30 เมษายน 2565

วาจาที่จริง แท้ มีประโยชน์

วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น
วาจาที่จริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ มีประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ในข้อนี้ตถาคตย่อมรู้กาลที่พูด

วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ ไม่มีประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ มีประโยชน์
และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ในข้อนั้นตถาคต ย่อมรู้กาลที่จะพูด

ข้อนั้นเพราะเหตุไร 
เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย

พระพุทธพจน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

29 เมษายน 2565

#กรรมทางวาจา_คำพูด_ร้ายแรงมาก

♦️♦️♦️แรงมาก ♦️♦️♦️
"... หลวงปู่ดู่ ท่านมักกล่าวถึงมงคลที่สำคัญที่ท่านอยากให้ลูกศิษย์ได้นำไปปฏิบัติ คือ มงคล ๓๘ ประการ มงคลที่ท่านพูดถึงบ่อย ๆ นั่นคือ สัมมาวาจาชอบ คือ พูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล 

... ท่านว่าคนส่วนมากมักสร้างกรรมทางวาจา เพราะกรรมนี้สร้างได้ง่าย แต่เขาไม่รู้หรอกว่าผลของกรรม เมื่อส่งผลจะร้ายแรงเพียงไรคำพูดนั้นสำคัญมาก บางคนพูดไม่ดีกับผู้อื่น จนเป็นเหตุถึงโกรธเกลียดกันชั่วชีวิตก็มี 

... บางรายคำพูดเพียงไม่กี่คำ ก็ทำให้ไม่พูด
กันไปหลายปี คนส่วนมากที่ขึ้นโรงขึ้นศาล หรือทะเลาะกันจนไปถึงฆ่ากันตาย ก็เพราะคำพูดที่ไม่ดีนี่แหละ หลวงปู่ท่านสอนอยู่เสมอว่า อย่าไปพูดไม่ดีกับใครเขา ถ้ามีคนมาว่าหรือด่าเราแต่เราไม่ว่าหรือด่าเขาตอบมันก็จะไม่มีเรื่องกัน แต่ถ้าแกไปด่าเขาเมื่อไรนั่นแหละเรื่องใหญ่ 

... ท่านสอนศิษย์เสมอว่า อย่าไปพูดทำลายความหวังของใครเขา เพราะนั้นอาจจะเป็นความหวังเดียวที่เขามีอยู่ ถ้าแกไปพูดเข้าเมื่อไหร่กรรมใหญ่จะตกแก่ตนเอง ท่านบอกไว้อีกว่า คนที่ชอบด่าหรือใส่ร้ายผู้อื่นรวมไปถึงการพูดไม่ดีต่าง ๆ กับคนอื่นนั้น กรรมจะมาเร็วมาก เขาผู้นั้นจะเป็นคนที่มีศัตรู ทั้งภายนอกและภายใน ไม่เป็นที่รักของคนทั่วไป ตรงกันข้ามกับเป็นคนที่น่ารังเกียจแก่คนทั้งหลาย กรรมนี้จะทำให้เขามีเรื่องและเดือดร้อนอยู่เสมอ ๆ ทั้งทางกายและทางใจ 

... บางคนทำกรรมนี้ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้ตัว
พอกรรมดีที่ตนเคยสร้างมาแต่ปางก่อนหมดหรือเหลือน้อยลง กรรมชั่วที่สร้างนี้ก็จะสนองเขาอย่างหนักทั้งในภพนี้และภพหน้า ในภพนี้เวลาที่กรรมดีแต่ปางก่อนจะส่งผลให้มีความสุขหรือมีโชคลาภ กรรมชั่วก็จะเข้ามาตัดรอนกรรมดี เหมือนอย่างเขาผู้นั้น ซื้อหวยเลข ๕๖ หวยก็จะออกเลข ๕๕ หรือ ๕๗ บางทีก็ติดต่อการค้าหรืองานต่าง ๆ มองเห็นอยู่ว่างานนี้ได้แน่นอน แต่พอถึงเวลาก็ไปไม่ทันบ้าง ไปแล้วไม่เจอหรือมีเหตุต่าง ๆ มาทำให้มีอุปสรรคอยู่เสมอ ๆ ซึ่งที่จริงแล้วผู้นั้นจะมีโชคที่ควรได้ประมาณเป็นล้าน ๆ เขาก็จะได้แค่หมื่นสองหมื่นหรือโชคครั้งนี้ จะได้หลายหมื่น แต่เขา
กับได้เพียงไม่กี่พันบาทหรือเพียงได้ไม่กี่ร้อยเท่านั้นเอง นี้เป็นเพราะกรรมชั่วเข้ามาตัดรอนกรรมดีและรวมถึงญาติพี่น้องลูกหลาน เขาเหล่านั้นก็จะทำความเดือดร้อนเสียหายมาให้ มีพี่น้องหรือญาติไปจนถึงเพื่อนฝูง ก็จะโกงทรัพย์สินเงินทองของเราบ้าง บางครั้งก็พูดใส่ร้ายให้โทษ ด่าว่าทะเลาะวิวาท ทำให้เราไม่สบายกายและสบายใจเป็นอย่างมาก มีเรื่องเดือดร้อนต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลาอย่างไม่จบสิ้น
มีลูกหลานก็จะดื้อด้าน ว่านอนสอนยาก ทำความเดือดร้อนให้เสียเงินทองอยู่มิได้ขาด ว่ากล่าวลูกหลานไม่เชื่อฟัง ไม่เครารพนับถือ ลูกหลานบางคนก็จะอกตัญญูตนเองมักจะเดือดร้อนด้วยการเป็นโรคร้ายที่รักษายากหรือรักษาไม่หาย เช่น อัมพฤต อัมพาต มะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ และโรคร้ายต่าง ๆ อีกมากมายหลายชนิด ..."

"...หลวงปู่ท่านบอกไว้ว่า กรรมทางวาจานี้
ร้ายแรงมาก การที่เราพูดใส่ร้ายหรือพูดไม่ดีจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและเสียใจหรือไปพูดทำลายความหวังต่าง ๆ ของเขาถ้ารู้ตัวให้หยุดเสียถ้าไม่หยุดหรือเลิกทำเสียกรรมไม่สนองแต่ในชาตินี้ พอตายลงไปยังต้องไปใข้กรรมยังนรกตามขุมต่าง ๆ อีก... "

#ท่านจะพูดและสอนศิษย์อยู่เสมอว่า_คนดีเขาไม่ตีใคร.. 
#ความหมายว่าคนดีไม่ตีใคร_ไม่ใช่เอาไม้หรือของแข็งๆไปตีเขา
#แต่ท่านไม่ให้พูดจาไม่ดีด่าว่าใส่ร้ายทำให้ผู้อื่นเดืดดร้อนเสียหายและทุกข์ใจ
#หลวงปู่บอกว่าคนดีเขาไม่ว่าใคร_ถ้าแกไปว่าเขาแกก็จะเป็นคนไม่ดี"

🙏🙏🙏#หลวงปู่ดู่_พฺรหฺมปัญโญ🙏🙏🙏 ⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️

บุญกิริยาวัตถุ

ขอให้โยมเข้าใจว่า..ตราบใดที่เรายังมีกายสังขาร..ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ได้ชื่อว่า "ยังมีบุญอยู่ทุกขณะ" ที่ตามรักษาให้เรา..ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ ให้เรายังครองสติอยู่ได้ ต่อเมื่อกายสังขารเราสิ้นแล้ว ด้วยโรคภัยไข้เจ็บหรือมีวิบากกรรมมาตัดรอน แม้ว่าเราตายไปแล้ว..บุญนั้นก็ไม่มีวันหมด ผลบุญกุศลที่เราได้เคยทำไว้..ก็ยังตามไปส่งผลในภพในชาติต่อไปได้
และเช่นเดียวกัน อันว่ากรรมชั่ว บาปอกุศลกรรมนั้น..ก็ไม่มีวันหมด ตราบใดที่เรายังไม่เข้าถึงความเป็นอรหันต์ หรือเข้าถึงพระนิพพาน ดังนั้น "บุญมันจึงอยู่คู่กับบาป ถ้าเมื่อใดบุญยังมีอยู่..บาปก็ยังคงมีอยู่เสมอ" เข้าใจมั้ยจ๊ะ

ประโยชน์และอานิสงส์ของบุญนี้ สามารถทำให้เรามีชีวิต..มีกายสังขาร หรือมีความเป็นอยู่ในทางโลก..ที่ไม่เดือดร้อน เมื่อเรามีความเจ็บความป่วย..ก็จะมีหยูกยารักษา ถ้ามีทุกข์มีภัยอันใด..ก็จะมีทางออกได้ หรือแม้ในยามคับขัน..ก็จะมีผู้ที่มาคอยช่วยเหลือ เมื่อปรารถนาจะทำความดี สร้างกุศลอันใด..ก็ทำได้โดยง่าย

พระพุทธองค์ท่านจึงได้สอนไว้ว่า แม้ไม่มีอัฐมีเบี้ย..ก็สามารถทำบุญได้ เค้าเรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ" ดังนั้นร่างกายที่เราเกิดมานี้..ชื่อว่าบุญ การที่เราได้เกิดมานี้..ก็คือบุญแล้ว ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจหล่อเลี้ยงสังขาร จึงได้ชื่อว่า "มีบุญอยู่ทุกขณะ"

มนุษย์ที่ว่าเป็นสัตว์อันประเสริฐ ต่างกับสัตว์เดรัจฉาน..ก็ตรงที่ว่า มนุษย์นั้นรู้ดีรู้ชั่ว..รู้จักบาปบุญคุณโทษ แต่สัตว์เดรัจฉาน..เค้าไม่รู้จักบาปบุญ ไม่รู้จักกรรมดีกรรมชั่ว..ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่มนุษย์มีเหนือกว่าก็คือ "ปัญญา" ที่จะสามารถเลือกได้ว่า เรานั้นจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว แต่ที่ยังไม่สามารถจะละบาปหรือกรรมชั่วได้ ก็เพราะว่าอำนาจแห่งกรรมนั้น มันยังมีกำลัง..มันยังส่งผลอยู่

จึงมักจะเกิดคำถามที่ว่า..แล้วทำไมคนชั่วเค้ายังได้ดีอยู่ เพราะเหตุว่าบุญเก่าของเค้านั้น..ยังส่งผลให้อยู่ แต่ถ้าเมื่อใดที่บุญในอดีตไม่ได้ส่งผลแล้ว และไม่ได้สร้างบุญในปัจจุบันเพิ่ม อย่างนี้แล มันก็จะทำให้อดีตแห่งกรรมชั่ว..มันส่งผล ก็จะต้องได้รับผล..ตามกฎแห่งกรรมไป

ดังนั้นการที่ว่ามีบุญ ที่เราทำบุญทำทาน เค้าเรียกว่า..ทำความดี "บุญได้ชื่อว่า..ความสุข" แต่สุขทั้งหลายนี้..มันไม่เที่ยง เพราะการทำความดี..มันทำได้ยาก แต่เมื่อเราทำได้แล้ว การจะรักษาไว้ให้มันคงอยู่..มันก็ทำได้ยากยิ่งกว่า

บุญที่เราระลึกถึง แม้ว่าเราได้ทำเมื่อนานมาแล้ว หรือจะทำไว้เมื่อไหร่ก็ตาม แต่เมื่อเราหวนระลึกถึง จิตเราก็จะเข้าถึงความสุข..ความปิติได้ เช่นเดียวกับบาป..ที่เราได้เคยทำไว้ในอดีต เมื่อหวนระลึกแล้ว ก็จะทำให้จิตเรานั้นเศร้าหมอง..เป็นทุกข์ร้อนใจ

แม้เราตายไปแล้ว บุญกุศลหรือบาปกรรมนั้น..ก็ยังติดตามเหมือนดั่งเงา ดังนั้นขอให้โยมเข้าใจว่าบาปบุญนี้..ไม่มีวันหมด บางคนคิดว่าตัวเองนั้น มีบุญมากแล้ว..จึงไม่ต้องทำบุญเพิ่ม แต่เมื่อไหร่ที่บุญนั้นมันอ่อนกำลังลง บาปที่เรามี..มันก็จะตามมาส่งผลได้ ดังนั้นฉันจึงบอกว่า "จงอย่าได้ประมาทในการทำบุญ" เข้าใจมั๊ยจ๊ะ

#สมเด็จพระพุฒาจารย์โต
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ
***********************************

#คนที่โกรธง่ายแก่เร็ว

🔥 #คนที่โกรธง่ายแก่เร็ว บรรดาท่านพุทธบริษัท บางทีเราจะเห็นพระอริยเจ้าอายุตั้ง 60 ปีเศษ เราก็ไปนั่งนึกว่าท่านอายุประมาณสักสี่ห้าสิบปี แต่ก็ยังดีบางองค์อายุเกือบจะ 80 ปี เราคิดว่าท่านอายุ 30 ปีเท่านั้น นั่นเราก็จะพิจารณาได้ว่า พระคุณท่านเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูงตั้งแต่เมื่อไร ร่างกายของพระคุณท่านไซร้ไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงนัก เพราะใจมันสบาย คือร่างกายของเราจะแก่มากแก่น้อย ทรุดโทรมมากทรุดโทรมน้อย มันขึ้นอยู่ที่ใจเหมือนกัน

ถ้าอารมณ์ใจของเราสบายแล้ว ร่างกายคือความเผาผลาญทางใจมันน้อย ร่างกายมันก็ทรุดโทรมน้อย ถ้าเราคาดร่างกายของบุคคลผิด ก็เพราะว่าเราคาดจิตใจของเขาผิด เราไปมองดูร่างกายของคนที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ไปอยู่ที่ไหนทำลายที่นั่น เผาผลาญที่นั่น ความโกรธ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็น โทสัคคิ ไฟคือ โทสะ

🔸ความโกรธถ้ามันเกิดขึ้นเราจะระงับด้วยวิธีไหน อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงแนะนำว่า ให้ใช้✨พรหมวิหาร 4 ประจำใจเป็นปกติ หรือว่าถ้าพรหมวิหาร 4 ยังไม่เป็นที่พอใจ ไม่ถูกกับอารมณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้ใช้กรรมฐาน 4 อย่าง คือ ✨วรรณกสิณ ได้แก่ กสิณที่มีสี คือ กสิณสีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว อย่างใดอย่างหนึ่งตามอัธยาศัย

ถ้าเราปฏิบัติโดยใช้ตามนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ถูกใจ อารมณ์ใจของเราจะมีความสุข และก็สามารถระงับความโกรธไว้ได้

ยังไม่ตัดนะ บอกแล้วว่ายังไม่ตัด เอาแค่ระงับชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น ในเมื่อความโกรธมันเกิดขึ้นเราก็คว้าพรหมวิหาร 4 มาใช้ทันที เป็นเครื่องประหัตประหาร กสิณ 4 อย่างอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่เราชอบใจเอามาใช้โดยเฉพาะ ความโกรธมันจะระงับ มันจะตกลงไป แต่มันไม่ไปไหนหรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท มันยังนอนอยู่ในใจ หรือนอนอยู่ในเรา บางครั้งบางคราวมันก็จะโผล่ขึ้นมาอีก ถ้าเราทำบ่อยๆ กำลังมันก็จะเพลียไป

ที่มา : บารมี 10 โดย พระราชพรหมยาน หน้า 52-54

บาปไหม ที่ไปกินของวัด

* หลวงพ่อฤาษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ..ตอบปัญหาธรรม

ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อ ที่เคารพอย่างสูง..

