จากนั้นก็เดินทางจากเขตป่าของอำเภอภูเขียว ขึ้นไปยังอำเภอ
เกษตรสมบูรณ์ ซึ่งเป็นโขดเขินเนินเขาสูงขึ้นไปอีกด้านหนึ่ง
ที่อำเภอนี้แต่โบราณมา ถือเป็นแผ่นดินทองแห่งหนึ่ง เพราะ
มีการ ร่อนแร่ส่งส่วยเข้าไปสู่เมืองหลวง ตั้งแต่สมัย เจ้าพ่อ
พระยาแล ของชาว จังหวัดชัยภูมิ
อันที่จริง จากตัวจังหวัดชัยภูมิ จะมุ่งหน้าไปทางหนองหญ้าปล้อง
ข้ามขึ้นเขาไปยังเพชรบูรณ์เลยก็ได้ แต่หลวงพ่อบอกว่าจะไปแวะ
เวียน เยี่ยมเยียนชาวบ้านที่เคยมีอุปการคุณ เมื่อครั้งธุดงค์เดี่ยวมา
เมื่อปีก่อนๆ เขาจะได้สร้างบุญสร้างกุศลกันบ้าง จึงเดินทางสู่
เกษตรสมบูรณ์ แวะ เวียนเรื่อยมาไม่เร่งร้อน ที่ไหนเป็นที่สัปปายะ
ปฏิบัติธรรมสมาธิรุดหน้าก็ พักอยู่หลายวัน แล้วจึงธุดงค์ต่อไป
การธุดงค์แสวงหาวิเวกนั้น ครูบาอาจารย์แต่เดิมมา ท่านไม่ให้
ติดที่อันเป็นสัปปายะ ต้องไปกันเรื่อยๆ ลำบากบ้าง สบายบ้าง
อดบ้าง กินบ้าง ก็ไม่ให้ยึดถือ ให้เห็นเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ
สิ่งใดเกิดขึ้น แล้วย่อมดับไป ทุกข์เปลี่ยนเป็นสุข สุขเปลี่ยนเป็น
ทุกข์ หิวแล้วอิ่ม อิ่ม แล้วก็หิว สิ่งใดที่เราไปยึดมั่นถือมั่น จะต้อง
เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางที ก็ไม่เป็นดังที่หวังไว้
ความผิดหวัง สมหวัง ล้วนขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมที่มนุษย์พากัน
กระทำขึ้นทั้งสิ้น กรรมดีก็คลาดเคลื่อนได้ เพราะดียังไม่จริง ยัง
ไม่สมบูรณ์ กรรมชั่วก็คลาดเคลื่อนได้ ถ้ายังมีกรรมดีมาประคับ
ประคอง ผลมาจากเหตุก็จริง แต่เหตุนั้นต้องสมบูรณ์ก่อน จึงจะ
ได้รับผล
มองไปตามพื้นดินในป่าใหญ่ มองเห็นธรรมหล่นเกลื่อนกลาด
ธรรมเหล่านั้นก็คือใบไม้แห้ง ซึ่งแสดงสภาวธรรมให้เห็นถึง
ความเป็น อนิจจัง มันหลุดร่วงจากต้น กำลังจะถูกเหยียบย่ำ
ให้เป็นดินเป็นทรายไป เมื่อเป็นดินแล้ว เมล็ดพันธุ์ของมันหล่น
ลงมาอีก มันก็กลายเป็นฐาน รองรับ ให้เมล็ดนั้นงอกงาม เป็นต้น
เป็นใบขึ้นมาใหม่ แล้วค่อยๆโต ขึ้นสูงขึ้น ผลิดอกออกใบอ่อน
ใบอ่อนก็เปลี่ยนเป็นใบแก่ ใบแก่จาก เขียวเป็นเหลือง แล้วก็หลุด
ร่วงจากก้าน สู่พื้นดินเป็นใบไม้แห้ง เป็นดิน หมุนเวียนอยู่เช่นนี้
เมื่อเงยหน้าจากพื้นดิน ใบไม้บนต้น ยังมีอยู่มากเป็นแสนล้านเท่า
พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปว่า ธรรมที่พระองค์แสดงมาแล้ว
