพระเจ้ากรุงจีน ส่งตราหัวเสือ จุ่มกาบหลาบคำ ให้มาเป็นตราแผ่นดินแทนตรา “นกหัสดีลิงค์” ที่เคยใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ 
และได้เปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนครจากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน คือ เจ้าแสนหวี (สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่ง)หรือ ออกในภาษาจีนว่า ส้วนเวย์ ซึ่งได้พํานัก พระราชวังค์เวียงผ่าคาง ตั้งอยู่หน้าผาริ่มฝังแม่น้าโข่ง จุดที่เป็นโครงน้ำซึ่งยามที่กระแสน้ำซัดสาดผ่าจึงทำให้มีเสียงดัง ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกว่า พระราชวังเวียงผ่าคาง นั้นเอง ร่วมไปถึงชื่อเมืองต่างๆ ภาษาจีน เช่น
สิบสองปันนา เปลี่ยนเป็น Xishuangbanna 西双版纳傣族自治州 เชียงรุ่ง เปลี่ยนเป็น景洪 จิ่งหง

Cr.
#สิบสองปันนาไทยลาวจีนพม่า
#เยือนสิบสองปันนา

#ปู่จอมนาคา999

12 มกราคม 2567

ปี ๒๔๘๓ มี ๙ เดือน จะไม่มีใครเกิดในช่วง 3 เดือนที่หายไป

๑ ปี มี ๙ เดือน เคยเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ถ้าย้อนหลังกลับไปหากใครจำได้ จะมีคนชอบพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเดิมเดือนเมษายน คือ วันขึ้นปีใหม่ไทย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าวันที่ ๑ เมษายน ยังเป็นวันที่เปลี่ยนศักราชอีกด้วย แต่ในปัจจุบัน เราจะเปลี่ยนศักราชกันทุก ๆ วันที่ ๑ มกราคมของทุกปีตามสากล

การนับศักราชแบบปัจจุบัน ก็คือเริ่มที่เดือน มกราคม จนถึง ธันวาคม ตามสากล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ออกประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันที่ ๑ มกราคม เริ่มตั้งแต่ปี ๒๔๘๔ เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ซึ่งตัดสามเดือนสุดท้ายของปี ๒๔๘๓ ออก ทำให้เดือน มกราคม ๒๔๘๓, กุมภาพันธ์ ๒๔๘๓ และ มีนาคม ๒๔๘๓ หายไป

ระหว่าง วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๓ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๘๓ คือช่วงเวลาที่หายไปในปฏิทิน ดังนั้นวันเวลาจะหายไป ๓ เดือน หรือ ๙๑ วัน จึงไม่มีคนเกิดในวันเวลานี้ตามปฏิทินประเทศไทย

ทำให้ในปี ๒๔๘๓ นั้น พอถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๓ วันต่อไปจะเป็นวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ เลย จากเดิมที่ควรเป็นวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๓

การนับศักราชแบบเก่า 

เดือนที่ ๑ เมษายน (เปลี่ยนศักราช)
เดือนที่ ๒ พฤษภาคม
เดือนที่ ๓ มิถุนายน 
เดือนที่ ๔ กรกฎาคม
เดือนที่ ๕ สิงหาคม
เดือนที่ ๖ กันยายน
เดือนที่ ๗ ตุลาคม 
เดือนที่ ๘ พฤศจิกายน 
เดือนที่ ๙ ธันวาคม 
เดือนที่ ๑๐ มกราคม
เดือนที่ ๑๑ กุมภาพันธ์
เดือนที่ ๑๒ มีนาคม (เดือนสุดท้ายของปี)

การนับศักราชแบบปัจจุบัน 

เดือนที่ ๑ มกราคม (เปลี่ยนศักราช)
เดือนที่ ๒ กุมภาพันธ์
เดือนที่ ๓ มีนาคม
เดือนที่ ๔ เมษายน
เดือนที่ ๕ พฤษภาคม
เดือนที่ ๖ มิถุนายน 
เดือนที่ ๗ กรกฎาคม
เดือนที่ ๘ สิงหาคม
เดือนที่ ๙ กันยายน
เดือนที่ ๑๐ ตุลาคม 
เดือนที่ ๑๑ พฤศจิกายน 
เดือนที่ ๑๒ ธันวาคม (เดือนสุดท้ายของปี)

ถ้าใครได้อ่านประวัติศาสตร์ในช่วงก่อนรัชกาลที่ ๗ ขึ้นไป จะค่อยข้างสับสนกับปีพุทธศักราชนิดหนึ่ง เพราะเขาใช้การนับศักราชแบบเก่า ยกตัวอย่าง เช่น วันเวลาที่ สวรรคตและออกพระเมรุ ของรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖

รัชกาลที่ ๕
สวรรคต ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓
ออกพระเมรุ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๓

รัชกาลที่ ๖
สวรรคต ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
ออกพระเมรุ ๒๔ มีนาคม ๒๔๖๘

ถ้าใครอ่านถึงตอนนี้คงสับสนและงงว่า ทำไมพระราชพิธีถวายพระเพลิง จึงมีขึ้นก่อนการสวรรคตงั้นหรือ แต่จริง ๆ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะนี่คือการนับศักราชแบบเก่า

ตามการนับศักราชแบบเก่า รัชกาลที่ ๕ สวรรคต ในเดือนตุลาคม คือ เดือนที่ ๗ ส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิง มีในเดือน มีนาคม คือ เดือนที่ ๑๒ และรัชกาลที่ ๖ สวรรคต ในเดือนพฤศจิกายน คือ เดือนที่ ๘ ส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิง มีในเดือน มีนาคม คือ เดือนที่ ๑๒

ที่มา
โบราณนานมา

11 มกราคม 2567

พุทธประวัติ 8 ตอนสำคัญ ในงานพุทธศิลป์อันดากู

ประวัติ 8 เรื่องราวแห่งพระพุทธประวัติที่สำคัญ
“อัษฏมหาปฏิหาริย์” พุทธประวัติ 8 ตอนสำคัญ ในงานพุทธศิลป์อันดากู ประกอบด้วย
1.ตอนตรัสรู้ ณ เมืองพุทธคยา (Bodh Gaya) นิยมทำเป็นภาพพระพุทธเจ้าตอนผจญมาร (Assualt of Mara) ปางมารวิชัยหรือภูมิสปรศมุทรา ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ประกอบรูปของพญามารท้าววสวัตตี การยั่วยวนของธิดาพญามาร นางตัณหา นางราคะ และนางอรตี
2.ตอนประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน (Lumbini) นิยมทำเป็นรูปพระนางมายาเหนี่ยวกิ่งต้นสาละ โดยพระพุทธเจ้าจะประสูติอออกมาจากสีข้าง บางรูปยังมีรูปช้างเผือกในตอนที่ทรงพระสุบินราชามนุษย์นาค (นันทะ – อุปนันทะ) อภิเษกพระกุมาร รูปม้ากัณฐกะและตอนตัดพระเกศาประกอบในกรอบรูปเดียวกัน
3.ตอนปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองสารนาถ (Sarnath) สลักเป็นพระพุทธเจ้าปางปฐมเทศนา หรือธัมมจักรมุทรา (Dhamachakra Mudra) ประกอบรูปธรรมจักรแบบวางขวาง รูปกวางหมอบ รูปปัญจวัคคีย์ ขนาบข้างด้วยอดีตพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากฝ่ายมหายาน
4.ตอนโปรดช้างนาฬาคีรี (Nalagiri Elephant) ที่กรุงราชคฤห์ (Rajgriha) ทำเป็นรูปของพระพุทธเจ้ายืนในปางประทานอภัย หรืออภยมุทรา (Abhaya Mudra) ประกอบรูปช้าง
5.ตอนโปรดพระยาวานรที่กูฎาคารศาลาในป่ามหาวัน เมืองเวสาลี (Vaishali) ทางเหนือของกรุงปัตนะ สลักทำเป็นรูปปางประทานพร หรือรูปประทับนั่งถือบาตร ประกอบรูปพญาวานรถวายรวงผึ้ง ซึ่งในพุทธประวัติช่วงตอนนี้จะมีเหตุการณ์เรื่อง พระนางมหาปชาบดีโคตรมี และสตรีในตระกูลศากยะ จำนวน 500 คน มาขอผนวชเป็นภิกษุณี เรื่องนางคณิกาอัมพปาลีถวายผลมะม่วง และการปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ 
6.ตอนยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี (Sravasti) สลักเป็นพระพุทธรูปในปางเทศนาธรรมหรือวิตรรกะมุทรา (Vitaraka Mudra) ประทับนั่งแบบขัดสมาธิบนปัทมะบัลลังก์ มีภาพของพระโพธิสัตว์ประกอบอยู่เป็นคู่ด้านข้าง
7.ตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่เมืองสังกัสสะ (Sankassa) สลักเป็นรูปปางประทับยืนหรือปางลีลา (เดิน) พระหัตถ์ข้างหนึ่ง อยู่ในท่าแสดงธรรมเทศนาหรือวิตรรกะมุทรา อีกข้างหนึ่งดึงชายลูกบวบผ้าจีวรเพื่อแสดงความหมายของการเดิน มีรูปของบันได รูปพระอินทร์ถือหม้อน้ำและพระพรหมถือฉัตรตามเสด็จอยู่ทางด้านข้าง
8.ตอนมหาปรินิพพาน (Mahaparinirvana) ณ สังเวชนียสถาน สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา (Kushinagar) สลักเป็นรูปพระพุทธรูปปางปรินิพพานนอนตะแคงขวา ประกอบรูปบุคคลที่กำลังแสดงความเศร้าโศกเสียใจ ภาพของพระเอตทัคคะที่เป็นผู้ดูแลพระพุทธเจ้าช่วงก่อนปรินิพพานนั่งหันหลัง ภาพหม้อยา ภาพของพระมหากัสสปะกระทำอัญชลีก่อนถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ตามศิลปะแบบเดียวกับภาพสลักพระปางปรินิพพานองค์ใหญ่ของถ้ำอชันต้า (Ajanta Cave) หมายเลข 26