~ วันหนึ่งลูกมีโอกาสไปเลี้ยงพระ แต่ก็ไม่ได้ถามกันเสียก่อน ว่าจะถูกต้องหรือไม่ ลูกเข้าไปที่โรงครัว เข้าไปแล้วก็เจอพระองค์หนึ่ง..

~ ท่านก็บอกว่า : "โยม เอาเลย โอวัลติน กาแฟ ชงเลย ตามสบาย"

~ พอกินเสร็จเรียบร้อย นึกได้ว่า.. เอ๊ะ.! การกินของวัด พระสงฆ์ ๔ รูป ไม่ได้อนุญาต อย่างนี้ เรียกว่า กินของสงฆ์ ลูกเลยไม่สบายใจอย่างมาก เลยตัดสินใจ เอาเงิน ๑๐๐ บาท มาถวายวัดท่าซุง เจ้าค่ะ

หลวงพ่อฯ : ( หัวเราะ ) เออ.. ก็ดี ดีไม่ให้ฉันนะ ให้วัด..ช่างมันเถอะ..

~ ความจริง ไม่มีโทษ เขาอนุญาตแล้ว นั่นต้องตั้งใจแล้วว่า อนุญาตให้กินได้ ไม่มีโทษ..

ผู้ถาม : อย่างงั้น กับอาหารที่ทางวัดจัดอะไรไว้แล้วก็..

หลวงพ่อฯ : กินได้ เขาให้แล้ว..

ผู้ถาม : ก็เป็นอันว่า ของที่เขาตั้งรับรองเลี้ยง ไม่มีปัญหา ไม่มีโทษ ไม่มีกรรม..

* แต่ก็น่าแปลกใจอยู่อย่างหนึ่ง คือว่า ถ้าเฉพาะ ที่ บ้านสายลม ลูกศิษย์หลวงพ่อนี่ ชอบทำบุญชำระหนี้สงฆ์ หมายถึงว่า.. หนี้ชาติก่อน หรือ ชาติใหม่ เจ้าคะ..

หลวงพ่อฯ : ชาติไหนก็ตาม มีหรือไม่ ชำระไปก่อนดีกว่า..

~ ถ้าบังเอิญ ไม่เป็นหนี้สงฆ์นะ เงินประเภทนั้น ก็เป็นสังฆทาน กับ วิหารทาน ถ้ามีหนี้ก็ชำระไป ถ้าไม่มีหนี้ ก็มีอานิสงส์ใหญ่..

( จากหนังสือ *ธัมมวิโมกข์* เล่มที่ ๔๐๘ หน้าที่ ๑๐๘ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )

ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพาน

" เมื่อตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้าอาราธนาพระและอธิษฐาน ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น "
" ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกคนเมื่อตื่นใหม่ๆ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน ถ้านึกไม่ไหวเอาพระที่คอนี่แหละ จะเป็น พระคำข้าว พระหางหมาก จะเป็นพระวัดไหนก็ตาม เขาทำเหมือนกันหมดแทนพระพุทธเจ้าเหมือนกันนะ อาราธนาท่าน 

อันดับแรก ตั้ง นะโม แสดงความเคารพด้วยความจริงใจ หลังจากนั้นอธิษฐานตามความชอบใจ ต้องการซื้อง่ายขายคล่องก็ได้ รับราชการก็ได้ตามใจชอบ อย่าลืมว่า นั่นคือ นึกถึง พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นบันใดขั้นแรกที่เราจะไปพระนิพพานและนอกจากนั้นเราตั้งใจคิดไว้ว่า ถ้าเราตายเมื่อไหร่ขอไปนิพพานเมื่อนั้น เอาแค่นี้นะถ้ากลุ่มอื่นตาย กำลังใจมันไม่ถึงนิพพานใช่ไหม อย่างเลวก็ไปค้างบนสวรรค์ชั้นดาวดึงเทวโลกอาจสูงกว่านั้นก็ได้นะ แล้วเวลาที่ตาย ใจมันไป ร่างกายมันอยู่ ใจที่อยากจะไปนิพพานนี่มันจะยังมีอารมณ์อยู่ ถ้าฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าเพียงจบแค่เดียว

...อย่างน้อย ก็เป็นพระ ไม่ใช่พระโสดาบันอย่างมัฏฐกุณฑลี เพราะของเราดีกว่า เรานึกถึงทุกวันใช่ไหม บุญทุกอย่างเราทำแล้วนี่ถือว่าเป็นที่พักขั้น แรกของเรา หรือว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน ถ้าหากว่านึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย นึกถึงพระที่คอด้วยขอลาภสักการะจากท่าน แล้วพร้อมกันนั้นเราคิดว่า 

'' ชีวิตนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ขึ้นชื่อว่าความทุกข์มาจากไหน มาจากการมีร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายอย่างนี้ เราก็ไม่มีทุกข์อย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าร่างกายเลวๆ อย่างนี้จะไม่ขอมีอีกต่อไป เมื่อตายจากนี้แล้วขอไปนิพพาน ''

" ถ้าคิดอย่างนี้ทุกวันมันมีการสะสมตัว ถ้าตายวันไหนวันนั้นจะเป็นพระอรหันต์ไปนิพพานทันที "

...นี่วิธีใช้ง่ายๆ แบบนี้ญาติหรือว่าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่านถ้าหากว่านึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย นึกถึงพระที่คอด้วยขอลาภสักการะจากท่านแล้ว พร้อมกันนั้นเราคิดว่า ชีวิตนี้มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ขึ้นชื่อว่าความทุกข์มาจากไหน มาจากการมีร่างกาย ถ้าเราไม่มีร่างกายอย่างนี้เราก็ไม่มีทุกข์อย่างนี้ "
.
.
📖จากหนังสือ ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๙ หน้า ๗๘
⚜หลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัด​จันทา​ราม​(ท่า​ซุง) จ.อุทัยธานี
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

🖊️พิมพ์โดย นภา​ อิน

๒๙ เมษายน ๒๕๖๕​ น้อมรำลึก ๑๑๘ ปี ชาตกาล พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่

๒๙ เมษายน ๒๕๖๕​ น้อมรำลึก ๑๑๘ ปี ชาตกาล พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปญฺโญ อาจาริยบูชาคุณ​ "พระมหา​โพธิสัตว์​ผู้​มี​บารมีใหญ่" หลวงปู่ดู่ ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ดู่ ท่านเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย สิ่งที่ท่านถือปฏิบัติสม่ำเสมอในเรื่องลาภสักการะ ก็คือการยกให้เป็นของ สงฆ์ส่วนรวม แม้ปัจจัยที่มีผู้ถวายให้กับท่านเป็นส่วนตัวสำหรับค่ารักษาพยาบาลท่านก็สมทบเข้าในกองทุนสำหรับจัดสรรไปในกิจสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล หลวงปู่ดู่ ท่านไม่มีอาการแห่งความเป็นผู้อยากเด่นอยากดังแม้แต่น้อย ดังนั้น แม้ท่านจะเป็นเพียงพระบ้านนอกรูปหนึ่งซึ่งไม่เคยออกจากวัดไปไหน ทั้งไม่มีการศึกษาระดับสูงๆ ใน ทางโลก แต่ในความรู้สึกของลูกศิษย์ทั้งหลาย ท่านเป็นดั่งพระเถระผู้ถึงพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย เบิกบาน และถึงพร้อมด้วยธรรมวุฒิที่รู้ถ้วนทั่วในวิชชาอันจะนำพา ให้พ้นเกิดพ้นแก่พ้นเจ็บพ้นตายถึงฝั่งอันเกษม เป็นที่ฝากเป็นฝากตายและฝากหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน

คําสอนหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ..กับท่านที่ปรารถนาพุทธภูมิ

ในสมัยหลวงปู่ดู่...ยังมีชีวิตอยู่นั้น ศิษย์จะได้ยินคำว่า "พระโพธิสัตว์" หรือคำว่า "พุทธภูมิ" ไม่บ่อยนัก หลวงปู่ดู่มักจะกล่าวถึง ก็เฉพาะกับ "หลวงปู่ทวด" คำว่า "พระโพธิสัตว์" หรือ "พุทธภูมิ" นั้น เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าใคร ๆ จะมาพยากรณ์กันเอง

คำว่า "พระโพธิสัตว์" มักจะหมายถึง...
พระโพธิสัตว์ที่ได้รับ "การพยากรณ์...จากพระพุทธเจ้าแล้ว"
จึงมีความแน่นอน ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พูดแล้วเป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง ต้องเป็นจริงตามนั้น

ดังนั้น หากใครบอกว่า "ลาพุทธภูมิ" นั่นย่อมหมายความว่า ยังไม่เคยได้รับ "พุทธพยากรณ์" จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จึงอาจไม่แตกต่างจากสัตวโลกทั้งหลาย ที่พากันปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ในวันที่พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากดาวดีงส์ พร้อมกับบันดาลให้สัตว์โลกทุกภพภูมิ ได้มองเห็นกันหมด ทำให้มนุษย์ รวมทั้งสัตว์ภพภูมิอื่น ๆ พากันตั้งความปรารถนาจะเป็น "พระพุทธเจ้า" กันมากมาย

คำว่า "พระโพธิสัตว์" หรือ "พุทธภูมิ" ที่พากันใช้เกล่อไปนั้น เป็นความล่อแหลมอยู่ไม่น้อย เพราะอาจเป็นช่องให้กิเลส ความหลง...มาครอบงำได้ง่าย ทำให้นักปฏิบัติธรรมหลายๆคน... " หยุดความเพียรในการเจริญกรรมฐาน " และเน้น " โปรดสัตว์ "
ตั้งแต่คราวที่ " โปรดตัวเอง...ยังไม่ได้เลย "

ข้อเสียที่เห็นชัดเจน ก็คือทำให้ไม่อุสาหะ พากเพียร ปฏิบัติขัดเกลากิเลส...ในภพชาติปัจจุบัน ด้วยคิดหวัง จะสร้างนั่น สร้างนี่ไปเรื่อย ๆ เพื่อปูทางไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ทั้งที่ได้ "ลาภอันประเสริฐ" ที่เกิดมาพบ "พระพุทธศาสนา"
ได้มีโอกาสพบ...ธรรมคำสอน พบครูบาอาจารย์ดี ๆ ...ก็มิได้ปฏิบัติให้เต็มที่

หากพ้นจากชาตินี้ไปแล้ว จะมีอะไรเป็นหลักประกัน อย่าว่าแต่จะมาพบ..."พระธรรมคำสอน" อีกเลย แม้เพียงการได้ "เกิด" เป็น "มนุษย์" อีก...ก็ยังยาก เเละไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่า... ชาติหน้า...เรายังจะมีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย

ดังมีตัวอย่างคือ ท่านพาหิยะ ที่แม้ชาติก่อน...จะตายในขณะบำเพ็ญเพียร แต่ชาติต่อมา...ก็ปรากฏว่า ไปเป็นนักบวชต่างศาสนา

หรือกรณีของ "หัวหน้าผู้นำบุญ" ซึ่งเป็นผู้ชักชวนคนเข้าวัดจำนวนมาก แต่พอเกิดเหตุร้ายในชีวิต เขาก็ละทิ้งศาสนาพุทธ...ไปหาศาสนาแห่งพระเจ้าไปก็มี นั่นเพราะ ยังมิได้มี "ศรัทธา และ ปัญญา"...ในระดับที่มั่นคงเพียงพอนั่นเอง

มีเรื่องทำนองนี้ คือ มีศิษย์ของหลวงปู่ดู่ นำเรื่องราวของ หลวงตามหาบัว มาเล่าถวายให้ท่านฟัง 
เรื่องมีอยู่ว่า หลวงตาสังเกตเห็นศิษย์คนหนึ่ง ไม่ค่อยขยันภาวนา
เมื่อหลวงตาถามว่า "ทำไม"

เขาก็ตอบท่านว่า
"เดี๋ยวก่อน เพราะเขาปรารถนาว่า...จะไปบรรลุธรรมในยุคพระศรีอาริย์"

หลวงตา เลยพูดสอนเสียงดังว่า
"ชาตินี้ยังไม่เอาไหน ชาติหน้าก็จะยิ่งไม่เอาไหน
แล้วคนไม่เอาไหน มีเหรอ จะคู่ควรไปเกิดในยุคพระศรีอาริย์
ถึงไปเกิด ก็เป็นคนไม่เอาไหน ไม่มีทางบรรลุธรรมได้หรอก"

หลวงปู่ดู่ฟังแล้ว ก็หัวเราะชอบใจ กล่าวรับรองว่า...เป็นจริงอย่างนั้น

ถามว่า ผู้เป็น "พุทธภูมิ" นั้น...มีอยู่หรือไม่
ก็ต้องตอบว่า... "มี" อย่างแน่นอน
แต่ผู้ที่เป็น "พุทธภูมิ" ก็ย่อมจะมี "ภูมิธรรม"... รู้อะไรควร มิควร

ในสมัยหลวงปู่ดู่ ก็มีศิษย์บางคนที่ค่อนข้างจะ "ขี้เกียจทำความเพียร"
แต่เที่ยวบอกใคร ๆ ว่า "ฉันนั้นเป็น...พุทธภูมิ"
ตั้งความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า...ในกาลข้างหน้าเหมือนกัน
แต่ภาพที่ปรากฏแก่คนทั่วไปคือ นักปฏิบัติขี้ยา
คือ ทั้งดื่มสุรา สูบบุหรี่ แถมยังชอบหมกมุ่นกับเรื่อง "อดีตชาติ"
ที่สำคัญคือ เป็นคน "ทิฏฐิแรง" ไม่ค่อยฟังใคร

เวลาไปนั่งสมาธิที่ไหน แทนที่จะ.. "พิจารณาธรรม"
กลับจะคอยตามเช็คกันว่า เห็น "นิมิต" เหมือนกันไหม
ทั้ง ๆ ที่ครูอาจารย์ก็พร่ำสอนว่า...นิมิตย่อมจะไม่เหมือนกัน
เพราะ "สภาพจิต" ของนักปฏิบัติต่างกัน
และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ เพราะไม่ใช่ทาง

การปฏิบัติ และ พิจารณา...ให้คลายความโง่ ความหลง ต่างหาก
คือ "เป้าหมาย"...ของการปฏิบัติ

ในขณะที่ "ศิษย์ใกล้ตัว" ของหลวงปู่ดู่บางคน...ตั้งอยู่ในความประมาท
มองเห็นว่า สวรรค์สมบัติ หรือ นิพพานสมบัตินั้น...เป็นเหมือนของที่อยู่แค่เอื้อม
หลวงปู่กลับบอกว่า...คนใกล้ตัวเหล่านั้น อยู่ไม่ไกลจาก "ขอบนรก" เลย

