30 พฤษภาคม 2565

การตั้งอารมณ์จิตเพื่อเข้าพระนิพพาน

การตั้งอารมณ์จิตที่ถูกต้อง คือ ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว 
สมเด็จองค์ปฐม ทรงให้หลักในการทำงานโดยให้ได้บุญสูงสุดไว้ ๓ ข้อ คือ         

ก) จงอย่ามีอารมณ์เสียดายในทานที่ทำไปแล้ว         
ข) จงอย่าหวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น แม้แต่คำว่าขอบใจ         
ค) ให้อธิษฐานสั้น ๆ ว่า ขอทำเพื่อพระนิพพานในชาตินี้ หรือ นิพพานะ สุขขัง

          ธัมมวิจัย พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว 
จะเห็นได้ว่าอุบายทั้ง ๓ ข้อนี้ ทำเพื่อละ ปล่อย วาง ทั้งสิ้น 
คือไม่หวังจะเกิดในมนุษยโลก ในเทวโลกและในพรหมโลก 
วางโลกทั้ง ๓ ซึ่งไม่เที่ยง ก้าวเข้าสู่พระนิพพานซึ่งเที่ยงไม่เปลี่ยนแปลงอีก 

ดังนั้นผู้ที่จิตทรงอารมณ์พระนิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง 
เพราะไม่เกิดไม่ตายอีกตลอดกาล 
ซึ่งตรงกับบาลีที่ว่า เต สัง วู ปะสะโม สุขโข 
ซึ่งแปลเอาตามความหมายว่า การไม่เกิดมามีร่างกายอีกเป็นยอดของความสุข 
หรือการไม่เกิดเป็นยอดของความสุข ซึ่งก็คือพระนิพพานนั่นเอง

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

ที่มา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=5117128491676316&id=100001376460538

29 พฤษภาคม 2565

“ กฎ 10 ข้อของการใช้ชีวิต แบบสงบ “

✍️1. ไม่อิจฉาใคร 

ใครจะมีก็ปล่อยเขามี 
อนุโมทนากับเขาให้เขามีความสุข

✍️2. ไม่เปรียบเทียบใคร 

เราเกิดมาในแบบเรา 
ไม่เหมือนใครอยู่แล้ว 
ไม่มีเหตุผลที่ต้องเปรียบเทียบ
ชีวิตเรากับใคร

✍️3. ไม่ตามใคร 

เราจะตามตัวเราเอง 
ใครจะตามก็ปล่อยเขาตามไป 
เราขอหยุดและตามในทางของเรา

✍️4. ไม่ยึดติดในสุข 

เพราะสุขมันก็คือทุกข์ที่ละเอียด 
มันของคู่กันอยู่แล้ว เมื่อมีสุข
ก็เข้าใจมัน แล้วก็ปล่อยวาง

✍️5. ไม่จมปลักในทุกข์ 

ทุกข์ก็เสียใจกับมันแค่ครั้งเดียว 
อย่าเอามันมาคิดซ้ำเพราะมันคือ
การเพิ่มความทุกข์ให้ทวีคูณมากขึ้น

✍️6. อยู่กับปัจจุบัน 

ยากสุดคือการเอาตัวเอง
อยู่กับปัจจุบันนี่แหละ 
เรามักแต่คิดถึงอดีต 
ไขว่คว้าอนาคต จนปัจจุบัน
เราขาดความสุข สุขแท้จริง
เอาตัวเองอยู่กับวินาทีนี้ให้ได้ 
เสียก่อน

✍️7. เป็นผู้รู้จักให้ 

ให้บ้างแม้มันจะเล็กน้อยก็ตาม
เพื่อเป็นการฝึกตัวเราไม่ให้ยึดติด 
เพราะเมื่อตายไปมันก็เอา
อะไรไปไม่ได้อยู่ดี

✍️8. มีความสุขในแบบของตัวเอง 

แม้มันจะไร้สาระในสายตาใครก็ตาม 
ไม่มีใครนิยามความสุขได้ดีที่สุดหรอก
มีเพียงเราเท่านี้ที่นิยามมันขึ้นมาเอง
ได้ในแบบฉบับของเรา

✍️9. ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ

เพราะความตายมันเป็นสิ่งที่เรา
ต้องเจอแท้อย่างแน่นอน 
การเตรียมตัวก็เพื่อเป็นการตระหนักรู้
ไม่ให้เราประมาทและยึดติดในชีวิต 
เพราะทุกสิ่งเมื่อตายแล้วหอบอะไรไปไม่ได้

✍️10. เจริญสติบ้าง ปล่อยวางและไม่ยึดติด

กับสิ่งใด เพราะเราเพียงแค่เกิดมา
ใช้ชีวิตบนโลกใบนี้จากดิน น้ำ ลม ไฟ 
ในตัวเรา เมื่อหมดเวลา เราก็ต้องคืนเขาอยู่ดี 

“ อย่าเสียใจมากเลยกับอะไรที่ผ่านพ้นไป
จงมีสติและระลึกกับปัจจุบัน
ที่เรายังเหลืออยู่นั้นดีที่สุดแล้ว “

บทความธรรมะ.พุทธธรรมนำใจ
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

#หากแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสบอกไว้ ณ ครั้งพุทธกาล

#หากแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ตรัสบอกไว้ ณ ครั้งพุทธกาล
----------
เวลาพระให้ศีล จะลงท้ายด้วยคำว่า
"สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย"
แล้วเราก็รับว่า สาธุ สาธุ สาธุ 
ส่วนใหญ่ไม่รู้หรอกว่าหมายถึงอะไร เข้าใจเอาว่า สาธุไปตามรูปแบบพิธีกรรม

ความจริงไม่ใช่ ถ้ารู้ความหมาย จะลึกซึ้ง 
คือพระท่านบอกให้คนที่รับศีลไปนั้น เมื่อรับแล้วรักษาได้ดีแล้ว อานิสงส์จะเกิด ดังนี้

#สีเลนะ สุคะติง ยันติ = 
ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา = 
ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ = 
ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = 
เพราะเหตุนั้น พึงชำระศีลให้หมดจด

เห็นมั้ย...อย่าทำเป็นเล่นไป............
รักษาศีลจะไม่ตกนรก รักษาศีลจะมีเครื่องกิน-เครื่องใช้ ทรัพย์สินเงินทอง และศีลที่รักษาดีแล้ว จะทำให้ถึงพระนิพพานได้

แล้วพระท่านก็ย้ำ 
"ตัสมา สีลัง วิโสทะเย" 
คือพระบอกว่า เพราะเหตุนี้ พวกท่านทั้งหลาย พึงรักษาศีลให้หมดจด!
พระที่บอกนี้ 
ไม่ใช่หลวงพ่อ-หลวงพี่-หลวงตา ที่ให้ศีลนะ 

หากแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ตรัสบอกไว้ ณ ครั้งพุทธกาล

Cr. Dharma Practices
----------
เวลาพระให้ศีล จะลงท้ายด้วยคำว่า
"สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสทะเย"
แล้วเราก็รับว่า สาธุ สาธุ สาธุ 
ส่วนใหญ่ไม่รู้หรอกว่าหมายถึงอะไร เข้าใจเอาว่า สาธุไปตามรูปแบบพิธีกรรม

ความจริงไม่ใช่ ถ้ารู้ความหมาย จะลึกซึ้ง 
คือพระท่านบอกให้คนที่รับศีลไปนั้น เมื่อรับแล้วรักษาได้ดีแล้ว อานิสงส์จะเกิด ดังนี้

#สีเลนะ สุคะติง ยันติ = 
ศีลเป็นเหตุให้ถึงสุคติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา = 
ศีลเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยโภคทรัพย์
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ = 
ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
ตัสมา สีลัง วิโสทะเย = 
เพราะเหตุนั้น พึงชำระศีลให้หมดจด

เห็นมั้ย...อย่าทำเป็นเล่นไป............
รักษาศีลจะไม่ตกนรก รักษาศีลจะมีเครื่องกิน-เครื่องใช้ ทรัพย์สินเงินทอง และศีลที่รักษาดีแล้ว จะทำให้ถึงพระนิพพานได้

แล้วพระท่านก็ย้ำ 
"ตัสมา สีลัง วิโสทะเย" 
คือพระบอกว่า เพราะเหตุนี้ พวกท่านทั้งหลาย พึงรักษาศีลให้หมดจด!

พระที่บอกนี้ 
ไม่ใช่หลวงพ่อ-หลวงพี่-หลวงตา ที่ให้ศีลนะ 

หากแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ตรัสบอกไว้ ณ ครั้งพุทธกาล

Cr. Dharma Practices

อานิสงส์การเจริญเมตตา จะมีแสงสว่างมีตาข่ายคอยคุ้มกัน

เมื่อเรารู้ว่าในโลกนี้มีแต่ภัยก็ควรเร่งทำคุณงามความดีให้มากๆ สิ่งที่สำคัญถ้าโยมจะปลอดภัยในภัยทั้งปวง ให้โยมกำจัดภัยภายในให้ได้เสียก่อน ให้ละอาฆาตพยาบาท ละโทสะ โมหะเหล่านี้ เมื่อโยมมีเมื่อไหร่ในเชื้อของกระแสจิตแห่งความอาฆาตพยาบาทริษยาทั้งหลาย ความพอใจไม่พอใจในโทสะ..จิตมันจะเร่าร้อน นั้นแล..มันจะดึงดูดวิบากกรรมในอดีตเข้ามา แล้วโรคภัยไข้เจ็บนั้นมันก็ตามมาเช่นเดียวกัน

แต่เมื่อจิตเรานั้นมีแต่ความเมตตา มีแต่ความสงบ ความสงบความเย็นเหล่านี้..ไอ้ความร้อนนั้นเมื่อมันจะเข้ามา มันก็จะเข้ามาแทรกแซงได้ยาก ก็เมื่อเรามีความสงบแห่งจิตอยู่ มีบุญกุศลมีศีล อำนาจแห่งพระรัตนตรัยนั้นคุ้มครอง มันก็จะมีรัศมีมีแสงคอยคุ้มเหมือนอะไรมาครอบกายเราอยู่ อย่างนี้แลไม่ว่าจะเป็นกัมมันตรังสี รังสีใด เชื้อโรคใดก็ตาม มันก็จะช่วยปกป้องรักษาเราได้

ดังนั้นการที่เราต้องเจริญเมตตาอยู่เป็นประจำก็จะมีประโยชน์อย่างนี้ ช่วยปกป้องภัยเราได้ การที่เราเจริญคาถาก็ดี สวดมนต์ไว้อยู่ก็ดีนี้แล มนต์ที่เราภาวนาจิตอยู่ไม่ว่าจะเป็นชินบัญชรพระคาถาก็ดี ในขณะที่เราภาวนาเจริญอยู่ในใจก็ดี ออกเสียงก็ดีนี้ ที่เรากล่าวออกมาในอักขระภาษานี้แล มันจะมีแสงสว่างมีตาข่ายคอยคุ้มกันของกายของผู้นั้นที่ภาวนาอยู่ ที่เจริญมนต์อยู่ โดยที่เราไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ เหมือนอากาศที่เรามองไม่เห็น แต่เรารู้สึกถึงความเย็นความร้อนได้ 

จิตวิญญาณทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราจะสัมผัสจิตวิญญาณได้ ก็จะทำให้ตัวเรานั้นขนลุกขนพองสยองเกล้าเหล่านี้ ก็นี่แลเค้าเรียกว่าความรู้สึกได้..นั่นจึงเรียกว่าวิญญาณ ดังนั้นสิ่งที่เรามองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี ก็เหมือนอากาศที่เราทั้งหลายมองด้วยตาเปล่าว่าไม่มี แต่รู้สึกความร้อน ความเย็น ความหนาวได้เช่นนั้นแล..

มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต

ติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรมของมูลนิธิได้ทาง https://www.facebook.com/mprs.foundation
ติดตาม คลิปธรรมะได้ทาง YouTube channel : ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

28 พฤษภาคม 2565

"สาวงามลูกสาวพญานาค...ร้องเพลงให้หลวงปู่ขาวฯฟัง"

*สารพัดธรรม(ทำ)*
"สาวงามลูกสาวพญานาค...ร้องเพลงให้หลวงปู่ขาวฯฟัง"
     》การจำพรรษาของหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่ภูถ้ำค้อ นั้น ท่านว่าได้ข้อธรรมอย่างมากเลยทีเดียว การพิจารณาค้นคว้าธรรมไม่ติดข้อง มีความรู้แปลก ๆ หลายอย่าง รู้ทั้งเรื่องของโลกและรู้ทั้งเรื่องของโลกทิพย์
     หลวงปู่ เล่าว่า คืนหนึ่ง ท่านเข้าที่บำเพ็ญภาวนา จิตสงบ ปรากฎว่าตัวของท่านได้ลงไปถึงชั้นบาดาล หลวงปู่ ถามว่า "เมืองอะไร?"
     มีเสียงพูดขึ้นว่า "นี่คือบาดาลภิภพ เมืองนาค"
     หลวงปู่ บอกว่าขณะนั้นเห็นตัวท่านเองยืนอยู่บนก้อนหินอยู่กลางน้ำ น้ำในเมืองบาดาลไม่เหมือนกับน้ำในเมืองมนุษย์ กล่าวคือ น้ำในเมืองบาดาลนั้นน้ำจะไหลผ่านกัน เช่นสายหนึ่งไหลไปทางทิศเหนือ อีกสายจะไหลไปทางทิศใต้สลับกัน สายหนึ่งไหลไปทางตะวันออก อีกสายก็ไหลไปทางตะวันตก บางแห่งจะไหลเวียนขวา กับเวียนซ้าย น่าแปลกประหลาดมาก
     หลวงปู่ เห็นหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง มีลักษณะสวยงามมากตั้งอยู่กลางพิภพ มีสาวงามซึ่งเป็นลูกสาวของพญานาคยืนนิ่งอยู่ เธอสวยงามมาก หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ดูราวกับนางฟ้าเทพธิดา แต่งตัวด้วยเครื่องทรงที่งดงามเหมือนในภาพที่วาดกัน
     สาวน้อยหันหน้ามาทางหลวงปู่ เธอประนมมือแสดงความคารวะ แล้วทำการร่ายรำพร้อมขับร้องเป็นเพลงว่า "อะหัง นะเม นะเม นะวะชาตินะวะ" หลวงปู่จำเนื้อเพลงได้ดี
     ลูกศิษย์เคยกราบเรียนถามหลวงปู่ ว่าเพลงของลูกสาวพญานาคมีความหมายว่าอย่างไร ท่านบอกว่าให้แปลเอาเอง
     หลวงปู่ เคยเล่าเรื่องนี้ถวายท่านเจ้าคุณสมเด็จพระญาณสังวร (สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ปัจจุบัน)* สมเด็จฯท่านก็ไม่แปลให้ฟัง พระองค์ท่านอยากฟังหลวงปู่แปลให้ฟังมากกว่า จึงนิมนต์ให้หลวงปู่แปลให้ฟัง 
     หลวงปู่ บอกว่า "ผมไม่ได้มหาเปรียญ ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาจะแปลได้อย่างไร"
     สมเด็จฯ ท่านว่า "หลวงปู่เรียนทางในไตรปิฎก ผมเรียนทางนอกทางตำรา"
     หลวงปู่ จึงยอมแปลให้ฟัง ท่านพูดว่า "พูดตามที่เป็นมา ไม่ใช่ตำราอะไรนะ อะหัง ก็แปลว่า เรา ชาติใหม่ของเราไม่มีอีกแล้ว มีชาติเดียวเท่านี้"
     แล้วหลวงปู่ ก็ยิ้มระรื่นและหัวเราะตามนิสัยอารมณ์ดีของท่าน แล้วถามสมเด็จฯ ว่า "ผมแปลแบบบาลีโคก แบบนี้ถูกหรือไม่?"
     สมเด็จฯ ท่านตอบว่า "หลวงปู่แปลได้ถูกต้องแล้ว"《

     ***ขออนุโมทนา ขอขอบคุณเจ้าของภาพและข้อความ ภาพนี้ตัดแต่งใหม่ ขออนุญาตเผยแผ่เป็นธรรมทานแก่ผู้ที่มีความศรัทธา ข้อความข้างบนนี้เป็นโอวาทธรรม จากหนังสือ "หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู" โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๔ หน้า ๒๖๓ - ๒๖๔ สาธุๆๆ***
หมายเหตุ...* พิมพ์ข้อความตรงตามในหนังสือ

"เคยผิดศีลข้อกาเม ขอธรรมปฏิบัติ เพื่อลบล้างความผิด"

ผู้ถาม : กราบเท้าพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ที่เคารพอย่างสูง ลูกหญิงได้เคยประพฤติในข้อกาเม.. ด้วยความจำเป็น

            มาฟังธรรมะ มาปฏิบัติตามหลักคำสอน ของหลวงพ่อแล้ว เกิดความไม่สบายใจ อยากจะหาธรรมปฏิบัติ เพื่อลบล้างความผิด ที่ทำไปนิดหน่อยนั้น ขอหลวงพ่อได้โปรดชี้แนะนำด้วยเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : ไม่มีอะไรหรอก.. ลืมมันเสีย พระพุทธเจ้า ทรงบอกว่า ให้ลืมเสียทุกอย่างที่พลาดมาแล้วนะ ไม่ตามนึกถึงมัน มุ่งหน้าเฉพาะความดี. 

            ที่ให้ภาวนา "พุทโธ...ธัมโม...สังโฆ" นี่ ให้นึกถึงความดีอย่างเดียว ไอ้ความที่ไม่ดีอาจจะแลบเข้ามาบ้าง เป็นของธรรมดา เราก็นึกถึงความดีให้มาก ไม่ตามนึกถึงมัน มันก็ไม่เกาะใจเรา.

            ใจเราเกาะเฉพาะบุญ ใช่ไหม.. เกาะเฉพาะบุญ เวลาตาย บุญก็นำเราไปก่อน.. ไปสวรรค์ก่อนอย่างน้อย.

ผู้ถาม : ถ้าได้ มโนมยิทธิ ก็..

หลวงพ่อ : ใช่.. ถ้าได้ก็พิสูจน์ ได้เลย ว่าวิมานของเราอยู่ที่ไหน.. ถ้าไปพบวิมาน จิตใจก็รักวิมาน ไม่รักบาป ตายก็พุ่งไปเลย..

จาก : หนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๓๓ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

27 พฤษภาคม 2565

20 คำสอน 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต'

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร พระบูรพาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกัมมัฏฐาน จึงขอน้อมนำคำสอนโดยย่อของท่านพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาเผยแพร่เพื่อรำลึกอาจาริยบูชาคุณพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
1.เราทั้งหลาย ต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้ อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ อย่าลืมตัวลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดีเสริมต่อ ภพชาติของเรา ที่เคยเป็นมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลง และกลับกลายหายไป เป็นชาติที่ต่ำทราม ท่านจึงสอน ไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้ เช่นเดียวกับผู้อื่น

2.เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มี ก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษา ก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสียจะได้ไม่เสียที ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาด้วยความไม่ประมาท..นั้นละจึงจะสม กับที่ได้เกิดมาเป็นคน

3.ผู้มีปัญญาไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ผู้มีปัญญาได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย ผู้มีปัญญาซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน

4.จะเอาอะไรมาเพิ่มอีก..ก็ถ้าหากตายไปในวันนี้วันพรุ่งนี้ สิ่งต่างๆที่เคยมีและผ่านเข้ามา ตะเกียดตะกายดิ้นรนไขว่คว้า ทุกอย่างก็จะเป็นเพียงแค่ สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา

5.ไม่ควร "ยกโทษ ผู้อื่น" หรือ "เพ่งโทษผู้อื่น" ถึงแม้นผู้นั้น จะไม่ดีก็ตามที เพราะการเพ่งโทษผู้อื่น จะนำความวิบัติสู่ตนโดยไม่รู้ตัว ความเผลอสติ มักพาให้ผู้คนนั้น "ยกโทษผู้อื่น และพยายามยกคุณตนเอง" แทนที่จะ "ยกคุณผู้อื่น ยกโทษตนพิจารณา"

6.วิธีการภาวนา คือ วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิก ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยการมีสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่ง เป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะการภาวนา ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ หรือกำลังจน จนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือ ยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริง ๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล คือ ลืมตน จะกลายเป็น ผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้

7.เราต้องการของดี คนดีจำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกตน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน

8.คนมีทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผย และเด่นในปวงชน เป็นที่เคารพรักในหมู่ชน จะตกอยู่ทิศใดย่อมไม่อดอยาก ขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตน ย่อมไม่เป็นคนล้าสมัย บุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ

9.บุคคลใดปฏิบัติแล้ว บุคคลนั้นย่อมพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บไข้ และความตายในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เห็นความสุข ความยินดีน้อยหนึ่งในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ไม่เห็นซึ่งอะไรๆ ในเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นซึ่งจะเข้าถึงความเป็นของไม่ควรถือเอา

10.อย่าลดละท้อถอยความเพียร ธรรมเป็นสมบัติกลางและเป็นสมบัติของทุกคนที่ใคร่ต่อธรรม พระพุทธเจ้ามิได้ผูกขาดไว้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต่างมีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของได้ด้วยการปฏิบัติดีของตนด้วยกัน

11.ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดแต่ตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรมไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน

12.การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่อง กาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า..กายานุปัสสนาสติปัฏฐานหัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า..ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง การประกอบความพากเพียร ทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

13.ใครเพียร ใครอาจหาญ ใครอดทน ในการต่อสู้กับกิเลสตัวฝืนธรรมอยู่ตลอดเวลา ผู้นั้นจะเจอร่มเงาแห่งความสงบเย็นใจในโลกนี้ ในบัดนี้ และในดวงใจนี้ ไม่เนิ่นนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เจือไปด้วยสุขด้วยทุกข์อยู่ทุกภพ ทุกชาติ ไม่มีวันจบสิ้น

14.ฝึกตนดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่า ทำตามพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ

15.ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริงทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์

16.อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่ หรือบุคคลใดๆ ว่าเป็นภัยและเป็นคุณ ให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่า โดยไม่เกิดประโยชน์อะไร ยิ่งกว่าการคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ

17.การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจ ของผู้มีภาวนาจะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นผู้มีหลักมีเหตุผล ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ ไม่เปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากดั้งเดิมเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูก ชั่ว ดี พาเราเสียไป จนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลยแล้วของเก่าก็เสียไป ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้

18.ความทุกข์ ทรมาน ความอดทน ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

19.ศาสนาทางมิจฉาทิฏฐิ ก็นับวันจะแสดงปาฏิหาริย์ คนที่โง่เขลาก็จะถูกจูงไปอย่างโคและกระบือ ผู้ที่ฉลาดก็เหลือน้อย ฉะนั้น พวกเธอทั้งหลายจงรีบเร่งปฏิบัติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม พระธรรมเหล่านี้ไม่ล่วงไปไหน มีอยู่ ทรงอยู่ในปัจจุบัน จิตในปัจจุบัน ที่เธอทั้งหลายตั้งอยู่หน้าสติ หน้าปัญญา อยู่ด้วยกัน กลมกลืนในขณะเดียวนั้นแล

20.วิธีถ่ายถอนกิเลส...พึงเจริญอสุภภาวนา เพื่อละราคะเสีย พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาทเสีย พึงเจริญอานาปานสติเพื่อเข้าไปตัดวิตกเสีย พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อถอนอัสมิมานะเสีย อนัตตาสัญญา ก็พึงเห็นพึงตั้งใจไว้ด้วยดี ความถอนอัสมิมานะขึ้นเสียได้ เป็นปรินิพพานในทิฏฐธรรมภพปัจจุบันนี้ทีเดียว

น้อมรำลึกคติธรรม 'คำสอน' บูชาคุณพ่อแม่ครูอาจารย์ 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

22 พฤษภาคม 2565

กายนี้ เกิดมาก็ไม่ได้เอามา เวลาตายไปก็ไม่ได้เอาไป

กายนี้ 
           เวลาเกิดมาก็ไม่ได้เอามา 
                   เวลาตายไปก็ไม่ได้เอาไป 
                  เป็นดิน, น้ำ, ไฟ, ลมของโลกมาประกอบเพื่ออาศัยใช้ชั่วคราว 

                  ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า ไม่มีตัวเรา,ของเรา 
                  เป็นเพียงธาตุของโลก 

                เมื่อจิตวิญญาณมาเกิดในโลกมนุษย์ 
         ย่อมนำธาตุของโลกมาประกอบ 
                 จิตวิญญาณมาอาศัย เพื่อเป็นเครื่องมือใช้งานในโลกมนุษย์ 

                 เมื่อใดที่หมดเวลาในโลกมนุษย์ 
         ก็ทิ้งร่างกายคือเครื่องมือไว้ 
                 ย่อมสมมุติกันว่า..." ตาย " 

                   แท้จริงไม่มีใครตาย 
         เป็นเพียงทิ้งเครื่องมือไว้

                   เมื่อบุคคลกินข้าว ย่อมหยิบเอาช้อนมาใช้งาน 
                     เมื่อเลิกกิน ก็ทิ้งช้อนเอาไว้ 
                   ช้อน เป็นเครื่องมือสำหรับใช้งาน 
                   เมื่อเลิกใช้งาน ก็ทิ้งเอาไว้ตรงนั้น 
                   เช่นเดียวกับจิตวิญญาณที่ทิ้งกายเอาไว้
          แล้วไปเกิดในภพภูมิอื่น

                เมื่อบุคคลกินข้าวเสร็จ ทิ้งช้อนเอาไว้ 
                เราจะร้องไห้กับช้อนหรือไม่...? 

                กายนี้ เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อใช้งานในเมืองมนุษย์ 
               เมื่อหมดเวลาก็ทิ้งไป กายนี้เป็นธาตุของโลก 
       ไม่มีตัวเรา,ของเรา ไม่มีคน,สัตว์,หญิง,ชาย 

                 ผู้มีวิปัสสนาปัญญา
                 ย่อมถอนอุปาทานความยึดมั่นออกจากกาย 

                  กายนี้ไม่ใช่ของเรา
                  เป็นเพียงเครื่องมือมาอาศัยใช้ในเมืองมนุษย์ 

                  เมื่อจิตวิญญาณหมดเวลาที่จะเสวยภพภูมิมนุษย์ 
                 ก็ทอดทิ้งร่างกายไว้
                 ธาตุ ๔ ดิน,น้ำ,ไฟ,ลม 
            ย่อมสลายคืนไปสู่โลก
            ไม่ได้เอามา,ไม่ได้เอาไป,ไม่ใช่ตัวเรา,ไม่ใช่ของเรา 

                 จงพิจารณาให้เห็นซึ้งถึงความจริง 
                อย่าหลงมัวเมาอยู่

                จงถอนความยึดมั่นถือมั่นออกจากกายให้ได้ 

                จะนำจิตไปสู่วิมุตติหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

                พระอาจารย์ชุมพล พลปัญโญ

จงอย่าไปสนใจกรรมของผู้อื่น

จงอย่าไปสนใจกรรมของผู้อื่น เรื่องของผู้อื่น ให้ทำตัวเป็นเพียงผู้ดู - ผู้รู้ แต่อย่ากระโดดเข้าไปแสดงกับเขาเป็นอันขาด
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

จงอย่าไปสนใจกรรมของผู้อื่น เรื่องของผู้อื่น ให้ทำตัวเป็นเพียงผู้ดู - ผู้รู้ แต่อย่ากระโดดเข้าไปแสดงกับเขาเป็นอันขาดการไปรู้เรื่องของผู้อื่นแล้วไปยึดไปยุ่งกับเรื่องของเขา อย่างน้อยก็ทำให้อารมณ์ไหวขึ้นไหวลง หาความสงบไม่ได้ เมื่อสุขภาพจิตมันไม่ดี ก็ทำให้สุขภาพกายไม่ดี มันเกี่ยวเนื่องกันอย่างนี้

ให้สังเกตอารมณ์ที่เกาะยึดมากที่สุดในขณะนี้ คือ อารมณ์เกาะกายที่มีทุกขเวทนา แต่ก็นับว่าเป็นของธรรมดานะ เพราะถ้าหากวางได้จริงๆ นั่นเป็นอารมณ์ของพระอรหันต์ ซึ่งอรหันต์เท่านั้นที่ไม่ห่วงกาย ต่ำกว่านั้นยังไม่มีอารมณ์ตัดได้เด็ดขาด ก็ต้องห่วงบ้าง ปล่อยบ้าง เป็นธรรมดา ไม่เชื่อให้ทดลองสอบอารมณ์ของตนเองดู แม้จะเคร่งแค่ไหน ก็ยังไม่วายเกาะทุกขเวทนาของกายกันทุกคน

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ ตอน ๑

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

#สมเด็จองค์ปฐม2 #ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น2

ที่มา
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=429598862325693&id=100058267472797

สมัยแรก พระป่า-พระธรรมยุต ก่อนพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างไร.?

