พระธรรมคำสอน "สมเด็จองค์ปฐม"
อย่าใส่ใจกับจริยาของผู้อื่น กิจของเขา
เราสงเคราะห์แล้ว เขาจักทำตามหรือไม่
ก็เรื่องของเขา จงอย่าไปสนใจ จงอย่าคิดว่า
ทุกคนจักทำตามเรา หรือเราสามารถที่จักทำ
ให้ทุกคนทำตามใจเรา
เราสงเคราะห์แล้ว เขาจักทำตามหรือไม่
ก็เรื่องของเขา จงอย่าไปสนใจ จงอย่าคิดว่า
ทุกคนจักทำตามเรา หรือเราสามารถที่จักทำ
ให้ทุกคนทำตามใจเรา
นั่นคือการหลงผิดไปได้ โดยแท้จริงทุกคน
ต่างคนต่างมีความคิด-มีความเชื่อไปตาม
อุปาทานของแต่ละคน ทิฐิใคร-ทิฐิมัน
ไม่มีใครสามารถที่จักโน้มน้าวจิตใจ-
ความคิดคำนึงของคนต่าง ๆ ให้ไป
ในทางเดียวกันได้
ต่างคนต่างมีความคิด-มีความเชื่อไปตาม
อุปาทานของแต่ละคน ทิฐิใคร-ทิฐิมัน
ไม่มีใครสามารถที่จักโน้มน้าวจิตใจ-
ความคิดคำนึงของคนต่าง ๆ ให้ไป
ในทางเดียวกันได้
แม้แต่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ก็ทำไม่ได้
แล้วก็ไม่ทำด้วย เพราะทุก ๆ พระองค์ทรงเห็น
กฎของกรรม หรือธรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์
จิตของสัตว์มีความแตกต่างกัน แบ่งไปตาม
บารมีของตน ๆ ที่บำเพ็ญกันมา
แล้วก็ไม่ทำด้วย เพราะทุก ๆ พระองค์ทรงเห็น
กฎของกรรม หรือธรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์
จิตของสัตว์มีความแตกต่างกัน แบ่งไปตาม
บารมีของตน ๆ ที่บำเพ็ญกันมา
จำแนกแล้วก็ได้ ๔ อย่าง บัวสี่เหล่าก็คือ
ระดับจิตของสัตว์ ดังนั้นกรรมจึงไม่เท่ากัน
จิตจึงไม่สามารถโน้มน้าวไปได้ในทางเดียวกัน
พระตถาคตทั้งหลายรู้ดังนี้ จึงช่วยสงเคราะห์
ได้เท่าที่จักสงเคราะห์ได้ ในระดับจิตที่
สงเคราะห์ไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง
ไม่เป็นธุระเสียทุกเรื่อง
ระดับจิตของสัตว์ ดังนั้นกรรมจึงไม่เท่ากัน
จิตจึงไม่สามารถโน้มน้าวไปได้ในทางเดียวกัน
พระตถาคตทั้งหลายรู้ดังนี้ จึงช่วยสงเคราะห์
ได้เท่าที่จักสงเคราะห์ได้ ในระดับจิตที่
สงเคราะห์ไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง
ไม่เป็นธุระเสียทุกเรื่อง
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น