กลางวันวันหนึ่ง มีพระเป็นไข้มาลาเรียในวัดนั้น วันนั้นปรากฏว่าไข้เริ่มหนักแต่เช้า เจ้าตัวก็ไม่ไปบิณฑบาตและไม่ฉันจังหันด้วย
พระที่ป่วยต่อสู้กับทุกขเวทนาด้วยการพิจารณาแต่เช้าจนบ่าย ๓ โมงไข้จึงสร่าง ตอนกลางวันที่ท่าน (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) กำลังพิจารณาอยู่ ปรากฏว่ากำลังเรี่ยวแรงอ่อนเพลียมาก ท่านเลยเพ่งจิตให้อยู่กับจุดใดจุดหนึ่งของทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบหนัก โดยไม่คิดทดสอบแยกแยะเวทนาด้วยปัญญาแต่อย่างใด พอดีเวลานั้นเป็นเวลาที่ท่านอาจารย์ท่านพิจารณาดูพระองค์นั้นกำลังปฏิบัติอยู่อย่างชัดเจน แล้วย้อนจิตกลับมาตามเดิม
พอบ่าย ๔ โมง ท่านที่ป่วยมาหาท่านอาจารย์พอดี ท่านก็ตั้งปัญหาถามขึ้นทันที โดยพระนั้นไม่ทราบสาเหตุบ้างเลยว่า...
ทำไมท่านจึงพิจารณาอย่างนั้นเล่า? การเพ่งจิตจ้องอยู่ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ กาย เวทนา จิต ให้รู้เรื่องของกันและกัน ท่านจะทราบความจริงของกาย ของเวทนา ของจิตได้อย่างไร
แบบท่านเพ่งจ้องอยู่นั้นมันเป็นแบบฤๅษี แบบหมากัดกัน ไม่ใช่แบบพระผู้ต้องการทราบความจริงในธรรมทั้งหลาย มีเวทนา เป็นต้น ต่อไปอย่าทำอย่างนั้น มันผิดทางที่จะให้รู้ให้เห็นความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต
ตอนกลางวันผมได้พิจารณาดูท่านแล้วว่า ท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้างกับทุกขเวทนาที่กำลังแสดงอยู่ในเวลาเป็นไข้ พอดีไปเห็นท่านกำลังเพ่งจิตจ่ออยู่กับเวทนาเฉย ๆ ไม่ใช้สติปัญญาคลี่คลายดูกาย ดูเวทนา ดูจิตบ้างเลย พอเป็นทางให้สงบและถอดถอนทุกขเวทนาในเวลานั้น เพื่อไข้จะได้สงบลงดังนี้
.
.
ที่มาของบทความ: คัดลอกมาจากประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ 10
cr.fb.พระคุณเจ้า~Nirasho Bhikkhu~
ทานานํ ยทิทํ ธมฺฺมทานํ เอตทคฺคํ
ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย
.
~Nirasho Bhikkhu~
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น