16 กันยายน 2564

มหาปิรามิค

หมู่มหาปิรามิค กีซ่า ที่พวกเราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้มันถูกบูรณะหรือการรีโนเวทมิใช่การสร้างใหม่ครั้งใหญ่เมื่อราวๆ 4,600 ปี ที่แล้วมา.?..
วันนี้พ่อจะกล่าวถึงปิรามิคที่เห็นอยู่ในยุคปัจจุบัน เมื่อราวๆ 4,600 ปี ที่แล้ว ฟาโรห์
ผู้มีนามว่าพระเจ้าคิออปค์ หรือ คูฟู แห่งราชวงค์ที่ 4 มีดำริที่จะบูรณะฟื้นฟูหมู่ปิรามิคใหม่ อันเนื่องมาจากความเสื่อมโทรม เสื่อมสลายจากกาลเวลาที่ยาวนานกว่า
8,000 ปี

ในอดีตในรัชสมัยต้นราชวงค์อิยิปต์ที่ 1 ก็เคยมีการบูรณะมาครั้งหนึ่งแล้วโดย เฮลเมส (โฮรัส)  โอรสพระเจ้า รา หรือสุริยเทพปฐมกษัตริย์ (รายละเอียดหาอ่านได้ในโพสต์ก่อนหน้านี้)

วิศวกรผู้เป็นแม่งานหรือ ตำแหน่งนายช่างใหญ่ที่ชนชาวอิยิปต์เรียกว่า "วิเชียร"
เป็นผู้ควบคุมในการบูรณะครั้งหลังนี้คือ "อิมโฮเทป" สถาปนิกชื่อดังในประวัตศาสตร์ของชาวอิยิปต์ หมู่มหาปิรามิคนั้นทรุดโทรมมากและ ไม่มียอดปิรามิคแล้วเพราะได้สูญหายในระหว่างการบูรณะครั้งแรก

มันเกิดขึ้นในระหว่างพิธีเฉลิมฉลองการบูรณะใหม่ ก็เกิดการก่อกบฎ โดยเซทผู้เป็นน้องโฮรัสได้ก่อการกบฎ แต่ล้มเหลวและ ได้ขโมยยอดปิรามิค ที่ทำด้วยทองคำและ ส่วนผสมคริสตัลและหินมีค่าอื่นๆ อีกหลายชนิด

และ ยอดปิรามิคก็มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนมิติเลื่อนระดับชั้นสู่มิติที่ 5 ของโลกเป็นอย่างยิ่ง จนโฮรัสต้องออกตามล่าและ ผ่านภพชาติเพื่อตามหาหินยอดปิรามิค
นับพันๆ ปี กว่าจะได้คืนมา

แม่งานใหญ่อิม โฮเทป ในชั้นต้นได้มีการลอกหินชั้นนอกปิรามิคออกจนหมด และ
ปรับพื้นที่ใหม่จนได้องศาที่สัมพันธ์กับหมู่ดาว Olion หรือ เข็มขัดนายพราน เพราะโลกเคลื่อนตำแหน่งจากจักรศีเดิมต้องปรับหมู่ปิรามิคใหม่ให้ตรงตำแหน่งที่ควรจะเป็นในช่วงเวลานั้น
จากการลอกชั้นหินนอกจนเหลือแต่แกนปิรามิคชั้นใน และส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตโดยมีแกนหินที่สำคัญแท่งหนึ่งที่หนักถึง 200 ตัน แต่เป็นหินปูนคงเอาไว้เช่นเดิม แม้แต่เทคโนโลยี่ในยุคปัจจุบันก็ยังเป็นการยากที่จะนำหินขนาด 200 ตัน
ยกเข้าสู่ในจุดที่เป็นตำแหน่งของมัน ส่วนแหล่งหินที่นำมาบูรณะปิรามิตในครั้งนี้
เป็นภูเขาหินปูนที่อยู่ใกล้ๆ กับหมู่ปิรามิคนี้เอง

หากคำนวณด้วยหลักคณิตศาสตร์แล้วจำนวนหินที่ตัดนำมาบูรณะนั้นไม่เพียงพอที่จะนำมาก่อสร้างปิรามิคทั้ง 3 แห่งแน่นอน แต่เพียงพอที่จะนำมาบูรณะหมู่ปิรามิคนั้นได้ ซึ่งปิรามิคเดิมที่ เฮลเมสเป็นผู้สร้างนั้นส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต

การตัดหินในยุคก่อสร้างนี้ใช้ภูมิปัญญาชองชนชาวอิยิปต์ที่สั่งสมกันมานานนับพันๆ ปี ด้วยการเรียนรู้วิธีสั่งสอนจากคุรุฯ ช่างชาวแอตแลนติสเป็นผู้สอนวิชาการก่อสร้าง วิธีการสะกัดหินใช้สิ่วสัมฤทธิ์สะกัดหินให้เป็นแนวหรือร่องสี่เหลี่ยมแล้วใช้สิ่วไม้ตอกตามรอยที่สะกัดแล้วคอยยํ้ารอยตอกพร้อมทั้งใช้นํ้าตอยราดให้ไม่พองตัวจนถึงจุดๆ หนึ่งหินก็จะแตกตัวจามแนวที่เราสะกัดไว้เอง

