.. จากนั้นสมเด็จองค์ปฐม ได้ทรงเมตตามาตรัสสอนต่อดังนี้
๑. อย่ากลัวทุกข์ เพราะทุกข์นั้นเป็นของจริง อันเป็นของคู่กันมากับขันธ์ ๕ มีชาติปิทุกขาเป็นต้น
๒. เมื่อประสบกับความทุกข์ ก็จงอย่ากล่าวโทษผู้อื่น กฎของกรรมเกิดได้ เพราะตัวของเราทำไว้เอง จงหมั่นทำจิตให้ยอมรับ ชดใช้กฎของกรรมนั้นไปโดยสงบ
๓. มองด้วยตาปัญญา ให้เห็นโทษของกรรมมาจากสาเหตุอันใด มองแล้วจงยอมรับว่า เหตุมาจากการล่วงละเมิดปัญจเวรทั้ง ๕ หรือกรรมบถ ๑๐ ข้อใดข้อหนึ่ง อันมีเราเป็นผู้กระทำผิดด้วยความหลงมาแต่กาลก่อน
๔. จิตมีความหลงผิด จึงใช้กาย-วาจา กระทำผิดๆ กาลนั้นจิตเรายังไม่มีปัญญา จึงเห็นผิดเป็นชอบ เพลานี้พวกเจ้าได้รับการอบรมทางปัญญามาพอสมควร อย่าใช้อารมณ์มิจฉาทิฏฐิมันเข้าไปครอบงำจิต ให้เกิดความโง่เขาปัญญาขึ้นอีก
๕. พยายามพยุงกำลังของจิตเอาไว้ ด้วยอานาปานสติกรรมฐานให้ดีๆ ใช้วิปัสสนาภาวนาพิจารณาถึงกฎของความเป็นจริงอย่างถ่องแท้ ใช้ความพยายามดูอารมณ์ที่ฟอกจิตอยู่ให้เห็นว่า ขณะใดมีโมหะ โทสะ เข้าครอบงำอยู่บ้าง แล้วพยายามใช้กรรมฐานแก้จริต เข้าทำลายอารมณ์เศร้าหมองเหล่านั้น จนกว่าจิตผ่องใสขึ้นมาได้ ทำให้เป็นปกติ พยายามดูอารมณ์ของจิตอยู่ตลอดเวลา ให้นำไปใคร่ครวญพิจารณาและปฏิบัติด้วย จักให้ได้ผลดีก็ต้องไม่ทิ้งอิทธิบาท ๔
.
.
ที่มา
🙏โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
✍พล.ต.ท.นพ. สมศักดิ์สืบสงวน ผู้รวบรวม
✏จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น หน้า ๔๕-๔๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น