28 สิงหาคม 2564

สติปัฎฐาน 4 เส้นทางสายเอกสู่มหานิพพาน.?...

โลกในยุคการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคพลังงานใหม่ เป็นโลกที่มีคลื่นความถี่สั่นสะเทือนที่ละเอียดกว่าโลกเสมือนจริงในยุคเก่ามิติที่ 3 หากคลื่นความถี่มิติกายของเราตํ่าเกินไปก็จะไม่สามารถดำรงกาย ดำรงชีวิตของเราอยู่ในโลกแห่งใหม่นี้ได้ 

จึงจำเป็นที่เบื้องบนต้องคัดเลือกสรรค์มิติกายเนื้อของแต่ละคนโดยผ่านคลื่นรังสี
Proton ที่กำลังหลั่งไหลลงมาสู่โลกอย่างมากมายในช่วงเวลานี้ สำหรับผู้ที่เหมาะสมจริงๆ แล้วเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ที่จะเข้าสู่โลกยุคพลังงานใหม่

จะต้องมีคลื่นมิติกายแห่งคุณความดีเกิน 50% แล้วเท่านั้น ฉะนั้น การฝึกปฎิบัติ
เจริญสติสู่มหาสติปัฎฐาน 4 จึงเป็นเส้นทางหลักเส้นทางเดียวที่จะเข้าสู่ "นิพพาน"
ในโลกยุคการเปลี่ยนผ่านจากมิติหนึ่งไปสู่อีกมิติหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยากอย่างที่คนส่วนใหญ่คิดเพราะคลื่นลำแสงที่จักรวาลส่งลงมาจะหนุนช่วยทุกๆ คนให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา

พ่อจึงอยากให้ลูกๆ ของพ่อลองฝึกปฎิบัติดูนะ..

พระพุทธองค์ตรัสรู้ รับรู้ความจริงของโลกและจักรวาลทั้งหมด ทั้งภายนอกและภายในตัวมนุษย์ แต่พระพุทธองค์ทรงเลือกที่จะตัดทิ้งสาระความรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภายในตัวมนุษย์ออกไป ซึ่งสาระของธรรมชาติภายนอกตัวมนุษย์เล็กสุดขนาด
อะตอม อิเลคตรอน ควอนตัม จนใหญ่สุดอย่างดาราจักร จักรวาล 

พระพุทธองค์ก็ทรงรับรู้ผ่านสัพพัญญุตญาณ หรือแม้แต่รูปธรรมทางกายอย่างเซลล์ เม็ดโลหิต ระบบประสาท พระพุทธองค์ก็ทรงอธิบายได้อย่างถูกต้อง แต่ก็เลือกที่จะตัดออกไปจากคำสอน แล้วมาเน้นที่นามธรรมภายในของตัวมนุษย์โดย
เฉพาะอย่างจิตและวิญญาณ ซึ่งจะเป็นทางแห่งการพ้นทุกข์อย่างแท้จริงนั่นเอง

สติปัฎฐาน 4 เป็นเทคนิคหรือวิถีทางของการเจริญสติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งถือเป็นการค้นพบขั้นสุดยอดทางพุทธศาสนา พระพุทธองค์ตรัสว่า สติปัฎฐานนี้เป็นหนทางสายเอก เพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อล่วงความโศก เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อธรรมที่ถูกต้อง เพื่อบรรลุเข้าสู่มรรคผล นิพพาน สติปัฎฐาน 4 ก็คือการนำสติไปวางไว้ที่ฐานทั้ง 4 ประกอบไปด้วย ดังนี้

1 กายานุปัสสนา กำหนดสติไปเกาะไว้ที่กาย กำหนดรู้กายตามสภาวะเป็นจริง เช่น
กำหนดรู้ลมหายใจ เข้า - ออก ยุบหนอ พองหนอ กำหนดรู้ความเคลื่อนไหวของกายทุกขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน และแม้ก่อนที่กายจะเคลื่อนไหวก็ระลึกถึงเสียก่อนว่ากำลังเคลื่อนไหว เทคนิคหนึ่งที่ช่วยในการฝึกสติไว้ที่กายได้เป็นอย่างมากก็คือ การเดินจงกรม

2 เวทนานุปัสสนา เอาสติไปเกาะไว้ที่ความรู้สึก พิจารณาสุข ทุกข์ เวทนา มีสติรู้
เท่าทันตัวที่กำลังเสวยอารมณ์ เช่น เสวยสุขก็รู้ว่าสุข เสวยทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ รู้เท่าทันความรู้สึกทุกชนิด เช่น ชอบ เกลียด ดีใจ เสียใจ เฉยๆ เมื่อนำสติไปจับความรู้สึกได้ ก็จะพบว่าความรู้สึกนั้นไม่จีรัง มันเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวแล้วมันก็จะดับไป

3 จิตตานุปัสสนา คือการกำหนดสติพิจารณาจิต มีสติพิจารณาความเป็นไปของจิต
ว่า ขณะนี้จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะ หรือมีความฟุ้งซ่าน มีความนึกคิดต่างๆ ในทางดีและไม่ดีอย่างไร ให้กำหนดรู้อย่างนี้ แล้วมีสติตั้งมั่นไม่เอนเอียงไปตามอารมณ์ของจิต ลูกก็ย่อมรู้เท่าทันว่าจิตก็เป็นเพียงสักแต่ว่าจิตเท่านั้น มันเกิดขึ้น
แล้วก็ดับไป แต่การเกิดดับของจิตจะไวกว่าเวทนา ต้องใช้กำลังสมาธิที่สูงกว่าจึงจะเข้าใจได้

4 ธรรมานุปัสสนา คือการใช้สติพิจารณาธรรม การมีสติกำหนดพิจารณาธรรม ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการเกิด - ดับ เข้าใจในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วรู้แจ้งในอริยสัจ 4
พ่อจึงอยากให้ลูกของพ่อปฎิบัติดูนะ หากมีปัญหาปรึกษาพ่อได้ แล้วพ่อจะนำองค์ความรู้ของ ขันธ์ 5 มาประกอบในบทความต่อไป มันเกี่ยวเนื่องกันนะ ต้องมีความรู้ให้ถ่องแท้จึงจะเกิดประโยชน์แก่ตัวเรานะ...

ที่มา
Teucer Rom...

แสงสว่าง มองการไกล...

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...