1. สัมมาสมาธิ (แปลว่า สมาธิที่ถูกต้อง) เป็นสมาธิในมรรคมีองค์ 8 โดยมี สัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าใช้ในการบรรลุวิชชา 3 บรรลุมรรคผลนิพาน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบสัมมาสมาธิเป็นพระองค์แรกในโลก และนำมาสั่งสอนเวไนยสัตว์ สามารถทำสัมมาสมาธิได้ถึง สมาบัติที่ 9 เกิดอภิญญาได้ถึง 6 ประการ
แต่มิจฉาสมาธิ (แปลว่า สมาธิที่ไม่ถูกต้อง) เป็นสมาธิที่ผู้ปฏิบัติยังไม่พบ ยังไม่รู้จัก มรรคมีองค์ 8 ตามที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ แต่หลงเข้าใจว่า ตัวเองรู้จักมรรค 8 แล้ว และกำลังทำสัมมาสมาธิอยู่ มีมิจฉาทิฏฐิเป็นเบื้องต้น คือ มีความหลงเข้าใจผิด ในวิธีการทำสมาธิที่ไม่ใช่ทางมรรคผลนิพพาน เป็นการทำสมาธิที่ไม่สามารถบรรลุวิชชา 3 และไม่สามารถบรรลุ มรรคผลนิพพานได้ สามารถทำสมาบัติได้สูงสุดแค่สมาบัติ 8 เกิดอภิญญาได้เพียง 5 ประการ
วิธีการปฏิบัติมิจฉาสมาธิ มีการฝึกปฏิบัติ กันมาก่อนที่พระพุทธเจ้า จะได้ตรัสรู้ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการปฏิบัติมิจฉาสมาธิกันอยู่อย่างมากมาย หลากหลายวิธีการ โดยหลงผิดว่า เป็นสัมมาสมาธิในมรรคมีองค์ 8 สิ่งนี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญว่า ทำไมพุทธบริษัททั้งหลาย มาปฏิบัติธรรมกัน แม้ว่า จะได้สมาธิ ได้ฌาน ได้อภิญญากันมาบ้างแล้ว ทำไมถึงไม่บรรลุ มรรคผลนิพพานกัน แต่ที่หลงหนัก ก็คือ บ้างท่านฝึกมิจฉาสมาธิ แต่เข้าใจผิดว่า ตนเองได้สำเร็จ มรรคผลนิพพานแล้ว ก็มีมาก ตัวอย่างผู้ฝึกมิจฉาสมาธิ ทำฌานแบบฤาษี เช่น อาฬารดาบส อุทกดาบส เป็นต้น เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อออกบวชใหม่ ๆ ได้เคยไปฝึก มิจฉาสมาธิ กับท่านดาบสทั้ง 2 ต่อมาพระองค์พบว่า วิธีการปฏิบัติสมาธิแบบนี้ ไม่ใช่หนทาง (ไม่ใช่มรรค) ให้พบกับ อมตธรรม (บรรลุมรรคผลนิพพาน) อย่างแท้จริง จึงได้เลิกวิธีการฝึกแบบ มิจฉาสมาธิ จากที่ได้เรียนมาจาก ดาบสทั้ง 2 แล้วอย่างเด็ดขาด
2. สัมมาสมาธิ พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ ด้วยตัวของพระองค์เอง เมื่อพระชนมายุได้ 7 พรรษา ด้วยวิธีการ มีสติกำหนดตามรู้ลมหายใจเข้าออก (อานาปานสติ) ตามธรรมชาติของลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ไม่ได้กำหนดฐานที่ตั้งของใจ หรือจุดที่กระทบของลมเข้าออกว่าต้องอยู่ในตำแหน่งใด เช่น ตำแหน่งปลายจมูก เหมือนกับ บางท่านที่สอนกันในปัจจุบัน ซึ่งใน อานาปานสติสูตร 16 ขั้น พระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้สอนให้ตั้งตำแหน่งฐานกระทบลมเข้าออก ตรงตำแหน่งปลายจมูก เพียงสอนให้ มีสติ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก ตามความเป็นจริง ที่เป็นตามธรรมชาติของลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ผลจากการปฏิบัติเช่นนี้ ทำให้จิตรวมเป็นสมาธิ เกิดเป็นฌาน อยู่ภายในตัว ภายในกาย ซึ่งก็คือ สัมมาสติ หรือ สติปัฏฐาน ในข้อ กายในกาย ณ ภายใน สมาธิหรือฌานที่เกิดขึ้น จึงเป็น สัมมาสมาธิ
ซึ่งก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะ จะประสูติ พวกฤาษีมีวิธีการปฏิบัติ ทำสมาธิทำฌาน แม้ว่า จะมีสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก แต่มีเทคนิค วิธีการปฏิบัติ ที่แตกต่างกัน กับที่ เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงทำได้เองด้วยอำนาจแห่งพระบารมีธรรมขั้นปรมัตถบารมี ที่เต็มเปี่ยมแล้ว
