๑๘ มกราคม "วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" วันนี้เมื่อปี พุทธศักราช ๒๑๓๕
องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาในยุทธหัตถี ณ หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี (ยังไม่เป็นที่ยุติ มีการสันนิษฐานออก ๒ มติใหญ่ ๆ คือ
๑.- ต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๒.- ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี)
เป็นวันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย โดยเฉพาะวีรกรรมที่ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่านั้น เป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน โดยให้มีการจัดกิจกรรม การประกอบพิธีบวงสรวง การวางพานพุ่มสักการะที่บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ และให้มีงานสมโภชอนุสรณ์ดอนเจดีย์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวันที่ ๑๘ มกราคม เป็นประจำทุกปี ซึ่งถือเป็น "วันกองทัพไทย" อีกด้วย เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย จึงควรตระหนักและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการตั้งมั่นกระทำความดีแก่สังคม และประเทศชาติ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เพื่อตอบแทนพระคุณของพระองค์ท่านที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราได้อยู่จนมาถึงปัจจุบันนี้
๑.- ต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
๒.- ต.ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี)
เป็นวันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย โดยเฉพาะวีรกรรมที่ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งพม่านั้น เป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบัน โดยให้มีการจัดกิจกรรม การประกอบพิธีบวงสรวง การวางพานพุ่มสักการะที่บริเวณพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ และให้มีงานสมโภชอนุสรณ์ดอนเจดีย์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวันที่ ๑๘ มกราคม เป็นประจำทุกปี ซึ่งถือเป็น "วันกองทัพไทย" อีกด้วย เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย จึงควรตระหนักและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการตั้งมั่นกระทำความดีแก่สังคม และประเทศชาติ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ เพื่อตอบแทนพระคุณของพระองค์ท่านที่ได้ทรงเสียสละเลือดเนื้อเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยของเราได้อยู่จนมาถึงปัจจุบันนี้
วันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เรียกกันว่า “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” และทางกองทัพไทยได้กำหนดให้เป็น “วันกองทัพไทย” ด้วย ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปี เป็น “วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” และเป็นวันรัฐพิธี แทนวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ อันเป็นการนับทางจันทรคติ โดยให้มีการวางพวงมาลาและสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และได้กำหนดใหม่ ให้วันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็น “วันยุทธหัตถี” และเป็นวันรัฐพิธีแทนวันที่ ๒๕ มกราคมของทุกปี โดยให้มีการวางพานพุ่มสักการะ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการเช่นกัน การที่มีการเปลี่ยนแปลงวันทั้งสองดังกล่าว ก็ด้วยว่าเป็นการนับวันทางสุริยคติ ซึ่งคนปัจจุบันคุ้นชิน จำได้ง่าย และมีความเหมาะสมมากกว่า อีกทั้ง นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ก็ได้คำนวณแล้วพบว่าการนับวันทางจันทรคติของวันกระทำยุทธหัตถีเดิมที่ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ที่กำหนดเป็นวันที่ ๒๕ มกราคมนั้น คลาดเคลื่อน จึงได้มีการเปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง คือ เป็นวันที่ ๑๘ มกราคมดังกล่าว ดังนั้น ในปัจจุบัน วันที่ ๑๘ มกราคม จึงถือเป็น “วันยุทธหัตถี” หรือ “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
ยุทธหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ โดยบนหลังช้างจะมีคนนั่งอยู่สามคน ตัวแม่ทัพจะถือง้าวอยู่ที่คอช้าง คนที่นั่งกลางจะอยู่บนกูบและถือหางนกยูงซ้ายขวาโบกเป็นสัญญาณ และคอยส่งอาวุธให้แม่ทัพ อาจจะมีการสับเปลี่ยนที่นั่งกันตอนกระทำการรบ ที่ท้ายช้างจะมีควาญนั่งประจำที่ ตามเท้าช้างทั้งสี่มีพลประจำเรียกว่า จตุรงคบาท คนทั้งหมดจะถืออาวุธ เช่น ปืนปลายขอ หอกซัด ของ้าว ขอเกราะเขน แพน ถ้าเป็นช้างยุทธหัตถีจะมีหอกผูกผ้าสีแดงสองเล่ม ปืนใหญ่หันปากออกข้างขวาหนึ่งกระบอก ข้างซ้ายหนึ่งกระบอก มีนายทหารและพลทหารสวมเกราะโพกผ้า