ถามท่านว่า ทำไมจึงให้สร้างรูปพระศรีอาริยเมตไตร

ท่านบอกว่า คนจำนวนมาก ที่มีบารมียังไม่เข้มขัน และคนจำนวนแสน ที่ติดตามพระศรีอาริย์ฯ ต้องการเป็นสาวกของท่าน ก็มาเกิดสมัยนี้เป็นแสน ทั้งพระศรีอาริย์ฯ ก็ฝากเธอไว้ว่า ให้ช่วยแนะนำให้เข้าใจตามเกณฑ์ที่เขาเหล่านั้นจะเกิดทันท่าน

ในขณะนั้น ท่านเรียกพระศรีอาริย์ฯมา พระศรีอาริย์ฯท่านมีความต้องการ ให้คนที่มีความต้องการที่จะเกิดในสมัยท่าน ได้ฟังเทศน์จบเดียวก็เป็นพระอรหันต์

พระศรีอาริย์ฯท่านตรัสว่า คนที่ต้องการไปเกิดในสมัยผม ขอให้ปฏิบัติตามนี้ คือ

(๑) ตั้งใจรักษาศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐ ให้ครบถ้วนเสมอ ถ้ารักษาครบทุกวันไม่ได้ วันอื่นอาจจะบกพร่องบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่ทุกวันพระ ต้องรักษาให้ครบทั้ง ศีล ๕ และกรรมบถ ๑๐
(๒) จงหมั่นให้ทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ สังฆทาน ถ้าจนมาก ทรัพย์มีน้อย ก็จัดหาอาหาร หรือผลไม้ ผล ๒ ผล ถวายพระที่มีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็เป็นสังฆทาน มีอานิสงส์มาก
(๓) จงเจริญภาวนาเสมอ ๆ ถ้าทำไม่ได้มาก เมื่อศีรษะถึงหมอน ก็ให้ภาวนาเล็กน้อยแล้วหลับไป

เพียงเท่านี้ เขาจะเกิดในสมัยผมตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ถามท่านว่า จะให้หล่อรูปแบบไหน เป็นรูปพระ หรือเทวดา ท่านบอกว่า เวลานี้ผมเป็นเทวดา ก็หล่อรูปเทวดา อย่าเพิ่งหล่อรูปเป็นพระ 

ถามท่านว่า ให้หล่อแบบไหน ท่านก็ยืนตรง มือขวาถือกงจักร มือซ้ายถือพระขรรค์ ใส่ชฎา 

ปัญหามีอยู่ว่า ผิวท่านขาวมาก เหมือนพ่นด้วยสีเงิน และเครื่องแต่งกายท่านเป็นแก้วจะให้ทำอย่างไร ถ้าเอาแก้วติดเหมือนกันจะดูไม่ตรงตามความเป็นจริง เพราะเนื้อท่านไม่เป็นแก้ว ท่านบอกว่า ตอนที่เป็นเนื้อ ให้เอาเเผ่นเงินปิด ตอนที่เป็นเครื่องเเต่งกาย ให้ใช้กระจกเงาใส