ต่อมา ด้วยเทคนิควิธีการปฏิบัติ อานาปานสติ ที่พระองค์ทรงทำได้เอง เมื่อสมัย พระชนมายุ 7 พรรษา ทรงนำมาใช้ นำมาต่อยอดในการแสวงหา อมตธรรม ในคืนวันวิสาขปุรณมี ณ โค่นต้นโพธิ์ ทรงบรรลุ วิชชา 3 ด้วยสัมมาสมาธิ ที่จิตรวมอยู่ ณ ภายในกาย ไม่ส่งใจไปรวมอยู่ภายนอกกาย เหมือนมิจฉาสมาธิแบบฤาษี บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
มิจฉาสมาธิ แบบฤาษี จะมีวิธีการปฏิบัติ เทคนิควิธีการให้ กำหนดฐานที่ตั้งของใจ ที่รวมใจ ไว้ในตำแหน่ง กลางหน้าผาก หรือ ระหว่างคิ้ว หรือ ที่ปลายจมูก ถ้าฝึกสมาธิแบบกสิณด้วย ก็จะสอนให้มอง ให้จดจำ ลักษณะของดวงกสิณให้จนจดจำได้ แล้วหลับตา นึกให้เห็นดวงกสิณด้วยใจ ให้เห็นดวงกสิณ ปรากฏลอยอยู่เบื้องหน้า ในขณะที่ยังหลับตา เห็นดวงนิมิตอยู่ภายนอกตัวของเรา (เป็นการส่งใจออกไปรวมเป็นสมาธิอยู่ภายนอกตัว จึงเป็นมิจฉาสมาธิ ไม่เป็นสมาธิเพื่อมรรคผลนิพพาน) โดยให้กำหนดฐานที่ตั้งของใจอยู่ในตำแหน่ง กลางหน้าผาก หรือระหว่างคิ้ว หรือ ปลายจมูก จนเมื่อฝึกใจรวมเป็นสมาธิ สามารถทำได้จนถึง สมาบัติ 8 มีอภิญญา 5 ทำไม่ได้อย่างเดียว คือ ไม่ได้พบทาง มรรคผลนิพพานตามแบบ พระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เพราะฝึกสมาธิผิด เป็นมิจฉาสมาธิแต่แรก ตัวอย่าง การฝึกมิจฉาสมาธิ คือ ให้มีสติกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อยู่ที่ตำแหน่งปลายจมูกที่ดียว ไม่ต้องตามรู้ลมหายใจเข้าออกเข้าไปภายในตัว (จุดเริ่มแรกของมิจฉาสมาธิ) ถ้ากำหนดทำกสิณด้วย ก็จะสอนว่า ให้หลับตา กำหนดนึกเห็นดวงกสิณด้วยใจ ลอยอยู่เบื้องหน้า ภายนอกตัว จะนึกบริกรรมนิมิตเป็นดวงสีแดง ดวงสีขาว ดวงไฟ เป็นต้น ก็ได้ (บ้างท่านอาจกำหนดจุดรวมใจ จุดเพ่งอยู่ที่ กลางหน้าผาก หรือ ระหว่างคิ้ว หรือ ปลายจมูก แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ จะนึกกำหนดดวงบริกรรมนิมิต ให้เห็นลอยเด่นอยู่เบื้องหน้า เหมือน ๆ กัน) เมื่อทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนจิตถึงระดับฌาน ดวงบบริกรรมนิมิต ก็จะเป็น ดวงปฏิภาคนิมิต มีลักษณะเหมือนกัน คือ จะกลายเป็นดวงแก้วประกายพรึก มีความสว่างสวยงาม ถ้าทรงอารมณ์ในนิมิตเช่นนี้ ก็จะได้ถึง รูปฌาน 4 ทำอภิญญาได้สูงสุดถึง อภิญญา 5 แต่บ้างท่าน ยังทำฌานให้ละเอียดยิ่งจนถึง อรูปฌาน 4ที่รวมเรียกว่า สมาบัติ 8 โดยมีหลายเทคนิควิธีการ วิธีการหนึ่ง คือ เมื่อจิตเพ่งปฏิภาคนิมิตถึงฌาน 4 แล้ว เห็นว่า ในกลางดวงปฏิภาคนิมิต มีจุดเล็กใสตั้งอยู่ ได้ส่งใจเข้าไปในกลางจุดเล็กใสนั้น ก็จะพบกับสภาวะที่เหมือนเข้าไปในอุโมงค์ หรือบ้างท่านว่า เข้าไปในรูหนอน อาจได้เห็นนิมิต เป็นจักรวาลเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แตกสลายไป จนไปถึงที่สุด เป็นนิมิตที่ไม่มีอะไรไม่เหลืออะไร เป็นความสว่าง โล่ง ว่างเปล่า ไม่มีที่สิ้นสุด รู้สึกเหมือน หมดสิ้นความรู้สึก มีตัวมีตน เป็นตัวเป็นตน หมดสิ้นกิเลส หลงว่า นี้หรือต้องคือ สภาวะนิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอย่างแน่นอน แต่แท้ที่จริง อย่างมากที่สุดก็เป็นเพียง