พระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดว่า ‘เราตรวจดูโลก 1,000 โลกด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์’ นี้เป็นมานะของท่าน
การที่ท่านคิดว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นความฟุ้งซ่านของท่าน
การที่ท่านคิดว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเราจึงยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ” นี้เป็นความรำคาญของท่าน ท่านจงละธรรม 3 ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม 3 ประการนี้แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุคือนิพพาน”
ต่อมา พระอนุรุทธะละธรรม 3 ประการนี้ ไม่มนสิการถึงธรรม 3 ประการนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุคือนิพพาน หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้เป็นพระอรหันต์
คำอธิบาย และอ้างอิง
1. มานะ แปลว่า การถือตัว ทะนงตน เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง แม้จะถือตัวในคุณวิเศษที่ตนมีก็ตาม ต้องไม่ถือตัว ปล่อยวางเสีย แล้วใจจะหลุดพ้นไปส่ธรรมขั้นสูงกว่าได้
2. ประโยคที่ว่า “การที่ท่านคิดว่า ‘ก็เราบำเพ็ญเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายก็สงบระงับ ไม่ระสำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง’ นี้เป็นความฟุ้งซ่านของท่าน” หมายถึง แค่คิดว่า “ตอนนี้จิตหยุดนิ่ง จิตตั้งมั่นแล้ว…” ก็จัดเป็นความฟุ้งซ่าน คือ ยังมีความคิดอยู่ ยังนิ่งไม่สมบูรณ์ ต้องไม่คิดอะไร แล้วจิตจะหลุดพ้นไปสู่ขึ้นต่อไปได้
3. ประโยคที่ว่า “การที่ท่านคิดว่า “เพราะเหตุไรเล่า จิตของเราจึงยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ” นี้เป็นความรำคาญของท่าน” ความคิดเช่นนี้เป็นการเร่งผล และรู้สึกไม่พอใจที่ยังไม่บรรลุผลที่ต้องการ จัดเป็นกิเลสเช่นกัน ต้องไม่คิดอะไร ปล่อยวางเฉยแล้วจะก้าวพ้นจุดนี้ไปได้
4. ประโยคที่ว่า “น้อมจิตไปในอมตธาตุคือนิพพาน” หมายถึง การปล่อยใจให้หยุดนิ่งไปตามลำดับ โดยไม่ใช้ความคิดแล้วจะบรรลุนิพพานในที่สุด
5. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 34 หน้า 565 - 566
เครดิต: กราบขอบคุณแหล่งที่มา เพจ พระ อ.ขวัญ วชิรญาณ Kwan Kevin
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น