เรื่องรูปผ่านไป 
ต่อมาก็ถามความหมายกับสมเด็จองค์ปฐมว่า 
ทำไมจึงต้องหล่อรูปพระศรีอาริย์ฯ มีความสำคัญอย่างไร สมเด็จองค์ปฐมท่านตรัสว่า เป็นอนุสติ คนจะได้จับรูปนี้เป็นนิมิต และความมั่นใจที่พระศรีอาริย์ฯแนะนำให้ปฏิบัติก็จะมีมากขึ้น จะเป็นการช่วยให้เขาเหล่านั้นไม่ตกนรก และเกิดทันสมัยท่าน

ที่มา
พระราชพรหมยาน 

๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕

(จากธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑๓๖ หน้า ๑๐-๑๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๕)

💻 โดยคณะสีลม

อดีตชาติหลวงพ่อค่ะ.พระราชพรหมยานฯ..เล่าให้ฟัง

🙏🏻🙏🏻🙏🏻 
..." จงนับถอยหลังจากชาตินี้ไปขึ้นต้นด้วย เลข ๕ แล้ว ๐ อีก ๕๐ ศูนย์ เป็นจำนวนเท่าไรกัน นับเอาเอง.. 
สมัยนั้นเป็นสมัยที่ฉันเกิดเป็นมนุษย์เป็นชาติที่เกิดได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกในชีวิต
ฉันเป็นพ่อบ้าน ชื่อว่า.. "ปการัง"  
มีแม่บ้านชื่อ.. "ปการันยา" คือแม่ศรี..

เมื่อ "สมเด็จพระพุทธสิกขี" ทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว พระองค์ได้เสด็จมาโปรดถึงบ้าน ฉันจึงได้เข้าเฝ้าพระองค์บำเพ็ญกุศล แล้วทอดกายเป็นสะพานให้ทรงดำเนิน.. เพื่อปรารถนาพระโพธิญาณ..
แม่ศรีและลูก ปราถนาติดตามเป็นคู่บารมี เมื่อตายจากชาตินั้น ทุกคนไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทั้งหมด
ส่วนฉันเป็นเทวดาชื่อ "เกษี"

สมัยต่อมา พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า.. "เวสสภู" ได้เสด็จมาเทศน์โปรด ท่านปู่และฉัน.. สมัยนั้นฉันมีชื่อว่า.. "อินทระ" และนักรบทั้งหมด ถอดอาวุธคู่มือถวายเป็นพุทธบูชา..
ส่วน ท่านย่าและแม่ศรี ชาตินี้มีชื่อว่า.. "ศิริกัลยา" และลูก ๆ ถอดเครื่องประดับกายทั้งหมด ถวายเป็นพุทธบูชา.. เมื่อตายจากชาตินั้น ทุกคนไปเกิดร่วมกันในชั้นดุสิต..."

ครั้นถึงสมัย "สมเด็จพระพุทธกัสสป" หลวงพ่อฯ ก็ได้ลงมาเกิดอีกหลายวาระ เช่นบริเวณ เขื่อนยันฮี จ.ตาก และบน ภูกระดึง จ.เลย.. สมัยเป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช..

ส่วนใหญ่ จะเป็นกษัตริย์ และ สมัยหนึ่งท่านเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก นามว่า.. "พระเจ้าศรีทรงธรรม" มีพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่า.. "พรรณวดีศรีโสภาค"

แต่การเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น มิได้เป็นครั้งนี้เป็นครั้งแรก.. เมื่อสมัย "สมเด็จพระพุทธทีปังกร" คือย้อนไปเมื่อ ๔ อสงไขยกัป นั้น ท่านได้เคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นามว่า.. "นวราชบรมจักรพรรดิ" ครองเมือง "มหาบรมไตรจักรภพ" มีพระราชฐานบริเวณ.. "เมืองชิคาโก้" สหรัฐอเมริกาปัจจุบันนี้..
อันมี ๓ ศรีพี่น้อง เป็นมเหสี.. พี่สาวใหญ่ มีนามว่า.. "พระนางปทุมวดี" น้องรอง มีนามว่า.. "พระนางมหารัตนนารี" เป็นพระมเหสีเอก.. ส่วนน้องเล็กมีนามว่า.. "พระนางศิริรัตนาวดี"

สมัยพุทธกาล    
.. ต่อมา ในสมัยพุทธกาลนี้ ท่านได้ครอง "เมืองสาวัตถี" มีพระนามว่า.. "พระเจ้าปเสนทิโกศล"  

.. หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ท่านก็ได้เกิดมาครอง.. "โยนกนคร" ซึ่งเป็นเขตแดนไทยในวาระแรก ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐. นามว่า.. "พระเจ้ามังรายมหาราช"

ในชาติต่อมา ประมาณ พ.ศ. ๒๔๕ หลวงพ่อฯ ท่านก็ได้มาเกิดในสมัย "สุวรรณภูมิ" บริเวณราชบุรี มีพระนามว่า.. "พระเจ้าตวันอธิราช" มีพระราชโอรสคือ.. "พระเจ้าเดือนเด่นฟ้า" ซึ่งทรงมีวิสัยเป็นพระโพธิสัตว์เช่นเดียวกับพระราชบิดา.. ทั้งสองพระองค์ ก็ได้เคยทรงทำหน้าที่ร่วมกันมาแล้ว..

