30 มิถุนายน 2564

พ่อสอนลูก

เราตั้งใจทำความดีแล้ว ก็จงอย่าปล่อยให้ใจมันเสีย ที่เราทำนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้า จำไว้ว่าเราทำความดีทุกอย่าง ก็เพื่อการบูชาคุณของพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ การสอนแนวแห่งการปฏิบัติ สอนให้รู้อารมณ์พระกรรมฐาน แล้วก็รู้อาการของปิติ รู้นิมิตรต่างๆนั้น เป็นหัวใจของการภาวนา เป็นหัวใจที่จะเข้าถึง การละวางอุปทานขันธ์ ๕ และกองทุกข์

การหยิบผลของคนที่เขาปฏิบัติได้แล้วมาเชยชม นอกจากจะไม่ส่งผลถึงการกำหนดรู้ได้แล้ว ยังไม่สามารถเข้าใจ ในด้านอารมณ์แห่งการปฏิบัติได้จริง ศิษย์เอก ศิษย์โท ไม่ได้มาจากการเป็นนักปราชญ์ผู้รู้ในความหมาย ของพระกรรมฐานทุกกอง แต่การจะเป็นศิษย์เอกนั้น เขาเริ่มกันที่ เพียรสร้าง สติ สัมปชัญญะ จากศีล สมาธิ และปัญญา

พ่อไม่เคยสอนศิษย์ของพ่อ ให้แตกฉานในวิทยาอาคม สิ่งสูงสุดที่พ่อสอน คือหนทางแห่งการ "เจริญวิปัสสนา" เพื่อการชำระล้างกิเลสให้สูญ แต่การจะมีวิปัสสนา ก็ต้องฝึกจิตให้มีกำลัง ในด้านของสมถะกันเสียก่อน วิปัสสนาจึงชื่อว่ามาคู่กันกับสมถะเสมอ พ่อไม่เคยสอนให้แยกกันทำ ไม่เคยบอกว่าต้องฝึกทีละตัว หรือเลือกมาเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ก็ไม่เคย   
ลูกต้องเข้าใจว่า การฝึกสมาธิให้รวมตัวกันเป็นตัวรู้ หรือจิตผู้รู้นั้น จงอย่าหวังไกล อย่ามองข้าม แล้วทำแบบคนขยันเกิน ไม่ได้ ก็พยายามเอาให้ได้ ให้เร็ว เดี๋ยวนี้ พรุ่งนี้ อย่างนี้จะไม่มีวันได้ คำว่าพยายามในความหมายนั้น ท่านหมายถึงทำแบบสบายๆ ไม่ลด ละเลิกความตั้งใจ ไม่ฝืนร่างกายให้ทรมาน ไม่ฝืนอารมณ์ ข่ม หรือพยายามจนเกินกำลัง แบบขาดสติสัมปชัญญะ ผู้ใดหมั่นภาวนา แต่ สติ สัมปชัญญะ ไม่ทรงตัวจะกลายเป็นการพัฒนาแบบผู้มีปัญญาทึบ   

อย่านั่งเงียบๆเลยลูก...
จะชอบนิ่งๆก็ไม่เอาไหนจิตต้องจับกุศลส่วนใดส่วนหนึ่งในการภาวนา ตามรู้ลมหายใจ เข้า และออกเมื่อจิตละจากกุศล จิตจะมัวทันที เกิดเป็นความทุกข์ถ้าฝึกกันชำนาญสติ รู้จักเข้ามาช่วยประคองให้ทรงตัวอยู่ได้ นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องฝึก สติ สัมปชัญญะให้เกิด.....

โดย พระเดชพระคุณ
พระราชพรหมยานมหาเถระ
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

   ' ทางสายพระอริยบุคคล ' 
๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...