ดังที่ท่านกล่าวว่า "ถ้าข้าตายแล้ว ข้าต้องลงนรก...ลงนรกเพื่อไปเอาพวกแกขึ้นมา"

ที่เล่ามานี้ ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ ให้ไม่ประมาท และไม่ต้องเสียเวลา วิตก วิจารณ์ ไปกับเรื่องที่ว่า...เราจะเป็น "สาวกภูมิ" หรือ "พุทธภูมิ"
เพราะ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก มันใกล้ตัวเข้ามา เกินกว่าจะเสียเวลาคิดเรื่องเหล่านี้แล้ว

หลวงปู่ดู่...ท่านให้ทุกคนตั้งเป้าอย่างเดียวกันคือ "หนึ่งในสี่"
อันเป็น "ภาวะที่เที่ยงแท้" ว่า ... จะไม่ลงนรกอีก
ที่หลวงปู่ดู่ ท่านสอนให้นักปฏิบัติ
มีความอุตสาหะที่จะให้ได้ "มรรคผล ขั้นต้น" ในภพชาติปัจจุบัน
เพื่อที่จะมีความเที่ยงแท้...ต่อการเข้าถึงฝั่งแห่ง "พระนิพพาน" อย่างไม่เนิ่นช้า

หมายเหตุ
หนึ่งในสี่ หมายถีง พระโสดาบัน
(ผู้ตกกระเเสพระนิพพาน เเละ จะได้บรรลุพระอรหันต์อย่างเเน่นอน)
๑. พระโสดาบัน
๒. พระสกิทาคามี
๓. พระอนาคามี
๔. พระอรหันต์

เรียบเรียงจากคุณ สิทธิ์ ข้อมูลจาก
ข้อเตือนใจ..."ผู้ปราถนาพุทธภูมิ" - เว็บบอร์ด

กราบขอบพระคุณในความรู้ บทความธรรมะดี​ ๆ ครับ

_/\_ _/\_ _/\_

เรื่องการปล่อยสัตว์นี่ก็แปลก

#เรื่องการปล่อยสัตว์นี่ก็แปลก เมื่อปี ๐๘ ฉันเป็นโรคอย่างหนึ่ง มันเมื่อยปวดทั้งตัว คือมันเกินเมื่อย ให้หมอฉีดยาก็แล้ว หมอให้ยากินก็แล้ว มันก็ไม่ได้ผล ก็เลยมากรุงเทพฯ แล้วเลยไปบางปู ก็เจอคนขายปู ๓ หลัว ก็นึกในใจว่าไอ้ปูนี่กว่ามันจะตายก็ถูกมัดอยู่นาน มันก็เมื่อยเหมือนกับเราเหมือนกัน ปลาก็เคยปล่อยมาแล้ว แต่ปูนี่ยังไม่ได้ปล่อย ไอ้ปูมันถูกมัดเป็นวันๆนี่มันเมื่อยเหมือนกัน..ใช่ไหม มันทรมานมาก ส่วนปลาเขาขังอยู่ในบริเวณแคบ แต่มันก็ยังมีน้ำให้ว่ายใช่ไหม 

ก็เลยนึกถึงตัวเอง ไอ้บาปเก่าๆ เราคงจะไปมัดเขาไว้อย่างนี้เหมือนกัน ปล่อยมันเถอะ ให้มันเป็นสุขก็เลยเหมาหมด เหมาแล้วก็ช่วยกันปล่อย แต่ฉันไม่มีเจตนาต้องการให้หายปวดตัวนะ ไม่ใช่ 

มาอีกคราวฉันก็ไปอีก ก็เหมามาอีก พอถึงสามคราว ให้อาการปวดตัวมันหายเลย หายจริงๆ รักษามาเกือบตายไม่หาย นี่ก็แปลกอีกเหมือนกันนะ

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
ที่มา : จากหนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติเล่ม ๑๐ หน้า ๗

ชีวิตเรามีเวลาจำกัด อย่าเสียเวลาเกลียดใคร โกรธใคร

ชีวิตเรามีเวลาจำกัด อย่าเสียเวลาเกลียดใคร โกรธใคร 
อย่าเสียเวลาไปกับความเศร้าไปกับสิ่งที่ไม่มีสาระประโยชน์แท้จริงแก่ชีวิตของเรา 
พระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ว่าให้นึกถึงความตาย 
เพราะว่าชีวิตนี้มีเวลาจำกัด เช่นเรารู้ว่าอีก 20 นาที
เราต้องตาย เราจะทิ้งทุกอย่างที่ไม่สำคัญไปเลย
เราจะรีบกลับบ้านไปกอดลูกไปกอดพ่อกอดแม่ 
ไปหาคนที่เรารัก ไปสวดมนต์ ไปนั่งสมาธิ 
เพื่อทำจิตใจให้สงบ ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าไปกับสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลให้แก่ดวงจิตของเราหลังความตาย

เมื่อเรานึกถึงความจำกัด เราจะเริ่มทำสิ่งที่เป็นสาระ
และ ทิ้งสิ่งที่ไร้สาระ เราจะไม่ทำมันไปทุกเรื่อง 
เพราะเราคิดว่าไม่ตาย คิดว่ายังหนุ่มสาวอยู่
คิดว่าต้องแก่ก่อนถึงจะตาย คิดว่าต้องป่วยก่อนถึงจะตาย เราหลอกตัวเองว่าเราไม่ตาย
แต่ความจริงแล้วทุกคนต้องตกกระป๋อง 
ทุกคนต้องตาย เด็กก็ตาย หนุ่มสาวก็ตาย 
เราออกจากบ้านไปเราจะแน่ใจได้อย่างไร
ว่าเราจะได้กลับมาที่บ้านอีก 
คนที่ต้องจากโลกนี้ไปก่อน ก็เป็นตัวอย่าง
ให้เราได้เห็นทุกวัน ถ้าเรามีสตินึกถึงความตาย
เราจะไม่ประมาท เราจะทำสิ่งที่เป็นสาระ 
ประโยชน์ให้กับตนเอง และ ผู้อื่น 

ถ้าเรารู้ว่าทุกอย่างมันไม่แน่นอน มันจบได้เสมอ
เราจะเริ่มขัดเกลา สิ่งที่ไร้สาระในชีวิต 
เราจะพบว่า เมื่อเราอยู่กับชีวิตแบบนี้บ่อยๆ
เราจะไม่มีเวลาแม้กระทั่งโกรธคนที่เป็นศัตรูเรา 
เพราะมันไร้ค่า มันไม่มีค่าอะไรเลย 
ใครว่าเราว่าก็ว่า กรรมใครกรรมมัน 
วันนึงเค้าก็เข้าใจ มันเสียเวลาที่เราจะต้อง
ทำสิ่งที่มีค่าในชีวิตอีกมาก มีลูก มีภรรยา 
มีคนด้อยโอกาส มีสิ่งที่เรามีความสุขได้
ตั้งหลายอย่าง เราจะทำสิ่งที่มีค่าแท้จริง 
ไม่หลงไปกับสิ่งที่เป็นมายา สิ่งที่ไม่เป็นสาระ

พระพุทธเจ้าบอกว่ามนุษย์เปรียบเสมือนบัว 3 เหล่า
มีบัวจมโคลน มีบัวปริ่มน้ำ บัวเหนือน้ำ 
แต่ที่สำคัญคือมันมีน้ำ ถ้าน้ำเน่าบัวชนิดไหน
ก็ตายหมด เราไม่ได้มีหน้าที่หงุดหงิดกับบัว 
หน้าที่ของเราคือ ต้องดูแลน้ำ ดูแลใจของเรา
ให้สงบ เย็น ผ่องใสอยู่เสมอ 

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสถามพระอานนท์ว่า 
อานนท์ เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง 
พระอานนท์ตอบว่า วันละ 7 ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ยังห่างมากอานนท์ 
เราตถาคต ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจ 
เข้า ทุกลมหายใจออก นี่ขนาดพระพุทธเจ้า
ท่านยังให้ความสำคัญกับการระลึกนึกถึงความตาย
ถึงเพียงนี้ พวกเราชาวพุทธก็ควรที่จะเจริญรอยตาม 

ธรรมะโดย เพจ อมตะธรรม ประเทศไทย 
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

สติปัฏฐาน ๔


ลมหายใจเป็น "กาย" 

สบายไม่สบายเป็น "เวทนา" 

ความบริสุทธิ์ผ่องใสเป็น "จิต"

ความตั้งเที่ยงของจิตเป็น "ธรรม"

-------------------------------

“ภาวนา” ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระธุดงค์ หรือเป็นของพระของเณร เป็นคนโง่คนฉลาดหรือคนมีคนจน แต่เป็นของซึ่งทุกคน ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัยทำได้ คนเจ็บคนไข้นั่งนอนอยู่กับบ้านก็ทำได้ และทำได้ไม่เลือกกาลเลือกเวลา

เราเสียสละเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับความดีอันนี้ คือ เสียสละเวลา สละการนอน สละความเจ็บปวดเมื่อย ต้องใช้ความอดทนพยายาม สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฎิบัติบูชา” 

ตั้งใจอุทิศตัวของเราให้เป็นกุฎิ แล้วก็นิมนต์พระพุทธเจ้า เสด็จเดินจงกรมเข้าไปในช่องจมูก ด้วยลมหายใจเข้า “พุท” ออก “โธ” 

ทำดังนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องมาอยู่กับตัวเรา ช่วยคุ้มครองรักษาเรา เราก็จะมีแต่ความสุขร่มเย็น และเบิกบานแจ่มใส

-------------------------------

“พุทโธ” เป็น คำภาวนา 

การมีสติรู้ลมหายใจเข้าออก เป็นองค์ภาวนา เป็นตัว “พุทธะ” 

เมื่อจิตอยู่ ทิ้งคำภาวนาได้ คำภาวนาเหมือนเหยื่อหรือเครื่องล่อ เช่นเราอยากให้ไก่เข้ามาหาเรา เราก็หว่านเมล็ดข้าวลงไป เมื่อไก่วิ่งเข้ามาหาแล้ว เราก็ไม่ต้องหว่านอีกฉันใดก็ฉันนั้น

-------------------------------

ท่านพ่อลี ธัมมธโร
ที่มา เรื่องของลม

ดาวน์โหลด PDF >> https://app.box.com/s/4gugixbfnubi07ejdykfswhm8rqldhhc

-------------------------------

หลักวิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ ของท่านพ่อลี ธมฺมธโร

.. หลักในการปฏิบัติ ก็มีดังนี้ คือ

๑. กำจัดอารมณ์ที่ชั่วออกจากจิตให้หมด

๒. ทำจิตให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี

๓. อารมณ์ที่ดีต่างๆ ให้ต้อนเข้าไปรวมอยู่ในจุดอันเดียวที่เรียกว่า เอกัคคตารมณ์

๔. พิจารณาอารมณ์หนึ่งนั้นให้เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์บุคคล ว่างเปล่า

๕. วางอารมณ์ที่ดีและอารมณ์ชั่วไปตามสภาพของอารมณ์ เพราะดีและชั่วย่อมอยู่ด้วยกัน มีสภาพเสมอกัน วางจิตไว้ตามสภาพของจิต รู้ไว้ตามสภาพแห่งรู้ รู้นั้น ไม่รู้จักเกิด ไม่รู้จักดับ นั้นแล คือ สันติธรรม

ดีก็รู้ ดีไม่ใช่รู้ รู้ไม่ใช่ดี ชั่วก็รู้ รู้ไม่ใช่ชั่ว ชั่วไม่ใช่รู้ คือ รู้ไม่ติดความรู้ รู้ไม่ติดสิ่งที่รู้ นั่นแหละคือธรรมชาติธาตุแท้อันบริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนน้ำที่อยู่ในใบบัว ฉะนั้นจึงเรียกว่า อสังขตธาตุ เป็นธาตุแท้

เมื่อใครทำได้เช่นนี้ ก็จะเห็นของดีวิเศษเกิดขึ้นในใจแห่งตน จะเป็นกุศลวาสนาบารมีของท่านผู้ปฏิบัติในทางสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จะได้ผล ๒ ประการดังกล่าวมา คือ โลกิยผลที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์อนามัยของร่างกายแห่งท่านและคนอื่นๆทั่วไปในสากลโลกนี้ประการหนึ่ง ประการที่ ๒ จะได้โลกุตรผลอันเป็นประโยชน์อนามัยในด้านจิตใจของท่านมีความสุขความเยือกเย็นและความราบรื่นชื่นบาน ก็จะถึงพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย..

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
ที่มา วิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

-------------------------------

ศึกษาต่อ...
ที่มา วิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบที่ ๑
http://www.yajai.com/index.php/dhamma-master/tp-lee/143-anapansati-1a
................................................................
ลิงค์ วิธีฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ แบบที่ ๒
http://www.yajai.com/index.php/dhamma-master/tp-lee/142-anapansati-2a

พระอนาคามี


  อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่ครองเรือน แต่อยู่บ้านได้ หมายความว่า อยู่เฉยๆ อยู่อย่างพระ อารมณ์ของพระอนาคามี และพระอรหันต์ ตัดความพอใจในการเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดเป็นเทวดา และการเกิดเป็นพรหมเสีย เอาจิตมุ่งปรารถนาอย่างเดียวคือพระนิพพาน นี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์นะ เป็นการตัดอวิชชา 

อวิชชา เขาแยกเป็น ๒ จุด คือฉันทะกับราคะ
#ฉันทะ มีความพอใจในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก 
#ราคะ เห็นว่ามนุษยโลก เทวโลก พรหมโลกเป็นของดีน่าอยู่

อวิชชา ท่านแปลว่า ไม่รู้ แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)ท่านแปลว่า "รู้ไม่ครบ" ท่านบอกว่า คนที่เกิดมาในโลกไม่รู้อะไรเลยไม่มี ถ้าตัดอวิชชาได้ตัวเดียวไม่ต้องไปตัดอื่น ตัดอวิชชาตัวเดียวได้ก็เป็นพระอรหันต์ ไหวไหม?
 