.. จนกระทั่งถึงประมาณ พ.ศ. ๙๐๐. ปีเศษ หลวงพ่อฯ ท่าน ก็ได้มาเป็น "พระเจ้าพรหมมหาราช" ส่วน "พระเจ้าเดือนเด่นฟ้า" ก็ได้มาเกิดเป็น "พระเจ้าเดือนแจ่มฟ้า" แต่พระองค์ก็ได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์เสียก่อน..

* ในกาลต่อมา ประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๐. ปีเศษ หลวงพ่อฯ ท่านก็ได้เกิดมาเป็น "พระเจ้ารามราช" ผู้เป็นพระราชสวามีของ "พระนางจามเทวี" 

.. แล้วก็ได้เกิดมาอีกหลายวาระ นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย และอยุธยา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์..

.. ครั้นถึงสมัยสุโขทัย ก็ได้มาเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์ คือ.. "พระร่วงโรจนฤทธิ์ แล้วกลับลงมาช่วยประสานคนไทย ไปถึงภาคใต้อีก คือ "พ่อขุนศรีเมืองมาน"

* ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาหลวงพ่อฯ ท่านได้มาเป็น.. "ขุนหลวงพะงั่ว" เพื่อรวมกรุงสุโขทัย และอยุธยา เป็นราชธานีเดียวกัน..

.. เป็น "เศรษฐีอำไพ" ผู้ใจบุญ..

.. เป็น "ขุนแผน" ผู้แสนฉลาด.. 

.. เป็น "พระเจ้าบรมไตรโลกนาถ" ผู้ปราดเปรื่อง..

.. เป็น "พระเจ้ามหาจักรพรรดิ" ผู้รุ่งเรืองด้วยช้างเผือก.. 

.. เป็น "เจ้าพระยาโกษาธิบดี-เหล็ก" ผู้เข้มแข็งเหมือนดังชื่อ..

.. สมัยต่อมาก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านก็ได้มาเป็นนักรบคู่พระทัยของ 
"พระเจ้าตากสิน"  

.. สมัยรัชกาลที่ ๓ ท่านก็ได้อาสาไปปราบญวณ..  

.. สมัยต่อมา ท่านก็ได้ช่วยคนไทยให้พ้นความเป็นทาส ทั้งจากคนไทยด้วยกัน และพวกนักล่าเมืองขึ้น จนได้รับสมัญญานามว่า.. "พ่อผู้เป็นที่รักยิ่ง"  
คนไทยทุกสมัยจึงมีอิสรภาพมาจนกระทั่งทุกวันนี้..

ในบัดนี้ พระพรหมโพธิสัตว์พระองค์นี้ ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ก็ได้ตัดสินใจ ลาจากพุทธภูมิ เพื่อเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้

บันทึกพิเศษ ของหลวงพ่อฤาษี
webmaster watthasung
งานพิธีบวงสรวง ณ พระธาตุจอมกิตติ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐

ที่มา
📸 โดยคณะสีลม 🙏🏻🙏🏻🙏🏻ขออนุญาติเผยแพร่ค่ะ. นิพพานนะสุขังเจ้าค่ะ.

เหตุไรเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ?

วันหนึ่ง พระอนุรุทธะเข้าไปหาพระสารีบุตรแล้วถามว่า “ท่านสารีบุตร ขอโอกาส ผมตรวจดูทั่วโลก 1,000 โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ก็ผมเองบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติ ไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง แต่เพราะเหตุไรเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ”
พระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดว่า ‘เราตรวจดูโลก 1,000 โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ นี้เป็นมานะของท่าน 

การที่ท่านคิดว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นความฟุ้งซ่านของท่าน 

การที่ท่านคิดว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเราจึงยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ” นี้เป็นความรำคาญของท่าน ท่านจงละธรรม 3 ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม 3 ประการนี้แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุคือนิพพาน” 

