29 ตุลาคม 2566

ทุกข์" (ทุกขอริยสัจ)

"#ทุกข์" (ทุกขอริยสัจ) "#ควรกำหนดรู้"
   ขอนอบน้อมจิต แด่ #ภควาอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผู้ตรัสรู้ได้เองโดยชอบ
ภาษาไทย ฉบับหลวง เล่ม๑๐/ หน้า ๒๒๖/ ข้อ ๒๙๔
    ภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่
      ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า    
      ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
      นี้ทุกข์
      นี้ทุกขสมุทัย
      นี้ทุกขนิโรธ    
      นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ

      ภิกษุทั้งหลาย ก็ #ทุกขอริยสัจเป็นไฉน
      แม้ชาติก็เป็นทุกข์
      แม้ชราก็เป็นทุกข์
      แม้มรณะก็เป็นทุกข์
      แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์
      แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
      แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์
      ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
      โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
 
      [๒๙๕] ภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน
      ความเกิด
      ความบังเกิด
      ความหยั่งลงเกิด
      ความเกิดจำเพาะ
      ความปรากฏแห่งขันธ์
      ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
      อันนี้เรียกว่า ชาติ ฯ

      ก็ชราเป็นไฉน
      ความแก่
      ภาวะของความแก่
      ฟันหลุด
      ผมหงอก
      หนังเป็นเกลียว (หนังเหี่ยว)
      ความเสื่อมแห่งอายุ
      ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
      อันนี้เรียกว่า ชรา ฯ

      ก็มรณะเป็นไฉน
      ความเคลื่อน
      ภาวะของความเคลื่อน
      ความแตกทำลาย
      ความหายไป
      มฤตยู
      ความตาย
      ความทำกาละ
      ความทำลายแห่งขันธ์
      ความทอดทิ้งซากศพไว้
      ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
      อันนี้เรียกว่า มรณะ ฯ
    
      ก็โสกะเป็นไฉน
      ความแห้งใจ
      กิริยาที่แห้งใจ
      ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ 
      ความผาก ณ ภายใน
      ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
      ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
      อันนี้เรียกว่า โสกะ ฯ
   
      ก็ปริเทวะเป็นไฉน
      ความคร่ำครวญ
      ความร่ำไรรำพัน
      กิริยาที่คร่ำครวญ  
      กิริยาที่ร่ำไรรำพัน
      ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ
      ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย
ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
      ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
      อันนี้เรียกว่า ปริเทวะ ฯ

      ก็ทุกขะเป็นไฉน
      ความลำบากทางกาย
      ความไม่สำราญทางกาย
      ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส
      อันนี้เรียกว่า ทุกขะ ฯ

      ก็โทมนัสเป็นไฉน
      ความทุกข์ทางจิต
      ความไม่สำราญทางจิต
      ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส
      อันนี้เรียกว่า โทมนัส ฯ

      ก็อุปายาสเป็นไฉน
      ความแค้น
      ความคับแค้น
      ภาวะของบุคคลผู้แค้น 
      ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง 
      ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
      อันนี้เรียกว่า อุปายาส ฯ

      ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
      ความประสบ   
      ความพรั่งพร้อม
      ความร่วม
      ความระคน
      ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
      อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ

      ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
      ความไม่ประสบ   
      ความไม่พรั่งพร้อม
      ความไม่ร่วม
      ความไม่ระคน
      ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
      อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ฯ

      ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน
      ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
      โอหนอ
      ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา
      ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
      ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
      แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
      ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
      โอหนอ
      ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา
      ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย
      ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
      แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
      ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
      โอหนอ
      ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา
      ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย
      ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
      แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็น ทุกข์
      ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
      โอหนอ  
      ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา
      ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย
      ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
      แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์
      ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
      โอหนอ
      ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา
      ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย
      ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
      แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ฯ

      ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
      อุปาทานขันธ์
      คือ
      รูป   
      เวทนา
      สัญญา
      สังขาร
      วิญญาณ
      เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ

      ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
                      ----------------
ขอนอบน้อมจิตกราบ : 🙏#พระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด
   ขอน้อมจิตอนุโมทนาส่วนแห่งบุญส่วนแห่งกุศล : 🙏#ต่อผู้มีอุปการะคุณที่รวบรวมสืบค้นเทียบเคียงพระสูตรขององค์พระตถาคตตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันกาล..น้อมจิตกราบ..สาธุ สาธุ.สาธุ.คะ

ไม่มีความคิดเห็น:

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...