ช้างที่เข้ากระบวนทัพจะสวมเกราะใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยทั้งที่สี่เท้าสวมหน้าราห์มีปลอกเหล็กสวมงาทั้งคู่ และมีเกราะโว่พันงวงช้าง สำหรับพังหอค่ายโดยไม่เจ็บปวด การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง ถือเป็นคติมาแต่โบราณว่าเป็นยอดยุทธวิถีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้กันตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่ว บวกกับความชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน ไม่ได้อาศัยลี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด กล่าวกันว่า ในชมพูทวีป (ดินแดนที่เป็นอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังคลาเทศในปัจจุบัน) ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก
ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้ มิได้ติเตียนกันเลย ซึ่งคติที่ว่าเป็นความนิยมของไทยด้วยเช่นกัน
สำหรับความเป็นมาของการทำยุทธหัตถีที่สำคัญที่สุดของไทยก็คือ ในสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา จากข้อความในหนังสือพงศาวดารตอนที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์ของชาติไทยกล่าวไว้ดังนี้
สงครามยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ เมื่อพระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะเอาชนะให้ได้โดยเด็ดขาด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ซึ่งในการต่อสู้กันครั้งนั้น ระหว่างที่การรบกำลังติดพัน ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถก็พากันไล่ล่าศัตรูอย่างเมามัน จนพาทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกโดยไม่รู้ตัว มีเพียงจตุลังคบาท(ผู้รักษาเท้าทั้งสี่ของช้างทรง) และทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน แม้จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ แต่พระองค์ก็มีพระสติมั่น ไม่หวั่นไหว ทรงมีพระปฏิภาณว่องไวเกิดขึ้นโดยพระอุปนิสัยว่า พระองค์จะรอดได้มีเพียงทางเดียวคือ เชิญพระมหาอุปราชาเสด็จมาทำยุทธหัตถี ซึ่งพระองค์ก็สามารถกระทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะอย่างสมพระเกียรติ และนับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกเลย มีแต่ฝ่ายไทยยกไปปราบปรามข้าศึก และทำสงครามขยายอาณาเขตให้กว้างขวางขึ้นกว่าแต่ก่อน
ตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา กล่าวกันว่าทรงนำทหารเข้ารบและทำศึกสงคราม มากกว่า ๑๕ ครั้ง แต่การรบที่สำคัญและเด่นๆ มี ๓ ครั้ง คือ เมื่อพ.ศ. ๒๑๒๖ ที่ไปตีเมืองคัง ได้แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถในการดำเนินกลศึก จนสามารถจับเจ้าเมืองคังถวายพระเจ้าหงสาวดีได้ ครั้น ปี พ.ศ. ๒๑๒๙ คราวพม่ายกล้อมกรุง ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีเสด็จมาเอง โดยมีกำลังพลถึง ๒๕๐,๐๐๐ คน และเป็นทัพกษัตริย์ถึง ๓ ทัพคือ ทัพพระเจ้าหงสาวดี ทัพพระมหาอุปราชา และทัพพระเจ้าตองอู ครานั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ใช้ยุทธศาสตร์การเดินทหารด้วยทางเส้นในจนได้รับชัยชนะ โดยพม่าไม่มีโอกาสเข้ามาประชิดกำแพงเมืองเลย และอีกครั้งคือ คราวสงครามยุทธหัตถีตามที่กล่าวมาแล้ว และแม้แต่วาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ก็ยังทรงอยู่ในระหว่างการรบ คือทรงยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก(ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์และเป็นพิษจนสวรรคตไปเสียก่อน เมื่อพ.ศ. ๒๑๔๘ รวมสิริพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา
การทำยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถือเป็นกลยุทธที่นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ เป็นยอดแห่งชัยมงคล และเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ชาติไทย นอกจากนี้ ยังเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ชาตินักรบอย่างแท้จริง เป็นผู้นำที่กล้าหาญและมีฝีมือการรบที่เก่งกาจจึงทำให้ทรงรบชนะมาโดยตลอด และยังเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานไทยนานถึง ๑๕๐ ปี
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ที่มา FB : เพจท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน
ช้างที่เข้ากระบวนทัพจะสวมเกราะใส่เกือกหรือรองเท้าเหล็กสำหรับกันขวากหนาม โดยทั้งที่สี่เท้าสวมหน้าราห์มีปลอกเหล็กสวมงาทั้งคู่ และมีเกราะโว่พันงวงช้าง สำหรับพังหอค่ายโดยไม่เจ็บปวด การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง ถือเป็นคติมาแต่โบราณว่าเป็นยอดยุทธวิถีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้กันตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่ว บวกกับความชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน ไม่ได้อาศัยลี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด กล่าวกันว่า ในชมพูทวีป (ดินแดนที่เป็นอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังคลาเทศในปัจจุบัน) ถือเป็นคติมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ยุทธหัตถีหรือการชนช้างเป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว แพ้ชนะกันด้วยความคล่องแคล่วแกล้วกล้า กับการชำนิชำนาญในการขับขี่ช้างชน โดยมิต้องอาศัยรี้พลหรือกลอุบายแต่อย่างใด เพราะโดยปกติ ในการทำสงครามโอกาสที่จอมทัพทั้งสองฝ่ายจะเข้าใกล้ชิดจนถึงชนช้างกันมีน้อยมาก
ดังนั้น กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะก็จะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้ มิได้ติเตียนกันเลย ซึ่งคติที่ว่าเป็นความนิยมของไทยด้วยเช่นกัน
สำหรับความเป็นมาของการทำยุทธหัตถีที่สำคัญที่สุดของไทยก็คือ ในสมัยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชา จากข้อความในหนังสือพงศาวดารตอนที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์ของชาติไทยกล่าวไว้ดังนี้
สงครามยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ เมื่อพระเจ้านันทบุเรงได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะเอาชนะให้ได้โดยเด็ดขาด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าวจึงยกทัพหลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ซึ่งในการต่อสู้กันครั้งนั้น ระหว่างที่การรบกำลังติดพัน ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถก็พากันไล่ล่าศัตรูอย่างเมามัน จนพาทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกโดยไม่รู้ตัว มีเพียงจตุลังคบาท(ผู้รักษาเท้าทั้งสี่ของช้างทรง) และทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน แม้จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ แต่พระองค์ก็มีพระสติมั่น ไม่หวั่นไหว ทรงมีพระปฏิภาณว่องไวเกิดขึ้นโดยพระอุปนิสัยว่า พระองค์จะรอดได้มีเพียงทางเดียวคือ เชิญพระมหาอุปราชาเสด็จมาทำยุทธหัตถี ซึ่งพระองค์ก็สามารถกระทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะอย่างสมพระเกียรติ และนับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกเลย มีแต่ฝ่ายไทยยกไปปราบปรามข้าศึก และทำสงครามขยายอาณาเขตให้กว้างขวางขึ้นกว่าแต่ก่อน
ตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ๑๕ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๑๓๓ จนเสด็จสวรรคตเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัยให้กับการศึกสงครามเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา กล่าวกันว่าทรงนำทหารเข้ารบและทำศึกสงคราม มากกว่า ๑๕ ครั้ง แต่การรบที่สำคัญและเด่นๆ มี ๓ ครั้ง คือ เมื่อพ.ศ. ๒๑๒๖ ที่ไปตีเมืองคัง ได้แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถในการดำเนินกลศึก จนสามารถจับเจ้าเมืองคังถวายพระเจ้าหงสาวดีได้ ครั้น ปี พ.ศ. ๒๑๒๙ คราวพม่ายกล้อมกรุง ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีเสด็จมาเอง โดยมีกำลังพลถึง ๒๕๐,๐๐๐ คน และเป็นทัพกษัตริย์ถึง ๓ ทัพคือ ทัพพระเจ้าหงสาวดี ทัพพระมหาอุปราชา และทัพพระเจ้าตองอู ครานั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ใช้ยุทธศาสตร์การเดินทหารด้วยทางเส้นในจนได้รับชัยชนะ โดยพม่าไม่มีโอกาสเข้ามาประชิดกำแพงเมืองเลย และอีกครั้งคือ คราวสงครามยุทธหัตถีตามที่กล่าวมาแล้ว และแม้แต่วาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ก็ยังทรงอยู่ในระหว่างการรบ คือทรงยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก(ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์และเป็นพิษจนสวรรคตไปเสียก่อน เมื่อพ.ศ. ๒๑๔๘ รวมสิริพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา
การทำยุทธหัตถีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถือเป็นกลยุทธที่นับว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์ เป็นยอดแห่งชัยมงคล และเป็นครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์ชาติไทย นอกจากนี้ ยังเป็นวีรกรรมครั้งสำคัญที่ทำให้พระเกียรติยศของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นที่เลื่องลือไปไกล เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ชาตินักรบอย่างแท้จริง เป็นผู้นำที่กล้าหาญและมีฝีมือการรบที่เก่งกาจจึงทำให้ทรงรบชนะมาโดยตลอด และยังเป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าไม่มีข้าศึกใดกล้ายกทัพมารุกรานไทยนานถึง ๑๕๐ ปี
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ที่มา FB : เพจท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น