ต่อมา พระอนุรุทธะละธรรม 3 ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม 3 ประการนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุคือนิพพาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้เป็นพระอรหันต์ 

คำอธิบาย และอ้างอิง

1. มานะ แปลว่า การถือตัว ทะนงตน เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง แม้จะถือตัวในคุณวิเศษที่ตนมีก็ตาม ต้องไม่ถือตัว ปล่อยวางเสีย แล้วใจจะหลุดพ้นไปส่ธรรมขั้นสูงกว่าได้ 

2. ประโยคที่ว่า “การที่ท่านคิดว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นความฟุ้งซ่านของท่าน” หมายถึง แค่คิดว่า “ตอนนี้จิตหยุดนิ่ง จิตตั้งมั่นแล้ว…” ก็จัดเป็นความฟุ้งซ่าน คือ ยังมีความคิดอยู่ ยังนิ่งไม่สมบูรณ์ ต้องไม่คิดอะไร แล้วจิตจะหลุดพ้นไปสู่ขึ้นต่อไปได้ 

3. ประโยคที่ว่า “การที่ท่านคิดว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเราจึงยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ” นี้เป็นความรำคาญของท่าน” ความคิดเช่นนี้เป็นการเร่งผล และรู้สึกไม่พอใจที่ยังไม่บรรลุผลที่ต้องการ จัดเป็นกิเลสเช่นกัน ต้องไม่คิดอะไร ปล่อยวางเฉยแล้วจะก้าวพ้นจุดนี้ไปได้ 

4. ประโยคที่ว่า “น้อมจิตไปในอมตธาตุคือนิพพาน” หมายถึง การปล่อยใจให้หยุดนิ่งไปตามลำดับ โดยไม่ใช้ความคิดแล้วจะบรรลุนิพพานในที่สุด 

5. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 34 หน้า 565 - 566

เครดิต: กราบขอบคุณแหล่งที่มา เพจ พระ อ.ขวัญ วชิรญาณ Kwan Kevin

ทำไม "หลวงปู่เอี่ยม" วัดสะพานสูง จึงไว้ผมยาวตอนธุดงค์

เป็นตำนานพูดกันมานานว่า ตอนที่ "หลวงปู่เอี่ยม" ท่านไปธุดงค์อยู่หลายปี จนญาติๆ ของท่าน นึกว่าท่านคงมรณะภาพไปแล้ว จนถึงกับจัดงานบำเพ็ญกุศลให้ท่าน

เมื่อท่านได้กลับมาจากธุดงค์ ("ตามประเพณีโบราณ" ต้องไปปักกลดใกล้ๆ วัดก่อน แล้วรอคนมานิมนต์ จึงค่อยเข้าวัดได้)
ญาติของท่านมาทำบุญกับท่าน แต่จำท่านไม่ได้ (คงเพราะท่านไว้ผมยาว และหนวดเครารุงรัง) 

เหตุใด "หลวงปู่เอี่ยม" ถึงไม่ปลงผม และโกนหนวดเครา
"อ. กฤษณะ" ได้พบในตำราเก่าของที่วัด ซึ่งมีอยู่วิชาหนึ่ง เป็น "วิชาอาบว่านยา" โดยผู้ที่อาบว่านยานี้ จะอยู่ยงคงกระพัน แม้เส้นผม และหนวดเคราก็จะตัดไม่ขาด

นับเป็นภูมิปัญญาของบูรพาจารย์ท่านได้วางวิธีแก้ไว้ เพื่อคนที่ "อาบว่านยา" นี้ สามารถตัดผม และโกนหนวดได้
(โดย "ผู้ที่อาบว่านยา" นี้ จะต้องนำมีด หรือกรรไกร มาอยู่ในพิธีด้วย)
จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญยิ่งว่า..ทำไม "หลวงปู่เอี่ยม" ท่านจึงไม่ได้ปลงผม และโกนหนวดเครา

เพราะ "มีด" ที่เข้าพิธีนั้น นอกจากจะโกนผม โกนหนวดได้แล้ว ยังสามารถ "ล้างคงกระพัน" ในตัวท่านได้ด้วย
(เหตุฉนั้น ตอนท่านไปธุดงค์ ท่านย่อมไม่พกมีด ที่อาจจะทำร้ายท่านได้ไปด้วย)

จึงเป็นตำนานเล่าขานกันมาถึงภาพของ "หลวงปู่เอี่ยมปางธุดงค์"

.......................................
(*ขอบพระคุณภาพและข้อมูล)
: uauction2.uamulet com
: FB: ศิษย์สายวัดสะพานสูง
มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ..🙏🌺
: ประตูสู่อดีต
: แอดมินจ๋า..🍂