.
เมื่อกล่าวถึง “พระป่า” ภาพที่นึกถึงก็เป็น พระที่ออกไปธุดงค์ แสวงหาสถานที่สงบๆ เพื่อบำเพ็ญสมาธิภาวนา โดยพระป่าที่ได้รับการยกย่องในสายพระป่าที่ได้รับการยอกย่องเป็น “พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า” ก็ต้องยกให้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ที่ชาวบ้านศรัทธาจำนวนมาก โดยเฉพาะทางจังหวัดอุดรธานี หนองคาย นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น ฯลฯ
.
แล้วก่อนหน้า พระอาจาย์ทมั่น ภูริทัตโต พระป่า-ธรรมยุต สมัยแรกเป็นอย่างไร คำถามนี้ ธัชชัย ยอดพิชัย ตอบไว้ในบทความชื่อ “ต้นวงศ์ ‘พระป่า-ธรรมยุต’ สมัยรัชกาลที่ 3 : จิตรกรรมฝาผนังภายในหอพระไตรปิฎก วัดบวรนิเวศวิหาร” (ศิลปวัฒนธรรม, เมษายน 2554) ซึ่งขอคัดย่อบางส่วนมานำเสนอดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยผู้เขียน)
.
เมื่อกล่าวถึงพระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย คือ “ฝ่ายคันถธุระ” และ “ฝ่ายวิปัสสนาธุระ”
.
พระภิกษุ “ฝ่ายคันถธุระ” จะศึกษาพระปริยัติธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความรอบรู้ในหลักธรรม เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ และสั่งสอนผู้อื่นต่อไป ส่วนใหญ่พระภิกษุฝ่ายคันถธุระ มักจะอยู่ที่วัดในเมืองหรือหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการแสวงหาความรู้เพื่อตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ และได้ใช้ความรู้นั้นๆ สั่งสอนผู้อื่นได้ง่าย ได้บ่อยครั้งและได้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น “ฝ่ายคามวาสี” หรือ “พระบ้าน”
.
ส่วนพระภิกษุ “ฝ่ายวิปัสสนาธุระ” นำเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจังโดยเน้นที่การฝึกจิตในด้านสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าวจำเป็นต้องหาที่สงบสงัด ห่างไกลต่อการรบกวนจากภายนอกในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นพระภิกษุฝ่ายนี้จึงออกไปสู่ป่าเขา แสวงหาสถานที่ เพื่อที่จะบำเพ็ญสมาธิภาวนาอย่างได้ผล จึงเรียกพระภิกษุฝ่ายนี้ว่า “ฝ่ายอรัญวาสี” หรือ “พระป่า” หรือ “พระธุดงค์”
.
@@@@@@@
.
“พระป่า” ในไทย ถ้าในรอบกว่าศตวรรษที่ผ่านมา แบ่งเป็นสายใหญ่ๆ ได้ 2 สาย คือ
    - สายแรกเป็นพระป่าฝ่ายธรรมยุต หรือเรียกว่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    - ส่วนสายที่ 2 เป็นพระป่าฝ่ายมหานิกาย ที่เป็นหลักใหญ่ คือ สายหลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี และหลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี
.
เบื้องต้นนี้ขอเสนอข้อมูลพอสังเขปที่กล่าวถึง “พระป่า-ธรรมยุต” (ในภาคอีสาน) ข้อมูลแรกมาจาก “ต้นตระกูลกรรมฐาน” แสดงโดยพระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เนื่องในวันบูรพาจารย์ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (ข้อมูลจากhttp://www24.brinkster.com)
.
“บูรพาจารย์” หมายถึง อาจารย์ผู้เกิดก่อนเรา ท่านเกิดก่อนเรา ท่านบวชก่อนเรา ท่านสอนเรามาก่อน จึงได้ชื่อว่า พระบูรพาจารย์
.
อันดับของพระบูรพาจารย์ในภาคอีสาน อันดับแรก ท่านอริยกวี (อ่อน) (พระอริยกวี (อ่อน)) เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)ได้ไปอุปสมบทในสำนักของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งสมัยนั้นพระองค์ยังทรงอุปสมบทอยู่ ยังไม่ทรงลาผนวชออกมาครองเมือง แล้วท่านผู้นั้นก็ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมเรียนรู้พระธรรมวินัย แล้วก็นำธรรมวินัยซึ่งถอดแบบจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไปประดิษฐานคณะพระกรรมฐานธรรมยุตสงฆ์ที่วัดสีทอง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อสิ้นบุญบารมีของท่านอริยกวี (อ่อน) ก็ตกทอดมาถึงท่านพันธุละ ซึ่งเป็นสหธรรมิกของท่าน
.
ถัดจากนั้น ก็มาถึงยุคของพระเดชพระคุณ เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ท่านบริหารกิจการพระศาสนาทั้งฝ่ายปริยัติและทั้งฝ่ายปฏิบัติ ภาษากฎหมายเขาว่า คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ คันถธุระ มีหน้าที่จัดการบริหาร ปกครองคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ตราเป็นกฎหมายสงฆ์ขึ้นมาเรียกว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และก็จัดการศึกษาพระปริยัติธรรม คือ สอนนักธรรม สอนบาลี สอนทั้งการปฏิบัติธุดงคกรรมฐาน สอนจนกระทั่งสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน เป็นนักปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม ขนาดขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ พอขยับตัว ขาหัก ยังนั่งเทศน์เฉย เอาซิ
.
@@@@@@@
.
ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์นี้แหละ ท่านมีลูกศิษย์ 2 องค์ องค์หนึ่งคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถร) ตอนนี้มาแยกสายกัน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสมหาเถร) เป็นผู้ทำธุระในฝ่ายคันถธุระแล้วลูกศิษย์อีกองค์หนึ่งคือ พระเดชพระคุณ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นี้ ทำหน้าที่เฉพาะฝ่ายปฏิบัติฝ่ายเดียว
.
พระธุดงค์ในภาคอีสานที่ออกเดินธุดงค์ไปตามหัวเมืองน้อยเมืองใหญ่ ตามป่าตามชนบทเป็นองค์แรกเท่าที่รู้มา คือ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลังจากที่ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วประมาณ 6 พรรษา ก็มาได้ลูกศิษย์องค์สำคัญ คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต นี่เป็นกำลังสำคัญ
.
ถ้าจะเปรียบเทียบผู้สอนหนังสือ หลวงปู่เสาร์สอนได้เฉพาะแต่ระดับประถมและมัธยม แต่หลวงปู่มั่นสอนถึงระดับมหาวิทยาลัยจนถึงปริญญาเอก ทีแรกหลวงปู่มั่นมาเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่เสาร์แต่บุญบารมีของหลวงปู่มั่นนั้น บุญวาสนาของท่านมีปฏิภาณรวดเร็ว การปฏิบัติธรรมก้าวหน้าได้ดี แล้วลงผลสุดท้าย ขั้นสมถะพระอาจารย์เสาร์สอนพระอาจารย์มั่น ขั้นวิปัสสนาพระอาจารย์มั่นย้อนกลับมาสอนพระอาจารย์เสาร์ อาจารย์กลับเป็นลูกศิษย์ ลูกศิษย์กลับเป็นอาจารย์ แต่ท่านก็ยังมีความเคารพต่อกันอย่างสุดซึ้ง ซึ่งหาความเคารพของพระภิกษุสามเณรปัจจุบันนี้มีต่อครูบาอาจารย์นั้น จะเปรียบเทียบอย่างท่านไม่ได้เลย แม้ว่าท่านจะเก่งกว่าอาจารย์ในทางภูมิจิต ภูมิธรรม ท่านก็ไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่าน เคารพปรนนิบัติอยู่จนกระทั่งมรณภาพตายจากกันไป อันนี้คือจุดเริ่มของพระธุดงคกรรมฐานในสายภาคอีสาน
.
อยู่มาภายหลัง พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ไปเรียนหนังสืออยู่ที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี พอดีในพรรษานั้น พระอาจารย์มั่นไปจำพรรษาที่วัดบูรพาฯ ซึ่งอยู่ในเมืองเดียวกัน ไม่ทราบว่าเป็นพ.ศ. เท่าใด ทีนี้พระอาจารย์ดูลย์ กับ พระอาจารย์สิงห์ เวลาว่างจากเรียนพระปริยัติธรรม ว่างจากการสอนหนังสือ (เมื่อก่อนนี้ โรงเรียนชั้นประถมนี้อยู่ในวัด) พอตกค่ำก็ไปเฝ้าพระอาจารย์มั่น ไปเรียนกรรมฐาน ไปฟังเทศน์ฟังธรรมพระอาจารย์มั่น ในทางปฏิบัติสมาธิ สมถภาวนา แล้วมาปฏิบัติตาม เกิดผลจิตสงบเป็นสมาธิ มีสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน มีปีติ มีความสุข ทั้งสององค์ท่านก็เลยตัดสินใจเลิกเรียนปริยัติธรรมติดตามพระอาจารย์มั่นไปเป็นลูกศิษย์ เดินธุดงค์ไปทั่วภาคอีสาน”
.
@@@@@@@
.
ข้อมูลอีกส่วนที่ขอคัดมานำเสนอมีความสำคัญต่อการอธิบาย ต้นวงศ์ “พระป่า-ธรรมยุต” สมัยแรกอยู่มาก คือสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงครองสมณเพศเป็น “วชิรญาณภิกขุ” ในสมัยรัชกาลที่ 3 หนังสือ “ประวัติคณะธรรมยุต” จัดพิมพ์เนื่องในวาระงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2547 โดย คณะกรรมการบริหารคณะธรรมยุต ได้ค้นคว้ากล่าวถึงการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฟื้นฟูการศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระไว้ว่า “ทรงฟื้นฟูการศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระ”
.
การคณะสงฆ์ไทยแต่โบราณมา จัดการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายคามาวาสี มีหน้าที่เอาธุระศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ เรียกว่า ฝ่ายคันถธุระ มีพระสังฆราชา หรือพระสังฆราชเป็นประมุขปกครองดูแล และมีพระสังฆนายกรองลงมาเป็นผู้ช่วย ฝ่ายอรัญวาสี มีหน้าที่เอาธุระศึกษาอบรมทางสมณะและวิปัสสนา เรียกว่า ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระสังฆราชา หรือพระสังฆราช เป็นประมุขปกครองดูแล และมีพระสังฆนายกรองลงมาเป็นผู้ช่วยเช่นเดียวกัน แต่ละฝ่ายต่างปกครองดูแลคณะของตนโดยไม่ขึ้นแก่กัน
.
แบบแผนการคณะสงฆ์ของไทยได้ดำเนินมาในลักษณะนี้จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง คือมีพระสังฆราชา หรือพระสังฆราช ซึ่งต่อมาเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช แต่พระองค์เดียว เป็นประมุขของสังฆมณฑล แต่ให้มีพระสังฆนายกฝ่ายคามวาสี และพระสังฆนายกฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งต่อมาเรียกว่า ฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย เป็นผู้ช่วยสมเด็จพระสังฆราช ปกครองดูแลในฝ่ายนั้นๆ แบบแผนการคณะสงฆ์ลักษณะนี้ได้ดำเนินสืบมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง
.
ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนแปลงการคณะสงฆ์จากเดิมที่จัดเป็นฝ่ายคามวาสีและฝ่ายอรัญวาสี เป็นฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ โดยให้แต่ละฝ่ายปกครองดูแลทั้งพระสงฆ์สามเณรคามวาสีและอรัญวาสี ดังปรากฏในสร้อยนามสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ และเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้ว่า ‘มหาอุดรคณฤสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี’ และ ‘มหาทักษิณคณฤสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี’ ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์สามเณรฝ่ายอรัญวาสีมีน้อยลงจนไม่พอที่จะจัดการปกครองเป็นฝ่ายหนึ่งต่างหากเช่นแต่ก่อน แต่ยังคงให้มีเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีไว้โดยไม่มีวัดในปกครอง เพราะมีหน้าที่ต้องตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน
.
มาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ขึ้นแล้ว ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีก็เป็นอันยกเลิกไป เพราะไม่มีวัดฝ่ายอรัญวาสีขึ้นอยู่ในปกครอง
.
@@@@@@@
.
จากลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ของไทยแต่โบราณมาจะเห็นได้ว่า วิปัสสนาธุระ ถือว่าเป็นหน้าที่ที่พระสงฆ์สามเณรจะต้องศึกษาอบรมกันอย่างจริงจัง สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงอุปถัมภ์บำรุงอย่างเต็มที่ ถึงกับทรงตั้งสังฆราชาและพระสังฆนายกปกครองดูแลกันเองอย่างเป็นเอกเทศ แต่การศึกษาอบรมฝ่ายวิปัสสนาธุระค่อยจืดจางลงตามลำดับ พระสงฆ์สามเณรฝ่ายอรัญวาสีก็ลดน้อยลงตามกาล วัดฝ่ายอรัญวาสีก็ลดน้อยลงจนไม่พอที่จะจัดการปกครองเป็นฝ่ายหนึ่งหรือคณะหนึ่งต่างหากจากฝ่ายคามวาสี
.
ที่สุดฝ่ายอรัญวาสีหรือคณะอรัญวาสีก็เป็นอันยกเลิกไป พระสงฆ์สามเณรฝ่ายอรัญวาสีที่ยังคงพอมีอยู่จึงรวมอยู่ในปกครองของฝ่ายคามวาสีสืบมาจนปัจจุบัน เป็นอันว่าธุระหรือหน้าที่ประการหนึ่งของพระสงฆ์สามเณร คือวิปัสสนาธุระได้ถูกลืมเลือนไปหรือได้รักบารเอาใจใส่น้อยลงตามลำดับจนเกือบจะไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
.
ในตอนปลายรัชกาลที่ 2 ได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูการศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระให้เข้มแข็งขึ้นครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดให้อาราธนาพระเถราจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระทั้งในกรุงและหัวเมืองเข้ามาตั้งเป็นพระอาจารย์บอกกรรมฐาน แล้วส่งไปประจำอยู่ตามวัดต่างๆ ทั้งในกรุงและหัวเมือง เพื่อสั่งสอนพระกรรมฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและอุบาสกอุบาสิกา แต่พระอาจารย์กรรมฐานที่ทรงพระกรุณาโปรดให้อาราธนาทั้งจากในกรุงและจากปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือครั้งนั้นก็มีเพียง 76 รูป ฉะนั้น การฟื้นฟูการศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระเมื่อครั้งนั้น จึงคงเป็นไปไม่ได้ทั่วถึงและเมื่อสิ้นรัชกาลที่ 2 แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการอย่างใดต่อไปอีก
.
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การศึกษาของภิกษุสามเณรฝ่ายคันถธุระ เจริญก้าวหน้าไปเป็นอันมาก เพราะได้รับการส่งเสริมและเอาใจใส่ดูแลด้วยดีตลอดมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนการศึกษาฝ่ายวิปัสสนาธุระกลับซบเซาลงไปตามลำดับ เพราะขาดการส่งเสริมและเอาใจใส่อย่างจริงจัง
.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยเมื่อเสด็จประทับ ณ วัดสมอรายนั้น นอกจากจะทรงกวดขันให้ภิกษุสามเณรที่ถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาเล่าเรียนฝ่ายคันถธุระหรือพระปริยัติธรรมอย่างจริงจังแล้ว ยังทรงแนะนำให้ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ทั้งทางสมถะและทางวิปัสสนา ให้ภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์หลวงทั้งหลายได้ศึกษาและปฏิบัติ ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาแสดงแนวทางการศึกษาอบรมทั้งทางสมถะและวิปัสสนาไว้หลายเรื่อง เช่น วิปัสสนาวิธี วิปัสสนากรรมฐาน อารักขกรรมฐานสี่ พรหมจริยกถา เป็นต้น
.
@@@@@@@
.
แม้พระองค์เองก็ทรงนำในทางปฏิบัติดังเป็นที่ทราบกันว่า เมื่อถึงหน้าแล้งจะทรงนำพระศิษย์หลวงออกจาริกไปตามป่าเขาในหัวเมืองต่างๆ ในมณฑลนครชัยศรี มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา มณฑลนครสวรรค์ ตลอดไปจนถึงมณฑลพิษณุโลก เพื่อบูชาปูชนียสถานสำคัญและแสวงหาที่วิเวกเจริญสมณะและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นประจำแทบทุกปี เป็นการวางแบบอย่างให้ภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตถือเป็นแนวทางการศึกษาและปฏิบัติพระศาสนาสืบมา
.
ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่า พระสงฆ์ธรรมยุตในชั้นต้นมักเป็นผู้เอาธุระทั้งสองอย่างเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ ในฤดูฝน อยู่จำพรรษาตามอาราม ศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ เป็นการเอาธุระฝ่ายคันถธุระ เมื่อถึงฤดูแล้ง มักจาริกไปตามป่าเข้าเพื่อแสวงหาที่วิเวกเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเอาธุระฝ่ายวิปัสสนาธุระ
.
พระเถรานุเถระธรรมยุตในยุคแรกจึงมักเป็นที่ปรากฏต่อสายตาสาธุชนว่าเป็นพระกรรมฐาน แม้พระเถระผู้ใหญ่จำนวนมากก็ปรากฏชื่อเสียงเกียรติคุณในทางวิปัสสนาธุระ เช่น
.
– พระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร ป.9) วัดบรมนิวาส
– สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ ป.9) วัดโสมนัสวิหาร
– สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ ป.9) วัดปทุมคงคา
– สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ ป.8) วัดราชาธิราช
– พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท ป.4) วัดบรมนิวาส
– พระครูสิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโภ) เจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดปราจีนบุรี
– พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นต้น
.
เพราะเหตุนี้ จึงได้ถือเป็นประเพณีนิยมในคณะธรรมยุตว่า พระเถรานุเถระเป็นผู้ปกครองหมู่คณะ ควรเป็นผู้เอาใจใส่ในวิปัสสนาธุระ คือปฏิบัติกรรมฐานด้วย แม้จะสำนักอยู่ในอารามที่เป็นคามวาสี ทั้งนี้เพื่อจักได้เป็นแบบอย่างแก่ภิกษุสามเณรในปกครองสืบไป
.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อยังทรงผนวชอยู่ จึงได้ชื่อว่าทรงเป็นผู้ฟื้นฟูการปฏิบัติกรรมฐานให้เป็นที่นิยมในหมู่ภิกษุสามเณรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และยังผลให้เป็นที่นิยมแพร่หลายตลอดไปถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไปในเวลาต่อมาด้วย”
.
หนังสือ “ประวัติคณะธรรมยุต” ทำให้เห็นภาพ ต้นวงศ์ “พระป่า-ธรรมยุต” สมัยรัชกาลที่ 3 ที่เกิดจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงเป็นผู้ฟื้นฟูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ดังปรากฏว่า พระสงฆ์ธรรมยุตในชั้นต้นมักเป็นผู้เอาธุระทั้งสองอย่างเป็นส่วนใหญ่ คือเป็นทั้ง “พระบ้าน” และ “พระป่า” อนึ่งก็คือภาพสะท้อนสภาพความเป็นธรรมชาติที่ยังมีอยู่มากในอดีตที่ป่ากับชุมชนยังมิได้แยกอย่างชัดเจนดังเช่นสังคมยุคสมัยปัจจุบันที่ชุมชนสังคมเมืองขยายรุกไปยังป่า
.
.
.
____________
ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : เสมียนนารี
เผยแพร่ : วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2565
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 พฤษภาคม 2565
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_87043
Photo : internet

