๑ ปี มี ๙ เดือน เคยเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ถ้าย้อนหลังกลับไปหากใครจำได้ จะมีคนชอบพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเดิมเดือนเมษายน คือ วันขึ้นปีใหม่ไทย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าวันที่ ๑ เมษายน ยังเป็นวันที่เปลี่ยนศักราชอีกด้วย แต่ในปัจจุบัน เราจะเปลี่ยนศักราชกันทุก ๆ วันที่ ๑ มกราคมของทุกปีตามสากล
การนับศักราชแบบปัจจุบัน ก็คือเริ่มที่เดือน มกราคม จนถึง ธันวาคม ตามสากล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ออกประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันที่ ๑ มกราคม เริ่มตั้งแต่ปี ๒๔๘๔ เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดานานาอารยประเทศ ซึ่งตัดสามเดือนสุดท้ายของปี ๒๔๘๓ ออก ทำให้เดือน มกราคม ๒๔๘๓, กุมภาพันธ์ ๒๔๘๓ และ มีนาคม ๒๔๘๓ หายไป
ระหว่าง วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๓ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๔๘๓ คือช่วงเวลาที่หายไปในปฏิทิน ดังนั้นวันเวลาจะหายไป ๓ เดือน หรือ ๙๑ วัน จึงไม่มีคนเกิดในวันเวลานี้ตามปฏิทินประเทศไทย
ทำให้ในปี ๒๔๘๓ นั้น พอถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๓ วันต่อไปจะเป็นวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ เลย จากเดิมที่ควรเป็นวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๓
การนับศักราชแบบเก่า
เดือนที่ ๑ เมษายน (เปลี่ยนศักราช)
เดือนที่ ๒ พฤษภาคม
เดือนที่ ๓ มิถุนายน
เดือนที่ ๔ กรกฎาคม
เดือนที่ ๕ สิงหาคม
เดือนที่ ๖ กันยายน
เดือนที่ ๗ ตุลาคม
เดือนที่ ๘ พฤศจิกายน
เดือนที่ ๙ ธันวาคม
เดือนที่ ๑๐ มกราคม
เดือนที่ ๑๑ กุมภาพันธ์
เดือนที่ ๑๒ มีนาคม (เดือนสุดท้ายของปี)
การนับศักราชแบบปัจจุบัน
เดือนที่ ๑ มกราคม (เปลี่ยนศักราช)
เดือนที่ ๒ กุมภาพันธ์
เดือนที่ ๓ มีนาคม
เดือนที่ ๔ เมษายน
เดือนที่ ๕ พฤษภาคม
เดือนที่ ๖ มิถุนายน
เดือนที่ ๗ กรกฎาคม
เดือนที่ ๘ สิงหาคม
เดือนที่ ๙ กันยายน
เดือนที่ ๑๐ ตุลาคม
เดือนที่ ๑๑ พฤศจิกายน
เดือนที่ ๑๒ ธันวาคม (เดือนสุดท้ายของปี)
ถ้าใครได้อ่านประวัติศาสตร์ในช่วงก่อนรัชกาลที่ ๗ ขึ้นไป จะค่อยข้างสับสนกับปีพุทธศักราชนิดหนึ่ง เพราะเขาใช้การนับศักราชแบบเก่า ยกตัวอย่าง เช่น วันเวลาที่ สวรรคตและออกพระเมรุ ของรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖
รัชกาลที่ ๕
สวรรคต ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓
ออกพระเมรุ ๑๖ มีนาคม ๒๔๕๓
รัชกาลที่ ๖
สวรรคต ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
ออกพระเมรุ ๒๔ มีนาคม ๒๔๖๘
ถ้าใครอ่านถึงตอนนี้คงสับสนและงงว่า ทำไมพระราชพิธีถวายพระเพลิง จึงมีขึ้นก่อนการสวรรคตงั้นหรือ แต่จริง ๆ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะนี่คือการนับศักราชแบบเก่า
ตามการนับศักราชแบบเก่า รัชกาลที่ ๕ สวรรคต ในเดือนตุลาคม คือ เดือนที่ ๗ ส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิง มีในเดือน มีนาคม คือ เดือนที่ ๑๒ และรัชกาลที่ ๖ สวรรคต ในเดือนพฤศจิกายน คือ เดือนที่ ๘ ส่วนพระราชพิธีถวายพระเพลิง มีในเดือน มีนาคม คือ เดือนที่ ๑๒
ที่มา
โบราณนานมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น