" ฤทธิ์ ฌาน นิโรธสมาบัติ ฌานศักดิสิทธิ์
คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ศักดิสิทธิ์เพียงใด เปรียบ อุปมา ใด้ ดังนี้ "
คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ศักดิสิทธิ์เพียงใด เปรียบ อุปมา ใด้ ดังนี้ "
" ความหมาย ของคำว่า "นิโรธ" หรือ "นิโรธสมาบัติ" "
การเข้า ฌาน นิโรธสมาบัติ ของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เท่าที่จดจำกันได้ มีอยู่เพียง 4 ครั้งคือ ( แต่จริงๆมี 5 ครั้ง )
1.บ้านสามัคคีวิสุทธิ ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ พ.ศ.2496
2.พระพุทธบาท สระบุรี พ.ศ.2496
3.บ้านนาซา ระยอง ต้นปี มีนาคมพ.ศ.2498 ถึง มีนาคม 2499
4. วัดพระแท่นดงรัง วันเพ็ญเดือน 4 พ.ศ.2498 ตามบันทึกคลาดเคลื่อนเป็นปี 2499
2.พระพุทธบาท สระบุรี พ.ศ.2496
3.บ้านนาซา ระยอง ต้นปี มีนาคมพ.ศ.2498 ถึง มีนาคม 2499
4. วัดพระแท่นดงรัง วันเพ็ญเดือน 4 พ.ศ.2498 ตามบันทึกคลาดเคลื่อนเป็นปี 2499
5. ข้างบ่อน้ำศักดิ์ ทีวัดสารนาท 8 มีนาคม ปี 2499
ตามความหมายของคำว่า "นิโรธ" หรือ "นิโรธสมาบัติ" นั้น เป็นการเข้าฌานสมบัติอันสูงส่ง เป็นฌานลำดับที่ 9 ดังนี้
1. ปฐมฌาน ฌานที่ 1
2. ทุติยฌาน ฌานที่ 2
3. ตติยฌาน ฌานที่ 3
4. จตุตถฌาน ฌานที่ 4
5. ปัญจมฌาน ฌานที่ 5
6. ฉัฏฐมฌาน ฌานที่ 6
7. สัตตมฌาน ฌานที่ 7
8. อัฏฐมฌาน ฌานที่ 8 และ
9. นิโรธฌาน ฌานที่ 9 หรือนิโรธสมาบัติ
2. ทุติยฌาน ฌานที่ 2
3. ตติยฌาน ฌานที่ 3
4. จตุตถฌาน ฌานที่ 4
5. ปัญจมฌาน ฌานที่ 5
6. ฉัฏฐมฌาน ฌานที่ 6
7. สัตตมฌาน ฌานที่ 7
8. อัฏฐมฌาน ฌานที่ 8 และ
9. นิโรธฌาน ฌานที่ 9 หรือนิโรธสมาบัติ
เมื่อเข้าสู่องค์ฌานลำดับที่ 9 นี้ กายสังขารและจิตตสังขารจะระงับไป คือแทบไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางกายและทางใจ แต่ก็ไม่ใช่พระนิพพาน สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้า "นิโรธสมาบัติ" ได้นั้น พระบาลีระบุว่า
"ต้องเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์" เท่านั้น ต่ำกว่านั้นไม่สามารถเข้าได้
พระบาลีหลายแห่งยังระบุอานิสงส์ของการเข้าฌานสมาบัติไว้อีกว่า
"เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า" สามารถระงับทุกขเวทนาทางกาย ฌานสมาบัตินี้สามารถเข้าได้นานสุดเพียง 7 วัน เพราะร่างกายของคนเราจะทนอดทนกลั้นไม่กินข้าว ไม่หายใจ ไม่รับรู้อะไรเลยนั้น ฝืนธรรมชาติได้เพียง 7 วัน
และเมื่อพระอริยบุคคลท่านนั้นออกจากฌานสมาบัติแล้ว ก็จะเกิดความหิวขึ้นมา (เพราะว่าอดข้าวมาหลายวัน) บุคคลผู้ใดได้ให้อาหารแก่พระอริยบุคคลผู้แรกออกจากฌานสมาบัติเช่นนี้ จะได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวง เทียบเท่าระดับจักรพรรดิสมบัติ มีสวรรค์และพระนิพพานเป็นเบื้องหน้คัมภีร์อภิธัมมัตถ
สังคหะ ปริเฉทที่๔
"ต้องเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์" เท่านั้น ต่ำกว่านั้นไม่สามารถเข้าได้
พระบาลีหลายแห่งยังระบุอานิสงส์ของการเข้าฌานสมาบัติไว้อีกว่า
"เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า" สามารถระงับทุกขเวทนาทางกาย ฌานสมาบัตินี้สามารถเข้าได้นานสุดเพียง 7 วัน เพราะร่างกายของคนเราจะทนอดทนกลั้นไม่กินข้าว ไม่หายใจ ไม่รับรู้อะไรเลยนั้น ฝืนธรรมชาติได้เพียง 7 วัน
และเมื่อพระอริยบุคคลท่านนั้นออกจากฌานสมาบัติแล้ว ก็จะเกิดความหิวขึ้นมา (เพราะว่าอดข้าวมาหลายวัน) บุคคลผู้ใดได้ให้อาหารแก่พระอริยบุคคลผู้แรกออกจากฌานสมาบัติเช่นนี้ จะได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวง เทียบเท่าระดับจักรพรรดิสมบัติ มีสวรรค์และพระนิพพานเป็นเบื้องหน้คัมภีร์อภิธัมมัตถ
สังคหะ ปริเฉทที่๔
✨ นิโรธสมาบัติวิถี ✨
การเข้านิโรธสมาบัติ เหมือนฝึกนิพพาน เข้าสู่ความดับสนิทแห่งนามขันธ์ โดยปราศจากอันตรายใด ๆ เป็นมหาสันติสุขอันยอดเยี่ยม ดังนั้นพระอริยเจ้าจึงนิยม เข้าผลสมาบัติ และนิโรธสมาบัติด้วยศรัทธา และฉันทะในอมตรสนั้น จนกว่าจะ นิพพาน
ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังจะกล่าวต่อไป นี้ คือ
คุณสมบัติ คือ
๑. ต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์
๒. ต้องได้ฌานสมาบัติทั้ง ๘ กล่าวคือ ต้องได้รูปฌาน และ อรูปฌานด้วย ทุกฌาน
๓. ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ถึงพร้อมสี่ประการ ได้แก่
๒. ต้องได้ฌานสมาบัติทั้ง ๘ กล่าวคือ ต้องได้รูปฌาน และ อรูปฌานด้วย ทุกฌาน
๓. ต้องมีวสี ชำนาญคล่องแคล่วในสัมปทา คือ ถึงพร้อมสี่ประการ ได้แก่
ก. มีสมถพละ และวิปัสสนาพละ คือ มีสมาธิ และปัญญาเป็นกำลัง ชำนาญ
ข. ชำนาญในการระงับกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ชำนาญใน การระงับ วจีสังขาร (คือ วิตก วิจาร ที่ปรุงแต่งวาจา) ชำนาญในการ ระงับจิตตสังขาร (คือสัญญา และเวทนาที่ทำให้เจตนาปรุงแต่งจิต)
ค. ชำนาญในโสฬสญาณ (คือญาณทั้ง ๑๖)
ง. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน
ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำเป็นต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ กำลังสมถภาวนา ต้องถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนาก็ต้องถึง ตติยมัคคเป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ ต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย
ค. ชำนาญในโสฬสญาณ (คือญาณทั้ง ๑๖)
ง. ชำนาญใน ฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน
ดังนี้จะเห็นได้ว่า การเข้านิโรธสมาบัติ จำเป็นต้องใช้กำลังทั้ง ๒ ประการ คือ กำลังสมถภาวนา ต้องถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และกำลังวิปัสสนาก็ต้องถึง ตติยมัคคเป็นอย่างต่ำ กล่าวคือ ต้องใช้ทั้งกำลังสมาธิ และกำลังปัญญาควบคู่กันด้วย
๔. ต้องเป็นบุคคลในภูมิที่มีขันธ์ ๕ (คือ ปัญจโวการภูมิ) เพราะในอรูปภูมิ เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ด้วยเหตุว่าไม่มีรูปฌาน พระอนาคามี หรือ พระอรหันต์ ที่ได้สมาบัติทั้ง๘ อันเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ดังกล่าวแล้ว
เมื่อจะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องกระทำดังนี้
(๑) เข้าปฐมฌาน มีกัมมัฏฐานใดกัมมัฏฐานหนึ่ง ที่ตนได้มาแล้วเป็นอารมณ์ ปฐมฌานกุสลจิตสำหรับพระอนาคามี หรือ ปฐมฌานกิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์ ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะ
(๒) เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
(๓) เข้าทุติยฌาน ฌานจิตก็เกิด ๑ ขณะ
(๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๕) เข้าตติยฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๖) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๗) เข้าจตุตถฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๘) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๙) เข้าปัญจมฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๐) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๑) เข้าอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๒) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๓) เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๕) เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๖) เมื่อออกจาก อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถี แต่เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ บุพพกิจ ๔ อย่าง ได้แก่
ก. นานาพทฺธ อวิโกปน อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ ตลอดจนร่างกาย ของข้าพเจ้า ขออย่าให้เป็นอันตราย
ข. สงฺฆปฏิมานน อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มาตาม
ค. สตฺถุปกฺโกสน อธิษฐานว่า ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัว ข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มีผู้มาตาม
