30 พฤศจิกายน 2564

เหรียญลาภ ผลพูนทวี หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ปี ๒๔๘๔

เหรียญลาภ ผลพูนทวี หลวงพ่อคง  วัดบางกะพ้อม  ปี ๒๔๘๔  
พุทธคุณโดดเด่นแรงด้านมหาอุตม์คงกระพันชาตรีและโชคลาภมหาโภคทรัพย์ พลังของจตุธาตุ นำด้วยพลังธาตุดิน มหาอุตม์คงกระพันชาตรี ตามด้วยธาตุน้ำพลังแห่งจักรวาล นำมาซึ่งโชคลาภมหาโภคทรัพย์ เสน่ห์เมตตามหานิยม ตามด้วยพลังธาตุไฟ มหาบารมีและอำนาจ และสุดท้ายคือพลังธาตุลม สะกดทับ กำบังกายศัตรูไม่เห็น แคล้วคลาดปลอดภัย ในแต่ละธาตุยังได้รับแรงเสริมจากพลังธาตุลมและไฟที่สนับสนุน ทำให้เกิดแรงเสริมที่สมบูรณ์และเพิ่มพลังการแสดงผลในแต่ละธาตุ ดีเด่นด้าน มหาอุตม์คงกระพันชาตรี โชคลาภ เมตตามหานิยม อำนาจบารมีและแคล้วคลายตามลำดับ ตามพลังธาตุที่แสดง โดยรวมแล้วส่งพลังครอบคลุมทุกๆด้านครับ เพราะได้รับกระแสเสริมจากทุกธาตุเสริมซึ่งกันและกัน

กรรมที่คอยให้ผล

กรรมบางอย่างมันตามเรามาตั้ง ๑,๐๐๐ ชาติ มันยัง 
ไม่มีโอกาสให้ผลก็มี มันก็คอยจังหวะอยู่นั่นแหละ 
ถ้าจังหวะของเราเผลอเมื่อไร มันก็หวดเราเมื่อนั้น
กรรมบางอย่างให้ผลในปัจจุบัน
กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อไป 
กรรมบางอย่างมันให้ผล ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ จึง
จะให้ผลได้ เพราะอะไร
สมมติว่า ถ้าคนนั้นทำความชั่วประเภทนี้ไว้แล้ว ไป 
เกิดใหม่ก็ทำความชั่วใหม่ แต่ว่าตอนปลายมือกลับ
ไปทำความดี พอจะตายจิตกลับไปนึกถึงกรรมที่เป็น 
กุศลก็ไปสวรรค์ก่อน ไอ้กรรมพวกนั้นก็ให้ผลไม่ได้ 
ก็คอยจังหวะเล่นงานอยู่เท่านั้นแหละ

ที่มา
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง)
จังหวัดอุทัยธานี

29 พฤศจิกายน 2564

คำอธิษฐานของหลวงปู่เกษม เขมโก

คำอธิษฐานของหลวงปู่เกษม เขมโก
“อิทัง กุศลกัมมัง มยา กะตัง”
กรรมอันเป็นกุศลนี้ อันข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ขอจงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้ามีความสุขกาย สบายใจ แม้นจะคิดสิ่งใด ก็ขอให้สมปรารถนาทุกประการ ขอให้ข้าพเจ้ามีอายุยืนยาว และขอให้พ้นจากโรคภัยให้เจ็บ ทุกประการด้วยเถิด

ประการหนึ่ง ด้วยเดชะบุญอันข้าพเจ้าได้กระทำนี้ ข้าพเจ้าเกิดมาภพใด ชาติใด ก็ขอให้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ของพระพุทธเจ้าทุกชาติ และขอให้พบนักปราชญ์เจ้า ผู้ใจบุญ ขอให้รู้คุณวิเศษ แท้ดีเถิด

ประการหนึ่ง ข้าพเจ้าเกิดมาภพใดก็ดี ข้าพเจ้าขออย่าได้พบกรรมอันไม่ดีทุกชาติและขอให้ข้าพเจ้าได้เว้นจากบาป ความชั่วร้ายทุกชนิดเถิด

ประการหนึ่ง ด้วยบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำมานี้ ข้าพเจ้ายังท่องเที่ยวไปมาในวัฏฏสงสารหลายกำเนิด ยังไม่ได้ถึงพระนิพพานเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอตั้งความปราถนา ได้มีใจมั่นคงทุกชนิดและข้าพเจ้าเกิดมาชาติใด มีอะไรขอให้เสมอใจทุกประการ และขอให้ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมทุกชนิด

ขอให้ได้ทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา ทุกชนิด และขอให้พ้นจากกิเลส บาป ความชั่วร้ายทั้งมวล เที่ยงแท้ด้วยเถิด

และขอให้ข้าพเจ้า ได้ถึงนิพพาน อันเป็นสุดยอดของความสุขทั้งปวงด้วยเถิด

คำปราถนา (ผาถนา) ของข้าพเจ้ามีดังนี้แล้ว ขอให้สมปณิธาน ที่ข้าพเจ้าได้ตั้งไว้

อย่าได้คลาดแคล้วสูญหาย เที่ยงแท้แด่เทอญ นิพพานปัจจะโย โหตุ เม นิจจัง (ว่า 3 หน)

หลวงพ่อเกษม เขมโก
พุทธศักราช 2506

หัวโขน

ขอให้จำไว้นะว่าพวกเราเป็นตัวละคร ร่างกายนี้เป็นเหมือนหุ่นที่เรามาใช้เล่นละครกัน หรืออย่างที่เขาเล่นโขนนั่น ร่างกายเรานี้ก็เป็นเหมือนหัวโขน เอามาสวมใส่ทับใจเราอีกทีหนึ่ง ตัวแท้จริงของเราคือใจ ทีนี้ใจเราไม่มีรูปร่างหน้าตา ก็เลยต้องเอาหัวโขนคือร่างกายนี้มาครอบมาคลุมไว้ จะได้รู้ว่านี่เป็นทศกัณฐ์ หรือจะเป็นหนุมาน เป็นพระราม ก็ร่างกายนี้แหละเป็นตัวละคร ใจเรานี้เป็นตัวชักร่างกายเหมือนกับชักหุ่น เป็นผู้ที่สั่งให้ร่างกายนี้ทำอะไรต่างๆ แล้วพอร่างกายนี้ตายไป เราก็ใช้ร่างกายนี้ไม่ได้ ก็แสดงว่าบทของเราจบ ละครเรื่องนี้จบ แต่เราก็ไม่เบื่อ ไปเล่นโรงใหม่ต่อ ย้ายโรง เดี๋ยวก็ไปเกิดใหม่ แล้วก็ไปเริ่มใหม่ แล้วก็ไปวุ่นวายแบบนี้แหละ เล่นมาไม่รู้กี่ล้านโรงแล้วไม่รู้กี่ล้านเรื่องแล้ว ละครชีวิตของพวกเรานี่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิด ก็เวียนว่ายตายเกิดตามโรงละครต่างๆ ตามโลกต่างๆ โลกอาจจะไม่เป็นโลกกลมๆ แบบนี้ก็ได้ โลกกลมๆ ใบอื่นก็น่าจะมีในจักรวาลนี้ เราอาจจะมาจากโลกอื่นก็ได้ อาจจะมาจากโลกที่เจริญกว่าโลกเราก็ได้ หรือล้าหลังกว่าโลกเราก็ได้ แต่ว่ามันก็เหมือนกัน เพราะว่าไปโลกไหนก็เจอตัวละครเหมือนกัน ตัวรักตัวชังเหมือนกัน แล้วก็ไปรักไปชัง ไปกลัวไปหลงกับเขา แล้วก็ดีใจเสียใจไปกับสิ่งที่เราได้ไปสัมผัสรับรู้กัน เล่นละครไปตามบทตามผู้กำกับสั่งให้เล่น 

เห็นไหมพอเขาตั้งเราเป็น ผอ. ทีนี้เราก็คิดว่าเราเป็น ผอ. จริงๆ ใช่ไหม พอตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ก็คิดว่าเป็นเจ้าอาวาสขึ้นมาจริงๆ เลยเล่นบทเต็มที่เลย แล้วเดี๋ยวเวลาเขาปลดปั๊บ หน้าก็จ๋อยละสิ เราไม่ได้เป็นเสียแล้ว ก็เวลาเขาตั้งเรา ต้องคอยบอกเราว่าเราไม่ได้เป็น เขาตั้งก็ปล่อยเขาตั้งไป เขาให้เราทำอะไรเราก็ทำไปตามหน้าที่ ทำเพื่อเงินเดือนก็พอ ทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่อย่าไปหลงกับตำแหน่งว่าเราเป็นโน่นเป็นนี่ เราทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ทำตามหน้าที่ ตามเนื้อผ้าไป แล้วก็คอยเตือนว่าเดี๋ยวสักวันหนึ่งเขาก็ต้องปลดเรา ไม่ปลดก็โยกย้าย ไม่โยกย้ายก็เลื่อนตำแหน่ง มันก็มีแค่นี้แหละชีวิต มันก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ขึ้นๆ ลงๆ ถ้าไม่ยึดไม่ติด ถ้ารู้ว่าเป็นบทละคร มันก็เล่นไปอย่างสบาย ไม่ซีเรียส ไม่เครียดกับมัน แต่เราไม่สบายเพราะเวลาเราชอบอะไร เราก็อยากได้ อยากให้มันอยู่กับเรานานๆ แล้วเวลาที่มันไม่อยู่กับเรา เราก็เสียอกเสียใจ แล้วบางทีก็พยายามวิ่งเต้นกัน ต่อสู้กันเพื่อรักษาสิ่งที่เรารักสิ่งที่เราชอบให้อยู่กับเราไปนานๆ ก็เลยทุกข์กันไง ที่มันทุกข์ก็ทุกข์เพราะอย่างนี้ ทุกข์เพราะว่าเราต้องดิ้นรนกัน ต่อสู้กันทั้งๆ ที่เป็นของปลอมทั้งนั้น เป็นละคร เป็นของโลกละคร ไม่ใช่เป็นของเราอย่างแท้จริง

ที่มา
สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี

27 พฤศจิกายน 2564

"เหยียบเรือสองแคม" #ทางโลกไม่ช้ำ ทางธรรมไม่ขุ่น

"เหยียบเรือสองแคม" #ทางโลกไม่ช้ำ ทางธรรมไม่ขุ่น 
หลวงปู่ท่านเมตตากล่าวเตือนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า เรายังอยู่ทางโลก แม้ว่าเราจะมีศรัทธามาประพฤติปฏิบัติธรรม เราจะทิ้งทางโลกไม่ได้ ท่านว่า "เราต้องเหยียบเรือสองแคม ทางโลกต้องไม่ให้ช้ำ ทางธรรมต้องไม่ให้เสีย"

สุดท้าย เพื่อไม่ให้ลูกศิษย์ไปแบ่งแยกทางโลกทางธรรมจนเกินไป ท่านจึงแนะว่าให้พยายามกลมกลืนการปฏิบัติธรรมเข้าไว้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการดูจิต รักษาจิต มีสติทุกๆ อิริยาบท เวลาโลภ โกรธ หลง กำลังเข้าครอบงำจิตเราอยู่ ก็ให้มีรู้เท่าทัน ทางโลกนั้น มีประโยชน์เกื้อหนุนทางธรรมมาก อย่างน้อยๆ ก็สร้างแรงกระทบที่จะเป็นเครื่องทดสอบว่าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา จริงและเพียงพอหรือไม่

โบราณท่านว่า เรือที่จอดเทียบท่า ยังไม่อาจรู้ว่าเป็นเรือดีหรือไม่ ต่อเมื่อออกไปฝ่าคลื่นลมแล้ว นั่นแหละจึงจะรู้ได้ว่าเรือดีหรือไม่ดี

บางคนบอกฉันเป็นคนมีศีล แต่พอคนเอาเงินหรือสิ่งของมาให้ เพื่อให้ช่วยทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ ก็ทำให้เขา ศีลข้ออทินนาและมุสา ก็ไม่บริสุทธิ์แล้ว

บางคนบอกว่าตัวเองเป็นผู้มีปรกติดูจิตตัวเองได้ตลอด พอคนที่บ้านพูดไม่เข้าหูนิดเดียว ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ และยังอาจบอกด้วยความหลงอีกว่าไม่ได้โกรธๆ 

สิ่งกระทบทางโลกจึงเป็นเครื่องช่วยชี้วัดระดับศีล สมาธิ ปัญญา เวลาครูบาอาจารย์ท่านเข้าป่าหาที่สงัด ท่านก็แค่ปลีกวิเวกเพื่อไปตั้งหลัก ก่อนที่จะออกสู่ทางโลกเพื่อทดสอบและประเมินตัวเอง

อย่างนี้นี่เอง เวลาประสบทุกข์ในทางโลกๆ หลวงปู่จึงบอกว่า "มาถูกทางแล้วล่ะ"

#ฝึกมโนมยิทธิไม่ให้สลายตัว


🔸ผู้ถาม : #มโนมยิทธิ ที่ฝึกได้แล้ว จะทำอย่างไรจึงจะไม่ให้หนีคะ? 

🔹หลวงพ่อ : ก็ใช้ไปเรื่อย ๆ ซิลูก อย่าทิ้ง ถ้าไม่ให้หนีทุกวัน ต้องขึ้นนิพพานทุกวัน ตอนเช้ามืด อย่างนี้ไม่มีทางหนี #พระนิพพานต้องใช้อารมณ์สูงสุดอยู่แล้ว #และจิตละเอียดที่สุดจึงถึงนิพพานได้ เช้าตื่นมาปับ รวบรวมกำลังใจไปนิพพานทันที ถ้าทางที่ดีก่อนหลับ หัวถึงหมอนไม่ต้องนั่งหรอก ขึ้นไปนิพพานก่อนสัก ๒-๓ นาที แค่นั้นแหละ จะไม่สลายตัว แต่ว่าจงอย่าไปคิดอยากเห็นภาพชัด อย่างนี้ไม่ได้นะ #เอาความรู้สึกเป็นสำคัญลูก เรื่องภาพชัดนี่ไม่แน่ เดี๋ยวชัด เดี๋ยวไม่ชัด มันเกี่ยวกับร่างกาย #ให้ถือความรู้สึกเป็นสำคัญ 

🔸ผู้ถาม : ถ้ามีอารมณ์เป็นมิจฉาทิฏฐิบ่อย ๆ จะแก้อย่างไรคะ? 

🔹หลวงพ่อ : ก็แก้เป็น #สัมมาทิฏฐิ เสียซิ ก็ต้องคอยระวัง ใช้ปัญญาเอาเหตุเอาผล มันต้องมีลูก...มีแน่ ถ้ามีบ่อยเราก็ต้องตั้งท่าสู้ ตื่นเช้าปั๊บ อารมณ์อย่างนี้มันต้องไม่มีกับเรา แต่อดเผลอไม่ได้ ถ้าเผลอ เวลาจะนอนก็ทบทวนว่า วันนี้เราเผลออะไรบ้าง คิดว่าเราจะไม่ยอมให้มีอีก ก็นั่งไล่เบี้ย #บารมี๑๐ เสียซิ นี่พระพุทธเจ้าท่านทรงบอกหลวงพ่อมา ให้เขียนไว้ข้างที่นอน อย่าไปทะนงว่าเราจำได้ หลวงพ่อเองท่านยังสั่งให้เขียนเลย เขียนตัวโตๆ ให้ตาเรามองเห็นสะดุด นั่งไล่เบี้ยว่า บารมี ๑๐ มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะไม่บกพร่องใน บารมี ๑๐ ต้องไล่ทุกวัน อย่านึกว่ามันไม่พร่อง อดพร่องไม่ได้ ถ้าทำจนชินนี่มันไม่พร่อง

🙏โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
🎗️จากหนังสือ​ ธัมม​วิโมกข์​ปี​ที่​ ๔๐ ฉบับที่ ๔๕๘ หน้าที่ ๙๕-๙๖
📷วัดวีระโชติธรรมาราม ฉะเชิงเทรา

25 พฤศจิกายน 2564

#ทานบารมีเต็ม


🔹️ผู้ถาม : "หลวงพ่อครับ..ฆราวาสนี่มีทางทำให้ทานบารมีเต็มไหมครับ..?" 