#นิพพานชาตินี้

*** #นิพพานชาตินี้โดยคุณลุงยกทรง *** 
17 ข้อปฏิบัติเพื่อนิพพานของคุณลุงยกทรง (อาจารย์วีระ งามขำ) -- ปัจฉิมาจารย์ผู้ยอมตายถวายชีวิตให้กับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ [ท่านได้ละสังขารขันธ์เข้าสู่พระนิพพานแล้ว วันที่ 8 ต.ค. 49]

1. อธิษฐานตื่นนอนเช้าว่าวันนี้ลูกจะทำความดีให้มากที่สุดตายเมื่อไร ขอไปนิพพานชาตินี้

2. ทำบุญวันละบาท ขอถวายเป็นสังฆทาน ขอนิพพานชาตินี้ และขอให้ลูกคล่องตัวทุก ๆ อย่าง

3. รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ให้ครบทุกข้อจงขอบารมีพระพุทธเจ้ามาเป็นกำลังใจในการรักษาศีล

4. ภาวนามีให้เลือกดังนี้แบบฝึก มโนมยิทธิ หายใจเข้า นะมะ หายใจออก พะธะ หรือหายใจเข้า พุธ หายใจออก โธ หรือหายใจเข้า นิพพาน หายใจออก นิพพาน

5. นิมิต ฝึกจำพระพุทธรูปที่ตนชอบ 1 องค์หลับตาและลืมตา ต้องจำภาพพระพุทธรูปให้ได้

6. ขยายนิมิต ให้ออกไปกลางแจ้งขอให้พระพุทธเจ้าขยายให้เต็มท้องฟ้าแล้วคลุมตัวเรา ร้านและกิจการของเรา

7. เรียกบารมี ผลบุญใดที่ทำไว้แล้วทั้งหมด จงมาสนองตัวข้าพเจ้า ณ กาลบัดนี้เถิด

8. ขอขมาพระรัตนตรัยทุกวัน ข้าพระพุทธเจ้า ขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยขอได้โปรดยกโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า เพื่อให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบัน ณ กาลบัดนี้เถิด

9. พิจารณา ให้ดูร่างกายของตนว่า สกปรก โสโครก เหม็นเน่าอืดพอง น้ำเหลืองเละเหมือนถุงห่อหุ้มของเน่าเหม็นมีร่างกายจึงเป็นทุกข์เพราะต้องแก่-เจ็บแล้วก็ตายสลายหมด อนิจจา… พอหนังกำพร้าฉีกขาด น้ำเลือดน้ำหนองหลั่งไหลเหม็นคาวน่าคลื่นไส้อวกแตกชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย สำหรับร่างกายอันแสนโสโครก !

10. ทาน - ศีล - ภาวนา จะน้อยหรือมาก ให้ทำด้วยความเต็มใจ เพื่อเข้าพระนิพพานชาตินี้

11. ขอยืนยันว่าเราเข้านิพพานชาตินี้ได้เพราะ จิตนึกสิ่งใดไว้เสมอ ๆ ตายแล้วจะไปที่นั้นแล

12. พระพุทธเจ้า 5 แสน 1 หมื่น 2 พัน 28 พระองค์, พระปัจเจกพระพุทธเจ้านับเป็นล้านๆ พระอรหันต์เป็นแสนๆ โกฎิ อยู่ครบที่เมืองนิพพานคอยสงเคราะห์คนทำความดีพิสูจน์ได้

13. นิพพานสูญ สูญแปลว่าว่างจากกิเลสทั้งหมด แต่มีสภาพเป็นทิพย์พิเศษบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ที่นั่นเป็นอมตะถ้าปฏิบัติกับครูผู้ทำได้ทำถึง ปัญหาไม่มี อย่าห่วงตำรา อย่าบ้าความรู้ปริยัติจงถอดหัวโขนสักครู่แล้วไปฝึกกับครู ลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

14. คบผู้รู้นิพพาน สอนนิพพาน ทำทุก ๆอย่างเพื่อพระนิพพานชาตินี้ จะมีผลดีแก่ตนได้มรรคผลชาตินี้แล แต่…..ถ้าคบนักเปรตปฏิเสธพระนิพพานอเวจีครับท่าน แย่งกันไปเยอะ

15. แผ่เมตตาก่อนปฏิบัติธรรมข้าพเจ้าขอแผ่เมตตาบารมีจิตให้แด่ท่านทั้งหลาย และสรรพวิญญาณทั้งปวงขอจงอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน จงมีความสุข พ้นทุกข์ในชาตินี้และให้เข้าถึงที่นิพพานเทอญ

16. คำอาราธนาเจริญกรรมฐาน ลูกขอบูชาและขออาราธนาบารมี พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์พระธรรมและพระอริยะสงฆ์ทั้งหลายบิดามารดา ครูบาอาจารย์ พรหมเทวดาทั้งหมดขอได้โปรดสงเคราะห์ให้ได้รู้ได้เห็นพระนิพพานตามความเป็นจริง ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

17. อุทิศส่วนกุศลขออุทิศส่วนกุศลที่ได้บำเพ็ญมาแล้วนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ พระธรรมและพระอริยะสงฆ์บิดามารดา ครูบาอาจารย์ พรหมเทวดามนุษย์ทั้งหลาย อบายภูมิ 4 เจ้ากรรมนายเวร สรรพวิญญาณทั้งหมด จงโมทนา จงมีความสุขพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก้าวล่วงถึงพระนิพพานขอพญายมราชจงเป็นสักขีพยานการเข้าถึงนิพพาน ของข้าพเจ้าในชาตินี้ด้วยเถิด

------------------------------------------
โดย : คุณลุงยกทรง (วีระ งามขำ)
ที่มา : indraphong.com

ที่มาข้อมูล
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10217253642372765&id=1822896947

ความพอดีต่อความปฏิบัติตน

#หลวงปู่วัน อุตตโม
🍀อุบายธรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแต่เวลานั่งสมาธิหรือเดินจงกรมเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกกรณี แม้แต่เวลาเราตื่นนอนก็ยังเกิดได้ แต่จะต้องเกิดในขณะเดียวกันกับขณะตื่นนอน

แต่เรื่องนี้ก็รู้กันได้หรือฟังกันออกเฉพาะผู้ปฏิบัติเป็นแล้วเท่านั้น ผู้ที่ยังไม่เป็นด้วยตนเองอาจจะมองไปหลายทางเหมือนกัน

🍀สำหรับอุบายทางธรรมนั้น สามารถเพิ่มกำลังความเพียรได้ดี และทำความเห็นของตนให้กระจ่างแจ้งไปตามลำดับ ทั้งจะรู้จักสรณาคมน์ของตนได้ดี พอเข้าใจคุณค่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้ด้วย และเป็นเหตุให้สนใจในธรรมปฏิบัติต่อไป ชอบนำเอาธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมา ไปค้นคิดและลงมือปฏิบัติไปด้วย เพราะมีความอยากรู้อยากเห็นต่อความจริง แต่ก็เป็นความฉลาดที่หนักไปทางศรัทธา จึงไม่ค่อยจะรอบคอบเท่าไรนัก ความเพียรถึงจะกล้า ก็ด้วยกำลังแห่งศรัทธา