เป็นเพียงใบไม้แห้ง ๑ กำมือเท่านั้น ส่วนธรรมที่ยังไม่ได้แสดง ตลอด
อายุของพระองค์ ยังมีมากเท่าใบไม้ในป่า
ช่างละเอียดลึกล้ำสุดจะประมาณได้ ท่านจึงห้ามเอาไว้ว่า อย่าไป
รู้จักโลกเลย ไม่ว่าใครๆ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นไหน ก็ไม่มี
วัน จะรู้จักโลกได้ทั้งหมด นอกจากพระบรมศาสดาของเรา
แม้กระนั้น ก็ยังไม่อาจแสดงความรู้ของพระองค์ได้หมดสิ้น
ฉะนั้น จงมองโลกให้แคบเข้า…แคบเข้า จนเหลือแต่กาย
และจิตนี้ เท่านั้น เมื่อรู้จักกายและจิตแล้ว ก็จะรู้จักโลกทั้งหมด
ตลอดพิภพจักรวาล
แต่เพียงกายและจิตนี้ ก็ยังมีมนุษย์นับเป็นร้อยๆ ล้าน ไม่เคยมอง
ไม่เคยรู้จัก ตามที่มันเป็นจริง เจ้ากายและจิตนี้ นับเป็นกองขยะ
ที่ยิ่งใหญ่ รกไปด้วย กิเลส ตัณหา อุปาทาน กระจัดกระจายเกลื่อน
กลาดไป ด้วยละอองแห่ง โลภะ โทสะ โมหะ ที่หนาเตอะเหนียว
แน่น ยากจะ กวาดล้างทำลายให้สะอาดได้ แม้จะสิ้นเปลืองภพชาติ
เกิดตายไปนับ ไม่ถ้วน
แต่สิ่งที่เกิดเป็นรูปธรรม ที่เห็นอยู่ในโลกนี้ ก็มีสภาวธรรมอย่าง
เดียวกัน ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์
เล็กสัตว์ใหญ่ จะผิดก็แต่รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป แม้กระนั้น
ในสิ่งที่ เราสมมติเรียกอย่างเดียวกัน มันก็ยังแตกต่างกันออกไปอีก
คำว่า "ปลา" คำเดียว แต่มีปลากี่พันชนิดในโลกนี้ "นก" คำเดียว
ก็ยังมีชื่อต่อท้าย อีกเป็นพันชนิด
แม้แต่ "เต่า" คำเดียว ก็ยังมีเต่าสีสวยเลี้ยงไว้ดูเล่น เต่าตะนุใน
ทะเลที่ไข่ของมันราคาแพงมีรสมัน เต่านา เต่าบก เมื่อบุกเข้าไป
ในป่า กาญจนบุรี อาจได้พบเต่า ๖ ขา ขึ้นไปบนภูกระดึง จะได้พบ
เต่าขึ้น ต้นไม้เก่ง หางยาวตั้งศอก ที่เขาเรียกว่า "ปูเลย" อ้าวแล้ว
คำว่าปูเลยใน ภาคเหนือ กลายเป็นไพลหัวที่มาตำพอกแก้เคล็ดบวม
คำว่า "สุนัข" มันมีกี่พันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่เราสมมติ
เรียกตัวเองว่า "มนุษย์" ก็มนุษย์ในโลกนี้มีกี่เผ่าพันธุ์ มนุษย์กิน
มนุษย์ ก็ยังมี แต่ถึงอย่างไร มันก็เป็นสภาวธรรมอันเดียวกันนั่นเอง
พระพุทธองค์คงจะเห็นว่า จะให้มนุษย์รู้จักโลกได้ทั้งโลก ก็จะทำ
ให้ฟุ้งซ่าน เวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จักจบ จึงทรงกำหนดให้รู้จักแต่