   พระอนาคามีเป็นผู้ทรงอธิจิต การปฏิบัติจิตนี่อย่ารุกรานทางกายทางใจ เรียกว่าเป็น "อัตตกิลมถานุโยค" เป็นการทรมานตัว การจะได้ฌานสมาบัติ หรือการจะบรรลุมรรคผลในอาการ ๔ คือ นั่ง นอน ยืน เดิน ทั้ง ๔ อย่างนี้มีผลเสมอกัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนั่งจะนั่งท่าไหนก็ได้

   ถ้าภาวนา หรือ พิจารณาอยู่ก็ตาม ถ้าอารมณ์ มันซ่านคุมไม่อยู่ก็เลิกเสีย เวลาอื่นยังมีอยู่ไม่ใช่มีเวลานี้เวลาเดียว ต้องใช้วิธียืดหยุ่น

   อารมณ์พระอนาคามี เริ่มต้นให้สังเกตศีล พอจิตเข้าเขตของพระอนาคามีมรรค ตอนนี้จิตจะเริ่มพอใจในศีล ๘ และสามารถจะทรงได้ด้วยความเต็มใจ พอเริ่มเข้าเขต ดีไม่ดีก็ถอยหลังกลับได้นะ ถ้าไม่ถอยต้องถึงอนาคามีผล อันนี้เป็นเครื่องสังเกตจุดหนึ่ง

   แล้วจุดที่ ๒ องค์ของพระอนาคามีผล ก็คือหมดความรู้สึกในเพศ หมดความรู้สึกในโกรธ แต่อาการของโกรธยังมีอยู่ บางทีเขาไม่โกรธเราคิดว่าเขาโกรธ อย่างเช่น การดุด่าสั่งสอนผู้ใต้บังคับบัญชา

   เราจับจุดของพระอนาคามี เราจับจุดไหนก่อนเป็นเรื่องตามใจ ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ ดูกำลังใจในการปฏิบัติ อย่างไหนเบาสำหรับเรา #กามฉันทะ หรือ #โทสะ ถ้าจุดไหนเบาตัดจุดนั้นก่อน

  วิธีจะตัดกามฉันทะก็ค่อยๆคิดค่อยพิจารณา อารมณ์ฌานที่ทรงตัวนี่บางครั้งทำให้บุคคลคิดว่าเป็นพระอรหันต์ คือ ฌานถ้ามีอารมณ์แน่นมันก็หมดความรู้สึกในความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง แต่กิเลสมันไม่ได้หมดไป แต่อารมณ์ฌานกดกิเลสไว้

   การพิจารณาอารมณ์ของตัวเองก็ใช้แบบนี้ ขณะใดที่เรามีอารมณ์ทรงฌานก็เป็นกำลังของฌาน เวลาที่ทำสมาธิอารมณ์มันหนักแน่นมาก อย่างนี้ถือว่าเป็นอารมณ์ของฌานโลกีย์ 

   พอจิตจับวิปัสสนาญาณ ฌานมันยังคงอยู่ พอวิปัสสนาญาณเข้าถึงใจอารมณ์ประเภทนั้นมันก็คลายตัวลง อารมณ์ใจมีความรู้สึกเบา บางท่านคิดว่าฌานของเราเสื่อมแล้ว แต่ความจริงไม่เสื่อม เพราะ วิปัสสนาญาณนี้เป็นตัวตัดกิเลส เมื่อเข้าถึงใจก็ตัดกิเลสให้มันเล็กลงๆ บางท่านมีกำลังน้อยลงและมีความรู้สึกว่า กำลังตกลงและมีความสบายยิ่งกว่าฌานโลกีย์

   ☆..#วิธีตัดกามฉันทะ 
สร้างความรู้สึกว่า คนก็ดี สัตว์ก็ดี วัตถุธาตุในโลกทั้งหมดก็ดี ไม่มีอะไรสะอาด ร่างกายคนก็เต็มไปด้วยความสกปรก วัตถุธาตุร่างกายของสัตว์ ก็สกปรก แล้วก็มันมีทางเสื่อมไปตามลำดับ แก่ลงไปทุกวัน ขณะยังไม่ตายก็มีอาการป่วยไข้ไม่สบายมาเบียดเบียนอยู่เสมอในที่สุดมันก็ตาย อาศัยอะไรจริงๆไม่ได้เลย

  นั่งคิดต่อไปว่า ตั้งแต่เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี เรามุ่งมั่นเป็นพระอรหันต์ เรามุ่งมั่นในพระนิพพาน เราไม่ปรารถนาในเทวโลกพรหมโลก 

   เราก็มานั่งดูเทวดากับพรหม ท่านไปเกิดวันแรกก็เป็นหนุ่มเป็นสาว อายุกี่กัปก็มีสภาพกายอย่างนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายเทวดากับพรหมไม่มีอะไรสกปรก แต่ว่าเรายังไม่นิยม เราไม่ต้องการ เราต้องการพระนิพพาน ก็ค่อยๆคิดไปนะ

   เราต้องเหนื่อย ต้องยากหาที่สุดมิได้ ขณะทรงชีวิตอยู่เพราะร่างกายนี้เป็นสำคัญ เราต้องลำบากเพราะร่างกาย เรานั่งพิจารณาแบบเบาๆ

   ใคร่ครวญกายเราและก็เทียบร่างกายของคนอื่น ในเมื่อเราไม่คบกายเราได้ใจเราก็ไม่คบกายของบุคคลอื่นเป็นการตัดกามราคะ

   ตัดสินใจไว้เสมอว่า มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ ถ้าได้มโนมยิทธิ จิตจับพระนิพพานจุดเดียวตายแล้วไปอยู่ที่นั่น

#หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
หนังสือพ่อสอนลูก หน้า ๒๘๓-๒๘๕
#เพจคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
พิมพ์เพื่อธรรมทานโดย..
🖋..Moddam Thammawong

#จิตคือพุทธะ

♦️♦️♦️ ♦️♦️♦️
"... ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมสายพระกรรมฐาน ทั้งพระภิกษุและ
ฆราวาสให้การยอมรับว่า หลวงปู่ดูลย์ อตุโล นับเป็นองค์เดียว
ที่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็น  "#บิดาแห่งการภาวนาจิต" 

... ประจักษ์พยานแห่งสมญานามดังกล่าว จะเห็นได้จาก
คำเทศน์ คำสอน และความสนใจของหลวงปู่ อยู่ในเรื่อง
"จิต" เพียงอย่างเดียว เรื่องอื่นนอกจากนั้นหาได้อยู่ในความสนใจของหลวงปู่ไม่... "

"... ด้วยความลึกซึ้งในเรื่องจิตจึงทำให้หลวงปู่
ประกาศหลักธรรมโดยใช้คำว่า ...
"จิต คือ พุทธะ" โดยเน้นสาระเหล่านี้ เช่น..!! 
"พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น 
ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง 
นอกจากจิตหนึ่งนี้แล้ว ไม่มีอะไรตั้งอยู่เลย"
"จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่
มิได้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย"

"จิตหนึ่งเท่านั้นที่เป็นพระพุทธะ ดังคำตรัส
ที่ว่า ...

#ผู้ใดเห็นจิต_ผู้นั้นเห็นเรา
#ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท_ผู้นั้นเห็นธรรม
#ผู้ใดเห็นธรรม_ผู้นั้นเห็นตถาคต"

... พระธรรมเทศนาของหลวงปู่ในหัวข้อเรื่อง
"จิต คือ พุทธะ" โดยละเอียดได้นำเสนอใน
ภาคคำสอน ในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้แล้ว 
พร้อมทั้งคำแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย... 

ในการสอนของหลวงปู่ ท่านจะเตือนสติ
สานุศิษย์เสมอๆ ว่า...

"อย่าส่งจิตออกนอก"

... หลวงปู่ยังสอนแนวทางปฏิบัติ อีกว่า
"จงทำญาณให้เห็นจิต เมื่อเห็นจิตได้ ก็จะ
สามารถแยกรูป ถอดด้วยวิชชามรรคจิต เพื่อ
ที่จะแยกรูปกับกายให้อยู่คนละส่วน แล้วจะเข้าใจพฤติของจิตได้ในลำดับต่อไป"

คำสอนเกี่ยวกับเรื่องจิตของหลวงปู่ 
ที่มีการบันทึกไว้ในที่อื่นๆ อีก ก็มีเช่น...

... "หลักธรรมที่แท้จริง คือ จิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละ คือ หลักธรรมสูงสุดในจิตใจเรานอกจากนั้นแล้ว ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
จิตนี้แหละ คือ หลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่จิต ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสีย
ให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดทอนไปแล้ว พิษของจิตก็ได้ถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น จิตในจิตก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ ซึ่งมีอยู่ประจำแล้วทุกคน... "

#ด้วยเหตุนี้ การสอนของหลวงปู่ จึงไม่เน้นที่
การพูด การคิดหรือการเทศนาสั่งสอน แต่ท่านจะเน้นที่ การภาวนา และให้ดูลงที่จิตใจ ของตนเอง อย่าไปดูสิ่งอื่น เช่น...
#อย่าไปสนใจดูสวรรค์_ดูนรกหรือสิ่งอื่นใด  
#แต่ให้ดูที่จิตของตนเองให้ดูไปภายในตนเอง

#อย่าส่งจิตออกนอก
"จึงเป็นคำที่หลวงปู่เตือนลูกศิษย์อยู่เสมอ ..." 

    🙏🙏🙏#หลวงปู่ดูลย์_อตุโล🙏🙏🙏
   ⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️⚜️

28 เมษายน 2565

เรื่อง.* อดีตชาติ ๑๓ ชาติ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ *


* ท่านลงมาเกิด เพื่อรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และเพื่อช่วยเหลือคนไทย และเพื่อให้พระพุทธศาสนามีอายุครบ ๕,๐๐๐. ปี

.. ที่เกิดตั้งแต่ สมัยโยนกนคร จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์..

* วาระที่ ๑

~ เกิดเป็นพระเจ้ามังราย ที่ ๒ แห่งโยนกนคร เป็นลูกชายพระเจ้าอชุตราช 

~ ในชาตินั้น ท่านเป็นผู้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่ดอยตุง โดยการนำมาของ พระมหากัสสปะ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ 

* วาระที่ ๒ 

~ เกิดสมัยโยนก เป็นเณรน้อยอายุ ๗ ปี  ทรงฌานสมาบัติ แต่ได้ถูกขอมดำกระทำย่ำยี เวลานั้นขอมดำมายึดเมืองโยนกนครได้แล้ว 
  
~ แล้วทำการกดขี่ข่มเหงรังแกคนไทย  เณรจึงเข้าฌานสมาบัติ ตั้งจิตอธิษฐานว่า.. เกิดคราวหน้า ขอให้ได้เกิดมาเป็นคนไทย และได้ช่วยคนไทยทุกแง่ทุกมุม

~ มิใช่เฉพาะการรบ การเศรษฐกิจ การปกครอง แม้แต่การรบทุกอย่างให้ครบถ้วน ให้คนไทยพ้นจากความเป็นทาส

~ พอตั้งจิตอธิษฐาน ก็ไม่ถอนจากฌานสมาบัติ ก็นั่งทรงฌานอย่างนั้นจนตาย แล้วไปเกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๑๑

* การเกิดครั้งที่ ๓ 

~ หลังจากตายจากเณรน้อย ไปเป็นพรหมชั้นที่ ๑๑ ได้เพียง ๑ ปีเศษ ก็ลงมาเกิดเป็น "พระเจ้าพรหม มหาราช" 
   
~ เป็นโอรสของ พระเจ้าพังคราช รัชกาลที่ ๓๗ ในสมัยโยนกนคร  มีพี่ชายชื่อ ทุกภิขะ  ( บริเวณพระธาตุจอมกิตติ ดอยตุง เป็นเขตเมืองโยนกนคร )
   
~ เกิดพร้อมสหชาติ ที่เป็นพรหม เทวดา ลงมาเกิดพร้อมกัน ๒๕๐ คน  ทั้ง ๒๕๐ คน  เกิดเป็นผู้ชายทั้งหมด 
   
~ ซึ่ง พรหมองค์หนึ่ง  เกิดเป็นช้างประกายแก้ว  ช้างคู่บารมีพระเจ้าพรหม  ลงมาเกิดเพื่อกู้ชาติให้พ้นความเป็นทาส จากขอมดำ  และทำสำเร็จด้วย 

( ทุกวันนี้ ในวันอาสาฬหบูชา ที่วัดท่าซุง  ก็มีงาน การแห่ชัยชนะพระเจ้าพรหมทุก ๆ ปี )

* การเกิดในวาระที่ ๔ 

~ หลังจากที่ ตายจากการเป็นพระเจ้าพรหม สมัยโยนกนคร แล้วเข้าฌาณตาย  กลับไปเป็นพรหม  เวลาผ่านไปอีก ๘๐๐ ปี ลงมาเกิดเป็น  พระร่วงโรจนฤทธิ์ 
   
~ ตอนเด็ก มีนามว่า "อรุณกุมาร" เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก  มีวิชาอาคม  มีวาจาสิทธิ์ สามารถเสกขอมให้เป็นหินได้ และขยายอาณาเขตของประเทศไทย ให้กว้างใหญ่ไพศาล ( ตอนนั้นยังไม่เรียก ประเทศไทย )  
   
~ ยึด มอญ พม่า ขอม ไว้ได้หมด  จนอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล  เวลานั้นคือ ก่อนเมืองสุโขทัย ๗๐๐ ปีเศษ ( ก่อนหน้าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ )  เมื่อตายจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ ก็เข้าฌานตาย กลับไปเป็นพรหม เช่นเดิม 

* วาระที่ ๕ 

~ ลงมาเกิดเป็น "พ่อขุนศรีเมืองมาน" ( เป็นพ่อของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งอาณาจักรสุโขทัย )  มีสหชาติเกิดมาด้วยคือ  พ่อขุนน้าวนําถม
   
~ ลงมาช่วยกู้ชาติไทยจากขอมดำ ขยายอาณาเขตประเทศไทย  ไปถึงสิงคโปร์  มีคู่ชีวิต ชื่อ  พรรณวดีศรีโสภาค  เป็นเมียเอก และมีเมียราษฏร์อีก ๒๙ คน  พอเมียเอกตาย  ก็บวชไม่สึกอีกเลย  เข้าฌานตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

* วาระที่ ๖

~ ลงมาเกิดใน ราชวงศ์อู่ทอง เป็น "ขุนหลวงพระงั่ว"  รัชกาลที่ ๓  แห่งกรุงศรีอยุธยา 

~ ซึ่งคนไทยเกิดแบ่งเป็น ๒ พวก จึงต้องลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็นหนึ่งเดียว  มาปลุกจิตสำนึกคนไทย ให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ  จึงนิมนต์พระสงฆ์มาร่างหนังสือ  "ไตรภูมิพระร่วง" 

( "ไตรภูมิพระร่วง" แต่ พระร่วงไม่ได้ทำ  ท่านเป็นเพียงแต่ศาสนูปถัมภ์ )
  
~ "ไตรภูมิพระร่วง" เป็นการร่วมมือกันระหว่าง สุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา  และยังได้ร่วมกันสร้าง  พระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์  และพระศรีศากยมุนี  ขึ้นมาเป็นมิ่งขวัญของเมืองไทย

~ เป็นการแสดงสัญลักษณ์ ว่าประเทศไทยจะทรงตัวได้ด้วยเหตุ ๓ อย่าง ด้วยกัน.. คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
   
.. พระศากยมุนี หมายถึง ชาติ   
   
.. พระพุทธชินสีห์ หมายถึง พระศาสนา
   
.. พระพุทธชินราช หมายถึง พระมหากษัตริย์
   
~ การสร้างครั้งนี้  ก็เป็นหน้าที่ของ  ท้าวโกสีย์สักกะเทวราช ให้ พระวิษณุกรรมมาช่วย 