🍀ผู้ปฏิบัติทั้งหลายที่ตกเข้ามาถึงขั้นนี้ มักจะหยิ่งในความรู้เห็นเป็นไปของตนโดยส่วนมาก และมักจะเสื่อมเสียเพราะความเย่อหยิ่งของตน 

🍀ฉะนั้น จะต้องรู้จักการประคองตนไว้ในความสงบ แล้วใช้ความแยบคายให้มากจึงจะไม่เสื่อมเสีย ข้อสำคัญก็คือ ไม่ควรจะตีราคาตนเองก็เป็นพอ พิจารณาตรวจค้นดูตนเองอยู่เสมอและไม่ควรเอาตนเองออกเทียบกับผู้อื่น เพราะจะเป็นเหตุให้สำคัญว่าตนดีกว่าท่าน ธรรมดาคนเรามักจะเข้าข้างตนเองเสมอ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อเราสำรวจตนเองอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้ความพอดีต่อความปฏิบัติของตนต่อไป

วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก


"...ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย ฉะนั้นต้องให้เข้าใจว่า ความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว ต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน " ต้องมาหัดผู้รู้ คือ จิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา กำหนดรู้เท่ามหาสมมติ-มหานิยม อันเอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศ กลางหาวดาวนักขัตตฤกษ์สารพัดสิ่งทั้งปวง อันเจ้าสังขารคือ การจิตหาออกไปตั้งไว้บัญญัติไว้ว่าเขาเป็นนั้นเป็นนี้ จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่ากำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว จิตก็จะรวมลงได้ เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค " หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเองเพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ในกาย วาจา จิตนี้ ที่เรียกว่า อกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อ โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว คือ มาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะ เปื่อยเน่า แตกพังลงไป ตามสภาพความจริงของภูตธาตุ ปุพฺเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อน สวางโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้ อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกรำฝน จึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุกมาได้ และได้บริโภคอิ่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ใน กาย วาจา จิต ของทุกคน..." 

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ขออนุโมทนาบุญท่านผู้มีส่วนเผยแพร่โอวาทธรรมและภาพพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ขอจงเจริญรุ่งเรืองในธรรมพบสุขอันเกษม สาธุ นิพพานะปัจจะโยโหตุ

#อายุของเทวดา_แต่ละชั้น

⚜️⚜️
⚜️มีพระสูตรบางบทที่กล่าวว่าการรักษาศีล ๕ และร่วมกับการทำทานทำให้เข้าถึงความเป็นสหายกับเทวดาแต่ก็ไม่สูงเท่ากับที่จะกล่าวถึงในวิตถตสูตรนี้

⚜️พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการถือศีล ๘ ว่า “อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก”

“ความสุขของมนุษย์เป็นเพียงแค่กำไรเท่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้าเมื่อเทียบสุขอันเป็นทิพย์”

⚜️ #ดูกรภิกษุทั้งหลาย⚜️

👫 ๕๐ ปีมนุษย์ #เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

👫 ๑๐๐ ปี #มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นดาวดึงส์

👫 ๒๐๐ #ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นยามา

👫 ๔๐๐ #ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นดุสิต

👫 ๘๐๐ #ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี

👫 ๑,๖๐๐ #ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

“หญิงหรือชายผู้มีศีล เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย องค์ ๘ ประการแล้ว กระทำบุญทั้งหลายอันมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติเตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์ ฯ”

⚜️ #อายุขัยของเทวดาเทียบกับ_ปีของมนุษย์โลก⚜️

⏳หนึ่ง 1 ปีทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น เท่ากับ 360 วันทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น

✴️ชั้นจาตุมีอายุ 500 ปีทิพย์ 1 วันทิพย์ เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์ ดังนั้นเท่ากับ 500X360X50 = 9,000,000 ปี

✴️ชั้นจาตุม​ มีอายุ 500 ปีทิพย์ = 9,000,000 ปี

✴️ชั้นดาวดึงส์ 1000 ปีทิพย์ = 36,000,000 ปี

✴️ชั้นยามา 2000 ปีทิพย์ = 144,000,000 ปี

✴️ชั้นดุสิต 4000 ปีทิพย์ = 576,000,000 ปี

✴️ชั้นนิมมา 8000 ปีทิพย์ = 2,304,000,000 ปี

✴️ชั้นปรนิม 16000 ปีทิพย์ = 9,216,000,000 ปี

🖋️📚#อ้างอิงพระไตรปิฎก​ เล่มทึ่ ๒๓.[๒๓/๑๓๒] วิตถตสูตร

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

"ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพวกเรา"

"ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของพวกเรา ที่เจ้าหนี้คือกิเลสมันตามทวง มีอะไรบ้างมันก็มารวมทวงกันชาตินี้แหละ ตัดใจเสียนะลูกรัก คิดว่าเรารวมใช้หนี้มันเท่าที่เราจะพึงมี มันอยากทวงก็เชิญให้มันทวง เราจะยอมลำบากเพียงชาตินี้ชาติเดียว ต่อไปเราพ้นภัย คือเข้าพระนิพพานกันก็หมดเรื่อง จงคิดว่าขณะนี้เรากำลังถูกเจ้าหนี้ใช้งานเราเพื่อลบล้างหนี้ เมื่อหนี้หมด เรามีความสุข คิดอย่างนี้ใจจะสบาย มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า โลกไม่มีความสุข เอาอะไรแน่นอนไม่ได้ อะไรเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาช่างมัน ต่อสู้กับมันโดยธรรมจนกว่าจะสิ้นลมปราณ"

ธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๓๗ ฉบับที่ ๔๒๖ กันยายน ๒๕๕๙ หน้า ๒๙

สมเด็จองค์ปฐม พระองค์ทรงเมตตาตรัสไว้ว่า

๑. “พยายามตัดกรรมเข้าไว้ 
ใครจักทำอะไรก็ช่างเขา 
เจ้าอย่าเอาอารมณ์จิตไปผูกกรรมนั้นเข้าไว้ก็แล้วกัน” 

(สาเหตุ ก็เพราะเพื่อนของผมถูกกระทบจากพวกที่ไม่ปรารถนาดี จิตก็ยังหวั่นไหวอยู่มาก)

๒. “มันเป็นธรรมดา เพราะเจ้ายังไม่ใช่อรหันต์ 
เมื่อใดที่อารมณ์จิตมันไหว 
จักเป็นโมหะ วิตก หรือราคะ ปฏิฆะก็ตาม 
จงมองเห็นโทษของการไหวไปในอารมณ์นั้น 
เพราะเวลานี้จิตของเจ้าก็ถูกความทุกข์เข้าครอบงำ”

๓. “อย่างการร่วมเพศเสพกาม เจ้าก็ได้เห็นแล้วว่า ร่างกายมีทุกข์ 
เพราะความเจ็บปวดเข้าเบียดเบียน 
แต่กามสัญญาเป็นธรรมารมณ์ที่เข้ามาเบียดเบียนจิต 
ให้เกิดความทุกข์เข้าครอบงำ”

๔. “การกระทบกระทั่งทางกาย เป็นความทุกข์ของร่างกาย 
การกระทบกระทั่งของจิต ก็เป็นความทุกข์ของจิต 
มีความเจ็บปวดพอกัน 
เพราะเวทนาของกายไม่เที่ยง 
เวทนาของจิตก็ไม่เที่ยงเช่นกัน 
แต่อารมณ์หลง ยึดเวทนาทั้งทางกายและเวทนาของจิต 
มันไม่ยอมละ ไม่ยอมปล่อยวางเวทนานั้น 
จึงเป็นเหตุให้เวทนานั้น หวนกลับมาทำร้ายจิตได้เสมอ ๆ”

๕. “จิตเกาะกรรมไม่ยอมปล่อย จึงตกเป็นทาสของอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะ อยู่เสมอ ๆ 
เจ้าเห็นทุกข์ เห็นโทษของอารมณ์ของตนที่เบียดเบียนตนเองอยู่หรือไม่” 
(ก็ยอมรับว่าเห็น)

๖. “อย่าโทษบุคคลอื่นที่ทำเหตุมากระทบ กระทั่งร่างกายและอารมณ์จิตของเรา 
วินาทีนั้นผ่านไป ทุกอย่างก็อนัตตาแล้ว 
อย่ายึดถือเอามาเป็นธรรมารมณ์ 
ทำร้ายจิตของตนให้บาดเจ็บต่อไปอีกเลย 
เคารพกฎของกรรมให้มาก ๆ”

๗. “เอาคาถาว่ากันคุณไสยไว้บทหนึ่ง 
เป็นการเตือนจิตของตนไว้ 
อย่าไปยึดการกระทบกระทั่งทางร่างกายและจิตเอาไว้ 

คาถานั้น คือ “พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปปมาโณ ปัด-ตัด ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา” 

แล้วระลึกถึงความอนัตตาเข้าไว้ 
เจ้าก็จักปลอดภัยจากคุณไสย 
และเตือนจิตให้ปลอดจากการกระทบกระทั่งทั้งทางร่างกายและจิตใจ”
“ขอให้ใคร่ครวญให้ดี ๆ”

ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม ๔)
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

แหล่งที่มา
https://www.facebook.com/100001376460538/posts/5080978545291311/

21 พฤษภาคม 2565

บุญบารมี

เราท่านทั้งหลาย จงเตือนใจไว้เสมอนะว่า ถ้าประสงค์ความสุข ความเจริญ โภคสมบัติ จงหมั่นสร้างบุญ สร้างกุศลไว้อย่างสม่ำเสมอ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลังศรัทธา เพราะเราไม่อาจจะรู้ได้ว่า อดีตชาติเราได้สร้างบุญหรือสร้างบาปไว้มากน้อยเพียงใด และผลของกรรมใดจะส่งผลก่อนหรือหลัง
เพื่อความไม่ประมาท จึงควรจะสร้างบุญกุศลเป็นการเพิ่มเติมไว้เสมอ ถ้าอดีตทำไว้มากแล้ว ก็จะยิ่งมีมากขึ้น ย่อมให้ผลก่อนที่มีกำลังน้อยกว่า อันเป็นกฎธรรมชาติของกรรม ฉะนั้น ด้วยความไม่ประมาท จงระลึกไว้ว่า ถ้าตนเองไม่สะสมบุญวาสไว้แล้ว ใครที่ไหนจะช่วยเราได้ ตัวของเราจะมีอะไรไว้เป็นทุนเดินทางเวียนว่ายในวัฏฏทุกข์ที่ยังต้องผจญต่อไป ไม่รู้ว่าจะจบสิ้นเมื่อไหร่ กว่าจะรู้แจ้งพระสัทธรรม เข้าถึงบรมสุขคือพระนิพพาน

จงระลึกไว้เสมอว่า วันนี้เราสะสมบุญ ความดี เตรียมตัวไว้เดินทางแล้วหรือยัง จะรอให้คนอื่นทำไปให้นั้น จะมั่นใจดีเท่ากับเราเตรียมหาไปเองหรือ

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ได้เทศนา สอนไว้ให้จดจำไว้ว่า

“ลูกเอ๋ย..ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีของคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว...แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้าหมั่นสร้างบารมีไว้..แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง”

“เจ้าจงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้...ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า…”