#คำสอนของหลวงพ่อปาน


เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๘๐ ก็ไปหาหลวงพ่อปาน ท่านซักซ้อมความจำในกรรมฐาน ๔๐ กองในวิสุทธิมรรค ท่านบอกว่ากรรมฐาน ๔๐ กองในวิสุทธิมรรคมีความจำเป็นต้องใช้ทั้งหมด #เพราะเราจะปฏิบัติเอาดีกัน ถ้าปฏิบัติอวดชาวบ้านก็ไม่ต้องเรียนมาก ไม่ต้องมีครูบาอาจารย์ก็ได้ ทำนั่งหลับตาหลอกชาวบ้านไปสักพัก คนที่บ้าพระหลับตาก็จะมาเป็นแถว เวลาเขามาก็ทำท่าสงบเสงี่ยม พูดน้อย ลืมตาน้อย เท่านี้ลอกหนังหัวชาวบ้านกินสบาย เพราะชาวบ้านคลั่งพระหลับตามีมาก แต่ทว่าการทำอย่างนั้นพระมีหวังลงอเวจีไม่ยาก มันเป็นมายา เธอบวชแล้วจงอย่าทำอย่างนั้น

เมื่อมายามี กิเลสก็มี ความดีจะไม่ปรากฏ #เมื่อบวชแล้วจงเป็นคนปล่อย #อย่าปกปิดความเลว #อย่าอวดความดีที่ตนยังไม่มี #ดีหรือเลวเท่าไรให้ชาวบ้านเขาเห็นสบาย_ๆ #จงอย่าหวังการกราบไหว้ของคนอื่น #เขาไหว้หรือไม่ไหว้จงอย่าเห็นเป็นสาระ #เราบวชเพื่อละ ทำแค่ดี อย่าหวังให้ชาวบ้านชมว่าดี ด้วยชาวบ้านนิยมของปลอม เวลาตกนรกไม่มีใครช่วยเรา...

โอวาทธรรม หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
จากหนังสือ ประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโท หน้า ๒๖

10 มกราคม 2567

ขยันทำบุญ ได้อะไร?

อ่านจบเราจะรู้ว่าเราเป็นผู้มีบุญแค่ไหน🥰

ขยันทำบุญ ได้อะไร
มีคำตอบครับ แต่ไม่ใช่คำตอบที่ตอบเอง แต่เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ท่านได้เทศน์เรื่องทำบุญไว้ว่า
     "ทำไมต้องทำบุญ?" 
 
..เพราะ บุญ เป็นพลังงาน ที่มีพลังดึงดูด ความเจริญ มาสู่ชีวิต เป็นต้นเหตุ แห่งความสุข ความสำเร็จ ในชีวิต 
 
..ถ้าบุญน้อย อุปสรรคในชีวิตก็มาก 
..ถ้าบุญมาก อุปสรรคในชีวิตก็น้อย 
..ถ้าบุญอ่อนกำลังลง หรือ บุญหมด.. 
..บาปที่เคยทำไว้ ก็จะได้โอกาส ส่งผล 
..ทำให้ชีวิต มีอุปสรรค ต่างๆนานา 
..เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีความสุข หมดอำนาจวาสนา เสียชื่อเสียงเกียรติยศ แม้คนที่รักกันก็หมดรัก แม้ทรัพย์ที่มีอยู่น้อยนิด ก็ยังรักษาไว้ไม่ได้
..ฉะนั้น การจะมี ทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และ ความสมบูรณ์พร้อมในชีวิต ก็ต้องมีบุญ ที่มากเพียงพอ 
..ซึ่งไม่ว่า จะอยู่ในสถานภาพใด ล้วนต้องอาศัยบุญทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยากอยู่แบบพอมีพอกิน หรือ คิดจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หรือ พระเจ้าจักรพรรดิ 

..แม้กระทั่ง ปรารถนา ที่จะหมดกิเลส บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอรหันต์ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องมีบุญถึง บารมีถึง ถึงจะดำรงอยู่ในสภาวะนั้น ได้อย่างมั่นคง และมีความสุข 
..ด้วยเหตุนี้ เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะสั่งสมบุญ 

..เพราะบุญ คือ เบื้องหลัง
ความสุข ความสำเร็จ ในชีวิตทุกระดับ อย่างแท้จริง.. 

