06 มิถุนายน 2566

การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติในชาตินี้และเพื่อชาติหน้า

ฆราวาสที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นอริยะสาวก
นั้นนอกจากจะปิดประตูนรกและสัตว์เดรัจฉานได้แล้วยังสามารถจะร่ำรวยในชาตินี้ได้ด้วย.!?
การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ทรัพย์สมบัติในชาตินี้และเพื่อชาติหน้าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้เป็นทั้งสองอย่างเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เหมือนกัน เมื่อเรามีความปรารถนา..
1.ขอให้ข้าพเจ้าได้ทรัพย์และโชคลาภจากสัมมาอาชีพและการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า
2.เมื่อข้าพเจ้ามีทรัพย์มากแล้วขอให้ได้เกียรติยศและมากด้วยญาติมิตร
3.พอข้าพเจ้าร่ำรวยและมีเกียรติยศและมากด้วยญาติมิตรแล้วขอให้ข้าพเจ้ามีอายุยืนยาว
4.เมื่อข้าพเจ้าร่ำรวยมีเกียรติยศและมากมายด้วยญาติมิตรและมีอายุยืนยาวแล้วเมื่อสิ้นชีพแล้วขอให้ข้าพเจ้าไปเสวยสุขบนสวรรค์ต่อไป
**สิ่งที่ขอได้ยากทั้ง4อย่างย่อมเป็นจริงได้ด้วยหลักธรรม๔ประการดังต่อไปนี้**
ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม ๔ ประการนี้ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน...!?
 คือ 1.สัทธาสัมปทา ๑ 2.สีลสัมปทา ๑ 3.จาคสัมปทา ๑ 4.ปัญญาสัมปทา ๑

**ปัตตกรรมสูตร เล่มที่21**
ดูกรคฤหบดี ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน..!?
1.อริยสาวกในธรรมวินัย ย่อมเป็นผู้มีศรัทธา
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์
นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรคฤหบดี นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา
2.ก็สีลสัมปทาเป็นไฉน!? 
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯเป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทนี้เรียกว่า สีลสัมปทา 
3.ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน..!?
 อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ เป็นผู้ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือนนี้
เรียกว่าจาคสัมปทา 
4.ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน !?
**นิวรณ์ห้าเป็นกิเลสที่สามารถทำลายทั้งทรัพย์สมบัติและการบรรลุธรรมด้วยว่า..
4.1บุคคลมีใจอันความโลภไม่สม่ำ-*เสมอ คือ อภิชฌาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำเมื่อทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำอยู่ ย่อมเสื่อมจากยศและความสุขบุคคลมีใจอันพยาบาทครอบงำ ... อันถีนมิทธะครอบงำ ... อันอุทธัจจกุกกุจจะ
ครอบงำ ... อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำกิจที่ไม่ควรทำ ไม่ยินดีกิจที่ควรทำย่อมเสื่อมจากยศและความสุข 
**อริยสาวกย่อมรู้ว่านิวรณ์ห้าที่เป็นกิเลสที่ควรละอย่างยิ่งเพื่อการบรรลุธรรมและคุ้มครองฐานะของตนเอง**
4.2ดูกรคฤหบดี อริยสาวกนั้นแลรู้ว่า อภิชฌาวิสม-*โลภะเป็นอุปกิเลสของจิต ย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นอุปกิเลสของจิตเสียได้
รู้ว่า พยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจกุกกุจจะ ... วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของ
จิต ย่อมละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสของจิต 

ดูกรคฤหบดี เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่า
อภิชฌาวิสมโลภะเป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมละเสียได้ เมื่อใดอริยสาวกรู้ว่าพยาบาท ... ถีนมิทธะ ... อุทธัจจกุกกุจจะ ... วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสของจิตดังนี้แล้ว เมื่อนั้น ย่อมละเสียได้ 

อริยสาวกนี้เราเรียกว่า เป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น เป็นผู้เห็นทาง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา ดูกรคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ธรรม๔ประการนี้แล อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...