พุทธานุสสติในการละสังโยชน์ 10 เพื่อบรรลุพระอรหันต์
(โปรดอ่านและพิจารณาให้ดีมีประโยชน์มาก)
ธรรมโอวาท หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
(โปรดอ่านและพิจารณาให้ดีมีประโยชน์มาก)
ธรรมโอวาท หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
ระลึกตามบทพระพุทธคุณ ๙ อย่าง
การระลึกตามแบบพระพุทธคุณ ๙ อย่างนี้
เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ จะไม่
นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียน
ไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้
เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ทรงบรรลุ จะไม่
นำมาเขียนไว้เห็นท่าจะไม่เหมาะ ขอนำมาเขียน
ไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้
๑. อรหัง คำว่า อรหังนี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส
หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
อยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ
อารมณ์กิเลสที่พระอรหังหรือที่เรียกว่าพระอรหันต์
ละได้นั้นมี ๑๐ อย่าง คือ
หมายความว่า พระพุทธองค์ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
อยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ
อารมณ์กิเลสที่พระอรหังหรือที่เรียกว่าพระอรหันต์
ละได้นั้นมี ๑๐ อย่าง คือ
ก. สักกายทิฎฐิ เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา ท่านละความเห็นว่า
เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้
โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ
ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัย
ของนามธรรม คือ
เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์
เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา ท่านละความเห็นว่า
เป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้
โดยเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ
ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัย
ของนามธรรม คือ
เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์
สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว
สังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานี
สดชื่น อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดี
และอารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่วที่เรียกกันว่า
อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้า
ควบคุมใจ
สดชื่น อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดี
และอารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่วที่เรียกกันว่า
อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้า
ควบคุมใจ
วิญญาณ คือ ความรู้ หนาว ร้อน หิวกระหาย เผ็ด
เปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น
วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต
วิญญาณกับจิตนี้คนละอันแต่นักแต่งหนังสือ
มักจะเอาไปเขียนเป็นอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจเขว
ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย
เปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น
วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต
วิญญาณกับจิตนี้คนละอันแต่นักแต่งหนังสือ
มักจะเอาไปเขียนเป็นอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจเขว
ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย
อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาอาศัยกายและไม่ตายร่วมกับ
ร่างกาย สิ่งนั้นก็คือจิต เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณนี้ ตายร่วมกับร่างกาย คือกายตาย
ก็ตายด้วย แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามา
อาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่ คือดำรงอยู่ร่วม
พร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จิตก็อาศัยอยู่
ร่างกาย สิ่งนั้นก็คือจิต เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณนี้ ตายร่วมกับร่างกาย คือกายตาย
ก็ตายด้วย แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามา
อาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่ คือดำรงอยู่ร่วม
พร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จิตก็อาศัยอยู่
แต่ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็นประธานตายแล้ว
จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่ คำว่าเรา
ในที่นี้ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามาอาศัยกาย เมื่อ
ท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า
ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เราไม่มี
ในกายกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัย
ในกายคือ ขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้
ก็อาศัยต่อไป
จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่ คำว่าเรา
ในที่นี้ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามาอาศัยกาย เมื่อ
ท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า
ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เราไม่มี
ในกายกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัย
ในกายคือ ขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้
ก็อาศัยต่อไป
ถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ ไม่เสียดาย
ห่วงใยในขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดา
เสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึง
เวลาลงก็นั่งไปแต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร
ก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถ
หรือเรือโดยสารนั้น