กาย ในกาย จิตในจิต แม้อย่างนั้น การทำความรู้จักกายกับจิต
ตามสภาพ ความจริงของมัน ก็ต้องข้ามภพข้ามชาติเหมือนกัน
กว่าจะรู้ว่า กายก็ดี จิตก็ดี สุดท้ายนั้น ก็เป็นอนัตตาไปทั้งสิ้น
มนุษย์พากันยึดถือผูกพันกับ สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่
ของตนเป็นวักเป็นเวร อันที่จริง ความเจริญทางวัตถุ การพัฒนา
บ้านเมืองให้ก้าวหน้า พัฒนาโลกอะไรเหล่านี้ ก็นับว่าเป็นของดี
ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น สะดวกขึ้น ถึงใครจะไปคัดค้าน
ว่าไม่ดี มันก็หยุดไม่ได้ เพราะ มนุษย์มีความรู้ความฉลาด มีปัญญา
มากขึ้น ก็ต้องพัฒนากันเรื่อยไป
แต่มันก็ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ไม่มีแนวร่วม ที่จะคิดจะทำ
อย่างมีจุดหมายปลายทาง มีขีดจำกัดว่า เราจำเป็นแค่ไหน อะไร
จำเป็น หรือไม่ เลยไม่มีคำว่า "พอดี" ความคิดประดิษฐ์ทำจึงเป็น
ไปอย่าง ฟุ้งซ่าน ไร้ขอบเขต ใครคิดทำอะไรเป็นพิเศษ ก็ว่าดี
ยกย่องกัน จึง แข่งกันคิด แข่งกันทำ อย่างจบไม่ได้ หรือหยุดไม่ได้
คิดไกลไปถึงจัดสรร บ้านขายกันที่โลกพระจันทร์ และโลกอื่นๆ
พยายามจะทำความฝัน ให้เป็นจริงให้ได้
แต่ความคิดสร้างสรรค์ ก็ยังนับว่าดีอยู่ แต่การคิดทำลายนี้
มากกว่า ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพียงกดปุ่มปั๊บเดียว โลกก็ถูกทำลาย
แล้วอย่างนี้ มันมี ความจำเป็นแก่ชีวิตมนุษย์ไหม ทำเพื่อ
ประโยชน์อะไร สร้างแล้วเตรียม เครื่องทำลายไว้ จะสร้างกัน
ไปทำไม ผลที่สุดก็จะมีแต่ความว่างเปล่า ลมๆ แล้งๆ มนุษย์
ที่ยังเหลือรอดอยู่ จะอยู่ในสภาพไหน
ความคิดทำลายนี้ แท้จริงก็ มาจากความโลภ อยากเป็นชาติที่มี
อำนาจเหนือชาติอื่น เหนือโลก มาจากความโกรธ ที่ไม่สามารถ
ทำให้ ชาติอื่นอยู่ในอำนาจของตน มาจากความหลง ที่ไม่รู้จริง
ในเรื่องของไตรลักษณ์ ซึ่งไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้ ทุกสิ่งเกิดขึ้น
ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งเกิดขึ้นย่อมเป็นเหตุแห่งความทุกข์
ทุกสิ่งเกิดขึ้น ย่อมสูญสลายไป ปราศจากตัวตน เมื่อสภาพแท้จริง
เป็นเช่นนี้ ทำไมจึงไม่คิดไม่ทำ เท่าที่มี ความจำเป็น และให้เกิด
ความ "พอดี"
ชีวิตมนุษย์เรา ที่เกิดมาเป็นสัตว์สังคมนี้ จริงๆแล้วต้องการอะไร
เป็นเครื่องดำรงชีวิต?