ง. อทฺธาน ปริจฺเฉท อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด รวมทั้งการพิจารณาอายุสังขารของตนด้วยว่าจะอยู่ถึง ๗ วันหรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน
(๑๗) อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน วิถีนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เกิดขึ้น ๒ ขณะ (๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ)
(๑๘) ลำดับนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ยังคงดำรงอยู่ และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ ไปด้วยไม่จิตเจตสิก และจิตตชรูป คงดับอยู่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้
(๑๙) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ ซึ่งเรียกว่า ออกจากนิโรธสมาบัติ นั้น
อนาคามิผล สำหรับอนาคามิบุคคล หรือ อรหัตตผล สำหรับอรหัตตบุคคล ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะก่อน ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปจึงจะเกิดตาม ปกติต่อไปตามเดิม
(๒) เมื่อออกจากปฐมฌานแล้ว ต้องพิจารณาองค์ฌาน โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
(๓) เข้าทุติยฌาน ฌานจิตก็เกิด ๑ ขณะ
(๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๕) เข้าตติยฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๖) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๗) เข้าจตุตถฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๘) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๙) เข้าปัญจมฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๐) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๑) เข้าอรูปฌาน คือ อากาสานัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๒) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๓) เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๔) เข้าปัจจเวกขณวิถี
(๑๕) เข้าอากิญจัญญายตนฌาน ฌานจิตเกิด ๑ ขณะ
(๑๖) เมื่อออกจาก อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเข้าปัจจเวกขณวิถี แต่เข้าอธิฏฐานวิถี คือ ทำ บุพพกิจ ๔ อย่าง ได้แก่
ก. นานาพทฺธ อวิโกปน อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ ตลอดจนร่างกาย ของข้าพเจ้า ขออย่าให้เป็นอันตราย
ข. สงฺฆปฏิมานน อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มาตาม
ค. สตฺถุปกฺโกสน อธิษฐานว่า ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัว ข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มีผู้มาตาม
ง. อทฺธาน ปริจฺเฉท อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด รวมทั้งการพิจารณาอายุสังขารของตนด้วยว่าจะอยู่ถึง ๗ วันหรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน
(๑๗) อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน วิถีนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เกิดขึ้น ๒ ขณะ (๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ)
(๑๘) ลำดับนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ยังคงดำรงอยู่ และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ ไปด้วยไม่จิตเจตสิก และจิตตชรูป คงดับอยู่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้
(๑๙) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ ซึ่งเรียกว่า ออกจากนิโรธสมาบัติ นั้น
อนาคามิผล สำหรับอนาคามิบุคคล หรือ อรหัตตผล สำหรับอรหัตตบุคคล ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะก่อน ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปจึงจะเกิดตาม ปกติต่อไปตามเดิม
สัญญาเวทยิตนิโรธ คือ อารมณ์จิตของพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ หรือ พระอนาคามีระดับปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้นที่มีจิตที่ว่างจากอารมณ์ทุกชนิด โดยจิตไม่ยอมรับรู้อารมณ์อะไรเลย แม้จะเป็นพระอรหันต์ระดับเตวิชโช หรือฉฬภิญโญ ก็ไม่สามารถทำจิตว่างจากอารมณ์ใดๆ ได้............
