21 ตุลาคม 2566

ความแตกต่างระหว่าง ฌาน ญาณและอภิญญา

1.ฌาน อ่านว่า ชาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต

2.ญาณ อ่านว่า ยาน แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา คือ ความรู้ ตรงข้ามกับ อวิชชา คือ ความไม่รู้

3.อภิญญา อ่านว่า อะพินยา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญา คือ คุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

1.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2.ทิพพโสต มีหูทิพย์
3.เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5.ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6.อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้น)

ในทัศนคติของผม ฌาน (ชาน) หมายถึง ชานชาลา
ญาณ (ยาน) หมายถึง ยานหรือ ยานพาหนะ ที่พาเราไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่ โสดาบัน ขึ้นไปจนถึง พระอรหันต์
ดังนั้นเราจะขึ้นยานไปสู่ภมิอริยบุคคล จะต้องปฏิบัติสมถกรรมฐานให้ได้ ฌาน (ชาน หรือ ชานชาลา) ก่อน จึงจะขึ้น ญาณ (ยาน) นำเราออกจากวัฏสงสารสู่พระนิพพานได้
ส่วนอภิญญา เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติสมถ (ฌาน) และวิปัสสนา (ญาณ) กรรมฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...