ดังพุทธสุภาษิตท่านสอนไว้ว่า
อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ – ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน”

บทความธรรมะ อมตะธรรม ประเทศไทย
#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

การทำสมาธิ

"....... การทำสมาธิ เมื่อจิตลงสู่ความสงบแล้ว 
ย่อมมีมารเข้ามาแทรกซ้อนได้ง่าย และทำให้จิตเกิดความเห็นผิด ในกลลวงของกิเลสตัณหา 
ส่วนมาก #มารจะแฝงเข้ามาในรูปนิมิต
ที่เกิดจากสมาธิ #และทำให้จิตมีความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของจริง
 
เพราะกิเลสอยู่ที่จิต จึงหลอกจิตได้ง่าย 
เช่น จิตมีความสงบแล้ว ก็จะเกิดแสงสว่างในลักษณะต่างๆ 

จะเข้าใจเองว่าแสงสว่างนี้เป็นปัญญาบ้าง
เป็นวิปัสสนาญาณบ้าง เป็นนิโรธสมาบัติบ้าง 
บางครั้งมีแสงสว่าง มีทั้งรูปนิมิต 
เป็นไปในลักษณะต่างๆ เช่น เห็นเด็กเกิดใหม่บ้าง เห็นคนแก่ เห็นคนเจ็บ และเห็นเป็นคนตายนอนอยู่ข้างหน้าบ้าง 

หรือเห็นท้องฟ้าที่สว่าง หรือเห็นก้อนเมฆ เห็นดวงดาว เห็นแม่น้ำ เห็นฟองน้ำหรือเห็นเป็นนานาชนิด

หรือพระพุทธรูป เห็นดวงแก้ว 

การเห็นอย่างนี้ จะตีความหมายไปว่า
เป็นวิปัสสนาญาณไม่ได้ 
จะตีความหมายว่ามีความรอบรู้ ในสรรพสังขารก็ไม่ถูก 
จะเข้าใจว่าตนรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมก็ไม่ได้ 

นี้เป็นเพียงนิมิตที่เกิดขึ้นจากสมาธิเท่านั้น !

#ถ้าผู้มีปัญญาเป็นพื้นฐานมาแล้ว
นิมิตนี้ จะเป็นประโยชน์
ในการพิจารณาด้วยเป็นอย่างดี 

หรือ #ถ้าผู้มีปัญญาเฉียบแหลมฝังอยู่ที่จิตแล้ว 
#นิมิตต่างๆจะไม่เกิดขึ้น !
เพราะนิมิตต่างๆนั้นยังตกอยู่ในสังขาร 
เป็นของไม่เที่ยงด้วยกันทั้งหมด ......."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญโญ 
จากหนังสือ : ทวนกระแสโลก พบกระแสธรรม

หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พระอริยสงฆ์ผู้เป็นตำนานแห่งศรัทธา

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด พระอริยสงฆ์ผู้เป็นตำนานแห่งศรัทธา
ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ทวด เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2125 เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หลวงปู่ทวดมีนามเดิมว่า ปู เป็นบุตรของนายหู นางจัน ชาวบ้านวัดเลียบ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ส่วนวันเดือนปีเกิดของเด็กชายปู ตรงกับวันเดือนปีใด หลักฐานยังขัดแย้งกันมากมีผู้สันนิษฐานไว้หลายกระแส ดังนี้

ข้อสันนิฐานที่ 1 อนันต์ คณานุรักษ์ ได้ระบุไว้ว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2125” ถ้า พ.ศ.นี้เมื่อผูกดวงตรงกับ วัน พุธ ที่ 3 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2125 ถือว่าไม่ใช่ พ.ศ. 2125 ตรงกับ วุธวาร, แรม 14 คํ่า , เดือน : 3 (มาคมาส), ปี มะเส็ง ปกติสุรทิน, จัตวาศก, ปกติมาส, ปกติวาร ร.ศ. : -199, จุลศักราช : 943, คริสต์ศักราช : 1582

วัน อังคาร ที่ 3 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2124 ตรงกับ ภุมวาร, แรม 4 คํ่า , เดือน : 4 (ผคุณมาส), ปี มะโรง ปกติสุรทิน, ตรีศก, อธิกมาส, ปกติวาร ร.ศ. : -200, จุลศักราช : 942, คริสต์ศักราช : 1581

วัน ศุกร์ ที่ 6 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2124 ตรงกับ สุกรวาร, แรม 7 คํ่า , เดือน : 4 (ผคุณมาส), ปี มะโรง ปกติสุรทิน, ตรีศก, อธิกมาส, ปกติวาร ร.ศ. : -200, จุลศักราช : 942, คริสต์ศักราช : 1581

ข้อสันนิฐานที่ 2 เอกสารยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรมวิลาสเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง ระบุว่า “อยู่มาไซร้แลครั้งเกิดสมเด็จพระราชมุนีมีบุญ แลได้พระพุทธศักราช 990 ฉลูสัมฤทธิ์ ศก”

ข้อสันนิฐานที่ 3 สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้ระบุไว้ว่า “ท่านเกิดปี จ.ศ. 950 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2131”

วัน ศุกร์ ที่ 4 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2131 ตรงกับ สุกรวาร, ขึ้น 8 คํ่า , เดือน : 4 (ผคุณมาส), ปี กุน อธิกสุรทิน, สัมฤทธิศก, ปกติมาส, ปกติวาร ร.ศ. : -193, จุลศักราช : 949, คริสต์ศักราช : 1588[2] ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน

เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม

เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป

ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น

โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2225 ท่านได้มรณภาพลงเมื่ออายุกาลครบ 100 ปี ที่ "เมืองไทรบุรี" ซึ่งเดิมเคยเป็นหัวเมืองทางใต้ของไทย แต่ตกเป็นของอังกฤษตามสนธิสัญญาที่ทำกันเมื่อปี พ.ศ.2451 พร้อมๆ กับอีก 3 หัวเมือง รวมเป็น 4 หัวเมือง คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ต่อมาคือหัวเมืองและรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย

ที่มาข้อมูล :วิกิพีเดีย

Crรูปภาพ: รัตศมิน มั่นคง

เพจ:ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้

ดูคนทุกคนที่มีลีลาชีวิตต่าง ๆ กันไป 
ให้เห็นเป็นกฎของกรรม 
และทุกอย่างเป็นของธรรมดา ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเท่านั้น 
อย่าถืออะไรมาเป็นสาระที่จริงจังของชีวิต 

ในยามนี้มีชีวิตอยู่ก็ให้เกื้อหนุนกันไป 
ด้วยความสงสาร และมีความเมตตาปราณี 

เป็นการทำจิตให้อ่อนโยนและทำให้เป็นผู้มีมิตรมาก 

แต่จำไว้ว่าอย่าเบียดเบียนตนเองมากจนเกินไป 
การกระทำทุกอย่างให้อยู่ในสายกลาง คือ 
ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น 
ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น 

ให้มีจิตเมตตาหวังดีกับคนทั้งโลกหรือสัตว์ทั้งโลก 
ความหวังดีไม่จำเป็นที่ต้องจักให้เป็นวัตถุ 
การรักษาศีลและกรรมบถ ๑๐ อันบริบูรณ์ 
ก็คือการหวังดีกับคนและสัตว์ทั้งโลกแล้ว 

ถ้าหากรักษาได้ อย่าขวางทางบุญและบาปของใคร 
เพราะพื้นฐานของจิตใจของแต่ละคนเกี่ยวกับบุญและบาปมีต่างกัน ไม่เท่ากัน 

จิตเมื่อจักวางในจริยาของบุคคลอื่น 
ก็จักต้องใช้ปัญญาพิจารณาจุดนี้ให้มาก ๆ ลงตัวธรรมดาให้ได้ 
แล้วจิตจึงจักปล่อยวางกรรมของคนอื่น ๆ ลงได้ 
ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมเลว

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

19 พฤษภาคม 2565

20 ธรรมะสอนใจ ความจริงของชีวิต

1. หมอดูที่แม่นยำที่สุดในโลก คือ กฎแห่งกรรม

2. พิธีสะเดาะเคราะห์แก้กรรม ที่ดีที่สุด คือ การสำนึกผิด และเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง

3. วิธีต่ออายุที่ได้ผลดีที่สุดในโลก คือ การละเว้นชีวิตผู้อื่น

4. วิธีเรียกทรัพย์ที่ดีที่สุดในโลก คือ การทำบุญให้ทาน

5. วิธีเสริมสวยที่ได้ผลดีที่สุด คือ รอยยิ้ม

6. ความสุขที่ราคาถูกที่สุด คือ ช่างหัวมัน

7. ความดีที่ประเสริฐที่สุดในโลก คือ ความกตัญญูกตเวที

8. การปลดปล่อยตัวเองที่เร็วที่สุด คือ การปล่อยวาง

9. การทำลายคุณธรรมของตนที่เร็วที่สุด คือ การเห็นแก่ตัว

10. ความสูญเสียที่สาหัสที่สุด คือ การเอาเปรียบผู้อื่น

11. บ่อที่ถมยากที่สุดในโลก คือ บ่อแห่งความโลภ

12. ไฟที่ยากดับที่สุด คือ ไฟแห่งโทสะ

13. สิ่งที่ทำให้คนมัวเมายิ่งกว่าการดื่มสุราที่มีฤทธิ์แรงที่สุด คือ ความหลง

14. ความมืดที่จุดแสงไฟให้สว่างได้ยากที่สุดคือ กามคุณ

15. ความงมงายที่ฝังแน่นที่สุดในโลก คือ อัตตา

16. ความผันผวนที่ยากคำนวนที่สุด คือ อนิจจัง

17. ภัยพิบัติที่ร้ายแรงและยาวนานที่สุด คือ การเวียนว่ายตายเกิด

18. ความสุขอันยาวนานที่สุด คือ การหลุดพ้น

19. สันติภาพที่เกิดขึ้นเร็วที่สุดในโลก คือ การให้อภัย

20. ศัตรูที่น่กลัวคือ ความคิดตนเอง

อมตะธรรม ประเทศไทย ขอขอบคุณ 
#ธรรมะสอนใจ #อมตะธรรม #ธรรมะ

ทุกอย่างสำเร็จอยู่ที่ใจ น้ำมนต์ไม่ต้องมีคาถา..ก็ศักดิสิทธิ์ได้

ทุกอย่างสำเร็จอยู่ที่ใจ น้ำมนต์ไม่ต้องมีคาถา..ก็ศักดิสิทธิ์ได้ นั้นถ้าเราไม่มีวิชาอะไร..ให้เอาจิตกำหนด จิตกำหนดว่าพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ จบด้วยบทพุทธคุณ ๑๐๘ ให้เข้าถึงตรงนี้ก็ใช้ได้แล้ว เข้าใจหรือเปล่าจ๊ะ นั้นไม่จำเป็นว่าเราต้องมีวิชาอะไร วิชามันไม่มีอะไร..มันมีแค่ใจอย่างเดียว คาถาทั้งหลายที่เค้าภาวนาไป..คาถาอะไรก็ตาม เพื่อให้ใจเรารวมเป็นหนึ่ง 

ถ้าจิตมันตั้งมั่นเป็นหนึ่งแล้ว..คาถาอะไรก็ไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป เข้าใจหรือเปล่าจ๊ะ เราต้องมีหลัก เชื่อมั่นในครูบาอาจารย์ ถ้าเรายังไม่เชื่อมั่นในตัวเอง..เราก็อธิษฐานอาราธนาครูบาอาจารย์ประสิทธิ์ประสาท มันก็เชื่อมโยงจิตต่อกันได้ มันก็ทำให้เกิดญาณ มีศรัทธา มีกำลังจิตขึ้นมาได้ 

อะไรก็ตาม..คาถาอะไรก็ตาม ให้ใช้มงกุฎพระเจ้าเป็นตัวเชื่อมต่อ เข้าใจหรือเปล่าจ๊ะ อิ ติ ปิ โส วิ เส เส อิ นั่นแลเชื่อมต่อทุกมนต์บทคาถา เมื่อเราว่ามงกุฎพระเจ้าไปแล้ว..กลั้นใจตั้งใจกำหนดรู้ในสิ่งใด สิ่งนั้นก็ประสิทธิ์ประสาทแล้ว สำเร็จแล้วด้วยใจ คำว่ามงกุฎนี่สูงหรือเปล่าจ๊ะ มงกุฎพระเจ้านี่สูงหรือยัง เป็นราชาแล้ว.. 