🔸️หลวงพ่อ : "มี ..ก็พระพุทธเจ้าท่านเคยเป็นฆราวาสมาก่อน ฆราวาสที่เขาฟังเทศน์จบเดียวเป็นพระอรหันต์น่ะ เขาเต็มทุกอย่างทั้ง ๑๐ อย่างเต็มหมดแล้ว  แต่คำว่า "สาวก" เขาแปลว่า "ผู้รับฟัง" ถ้าไม่รับฟังคำสอนนี่บรรลุอรหันต์ไม่ได้เหมือนกับน้ำที่เต็มตุ่มแล้ว แต่เจ้าของไม่รู้จักเปิดฝา" 

🔹️ผู้ถาม : "ฉะนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุได้ อยู่ที่ว่าไม่ได้เปิด" 

🔸️หลวงพ่อ : "ยังไม่ได้ฟัง สาวกภูมิ "สาวะกะ" แปลว่า "ฟัง" ไงล่ะ" 

🔹️ผู้ถาม : "ทีนี้ว่าจะทำบุญแบบไหน  จึงจะไปเจอพระที่เปิดฝา  ถูกใจและได้ผลเร็วครับ..?" 

🔸️หลวงพ่อ : "ก็ทำบุญกับฉันซิ... (หัวเราะ) เอาย่ามเปิดไว้เสมอ  อย่างถามเมื่อกี้น่ะ มันมีเหตุมีผล การรับฟังนี่ ต้องเฉพาะบุคคลที่เคยเนื่องกันมาแม้แต่พระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน ท่านไม่ใช่จะ โปรดคนได้ทุกคน  สังเกตไหมว่าเวลาที่จะตรวจอุปนิสัยของสัตว์  ตอนหัวค่ำนะตรวจไกลเข้ามาหาใกล้ ถ้าตอนเช้ามืดตรวจใกล้ไปหาไกล หมายความว่า ตรวจตั้งแต่ใกล้กุฏิยาวไปทั่วจักรวาล ถ้าไกลเข้าหาใกล้หมายถึงว่า จากจักรวาลไปหากุฏิ ว่าวันนี้ใครจะบรรลุมรรคผลบ้าง ใครตกในข่ายพระญาณบ้าง  ใช่ไหม... 

🔸️  ในเมื่อพระพุทธเจ้าตรวจอุปนิสัย ทุกวันต้องพบว่าคนนั้นคนนี้ต้องบรรลุมรรคผล  อยู่ที่ไหน ชื่ออะไร  บุญเก่าทำอะไรไว้ จะไปพูดว่ายังไง ถึงจะบรรลุมรรคผล.. นี่รู้หมด แต่ถ้าว่าถ้าตรวจอีกครั้งอีกจุดว่า เราจะไปก่อนเองหรือให้ใครไปก่อน คนนี้เคยเนื่องกับเราหรือเปล่า ถ้าเคยเนื่องกับพระองค์ก็โปรดเอง ถ้าไม่เนื่องกับพระองค์พระองค์ก็ทรงตรวจดูก่อนว่าพระอยู่กับท่านมีใครบ้างไหม เคยทำบุญร่วมกับคนนี้มาก่อน 

🔸️  ถ้ารู้ว่าองค์นั้นเคยทำบุญร่วมกันมาก่อน ใช้องค์นั้นไปก่อน เขาจะพูดกันรู้เรื่องง่าย ในเมื่อองค์นั้นไปแล้ว เรียกว่าทะเลาะกันก่อน ไม่ใช่ดีกันนะ โต้กันไปเถียงกันมา เถียงไปเถียงมา...แพ้ แพ้พระใช่ไหม.. 

🔸️  ทีนี้พระพุทธเจ้าก่อนเสด็จเหาะไปเลย ออกไปเดี๋ยวนั้นเลย  เหาะไปแล้วก็ลงไปนั่งข้างๆ พระองค์นั้นก็เข้าไปกราบ ว่านี่คือพระอาจารย์ของเขา พราหมณ์นั้นเลยนึกว่า ลูกศิษย์เก่งขนาดนี้ อาจารย์จะเก่งมากกว่านี้ เลยรับฟังเทศน์ พอเทศน์จบก็เป็นพระอรหันต์ ฉะนั้นการรับฟังการแนะนำก็เหมือนกัน เวลานี้เวลานั้นก็เหมือนกัน คนต้องเนื่องกันมาในชาติก่อน ถ้าไม่เนื่องกันมาไม่มีทางรู้เรื่อง" 

🔹️ผู้ถาม : "ก็แสดงว่าลูกหลานทั้งหมด ที่นั่งกันประจ๋อประแจ๋นี่ ก็ทั้งเนื่องทั้งเกี่ยวกันมานะครับ..?" 

🔸️หลวงพ่อ : "ก็ไม่แน่...ประเภทลองมาดูก็มี รู้ทุกวันแหละ  ใครนั่งตรงไหนก็รู้หมด!!."

➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
🙏โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
✍คัดจาก หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม๙ หน้า ๑๐๕ - ๑๐๗

24 พฤศจิกายน 2564

"เคยผิดศีลข้อกาเม ขอธรรมปฏิบัติ เพื่อลบล้างความผิด"

ผู้ถาม : กราบเท้าพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ที่เคารพอย่างสูง ลูกหญิงได้เคยประพฤติในข้อกาเม.. ด้วยความจำเป็น

            มาฟังธรรมะ มาปฏิบัติตามหลักคำสอน ของหลวงพ่อแล้ว เกิดความไม่สบายใจ อยากจะหาธรรมปฏิบัติ เพื่อลบล้างความผิด ที่ทำไปนิดหน่อยนั้น ขอหลวงพ่อได้โปรดชี้แนะนำด้วยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : ไม่มีอะไรหรอก.. ลืมมันเสีย พระพุทธเจ้า ทรงบอกว่า ให้ลืมเสียทุกอย่างที่พลาดมาแล้วนะ ไม่ตามนึกถึงมัน มุ่งหน้าเฉพาะความดี. 

            ที่ให้ภาวนา "พุทโธ...ธัมโม...สังโฆ" นี่ ให้นึกถึงความดีอย่างเดียว ไอ้ความที่ไม่ดีอาจจะแลบเข้ามาบ้าง เป็นของธรรมดา เราก็นึกถึงความดีให้มาก ไม่ตามนึกถึงมัน มันก็ไม่เกาะใจเรา.

            ใจเราเกาะเฉพาะบุญ ใช่ไหม.. เกาะเฉพาะบุญ เวลาตาย บุญก็นำเราไปก่อน.. ไปสวรรค์ก่อนอย่างน้อย.

ผู้ถาม : ถ้าได้ มโนมยิทธิ ก็..

หลวงพ่อ : ใช่.. ถ้าได้ก็พิสูจน์ ได้เลย ว่าวิมานของเราอยู่ที่ไหน.. ถ้าไปพบวิมาน จิตใจก็รักวิมาน ไม่รักบาป ตายก็พุ่งไปเลย..

จาก : หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๓ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

23 พฤศจิกายน 2564

เมื่อจิตมีห่วง..

🍀คนที่ไม่มีสมาธิ​ จิตใจมีนิวรณ์​ความกังวล​
ห่วงลูก​ ห่วงหลาน​ ห่วงคนโน้นคนนี้
เวลาที่ตายวิญญาณ​ก็ไปเกาะอยู่ที่ลูกที่หลาน
บางคนกลับไปเกิดเป็นลูกของลูกตัวเองก็มี
บางคนที่พ่อแม่ทิ้งมรดกที่สวนไร่นาไว้ให้​
ก็เป็นห่วงทรัพย์​สมบัติ​ของตน
พอตายไปก็ไปเกิดเป็นสัตว์​อยู่ในสวนในนาก็มี
บางคนไปเกิดเป็นผีสางนางไม้
เฝ้าทุ่งนาป่าเขาก็มี

พวกนี้เป็นพวกสัมภเวสี​
คือ​ วิญญาณ​ลอยไปเที่ยวหาที่เกาะ

🍀ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบุญ​กุศล​
เราก็จะมีสุคติ​เป็นที่ไป
ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบาป​
อกุศล​วิญญาณ​ของเราก็จะต้องไปสู่ทุคติ​
ไม่ได้ไปเกิดในโลกที่ดี

โลกที่ดีนั้น​ คือ​ โลกที่ไม่มีภัย
เป็นโลกสวรรค์​ที่มีแต่เทวบุตร​ เทวดา​ นางฟ้า​
ไม่มีความทุกข์​ภัยใดๆ
ในโลกของเทวดานั้นมีแต่เกิดกับตาย​
ไม่มีแก่ไม่มีเจ็บ
โลกมนุษย์​มีทั้งเกิด​ แก่​ เจ็บ​ ตาย
โลกนิพพาน​ไม่มีทั้งเกิด​ ไม่มีทั้งตาย

#ท่านพ่อลี ธ​ม​ฺ​ม​ธ​โร
เทิด​ไว้​เหนือ​เศียร​เกล้า​ ด้วย​เกล้า​ สาธุ
Cr.fb.พระคุณเจ้าchusak

22 พฤศจิกายน 2564

สวดมนต์ อย่างไร...ให้จิตมีพลังบุญมาก...เกิดปาฏิหาริย์


การสวดมนต์ หรือการสาธยายธรรมนั้นเป็นหนึ่งในการบูชาในสิ่งที่ควรบูชา และเป็นการรวมจิตจะให้เกิดผลดี มีพลังมงคลสูง ควรรู้และเข้าใจเคล็ดวิชาศักดิ์สิทธิ์นี้ที่ช่วยให้จิตมีกำลังมาก เมื่อจิตมีกำลัง มีสมาธิมาก ก็เกิดปัญญา และนำปัญญานั้นไปสร้างคุณประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น ทั้งทางโลกและทางธรรม

จิตที่มีกำลังมาก บุญทีมีกำลังมากสร้างปาฎิหาริย์ที่เกินจะหยั่งถึง

ข้อ 1 หมั่นทำทานให้ครบในทุกวันเท่าที่ทำได้ ทั้งวัตถุทาน ธรรมทานและอภัยทาน วัตถุทาน ข้าวปลาอาหาร ตามกำลัง ให้ธรรมทานแก่ผู้อื่น สอนงานให้ความรู้ โดยไม่หวังผลตอบแทน ให้อภัยคนอื่นได้ทุกๆ วัน

ข้อ 2 ต้องตั้งจิตรักษาศีลเต็มกำลัง สมาทานทุกวัน

ข้อ 3 เวลาสวดมนต์ด้วยบทต่างๆ สวดด้วยความนอบน้อม มีศรัทธาและจดจ่อต่อบทสวดนั้นมากที่สุด และอย่างน้อยต้องสวดมนต์ที่เราจำได้ขึ้นใจให้ได้วันละ 3 จบ

ข้อ 4 หลังสวดมนต์ฝึกสงบจิตนั่งสมาธิวันละ 15 นาที หรือในอิริยาบถอื่นก็ได้ ให้จิตได้พักผ่อนนิ่งๆ

ข้อ 5 ออกจากสมาธิให้อุทิศบุญแผ่เมตตา อุทิศบุญให้ตัวเองก่อน
แล้วอุทิศให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เจ้ากรรมนายเวรและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเรา

ข้อ 6 ทำการอธิษฐานจิตขอให้บุญนี้เป็นกำลัง ปัจจัยสำคัญให้สนับสนุนเรา ให้มีปัญญา มีความอดทน อดกลั้นที่จะทำความดีไม่หยุดยั้ง ลด ละบาปทั้งปวงได้มากที่สุด ขอให้ชีวิตในทุกด้านเกิดความเจริญก้าวหน้าในทางที่ถูกธรรมและดีงาม ดังที่ปรารถนา
ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางโลกและทางธรรม

เคล็ดนี้จะเกิดผลดีจริง เมื่อได้ทำ
สม่ำเสมอ มากพอ นานพอ
ในทุกวัน....

ที่มา กระดานบอกบุญ หล่อพระ

ศิลาจารึกเหตุการณ์กึ่งพุทธกาล



            อายุกาลพุทธศาสนา ในพระโคตรมะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จองค์ปัจจุบัน มีอายุ ๕๐๐๐ ปี บัดนี้ อยู่ในช่วงกึ่งกลางพุทธศาสนาแล้ว คือ พ.ศ.๒๕๐๐ กว่าปี.แล้ว.

...จากศิลาจารึกในมหาวิหารเจตมหาเชตวัน ณ สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย  เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า ดำรงพระชนม์อยู่ ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า 

“อานันทะ ดูก่อนอานนท์..**ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี   จะเกิดการณ์ร้ายแรง จะมีการรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ฝนเหล็กจะตกจากอากาศ ไฟจะลงมาจากอากาศ จะเผาผลาญประชาชนให้พินาศ จะมีการล้มตายซึ่งกันและกันเป็นอันมาก”  (สงครามโลกครั้งที่๒) 

 “..แต่ว่า ดูก่อนอานนท์ก่อนกึ่งพุทธกาล ๑๕ ปี จะถือว่าเป็นการณ์ร้ายแรงหาได้ไม่ ทั้งนี้ก็เพราะว่า**หลังกึ่งพุทธกาลไปแล้วนั้นจะมีความร้ายแรงมากกว่าก่อนกึ่งพุทธกาลมาก 

......ยักษ์นอกพุทธศาสนาจะรบราฆ่าฟันซึ่งกันและกัน ต่างฝ่ายจะล้มตายกันฝ่ายละมาก ๆ สมณะ ซี พราหมณ์ จะล้มตาย จะตายไปฝ่ายละครึ่งจึงเลิกรากัน สำหรับประเทศที่นับถือพุทธศาสนาจะมีภัยเหมือนกัน แต่ไม่ร้ายแรงนัก (น่าจะเป็น สงครามใหญ่ในอนาคต ครั้งที่๓)

 “..ในระยะนั้นศาสนาของตถาคตจะเสื่อมลงมาก เพราะพุทธบริษัท ไม่ต้องอยู่ในศีลธรรม..พระธรรมจะเริ่มเปล่งรัศมีฉายแสงส่องโลกอีกวาระหนึ่งก็ต่อเมื่อ มีธรรมิกราชโพธิญาณบังเกิดขึ้น อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเถระผู้ทรงธรรมฤทธิ์ ทั้งสองพระองค์สถิตย์ ณ เบื้องต้นตะวันออกของมัชฌิมประเทศ 
จะเสด็จมาเสริมสร้างศาสนาของตถาคต ให้รุ่งเรืองสืบไปถึง 5,000 พระวัสสา   ดูก่อนอานนท์ เวลานั้นพลโลกเหลือน้อยมาก ..”