~ และ ขุนหลวงพระงั่ว ได้มารวม สุโขทัย กับ อยุธยา เป็นประเทศเดียวกัน

* เกิดวาระที่ ๗ 

~ เกิดเป็นลูกชายของมหาเศรษฐี  ได้ชื่อว่า  "อำไพ" ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงศรีอยุธยา  มีแม่ชื่อ "ปิ่นทอง" พ่อชื่อ "กองแก้ว"  
   
~ ลงมาช่วยคน ให้เงินให้ทอง ให้ที่ทำกิน  ช่วยการเกษตร ช่วยทุกสิ่งทุกอย่าง ให้การศึกษา  จนคนไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนา  ประชาชนมีความสุข และท่านก็ตาย ไปเกิดเป็นพรหม ตามเดิม

* วาระที่ ๘

~ เกิดมาในตระกูลของ  แม่ทัพสมเด็จพระพันวสา  คือลูกชายของ สมเด็จพระอินทราธิราช  "ขุนไกร" 
   
~ เป็นอันว่า.. ชาตินี้  "ขุนแผน"  ต้องรวบรวมไทย  อาศัยที่มีวิชาการมาก  เป็นนักรบเก่ง  ล่องหนหายตัวได้ สะเดาะกลอนได้  ทำหุ่นพยนต์ได้ ทำอะไรได้แปลก ๆ
  
~ การยกทัพไป ก็ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก  ก็สามารถจะสู้ข้าศึกได้

* วาระที่ ๙ 

~ เกิดมาเป็นลูกกษัตริย์  มีนามพระว่า "พระบรมไตรโลกนาถ"  เมื่อพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต  ก็ไปเป็นพรหมตามเดิม  ไม่ช้าไม่นานก็ต้องเสด็จลงมาเกิดอีก

* วาระที่ ๑๐

~ เกิดสมัย พระนารายณ์มหาราช  ท่านลงมาเกิดเป็น  "ขุนเหล็ก"  หรือ "พระยาโกษาเหล็ก"  เกิดควบคู่กับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพื่อนเล่นกัน 
   
~ "ขุนเหล็ก" มีน้องชาย ชื่อว่า "ขุนปาน" หรือ "พระยาโกษาปา"  ทั้งสอง เป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จพระนารายณ์มาก 
    
~ บั้นปลายชีวิต ลากิจราชการ ไปจำศีลเจริญภาวนาวิปัสสนาญาณ ให้ทาน  เมื่อตายจาก เจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็เข้าฌาน กลับไปเป็นพรหมตามเดิม
   
( ท่านไม่ได้ตายตามประวัติศาสตร์เขียนไว้หรอกนะ )

* วาระที่ ๑๑

~ ลงมาเกิดมาเป็น "พระยาศรีสิทธิสงคราม"  ขุนดาบคู่ใจ ของพระเจ้าตากสินมหาราช   อยู่ในกองทัพหลวงประจำองค์พระเจ้าตากสินมหาราช สมัยกรุงธนบุรี

~ ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตก มาเป็น "กำนันจัน"  ชื่อว่า "จันหนวดเขี้ยว"  เป็นที่รักของประชาชน

~ ต่อมา ค่ายบางระจันแตก  "นายจันหนวดเขี้ยว"  ไม่ได้ตายไปตามประวัติศาสตร์ที่เขียน 
   
~ "นายจันหนวดเขี้ยว" จึงมารวมกำลัง กับ พระเจ้าตากสินมหาราช กู้ชาติ 

~ ต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเปลี่ยนชื่อให้  จาก "กำนันจัน"  มาเป็นพระยาศรีสิทธิสงคราม  ประจำกองทัพหลวง
   
( นายจันหนวดเขี้ยว พระยาศรีสิทธิสงคราม เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็คือบุคคลคนเดียวกัน เพียงแต่ว่า หน้าที่การงาน และตำแหน่งนั้น ต่างวาระกัน )

* วาระที่ ๑๒ มาเกิดเป็น รัชกาลที่... แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์  สร้างคุณประโยชน์ใหญ่ ไว้มากมายต่อแผ่นดิน ( เป็นท่านใด คิดเอาเองไม่บอก )

* วาระที่ ๑๓

~ ชาติสุดท้าย  เกิดมาเป็นหลวงพ่อพระราชพรหมยานฯ วัดท่าซุง ไปนิพพานเรียบร้อยแล้ว
 
( อันนี้ เฉพาะสมัยโยนกนคร ถึง กรุงรัตนโกสินทร์  ซึ่งในสมัยพุทธกาล ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ท่านก็เกิดเป็น "พระเจ้าปเสนทิโกศล" มีพระมเหสี ชื่อ พระนางมัลลิกาเทวี )

( หาอ่านเพิ่มได้จาก *หนังสือเรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ*  โดย พระราชพรหมยานฯ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )

( หนังสือ *เรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ*  หาอ่านได้จากที่นี่..
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=39139 )

( ที่มา.. เพจ "กลุ่มพุทธภูมิ" )

25 เมษายน 2565

คำสอนหลวงพ่อเรื่อง "จงอย่าทิ้งบุญ"

..=>คำสอนหลวงพ่อเรื่อง "จงอย่าทิ้งบุญ"<=..
     .. ถ้าเราคิดว่าจะไปนิพพาน คิดว่า ขอบุญทั้งหลายนี้ ขอจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าเข้าถึงนิพพาน ก็จะไปได้ทันทีเหมือนกัน ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า วันนี้เป็นเทศน์ขององค์ปัจจุบัน เมื่อวานนี้เป็นเทศน์ขององค์ปฐม 
 
     องค์ปฐม บอกว่า การคิดอย่างนี้ก่อนหลับคิดหน่อยหนึ่ง และตื่นใหม่ๆ ก่อนจะเดินไปทำงานคิดหน่อยหนึ่ง "คิดทุกวัน มันตัดทุกวัน" การคิดถึงทานการให้ ตัดโลภะ ความโลภ การคิดถึงศีล ตัดโทสะ ความโกรธ การคิดถึงพระธรรมเทศนา ตัดโมหะ ความหลง 

     นี่มันตัดทุกวันโดยเราไม่รู้ตัว "หนักๆเข้าอารมณ์มันก็จะชิน" ศีลที่เคยรักษาไม่ครบถ้วนก็จะครบถ้วน ทานที่เคยให้ยาก เราก็ให้ง่าย ให้น้อยเราก็ให้มาก ให้ตามกำลัง ไม่ใช่เกินพอดี 

     พระท่านบอกว่า การคิดเช่นนี้ไม่ใช่มีผลเล็กน้อย มันเป็นการเจริญสมถะวิปัสสนาญาณไปในตัวเสร็จ อารมณ์ที่คุมให้เราคิดอย่างนี้เป็นสมถะภาวนา ความรู้สึกที่เราคิดอย่างนี้เป็นวิปัสสนาภาวนา อย่าลืมนะหากินง่ายๆ ไปง่ายๆ ดีกว่าหากินยากๆ ไปยากๆ  

     ฉะนั้น ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า "เมื่อทำบุญแล้ว จงอย่าทิ้งบุญ" เราทำบุญที่นี่แล้ว เราได้บุญแล้ว เมื่อลุกขึ้นไปแล้วอย่าให้บุญมันหล่น ให้มันให้เกาะติดไปถึงบ้าน ..

(พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
ที่มาจาก.. พ่อสอนลูก หน้าที่ ๒๐๓

24 เมษายน 2565

นาง วิสาขา หญิงงามแห่งพุทธสมัย

นาง วิสาขา หญิงงามแห่งพุทธสมัย
ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนก็ดูเหมือนว่าเรื่องความสวยความงามจะอยู่คู่โลกมาตลอด ยิ่งเดี๋ยวนี้มีผลิตภัณฑ์เสริมความงามออกมาเพื่อประทินโฉมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า กว่าจะสวยได้ครบถ้วนกระบวนความ จึงต้องหมดค่าเครื่องสำอางไปมาก อันที่จริงแล้วมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า การจะสวยให้ครบเครื่องนั้นมีเคล็ดลับอยู่เพียงนิดเดียว เคล็ดลับที่ว่านั้นผู้คนสมัยพุทธกาลเขารู้กันดี แต่คนที่รู้ดีที่สุดเห็นจะได้แก่ หญิงงามแห่งพุทธสมัยที่ชื่อ“ วิสาขา ”

มาตรฐานความงามพร้อม

ครูอาจารย์มักจะอ้างถึงนางวิสาขาทุกครั้งเมื่อลูกศิษย์ถามว่า”เบญจกัลยาณี”มีความหมายว่าอย่างไร นางเป็นต้นแบบของหญิงที่มีความงามครบทั้งห้าประการ อันประกอบด้วย 1.ผมงามเหมือนกำหางนกยูง 2.ริมฝีปากงามเหมือนสีผลตำลึงสุก เรียบสม่ำเสมอและปิดมิดชิด 3.กระดูกงาม ฟันขาวเหมือนไข่มุก เรียงเป็นระเบียบ 4.ผิวงาม เกลี้ยงเกลา ถ้าขาวก็ขาวเหมือนดอกกรรณิการ์ ถ้าดำก็นวลเหมือนดอกอุบลเขียว 5.วัยงามเป็นสาวสวยพริ้งอยู่เสมอ

เคล็ดลับความงามของนางวิสาขา คือ การมีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย รักษาศีลและเจริญภาวนา อีกทั้งยังทำบุญบริจาคทานอยู่เป็นนิตย์ ถึงขนาดพระพุทธเจ้าทรงยกย่องให้นางเป็นผู้เลิศในการถวายทาน ไม่ว่าในแต่ละชาติภพ วิถีชีวิตของนางจะเป็นเช่นไร นางก็ยังคงมุ่งอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา กุศลผลบุญเหล่านั้นส่งผลให้นางเกิดมารูปสวย รวยทรัพย์ กลายเป็นมาตรฐานความงามพร้อมของผู้หญิงทุกยุคทุกสมัย

ทุกลมหายใจเพื่อรับใช้พระพุทธศาสนา

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องนางวิสาขาให้เป็นผู้เลิศด้านการถวายทาน เพราะนางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ถึงขนาดอุทิศทุกลมหายใจเพื่อแบ่งเบาภาระของพระพุทธเจ้าเลยก็ว่าได้ แม้ต้องขัดแย้งกับครอบครัวของสามีที่นับถือลัทธิชีเปลือย นางก็ยังยืนกรานจะอยู่ใต้ร่มพระบารมีของพระพุทธองค์ มิเพียงเท่านั้นนางยังชักชวนให้พ่อแม่ของสามีได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เมื่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ทั้งคู่นึกขอบคุณในคำแนะนำของนางวิสาขา โดยเฉพาะมิคารเศรษฐีผู้เป็นพ่อสามีนั้น ถึงกับถือว่านางวิสาขาเป็นผู้นำความสว่างมาสู่ชีวิตตนจนถึงขนาดเรียกนางวิสาขาว่า “แม่” ด้วยความเคารพนับถือ

แม่แห่งพุทธสมัย

ความที่นางวิสาขาเป็นผู้มีวัยงาม แม้อายุจะล่วงไปถึง 120 ปี แต่รูปกายของนางก็ยังคงสวยสดใสไม่ต่างอะไรกับหญิงแรกรุ่น ด้วยความที่มีผิวผุดผ่องและผมดำสลวย หลายคนแทบไม่เชื่อว่า นางเป็นมารดาของบุตรธิดาถึง 20 คน บุตรธิดาเหล่านั้นยังสืบสานวงศ์ตระกูลจนมีลูกหลานอีกจำนวนมาก ตลอดอายุขัยของนางวิสาขา นางเป็นแม่ของลูกๆ เป็นย่าและยายของหลานๆ เป็นคุณย่าทวดและคุณยายทวดของเหลนๆรวมเบ็ดเสร็จลูกหลาน และเหลนของนางมีถึง 8,420 คน ทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงความรักและความปรารถนาดีที่นางมีให้ ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า นอกจากนางจะเป็นอุบาสิกาตัวอย่างในวิถีธรรมแล้ว ในวิถีแห่งโลกนางวิสาขายังมีตำแหน่งที่คู่ควรอีกหลายตำแหน่งด้วยกันนั่นก็คือ“แม่ตัวอย่าง” “คุณย่า-คุณยายตัวอย่าง”และแถมท้ายด้วย“คุณทวดตัวอย่าง”อีกหนึ่งตำแหน่ง

อุบาสิกาตัวอย่าง

กิจนานัปการที่นางวิสาขามุ่งมั่นทำเพื่อพระพุทธศาสนาแสดงให้เห็นถึงจิตใจที่เสียสละอย่างเด่นชัด ทุกครั้งที่พบว่าพระพุทธเจ้าหรือคณะสงฆ์มีปัญหาติดขัดเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียร นางไม่รีรอที่จะเข้าช่วยแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น เมื่อทราบข่าวว่ากุฏิมีไม่เพียงพอสำหรับพระสงฆ์ใช้ปฏิบัติธรรม นางก็บริจาคเครื่องประดับล้ำค่าของตนเป็นทุนสร้างกุฏิเพิ่ม เมื่อได้ยินว่า การที่ภิกษุและภิกษุณีเปลือยกายอาบน้ำเป็นทัศนะอันอุจาด นางริเริ่มความคิดที่จะถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุ และถวายผ้าผลัดอาบน้ำสำหรับภิกษุณี จนเป็นประเพณีถวายผ้าอาบน้ำพระมาถึงปัจจุบัน

เมื่อเห็นว่า พระอาคันตุกะ พระที่ต้องเดินทางไกล พระอาพาธ และพระที่ดูแลพระอาพาธ ไม่ใคร่จะสะดวกในการบิณฑบาต นางก็ถวายภัตตาหารแด่เหล่าภิกษุดังกล่าว และเมื่อตระหนักว่า ภิกษุที่ป่วยไข้มิได้ฉันยารักษาโรคนางก็ทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าถวายยารักษาอาการป่วยไข้ให้แด่พระภิกษุ

ภาพของนางวิสาขาในสายตาของศาสนิกชนทั่วไปจึงมิใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นต้นแบบของบุคคลที่ยึด“การให้”เป็นสรณะของชีวิต

เรื่อง : อิสระพร บวรเกิด
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

การเจริญสติปัฏฐาน ๔

เราต้องกำหนดรู้ อ้อ..ขณะนี้นิวรณ์มันได้เข้าครอบงำคืบคลานเข้ามาในจิต นี่เค้าเรียกว่ามีวิญญาณเข้ามาสู่มาสิง ดูซิความง่วงมันเกิดขึ้น..ดูซิว่าจิตเรามันง่วง หรือว่าอะไรกันแน่ที่มันเกิดขึ้น ทำไมเราต้องมีความง่วง ความง่วงมันมาอย่างไร เพียงแค่โยมดำริอย่างนี้กลับไป..ถามจิต เค้าเรียกเป็นการปรารภธรรม ปรารภความเพียร 
เคยถามมันหรือเปล่า เหมือนที่ว่านั่งไปแล้วมีเวทนาเกิดขึ้น เคยถามมันกลับไปหรือเปล่า เอ๊ะ..ไอ้เวทนานี้มันมีที่สิ้นสุดหรือเปล่า ในระยะทางแห่งมรรค..มันมีที่สิ้นสุดหรือไม่ว่ามันจะเจ็บไปเพียงใด เคยปรารภถามมันบ้างหรือเปล่า นี่แลเราต้องถาม..ปุจฉาวิสัชนามันบ่อยๆ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจิตเราจะมีความกลัว มีความลังเล แต่ถ้าเราถามมันในเวทนา..เค้าเรียกดูเวทนาในเวทนาก็เพราะเหตุนี้ เอาเวทนานั้นมาพิจารณา.. 

