26 มีนาคม 2565

ลมหายใจไม่เที่ยง ลมหายใจพุทโธ

"ทีนี้วิธีปฏิบัติจริงๆ อันดับแรก พระพุทธเจ้าแนะนำให้ทุกคนกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก 

แต่ว่าโบราณาจารย์ทั้งหลายท่านแนะนำบอกว่าให้ใช้
วิปัสสนาญาณก่อน วิปัสสนาอย่างอ่อนก็ตามที่พูดแล้วเมื่อคืนนี้ว่า ก่อนที่จะภาวนาหรือพิจารณาหรือ

รู้ลมหายใจเข้าออก ให้พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก่อน"

"จับลมหายใจเข้าออกใหม่ ภาวนาใหม่ นี่เป็นการเริ่มต้นของบรรดาท่านพุทธบริษัท

    การทำเพียงแค่นี้ ถ้าจะถามว่าถ้าไม่ทำอย่างอื่นเลย ให้ทำเพียงแค่นี้ คือ

     ประการที่ ๑ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     ประการที่ ๒ คอยหลบหน้านิวรณ์
     ประการที่ ๓ รู้ลมหายใจเข้าออกกับคำภาวนาว่า “พุทโธ”"

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง)

.....

[๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ

             จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร 

ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา 
ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น 

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ
             [๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯจิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

             [๑๑๔] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน
                          รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ
                          การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วย
                          สภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิต
                          ไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ
                          การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ
                          แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า
                          อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา) พระ-
                          *โยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่
                          หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ
                          ปรากฏ ๓ ประการ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัดเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็น
ความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...