พระพุทธเจ้าตรัสถึงเครื่องดำรงอยู่ว่า คือปัจจัย ๔ อันได้แก่
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ถ้าปัจจัย ๔ พอดี
หรือ ขาดแคลนบ้าง ก็พอ อยู่ได้
ตามชนบทหรือบ้านป่าบ้านดง เราจะเห็นว่าแต่เดิมมานั้น เขาอยู่
กันด้วยปัจจัย ๔ จริงๆ ที่เดือดร้อนต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด
ก็เพราะ มันไม่พอดี ขาดแคลนมากเกินไป จนทนไม่ไหว ถ้าขาด
แคลนเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังพออยู่กันได้ นี่สำหรับชาวโลก
ถ้าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ปัจจัย ๔ ก็ให้มี แต่ย่อส่วนลงไป
ให้น้อยกว่าชาวบ้าน เพราะต้องอาศัยชาวบ้านเขากิน ต้องทำตน
เป็น คนเลี้ยงง่าย "อาหาร" ชาวบ้านเขากิน ๒-๓ เวลา แต่พระก็ฉัน
เวลาเดียว "ยารักษาโรค" ก็ให้ฉันได้เท่าที่จำเป็น ไม่เป็นโรคเอา
ยามากินเล่นก็เป็น อาบัติ "เครื่องนุ่งห่ม" ก็ให้มีไตรจีวรชุดเดียว
จะมีมากก็เป็นอาบัติ
ในสมัยพุทธกาล เคยห้ามไม่ให้เอาของใหม่มาใช้ ให้ไปเที่ยว
เก็บผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะหรือป่าช้า มาเย็บต่อกันเป็นจีวร
มาผ่อนผัน ให้รับผ้าใหม่จากทายกในภายหลัง
ส่วน "ที่อยู่อาศัย" ก็ให้อยู่ตามโคนต้นไม้ในป่า หรืออยู่เรือนร้าง
ที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว หรืออยู่ในถ้ำเพิงผาก็อนุโลมให้ ในฤดู
เข้าพรรษา ไม่มีที่จะหลบฝน ก็อนุญาตให้ทำกระต๊อบมีที่มุงที่บังได้
แต่ก็ให้ไม่เกิน ส้วมของเศรษฐีมีเงินในเมือง และไม่ให้ยึดถือว่า
เป็นสมบัติของตน หมด หน้าฝนแล้ว ก็ต้องไปอยู่ตามโคนต้นไม้
ตามถ้ำ ไม่ให้อยู่เป็นที่ ให้ แสวงวิเวกเรื่อยไป แต่ก็ดำรงชีวิตอยู่ได้
เพื่อปฏิบัติธรรม ให้ถึงความพ้นทุกข์
แต่การดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคมทุกวันนี้ อยู่กันอย่างแบ่งฐานะ
๓ ระดับคือ
๑. อยู่อย่างขาดแคลน
๒. อยู่อย่างพอดี
๓. อยู่อย่างส่วนเกิน
มนุษย์ในชนบทหรือป่าดง อยู่ในสองฐานะแรกเป็นส่วนมาก
คือ ขาดแคลนกับความพอดี แต่มนุษย์ในเมืองอยู่ใน ๓ ฐานะ
อย่างใด อย่างหนึ่ง และ ที่เห็นๆ ในบ้านเมืองนั้น มักเห็นว่า
อยู่อย่างส่วนเกิน ไม่น้อยเลย เพราะความเจริญทางวัตถุ
ทำให้เกิดส่วนเกินขึ้นมากมาย จนกลายเป็นข้ออ้างว่า "จำเป็น"
สำหรับชีวิตประจำวัน
ในสมัยพุทธกาล คนที่ดำรงชีวิตอย่างส่วนเกินก็มี เรียกกันว่า
"เศรษฐี" แต่คำว่าเศรษฐีนั้น ท่านแปลว่า "ผู้มีโรงทาน" เศรษฐี
เล็กก็มี โรงทานเล็ก หรือมีโรงเดียว เศรษฐีใหญ่ก็มีโรงใหญ่
หรือหลายโรง มีไว้ทำไม? ก็มีไว้สำหรับแบ่งส่วนเกินของเขา
ให้แก่คนที่ไม่มีหรือ ขาดแคลน ไม่ให้เอาเปรียบสังคมมากเกินไป
ความนิยมเรื่องโรงทานนี้ พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ท่านก็เคยทำกันมา