ดูกายในกายเป็นอย่างไร ปรารภกายเกิดขึ้นว่ากายนี้มันใช่ของเรามั้ย ถ้ามันใช่ของเรา..เราลองสั่งมันซิ ว่าไม่ให้มันแก่ไม่ให้มันชรา แล้วว่าถ้าสั่งมันแล้วลองพิจารณาตามความเป็นจริงซิ..มันไม่เป็นไปอย่างที่เราสั่ง เอ๊ะ..ตกลงมันใช่เราจริงหรือเปล่า แล้วเรานี่เป็นใครมาจากไหน หรือว่าเราเป็นเพียงสมมุติขึ้นมาว่าเราชื่อนั่นชื่อนี่..

พ้นจากว่าเราเป็นเราแล้วเนี่ยะ ไม่มีกายแล้วเนี่ยะ ไอ้ตัวเรายังอยู่มั้ย ถ้าจิตยังคิดว่าเป็นเราอยู่ เมื่อจิตยังยึดว่าเป็นเรา..อย่างนั้นก็ยังมีสังขารอยู่ ยังมีอุปาทานอยู่ จิตก็ยังมีอารมณ์อยู่ จิตยังมีอารมณ์อยู่อย่างนี้..ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎน้อยใหญ่อยู่อย่างนี้อีก

แต่เมื่อใดเราคิดว่าจิตนี้ก็ไม่ใช่เรา..เป็นแค่เพียงสภาวะอารมณ์ของจิต เราไม่มีอะไร..คือความว่าง เมื่อมันมีความว่างที่เราไม่ไปปรุงแต่งในอารมณ์แล้ว อารมณ์ไม่มี..ความอยากจะมีมั้ยจ๊ะ ผัสสะจะเกิดขึ้นได้มั้ย ธรรมารมณ์เหล่าใดเกิดขึ้นมา..มันไม่มีอะไรจะไปปรุงแต่งแล้ว ถ้าเรานั้นวางความพอใจไม่พอใจเสียได้แล้ว ดังนั้นให้ลองพิจารณา..

การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ดูกายนี้..ให้เราพิจารณากายคือการละ จะดูพิจารณากาย..อาการ ๓๒ เรียกกายคตานุสสติก็ดี ความไม่สวยไม่งามเค้าเรียกว่าธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้เราพิจารณาให้มาก มาก..มากเพียงใดจิตเราก็สงบมากเท่านั้น เมื่อเราละกายได้มากเพียงใด..เวทนาเราก็จะอ่อนกำลังมากเท่านั้น 

เค้าถึงบอกว่าเมื่อเราดูกายจนถึงที่สุดแล้ว เวทนามันจะเริ่มดับลง แสดงว่าเวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารที่เราไปปรุงแต่ง..มันเกิดจากกายมั้ยจ๊ะ กายนี้ยังไม่ใช่ตอใช่หรือเปล่า เพราะเรามียังไปปรุงแต่งไปพอใจ มันยังมีเชื้อใช่หรือเปล่า แสดงว่ามันยังไม่ตาย..คือใจ ใจมันเป็นใหญ่ ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน.. 

เมื่อใจเราไปผูกกับกายไว้ ไปยึดถือว่านี่เรา..ตัวเรา..ของๆเรา เมื่อมีการพลัดพรากไม่ได้ดั่งใจ..รู้สึกเจ็บมั้ยจ๊ะ ความเป็นจริงร้อนหนาวนี้..กายร้อนหรือกายหนาวนี้ แท้ที่จริงแล้วกายมันร้อนหรือเปล่า (ลูกศิษย์ : ไม่ได้ร้อน) เราอย่าเพิ่งบอกว่าไม่ร้อน..ไม่จริง เราต้องบอกว่ากายเรานี้มันร้อน รู้สึกว่าที่กายมันร้อนใช่หรือเปล่า หนาว..ก็รู้สึกว่ากายมันหนาวใช่หรือเปล่า นี่คือความเป็นจริงของมนุษย์

แต่แท้ที่จริงมองให้ลึกลงไปว่า กายมันหนาวกายมันร้อน..ไม่จริง เรายังไม่ได้กำหนดรู้ เมื่อเรากำหนดรู้ว่าที่ร้อนที่หนาว เมื่อเราวางใจให้เป็นกลาง..วางอุเบกขา อ้าว..กลับไม่รู้สึกว่าร้อนหรือหนาว ความรู้สึกนั้นหายไป “ตัวรู้สึก”นี้คืออะไร..เวทนา คือสัญญาที่ไปยึดมั่นถือมั่นในกาย เมื่อเราถอดถอนวางกายได้..อารมณ์เวทนาที่บอกว่าหนาวร้อนนั้นมันหายไปไหน 

แสดงว่ามันไม่ใช่เราใช่หรือไม่ ที่ว่าเป็นเราปรุงแต่งเป็นรูปร่างขึ้นมา เพราะเราไปผัสสะไปปรุงแต่ง..พอใจไม่พอใจ มันจึงเกิดสัญญาเกิดขึ้น..ว่ายึดมั่นถือว่านี่กายของเรา โทสะโมหะมันก็เลยบังเกิด ใช่หรือเปล่าจ๊ะ

บางคนที่กำหนดรู้ได้แล้วเท่าทันแล้ว..นิโรธมันจึงเกิด คือการดับอารมณ์นั้นเกิดขึ้นมา นี่เค้าเรียกว่าการพิจารณาให้เห็นในสติปัฎฐาน เค้าเรียกวิปัสสนาญาณอย่างหนึ่ง ที่ฉันบอกว่าไม่ว่าโยมจะเจอทุกข์เวทนาอันใด..ให้กำหนดรู้ก่อน เหมือนเรานั่งแล้วมีเวทนา หรือนั่งแล้วมีนิวรณ์มันเข้ามาครอบงำ ดูซิ..นิวรณ์ตัวใดที่มันเกิดขึ้น จิตนั่นแลคือไปเสวยอารมณ์

การเสวยอารมณ์นั่นคือชาติที่เราไปเสวยอยู่ ภพที่เราอยู่เสวย ก็ให้ดูซิว่าจิตเรานั้นเสวยอารมณ์ใด ถ้าสามารถสลัดได้เร็ว เค้าเรียกอินทรีย์เราผ่องใส แต่ถ้ายังไม่สามารถสลัดได้โดยในทีเดียว..แสดงว่าศีลเรามีความชำรุด เราต้องค่อยๆปะค่อยๆแก้ คือเราต้องชำระล้างศีล คือเพ่งโทษในกายให้มาก กายเรานั้นทุจริตมาก เราก็ต้องชำระล้างเพ่งโทษในกาย..ความชั่วความเลวของเรา นี่คือคนที่มีธรรมมาก มันจะเห็นเท่าทันได้มากขึ้น.. 

นั้นโยมต้องรู้..ใจและจิตเรานั้นเอาให้เป็นหนึ่ง เพราะใจเราเป็นประธานแห่งธรรมแห่งกรรม ดูจิตก่อนเลยอันดับแรก เมื่อกำหนดอานาปานสติเข้าไป ล้างลมเสียออกจากปอด ลมเสียในปอด..ก็คืออารมณ์ที่เรายังมีโทสะ มีความโลภ มีความโกรธ มีความหลง เมื่อเรา(สูดลมหายใจลึก)..กำหนดรู้ลม ล้างลมเสียออกจากปอดซัก ๒-๓ ครั้ง จนรู้สึกว่าลมมันเริ่มสงบลง 

คำว่าลมเริ่มสงบลงคือเรากำหนดลมเข้าไปแล้ว..ลมมันเริ่มไม่ขัดในท้อง อย่างนี้เรียกว่าลมเริ่มสงบ เรียกล้างลมเสีย เมื่อเราล้างลมแล้ว..ก็ให้ดู การที่เรากำหนดรู้ลมนี่แลเค้าเรียกว่าเป็นการกำหนดรู้กาย ลมและกายนั้นมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กายก็ดีมันขาดลมไม่ได้ ลมถ้าขาดกาย..เราก็ไม่สามารถรู้ลมได้ อย่างนี้กายและลมนี่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเปล่า 

เค้าถึงบอกว่ารู้ลม..ก็อย่ารู้กาย ใช่หรือไม่ เพราะว่าถ้าลมไม่มี..กายอยู่ได้มั้ยจ๊ะ กายก็ตั้งอยู่ไม่ได้ แสดงว่ามันอาศัยกันหรือเปล่าจ๊ะ พระพุทธองค์หรือนักปราชญ์ทั้งหลาย เค้าจึงอาศัยอานาปานสตินี้แล คือดูลมหายใจนี้ ลมเข้า-ลมออก ลมเกิด-ลมตาย คือลมนิพพาน รู้จนถึงความละเอียดของลม 

เมื่อรู้ถึงความละเอียดของลม..จากหยาบ จากปานกลาง จากละเอียด ลมนี้แลเค้าเรียกว่าลมปรมาณู จะทำให้ฟอกจิตเข้าไป..ฟอกจิตเข้าไปจนจิตนั้นมีกำลัง หรือเรียกว่าจิตนั้นมีตัวรู้หรือเรียกว่าญาณ ดังนั้นแล้วในการที่เรานั้นดูลมหายใจ..ถ้าเป็นมหาสติขึ้นมาเมื่อไหร่ 

คำว่ามหาสติคือจิตที่มีกำลัง สติที่มีกำลังมาก..กำลังมากอย่างไร เราสามารถทรงรู้อารมณ์ของกายได้ สามารถเท่าทันในอารมณ์ที่มาครอบงำเราได้ คือจิตนั้นปราศจากนิวรณ์ที่มาครอบงำ..นี่เรียกเป็นมหาสติ มหาสติเหมือนที่ว่าไม้ปักลงไปในโคลนตมแล้วหรือปักไว้ที่ใด..มันจะนิ่งอยู่อย่างนั้น ไม่ถูกซัดเอนไปไหน 

แต่ที่มันยังไม่เป็นมหาสติก็คือยังมีอารมณ์มากระทบอยู่..หรือธรรมารมณ์ จึงเรียกว่าจิตยังฟุ้งซ่าน จิตยังไม่เป็นหนึ่ง อย่างนี้..ต้องทำอย่างไร เราต้องมีอุบาย..เช่นมีภาวนาบ้าง มีการยกธรรมเรียกว่าสมถกรรมฐาน สมถวิปัสสนา ยกธรรมมาเป็นเครื่องอยู่ น้อมจิตนั้นเป็นอุบายให้จิตเราคอยปลงสละ คลายจากความกำหนัด คลายจากความคิดปรุงแต่ง เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอุบายแห่งธรรม..

มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต

23 เมษายน 2565

หลักธรรมพุทธศาสนา

#หลักธรรมพุทธศาสนา 
#ทำตามนี้ได้เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ
- อริยสัจ 4 
- อิทธิบาท 4 
- สังคหวัตถุ 4 
- พรหมวิหาร 4
- อริยมรรค 8
- โลกธรรม 8  
- ความกตัญญู 
- ภัยจากความเสน่หา
- ทิศ 6
- มงคลชีวิต

อริยสัจ 4
 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์  :  คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย  :  คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ :  คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค :  คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

อิทธิบาท 4
 
 คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

    ๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
    ๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
    ๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
    ๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

    ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

    วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

    จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

    วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
    1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

    2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
        เว้นจากการพูดเท็จ
        เว้นจากการพูดส่อเสียด
        เว้นจากการพูดคำหยาบ
        เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

พรหมวิหาร 4
ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่

    เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
    กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
    มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
    อุเบกขา การรู้จักวางเฉย

คำอธิบายพรหมวิหาร 4

    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้ 
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
    2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

        - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์

        - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์

    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง

    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
         

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )
(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)

    แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์  เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว  คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา 
    มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ

    1. สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง
    2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
    3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
    4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
    5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
    6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
    7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
    8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

         

โลกธรรม 8
ความหมายของโลกธรรม 8
    โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

    1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
        - ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา 
        - ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต 
        - ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
        - ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

    2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
        - เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
        - เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
        - ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
        - ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

ทิศหก

 ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ 
    ๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา 
    ๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
    ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
    ๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
    ๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์ 
    ๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง

ความกตัญญู

     พระพุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี คนดีย่อมเป็นที่ปราถนาที่ต้องการในที่ทุกหนทุกแห่งในทุกกิจการ และในทุกยุคทุกสมัย คนดีทำให้ครอบครัวเจริญ โรงเรียนเจริญ ชุมชนเจริญ สังคมและประเทศชาติเจริญ คนดีอยู่ในครอบครัวใด โรงเรียนใดและสังคมใด ครอบครัว โรงเรียน และสังคมนั้นๆ ย่อมมีความสุข ความกตัญญู คือ คุณสมบัติและสัญลักษณ์ของคนดี กตัญญูกับกตเวทีรวมเป็นกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมคู่กันเสมอ เป็นหลักถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของสัตบุรุษ คือ คนดี หรือคนในอุดมคตินั่นเอง ในสังคมชาวพุทธ คนมีกตัญญูกตเวทีย่อมเป็นผู้ควรค่าแก่ความรัก เกียรติ ศักดิ์ศรี และการยกย่องสรรเสริญจากผู้อื่น เพราะได้ปฏิบัติธรรมอันถือเป็นมงคลยิ่ง

ข้อหนึ่ง คือ ความกตัญญู บุคคลย่อมมีชีวิตประสบแต่ความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง
ความคิดและความเชื่อตามวัฒนธรรมไทยนั้น สรรเสริญผู้มีความกตัญญูและตำหนิผู้ที่ไม่รู้จักบุญคุณคนอื่นเป็นอย่างมาก คนไทยมีความเชื่อว่าผู้ที่มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ จะมีความเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จในชีวิต ส่วนผู้ที่เนรคุณนั้นจะประสบความวิบัติเป็นที่รังเกียจในสังคม ได้มีการเปรียบเทียบว่า คนที่เนรคุณนั้น 
เป็นคนไร้ค่ามีจิตใจกระด้างดังเนื้อหิน เขาจะกรุณาคนอื่นได้อย่างไรในเมื่อคนที่มีบุญคุณต่อเขา ยังทำให้เขา
สำนึกไม่ได้

