15 มีนาคม 2565

#ท่านท้าวมหาราช๔พระองค์คอยดูแลตอนเจริญพระกรรมฐาน

"...เวลาจะนั่งกรรมฐาน ต้องคิดไว้เสมอจะเป็นผีเป็นเทวดานี่เขาเข้าถึงตัวเราไม่ได้ วัดจากตัวเราไปได้ ๑ วา รอบ ๆ อย่างเก่งก็มีฤทธิ์ได้แค่นั้น ไม่ว่าจิตอยู่ในเกณฑ์ของสมาธิมากหรือน้อยก็ตาม ถ้าเราสมาทานแล้ว คำว่าผีจริง ๆ เข้ามาไม่ได้เลย ที่จะเข้าใกล้เราได้มีพวกเทวดาเท่านั้น นี่จำไว้เลย

ถ้าเจริญกรรมฐานจิตจะเริ่มเข้าถึงปีติ อันนี้ท้าวมหาราชจะส่งเทวดาเข้าคุมทุกคนนะ ปีตินั้นคือ จิตใจของเรามีความแน่วแน่ เวลาเจริญพระกรรมฐานนี่นะ การทำสมาธิจิตจะแบบไหนก็ตาม ถ้าเรามีความชอบใจ อันนี้เป็นปีติตั้งแต่ระยะนี้เป็นต้นไป ท้าวมหาราชจะส่งคนมาคุม กันผีเข้ามารบกวน

พวกผีหรือที่เรียกว่า อมนุษย์ ถ้าจะมาทำร้ายเรา เขาเข้าไม่ได้เลย ถ้าบังเอิญเรานั่งไป เราก็เห็นว่ามีคนสักคนหนึ่งลากคอคนหรือรัดมือรัดเท้าลากไป อย่าไปห้ามนะ ถ้าหากมาเป็นศัตรูเขาก็จัดการทันที

ถ้ามันจะมาขอส่วนบุญ ถ้าเข้ามาใกล้ แค่มายืนได้แค่วากว่า ๆ ถ้าเราสงสัย เราเห็นเข้าก็อุทิศส่วนกุศลให้แก รูปร่างหน้าตาแจ่มใสแกก็ไป ไม่มีอะไรไม่ต้องกลัว..."

โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร) 
วัดจันทาราม (ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

.......

พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปเสด็จไปยังเรือนของท่านเศรษฐี เสวยพระกระยาหารแล้ว เมื่อจะทำอนุโมทนาจึงได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

                                   บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
                         คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน 

#หรือท้าวมหาราชทั้ง๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือท้าวธตรฐ ๑
                         วิรุฬหก ๑ วิรูปักษ์ ๑ และท้าวกุเวร ๑ 

#ให้เป็นอารมณ์

                         #แล้วพึงให้ทานท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว
                         ทั้งทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความเศร้าโศกหรือ
                         ความร่ำไห้อย่างอื่นไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้
                         เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติ
                         ทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณา
                         ทานนี้ ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ให้แล้ว
                         ย่อมสำเร็จประโยชน์โดยฉับพลัน แก่บุรพเปตชนนั้น
                         สิ้นกาลนาน.

อรรถกถา ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ปฐมวรรค
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ อรรถกถาปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุที่ ๔

....

ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดา
                          เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็น
                          ผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ ดูกรภูตทั้งปวง เพราะ
                          เหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิต
                          ในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน
                          ทั้งกลางคืน 

#เพราะเหตุนั้นแลท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น 

รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ

.....

#ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลกสำหรับผู้ทำบาปกรรม

ดูกรบุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้
แน่ะผู้เจริญ 

#ท่านสามารถที่จะทำความดีได้หนอแต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสีย...

อนึ่ง ท่านได้ปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตนท่านนั้น
ซึ่งเป็นคนพาล ประพฤติตึงๆ หย่อนๆ

#อันเทวดาและพระตถาคตย่อมเห็นได้

เพราะฉะนั้นแหละ​ คนที่มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเที่ยวไป​ คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ
และ

#คนที่มีธรรมเป็นใหญ่ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่ธรรม

มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่เลวลง
อนึ่ง บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุ
ผู้ทำที่สุดเสียได้แล้ว ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นชาติ
บุคคลผู้เช่นนั้น ย่อม เป็นผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี
เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยากในธรรมทั้งปวง ฯ
----------
ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หน้าที่ ๑๔๑ ข้อที่ ๔๗๙.

....

อนุสสติฏฐานสูตร

             [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น
ผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต
สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้ม
รุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป
หลุดไปจากความอยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของ
เบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต
ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธรรมานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์
ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น
ยิ่งกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น
จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำ
สังฆานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ
เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ ทำสีลานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ
             อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของ
เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสสติแม้นี้
ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             #อีกประการหนึ่งอริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า #เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ 

เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่
เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัดดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหม
มีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ
จากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเรามีอยู่ เทวดา
เหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วยจาคะเช่นใด ด้วย
ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเรา
ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวก
นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็น
จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกใน
โลกนี้ 

#ทำเทวตานุสสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติ ๖ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๗๓๘๗-๗๔๓๐ หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๖.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=7387&Z=7430&pagebreak=0

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...