นี่ว่ากันตาม พระบาลี”แท้ๆนะครับ
ก็เพื่อให้สะดวกแก่ความเข้าใจ จึงจะขอสรุปสั้นๆก็คือ อันผู้ที่"มีสิทธิ์"เข้า"นิโรธสมาบัติ"(ของจริง)ได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. ต้องเป็น"พระอริยบุคคล"ระดับ"พระอนาคามี"ถึง"พระอรหันต์"เท่านั้น (นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นพระโสดา,สกทาคามี หรือแม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็ไม่อาจเข้า"นิโรธสมาบัติ"(ของจริง)ได้ เพราะเนื่องจากท่านยังมิอาจละกามราคานุสัย อันเป็นกิเลสอย่างละเอียดอ่อนที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของการทำสมาธิในระดับสูงเช่นนี้ได้ ฉะนั้น พระอริยบุคคลโสดาบันหรือพระสกทาคามี และหรือพระโพธิสัตว์(ไม่ว่าจะได้รับหรือยังไม่ได้รับพยากรณ์ ซึ่งยังคงอยู่ใน"ปุถุชน"เต็มภูมิอยู่)ทั้งสิ้น จึงมิอาจเข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง)ได้ สภาวจิตยัง"ไม่ใช่"นั่นเอง)
2.พระ"อนาคามี"หรือ"อรหันต์"นั้น จะต้องเป็นผู้ชำนาญใน"สมาบัติ 8"เท่านั้น จึงจะเข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง)ได้
1. ต้องเป็น"พระอริยบุคคล"ระดับ"พระอนาคามี"ถึง"พระอรหันต์"เท่านั้น (นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นพระโสดา,สกทาคามี หรือแม้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายก็ไม่อาจเข้า"นิโรธสมาบัติ"(ของจริง)ได้ เพราะเนื่องจากท่านยังมิอาจละกามราคานุสัย อันเป็นกิเลสอย่างละเอียดอ่อนที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของการทำสมาธิในระดับสูงเช่นนี้ได้ ฉะนั้น พระอริยบุคคลโสดาบันหรือพระสกทาคามี และหรือพระโพธิสัตว์(ไม่ว่าจะได้รับหรือยังไม่ได้รับพยากรณ์ ซึ่งยังคงอยู่ใน"ปุถุชน"เต็มภูมิอยู่)ทั้งสิ้น จึงมิอาจเข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง)ได้ สภาวจิตยัง"ไม่ใช่"นั่นเอง)
2.พระ"อนาคามี"หรือ"อรหันต์"นั้น จะต้องเป็นผู้ชำนาญใน"สมาบัติ 8"เท่านั้น จึงจะเข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง)ได้
. เพราะการเข้า"นิโรธสมาบัติ"(ของจริง) อันเปรียบด้วยการ"เข้านิพพานทั้งเป็น" นั้น จิตและเจตสิกดับไปเลยชั่วคราว ในช่วงเวลาที่กำลังเข้าสมาบัตินี้อยู่ ท่านที่กำลังเข้าสมาบัตินี้อยู่จึงมีร่างนิ่งๆเหมือนหัวตอ ลมหายใจก็ไม่มี จึงไม่ต้องกล่าวถึงการ"กิน"การ"ดื่ม"และ"ขับถ่าย"ใดๆทั้งสิ้น
