14 มกราคม 2567

ประวัติและความเป็นมา สิบสองปันนา

ประวัติและความเป็นมา สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา 

ยุคแรก ( ยุคโบราณ) 
 ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นมาโดยกษัตริย์ องค์แรกคือ พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 
แต่ก่อนที่จะมีการก่อตั้งอาณาจักรนี้ขึ้นมา ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมืองต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน และต่อมาในราว 800 กว่าปีที่ผ่านมา โดยนำการพญาเจือง ได้ก่อนตั้งอาณาจักรนี้ขึ้นมา ได้มีการรวบร่วมชนชาติไทลื้อหรือไตลื้อเข้ามาเป็นปึกแผ่นเดียวกัน ชึ่งชนชาติไทลื้อนี้มีประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภาษา และภูมิปัญญา ที่มีความยืนยาวนานมากกว่า 2000 ปี ราวปี พ.ศ.1723 พญาเจียง ได้สถาปนาตัวเอง ขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่1 โดยมีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่ เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งชื่อเมืองนี้มีความหมายว่า “เมืองแห่งรุ่งอรุณอันสดใส” การเปลี่ยนแปลงการปกครองของอาณานี้โดย ราชวงค์อาฬโวสวนตาลในช่วง พระเจ้าหอคำเชียงรุ่ง กษัตริย์ท้าวอินเมิง หรือท้าวอินเมือง อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด ท้าวอินเมืองได้ท่านทรงได้จัดสรรเมือง 2 ฝากฝั่งแม่น้ำโขงออกเป็น 12 หัวเมืองใหญ่ ซึ่งมีคำกล่าวได้ของภาษาไทลื้อว่า 5 เมืองตะวันตก 6 เมืองตะวันออก หมายถึงมีหัวเมืองทางตะวันออก 6 หัวเมือง มีหัวเมืองทางตะวันตกอีก 5 หัวเมือง และรวมกับเมืองเชียงรุ่งอีก 1 เมือง รวมเป็น 12 เมือง เรียกว่า สิบสองปันนาหรือสิบสองพันนา อาจจะกล่าวได้ว่าคำว่า “นา” อาจจะมีความหมายเดียวกันกับคำว่า “ไร่”ในภาษาไทย เช่น มี นา 100นา มีความหมายว่า มีนา 100ไร่ ดั่งคำกล่าวที่ว่า “สิบสองพัน” อาจจะหมายถึงมีพื้นที่นาอยู่ สิบสองพันนาผืน หรือ หนึ่งหมื่นสองพันผื่นนานั้นเอง ซึ่งแต่ละเขตมีพื้นที่อยู่ประมาณ 1,000 นา หรือ 1,000 ไร่ อีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง การว่านเพาะปลูกข้าวมีหน่วยเป็น “ต่า” หรือกระบุง การว่านข้าว สิบสองพันต่า ก็คือ หนึ่งหมื่นสองพันกระบุง ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมๆกันของชาวบ้าน ซึ่งกล่าวได้ว่าในพื้นที่นั้น คือหนึ่งพันนา ก็คือ หนึ่งหัวเมืองนั้นเอง
ส่วนคำว่า “ปันนา” มาจากคำว่า “พันนา” ในสำเนียงของภาษาไทลื้อ จะออกเสียง “พ” เป็น “ป”นั้นเอง  
อีกกรณีหนึ่ง สิบสองปันนา มีความหมายว่า "12 อำเภอ" คำว่า "พันนา" เป็นหน่วยการปกครองของคนชนชาติไทลื้อในอดีต สิบสองปันนา ปกครองเป็น 12 หัวเมืองใหญ่ โดยจัดแบ่งหัวเมืองใหญ่ 28 เมืองเป็น 12 เขตปกครอง จึงเรียกว่า สิบสองปันนา หรือ “สิบสองพันนา” ได้แก่ 
1. เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
2 .เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
3. เมืองลวง เป็น 1 พันนา
4. เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
5. เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
6. เมืองงาด เมืองขาง เมืองวังเป็น 1 พันนา
7. เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
8. เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
9. เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
10. เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
11. เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
12. เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
ในลักษณะภูมิศาสตร์พื้นที่ประมาณมา 12000 กิโลเมตรของอาณาจักรสิบสองพันนาเป็นพื้นที่ราบลุ่มในหุ่บเขามีแม่น้ำโข่ง หรือภาษาไทลื้อเรียกว่าแม่น้ำ”ล้านช้าง”ได้ไหล่ผ่านได้หล่อเลี้ยงทางวัฒนาธรรมอันยาวนาน
อาณาเขตสิบสองปันนา ทางทิศเหนือติดกับ อาณาจักรจีน ทิศใต้ติดกับอาณาจักรล้านช้างและอาณาจักรล้านนาของไทย ส่านทางทิศตะวันตกติดกับอาณาจักรของชาวเชียงตุงไทเขินซึ่งอยู่ในรัฐฉานประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน 
 ส่วนลักษณะภูมิอากาศ เป็นป่าฝนเมืองร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยโดยประมาณ 18- 21 องศาเซลเซียส ต่อปี มีฝนตกชุก จึงทำให้ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างเติมที สิบสองปันเหมาะสำหรับทำเพราะปลูกการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ข้าว อ้อย ใบชา ยางพารา กาแฟ ต้นปาล์มน้ำมัน และผลไม้ต่างๆ อาณาจักรนี้ได้รับสมนายามนามว่า เมืองแห่งต้นไม้ เป็นไข่มุกสีเขียว 

ในการขยายเขตของอาณาในยุคนั้น ครอบคุมไปถึงเมืองเชียงตุงประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบัน 
เมืองแถง (เดียนเบียนฟูประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) เชียงแสน ประเทศไทยในปัจจุบัน อาณาจักรล้านช้าง ประเทศลาวในปัจจุบัน ดั่งนั้น จึงได้เป็นเหตุให้มีการอพยพชนชาติชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่งและอีกหลายๆหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน แถบหัวเมืองทางเหนือของประเทศลาว รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง แถบใต้คง หรือเมืองมาวหลวง เมืองขอน หรือเต๋อหง ของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน
อาณาจักรสิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ ประมาณ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 1835 ได้สิ้นสุดอำนาจการปกครองลง และได้ยอมรับอำนาจของราชวงค์มองโกล ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 33 ของอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อพระเจ้ากรุงจีน ส่งตราหัวเสือ จุ่มกาบหลาบคำ ให้มาเป็นตราแผ่นดินแทนตรา “นกหัสดีลิงค์” ที่เคยใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ 
และได้เปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนครจากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน คือ เจ้าแสนหวี (สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่ง)หรือ ออกในภาษาจีนว่า ส้วนเวย์ ซึ่งได้พํานัก พระราชวังค์เวียงผ่าคาง ตั้งอยู่หน้าผาริ่มฝังแม่น้าโข่ง จุดที่เป็นโครงน้ำซึ่งยามที่กระแสน้ำซัดสาดผ่าจึงทำให้มีเสียงดัง ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงเรียกว่า พระราชวังเวียงผ่าคาง นั้นเอง ร่วมไปถึงชื่อเมืองต่างๆ ภาษาจีน เช่น
สิบสองปันนา เปลี่ยนเป็น Xishuangbanna 西双版纳傣族自治州 เชียงรุ่ง เปลี่ยนเป็น景洪 จิ่งหง

Cr.
#สิบสองปันนาไทยลาวจีนพม่า
#เยือนสิบสองปันนา

#ปู่จอมนาคา999

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...