วิปัสสนาญาณ
เป็นผลของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ซึ่งหมายถึง
ปัญญาที่กําหนดจนรู้เห็น ว่า
ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คือเห็นประจักษ์แจ้ง
ซึ่งไตรลักษณ์แห่งรูปและนาม
โดย อาศัยวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เป็นฐานในการฝึกปฏิบัติ
เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ
หรือที่เรียกว่า โสฬสญาณ นั้น
มีเนื้อหาสาระปรากฏในขุททกนิกาย
ปฏิสัมภิทามรรค ที่ว่าด้วย ญาณ ๗๓
ซึ่งท่านพระสารีบุตร
ได้อธิบายสาระสําคัญของโสฬสญาณ
ไว้ เพียงแต่ .. ไม่ระบุชื่อญาณ
เหมือน ที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ที่เรียงวิปัสสนาญาณตามลําดับทั้ง ๑๖ ขั้น
ฉะนั้น ..
ความหมาย และที่มาของญาณ
ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎก
และคัมภีร์อรรถกถาอย่างครบถ้วน
เพียงแต่ ..
บางญาณถูกจัดรวมเข้าเป็นหมวดหมู่กัน
และบางญาณ
ก็ถูกเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป
วิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖
#ที่เกิดจากผลของ ..
#การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน
#ซึ่งเป็นเส้นทางตรงสู่ พระนิพพาน
✅ มีดังต่อไปนี้
🧵 ญาณ ๑๖
หรือ โสฬสญาณ ความหยั่งรู้
ในที่นี้หมายถึง
ญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนา
ตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด !!
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
หรือเรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง
นามรูปววัฏฐาน บ้าง
หมายถึง
ความรู้จักรูปธรรม-นามธรรม
ว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่า
เป็นของจริง
ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น
และกําหนดได้ว่า ..
ในการรับรู้ และ
เคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น
•อะไรเป็นรูปธรรม
•อะไรเป็นนามธรรม
เช่น เมื่อ เห็นรูป จักขุประสาท
แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม
จักขุวิญญาณ หรือการเห็น
เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น
๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ
หมายถึง ญาณ ..
ที่กําหนดปัจจัยของนามรูป
ญาณ .. ขั้นนี้ เรียกได้ หลายชื่อ
ว่า .. ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง
ว่า .. ยถาภูตญาณ บ้าง
ว่า .. สัมมาทัสสนะ บ้าง
ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้
พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า
เป็น “จูฬโสดาบัน”
คือ พระโสดาบันน้อย
เป็นผู้มี คติ คือทางไปก้าวหน้า
ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา
๓. สัมมสนญาณ
หมายถึง ญาณที่พิจารณา หรือ
ตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์)
เมื่อพิจารณาด้วย
สัมมสนญาณไปจนญาณแก่กล้าขึ้น
เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และ
ความเสื่อมสลายไป ของสิ่งทั้งหลาย
มองเห็นความแปรปรวน
ของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้
#ไม่มีแล้วก็มีขึ้น
#มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป
มองเห็นการเกิดและดับสลาย
ทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป
ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า ..
อุทยัพพยานุปัสสนา
แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆ อยู่
และญาณนี้ตอนนี้เอง
ที่เรียกว่า ดรุณวิปัสสนา
หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ
(วิปัสสนา ญาณอ่อนๆ)
ผู้ได้ดรุณวิปัสสนานี้
เรียกว่า “อารัทธวิปัสสก”
(ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว)
และในตอนนี้ เอง วิปัสสนูปกิเลส”
เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น
จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ
ถ้ารู้เท่า ทันผ่านพ้นไปได้ กําหนดแยกว่า
อะไรเป็นทางอะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว
๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
หรือเรียกสั้นๆ ว่า อุทยัพพยญาณ
ญาณ .. อันตามเห็นความเกิดดับ
คือ พิจารณาความเกิดขึ้น
#และความดับไปแห่งเบญจขันธ์
จนเห็นปัจจุบันธรรม
ที่กําลังเกิดขึ้นและดับสลายไปๆ ชัดเจน
เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง
ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
ไม่อยู่ในบังคับบัญชา
ตามความอยากของใคร
หยั่งทราบว่า ..
สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น
ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป
ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด
เมื่อเกิดการรับรู้ หรือ
เคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ
ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม
และตัวรู้หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้น แล้ว
ทั้งรูปธรรม นามธรรม
และตัวรู้นั้น
ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด
เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา)
ทําให้ละ .. นิจจสัญญา
สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ
เรียกสั้นว่า ภังคญาณ
#ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ
เมื่อเห็นความ เกิดดับเช่นนั้นชัดเจนเข้า
ก็จะคํานึงเห็นเด่นชัดในส่วนความดับที่
เป็นจุดจบสิ้น
มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ
#เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ
เรียกสั้นว่า ภยญาณ
#ญาณอันมองเห็นสังขาร
ปรากฎเป็นของน่ากลัว คือ
เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย
อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว
สังขารทั้งปวง
ไม่ว่าจะเป็นไปใน ภพใดคติใด
ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว
เพราะล้วนแต่
จะต้องแตกสลายไป
#ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ
#ญาณอันคํานึงเห็นโทษ คือ
เมื่อพิจารณา เห็นสังขารทั้งปวง
ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว
ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว
ย่อม : คํานึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้น
ว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง
จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ
ญาณ .. อันคํานึงเห็นด้วยความหน่าย
คือ เมื่อพิจารณา
เห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว
ย่อม:เกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
๙. มุจจิตุกัมยตาญาณ
หมายถึง ญาณหยั่งรู้
ที่ทําให้ต้องการจะพ้นไปเสีย
คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้ว
ย่อม : ปรารถนา
ที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
หรือ ปฏิสังขาญาณ
ญาณอันพิจารณาทบทวน
เพื่อให้เห็นทาง
คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย
จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย
ขึ้นมาพิจารณากําหนดด้วยไตรลักษณ์
เพื่อมองหา อุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
๑๑. สังขารุเบกขาญาณ
หมายถึง ญาณอันเป็นไป
โดยความเป็นกลางต่อสังขาร
คือ เมื่อพิจารณาสังขาร ทั้งหลายต่อไป
ย่อม : เกิดความรู้เห็นสภาวะ
ของสังขารตามเป็นจริงว่า ..
มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้น
เป็น ธรรมดา
หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง
จึงวางใจเป็นกลางเรียบเฉยได้
ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจ
ใน สังขารทั้งหลาย
แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท
ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน
เลิกละความ เกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย
ญาณข้อนี้
จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา
คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด
และเป็นวุฏฐาน คามินีวิปัสสนา
คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค
อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด
หรือ ออกจากสังขาร
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ
หรือ อนุโลมญาณ
ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลม
แก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ ..
เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย
ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรง
สู่นิพพานแล้ว
ญาณ .. อันคล้อยต่อ การตรัสรู้อริยสัจ
ย่อม : เกิดขึ้นในลําดับถัดไป
เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ
หมายถึง ญาณครอบโคตร
ต่อจากอนุโลมญาณ
ก็จะเกิด โคตรภูญาณ
ญาณครอบโคตร
คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ
ระหว่างภาวะ ปุถุชน
กับภาวะอริยบุคคล มาคั่นกลาง
๑๔. มัคคญาณ
หมายถึง ญาณในอริยมรรค
คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จ
ภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ
หมายถึง ญาณในอริยผล
คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จ
ของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ
หมายถึง ญาณหยั่งรู้
ด้วยการพิจารณาทบทวน
คือ สำรวจรู้มรรค ผล
กิเลส .. ที่ละแล้ว
กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน
เว้นแต่ว่า .. พระอรหันต์
ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
#กรรมฐานอย่างตั้งใจแล้ว
ก็ย่อมจะได้รับผลตามสมควร
แก่การปฏิบัติ ดังนี้
#จิตจะปรากฏขึ้นตามลำดับ
ซึ่งเป็นผลของวิปัสสนากัมมัฏฐาน
คือ โสฬสญาณ(วิปัสสนาญาณ ๑๖)
หรือ ภาวนามยฺ
#ญาน 16 คือ
ความรู้สึกด้วยปัญญา
ที่ได้มาจากการเจริญวิปัสสนา
หรือเจริญสติปัฏฐาน ระดับของปัญญา
แบ่งเป็นลำดับขั้น (วิ.)
#วิปัสสนาญาณ ๑๖
เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้ บำเพ็ญวิปัสสนา
โดยลำดับตั้งแต่ต้น
จนถึงจุดหมาย คือ มรรคผล นิพพาน.
👏 เจริญในพระวิปัสสนาญาณ .. หนอ
👏 ขอบพระคุณ : บทความธรรม
: วิปัสสนาญาณ ๑๖
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น