ด้วยเหตุการเข้า"นิโรธสมาบัติ"(ของจริง) ดังกล่าว เป็นการตัดสัญญาอารมณ์และเวทนาใดๆโดยสิ้นเชิง (จิตใจจะไม่รับรู้สิ่งภายนอกใดๆแม้สัญญาอารมณ์ในจิตตนเองทั้งสิ้น) หากใครว่า "เข้านิโรธสมาบัติ"แล้ว ยังกินยังดื่มยังมี movement เคลื่อนไหวใดๆ มีการปลุกเสกพระเครื่องราง 108 เป็นต้นได้อยู่ ก็จงรู้เถิดว่า นั่นหาใช่"นิโรธสมาบัติ"(ของจริง)แต่ประการใดไม่!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
แต่เพราะการเข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง)นั้น จะเกิด"พลังงานพิเศษ"ที่ทรงอานุภาพมากแผ่ซ่านไปทั่ว อันย่อมรักษาตัวตนแห่งผู้เข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง)นั้นให้ปลอดภัยในทุกกรณีในที่ทุกสถานได้อย่างสิ้นเชิง แม้วัตถุอันเกี่ยวเนื่องด้วยอัจฉริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติ(ของจริง) ไม่ว่าจะเป็นโดยตำแหน่ง,ที่ตั้ง หรือการตั้งโปรแกรมจิตก่อนหรือหลังเข้านิโรธฯนั้น ย่อมกลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ทรงอานุภาพมากล้นตามไปด้วยโดยปริยาย โดยไม่จำต้องหรือสามารถ"ถอนจิต"มาปลุกเสกใดๆเลย สมดังประโยคที่มีการเปรียบเทียบกันไว้อย่างน่าคิดน่าฟังที่สุดประโยคหนึ่งว่า
"ไม่เสกก็เหมือนเสก แต่ถ้าเสกก็ยิ่งกว่าเสก" ไปด้วยประการฉะนี้.....
"ไม่เสกก็เหมือนเสก แต่ถ้าเสกก็ยิ่งกว่าเสก" ไปด้วยประการฉะนี้.....
และแน่นอนที่สุด หนึ่งใน “พระอริยะ” ชั้นสูงที่ทรง “อัจฉริยภาพ”อันประเสริฐยิ่งที่สามารถเข้า “นิโรธสมาบัติ” (ของจริง) ตามที่พระอรรถกถาจารย์ได้พรรณนาไว้ ก็คือ “คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม” แห่งบ้านสามัคคีวิสุทธิ นั่นเอง...!!!!!!
อันการเข้า"นิโรธสมาบัติ" นี้ คุณแม่บุญเรือนเคยกล่าวกับศิษย์ใกล้ชิดว่า หากเป็นการเข้านิโรธสมาบัติแบบ"เต็มภูมิ"แล้วไซร้ จะต้องไม่มีการดื่ม การกิน การถ่าย ทั้งอุจจาระ ปัสสาวะใดๆทั้งสิ้น
การเข้านิโรธสมาบัติแบบ"เต็มภูมิ"นี้ ท่านกล่าวว่า จะอยู่ได้เพียง 7 วัน เพราะพลังงานต่างๆทุกชนิดที่สะสมไว้ในร่างกาย จะถูกเผาผลาญไปจนหมดสิ้น ซึ่งหากใครขืนเข้านิโรธสมาบัติแบบเต็มภูมิเกินไปกว่านั้น ร่างกายสังขารก็อาจจะถึงแก่การอวสานได้
ซึ่งการเข้านิโรธสมาบัติอย่าง"เต็มภูมิ"นี้ คุณแม่บุญเรือนก็เคยเล่าไว้ว่า
"แม่ก็เคยทำมาแล้ว ไม่กินไม่ถ่ายตลอด 7 วัน...!!!!"