  *สรุปแล้ว พระพุทธศาสนาแห่งพระพุทธสมณโคดม ในกึ่งพุทธกาลนี้จะมีทั้งเรื่องดี และไม่ดีเกิดขึ้น. เป็นยุค  ในการคัดสรรคนดีให้อยู่รอดปลอดภัย ด้วยภัยจากดิน น้ำ ลม ไฟ  เราจงยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธสมณโคดม  หนักแน่นในการทำดี  ยิ่งๆขึ้นไป น้อมนำเอาบารมีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้ปกป้องคุ้มครองกาย ด้วยการภาวนา “พุทโธ”ก็ได้

**.ในกาลนี้  เมื่อเราเป็นชาวพุทธ เวลาทำบุญควรอธิษฐานขอพร จากพระพุทธองค์ทุกพระองค์ ตามนี้(จะขอทีละข้อ หรือ หลายข้อ พร้อมกันก็ได้)

 1..  ขอให้ข้าพเจ้า มีใจไว้ดุจหินผา  ไม่หวั่นไหว ในโลกธรรม ๘   ขอศัตรู หมู่มารครอบงำไม่ได้ 

2...ขอให้ข้าพเจ้า  มีชัยชนะในสิ่งที่ดี กองกิเลสในใจ เบาบางสลายหายไป  ได้พบแต่แสงสว่าง นำทางให้ชีวิต พ้นจากความมืดมน 

 3...ขอให้ข้าพเจ้า เจริญด้วยโภคทรัพย์ และอริยทรัพย์  ทั้งมนุษย์ และเทวดาทั้งหลายรักและเมตตาให้ความช่วยเหลือให้พ้นทุกข์

4...ขอให้ข้าพเจ้า เจริญด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ให้พ้นภัยจากวัฏสงสาร

5..ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีคนให้เกียรติ ให้ความเคารพ ยำเกรง สมความปรารถนา

6..ขอให้ข้าพเจ้า มีกาย วาจา ใจ อยู่ในความดีงาม มีพระรัตนตรัยเต็มหัวใจ

ที่มา มโนธาตุ โพธิญาณ

21 พฤศจิกายน 2564

ประวัติพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ และพลังพระบารมีตามอายุไขย


การกำเนิดพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในภัทรกัลป์ ( กัป )
โดยเกิดจากไข่กาเผือก 5 ฟอง ซึ่งพลัดกันไป
และมี ไก่ นาค เต่า โค และสิงห์ นำไปเลี้ยง
พระพุทธเจ้าทั้ง 5พระองค์นั้นคือ

1 ไก่ ........ นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระกกุสันธะ
2 นาค ...... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระโกนาคมน์
3 เต่า ....... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระกัสสป
4 โค ......... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระสมณโคดม
5 สิงห์ ...... นำไข่ไปฟักออกมาเป็น .... พระศรีอาริยเมตไตร
ความแตกต่างของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้

1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า 
เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสังไขยแสนกัป 
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์ 
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา 
พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร 
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน 
พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร) 

2. พระโกนาคมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์ เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 30,000 พรรษา พระสรีระสูง 30 ศอก หรือ 15 เมตร 
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 1 เดือน 
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์ 

3. พระกัสสปพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์ เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 20,000 พรรษา พระสรีระสูง 20 ศอก หรือ 10 เมตร 
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน 
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์ 

4. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 4 องไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก 24 พระองค์ ซึ่งน้อยมาก เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย 80 พรรษา 
พระสรีระสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร 
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 6 ปี 
พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ 

5. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 16 อสงไขยแสนกัป ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 477,029 พระองค์ เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย 80,000 พรรษา 
พระสรีระสูง 80 ศอก หรือ 40 เมตร 
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน 
พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้

พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า อานนท์ ถ้าอย่างนั้น
 เธอจงตั้งใจฟัง ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา ดังนี้ว่า
๑๐ สิบ..............เป็น....................หนึ่งร้อย
๑๐ ร้อย.............เป็น....................หนึ่งพัน
๑๐ พัน..............เป็น....................หนึ่งหมื่น
๑๐ หมื่น............เป็น....................หนึ่งแสน
๑๐ แสน............เป็น....................หนึ่งล้าน
๑๐ ล้าน ............เป็น....................หนึ่งโกฏิ
๑๐ โกฏิ.............เป็น....................หนึ่งปโกฏิ
๑๐ ปโกฏิ...........เป็น....................หนึ่งโกฏิปโกฏิ
๑๐ โกฏิปโกฏิ......เป็น....................หนึ่งนหุต
๑๐ นหุต............เป็น....................หนึ่งนินนหุต
๑๐ นินิหุต..........เป็น.....................หนึ่งอักโขภินี
๑๐ อักโขภินี.......เป็น.....................หนึ่งพินทุ
๑๐ พินทุ............เป็น.....................หนึ่งอัพภุทะ
๑๐ อัพภุทะ.........เป็น.....................หนึ่งนิรัพภุทะ
๑๐ นิรัพภุทะ........เป็น.....................หนึ่งอหหะ
๑๐ อหหะ...........เป็น.....................หนึ่งอัฏฏะ
๑๐ อัฎฎะ ..........เป็น.....................หนึ่งอัพภัพพะ
๑๐ อัพภัพพะ.......เป็น.....................หนึ่งโสคันธิกะ
๑๐ โสคันธิกะ ......เป็น....................หนึ่งอุปละ
๑๐ อุปละ............เป็น....................หนึ่งกุมุทะ
๑๐ กุมุทะ............เป็น....................หนึ่งปทุมะ
๑๐ ปทุมะ ............เป็น...................หนึ่งปุณฑริกะ
๑๐ ปุณฑริกะ.........เป็น...................หนึ่งกถานัง
๑๐ กถานัง ...........เป็น...................หนึ่งมหากถานัง
๑๐ มหากถานัง.......เป็น...................หนึ่งอสงไขย

นั่นคือจำนวนตัวเลข  1 ตามด้วยเลข ศูนย์ 25 ตัว (10 ยกกำลัง 25)มีบางที่ในสมัยนี้ อ้างว่าคำนวนจากขนาดเมล็ดผักกาดที่นำมาหยอด ได้ 1 ตามด้วย ศูนย์ 140 ตัว แต่สงสัยว่า เมล็ดผักกาดสมัยนี้จะเท่ากัยสมัยโน้นมั๊ยน้า ถ้าสมัยนี้เมล็ดผักกาดเล็กลง จึงทำให้ได้ตัวเลขสูงกว่าเป็นจริงต่อมา มนุษย์เริ่มเสื่อมศีลธรรมลง ทำให้อายุขัยถอยลงเรื่อยๆ จนเหลือ 10 ปี จากนั้น มนุษย์ รู้ตัว เริ่มมีศีลธรรมกันมากขึ้น ทำให้อายุขัยเพิ่มขึ้น จนกลับไปเท่าเดิม คือ อสงไขย ช่วงเวลาที่อายุ ยืด แล้ว หด 1 รอบ นี้แหละที่เรียกว่า 1 อันตรกัป
ตอนนี้ อายุขัยของมนุษย์กำลังลดลง ต่อเมื่อลดลงเหลือ 10 ปี แล้วจากนั้น ก็มีอายุยืนใหม่จนเป็น อสงไขยจากนั้นก็เริ่มถอยลงมาเรื่อยๆ จนมาถึงช่วงที่มนุษย์มีอายุ 8 หมื่นปี พระศรีอาริยเมตตรัย ก็จะเสด็จลงมาตรัสรู้ ตามตำราท่านว่ามาอย่างนี้แหละครับ 
พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพักสถิตอยู่บนสวรรค์ เป็นเทวดาชั้น ดุสิต (มักเรียกท่านว่า ดุสิตเทพบุตร)

ขอขอบคุณเจ้าของภาพประกอบด้วยครับ สาธุ
ที่มาจากhttp://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=3763

ใครเห็นพระธรรมก็คือเห็นพระพุทธเจ้า

#หลวงพ่อชา สุภัทโท
🍀ถ้าอาตมาจะพูดว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ตาย โยมพ่อออกจะว่าอย่างไร? ก็ท่านยังไม่ตาย ทุกวันนี้ท่านยังอยู่ ท่านยังช่วยมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ 

🍀ถ้าทำดี ท่านยังช่วยอยู่ตลอดเวลา พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว พระธรรม คือพระพุทธเจ้า ใครเห็นพระพุทธเจ้าก็คือเห็นธรรม ใครเห็นพระธรรมก็คือเห็นพระพุทธเจ้า ใครเห็นพระพุทธเจ้าก็คือเห็นพระสงฆ์ ใครเห็นพระสงฆ์เห็นพระธรรม ไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ตรงนี้

การสวดมนต์มีอานิสงส์ใหญ่

ผู้ถาม : “หลวงพ่อคะ สวดมนต์แบบในใจ กับ สวดมนต์แบบออกเสียง อานิสงส์เท่ากันไหมคะ…?”
หลวงพ่อ : “ไม่เท่าหรอก เพราะมันเหนื่อยไม่เท่ากัน… อานิสงส์ ถ้าแปลตามความหมายแปลว่า ผลที่จะพึงได้รับ ลีลาการสวดมนต์ในใจก็ไม่แน่ สุดแท้แต่คน บางคนนึกในใจ จิตเขาฟุ้งซ่าน ใช่ไหม… บางคนออกเสียงเหนื่อยเกินไป ในใจดีกว่า

ก็รวมความว่า สุดแล้วแต่ ทำอย่างไหนจิตจะมีสมาธิดีกว่ากัน บางคนนึกในใจไม่ได้หรอก จิตฟุ้งซ่าน ต้องว่าออกเสียงดังๆ

ถ้าอย่างหลวงพ่อออกเสียงดังไม่ดี นึกในใจดีกว่า ก็สุดแล้วแต่คนนี่ ผลก็ต้องอยู่ที่ว่าคนใดจิตมีสมาธิดีกว่า และสวดมนต์ได้ดีกว่ากัน ต้องถือตามนั้นนะ

การสวดมนต์มีอานิสงส์ใหญ่ สวดน้อยก็มีอานิสงส์ใหญ่ อานิสงส์ใหญ่จริงๆ อยู่ที่เจตนา จิตมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์จริง และเวลาสวด สวดด้วยความเคารพจริง ถึงสวดน้อยก็มีอานิสงส์ใหญ่ ถ้าสวดว่าเรื่อยเปื่อยไปไม่ได้ตั้งใจ ว่าส่งเดช อย่างนี้ว่ามากก็มีอานิสงส์น้อย

ทีนี้ถ้าจะถามว่า สวดมนต์ กับ ภาวนา อย่างไหนจะมีอานิสงส์มากกว่ากัน?

ถ้า สวดมนต์ อย่างเก่งก็แค่อุปจารสมาธิ ถ้า ภาวนา สั้น ๆ จิตเป็นฌานได้ ต่างกัน ทีนี้ถ้าคนภาวนาส่งเดชก็ไม่เป็นเรื่องเหมือนกัน แต่ภาวนาส่งเดชก็ดีกว่าไมภาวนาเลย ใช่ไหม…”

ชอบสวดมนต์ 

ผู้ถาม : “หลวงพ่อเจ้าขา คนที่ชอบสวดมนต์ แต่ไม่เคยเจริญพระกรรมฐานเลย แต่อธิษฐานว่า ตายเมื่อไรขอไปนิพพานทันที อย่างนี้เขาจะไปได้หรือเปล่าเจ้าคะ…?”

หลวงพ่อ : “ถ้าเขากำลังใจดี เขาไปได้นะ ถ้านั่งสวดมนต์ก็กรรมฐานนี่ สวดมนต์อย่างต่ำเป็นอุปจารสมาธินะ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิเราสวดไม่ได้ กรรมฐานไม่ใช่ว่าต้องนั่งหลับตาเสมอไป

ที่เขาอธิษฐานจิตว่า ถ้าเขาต้องการไปนิพพานชาตินี้ การสวดมนต์ถือว่าเป็นสมถภาวนาด้วยนะ ถ้าเขาเกิดมีปัญญา คิดว่าการเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ไม่สบายก็ทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็ทุกข์ ความตายก็ทุกข์ ความทุกข์อย่างนี้ไม่ต้องการมีต่อไปอีกในชาติต่อไป อย่างนี้ตายแล้วไปนิพพานได้แน่ ปัญญาถึง”

วิ่งสวดมนต์

ผู้ถาม : “เวลาประมาณตี ๕ ลูกได้ออกมาวิ่งออกกำลังกาย ในขณะที่วิ่งลูกก็สวดมนต์ไปด้วย ตัดขันธ์ ๕ ไปด้วย มาวันหนึ่งคิดว่า ทำไปทำมา เอ…สติจะเสียหรือเปล่า ชักไม่ไว้ใจตัวเอง”

หลวงพ่อ : “เขาทำถูกแล้วไม่เสีย นั่นสติดี นั่นดีมากจริงๆ แบบจงกรม เขาวิ่งนี่ฉันเคยใช้นะ ใช้ก็สะดวกดี เมื่อก่อนก็เดิน เดินช้าหน่อย ต่อมาก็เร็ว หนักๆเข้าในป่าไผ่ ล่อกันครึ่บ ๆ วิ่ง…วิ่งแบบกวดหมานะ วิ่งกวดวัวแต่หนีหมา

ปรากฏว่ามีท่านผู้เฒ่าท่านหนึ่งย่องแอบไปเห็นเข้า ก็ฟ้องหลวงพ่อปาน “พระ ๓ องค์ วิ่งกันพรึ่บ ๆ ไม่เป็นพระเป็นเจ้า”

หลวงพ่อปานเลยสวดเอาว่า เขาทำในป่าแล้วเสือกเห็นทำไม…ท่านบอกว่าปากหมา นั่นเขาทำกรรมฐานกัน สังเกตไหม…เขาวิ่งเขาไม่ได้วิ่งส่งเดช เขาวิ่งภาวนาไปด้วย

นี่เหมาะสำหรับพระที่ไปธุดงค์หรือคนเดินป่า เพราะอะไรรู้ไหม…เวลาเสือกวดเรา เราวิ่งหนีเป็นตัวคุมสติให้อยู่ นี่ทำถูกต้องแล้วนะ สังเกตไหม…แค่จงกรมธรรมดา สมาธิยังไม่เสื่อมเลย ต้องถือว่าเก่งมาก น่าจะฝึกอภิญญา”

ผู้ถาม : “อย่างนี้ฝึกได้จริงๆหรือครับ?”

หลวงพ่อ : “ฝึกได้ จะได้หรือไม่ได้ไม่รู้ เอางี้ซิ ว่าง ๆ ก็ตั้งเวลาไว้โก้ ๆ สัก ๑ ชั่วโมง นั่งบ้าง นอนบ้าง ภาวนาว่า สัมปจิตฉามิ เป็นอภิญญาตรง”

#คัดลอกจากหนังสือหลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๔ หน้า ๕๘-๖๑ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

20 พฤศจิกายน 2564

แก้จิตปฏิฆะ

คำถาม: เราจะแก้จิตปฏิฆะอย่างไรครับ เพราะตอนนี้แก้ไม่ได้ อยากได้อุบายช่วยแก้ พยายามปล่อยวางแล้ว แต่เหมือนจิตติดเป็นสัญญา

พระอาจารย์: ปฏิฆะก็เกิดจากความอยาก อยากเสพรูปเสียงกลิ่นรส เสพกามนี่เอง ก็เลยเกิดปฏิฆะ อยากดูหนังฟังเพลง อยากจะไปเที่ยวข้างนอก ตอนนี้เขาไม่ให้เที่ยว อยากจะไปจัดงานเลี้ยงฉลองดื่มสุรากัน เขาไม่ให้มี ก็เกิดอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมา ปฏิฆะก็คือความหงุดหงิดของใจ วิธีแก้ก็คือหยุดความอยากเหล่านี้ให้ได้ มานั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ แล้วก็ปฏิฆะต่างๆ ก็จะหายไป

รายการตอบปัญหาธรรม ครั้งที่ ๒๗ โดย ท่านพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี
คุณหมอวีระพันธ์ สุวรรณนามัย (Dr. V Channel) วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔

การเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่แท้จริง


เพียงแต่ศึกษาพระธรรมคำสอน แต่ไม่นำเอาไปปฏิบัติ ก็จะไม่เกิดผลขึ้นมา พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ถึงแม้จะนั่งฟังธรรมเกาะชายผ้าเหลือง แต่ถ้าไม่นำเอาธรรมที่ได้ยินได้ฟังไปปฏิบัติ ก็ไม่ได้อยู่ใกล้พระพุทธเจ้า แต่ถ้าอยู่ไกลจากพระพุทธเจ้าเป็นโยชน์ แต่มีการนำเอาธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติ ก็จะถือว่าอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งทางใจ

ไม่ใช่อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์แล้วจะมีที่พึ่งทางใจ อยู่ใกล้พระพุทธเจ้าแล้วจะมีที่พึ่งทางใจ ถ้าอยู่แล้ว อยู่แบบคนหูหนวกตาบอด อยู่แบบไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนอยู่ไกลจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การที่เราจะอยู่ใกล้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราก็ต้องอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะเป็นผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมก็คือจะเป็นผู้ที่เห็นพระพุทธเจ้า 