กตัญญู เป็นธรรมอันเป็นมงคลที่ 25 ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้โดยเน้นให้นำไปพัฒนาคุณสมบัติของคนดีแปลตาม
ตัวหนังสือคือผู้รู้ว่า คนอื่นทำความความดีอะไรไว้แก่ตนบ้าง เอาความหมายสั้นๆ ว่าา "ผู้รู้คุณคน" การรู้บุญคุณคน
หรือรู้อุปการคุณที่ผู้อื่นทำให้ตนเองนับถือเป็นหลักแห่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ เพราะเป็นการสอดคล้องกับหลักคำสอนว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ มีคนทำดีให้
กับเราแล้ว และเราได้รับผลประโยชน์จากการทำดีของเขา เป็นต้นว่า ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุข แต่เรารับรู้แต่ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่ตน ไม่รับรู้คุณความดีของเขา ย่อมถือได้ว่าไม่ยุติธรรมต่อกัน

ลูกศิษย์ในสายหลวงพ่อวัดท่าซุงที่ลงมาเกิด ยังมีหน้าที่ ที่ตัองสานต่อ

..."ลูกศิษย์ในสายหลวงพ่อวัดท่าซุงที่ลงมาเกิด ยังมีหน้าที่ คือ
๑. เพื่อเกื้อกูลพระศาสนา 
๒. เพื่อแบ่งเบาภารกิจการงานของหลวงพ่อ 
๓. เพื่อมรรคผลพระนิพพานของตนเอง 

ใครรู้ตัวว่าทำไม่ครบ ก็รีบทำเสียให้ครบ!
มีสิ่งหนึ่งที่พูดไปแล้ว คนทั่วไปจะรับได้หรือเปล่า?  ก็คือ หลวงพ่อวัดท่าซุงตอนนั้นท่านรั้งตำแหน่งผู้รักษาการณ์พระพุทธศาสนา ตำแหน่งนี้หลวงพ่อท่านต้องรับไปถึง พ.ศ. ๒๕๗๗  เพราะฉะนั้นงานนี้ท่านยังเลิกไม่ได้จนกว่าจะถึง พ.ศ. ๒๕๗๗ 
หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านทำหน้าที่รักษาการณ์พระศาสนา สรุปง่ายๆ ว่าทำหน้าที่แทนพระพุทธเจ้าเช่นทางโลกเราอาจจะมีพระสังฆราช แต่บุคคลที่ท่านมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนจะเป็นใครก็อีกเรื่องหนึ่ง
ใครก็ตามที่ทำงานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือว่าตั้งใจปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านจึงจำเป็นต้องสนับสนุน เพราะว่าปัจจุบันนี้ท่านทำหน้าที่รักษาการณ์พระพุทธศาสนาอยู่ จะบอกว่าเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าก็ได้ กว่าท่านจะพ้นหน้าที่นี้ยังเหลืออีก ๒๒ ปีเต็มๆ 
ช่วงนั้นบรรดาพระที่ท่านเป็นตั้งแต่วิชชา ๓ ขึ้นไป ถ้าจะนิพพาน ท่านจะต้องมากราบลาหลวงพ่อด้วย เพราะพระที่ท่านได้วิชชา ๓  อภิญญา ๖  หรือปฏิสัมภิทาญาณ ท่านจะรู้ว่าใครเป็นใคร  เรื่องอย่างนี้พูดไปคนภายนอกเขาจะหาว่าบ้า เขารับไม่ได้หรอก สำหรับพวกเรานี่บ้าอยู่แล้ว ถึงบอกไปก็ไม่เป็นไร  สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ พระที่ท่านรู้เรื่องเหล่านี้จะมากราบลาหลวงพ่อ เพื่อขอไปพระนิพพาน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราพูดกันได้ แต่ว่าคนที่ไม่เข้าใจเขาก็หาว่าเราปั้นเรื่องขึ้นมาเชิดชูครูบาอาจารย์
ส่วนบรรดาที่จบเกินด็อกเตอร์ก็อยู่ในวัดท่าซุงหมด คือพวกเกินด็อกเตอร์นี่ต้องเทวดาระดับมหาอำมาตย์ขึ้นไป  เฉพาะระดับนั้นมีอยู่ ๔ ท่าน แล้วพวกระดับด็อกเตอร์มีอยู่ ๒,๐๐๐ คุณลองคิดดูว่าทั้งวัดมีเท่าไร? นั่นแค่ระดับนั้น แล้วที่ต่ำกว่านั้นมีอีกเท่าไร? ปกติพวกระดับเกินด็อกเตอร์นี่ ท่านดูแลกันทีครึ่งค่อนโลก แต่นี่เหมาวัดท่าซุงที่เดียว ๔ ราย ท่านไปดูแลท่าซุง เพราะเป็นสถานที่สำคัญ และมีพระสำคัญอย่างหลวงพ่อท่านอยู่ด้วย ก็เลยจำเป็นต้องให้การดูแลถึงขนาดนั้น"...

#วิสุทธิธรรม จากพระคุณหลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน
เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๔
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php...

22 เมษายน 2565

#เรื่องบารมีพระโพธิสัตว์ในวัด

----------
"ชายเร่ร่อน" เดินเข้าไปในวัดจีนแห่งหนึ่ง 
เห็น "พระประธาน" ประดิษฐานอยู่บนแท่นดอกบัว มีผู้มีจิตศรัธากราบไหว้มากมาย
เขารู้สึกอิจฉาอยากเป็นเช่น "พระประธาน" บ้าง เขาถาม"พระประธาน" ว่า..... 
"ท่านโพธิสัตว์" ผมอยากขอแลกเปลี่ยนสถานะกับท่านสักครั้ง จะได้ไหมครับ ? .....

"โพธิสัตว์" 
ได้แน่นอน แต่ต้องมีข้อแม้อย่างหนึ่งนะ....

"ชายเร่ร่อน" ข้อแม้อะไรมิทราบครับท่าน ?....

"โพธิสัตว์" แค่เจ้าไม่เอ่ยปากพูดเท่านั้น ไม่ว่าเจ้าจะเห็นอะไร เห็นคนประเภทไหน เห็นเรื่องอะไร เจ้าห้ามเอ่ยปากพูดเด็ดขาด ....

"ชายเร่ร่อน" เรื่องนี้ง่าย ไม่มีปัญหาครับ.....

"ชายเร่ร่อน" ขึ้นไปนั่งบนแท่นดอกบัวแทน "โพธิสัตว์" เขาได้เห็นความวุ่นวายที่ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างมากราบไหว้ขออะไรมากมายไม่รู้จบ แต่เขาก็ไม่ยอมเปิดปากพูดตามที่รับปาก "โพธิสัตว์" ไว้..

 วันหนึ่งมีเศรษฐีเข้ามาคนหนึ่ง...

"เศรษฐี" 
ขอให้ท่าน "โพธิสัตว์" ช่วยประทานความสุขสมบูรณ์ให้ผมด้วย "กราบเสร็จ--ลุกขึ้น" กระเป๋าเงินพลันหล่นลงพื้น.... "ชายเร่ร่อน" (นั่งในฐานะของโพธิสัตว์) คิดจะเปิดปากทักให้ "เศรษฐี" รู้ตัว พอคิดได้ว่า "โพธิสัตว์" ห้ามเปิดปาก เขาหยุดคิดทันที.... "เศรษฐี" จากไปแล้วมีคน "ยากไร้" เข้ามาใหม่ ...."คนยากไร้" : ขอให้ท่าน "โพธิสัตว์" ประทานเงินทองให้ผมด้วยเถิด คนที่บ้านป่วยหนัก ต้องการเงินไปหาหมอ "กราบเสร็จ--ลุกขึ้น" พลันเขาเห็นกระเป๋าเงินเศรษฐีตกอยู่บนพื้น

."คนยากไร้" 
โอ ท่านโพธิสัตว์ช่างศักดิ์สิทธิอะไรอย่างนี้ เขาหยิบกระเป๋าเงินได้แล้วเดินออกไปอย่างรวดเร็ว...

"คนเร่ร่อน" 
คิดจะเปิดปากพูดออกไปว่า เป็นกระเป๋าเงินของ คนอื่นนะ ไม่ใช่เรื่องศักดิ์สิทธิอะไรเลย 
แต่พอคิดถึงคำพูดของ "โพธิสัตว์" เขาได้แต่หุบปากเงียบ ขณะนั้นได้มี "ชาวประมง" เข้ามาคนหนึ่ง "ชาวประมง" : ขอท่านโพธิสัตว์ประทานความปลอดภัยให้ผมด้วย ออกทะเลก็ขอให้ทะเลสงบอย่าได้มีคลื่นลมรบกวนเลยครับ 
"ก้มลงกราบ --ลุกขึ้น" พอจะเดินออกไป 
พลันปรากฎ "เศรษฐี" วิ่งพรวดพราดเข้ามาจับตัวใว้แน่น เพราะสาเหตุของเรื่องกระเป๋าเงิน 
ทั้ง 2 คนถึงกับลงไม้ลงมือกันยกใหญ่ ฝ่าย 
"เศรษฐี" หาว่า "ชาวประมง" เอาไปแต่ชาวประมงบอกว่าเศรษฐีใส่ร้าย....

"ชายเร่ร่อน" เริ่มทนไม่ไหว เปิดปากตะโกนเสียงดังออกไปว่า : "หยุดเดี๋ยวนี้นะ"...เสร็จแล้วอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทั้งคู่รู้
ฉากความวุ่นวายสงบลงแล้ว "ชาวประมง" รีบกลับไปออกเรือแล้ว ส่วน "เศรษฐี" ก็รีบออกไปหาคน "ยากไร้" คิดบัญชีแล้วเช่นกัน..... 

"เจ้าคิดว่ากำลังผดุงความยุติธรรมหรือ?" "โพธิสัตว์" ถาม "ชายเร่ร่อน" ในเมื่อเจ้ารับปากแล้วว่าจะไม่เปิดปากพูด และเจ้ารู้ไหมว่า ? 
เราแอบปกปักษ์รักษาคุ้มครองพวกเขาอยู่
เพราะว่าลมพายุกำลังมา เรือของชาวประมงจะจม เราให้ "เศรษฐี" กับ "ชาวประมง" ทะเลาะตบตีกันจนบาดเจ็บ เพื่อประวิงเวลาไม่ให้เขาออกเรือไป เจ้ายังไม่มีบารมีมากพอ พูดมากก็เสียหายมาก เจ้ารู้ตัวบ้างหรือไม่? !.. 
"โพธิสัตว์" ยังกล่าวอีกว่า เจ้าเอ่ยปากเพราะคิดว่าตัวเองยุติธรรมที่สุด ? เพราะสาเหตุนี้ "คนยากไร้" จึงไม่ได้เงินไปรักษาคนป่วยในครอบครัว, ส่วน"เศรษฐี"เสียโอกาสในการสร้างบุญกุศล.... "ชาวประมง" ออกทะเลเจอพายุ ต้องฝังร่างในทะเลลึก ...

"หากเจ้าไม่เอ่ยปาก" คนยากไร้" ก็ไม่ต้องเสียญาติไปเพราะขาดเงินรักษา "เศรษฐี"แค่เสียเงินไปเพียงเล็กน้อย แต่ได้ช่วยชีวิตคนอื่น ได้สะสมบุญกุศลให้ตัวเองมากขึ้น ถ้าชาวประมงทะเลาะกับเศรษฐีจนบาดเจ็บ ไม่สามารถออกเรือได้ 
ก็เท่ากับหลีกเลี่ยงเคราะห์กรรมครั้งนี้ได้ ถึงตอนนี้ก็ยังไม่ตาย , .... "ชายเร่ร่อน" ฟังแล้วให้รู้สึกอับอายยิ่งนัก ก้มหน้าเดินออกจากวัดไปเงียบๆ.........

#มีเรื่องมากมายที่ควรเป็นอย่างไร ก็ต้องให้เป็นไปอย่างนั้น หากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ผลรับอาจจะกลับดีกว่ามากมายนัก แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้า แต่ใครจะรู้ได้ว่า ท้ายสุดจะลงเอยเช่นใด ? ... ความสงบนิ่ง คือพลังงานชนิดหนึ่ง การไม่ฝืนธรรมชาติ ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง***

BL 美丽日报

แปล และเรียบเรียง โดย เจงเอี่ยม แซ่อึ้ง
黄振炎 11/2/2019
เรื่องแปล....จาก 美丽日报 Beauties of Life....

⚜อานิสงส์การสวดอิติปิ โส

    ที่ลูกหลานหลวงพ่อสวดอิติปิ โส กันทุกวันถวาย
หลวงพ่อ หลังจากสวดจบแล้ว หลวงพ่อ(พระราชพรหมยาน) ท่าน พูดถึงการสวดอิติปิ โส ว่ามีอานิสงส์อย่างไรต่อบรรดาลูกหลาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    หลวงพ่อ : "วันนี้เมื่อกี้พอเขาสวด ก็เริ่มจิตสบาย ใจก็จับอยู่ที่พระใช่ไหมเป็นธรรมดา ได้ยินเสียงสวดมนต์นี่ไม่ได้หรอกได้ยินเสียงสวดมนต์ปั๊บ จิตจะเข้าสู่ปกติของมันทันที จะเห็นอะไรทั้งหมด ได้เห็นบัญชี ๒ บัญชี มายืนอยู่ข้างหลัง"

  ผู้ถาม : "อะไรบ้างครับ..?"
  หลวงพ่อ : "บัญชีนรก และก็บัญชีสวรรค์ บัญชีนรกน่ะ ลุง (พยายม) ใช่ไหม บัญชีสวรรค์คือ ท่านปัญจสิกขเทพบุตร จดเหมือนกันว่าทุกคนที่เจริญ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติกรรมฐาน

   การสวดนี่เขาถือกันว่าเป็นสมาธิในกรรมฐานในอนุสสติ ๓ อย่าง อานิสงส์สูงมาก นี่ฉันรู้วันนี้นะ เพิ่งรู้เมื่อกี้นี้ อานิสงส์มากจริงๆ และก็ลุงก็เลยล้อว่า
"ไอ้พวกนี้มันแกล้งไม่ไปนรก มันนึกว่ามันสวดให้พ่อมันความจริงมันได้" (หัวเราะ) .."