การเข้านิโรธสมาบัติแบบ"เต็มภูมิ"นี้ ท่านกล่าวว่า จะอยู่ได้เพียง 7 วัน เพราะพลังงานต่างๆทุกชนิดที่สะสมไว้ในร่างกาย จะถูกเผาผลาญไปจนหมดสิ้น ซึ่งหากใครขืนเข้านิโรธสมาบัติแบบเต็มภูมิเกินไปกว่านั้น ร่างกายสังขารก็อาจจะถึงแก่การอวสานได้
ซึ่งการเข้านิโรธสมาบัติอย่าง"เต็มภูมิ"นี้ คุณแม่บุญเรือนก็เคยเล่าไว้ว่า
"แม่ก็เคยทำมาแล้ว ไม่กินไม่ถ่ายตลอด 7 วัน...!!!!"
นอกจากนี้ คุณแม่บุญเรือนยังได้เคยกล่าววิพากษ์ถึงการเข้า"นิโรธฯ"ของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิเทสโก) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ในสมัยนั้น แม้จะเคยเป็น"อาจารย์สอนกรรมฐานเบื้องต้น"ให้คุณแม่มาก่อน แต่เมื่อถึง"ธรรมะชั้นสูง"ยัง"ไม่ใช่" คุณแม่ก็ต้องว่า "ไม่ใช่" อย่างตรงไปตรงมาทีเดียวว่า
"เจ้าคุณรัชฯ...เจ้าคุณอาจารย์นี่ทำนิโรธไม่เป็น ทำไมเวลาเข้านิโรธแล้ว จึงยังฉันน้ำผึ้งอยู่อีก ท่านทำไม่ถูกนะคะ...!!!?”
"เจ้าคุณรัชฯ...เจ้าคุณอาจารย์นี่ทำนิโรธไม่เป็น ทำไมเวลาเข้านิโรธแล้ว จึงยังฉันน้ำผึ้งอยู่อีก ท่านทำไม่ถูกนะคะ...!!!?”
หมายเหตุ , จากคำกล่าวของคุณแม่บุญเรือน ดังกล่าว ก็ย่อมส่งสะท้อนไปถึงใครก็ตามที่ว่า “เข้านิโรธ” หากยังมี “การกินการดื่ม” ไม่ว่าจะเป็นเพียงแม้ “ข้าวหนึ่งเมล็ด” หรือ “น้ำหนึ่งหยด” ก็จงรู้ไว้เถิดว่า นั่นหาใช่เป็น “นิโรธสมาบัติ”(ของจริง)แต่ประการใดไม่....(ส่วนการนั้น จะเป็นเพียง “นิโรธสมบัติ”หรือ “นิโรธสมมุติ” ประการใดนั้น ก็กรุณาไปพิจารณากันเทอญ !)
จากประวัติที่คุณเสทื้อน สุภโสภณได้เคยบันทึกไว้ ระบุไว้อย่างแน่ชัดว่า สถานที่สำคัญต่างๆที่คุณแม่บุญเรือนเคยเข้านิโรธสมาบัติ เพื่อช่วยทุกข์และบันดาลความสำเร็จให้แก่บรรดาสานุศิษย์ของท่านนั้น เท่าที่จดจำกันได้ มีอยู่เพียง 4 ครั้งคือ
1.บ้านสามัคคีวิสุทธิ ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ พ.ศ.2496
2.พระพุทธบาท สระบุรี พ.ศ.2496
3.บ้านนาซา ระยอง ต้นปีพ.ศ.2499
4.วัดพระแท่นดงรัง วันเพ็ญเดือน 4 พ.ศ.2499
1.บ้านสามัคคีวิสุทธิ ที่ถนนวิสุทธิกษัตริย์ พ.ศ.2496
2.พระพุทธบาท สระบุรี พ.ศ.2496
3.บ้านนาซา ระยอง ต้นปีพ.ศ.2499
4.วัดพระแท่นดงรัง วันเพ็ญเดือน 4 พ.ศ.2499
เคดิต พุฒิ นิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น