พระพุทธเจ้านี้ไม่ใช่สรีระร่างกายที่ประทับอยู่ที่ประเทศอินเดีย อันนั้นเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็นลูกจ้างคนรับใช้ของพระพุทธเจ้า สรีระของพระพุทธเจ้านี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือพระทัยของพระพุทธเจ้า ที่มีธรรมอันประเสริฐ ชำระใจของพระพุทธเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมา อันนั้นแหละคือพระพุทธเจ้า ใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสตัณหาโมหะอวิชชา

ผู้ที่ศึกษาธรรมแล้วปฏิบัติธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็จะบรรลุธรรมถึงธรรมขั้นต่างๆ ก็จะมีดวงตาเห็นธรรม พอเห็นธรรมก็จะเห็นพระพุทธเจ้า เพราะธรรมกับพระพุทธเจ้านี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรมก็ออกมาจากใจของพระพุทธเจ้า ธรรมที่พวกเราได้ยินได้ฟัง เช่น อริยสัจ ๔ ไตรลักษณ์ มรรค ๘ ทาน ศีล ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมเหล่านี้อยู่ในใจของพระพุทธเจ้า พอเราศึกษาและปฏิบัติเข้าถึงธรรมเหล่านี้ เราก็จะเห็นธรรมเหล่านี้ แล้วก็จะเห็นว่าพระพุทธเจ้ากับใจของพวกเรานี้ก็เป็นเหมือนกัน

อันนี้แหละคือการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่แท้จริง ผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมเห็นพระพุทธเจ้าจะเป็นใคร ก็เป็นพระอริยสงฆ์สาวกนั่นเอง เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกิทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ จะเห็นเป็นขั้นๆ ไป จะเห็นธรรมเป็นขั้นๆ ไป จะสว่าง ธรรมจะทำให้ใจสว่างเป็นขั้นๆ ไป เหมือนแสงเดือนที่จะสว่างเป็นเสี้ยวๆไป คืนนี้สว่าง ๑ เสี้ยว คืนพรุ่งนี้สว่างเพิ่มอีก ๑ เสี้ยว สว่างไปเพิ่มไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะสว่างเต็มดวง

ธรรมะหน้ากุฏิ 
วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

ที่มา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี

ราชาแห่งสมุยผู้ลึกลับ

เคยมี “ราชาบนเกาะสมุย” ? - รายงานโดยนักเดิรเรือบริษัทอีสอินเดียอังกฤษในปี พ.ศ.2222 
.
------------------------------
ราชาแห่งสมุยผู้ลึกลับ
------------------------------
ย้อนไปในปี ค.ศ. 1679 (พ.ศ.2222) บริษัทอีสอินเดียอังกฤษ ที่เมืองบันตัม (บันเต็น) บนเกาะชวา ได้ส่งเรือฟลายอิ้งอีเกิล เรือสำเภาขนาดเล็ก ระวางขับน้ำ 120 ตัน (1) มายังสยาม ควบคุมเรือโดยกัปตัน John Shaw (2) เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้เพิ่งกลับจากปฎิบัติการในใต้หวัน และเซี๊ยะเหมิน (Amoy) ในระหว่างปี ค.ศ.1675 – 1678 (3)
.
เรือฟลายอิ้งอีเกิ้ลออกจากบันตัม เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1679 (4) ในวันที่ทะเลสงบ และกระแสลมเป็นใจ ท้องเรือเพียบด้วยบรรณาการที่จะถวายต่อพระเจ้ากรุงสยาม ซึ่งเป็นการอำพรางภารกิจที่แท้จริงคือ การทวงหนี้ที่ราชสำนักสยามติดค้างกับบริษัทและเหนียวหนี้ไม่ยอมจ่าย ด้วยวิธีละมุนละม่อม 
.
และประเมินอนาคตของบริษัทอีสอินเดียอังกฤษในกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องมานานหลายปี
.
หลังจากเรือแล่นจากบันตัมมาเป็นเวลา 39 วัน ผ่านปัตตานี สงขลา นคร และมาถึงขนอมในวันจันทร์ ที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1679 ก็ประสบปัญหาไม่สามารถแล่นต่อไปได้เนื่องจากกระแสลม และน้ำไม่อำนวย เรือทอดสมอรอกระแสลมอยู่ 3 วัน ที่ช่องแคบระหว่างแผ่นดินกับเกาะใหญ่ (รู้จักกันในหมู่นักเดิรเรือตะวันตกว่าช่องขนอม) 
.
และในวันพุธที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1679 ราชาแห่งสมุยและข้าราชบริพารก็ปรากฏตัวขึ้น และแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชาวเรือ ตามที่ปรากฏในบันทึกดังนี้
.
------------------------------
บันทึกชาวเรือ เล่ม 74 - จดหมายเหตุรายวัน เล่าเรื่องการเดิรทางจากบันตัมไปสู่กรุงสยาม ด้วยเรือของบริษัทอีสต์อินเดียอังกฤษ ชื่อ ฟลายอิงอีเกิล - ปีคริสตศักราช 1679 (5)
------------------------------
วันจันทร์ ที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1679 ตลอด 24 ชั่วโมงวันนี้เรือยังคงจอดทอดสมออยู่ห่างออกไปจากเกาะสองเกาะอยู่ในทิศทางองศาเหนือ หัวเกาะอยู่ห่างไปไกลสุด ระยะทางใกล้สุดประมาณ 5 ลีค... ตอนใต้สุดของเกาะเป็นเนินสูงในแนวตะวันตกเฉียงใต้ ตะวันตกระยะทางด้านตะวันตกอยู่ห่างประมาณ 5 ลีคครึ่ง จุดไตรเตียมอยู่ในแนวตะวันตกเฉียงใต้ ตะวันตก ระยะทางประมาณ 6 ลีคครึ่ง แผ่นดินตอนใต้สุดที่มองเห็นได้อยู่ในแนวทิศใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ 9 หรือ 10 ลีค ความลึก 10 ฟาธอม ดินอ่อน เส้นรุ้งโดยการคะเนเอาประมาณ 9 – 29^m เลขที่...
.
วันพุธที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ แต่ปรากฏว่าลมกระแสน้ำพัดไปทางทิศตรงกันข้าม และกลับหยุดนิ่ง พวกเราจึงไม่อาจทำอะไรต่อไปได้ในวันนี้ 
.
พระเจ้าแผ่นดิน และอำมาตย์ผู้ใหญ่สองท่านที่ปกครองเกาะ พร้อมด้วยข้าราชบริพารตามเสด็จได้เดิรทางมาด้วยเรือสองลำมาขึ้นเรือ ผู้ที่เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ที่สุดในหมู่พวกที่มานั้นไม่ได้พกอาวุธเข้ามา ศีรษะเปล่า ส่วนคนอื่นนั้นมีศาสตราวุธติดมาด้วยเต็มกำลัง มีหอกและทวน พระเจ้าแผ่นดิน และอำมาตย์ผู้ใหญ่สองนายได้พระราชทานของกำนัลแก่ข้าพเจ้า ประกอบด้วย ข้าวหนักครึ่งหาบ กับไก่เล็ก ๆ 3 ตัว และเพื่อเป็นการตอบแทนข้าพเจ้าจึงได้จัดการต้อนรับเป็นอย่างดี และได้นำของกำนัลไปมอบให้เป็นราคาสองเท่าของที่นำมาพระราชทาน
.
จากการแลกเปลี่ยน และนำของไปแลกกับคนพวกนี้ ปรากฏว่าเราได้ข้าวสารมา 9 ถึง 10 หาบ อย่างง่ายดาย กับไก่อีก 4 ตัว และของกระจุกกระจิกอีกมีมูลค่าประมาณ 1 ดอลลาร์ ส่วนฝ่ายเราต้องจ่ายไปคิดเป็นเงิน 19.45
.
พระเจ้าแผ่นดินทรงเรียกตัวเองว่า ราชาซามมอย (Sammoy) และขนานนามเกาะตามพระนามพระองค์ พระองค์รับสั่งว่า เกาะที่อยู่ใกล้เคียงนั้นอยู่ใต้ปกครองของพระองค์ด้วย แต่พระองค์ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงสยาม แต่เมื่อสันนิษฐานจากขนาดความกว้างใหญ่ และตำแหน่งของเส้นรุ้งแล้วเข้าใจว่าจะเป็นปุเลาขนอม (Pulis Carnom – นักเดิรทางตะวันตกรู้จักเกาะสมุยในชื่อเกาะขนอมจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19) ตามที่มีระบุไว้ในแผนที่อ่าว
.
------------------------------
.
ในเบื้องต้นคิดอย่างได้ลองค้นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่หนังสือเล่มนี้ใช้แปล เพื่อตรวจสอบคำที่ละเอียดอ่อนอย่าง ราชา – raja – king ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะเข้าใจสิ่งที่นักเดิรเรือบันทึกไว้ได้อย่างคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ตามที่คัดมาด้านล่างนี้ คิดอย่างตัดเหตุการณ์ในวันที่ 20 ตุลาคมออก เนื่องจากไม่มีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องใช้เปรียบเทียบ
.
------------------------------
Marine Records, vol. LXXIV – Journal of a passage from Bantam to Siam in the Horourable English East India Company’s Ship Flying Eagle, which God direct and prosper : Anno Domini 1679 (6)
------------------------------
.
OCTOBER THE 22D, Wednesday, 1679. This 24 hours have used all diligence but small contrary winds, steams, and calms let us do nothing. This day the king and the other two chief men of the island with their retinue came aboard with two small boats, the chiefest of them had but small presence being all bareheaded ; the others all double armed, vizt., with a small Cotan and a Creese. The king with the other two great men gave me as a present about 1(1/2) piculs of Rice and 3 small Chickens ; in retaliation I made them very welcome and gave them presents to about double the value.
.
By bartering and presenting of these people what we could conveniently we got of them about 9 or 10 piculs of rice, 4 hens and a dollar’s worth of other small refreshing, our charge amounting to 18:45.
.
The King calls himself (Roger) [Rāja] Sammoy and calls the Island after his own name, he says the other neighbouring islands are under him, he is tributary to the King of Siam. But by latitude and largeness of the island I take it for Pullo Carnom as in the description of the Bay.
.
------------------------------
ราชา หรือความเข้าใจผิด ?
------------------------------
.
ดูเหมือนว่าฉบับภาษาไทยจะไม่ได้แปลผิด กรณีนี้นักเดิรเรือรายงานว่า บุคคลที่พวกเขาพบคือ King - Rāja จริง ๆ และมีชื่อว่า Sammoy จึงพยายามจะค้นดูต้นฉบับลายมือที่เป็นบันทึกการเดิรเรือฉบับเต็มที่ลำดับตั้งแต่วันที่ออกจากบันตัมต่อไป บันทึกเดิรเรือฉบับนี้เก็บอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ เลขที่อ้างอิง IOR/L/MAR/A/LXXIV pp.52-123 เอกสารฉบับนี้ยังไม่ถูกให้บริการเป็นดิจิตอล แต่เพิ่งมีการปริวรรตใหม่และตีพิมพ์เผยแพร่ไม่นานโดย Anthony Farrington และอาจารย์ธีรวัต ณ ป้อมเพชร อยู่ในหนังสือชุด The English Factory In Siam 1612-1685 โดย British Library (7) ปรากฏว่าตัวเอกสารจดหมายเหตุเองก็มีเนื้อความตรงกับที่ปริวรรติเผยแพร่อยู่ใน Records of the relations between siam and foreign countries in the 17th century. Vol II มีรายละเอียดที่เพิ่มมาเล็กน้อยคือระบุว่าบันทึกการเดิรเรือฉบับนี้เป็นของกัปตัน William Meare ไม่ใช่ John Shaw ตามที่ค้นได้จาก Catalogue description "FLYING EAGLE" แต่ประเด็นเรื่องกัปตันเป็นใครอาจยังไม่ได้กระทบกระเทือนต่อประเด็นเรื่องราชาแห่งสมุยในโพสต์นี้
.
เป็นไปได้หรือที่เกาะสมุยจะเคยมีราชาปกครอง หรือราชาที่ว่านี้ที่จริงแล้วคือเจ้าเมืองธรรมดาที่ขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา และปัญหาจากการสื่อสารทำให้ลูกเรือฟลายอิ้งอีเกิ้ลเข้าใจผิด 
.
หรือจะเคยมีบุคคลผู้หนึ่งตั้งตัวขึ้นเป็นราชาแห่งสมุยจริง ๆ ในช่วงเวลาที่อำนาจต่าง ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย - ทะเลจีนใต้ กำลังเคลื่อนไปอย่างกระฉับกระเฉงด้วยลมแห่งการค้า เช่นที่ ดาโต๊ะโมกอลผู้มาจากเมืองสาลัย ได้สร้างป้อมค่ายขึ้นรอบหัวเขาแดง ประทับปืนใหญ่ขึ้นบนป้อมเหล่านั้น และประกาศตัวเป็นสุลต่านท้าทายอำนาจของราชอาณาจักรอยุธยาอยู่ ณ ปากทะเลสาบ ในยุคนี้ใคร ๆ ก็ปรารถนาจะเป็นราชาแห่งเมืองท่ากันทั้งนั้น
.
แม้ว่าทำเนียบตำแหน่งนาเมืองนครศรีธรรมราชชำระในปี พ.ศ. 2357 สมัยรัชกาลที่ 2 จะระบุว่าเกาะสมุยขึ้นกับเมืองนคร แต่การชำระตำแหน่งนาเมืองนครครั้งนั้น ก็ห่างจากรายงานการพบราชาแห่งสมุย นานถึง 135 ปี 
.
หากเคยมีราชาสถาปนาตนที่เกาะสมุยจริง คิดอย่างคิดว่าชะตากรรมของพระองค์คงจะไม่รุ่งโรจน์นัก ในที่สุดเกาะสมุยก็ถูกรวมมาอยู่ในโครงสร้างอำนาจของเมืองนครศรีธรรมราชในที่สุด และทิ้งปริศนาหลาย ๆ ประการเอาไว้ เช่น Sammoy เป็นภาษาอะไร แปลว่าอะไร ราชาผู้นี้เป็นชาติพันธุ์อะไร มาจากไหน และหายไปไหน เรื่องของราชาผู้นี้ยังถูกรักษาอยู่ในรูปนิทานท้องถิ่นหรือไม่ ?
.
------------------------------
ข้อถกเถียงเรื่องความหมายของ "สมุย"
------------------------------
.
เคยมีผู้เสนอคำอธิบายความหมายของคำ "สมุย" ในเกาะสมุยหลายทฤษฎี ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เป็นข้อยุติ คิดอย่างสรุปข้อเสนอจาก - http://www.kohsamuitourism.org/history/ และจาก http://www.museum-press.com/content--4-5600-103960-1.html ผู้สนใจอ่านเนื้อหาเต็มได้จากลิงค์ดังกล่าวครับ
.
1. สมุยมาจาก - สมอย ภาษาทมิฬ แปลว่า คลื่นลม
2. สมุยมาจาก - ต้นหมุย ชื่อพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่ง พบทั่วไปในภาคใต้นิยมกินเป็นผักเหนาะกินแกล้มกับขนมจีน
3. สมุยมาจาก - เซ่าหมวย ภาษาจีนไหหลำ แปลว่า เกาะแรก หรือด่านแรก เนื่องจากชาวจีนไหหลำได้เดิรทางผ่าน และแวะพักขาไป และกลับจากการค้าขายที่กรุงเทพ
4. สมุยมาจาก - ซาวบ่วย ภาษาจีนไหหลำ แปลว่า หาดที่สวยงาม
5. สมุยมาจาก - ซูเป้ย ภาษาจีน หรือออกเสียงในสำเนียงไหหลำว่า ซาวโบ๋ย แปลว่า หอยหนา จากหอยที่มีอยู่มากบนเกาะ
.
อย่างไรก็ตาม หากรายงานของกัปตันเรือฟลายอิ้งอีเกิลถูกต้อง ชื่อที่ราชาแห่งสมุยจะใช้เรียกตัวเอง ก็น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นมงคล หรือมีความหมายเหมาะสมสำหรับการเป็นชื่อคน 
.
และแม้เราจะยังไม่ทราบความหมายแน่ชัดของคำ "สมุย" จนบัดนี้ แต่ก็ช่วยให้เราสามารถกำหนดอายุที่คำ "สมุย" ปรากฏใช้เรียกเกาะ ว่าอย่างน้อยได้ปรากฏแล้วตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา
.
------------------------------
อ้างอิง
------------------------------
.
1. http://discovery.nationalarchives.gov.uk/details/r/45d0ff73-f680-4511-9b0e-81041a35e503
.
2. List of marine records of the late East India Company And Of Subsequent Date, Preserved in the Record department of the India Office, London, 1896 – pages 5
.
3. http://discovery.nationalarchives.gov.uk/details/r/45d0ff73-f680-4511-9b0e-81041a35e503
.
4. List of marine records of the late East India Company And Of Subsequent Date, Preserved in the Record department of the India Office, London, 1896 – pages 5
.
5. บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ ในศตวรรษที่ 17 เล่ม 2 – กรมศิลปากร พ.ศ. 2513 - หน้า 325 - 326
.
6. Records of the relations between siam and foreign countries in the 17th century. Vol II 1634 – 1680. India office – Journal of a passage from Bantam to Siam in the Honourable English , East India Company’s ship Flying Eagle. – Journal – Marine Records, vol. 74 – Bantam 1679. Page 243 - 244
.
7.The English factory in Siam 1612-1685. Vol. I, pages 491-492
.
ที่มา
ภาพประกอบ - A Ship on the High Seas Caught by Willem van de Velde (II), c. 1680
.

https://www.rijksmuseum.nl/en/search/objects?q=SK-A-1848&p=1&ps=12&st=OBJECTS&ii=0#/SK-A-1848,0

#เกร็ดความรู้ในพระพุทธศาสนา

⚜️⚜️
🤵 ผู้ถาม : "ผมอยากจะถามว่าพระพุทธเจ้าองค์แรกทรงพระนามว่าอะไรครับ...?"