แต่สังคมไทยสมัยนี้ เศรษฐีไม่มีโรงทาน มีแต่บ้านใหญ่เก็บสะสม
ส่วนเกินเอาไว้เท่าที่จะมากได้ ไม่ยอมแบ่งให้ใครง่ายๆ เมื่อเกิดเศรษฐี
ส่วนเกินมากขึ้น ก็ทำให้ความพอดีของคนส่วนใหญ่ ต้องขาดแคลนลง
คำว่า เอารัดเอาเปรียบก็ตามมา ความไม่เป็นธรรมในสังคมก็ตามมา
และชักจะมองหน้ากันไม่ได้ ฉันคนรวย แกคนจน คบกันไม่ได้เสียแล้ว
นี่คือการเป็นชาวพุทธ แต่ไม่ได้อยู่กันอย่างชาวพุทธ ไม่มีความ
เมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ความโลภ โกรธ หลง มันมา
พอกหน้าเห็นแต่ แววตาที่เห็นแก่ตัว ความพอดีก็หายไป
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งความ "พอดี" ต้องการให้
ชาวโลกรักษาระดับแห่งความพอดีเอาไว้ให้ได้ ความเจริญ
ทางวัตถุ ก็ให้อยู่ในความพอดี เท่าที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ความ
เป็นอยู่ก็ให้พอดี
เรื่องความร่ำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีนั้น ท่านไม่ได้จำกัดไว้
เพราะถือความมีความจน เป็นผลของกรรมดีกรรมชั่ว แต่ท่าน
ให้รู้จัก ปรับตัว ให้อยู่ในความพอดี ถ้าชาวไทยหรือชาวโลก
ยึดถือเอาความ พอดีเป็นอุดมการณ์ ก็จะอยู่กันอย่างสันติสุข
เป็นสันติภาพแท้จริง
แม้ภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ก็ต้องยึดถืออุดมการณ์ ให้เป็น
แบบอย่างแก่ชาวโลก ให้เขาเห็นว่า ภิกษุท่านดำรงชีวิตอยู่ได้
ด้วยความพอดี ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าชาวโลกเสียอีก แต่ท่านยัง
อยู่ได้ ทำไมเราจะอยู่ไม่ได้
ภิกษุส่วนมากในสมัยนี้ ไม่ได้อยู่ในอุดมการณ์ของความพอดี
พากันแสวงหาส่วนเกิน มากกว่าชาวโลกเสียอีก เมื่อไม่รักษา
อุดมการณ์ เอาไว้ให้ได้ ก็เท่ากับไม่อยู่ในธรรมวินัย เพราะ
ธรรมวินัยท่านกำหนด เอาไว้ เพื่อให้เกิดความพอดีอยู่แล้ว
ภิกษุประเภทนี้ แม้จะมีผ้าเหลืองเป็น เครื่องหมายแสดง
ความเป็นภิกษุ ก็ไม่ถือว่าเป็นภิกษุ อาศัยเครื่องหมาย หากิน
หลอกลวงชาวบ้านไปวันๆ เป็นเนื้อนาบุญไม่ได้ ตายไปก็ลง
นรกท่าเดียว
ที่อาตมาพูดมานี้ ก็ได้จากการพิจารณาธรรมะในป่า เข้าไปหา
ในเมือง และเพื่อให้เห็นว่า การเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้น
จำเป็น อย่างยิ่ง ที่จะเผยแพร่อุดมการณ์แห่งความพอดี ให้
กว้างขวางออกไป เป็นพื้นฐานสำหรับการดำรงอยู่ของชาวโลก
ให้ได้เสียก่อน เพราะการ ที่จะปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป ก็จะต้อง
ปฏิบัติตามความพอดีเช่นกัน เรียกว่ามีความพอดีเป็นพื้นฐาน
และมีความพอดีเป็น "ญาณ" ก้าวไปสู่ อมตธรรม คือ "พระนิพพาน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น