โดยใช้แรงงานจำนวนมากและ ใช้เวลาที่ยาวนานมากส่วนการนำหินสู่สถานที่ก่อสร้างปิรามิค ก็จะมีการสร้างคลองขนาดเล็กหรือ ลำรางลำเลียงหินจากแหล่งจน
ถึงสถานที่ก่อสร้างปิรามิค ส่วนรางลำเลียงหินนั้นจะใส่นํ้าจนเต็มราง นํ้าคือปัจจัยสำคัญในการขนย้ายหินก้อนใหญ่จากคลองหรือลำราง

ที่สร้างไปยังจุดหมายคือหมู่มหาปิรามิต และวัสดุก่อสร้างทุกชนิดจะลำเลียงผ่านคลองนี้ทั้งหมด หินจะถูกผูกติดกับแพเป็นทุ่นลอยในนํ้าดังนั้นพวกเขาก็สามารถย้ายหินจำนวนมากมหาศาลไปได้อย่างง่ายดาย แพหนังแกะจะถูกเย็บขึ้นมาและเป่าลมให้ตึงเพื่อใช้ผูกและยกย้ายหินเหล่านี้

ยังมีคลองโบราณหรือ รางลำเลียงนํ้า หลงเหลืออยู่ที่ใช้ในการบูรณะปิรามิคและมีภาพถ่ายเป็นหลักฐานจวบจนปัจจุบัน ในวิธีการย้ายหินขึ้นไปบนชั้นปิรามิคชั้นบนก็ใช้นํ้าเหมือนกัน ชาวอิยิปต์ได้สร้างอุโมงค์ส่งนํ้าขนาดใหญ่และ สูบนํ้าเข้าไปในโดยใช้หลักการ "กาลักนํ้า" ส่งหินที่ผูกกับทุ่นลอยเข้าไปในอุโมงค์ส่งนํ้าขึ้นไปก่อ
สร้างในปิรามิคชั้นบนสุดของปิรามิคได้อย่างไม่ยากเย็นนัก

วิทยาการของชาวแอตแลนติสในยุคนี้ซึ่งเป็นโลกในมิติที่ 3 มีความหนาแน่นและทึบตันมากมีความเป็นโลกทวิภาวะเต็มตัวเป็นโลกของ กิเลส ตัณหา การแสวงหาอำนาจ ความอยากได้ใคร่ดี และความโลภในวัตถุเงินทอง ความรู้จึงถูกสงวนไว้
เฉพาะในหมู่นักบวชและ ชนชั้นสูงเท่านั้น

มนุษย์ในยุคนั้น เป็นเพียงแรงงานเพิ่มผลผลิตและ ได้รับอาหารที่อยู่อาศัยแลกกับแรงงานเท่านั้น
ส่วนสฟิงส์ ก็ผุกร่อนไปตามกาลเวลากว่า 8,000 ปี พระเจ้าคีเฟรน ในยุคต่อๆ มาให้ให้ช่างสลักหินเปลี่ยนแปลงรูปเคารพนั้นจากรูปหัวสิงโต ซึ่งมีความหมายถึง
ชาวดาว Olion ผู้สร้างปิรามิค พระเจ้าคีเฟรน เปลี่ยนรูปหน้าเป็นใบหน้าของพระองค์แทน เราจะดูได้เลยว่าขนาดของรูปหน้าไม่สัมพันธ์กับลำตัวของสิงโตหมอบนั้นเลย

และพระองค์ได้สร้างวิหารสักการะบูชาต่างๆ และได้มีการใช้หินปูนบดละเอียดเคลือบองค์ปิรามิคทั้งสามองค์ สามารถมองเห็นหมู่มหาปิรามิคขาวอร่ามทุกมุมมองจนสุดขอบสายตามนุษย์เลยทีเดียว

ปิรามิคนั้นจะมีความสูงเทียบได้กับตึกขนาด 20 ชั้น และสร้างสิ่งเคารพอีกมากมายเพิ่มเติมเมื่อหลังการบูรณะเสร็จสิ้นลงแล้ว ส่วนภายในปิรามิคใหญ่คูฟู 
ด้วยความเคารพบูชาในบรรพชนในอดีตจึงไม่มีคำจารึกใดๆ หรือรูปเคารพใดๆ 
อยู่ภายในห้องในมหาวิหารนั้นเลย ปล่อยให้ว่างเปล่าแลัวให้นักโบราณคดีในยุค
ปัจจุบัน

สร้างทฤษฎีร้อยแปดพันเก้าว่าเป็นห้องเก็บศพ หรือเป็นอื่นใด จนต้องถกเถียงกัน
มาจนปัจจุบันยังหาข้อสรุปที่แท้จริงยังไม่ได้...

ที่มา

Teucer Rom...

แสงสว่าง มองการไกล...

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...