⚜️ หลวงพ่อ : " #พระกกุสันโธ 
เป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกสำหรับกัปนี้

#แต่องค์แรกจริงๆไม่ใช่องค์นี้_ที่เราเรียกว่า #องค์ปฐม 

✴️ #องค์ปฐมน่ะท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก เคยถามท่านว่าใช้เวลาถอยหลังไปเท่าไร 

⚜️ #ท่านบอกว่า... ให้ตั้งเลข ๕ ขึ้นมาแล้วเอาศูนย์ใส่ไป ๕๐ ตัว ได้เท่าไรบอกฉันด้วย นับเป็นอสงไขยกัปนะ ไม่ใช่นับเป็นกัปเฉยๆ อสงไขยของกัป ถ้าจะถามว่ามากเกินไปไหม ก็ต้องตอบว่าไม่มากหรอก เราต้องดูซิว่าพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งท่านใช้เวลาบำเพ็ญบารมีกี่กัป 

อย่างพระพุทธเจ้า #ขั้นปัญญาธิกะ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัป 

✴️ ถ้า #ศรัทธาธิกะ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๘ อสงไขยกับแสนกัป 

✴️ ถ้า #วิริยาธิกะ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป ไม่เท่ากัน

✴️ #ทีนี้กัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้ากี่องค์ #สำหรับสูญญกัปกับอันตรายกัปนี่ไม่มีพระพุทธเจ้า #มีแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าอันตรายกัปนี่เป็นกัปที่มีอันตรายมาก รบราฆ่าฟันกันเป็นประจำ มันมีแต่พวกที่มาจากอบายภูมิมาเกิด อันนี้เป็นเรื่องจริง 

✴️ #บางกัปก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว บางกัปมี ๒ องค์ ๕ องค์ ยังไม่เคยเจอ แต่กัปนี้มีถึง ๑๐ องค์นะ ฉะนั้นคนที่เกิดในกัปนี้เฮงที่สุดแล้วก็ซวยที่สุด"

🤵 ผู้ถาม : "เป็นยังไงครับ...?"

⚜️ หลวงพ่อ : "#เฮงที่สุดก็คือ เกิดมาแล้วตั้งใจทำความดี ตายไปเป็นเทวดาหรือพรหม #เมื่อเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วพระพุทธเจ้าไปเทศน์ครั้งเดียวก็เป็นพระโสดาบัน

✴️ #ไอ้ซวยที่สุดก็คือ #เกิดมาชาตินี้ไม่ทำความดี #ตายไปก็ลงนรก ลงนรกแล้วพระพุทธเจ้าอีก ๖ องค์มาตรัส นึกว่าจะเกิดมาได้พบไม่มีทาง อีก ๓๐ องค์ก็ยังไม่ได้พบ

🤵 ผู้ถาม : "โอ้โฮ...ทีนี้ผลต่างกันไหมครับ ที่ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน...?"

⚜️ หลวงพ่อ : "ผลมันต่างกันแน่ อย่างพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ บำเพ็ญบารมี
"ขั้นปัญญาธิกะ" จะเห็นว่าโลกมันก็เป็นอย่างนี้ละ มีการรบราฆ่าฟันกัน มีคนจน มีคนรวย 

✴️ ถ้า "ศรัทธาธิกะ" ละก็คนจนไม่มี มีแต่คนรวย เพราะพระพุทธเจ้าท่านมีบารมีมาก 

✴️ ส่วน "วิริยาธิกะ" ละก็เพียบพร้อมไปทุกอย่าง สมัยโน้นจะหาคำว่า ลำบากสักนิดไม่มีความป่วยไข้ไม่สบายเกือบหาไม่ได้

ที่ท่านต้องบำเพ็ญบารมีมากก็เพื่อสั่งสมความดีให้มาก แล้วก็คนที่ไปเกิดในสมัยนั้น ก็ต้องเป็นคนที่ต้องบำเพ็ญบารมีตามกันไป 

✴️ #พระพุทธเจ้าแต่ละองค์มิใช่จะโปรดคนได้หมด #ต้องโปรดคนได้เฉพาะคนที่บำเพ็ญบารมีร่วมกันมาแต่ละชาติที่เกิดร่วมกันมา เป็นพวกเป็นพ้อง ทำอะไรก็ทำด้วยกัน เวลาทำบาปก็ทำด้วยกัน ไปสวรรค์ก็ไปด้วยกัน"

หลวงพ่อลาพุทธภูมิแล้วจะไปนิพพาน ลูกหลานจะอยู่หรือจะไปด้วยหละ?

ที่มา
🖋️📚 #หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม
ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๙๖-๙๘

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

ก่อนนอน นึกถึงพระอย่างไรให้ได้ผลเร็ว

"ก่อนนอน นึกถึงพระอย่างไรให้ได้ผลเร็วที่สุด?"
#ถ้าบังเอิญก่อนที่เราจะหลับ เป็นการบังเอิญ เอาหน่อยๆ #ไม่ต้องมากนั่งบูชาพระไม่ไหว วันนี้มันเหนื่อยมาก นอนดีกว่า
       
#ก่อนจะนอนก็กราบไปที่หมอน ๓ หน แล้วนึกถึงพระ 
#ถ้าไม่มีพระพุทธรูปหรือถ้ามีก็นึกถึงพระ แล้วก็กราบ ๓ ครั้ง 
       
แค่กราบ ๓ ครั้งด้วยความรู้สึกว่า #มีความเคารพ แล้วก็นอนหลับไปเลย แล้วก็ไหลตาย เอาง่ายๆ แบบนี้นะ ถ้าไหลตายแบบนี้นะ อย่างเร็วที่สุด ก็ถึงดาวดึงส์แน่นอน เอาแค่นี้นะ ขอยืนยัน 
ถ้าใครตายแล้วไม่ถึงดาวดึงส์ให้มาต่อว่าฉันได้ 
ไม่เชื่อก็ลองตายดูสิ 

#อันนี้เป็นความจริงการนึกถึงพระ 
นึกถึงใคร นึกถึงพระพุทธเจ้า 
เรานึกถึงด้วยความเคารพ...

ที่มา
จาก : หนังสือธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๓๕๗ หน้าที่ ๘๖ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี

18 พฤศจิกายน 2564

วิปัสสนาควบคู่กับสมถะ

#พุทโธ
การที่เราภาวนาลมละเอียดเข้าไป แต่ได้ยินเสียงอยู่ แต่ไม่ได้ทิ้งกรรมฐานเดิมคือลมหายใจเข้าออก ก็รู้ชัดพร้อมกันกับเสียงที่มากระทบ 

#อันนั้นเป็นอุปจารสมาธิ เมื่อละเอียดเข้าไป เบาเข้าไป อันนั้นละเอียดกว่าอุปจารสมาธิลงไปอีก จิตในชั้นนี้ก็เป็นสมาธิแล้ว แต่ไม่ให้ทิ้งกรรมฐานเดิมคือลมออกเข้า ละเอียดลงไปขนาดไหนก็ไม่ให้ทิ้ง จนวูบลงหรือวับลงไปไม่ปรากฏลมเสียเลย แล้วก็มีแต่ผู้รู้เบาหวิวอยู่ อันนั้นเรียกว่า "ปฐมฌาน" 

#อัปปนาสมาธิก็ว่า แต่เมื่อหมดกำลังก็ถอนออกมา

เมื่อถอนออกมาก็เห็นลมออกเข้าเบาๆ อยู่ ถ้าปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปทางอื่นก็เป็นเรื่องกรรมฐานแตกไป แต่ถ้าทวนดูว่า เอ๊ะ...จิตขนาดนี้ก็ยังถอนออกมาอยู่ แล้วพิจารณาลงสู่อนิจจังให้เห็นพร้อมกับลมออกเข้าต่อไป 
ก็แปลว่า

#มีวิปัสสนาควบกับสมถะด้วย วิปัสสนาก็คือปัญญานั่นเอง เพราะเห็นอนิจจังควบกับลมหายใจเข้าออก

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

....

สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่าเมื่อเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้น ความเสื่อม. 

#ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (#ขณิกสมาธิ) 

ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้ดำรงจิตไว้เสมอคือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
               สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปฐมฌาน คือเมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจากวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน.
               ก็หรือว่าเธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้นเปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง), เปลื้องคือปล่อยจิตให้พ้นจากสุขสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์), จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน), จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย), จากราคะ (ความกำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความกำหนัด), จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเห็นเครื่องดับ), จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หายใจเข้าและหายใจออกอยู่.
               เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก.
               จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
               ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
               ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ พึงทราบอนิจจัง (ของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตา (ความเป็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึงทราบอนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
               ในลักษณะ ๔ อย่างมีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่าอนิจจัง ได้แก่เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
               ที่ชื่อว่าอนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเองมีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไปและมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับไม่มี.
               อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่นแล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.
               ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นว่าไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.
               ที่ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนานั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนี้หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า 

#เราจักพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง #หายใจเข้า #หายใจออก.

               ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัดโดยส่วนเดียว ๑.
               บรรดาวิราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขารทั้งหลาย ชื่อว่าขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่าอัจจันตวิราคะ. วิปัสสนาและมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจรเป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้าหายใจออก.
               แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
               ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืออุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่าง คือปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความแล่นไป ๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่าปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
               คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่นเป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค.
               จริงอยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่าการสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพานซึ่งผิดจากสังขารนั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม.
               มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืนคือการละ เพราะย่อมละกิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืนคือการแล่นไป เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็นอารมณ์.
               ก็วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้นๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อปฏินิสสัคคะในภายหลัง หายใจเข้าหายใจออก ดังนี้.
               คำว่า เอวํ ภาวิโต ความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วยอาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
               กถาว่าด้วยอานาปานัสสติสมาธิ จบ.            

ที่มา
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท

วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง

🙏🏻วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง และได้ผลมาก 🙏🏻 #การนั่งสมาธินี้ให้นั่งตามอัธยาศัย หมายความว่าจะนั่งพับเพียบก็ได้ นั่งขัดสมาธิก็ได้ เวลาเมื่อยจริงๆ เปลี่ยนอิริยาบถก็ได้อันนี้ไม่ห้าม 

#เพราะการเจริญพระกรรมฐานการสำคัญอยู่ที่ฝึกจิต ไม่ใช่ฝึกกาย 

#ถ้าจะเคร่งเครียดกับกายเกินไปแล้ว 

ถ้าจะนั่งแบบนี้ยังไม่ถึงเวลาเลิก ก็ยังไม่เลิก 

ถ้าบังเอิญปวดเมื่อยขึ้นมาแล้วยังขืนทนอยู่ 

ก็แสดงว่าจิตก็ไม่เข้าถึงสู่สภาวะสมาธิ วิปัสสนาญาณ

:

ฉะนั้น พุทธบริษัททุกท่าน 

#เวลานี้เราต้องการฝึกใจไม่ใช่เราต้องการฝึกกาย

#การนั่งถ้าบังเอิญมันฝืนเกินไปปวดเกินไปก็เปลี่ยนอิริยาบถได้ 

แต่ก็ต้องค่อยๆ เปลี่ยนเพื่อไม่ให้จิตมันเคลื่อน

#ในการเจริญพระกรรมฐานก็เพื่อจะหวังความสุขในโลกปัจจุบันและสัมปรายภพ 

ไม่ใช่ว่าจะนั่งหวังความดีเอาในชาติหน้า 

ที่เชื่อว่าความดีในพระพุทธศาสนา 

#พระพุทธเจ้าต้องการเอาดีในชาตินี้ 

คือตั้งแต่เดี๋ยวนี้เป็นต้นไป 

คนเราตายไปจะลงนรกก็ดี 

จะเป็นเปรต อสุรกาย ก็ดี สัตว์เดรัจฉาน 

เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นพรหม 

หรือเป็นพระอรหันต์เข้าสู่พระนิพพาน 

#ต้องเป็นกันก่อนเวลาตาย ไม่ใช่ตายแล้วจึงเป็น 

อย่างคนที่จะตกอบายภูมิก็ต้องเป็นเปรต 

เป็นสัตว์นรก อสุรกาย เป็นสัตว์เดียรัจฉานตั้งแต่ชาตินี้ 

หมายความว่าอารมณ์จิตของเราไม่ดี 

เป็นอารมณ์จิตของอบายภูมิในชาตินี้ 

ตายแล้วจึงจะไปอบายภูมิ

  
🙏🏻พระธรรมคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน 

วัดจันทาราม (ท่าซุง)ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ที่มา
หนังสือธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๒๓ เดือนตุลาคม

พ.ศ. ๒๕๔๒ หน้าที่ ๔๕~๔๘

Cr. นภา อิน

แผ่นดินไม่สิ้นพระโพธิสัตว์ "หลวงพ่อไพบูลย์" ผู้ได้รับพุทธพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

