เป็นเอกัคคตารมณ์ เราจำเป็นจะต้องถอยออกมา
พระอาจารย์ : “ไม่ถอยอยู่ตรงนั้นจนกว่ามันจะถอยออกมาเอง”
โยม :พิจารณาไป
พระอาจารย์ : “ไม่ต้องพิจารณาอะไรทั้งนั้น เวลาอยู่ในสมาธิต้องการให้มันนิ่งเฉยอย่างเดียว #เวลาจะพิจารณานี้ให้มันออกมาก่อน #ให้มันออกมาเองไม่ต้องไปดึงมันออกมา ดันมันเข้าไปแทบเป็นแทบตาย พอมันเข้าไปแล้วก็จะไปดึงมันออกมา อย่างนั้นก็ไม่ต้องเข้าไปให้มันเสียเวลา ตอนนี้คุณก็พิจารณาได้เลยนิ คุณอยากจะพิจารณาตอนนี้คุณก็พิจารณาได้เลย”
โยม : ในชีวิตประจำวัน
พระอาจารย์ : “#ถ้าคุณเห็นอะไรก็พิจารณาให้เป็นไตรลักษณ์แล้วก็ปล่อยวางมันให้ได้ #ที่มันปล่อยวางไม่ได้ก็เพราะว่ามันไม่มีอุเบกขา #เราถึงต้องไปสร้างอุเบกขาในสมาธิ แต่พอเราไปถึงอุเบกขาเราก็ดึงมันออกมาแล้ว ที่นี้มันจะมีอุเบกขาได้อย่างไร มันอุเบกขาต้องให้มันนานๆ อย่างที่คุณบอก นั่งนิ่งอยู่ 2 ชม.อย่างนี้ ถ้ามันเป็นอุเบกขาจริงนี้
#ออกมาใจจะเฉยๆใจจะเย็นจะไม่วุ่นวายกับเหตุการณ์ต่างๆที่มาสัมผัสรับรู้
#แล้วถ้ามันมาเราใช้ปัญญาพิจารณาได้”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
.......
ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
[๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
กาล ความว่า
#เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ
#เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
#สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๗๒๑-๑๑๗๗๗ หน้าที่ ๔๙๑-๔๙๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=11721&Z=11777&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=11721&w=วิปัสสนา&pagebreak=0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น