ห่วงใยในขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดา
เสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึง
เวลาลงก็นั่งไปแต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร
ก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถ
หรือเรือโดยสารนั้น
เพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเราเขาก็ไม่ใช่เรา
เราก็ไปตามทางของเรา ส่วนรถเรือโดยสารก็ไป
ตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย พระอรหันต์
ทั้งหลายท่านมีความรู้สึกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น
จอมอรหันต์ พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติ
ที่ระลึกถึงพระคุณข้อนี้ ก็ควรทำความพอใจตามที่
พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์ อย่างนี้ จะเป็น
เครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็น
พระอรหันต์อย่างพระองค์
เราก็ไปตามทางของเรา ส่วนรถเรือโดยสารก็ไป
ตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย พระอรหันต์
ทั้งหลายท่านมีความรู้สึกอย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็น
จอมอรหันต์ พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติ
ที่ระลึกถึงพระคุณข้อนี้ ก็ควรทำความพอใจตามที่
พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์ อย่างนี้ จะเป็น
เครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็น
พระอรหันต์อย่างพระองค์
ข. วิจิกิจฉา พระอรหันต์ท่านเชื่อมั่นในธรรมปฏิบัติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วโดยไม่เคลือบแคลง
สงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง
ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้วโดยไม่เคลือบแคลง
สงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง
ค. สีลัพพตปรามาส ท่านรักษาศีลเป็นอธิศีล
คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองไม่แนะให้ใครละเมิดศีล
ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล
คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองไม่แนะให้ใครละเมิดศีล
ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล
ฆ. ละกามฉันทะ คือความยินดีในกามารมณ์ ท่าน
หมดความรู้สึกทางเพศเด็ดขาดมีอสุจิเหือดแห้ง
ความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึก
ของท่านเลย
หมดความรู้สึกทางเพศเด็ดขาดมีอสุจิเหือดแห้ง
ความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึก
ของท่านเลย
ง. พยาบาท ท่านตัดความโกรธความพยาบาท
ได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานีเป็นปกติ
ได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานีเป็นปกติ
จ. รูปราคะ ท่านตัดความสำคัญในรูปฌานว่า
เลิศเสียได้ โดยเห็นว่ารูปฌานนี้เป็นกำลังส่งให้
เข้าถึงวิปัสสนาญาณไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน
เลิศเสียได้ โดยเห็นว่ารูปฌานนี้เป็นกำลังส่งให้
เข้าถึงวิปัสสนาญาณไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน
ฉ.ท่านตัดความเห็นว่าเลิศในอรูปฌานเสียได้
โดยเห็นว่าอรูปฌานนี้ก็เป็นเพียงกำลังส่งให้เข้าถึง
วิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน
โดยเห็นว่าอรูปฌานนี้ก็เป็นเพียงกำลังส่งให้เข้าถึง
วิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน
ช. มานะ ท่านตัดความถือตัวถือตนว่า เราเลวกว่าเขา
เราเสมอเขา เราดีกว่าเขาเสียได้โดยวางอารมณ์เป็น
อุเบกขาคือเฉย ๆ ต่อยศฐาบรรดาศักดิ์และฐานะความ
เป็นอยู่เพราะทราบแล้วว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล
เราเสมอเขา เราดีกว่าเขาเสียได้โดยวางอารมณ์เป็น
อุเบกขาคือเฉย ๆ ต่อยศฐาบรรดาศักดิ์และฐานะความ
เป็นอยู่เพราะทราบแล้วว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล
ซ. อุทธัจจะ ท่านตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่คิดนอกลู่นอกทาง
เสียได้ มีอารมณ์ผ่องใสพอใจในพระนิพพานเป็นปกติ
เสียได้ มีอารมณ์ผ่องใสพอใจในพระนิพพานเป็นปกติ
ฌ. ท่านตัดอวิชชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่าน
หมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยที่คิดว่า
เป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิงท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น
มีเกิดแล้วก็เสื่อมในที่สุดก็ต้องทำลาย
หมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต โดยที่คิดว่า
เป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิงท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น
มีเกิดแล้วก็เสื่อมในที่สุดก็ต้องทำลาย
ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ยึดถืออะไรมั่นคง มีก็ใช้
เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์ ท่านตัดความกำหนัดยินดี
ในสมบัติของโลกเสียทั้งหมด ไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหน
อะไรทั้งหมด แม้แต่สังขารของท่าน
เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์ ท่านตัดความกำหนัดยินดี
ในสมบัติของโลกเสียทั้งหมด ไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหน
อะไรทั้งหมด แม้แต่สังขารของท่าน
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทุกองค์มีความรู้สึกอย่างนี้
ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำให้อารมณ์ผ่องใสในพระพุทธคุณ
มากขึ้น เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า
ได้อย่างไม่ยากนัก
ท่านที่เจริญอนุสสติข้อนี้ เมื่อใคร่ครวญตามความดีทั้งสิบประการนี้เสมอ ๆ ทำให้อารมณ์ผ่องใสในพระพุทธคุณ
มากขึ้น เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า
ได้อย่างไม่ยากนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น