แผ่นดินไม่สิ้นพระโพธิสัตว์ "หลวงพ่อไพบูลย์" ผู้ได้รับพุทธพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ที่เหล่าพระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่นต่างรับรอง
“พระนิยตโพธิสัตว์” คือ พระโพธิ์สัตว์ที่ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว
#พระเทพวิสุทธิญาณ (หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล) ท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์ผู้สร้างบารมีจาก “ศรัทธาธิกะ” ที่หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร, หลวงปู่แว่น ธนปาโล, หลวงปู่หลวง กตปุญโญ, หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร, หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร และพระอาจารย์เด่น นันทิโย รับรอง จากหนังสือประวัติของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม...หลวงปู่ชอบท่านบอกว่า “หลวงพ่อไพบูลย์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในพระศาสนา"
หลวงปู่ชอบท่านยกเรื่องอดีตชาติของท่านกับหลวงพ่อไพบูลย์ให้ฟังว่า “ในสมัยพระพุทธเจ้ากะกุสันโธ หลวงปู่ชอบท่านเกิดเป็นอาจารย์ฤาษี อยู่ที่เมืองยอน ประเทศพม่า ท่านบอกในชาตินั้นเราได้ฌานสมาบัติ ๘ เหาะเหินเดินอากาศได้ ในชาติที่ท่านเกิดเป็นอาจารย์ฤาษี ที่เมืองยอน ประเทศพม่า ท่านมีลูกศิษย์ฤาษีที่ได้มาบวชพบกันในศาสนาพระพุทธเจ้าสมณโคดมองค์ปัจจุบัน มี ท่านพ่อลี ธัมมธโร, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ, หลวงปู่จาม มหาปุญโญ, หลวงปู่จันทร์เรียน คุณวโร, หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล และครูบากล้วย พระวีระศักดิ์ ธีรภัทโท ฯลฯ
ในส่วนของหลวงพ่อไพบูลย์นั้น หลวงปู่ชอบบอกหลวงพ่อไพบูลย์ท่านได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้ากะกุสันโธรับรองความเป็นพระมหาโพธิสัตว์ให้กับท่าน ในชาติที่ท่านเกิดเป็นฤาษี ที่เมืองยอน ประเทศพม่า หลวงปู่ชอบท่านบอกภัทรกัปป์หน้าจะมีพระพุทธเจ้า ๑๐ พระองค์ หลวงพ่อไพบูลย์ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๘ ในภัทรกัปป์หน้า”
น้อมกราบบูชา และขอโมทนาบุญบารมี แห่งท่านพ่อไพบูลย์ ด้วยเศียรเกล้าครับ.. สาธุ ๆ

ที่มา
ที่มา FB: เพจ หลวงปู่แว่น ธนปาดล – ลูกศิษย์

15 พฤศจิกายน 2564

#บ้านใดที่ชอบสวดมนต์อยู่เป็นประจำ เทพพรหมเทวดา จะมาร่วมสวดกับเรา

การสวดมนต์นั้น ทำให้จิตใจที่มีความไม่นิ่งคล้ายลิงที่กระโดดไปมาของเรา #ค่อยๆสงบลง
คล้ายการตะล่อมให้จิตเราสงบลงมากหรือน้อย #ขึ้นอยู่กับตัวผู้สวดว่ามีสมาธิตั้งมั่นมากน้อยเพียงใด 

ถ้าเราสวดมนต์ได้ ไม่ผิดเพี้ยน #แสดงว่าเราเองต้องมีสมาธิในระดับนึง 
เพราะถ้าเราขาดสมาธิ เราอาจจะสวดได้แบบผิดๆถูกๆ 

🟢 และถ้าจิตมีความตั้งมั่นในการสวด #อาจจะสามารถเข้าสมาธิลึกได้ในระดับฌาน จิตเป็นเนื้อเดียวกับคำสวดมนต์

ในความหมายของบทสวด
โดยมาก...จะเป็นการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย เวลาที่เราสวดมนต์ 

ถ้าเป็นไปได้..

🟢 #ขณะที่เราสวดมนต์ 
#ให้ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธรูป ที่เราชอบ เคารพนับถือ จะเป็นปางใดหรือองค์ได้ก็ได้ 

🟢 นึกถึงดอกบัวแก้วใส หรือ ดอกบัวสีขาวที่ไหลออกมาจากพระโอษฐ์ มากระทบที่กายของเรา ถ้าเราไม่ถนัดให้นึกถึงท่านเป็นปกติธรรมดาก็ได้

ธรรมทั้งหลายที่เราสดับรับฟังมานั้น #ย่อมเป็นความรู้จากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น #ท่านถือเป็นครูของเรา ที่สอนในเรื่องบุญบาป กฏแห่งกรรม ทาน ศีล ภาวนา ทางแห่งการพ้นทุกข์ และอื่นๆอีกมากมาย

ไม่ว่าในหัวเราจะมีเรื่องทางโลกที่สับสนวุ่นวายเพียงใด 
#ให้เราวางลงเสีย ตอนนี้เรามีหน้าที่นึกถึงท่าน และสวดมนต์ไปด้วย

🟢 #บ้านใดที่ชอบสวดมนต์อยู่เป็นประจำ 
เทพพรหมเทวดา ท่านจะรับรู้ และจะมาร่วมสวดกับเรา 
หรือมาร่วมโมทนากับเราอยู่เสมอๆ

#ผิดกับบ้านที่มีแต่ความเร่าร้อนหาธรรมะใดๆ ได้ยาก เทพเทวดาย่อมหลีกหนีออก เพราะ ท่านก็เสมือนเราๆที่อยากจะไปในที่ๆดีๆ ที่ๆพาให้เราเป็นสุขเช่นกัน

ทีนี้เมื่อเราสวดมากเข้า บุญญาบารมีของเราก็เพิ่มพูนเป็นทวีคูณ

#ท่านก็อาจจะมาคุ้มครองรักษาเรา ให้แคล้วคลาดปลอดภัย จากอันตรายทั้งปวงด้วยผลแห่งความดีที่เราได้ทำไว้

สิ่งที่เราจะได้รับ...เมื่อเราสวดเป็นประจำ #คือเราสามารถคลายความทุกข์ในชีวิตเราได้ มีสติมากขึ้น จิตใจผ่องใส 
เพราะเสียงที่เราสวดมานั้น ควบรวมไปกับพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา 

#บุญบารมีนี้ถือว่าสูงมากเพราะเป็น #พุทธานุสสติกรรมฐาน ไปในตัว 

จนที่สุดแล้ว ผลบุญที่เรากระทำมีมากพอรวมตัวส่งผล บุญดีๆจากในอดีตชาติ และปัจจุบันนั้นเชื่อมต่อกัน ส่งผลให้เราพ้นจากภัยทั้งปวง ประสบพบแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป

ที่มา
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๗.๐๔ น. :- การบรรยายธรรมจากการกราบสมเด็จองค์​ปฐม​ในสมาธิ

บันทึกธรรมโดย ธรรมรัตน์

13 พฤศจิกายน 2564

ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช

ตำนานการสร้างพระพุทธชินราช ตามตำนานที่มีไว้แล้วแย้งกันเป็น ๒ นัยอยู่ นัยหนึ่งว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) แต่อีกนัยหนึ่งกล่าวว่าสร้างเมื่อราวจุลศักราช ๗๑๙ (พ.ศ.๑๙๐๐) ตำนานที่อ้างถึงพระพุทธชินราชหล่อขึ้น ในจุลศักราช ๓๑๙ (พ.ศ.๑๕๐๐) นั้น เป็นตำนานที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๔) ว่าด้วยเรื่องพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา และพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ (รัชกาลที่ ๕) เรื่องพระพุทธชินราช ความว่า

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกผู้ครองนครเชียงแสงได้ยกกองทัพลงมีตีเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีพระเจ้าพสุจราชปกครองอยู่ ทหารทั้งสองฝ่ายรบราฆ่าฟันกันตายลงเป็นอันมากมิได้แพ้ชนะกัน พระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ มีความเศร้าสลดใจในการศึกครั้งนี้ จึงเข้าทำการไกล่เกลี่ยให้พระราชาทั้งสองนี้เป็นสัมพันธไมตรีกัน พระราชาทั้งสองก็ยอมปฏิบัติตาม พระเจ้าพสุจราชได้ทรงยกพระนางประทุมราชเทวี ราชธิดา อภิเษกให้เป็นมเหสีแห่งพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชโอรสด้วยพระนางประทุมราชเทวี ๒ พระองค์ ทรงพระนามว่า เจ้าไกรสรราชกับเจ้าชาติสาคร พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชประสงค์จะป้องกันการรุกรานของชาติขอม ซึ่งขณะนั้นมีอำนาจอยู่ทางละโว้หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการแผ่ราชอาณาจักรให้ไพศาลออกไป จึงได้สร้างเมืองพิษณุโลก เพื่อให้ราชโอรสขึ้นครองเมือง

ตามพงศาวดารกล่าวว่าได้สร้างเมืองพิษณุโลกเมื่อจุลศักราช ๓๑๕ (พ.ศ.๑๔๙๖) เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ได้เสด็จลงมาอภิเษกเจ้าไกรสรราชขึ้นครองเมือง พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกนี้ทรงพระปรีชาสามารถรอบรู้แตกฉานพระไตรปิฎกมาก จึงได้รับเฉลิมพระนามาภิไธย ดังนั้นขณะที่เสด็จประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ที่ได้สร้างขึ้นใหม่ ก็มีพระราชประสงค์จะบำเพ็ญบุญกุศลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและให้พระเกียรติศัพท์พระนามปรากฏในภายหน้า จึงตรัสให้สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุขึ้นเป็นคู่กับเมือง สร้างพระมหาธาตุเป็นรูปปรางค์ สูงราว ๘ วา ตั้งกลางแล้วสร้างพระวิหารรอบปรางค์ทั้งสี่ทิศ มีระเบียง ๒ ชั้น พระองค์ต้องการจะสร้างพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อเป็นพระประธานในพระวิหาร

ในเวลานั้นที่เมืองศรีสัชนาลัย ทั้งสวรรคโลกและสุโขทัย เป็นที่เลื่องลือปรากฏในการฝีมือช่างต่างๆ ทั้งการทำพระพุทธรูปว่าฝีมือดียิ่งขึ้น จึงมีพระราชสาส์นไปยังกรุงศรีสัชนาลัย เพื่อขอช่างมาช่วยปั้นหุ่นพระพุทธรูป สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยจึงส่งช่างพราหมณ์ที่มีฝีมือดี ๕ นาย ชื่อ บาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุ บาราชสิงห์ และ บาราชกุศล พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดให้ช่างสวรรคโลก สมทบกับช่างชาวเชียงแสนและช่างหริภุญไชย ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง ๓ องค์ มีทรวดทรงสัณฐานคล้ายกัน แต่ประมาณนั้นเป็น ๓ ขนาด คือ
     - พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามไว้ว่า “พระพุทธชินราช” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีเศษสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๕ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
     - พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระพุทธชินสีห์” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
     - พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามไว้ว่า “พระศรีศาสดา” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย

"...ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธรูปมานักแล้ว ไม่ได้เคยรู้สึกว่าดูปลื้มใจจำเริญตาเท่าพระพุทธชินราชเลย
ที่ตั้งอยู่นั้้นก็เหมาะนักหนา วิหารพอเหมาะกับพระ มีที่ดูได้ถนัด และองค์พระก็ตั้งต่ำพอดูได้ตลอดองค์
ไม่ต้องเข้าไปดูจ่อนจ่อเกินไปและไม่ต้องแหงนคอตั้งบ่าฯ...ถ้าพระพุทธชินราชยังคงอยู่ที่พิศณุโลกตราบใด
เมืองพิศณุโลกจะเป็นเมืองที่ควรไปเที่ยวอยู่ตราบนั้น ถึงเมืองพิศณุโลกจะไม่มีชิ้นอะไรเหลืออยู่อีกเลย
ขอให้มีแต่พระพุทธชินราชเหลืออยู่แล้ว ยังคงจะต้องอวดได้อยู่เสมอว่า มีของควรดูควรชมอย่ายิ่งในเมืองเหนือ
หรือจะว่าในเมืองไทยทั้งหมดก็ได้..."
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" (พ.ศ.๒๔๕๐)

พระศรีธรรมไตรปิฎกทรงเลือกลักษณะอาการตามชอบพระทัยให้ช่างทำคือ สัณฐานอาการนั้นอย่างพระพุทธรูปเชียงแสน ไม่เอาอย่างพระพุทธรูปในเมืองศรีสัชนาลัยสวรรคโลก และเมืองสุโขทัยที่ทำนิ้วสั้นยาวไม่เสมอกันอย่างมือคน ทรงรับสั่ง ให้ทำนิ้วให้เสมอกันตามที่พระองค์ทรงทราบว่าเป็นพุทธลักษณะ พระลักษณะอื่นๆ ก็ปนๆ เป็นอย่างเชียงแสนบ้าง อย่างศรีสัชนาลัยสวรรคโลก สุโขทัยบ้าง

จวบจนวันพฤหัสบดี ขั้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ สัปตกศก จุลศักราช ๓๑๗ ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้ว กระทำการแกะพิมพ์ออกมาปรากฏว่า พระองค์ที่ ๒ คือ พระพุทธชินสีห์ และองค์ที่ ๓ คือพระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่านั้น ส่วนรูปพระพุทธชินราชนั้นทองแล่นติดไม่เต็มองค์ ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นอัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอันมาก ช่างได้ช่วยกัน ทำหุ่น และเททองหล่ออีกถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์

พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก พระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งขอให้ทวยเทพยดาจงช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์เถิด แล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งหลังนี้ปรากฏว่ามีตาปะขาวคนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อไรมาจากไหนเข้ามาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรงทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่พูดจากับผู้ใด

ครั้นได้มหามงคลฤกษ์ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศกจุลศักราช ๓๑๙ (พุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ หย่อนอยู่ ๗ วัน) ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช คราวนี้น้ำทองที่เทก็แล่นเต็มบริบูรณ์ตลอดทั่วองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้หาตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบ ปรากฏว่าเมื่อหล่อพระเสร็จแล้วก็เดินทางออกประตูเมืองข้างทิศเหนือ พอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครพบเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่าตาปะขาวผู้นั้นคือเทพยดาแปลงกายลงมาหล่อพระพุทธชินราชอันเป็นเหตุทำให้เลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น ตำบลบ้านที่ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่า “บ้านตาปะขาวหาย” ต่อมาจนถึงทุกวันนี้

ที่มา
อ้างอิง ๑. คู่มือการท่องเที่ยวพิษณุโลก จัดทำโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
         ๒. หนังสือ “เจ้าชีวิต” พระนิพนธ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
         ๓ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำนานหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

ตำนานหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระเถราจารย์ผู้มีตบะบารมีแก่กล้า  
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านเป็นชายชาตรี ใช้ชีวิตกลางแจ้งเพื่อศึกษาชีวิตของราษฎรตามหัวเมืองต่าง ๆ และที่สำคัญท่านชื่นชอบพุทธเวท ไสยเวท เป็นอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้เมื่อพระองค์เสด็จประพาสไปที่ใด หากทราบว่ามีพระอาจารย์ดีเรื่องอาคมเป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป พระองค์จะไปกราบนมัสการสนทนาในเรื่องของธรรมะและพุทธาคมอยู่เป็นนาน พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์อีกด้วย ในจำนวนพระเกจิอาจารย์มีชื่ออยู่ในยุคนั้นที่เสด็จในกรมทรงศรัทธามากเป็นพิเศษและไปมาหาสู่บ่อย ๆ คือ “หลวงปู่ศุข” หรือ “ท่านพระครูวิมลคุณากร” แห่งวัดปากคลองมะขาวเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

แล้วก็เป็นเรื่องที่น่าแปลง เมื่อกล่าวถึงพุทธาคมของหลวงปู่ศุข ก็จะต้องเขียนเรื่องกรมหลวงชุมพรฯ และถ้าหากเขียนเรื่องเสด็จในกรมในเรื่องความขมังเวท ก็จะต้องมีเรื่องของหลวงปู่ศุข เข้ามาเกี่ยวข้องกันจนแยกไม่ออก

หลวงปู่ศุข เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 ความเป็นมาในช่วงวัยเด็กจนเป็นหนุ่มรุ่นนั้น ข้อมูลมีกันอยู่หลายกระแส คือท่านเป็นเด็กซุกซน ชอบลงว่ายน้ำเกาะเรือโยงในแม่น้ำเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้มารดาของท่านเป็นห่วง ห้ามปรามก็ไม่เชื่อ ทำให้มารดาโกรธและทำโทษเฆี่ยนตีสั่งสอน แต่ผลจากการลงโทษนั้นทำให้เด็กชายศุขโกรธผู้เป็นแม่ รุ่งขึ้นจึงเกาะเรือโยงหนีออกจากบ้าน

แต่อีกข้อมูลก็แจ้งว่า ตอนเมื่อท่านเยาว์วัยอายุประมาณ 7 ปี มารดานำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ผู้เรืองอาคม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนมีความรู้ความชำนาญในเรื่องภาษาไทย จากนั้นจึงได้อำลาพระอาจารย์ไปแสวงหาวิชาความรู้เพิ่มเติมในกรุงเทพฯ โดยที่ท่านยังไม่บวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรแต่อย่างใด