เนวสัญญานาตยะฌาน อันละเอียดปราณีต ให้ผู้ฝึก มิจฉาสมาธิ ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มาจนถึงทุกวันนี้ หลงเข้าใจผิดว่า คือ นิพพาน จึงยินดีพอใจ ในสภาวะเช่น เมื่อร่างกายแตกกายทำลายขันธ์ จึงไปติดอยู่ในนั้น มากต่อมาก เรียกสภาวะนั้นได้ว่า "นิพพานพรหม" หมายถึง ตัวเองฝึกปฏิบัติสมาธิผิด เป็นมิจฉาสมาธิ ผลที่ได้จึงผิด จึงทำให้หลงเข้าใจผิดว่า ตนเองถึงมรรคผลนิพพานแล้ว แต่ที่แท้จริง สภาวะธรรมอยู่ตัวเอง ไม่เกินไปจาก เนวสัญญานายตนะฌาน ไม่พ้นภพ 3 อย่างแท้จริง
3. สัมมาสมาธิ จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้บำเพ็ญบารมี มาถึงระดับ ปรมัตถบารมีแล้วเท่านั้น ไม่ว่าปรารถนาจะบรรลุธรรม ในระดับ พระสัมมาสัทพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก ก็ตาม แม้ท่านเหล่านั้น ในเบื้องต้น จะได้รับคำแนะนำสั่งสอน เทคนิควิธีการฝึกปฏิบัติสมาธิที่เป็น มิจฉาสมาธิ มาอย่างใด แต่ด้วยอำนาจแห่ง ปรมัตถบารมี ที่เป็นเหตุทำให้ใกล้ต่อการบรรลุ มรรคผลนิพพาน แล้ว ท่านก็จะรับรู้ได้ว่า การฝึกสมาธิ แบบมิจฉาสมาธิ ที่ส่งใจไปรวมออกนอกตัวไม่ใช่ทาง การรวมใจของท่านจะต้องกลับเข้ามารวมอยู่ ณ ภายในตัวเสมอ
ดังนั้น ผู้ใดฝึกสมาธิรวมใจไว้ในตัว กับผู้รวมใจส่งออกนอกตัว ก็เป็นสิ่งที่ใช้วัดผล ของบารมีธรรมของผู้นั้นได้ว่า ถึงขั้น ปรมัตถบารมี แล้วรึยัง ได้วิธีหนึ่ง
4. สรุปว่า
- สัมมาสมาธิ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเป็นพระองค์แรก และผู้ที่จะได้พบวิธีการฝึกสมาธิแบบสัมมาสมาธิ โดยมากเป็นผู้ที่มีบารมีธรรมระดับ ปรมัตถบารมี แล้ว ส่วนมิจฉาสมาธิมีการปฏิบัติกันมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ จนมาถึงในทุกวันนี้
- สัมมาสมาธิ มีลักษณะการรวมใจจนถึงฌาน เกิดปฏิภาคนิมิต อยู่ ณ ภานในกายของตัวเอง จิตเข้าถึงฐานของจิต ตามธรรมชาติของจิตเอง แต่มิจฉาสมาธิ มักมีอุบายวิธีการ ตั้งจิต บังคับจิต ให้ ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตำแหน่ง จักระทั้ง 7 ตำแหน่ง กลางหน้าผาก ระหว่างคิ้ว ปลายจมูก เป็นต้น
- สัมมาสมาธิ เป็นเหตุแห่ง มรรคผลนิพพาน ได้อย่างแท้จริง สามารทำได้ถึง สมาบัติ 9 และอภิญญา 6 ส่วนมิจฉาสมาธิ ไม่สามารถต่อยอดเพืีอไปสู่ มรรคผลนิพพานได้เลย เพราะไม่ใช่สมาธิในมรรคมีองค์ 8 เป็นเหตุไปได้ละเอียดสุดเพียง เนวสัญญานายตนะ ไม่พ้นภพ 3 ทำได้เพียง สมาบัติ 8 และอภิญญา 5 เท่านั้น
- ผู้ที่หลงไปเดินทาง มิจฉาสมาธิ แต่เป็นผู้ที่บำเพ็ญบุญวาสนาบารมีมาดีแล้วได้พบกัลยาณมิตร มาให้คำแนะนำแนวทางที่ถูกต้องในการทำสัมมาสมาธิ แล้วลดละมานะทิฏฐิ ความเชื่อมั่นตัวเอง ความหลงในตัวเอง ว่าเก่งกล้าสามารถ ที่ทำมาถูกต้องดีแล้ว (หลงเห็นกงจักรเป็นดอกบัว) ก็คือ รับฟัง ทดลอง น้อมรับ คำแนะนำ จากกัลยาณมิตรว่า ให้เพียงปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติเพียงเล็กน้อย นั้นก็คือ น้อมนำใจที่เคยส่งออกไปรวมอยู่นอกตัว ให้กลับเข้ามารวมใจอยู่ไว้ภายในตัว ในฐานที่ตั้งของใจตามธรรมชาติ ภายในตัวเพียงเท่านี้ ก็อาจบรรลุถึง มรรคผลนิพพาน ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเหตุว่า มีกิเลสที่เบาบางมากแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น