แชร์เรื่องบุญไปก็ได้บุญ 
บุญและทาน ที่บังเกิดมี ในการส่งต่อ ขอให้เป็นอภิมหาบุญ ขอให้ผู้ที่ส่ง มีความสุข มีความเจริญ รุ่งเรือง ร่ำรวย มีความสุขกายสบายใจ มีสุขภาพดี ไม่เจ็บไม่จน ปรารถนาสิ่งใด สมความปรารถนาทุกๆประการ ขอให้ผลบุญนั้น เห็นผลทันตา ด้วยเทอญ (อธิษฐาน) สาธุ 

รักใครให้ส่งไป
“จิตของผู้มีบุญมาก”

1.ไม่บ่น

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นปัญญา ทำให้ยอมรับต่อความเป็นจริงของชีวิต ทำให้รู้เห็นและเข้าใจถึงระดับวาสนาของตนและบุคคลอื่น ความเป็น ไปของชีวิตนั้นขึ้นตรงต่ออำนาจบุญกรรมที่ทำไว้ บ่นไปก็แค่นั้นเอง ที่ได้มา ที่มีอยู่ ที่เสียใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มันคือ “ผลแห่งกรรม” อันเป็นสมบัติของเราเอง

2. ไม่กลัว

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความเข้มแข็ง กล้าหาญ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพราะมีความมั่นใจในความเป็นผู้บริสุทธิ์ ความเป็นผู้มีบุญของตน เมื่อจะคิด จะทำอะไรลงไป ล้วนมีกำลังบุญมารองรับทั้งหมดทั้งสิ้น

3.ไม่ทำชั่ว

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นตัวควบคุม บริหารจัดการ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดความกลัว ความละอายต่อบาป ต่อกรรม ความผิดน้อยใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เห็นถึงความเสียหาย หลายภพหลายชาติ เห็นถึง ผลกระทบต่อครอบครัว ต่อโลกต่อสังคม อย่างมากมายมหาศาล

4.ไม่คิดมาก

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดพลังแห่งความสงบ แห่งจิตแห่งใจ ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่คิดเป็นทุกข์ ความคิดทุกความคิด ล้วนนำมาซึ่งความเบิกบานกายใจ ไม่คิดเบิกความทุกข์ มาใช้ก่อน

5. รอได้

คอยได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความใจเย็น มีความยืดหยุ่น ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่ใจร้อน ใจเร็ว เห็นถึงจังหวะ และโอกาสของชีวิต

6. อดได้ ทนได้

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นพลังงานเข้มแข็ง ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้มีความอดทนที่เป็นหนึ่งเป็นเลิศ มีความคิดที่ไม่หวั่นไหว เห็นความสำเร็จทุกชนิดมาจากความอดทน อดทนอย่างมีความสุข

7. สงบได้ เย็นได้

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะเป็นสภาพให้เป็นคนที่สงบได้ เย็นได้ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่เป็นคนที่ร้อนรน กระวน กระวาย สับส่าย วุ่นวาย ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ในสิ่งกำลังจะเกิดขึ้น แม้จะตกอยู่ใน เหตุการณ์ที่เลวร้าย ก็ทำใจได้ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

8. ปล่อยได้ วางได้

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นคนที่รู้จักการละ การวาง ตามกำลังของบุญฤทธิ์
ไม่เป็นคนที่แบกทุกอย่างที่ขวางหน้า ยึดทุกอย่างที่เกิดขึ้น

9. รู้ได้ ตื่นได้ และเบิกบานได้

เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความรู้ตื่น เบิกบาน ตามกำลังของบุญฤทธิ์ เป็นผู้รู้ ต่อความ เป็นจริงของชีวิต ไม่ปล่อยชีวิตให้ตกไปในกระแสของความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตใจมีความอิสระเต็มที่ทุกวันทุกเวลาทุกนาที

โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
พระพุทธองค์ตรัสว่า.. "บุคคลแม้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองแต่ก็สามารถให้ทานกับผู้อื่นได้ด้วยสิ่งของ 5 ประการ" 
   1. ใบหน้าเป็นทาน : สามารถให้รอยยิ้มความสดใส 
   2. วาจาเป็นทาน : พูดให้กำลังใจ ชื่นชมและปลอบประโลมผู้อื่นให้มาก 
   3. จิตใจเป็นทาน : สามารถเปิดอกเปิดใจกับผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมและจริงใจ 
   4. ดวงตาเป็นทาน : ใช้แววตาแห่งความหวังดีความโอบอ้อมอารีย์ให้กับผู้อื่น 
   5. กายเป็นทาน : สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น 


ที่มา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
  

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...