ขณะที่อยู่ในกรุงเทพฯ จนถึงวัยหนุ่มอายุ 18 ปี ได้พบเนื้อคู่ซึ่งเป็นสาวสายย่านบางเขน ชื่อสมบูรณ์ หนุ่มศุขใช้ชีวิตครองเรือนจนมีบุตรคนหนึ่งซื่อสอน (บ้างก็ว่าชื่อชวน) ใช้ชีวิตอย่างปุถุชนธรรมดาจนเบื่อ

ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจหักคานเรือน หนีภรรยาและบุตรไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์เชย เป็นพระอุปัชฌาย์

ครั้นบวชเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ศุขก็มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเคร่งครัด ถือวัตรธุดงค์อยู่ตามสถานที่วิเวกสันโดษ เยี่ยงพระอนาคาริกทั้งหลายในสมัยนั้น

การธุดงค์ไปตามป่าเขาของหลวงปู่ศุข ทำให้ท่านได้พบพระวิปัสสนาจารผู้ทรงคุณและมีความรู้หลายท่าน จนมีความเจนจบในไสยศาสตร์หลายสาขาอีกด้วย

ครั้นมารดาของท่านถึงแก่กรรมลง หลวงปู่ศุขก็ได้กลับบ้านเพื่อจัดการฌาปนกิจศพเป็นที่เรียบร้อย ขณะเดียวกันท่านก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่านับแต่นี้ไปในกาลภายหน้าจะยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา โดยจะถือเพศบรรพชิตอยู่ในวัดปากคลองมะขามเฒ่าไปจนตลอดชีวิต ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ศุข ก็อยู่อย่างพระวิปัสสนาในวัดปากคลองมะขามเฒ่า มีความเคร่งครัดในศีลาจารวัตร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากจะเป็นพระวิปัสสนาจารที่สามารถแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่รอบรู้ด้านปริยัติธรรม มีความรู้แตกฉานในหลักธรรมและพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในเรื่องวิชาไสยศาสตร์ วิทยาคมต่าง ๆ นั้นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเลิศ มีหลักฐานบันทึกของสานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งว่า

“หลวงปู่ศุขสำเร็จในอารมณ์กำหนดธาตุทั้ง 4 มี ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นผลแห่งฌานด้วย “กสิณ” สมาบัติ สามารถทำอะไร ๆ ได้ เช่น ผูกหุ่นพยนต์ ล่องหนหายตัวกำบังกาย ทั้งสามารถระเบิดน้ำลงดำในทะเล หรือเดินบนผิวน้ำ สะเดาะโซ่ตรวจ สะกดทัพ ท่านสามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้”

จากหนังสือ กรมหลวงชุมพรฯ เรียบเรียงโดย บุรี รัตนา

เดือนยี่ปีนั้นกำลังอยู่ในหน้าแล้ง มีชาวเหนือทางจังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางมาค้าขายโดยมีช้างเป็นพาหนะประมาณ 8-9 เชือก แต่สินค้าที่ขายกันนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นอะไรแน่ สมัยนั้นปรากฏว่าการคมนาคมไม่สะดวกราบรื่นเท่าที่ควร 2 ข้างทางเต็มไปด้วยป่าพงดงดิบ พ่อค้ากลุ่มนี้มีประมาณ 15 คน เดินทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านสุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี จนถึงชัยนาท พ่อค้าเหล่านั้นได้พากันพักแรมอยู่ที่ใต้ถุนศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า แต่แล้วบรรดาพ่อค้านี้ได้ปล่อยช้างให้กินใบไผ่ใบหญ้าอยู่ตามบริเวณวัด 2-3 วัน แล้วก็ช้าง 8-9 เชือกนี้เองบังเอิญไปเหยียบย่ำต้นไม้ของหลวงพ่อที่ปลูกไว้ เช่น ต้นกล้วย ผัก พริก มะเขือ และไม้ดอกสีต่าง ๆ บางทีช้างก็ใช้งวงเอาใบกล้วยมากินจนแหลกลาญเสียหาย

ความจริงหลวงพ่อก็มิได้เอ่ยว่าประการใด บรรดาชาวบ้านแถวนั้นก็จูงลูกเด็กเล็กแดงมายืนดูช้างอยู่ในวัดจำนวนมาก เพราะมีทั้งช้างสีดอ ช้างพัง ช้างพลาย และลูกช้างอีกราว 2-3 เชือก ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 16.30 น. พวกเลี้ยงช้างที่มานั้นพากันหุงข้าวปลาอาหารอยู่ใต้ถุนศาลา กะว่ารุ่งขึ้นจะพากันเดินทางลงใต้ คือผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างที่หุงข้าวกันอยู่นั้น ชาวบ้านก็ได้ยินกลุ่มชาวเหนือที่กำลังนึ่งข้าวกันอยู่นั้นพากันบ่นว่า ข้าวไม่พอกินกัน อีกคนหนึ่งจึงพูดว่า

"จะไปยากอะไร นกพิราบอยู่บนหลังคาโบสถ์เป็นฝูง ๆ ปืนเราก็มี หน้าไม้ก็มี จัดการเอาเลย"

ชาวบ้านแห่งวัดมะขามเฒ่าได้ฟังดังนั้นจึงช่วยกันห้ามปราม อธิบายให้ฟังทั่ว ๆ กันว่า การกระทำดังนั้นจะผิดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อเคยห้ามไว้นานแล้วว่าไม่ให้ยิงนกภายในบริเวณวัด แม้ว่าจะเป็นการพูดทักท้วงที่ละมุนละม่อมเพียงไร เขาก็หาฟังเสียงไม่ คนหนึ่งคว้าปืนแก๊ปขึ้นประทับบ่ายิงไปยังนกพิราบฝูงนั้น สับนกดังเชี๊ยะ ๆ ตั้งหลายครั้งหลายครา พยายามยิงเท่าไหร่ลูกปืนก็หาออกไปสังหารชีวิตนกพิราบแม้แต่ตัวเดียว

พวกที่หมายมั่นจะกินเนื้อนกพิราบให้จงได้ก็พยายามต่อไป คือเปลี่ยนเป็นหยิบหน้าไม้ออกไปยิง แต่เมื่อยิงทีไรลูกศรก็ตกจากร่องหน้าไม้ทุกที เป็นที่น่าประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นตาม ๆ กัน ร้อนถึงชายฉกรรจ์วัยกลางคนผู้หนึ่ง ท่าทางภูมิฐานเอาเรื่อง เปล่งเสียงออกมาอย่างเกรี้ยวกราดตามอารมณ์ดีเดือดว่า

“ขรัวตาวัดนี้มีอะไรดีหรือวะ ชะ ชะ”

พูดแล้วก็คว้าได้ขวานสั้นคมกริบเล่มหนึ่ง ฟันลงที่หน้าแข้งเสียงดังฉาด ๆ กระเด็นออกมาเป็นฟืนหุงข้าว ทำให้ผู้คนที่ต่างมุงดูอยู่บังเกิดความพิศวงเป็นกำลัง เพราะเห็นขวานกระทบหน้าแข้งกระเด็นออกมาเป็นท่อนฟืนได้

ชาวเหนือผู้เลี้ยงช้างยิ่งแลเห็นผู้คนสนใจในอาคมของตนก็ยิ่งกำเริบใจ วางท่าหนักขึ้นไปอีก แสดงอาการถากหน้าแข้งต่อไปไม่หยุดยั้ง ในที่สุดก็ได้ฟืนเป็นกองใหญ่

ขณะนั้นมีชาวบ้านคนหนึ่งวิ่งตะลีตะลานไปรายงานกับหลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่าว่า บัดนี้มีคนดีมาจากเหนือแสดงอาการถากหน้าแข้งให้เป็นฟืนหุงข้าวก็ได้ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ใคร ๆ ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก

หลวงพ่อถามโพล่งออกมาว่า “ใครวะ คนดีคนเก่ง”

ชาวบ้านตอบว่า “คนเลี้ยงช้างครับหลวงพ่อ”

หลวงพ่อได้ฟังคำตอบชัดแจ้งดีแล้วก็พูดด้วยเสียงอันดังฉุนเฉียวว่า

“เอ ไม่ได้การเสียแล้วไอ้ห่านี่บังอาจมาถากเสาศาลาของกู เดี๋ยวเหอะ กำแหงใหญ่แล้วพวกนี้”

ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี หลวงพ่อจึงคิดจะทำการดัดสันดานพวกนี้ให้เข็ดหลาบเสียบ้าง ไม่รู้จักว่าใครเป็นใคร มันไม่รู้จักกู ดีละ เพราะท่านทราบว่าจวนถึงเวลาที่พวกเลี้ยงช้างจะต้องต้อนช้างไปผูกแล้วสุมไฟให้นอน หลวงพ่อเผ่นลงจากุฏิพร้อมด้วยกะลามะพร้าวซีกหนึ่ง เดินไปลานหญ้าหน้ากุฏิ หยุดบริกรรมร่ายพระเวทอันศักดิ์สิทธิ์เรียกฝูงช้างให้มารวมกัน จากแรงฤทธิ์อิทธิเดชของเวทมนต์หลวงพ่อ ช้างก็ถูกลมพัดปลิวเหลือตัวเท่าแมลงวันตกอยู่ตรงหน้า แล้วท่านก็เอากะลาครอบลง เอาเท้าเหยียบตรึงด้วยพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ เป่าลงบนกะลาครอบนั้น จากนั้นหลวงพ่อก็เดินกลับเข้าไปในกุฏิ

ส่วนพวกเลี้ยงช้างนั้นเล่า หลังจากกิจข้าวปลาอาหารจนอิ่มหนำสบายใจดีแล้วก็นึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ต้อนช้างให้เข้านอน แต่เมื่อมุ่งหน้าไปยังที่ช้างอยู่ก็หาเห็นช้างแม้สักเชือกไม่ ช้างหายไปไหนหมด ทุกคนพบกับปัญหาที่คาดไม่ถึง แล้วก็ออกค้นหากันไป จนกระทั่งอ่อนใจ หนักเข้าถึงกับร้องไห้ขึ้นไปกราบเท้าหลวงพ่อพลางปรับทุกข์ให้ท่านฟัง “ถ้าช้างถูกขโมยไปหมดแล้ว พวกเขาจะกลับบ้านไม่ได้” พวกเขาว่าอย่างนี้ หลวงพ่อฟังแล้วก็เลยถือโอกาสสั่งสอนว่า

“เรามาทำมาหากิน ก็จงทำมาหากินโดยซื่อสัตย์สุจริต มีความอุตสาหะหมั่นเพียร อย่าได้คิดเบียดเบียนคนอื่นให้เกิดความเดือดร้อน จะได้เอาเงินกลับไปบ้านเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย แต่นี่พวกมึงกำแหงมาก ศาลาของกูสร้างต้องเสียเงิน แต่มึงเอาขวานมาถากศาลาของกูเสียหาย”

พวกเลี้ยงช้างต่างฟังกันเงียบไม่ยอมปริปากประการใด หลวงพ่อก็พูดต่อไปว่า 

“ศาลาของกูเสียหายอย่างนี้ มึงต้องเอาเงินมาเปลี่ยนทำเสาศาลากูให้ดีเหมือนเดิม กูถึงจะคืนช้างให้พวกมึง”

พวกเลี้ยงช้างเหล่านั้นจำใจต้องยอมรับผิดเพราะตนผิดจริง ๆ แล้วมอบเงินให้กับหลวงพ่อให้พอกับการเปลี่ยนเสาศาลาให้มีสภาพดีเหมือนเดิม เมื่อหลวงพ่อได้รับเงินแล้วก็พูดว่า

“มึงตามมา แล้วพรุ่งนี้มึงต้องไปนะ ต้นไม้ต่าง ๆ ของกูฉิบหายหมด เห็นไหม”

พวกเลี้ยงช้างค่อย ๆ เดินตามหลวงพ่อมา จนกระทั่งถึงที่ช้างถูกกะลาครอบเอาไว้

“นี่ ช้างของมึง กูเอากะลาครอบเอาไว้” 

พูดจบหลวงพ่อก็เปิดกะลาที่ครอบออก ช้างที่เล็กเท่าตัวแมลงวันก็กลับกลายร่างใหญ่โตเท่าเดิม เหล่าชาวเหนือเห็นดังนั้นก็ก้มลงกราบแทบเท้าหลวงพ่อแล้วนำช้างกลับไปพักผ่อนตามปกติ

ความแก่งกล้าสามารถในด้านวิชาไสยศาสตร์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีผู้บอกเล่ากันต่อไปในที่ต่าง ๆ โด่งดังไปถึงในรั้วในวัง และทำให้กรมหลวงชุมพรฯ ทราบเรื่องที่ว่านี้มาตลอด แต่ก็ทรงเฉย ๆ อยู่

มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณฯ ได้นำพระเครื่องเก่าองค์หนึ่งมาถวายแก่กรมหลวงชุมพรฯ แล้วทูลว่าพระเครื่ององค์นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยอด ตกทอดมาตั้งแต่วังหน้า เนื่องจากพระองค์ชอบพิสูจน์หรือทดลองให้เห็นจริง จึงให้มหาดเล็กนำพระเครื่ององค์นั้นไปแขวนที่ปลายไม้ จากนั้นพระองค์จึงมีพระบัญชาให้นาวาเอกพระยาพลพยุหรักษ์ เป็นผู้ทดลองยิงพระเครื่ององค์นั้น โดยใช้ปืน ร.ศ. บรรจุกระสุนที่เลือกแล้วเป็นอย่างดี ท่ามกลางผู้ที่ยืนดูการทดลองจำนวนมาก จากการยิง 3 นัด ผลปรากฏว่าปืนกระบอกนั้นไม่มีเสียงระเบิดทั้ง 3 นัด คงมีเสียงสับนกกระทบตูดชนวนลูกปืนดัง แชะ แชะ แชะ อันหมายความว่า กระสุนด้านและไม่ทำงาน เสด็จในกรมทรางมีบัญชาให้หันลำกล้องปืนไปทางอื่นและยิงใหม่ ปรากฏว่ากระสุนเดิมทั้ง 3 นัด ส่งเสียงสนั่น อันหมายถึงกระสุนมิได้ด้าน

นับตั้งแต่ครั้งนั้นกรมหลวงชุมพรฯ จึงมีความเชื่อถือในพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์และ พุทธานุภาพ พร้อมกันนั้นได้เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์ดี เพื่อศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากผู้ทรงคุณต่าง ๆ

ครั้นชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงปู่ศุขมีมากขึ้น ก็มีความสนพระทัย ความคิดใคร่จะไปทดลองดูให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาว่าเป็นอย่างไร หากมีโอกาสเมื่อใดก็จะไปพบหลวงปู่ศุขให้จงได้ ในครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ เสด็จไปตากอากาศภาคเหนือและเสด็จกลับด้วยเรือทหารล่องลงมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา แต่แทนที่จะล่องกลับถึงกรุงเทพฯ พระองค์ทรงรับสั่งให้เรือกลไฟที่จูงเรือประเทียบล่องลงมาตามลำน้ำท่าจีน อันแม่น้ำท่าจีนนั้นแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท ไหลลงสู่อ่าวไทยที่เมืองสมุทรสาคร มีความยาวถึง 200 กม. และเส้นทางสายแม่น้ำท่าจีนนี้ได้ไหลผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย เมื่อเรือพระที่นั่งล่องมาถึงวัด ก็บังเอิญให้เรือมีอันขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะพยายามแก้ไขเครื่องยนต์อย่างไรก็ไม่สำเร็จ (ภายหลังหลายคนเชื่อว่าคงเป็นการสำแดงอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข) ในที่สุดก็เลยต้องชะลอเรือทั้งหมดเข้าไปจอดที่ศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่เรือประเทียบและเรือกลไฟเข้ามาเทียบอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ พระองค์ทรงแลเห็นเด็กลูกศิษย์วัดกำลังชุลมุนอยู่กับการตัดหัวปลีเอามากองที่ข้างศาลาทีละหัวสองหัว จนเรือเข้าเทียบศาลาท่าน้ำนั่นแหละจึงเห็นหัวปลีกองโตขึ้น ขณะเสด็จในกรมทรงยืนบนเรือมองดูการกระทำของเด็กวัดเหล่านั้นด้วยความฉงนพระทัย ได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินตรงเข้ามาที่กองหัวปลี ท่าทางเคร่งขรึม ท่านมองรอบ ๆ กองหัวปลีอยู่ 2-3 อึดใจ แล้วจึงหย่อนร่างนั่งบนกองหัวปลีนั้น พระภิกษุรูปนั้นนั่งหลับตาภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง จากนั้นท่านก็หยิบหัวปลีขึ้นมาเป่าลูบไล้ไปมา จากนั้นท่านเหวี่ยงหัวปลีลงพื้น แล้วเสด็จในกรมตลอดจนทหารข้าราชบริพารต้องตกตะลึงเพราะหัวปลีนั้นเมื่อตกถึงพื้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวนวล กระโดดโลดเต้นอยู่ไปมา ภิกษุรูปเดิมหาได้หยุดเสกเป่าหัวหลี ท่านทำอย่างต่อเนื่อง หัวปลีกลายเป็นกระต่ายขาวหลายตัววิ่งอยู่บนศาลาและพื้นดินเต็มไปหมด

