ขยันทำบุญ ได้อะไร
มีคำตอบครับ แต่ไม่ใช่คำตอบที่ตอบเอง แต่เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ท่านได้เทศน์เรื่องทำบุญไว้ว่า
"ทำไมต้องทำบุญ?"
..เพราะ บุญ เป็นพลังงาน ที่มีพลังดึงดูด ความเจริญ มาสู่ชีวิต เป็นต้นเหตุ แห่งความสุข ความสำเร็จ ในชีวิต
..ถ้าบุญน้อย อุปสรรคในชีวิตก็มาก
..ถ้าบุญมาก อุปสรรคในชีวิตก็น้อย
..ถ้าบุญอ่อนกำลังลง หรือ บุญหมด..
..บาปที่เคยทำไว้ ก็จะได้โอกาส ส่งผล
..ทำให้ชีวิต มีอุปสรรค ต่างๆนานา
..เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีความสุข หมดอำนาจวาสนา เสียชื่อเสียงเกียรติยศ แม้คนที่รักกันก็หมดรัก แม้ทรัพย์ที่มีอยู่น้อยนิด ก็ยังรักษาไว้ไม่ได้
..ฉะนั้น การจะมี ทรัพย์สมบัติทุกอย่าง และ ความสมบูรณ์พร้อมในชีวิต ก็ต้องมีบุญ ที่มากเพียงพอ
..ซึ่งไม่ว่า จะอยู่ในสถานภาพใด ล้วนต้องอาศัยบุญทั้งนั้น ไม่ว่าจะอยากอยู่แบบพอมีพอกิน หรือ คิดจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี หรือ พระเจ้าจักรพรรดิ
..แม้กระทั่ง ปรารถนา ที่จะหมดกิเลส บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอรหันต์ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องมีบุญถึง บารมีถึง ถึงจะดำรงอยู่ในสภาวะนั้น ได้อย่างมั่นคง และมีความสุข
..ด้วยเหตุนี้ เราจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะสั่งสมบุญ
..เพราะบุญ คือ เบื้องหลัง
ความสุข ความสำเร็จ ในชีวิตทุกระดับ อย่างแท้จริง..
แชร์เรื่องบุญไปก็ได้บุญ
บุญและทาน ที่บังเกิดมี ในการส่งต่อ ขอให้เป็นอภิมหาบุญ ขอให้ผู้ที่ส่ง มีความสุข มีความเจริญ รุ่งเรือง ร่ำรวย มีความสุขกายสบายใจ มีสุขภาพดี ไม่เจ็บไม่จน ปรารถนาสิ่งใด สมความปรารถนาทุกๆประการ ขอให้ผลบุญนั้น เห็นผลทันตา ด้วยเทอญ (อธิษฐาน) สาธุ
รักใครให้ส่งไป
“จิตของผู้มีบุญมาก”
1.ไม่บ่น
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นปัญญา ทำให้ยอมรับต่อความเป็นจริงของชีวิต ทำให้รู้เห็นและเข้าใจถึงระดับวาสนาของตนและบุคคลอื่น ความเป็น ไปของชีวิตนั้นขึ้นตรงต่ออำนาจบุญกรรมที่ทำไว้ บ่นไปก็แค่นั้นเอง ที่ได้มา ที่มีอยู่ ที่เสียใจ ที่ไม่ได้ดั่งใจ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มันคือ “ผลแห่งกรรม” อันเป็นสมบัติของเราเอง
2. ไม่กลัว
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความเข้มแข็ง กล้าหาญ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคและปัญหาที่จะเกิดขึ้น เพราะมีความมั่นใจในความเป็นผู้บริสุทธิ์ ความเป็นผู้มีบุญของตน เมื่อจะคิด จะทำอะไรลงไป ล้วนมีกำลังบุญมารองรับทั้งหมดทั้งสิ้น
3.ไม่ทำชั่ว
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นตัวควบคุม บริหารจัดการ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดความกลัว ความละอายต่อบาป ต่อกรรม ความผิดน้อยใหญ่ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เห็นถึงความเสียหาย หลายภพหลายชาติ เห็นถึง ผลกระทบต่อครอบครัว ต่อโลกต่อสังคม อย่างมากมายมหาศาล
4.ไม่คิดมาก
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความสะอาด ความสว่าง ความสงบ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้เกิดพลังแห่งความสงบ แห่งจิตแห่งใจ ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่คิดเป็นทุกข์ ความคิดทุกความคิด ล้วนนำมาซึ่งความเบิกบานกายใจ ไม่คิดเบิกความทุกข์ มาใช้ก่อน
5. รอได้
คอยได้ เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความใจเย็น มีความยืดหยุ่น ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่ใจร้อน ใจเร็ว เห็นถึงจังหวะ และโอกาสของชีวิต
6. อดได้ ทนได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นพลังงานเข้มแข็ง ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ทำให้มีความอดทนที่เป็นหนึ่งเป็นเลิศ มีความคิดที่ไม่หวั่นไหว เห็นความสำเร็จทุกชนิดมาจากความอดทน อดทนอย่างมีความสุข
7. สงบได้ เย็นได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะเป็นสภาพให้เป็นคนที่สงบได้ เย็นได้ ตามกำลังของบุญฤทธิ์ ไม่เป็นคนที่ร้อนรน กระวน กระวาย สับส่าย วุ่นวาย ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ในสิ่งกำลังจะเกิดขึ้น แม้จะตกอยู่ใน เหตุการณ์ที่เลวร้าย ก็ทำใจได้ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
8. ปล่อยได้ วางได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นคนที่รู้จักการละ การวาง ตามกำลังของบุญฤทธิ์
ไม่เป็นคนที่แบกทุกอย่างที่ขวางหน้า ยึดทุกอย่างที่เกิดขึ้น
9. รู้ได้ ตื่นได้ และเบิกบานได้
เมื่อมีบุญแล้ว ผลแห่งบุญนั้นก็จะแปรสภาพให้เป็นความรู้ตื่น เบิกบาน ตามกำลังของบุญฤทธิ์ เป็นผู้รู้ ต่อความ เป็นจริงของชีวิต ไม่ปล่อยชีวิตให้ตกไปในกระแสของความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตใจมีความอิสระเต็มที่ทุกวันทุกเวลาทุกนาที
โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
พระพุทธองค์ตรัสว่า.. "บุคคลแม้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองแต่ก็สามารถให้ทานกับผู้อื่นได้ด้วยสิ่งของ 5 ประการ"
1. ใบหน้าเป็นทาน : สามารถให้รอยยิ้มความสดใส
2. วาจาเป็นทาน : พูดให้กำลังใจ ชื่นชมและปลอบประโลมผู้อื่นให้มาก
3. จิตใจเป็นทาน : สามารถเปิดอกเปิดใจกับผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมและจริงใจ
4. ดวงตาเป็นทาน : ใช้แววตาแห่งความหวังดีความโอบอ้อมอารีย์ให้กับผู้อื่น
5. กายเป็นทาน : สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น
ที่มา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น