   ผู้ถาม : "ผมนึกว่าได้หลวงพ่อองค์เดียว"
   หลวงพ่อ : "ที่ไหนได้ล่ะ เขาสวดยาวเหยียดเลย
ทำมากี่ปีแล้ว เท่าไหร่แล้ว อานิสงส์เป็นยังไงแล้ว
แล้วก็การสวดอิติปิ โส สรรเสริญทั้งคุณพระพุทธเจ้า สรรเสริญคุณพระธรรม พระอริยสงฆ์ระดับ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

   สุปฏิปันโน นี่ พระโสดาบัน
   อุชุปฏิปันโน นี่ พระสกิทาคามี
   ญายะปฏิปันโน นี่ พระอนาคามี
   สามีจิปฏิปันโน นี่ พระอรหันต์
   สามี ผัว (หัวเราะ) ความจริงภาษาบาลีเรียก "ปติ"
"ปติ" นี่เขาแปลว่า ผัว "สามี" นี่แปลว่านาย คือผู้
เป็นใหญ่ เราใช้ผิด

    คือว่าท่านบอกว่า ไอ้บทท้ายนี่ให้ใช้ทุกวัน อย่า
ลืม ที่บอกว่า ให้เข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด ท่านบอกว่า" ถ้าคนไหนถ้าตัวหนังสือที่จดไว้เป็นแก้ว คนนั้นไปนิพพานชาตินี้แน่" มันจะเปลี่ยนสีทุกวัน มันจะค่อยๆ ใสทุกวันๆขึ้นไปนะ"

   ผู้ถาม : "แสดงว่าทุกคนที่นั่งอยู่นี่ ก็ใสเป็นแก้ว
หมดแล้ว"
    หลวงพ่อ : "บางคนก็เป็นแก้วเหล้า บางคนก็เป็น
แก้วเบียร์ แก้วน้ำชา นี่ยังดีดีกว่าแก้วปลาร้า แต่ว่าเอาส่วนใหญ่กันจริงๆ นะ มีหวัง เมื่อกี้นี้เขาบัญชีมาให้ดูตัวใสขึ้นมาก ท่านบอกตัวใสๆแบบนี้มีหวังทุกคน ให้ดูสีตัวหนังสือที่เขียนนะ"

📖จาก ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๓๐๑ หน้า ๘๐
⚜คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี 
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

🖊พิมพ์โดย นภา อิน

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้
ดูคนทุกคนที่มีลีลาชีวิตต่าง ๆ กันไป 
ให้เห็นเป็นกฎของกรรม และทุกอย่างเป็นของธรรมดา ที่เกิดขึ้น 
ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเท่านั้น 
อย่าถืออะไรมาเป็นสาระที่จริงจังของชีวิต 
ในยามนี้มีชีวิตอยู่ก็ให้เกื้อหนุนกันไป 
ด้วยความสงสาร และมีความเมตตาปราณี 
เป็นการทำจิตให้อ่อนโยนและทำให้เป็นผู้มีมิตรมาก 
แต่จำไว้ว่าอย่าเบียดเบียนตนเองมากจนเกินไป 
การกระทำทุกอย่างให้อยู่ในสายกลาง คือ 
ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 
ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น 
ให้มีจิตเมตตาหวังดีกับคนทั้งโลกหรือสัตว์ทั้งโลก 
ความหวังดีไม่จำเป็นที่ต้องจักให้เป็นวัตถุ 
การรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ อันบริบูรณ์ 
ก็คือการหวังดีกับคนและสัตว์ทั้งโลกแล้ว 
ถ้าหากรักษาได้ อย่าขวางทางบุญและบาปของใคร 
เพราะพื้นฐานของจิตใจของแต่ละคนเกี่ยวกับบุญและบาปมีต่างกัน ไม่เท่ากัน 
จิตเมื่อจักวางในจริยาของบุคคลอื่น 
ก็จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาจุดนี้ให้มาก ๆ ลงตัวธรรมดาให้ได้ 
แล้วจิตจึงจักปล่อยวางกรรมของคนอื่น ๆ ลงได้ 
ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมเลว

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

21 เมษายน 2565

เคยบวชพระตายแล้วไปรออยู่ที่สำนักท่านพระยายมราช แล้วไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก

▪︎
   "...วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๑ อาตมาไปที่สำนักท่านพระยายมราช เพื่อดูการตัดสิน เจ้าหน้าที่ได้เรียกชายไทยเข้ามาคนนี้ร่างใหญ่อ้วน ผิวดำ นุ่งกางเกงทำนาเก่ามาก หน้า ตาอิดโรยมาก

เมื่อเห็นอาตมาเข้าเธอมองไม่ยอมละ ท่านเจ้าหน้าที่ถามเธอถึง ๓ ครั้งว่า.. 
"เธอทำบาปอะไรมาบ้าง" 

เธอไม่ยอมฟังและไม่ยอมตอบเธอมองอาตมา มาอย่างเดียว เมื่อเจ้าหน้าที่ถามว่า..
"ทำบุญอะไรบ้าง"

เธอพนมมือและชี้มาที่อาตมาแต่ไม่พูด 

ท่านลุงเลยบอกว่า.."เอาให้ฉันนี่" 

เมื่อส่งมาให้แล้ว 

ท่านลุงก็ถามว่า.."มองดูพระทำไม" 

เธอตอบว่า... 
"เคยบวชพระมาหลายพรรษา" 

ท่านลุงจึงบอกให้พูดต่อไปให้จบ  

เธอบอกว่า.."เมื่อบวชเป็นพระมีศีลดีพอสมควร สวดมนต์ทำวัตรเสมอ ไม่เคยเจริญภาวนา เคยให้ทานซื้อปลาปล่อย" 

พอพูดถึงปลา ปลาหลายชนิดโผล่หน้ามากันสลอนยืนยันว่าจริงตามนั้น เป็นปลาที่ถูกจับไปจะฆ่าบ้าง จะขายบ้าง แต่พระองค์นี้ซื้อมาปล่อย จึงมีความสุข"

เธอพูดต่อไปอีกว่า.."เมื่อวาสนาความเป็นพระหมดก็ลาสิกขา(สึก)มาประกอบอาชีพทำไร่แถวเมืองสุพรรณบุรี มีภรรยา มีลูกหญิงชาย ฐานะยากจนมาก ต้องหาปลามาช่วยยังชีพ แต่ใจก็ยังสนใจบุญ บูชาพระเสมอ ใส่บาตรทุกวัน ฟังเทศน์บ้างไม่ฟังบ้าง ในที่สุดอายุ ๖๗ ปีก็ตาย" 

เธอพูดแล้วเธอก็นิ่ง แต่ตาของเธอไม่ละจากอาตมา

ท่านลุงถามว่า.."ก่อนเธอจะมาที่นี่เธอนึกถึงอะไร" 

เธอตอบว่า.."นึกถึงภาพเมื่อเป็นพระเพราะสุขสบายมาก แต่เมื่อสึกออกมาแล้วก็ลำบากมาก อยากบวชพระอีก แต่ก็ห่วงลูกห่วงเมีย 

ตอนตายเมื่อจะออกจากร่าง ภาพเมื่อเป็นพระจับอยู่ที่ใจ แต่มีเสียงดังโครมที่ฝาเรือนดังขึ้นมา ใจหายวาบภาพพระหาย มีภาพคนนุ่งแดง ๔ คนแทน เขาชวนให้มา รู้สึกเสียงเขามี
อำนาจมาก" 

เขาพูดเรียบร้อยบอกว่า..
"ไปเถอะถึงเวลาแล้ว" เพียงเท่านี้ก็ตามเขามา 

ท่านลุงถามว่า.."ทำไมมองพระไม่ละสายตา" 

เธอตอบว่า.."เห็นภาพพระแล้วสบายใจ จะเอาผมไปทางไหนผมก็ยอมทุกอย่าง แต่ขอให้เห็นภาพพระก็แล้วกัน" 

ท่านลุงก็บอกว่า.."เธอมองตามภาพนี้ เธอชอบที่ไหนจะไปที่นั่นได้"

ท่านก็เห็นวิมานของภูมิเทวดา รุกขเทวดา จาตุมหาราช และดาวดึงส์ เธอมองแล้วเธอก็ถามว่า..
"วิมานทองหลังที่ไม่มีใครอยู่หลังนั้นผมไปอยู่ได้ไหม" 

ท่านลุงบอกว่า.."ชั้นดาวดึงส์ วิมานของเธอเอง เธอไปอยู่ได้แล้ว" 

เมื่อเธอพ้นจากที่สอบสวนรูปร่างเธอเปลี่ยนเป็นเทวดาทันที 

เธอเข้ามาหาอาตมา ยกมือไหว้แล้วบอกว่า..
"เธอเห็นภาพนี้และได้ฟังเทศน์ทางโทรทัศน์หลายปีมาแล้ว จำภาพได้ขอบคุณที่มาช่วยผมขอรับ" 

พูดเสร็จเธอก็กราบแล้วท่านเทวทูตก็นำไปส่งที่วิมานชั้นดาวดึงส์.."

#หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
หนังสือตายไม่สูญ..แล้วไปไหน หน้า ๑๘๕
#เพจคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
พิมพ์เพื่อธรรมทานโดย..
🖋..Moddam Thammawong

19 เมษายน 2565

คำตรัสของพระพุทธเจ้า“ ตัดใจจากรัก”

คำตรัสของพระพุทธเจ้า

“ ตัดใจจากรัก”
 ดูก่อนท่านทั้งหลาย ! ทางสองสายคือ #กามสุขัลลิกานุโยค  การหมกมุ่นอยู่ด้วย กามสุขสายหนึ่ง และ  #อัตตกิลมถานุโยค การทรมานกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรมพึงละเว้นเสีย ควรเดินทาง #สายกลาง คือ ควรเดินตามอริยมรรคมีองค์๘ คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การกระทำชอบ การประกอบอาชีพในทางสุจริตชอบ ความพยายามในการชอบ การตั้งสติชอบและการทำสมาธิชอบ.

 ท่านทั้งหลาย ! ความทุกข์ทั้งมวลย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็น เหตุแห่งความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหานั้นเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ #ตัณหา คือความทะยานอยากดิ้นรน ซึ่งมีลักษณะเป็นสาม ที่เป็นเหตุมูลแห่งทุกข์ขั้นมูลฐานนั้นคือ...

 #กามตัณหา ๑ ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปรารถนา.

 #ภวตัณหา  ๑  ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่.

 #วิภวตัณหา ๑ ดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีแล้วเป็นแล้ว.

เหตุแห่งคำตรัส : ภิกษุณีโกกิลา
ภิกษุณีโกกิลา พยายาม #ข่มใจ ตัดใจจากพระอานนท์อย่างไรก็ไม่สำเร็จ จึงออกเดินทางไปจำวัดที่ห่างไกลโพ้น คือวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี แคว้นวังสะ จิตใจก็พอสงบลงบ้าง จนกระทั่งในพรรษาที่ ๒๐ พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปยังโกสัมพี ผ่านเมืองกุรุเพื่อโปรดพรามณ์ผัวเมียมาคันทิยา แล้วเลยไปประทับที่วัดโฆสิตาราม แน่นอนพระอานนท์ตามมาด้วย ไฟรักที่กลบจนมอดก็คุกรุ่นขึ้นอีก อันเป็นเหตุให้ภิกษุณีถึงกับล้มป่วย พระพุทธเจ้าส่งข่ายแห่งพระญาณตรวจสอบผู้ที่จะบรรลุธรรมเบื้องสูงได้ ก็พบภิกษุณีโกกิลา
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมอันประเสริฐโปรดพระสาวิกา โดยเพ่งไปยังภิกษุณีโกกิลา และไม่นานนักภิกษุณีก็บรรลุอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ ตัดใจจากพระอานนท์ได้โดยสิ้นเชิง เพราะปราศจากอาสวกิเลสใดๆ.

#ตัดใจจากรัก
#ตัณหา
#โกกิลา

18 เมษายน 2565

#รักษาศีล๘ซื้อหวยใต้ดิน

 

🔹️ผู้ถาม : "กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกรู้จักอุบาสกคนหนึ่ง อายุประมาณ ๖๐ ปีเศษ รักษาศีล ๘ มาหลายปีแล้ว เขาบอกกับผมว่า เขาได้พระอนาคามีแล้ว วันหนึ่งลูกเห็นแกซื้อหวยใต้ดินแล้วก็ลอตเตอรี่ธรรมดา ลูกเกิดความสงสัยว่าผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าขึ้นไป จะซื้อหวยใต้ดินและลอตเตอรี่รัฐบาลได้หรือเปล่า..?" 

🔸️หลวงพ่อ : "เขามีขายก็ซื้อได้ แต่ไม่ใช่พระอริยเจ้าเบื้องสูง อย่างพระโสดาบันท่านยังอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง แต่ก็ไม่ลืมความตาย อยู่ในขอบเขตของศีล ๕ จะรวยก็ไม่ขาดศีล ๕ คือไม่ลักขโมยใคร ทีนี้หวยนี่ไม่ได้ลักไม่ได้ขโมยใคร แต่ว่าถ้าบอกเป็นอนาคามี...ไม่ใช่แน่!! อนาคามีไม่ทำแบบนั้น...ตัดหมดแล้ว พระโสดาบันอาจจะมี แต่ว่าไม่ดิ้นรนมากนะ สังเกตอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าอะไรขัดกับศีล ๕ พระโสดาบันไม่ทำ ถ้าสิ่งใดไม่ขัดกับศีล ๕ ....พระโสดาบันทำ จำง่ายๆ"
.
.
.
🙏โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
✍คัดจากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐ หน้า ๕๒-๕๓

อธิษฐานธรรม

▪︎▪︎
อธิษฐานธรรม คือ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ คือ
   ๑. #ปัญญา ความรอบรู้ สิ่งที่ควรรู้ ไม่ต้องรู้อะไรมาก ฟังคำพระสารีบุตร ท่านแนะนำพระให้ใช้ปัญญาตัดขันธ์ ๕ เห็นว่าขันธ์ ๕ นี่ไม่เป็นสรณะ ไม่เป็นที่พึ่ง เกาะขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่าเกาะทุกข์ และก็เกาะไม่ติด

   รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รู้มันแค่ขันธ์ ๕ พอรู้ว่าขันธ์ ๕ มันเป็นธาตุ ๔ มาประชุมกัน มีอากาศธาตุ วิญญาณธาตุเข้ามาผสม เดี๋ยวมันก็พัง เราคือจิตอยู่ไม่ได้ 

   ถ้าทำดีหน่อยเกิดเป็นมนุษย์ ทำดีมากอีกนิดเป็นเทวดา ทรงจิตมั่นคงหน่อยก็ไปเป็นพรหม ถ้าดีถึงที่สุดก็ไปนอนเอกเขนกในนิพพานสบาย ถ้าทำไม่ดีไว้ลงนรกไป ปัญญาเขาใช้กันตรงนี้

   ๒. #สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดให้ได้จริง มันจริงจะอย่างน่ะมันได้หมด ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา

   ๓. #อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกจากความสงบ หมายความว่า ตัดกิเลสทั้งหมดเป็นสมุจเฉทปหาน มองหน้าราคะเข้าไว้มันมาหรือเปล่า มองหน้าโลภความโลภไว้ มองหน้าโทสะความโกรธ มองหน้าโมหะ ความหลง อย่าให้มันโผล่ออกมา พอขยับปุ๊บฟันปั๊บให้ขาด

▪︎ราคะ เอากายคตานุสสติ อสุภกรรมฐาน สักกายทิฏฐิ ๓ อย่าง ฟาดกบาลปังลงไปให้ดิ้นพราดๆ สลบตายไปเลย 
▪︎โลภะ มาเอาทานทุ่มปังเข้าไปมันก็ตาย
▪︎โทสะ มาเอาเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ตีเป้งเข้าไป หมด สลบ ตาย
▪︎โมหะ ความหลงมา ปัญญาแหย่ปุ๊บ พังหมดเหมือนกับระเบิดนิวเคลียร์ ง่ายนิดเดียว ถ้าคนมันจริงซะอย่าง มันไม่มีอะไรจะยาก 

#หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
หนังสือพ่อสอนลูก หน้า ๓๖๖
#เพจคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
พิมพ์เพื่อธรรมทานโดย..
🖋..Moddam Thammawong

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...