เมื่อเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนี้ กรมหลวงชุมพรฯ พร้อมด้วยนายทหารและข้าราชบริพารทั้งปวงในที่นั้นก็เข้าไปแสดงอาการคารวะต่อพระภิกษุรูปนั้นโดยทั่วหน้ากัน

ครั้นกระต่ายวิ่งมาหาท่านทีละตัว ท่านก็เอามือลูบคลำไปมาสักครู่ แล้วปล่อยวางลงกับพื้น กระต่ายก็กลับเป็นหัวปลีอย่างเดิม และทำอยู่อย่างนั้นทุกตัว จนกลายเป็นหัวปลีกองโตเหมือนเดิม

กรมหลวงชุมพรฯ ได้สอบถามพูดคุยกับหลวงพ่อองค์นั้น (ขณะนั้นเสด็จในกรมเรียกหลวงพ่อ) จึงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้าท่านก็คือ “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ที่พระองค์ได้ยินชื่อเสียงมาช้านานนั่นเอง

และหลวงปู่ศุขก็รู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหน้าคือพระราชโอรสแห่งพระพุทธเจ้าหลวง “กรมหลวงชุมพรฯ” นั่นเอง

การพูดคุยกันวันนั้นเป็นที่ถูกอัธยาศัยกันทั้ง 2 ฝ่าย เสด็จในกรมจึงอยากพักอาศัยอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าสักหลายวัน หลวงปู่ศุขก็มิได้ว่ากระไร ยกศาลาท่าน้ำให้เป็นที่จอดเรือ ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุชราและโอรสของเจ้าเหนือหัวได้เริ่มขึ้นแล้ว

#สาธุคืออะไร


ทำไมต้อง สาธุ สาธุ สาธุ

#นับเป็นความโชคดีอย่างมหาศาล ของเราชาวพุทธอย่างแท้จริง...

คำว่า สาธุ นี้ 
หามีในศาสนาอื่นไม่..
คำๆ นี้ถ้าไม่มีพระพุทธศาสนาบังเกิดขึ้น คำนี้คงไม่บังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน..

วันนี้ จึงอยากนำเหตุที่มาของคำว่า สาธุ นี้ มามอบให้เป็นธรรมบรรณาการ ให้แก่ สหายธรรมที่รักทุกคน

ความเป็นมาของคำว่า "สาธุ"..

มีเรื่องเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลว่า..
 ชายคนหนึ่ง อยู่ในเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ได้ฟังพระแสดงธรรมเทศนาแล้ว เห็นโทษในการครองเรือน มีความปรารถนาจะขอบวช เพื่อ แสวงหาความสงบ ในสมณธรรม 

จึงลาจากภรรยาไปบวช ได้ตั้งใจพากเพียรในสมณธรรม ตามที่ปรารถนาไว้ตลอดมา 
ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงพบหญิงผู้เป็นภรรยาของชายคนนั้น และเมื่อทรงได้ทราบเหตุความเป็นมาทั้งหมดจึงเกิดสมเพชในนางผู้เป็นภรรยา รับสั่งให้นำหญิงนั้นมาเลี้ยงไว้ในพระราชวัง ตั้งเป็นท้าวนางกำนัล

อยู่มาวันหนึ่ง ราชบุรุษนำดอกนิลุบลบัวเขียว มาถวายพระเจ้าปเสนทิโกศลกำมือหนึ่ง 

พระองค์จึงประทานแก่ท้าวนางคนละดอก 

ฝ่ายสตรีที่เป็นภรรยาของชายที่ไปบวชนั้น เมื่อไปรับพระราชทาน ก็ยิ้มแสดงความยินดี ดุจนางอื่นๆ 

แต่พอดมกลิ่น​นิลุบลแล้ว นางกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่จึงร้องไห้ 

พระเจ้าปเสนทิโกศลสงสัยพระทัย จึงตรัสถามว่า..
 เหตุใดนางจึงยิ้ม​ แล้วร้องไห้ 
นางจึงกราบทูลว่า.. ที่นางยิ้มเพราะดีใจที่ทรงพระกรุณาประทานดอกบัวให้  

แต่พอดมดอกบัวแล้วหอมเหมือนกลิ่นปากของสามีที่ไปบวช นางคิดถึงความหลัง จึงร้องไห้ (Moon unbearable)

พระเจ้าปเสนทิโกศลต้องการ พิสูจน์วาจาของนาง จึงโปรดให้ประดับวังด้วยของหอมทั้งปวง​ เว้นแต่บัวนิลุบล แล้วอาราธนาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าภิกษุสงฆ์ให้มาฉันภัตตาหารในพระราชวัง แล้วมีพระราชดำรัสถามหญิงนั้นว่า.. พระมหาเถระองค์ไหนที่นางอ้างว่าเป็น "อดีตสามี" หญิงนั้นก็ชี้ไปที่พระมหาเถระ 

เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลอาราธนาให้พระพุทธเจ้า และภิกษุองค์อื่นๆ กลับวัดไปก่อน เว้นพระมหาเถระขอให้อยู่ เพื่อกล่าวอนุโมทนากถา​ 
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไปแล้ว 
พระมหาเถระจึงกล่าวสัมโมทนียกถา​ อนุโมทนาด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ และมีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปากพระเถระรูปนั้นอย่างน่าอัศจรรย์ กลบเสียซึ่งกลิ่นดอกไม้ของหอมทั้งปวง 

กลิ่นปากของพระมหาเถระหอมฟุ้งไปทั่วพระราชวัง ดังกลิ่นการบูร และพิมเสนผสมกฤษณา หอมยิ่งกว่าดอกบัวนิลุบล  

ปรากฏการณ์นี้ปรากฏแก่ชนทั้งหลายในพระราชวัง ส่วนองค์มหากษัตริย์เมื่อเห็นจริงดังหญิงนั้นกราบทูล ก็ทรงโสมนัสน้อมนมัสการ

ฝ่ายพระมหาเถระเสร็จสิ้นการอนุโมทนาแล้ว ก็กลับไปสู่วิหาร

ครั้นพอรุ่งเช้าพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเสด็จไปสู่พระ วิหาร ถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลถามว่า..  

"เหตุใดปากของพระมหาเถระ 
จึงหอมดังดอกอุบล เช่นนั้น ท่านได้สร้างกุศลใดมา พระพุทธเจ้าข้า"

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า 
"เพราะบุพชาติปางก่อน ภิกษุรูปนี้ได้ไปฟังพระสัทธรรมไพเราะจับใจ เต็มตื้นด้วยปีติยินดี  

จึงได้เปล่งวาจา ว่า 
"สาธุ สาธุ สาธุ" เท่านั้น  

อานิสงส์แห่งการฟังพระสัทธรรมได้ส่งผลให้ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ และด้วยอานิสงส์แห่งการเปล่งวาจาสาธุการ ว่า..
สาธุ สาธุ สาธุ เพียงเท่านี้ 

จึงได้ส่งผลให้ท่านมีกลิ่นปากหอมดังดอกอุบล เป็น​ดังนี้มานับภพนับชาติไม่ถ้วนทีเดียว"

น่าอัศจรรย์จริงหนอ เห็นไหมล่ะ มิธรรมดาเลย การเปล่ง สาธุการ สาธุ สาธุ สาธุ เท่านั้นแหละ ด้วยจิตเลื่อมใส ด้วยจิตอนุโมทนาในกุศลผลบุญทั้งหลาย ย่อมมีอานิสงส์มิใช่น้อยเลย...

และผลดีอีกประการหนึ่ง ของการกล่าวสาธุการนี้ ย่อมทำให้ปิดกั้นกระแสบาปเสียได้ คืออกุศลจิต ที่คิดริษยาในการทำความดีของผู้อื่นย่อมไม่ปรากฏ ไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่กล่าวสาธุการ อยู่เป็นนิตย์ จิตของเขาย่อมผ่องใส เป็นทางมาแห่งบุญกุศล และย่อมเข้าถึงกระแสแห่งธรรมได้โดยง่าย บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่ายทีเดียว

ดังนั้น ขอเรียนเชิญ สหายธรรมที่รักทุกท่าน ได้มาตั้งจิตอนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันดีกว่า
สาธุ...
สาธุ...
สาธุ...
อนุโมทามิ

Cr.ภาพงานกฐินวัดโพธิ์ #พุทธคยา (ใต้ #ต้นพระศรีมหาโพธิ์) อินเดีย ปี 2564

#ภาพจำแนบใจคณะพระสงฆ์จำนวนมากจากทั่วโลกปฏิบัติศาสนกิจใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ #นั่งบนอาสนะจิตตสปา 
#อนุโมทนาบุญสาธุกับคณะเจ้าภาพทุกท่านด้วยค่ะ

ประวัติสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก

⚜..." ท่านสาธุชนทั้งหลาย ตอนนี้ ก็มาพูดกันถึงเรื่อง สมเด็จองค์ปฐม.. 

~ สำหรับคำว่า "สมเด็จองค์ปฐม" ก็คือพระพุทธเจ้าองค์แรก หรือองค์ที่ ๑ เรียกว่า "#องค์ปฐม" 

~ ขอเล่าย้อนตอนหลังสักนิด คือ.. เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๑ ตอนนั้นอาตมา มาอยู่ที่วัดท่าซุงแล้ว และ พล.อ.อ.อาทร โรจนวิภาต เวลานั้นเป็นนาวาอากาศเอก เป็นผู้บังคับกองฝึกโรงเรียนการบิน ที่นครราชสีมา.. 

~ ทราบว่า.. อาตมาป่วย จึงนิมนต์ไปพักที่นั้น ตอนกลางคืน สามีภรรยาก็นั่งเจริญพระกรรมฐาน อาตมาเป็นคนแนะนำ ขณะที่แนะนำเขาอยู่ 
เมื่อเสร็จแล้วก็ทำสมาธิ.. 

* ขณะที่ทำสมาธิ บรรดาท่านพุทธบริษัท สิ่งที่คาดไม่ถึงก็ปรากฏขึ้น นั่นคือ.. เห็นเป็นพระพุทธเจ้าในปางนิพพานยืนสองแถวยาวเหยียดไปข้างหน้า แล้วก็พนมมือ.. 

~ จึงมีความรู้สึกในใจว่า.. บางทีอาจเป็นอุปทานของเรา เพราะว่า.. พระพุทธเจ้าไม่เคยก้มศีรษะให้ใคร แม้แต่บ้านเรือนเล็ก ๆ ที่หลังคาต่ำ ๆ ที่พระพุทธเจ้าเข้าไป หลังคา ก็สูงขึ้น.. 

~ แต่เวลานี้ เราเห็นพระพุทธเจ้ายืนพนมมือ.. อุปาทาน คือ กิเลส คงกินใจมาก 

* เมื่อนึกเพียงเท่านี้ ก็เห็นภาพ หลวงพ่อปาน ปรากฏขึ้นข้าง ๆ ท่านบอกว่า.. 

"คุณ..ไม่ใช่อุปาทาน ประเดี๋ยวพระพุทธเจ้าองค์ปฐมจะเสด็จมา" 

* อีกประมาณสัก ๕ นาที ปรากฏว่า.. มีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง รูปร่างใหญ่โตมาก สูงมาก มาในรูปของปางนิพพาน เดินมาระหว่างช่องกลาง พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ก้มศรีษะแสดงความเคารพ เพราะพนมมืออยู่แล้ว.. 

~ พอท่านเดินมาถึงอาตมา ท่านก็พูดว่า.. "ข้าจะนั่งที่ไหนหว่า ในเมื่อไม่มีที่นั่ง ข้าเอาหัวแกเป็นแท่นก็แล้วกัน” 

* ก็เลยนั่งบนหัว.. แล้วก็บอกว่า.. " นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ก่อนที่แกจะสอนกรรมฐานก็ดี จะพูดธรรมะก็ดี จะเทศน์ก็ดี บอกฉันก่อน ฉันให้พูด ตอนไหนจะเทศน์ตอนไหน ให้ว่าตามนั้น " 

~ ก็เป็นความจริง.. บรรดาท่านพุทธบริษัท เวลาสอนกรรมฐานก็ดี เทศน์ก็ดี บางทีคิดว่าวันนี้ จะพูดเรื่องอย่างนี้ แต่พอพูดเข้าจริง ๆ เรื่องนั้นไม่ได้พูด ไปพูดอีกจุดหนึ่ง.. 

~ อันนี้เป็นลีลาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์.. 

การเทศน์ของพระพุทธเจ้ามุ่งเฉพาะบุคคลสำคัญคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้หวังคนทั่วไป คนจะนั่งสักหนึ่งพัน สองพัน ห้าพันก็ตาม ท่านจะดูจิตใจว่า บุคคลใดจะรับคำเทศนาของท่านได้ จะสามารถบรรลุมรรคผลได้ ท่านจะจี้จุดเฉพาะคนนั้น เอาจุดเด่น แต่ว่าคนที่มีความดี ใกล้เคียงกัน ก็พลอยบรรลุมรรคผลไปตามๆกัน..." 

หลวงพ่อฯ เคยเล่าให้ฟังว่า.. สมเด็จองค์ปฐมทรงพระนามว่า.. " #สมเด็จพระพุทธสิกขีที่ ๑ " 

.. เนื่องด้วย พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ผ่านไปแล้ว อาจจะมีพระนามซ้ำกันก็ได้ โดยเฉพาะพระนามนี้.. มีด้วยกันถึง ๕ พระองค์ จึงเอ่ยขานว่า เป็น.. " สมเด็จพระพุทธสิกขีที่ ๑ " 

.. พระพุทธองค์ ทรงเป็นต้นพระวงศ์ ของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ จึงสมควรยกย่องพระองค์ว่าทรงเป็น.. " สมเด็จองค์ปฐมบรมครู " อย่างแท้จริง 

.. ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จมาเล่าให้หลวงพ่อฯ ฟังที่บ้านสายลม ว่า.. สมัยที่พระองค์ทรงอุบัติในโลกมนุษย์ ในเวลานั้น คนมีอายุขัย ประมาณ ๘ หมื่น ปี 

.. พระองค์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔ หมื่น ปี 

.. หลังจากทรงผนวชแล้วเป็นเวลาอีก ๒ หมื่น ปี จึงได้ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์แรกของโลก 

.. พระพุทธองค์ ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์อีก ประมาณ ๒ หมื่น ปี จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 

.. หลังจากทรงใช้เวลาอันยาวนานถึง ๔๐ อสงไขยกัป ในการบำเพ็ญพระบารมี เพื่อแสวงหาพระโพธิญาณ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง.. 

ที่มา
🙏โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
✍จากหนังสือประวัติสมเด็จองค์ปฐม

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...