แสดงว่าจะทำการสิ่งใดในมนต์พิธีใดๆ สำเร็จเสร็จสิ้นด้วยใจแล้ว เพราะว่าราชาได้เสด็จแล้วนั่นเอง ใครก็ต้องให้เกียรติ ใครที่พยศใครที่จะลองดี..เมื่อจิตเราตั้งมั่นแล้ว มีมงกุฎแล้ว นั่นชื่อว่าเรามีครูบาอาจารย์มีหลักแล้ว เพียงแค่นั้นก็ใช้ได้ ๑๐๘ แล้ว เข้าใจหรือเปล่าจ๊ะ

มูลนิธิเมืองธรรมพรหมรังสี สมเด็จพระพุฒาจารย์โต 

ติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรมของมูลนิธิได้ทาง https://www.facebook.com/mprs.foundation
ติดตาม คลิปธรรมะได้ทาง YouTube channel : ธรรมะมหัศจรรย์ ตามรอยธรรมสมเด็จโต

16 พฤษภาคม 2565

#มุมน่ารักเรื่องราวขำขันของพ่อแม่ครูบาอาจารย์

(ปกิณกธรรมของ​พ่อแม่ครูบาอาจารย์ สหธรรมิก)​
(หลวงปู่ขาว​ อนาลโย​ และ​หลวงปู่ชอบ​ ฐานสโม)​

“หลวงปู่ชอบ” กับ “หลวงปู่ขาว” รอรับเสด็จฯ​ เช้าจรดเย็นก็ไม่เห็นมา มีทหารสองพ่อลูกมานั่งเป็นเพื่อนตั้งนาน

ครั้งหนึ่ง “หลวงปู่ชอบ ฐานสโม” ได้ไปเยี่ยม “หลวงปู่ขาว อนาลโย” ที่วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู​ พอดีวันนั้น เจ้าหน้าที่จากสำนักพระราชวังแจ้งมาที่วัดถ้ำกลองเพลว่า

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปเยี่ยมหลวงปู่ขาวที่วัดในวันนี้​ หลวงปู่ชอบได้ยินดังนั้นจึงกราบลาหลวงปู่ขาวกลับวัด​ แต่หลวงปู่ขาวไม่ยอม บอกว่าให้อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน​ หลวงปู่ชอบบอกว่า ท่านคุยกับพระเจ้าแผ่นดินไม่เป็น

หลวงปู่ขาวจึงบอกว่า ท่านก็คุยไม่เป็นเหมือนกัน เลยต้องขอให้อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน

#หมายเหตุ : ซึ่งตอนนั้นทั้งหลวงปู่ชอบและหลวงปู่ขาว​ ท่านทั้งสององค์ต่างก็ยังไม่เคยพบเจอกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก่อนเลยทั้งคู่

ในที่สุด หลวงปู่ชอบจึงจำเป็นต้องอยู่เป็นเพื่อนหลวงปู่ขาวด้วยวันนั้น​ หลวงปู่ทั้งสองนั่งรอรับเสด็จอยู่ที่เก้าอี้ในวัดถ้ำกองเพล และนั่งรออยู่อย่างนั้น​ จนกระทั่งเวลาเย็นก็ยังคงคอยอยู่อย่างนั้น

ท้ายที่สุด หลวงปู่ทั้งสองก็เลยถามกันเองว่า

“ทำไมถึงยังไม่มาสักที​ รอนานแล้ว​ ?”

“#เห็นแต่ทหารพ่อลูกเนาะ”

พระเณรลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ด้วยในที่นั้น​
เมื่อได้ยินเช่นนั้นก็เลยบอกกับหลวงปู่ทั้งสองว่า

“ก็ทหารสองพ่อลูกนั่นแหละ​
คือ​ ในหลวง(ร.๙) กับลูกชายท่าน​ (ร.๑๐)”

เมื่อหลวงปู่ทั้งสองรู้ความจริงเข้าเท่านั้นแหละ​ ก็ถึงกับหัวร่องอหายทั้งคู่เลยทีเดียว​ ลูกศิษย์สงสัยก็เลยถามหลวงปู่ทั้งสองว่า

“ทำไมถึงไม่รู้ว่า​ ทหารสองพ่อลูกนั่นแหละ
คือ​ พระเจ้าแผ่นดิน(ร.๙) กับพระโอรส ?”

หลวงปู่ขาวตอบว่า​ “#นึกว่าจะมีขบวนแห่นำมา”

ส่วนหลวงปู่ชอบตอบว่า​ “#นึกว่าจะใส่ชฎา”

ที่มา : หนังสือ “ด้วยรอยยิ้มอิ่มปัญญา​ อารมณ์ขันพระอรหันต์” โดย วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์

เหตุเพราะความรักห่วงหาอาลัย ทำให้เกิดเป็นผีเปรตเฝ้าหวงกระดูกลูกเมียนานถึง ๕๐๐ ปี

(ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
(จากหนังสือ "รำลึกวันวาน")
(เขียนโดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ)

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๐ ขณะที่ผู้เล่าอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือ วันหนึ่งนายฟอง ชินบุตร โยมผู้นี้มาวัดประจำ เธอได้แบกไหกระเทียมชนิดปากบาน มีฝาครอบ ขนาดใหญ่เกือบเท่าขวดโหล ข้างในบรรจุกระดูกนำมาถวายท่านพระอาจารย์

โยมฟองเล่าว่า เจ้าของไหเขาให้นำมาถวาย เป็นไหใส่กระดูกคน ดูเหมือนจะเป็นกระดูกเด็ก แต่กระดูกนั้นนำไปฝังดินแล้ว ปากไหบิ่นเพราะถูกผานไถขูดเอา โยมฟองได้เล่าถึงเหตุที่ได้ไหนี้มาว่า นายกู่ พิมพบุตร ผู้เป็นเจ้าของนา ตั้งใจจะไปไถนาตอนเช้าตรู่ ตื่นขึ้นมาเห็นยังมืดอยู่ จึงนอนต่อ พอเคลิ้มหลับไปก็ฝันเห็นว่า มีชายคนหนึ่งเดินเข้ามาหา บอกว่า

"ให้ไปเอาไหกระดูก ๒ ใบ
ไปถวายท่านพระอาจารย์มั่นให้ด้วย"

นายกู่ถามว่า "ไหอยู่ที่ไหน"

ชายคนนั้นตอบว่า
"ไถนาไปสัก ๓ รอบก็จะเห็น"

ถามว่า "ชื่ออะไร"

ตอบว่า "ชื่อตาเชียงจวง มาเฝ้ากระดูกลูกอยู่ที่นี่ได้ ๕๐๐ ปีแล้ว วันหนึ่งได้ยินเสียงท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์แว่วๆ มาในเวลากลางคืนว่า

"เป็นหมามานั่งเฝ้าหวงกระดูก แล้วก็กัดกัน ส่วนเนื้อล่ำๆ อร่อยๆ มนุษย์เอาไปกินหมดแล้ว มัวแต่มานั่งเฝ้าห่วงเฝ้าหวงกระดูกตนเอง กระดูกลูกเมีย ตายแล้วไปเป็นผีเปรต ต้องมานั่งเฝ้ากระดูกถึง ๕๐๐ ปีแล้ว จึงได้สติระลึกได้ ทั้งๆ ที่อดๆ อยากๆ ผอมโซ ก็ยังพอใจเฝ้าหวง เฝ้าห่วงกระดูกลูกเมียอยู่ กว่าจะรู้ตัวก็เสียเวลาไป ๕๐๐ ปีแล้ว"

นี่แหละ เพราะความรัก ความห่วงหาอาลัย เป็นเหตุพาให้ไปเกิดเป็นผีเป็นเปรต เฝ้าสิ่งที่รักและอาลัย จนลืมวันลืมเวลา

15 พฤษภาคม 2565

เรื่องปรามาสพระอริยเจ้า​

📌
💥ผู้ถาม :» การปรามาสพระอริยเจ้าด้วยเจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม โมโหด้วยความตั้งใจก็ตาม อยากเรียนถามว่า จะมีกรรมมากไหมครับ ?

💥หลวงพ่อ :» ก็ลงนรกด้วย เจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม ลงนรกเหมือนกัน 

💥ผู้ถาม :» ไม่ต้องสอบสวนหรือครับ ?

💥หลวงพ่อ :» ไม่ต้องสอบ สบาย 
ก็ไม่ยาก ก็ไปขอขมาต่อพระพุทธเจ้าเสียซิ ถ้าไม่พบพระพุทธเจ้าก็พระพุทธรูป 

💥ผู้ถาม :» แล้วอย่างพระโสดาบันที่บวชเป็นพระ กับโสดาบันที่เป็นฆราวาส ถ้าเราปรามาสโทษจะเป็นอย่างไรครับ ?

💥หลวงพ่อ :» เครือกัน..!

💥ผู้ถาม :» เพราะฉะนั้นพวกเราจำไว้นะ ฆราวาสที่เป็นพระอริยะ มีเยอะแยะ

💥หลวงพ่อ :» เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน
พระโสดาบันไปตันแค่ ศีล
๑. เคารพพระพุทธเจ้า 
๒. เคารพพระธรรม 
๓. เคารพพระอริยสงฆ์ 
๔. มีศีล ๕ บริสุทธิ์ องค์พระโสดาบันมีแค่นี้ 
.................................................................

🙏หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม​
ฉบับพิเศษเล่ม ๑๐ หน้า ๑๒๐-๑๒๑
โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ให้มีสติคุมดวงจิต

หลวงปู่ขาว อนาลโย

อาตมาบอกไว้เท่านั้นว่า ให้มีสติคุมดวงจิต 
สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตว์อเวจีก็แม่นจิต 
พระอินทร์พระพรหมก็แม่นจิต 
ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร 
จิตไม่มีตนมีตัว จิตเหมือนวอก (ลิง) นี่แหละ 
แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามันไม่ได้ 
แล้วแต่มันจะปรุงจะแต่ง บอกไม่ได้ ไหว้ไม่ฟัง 
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน 
ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี 
เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง 
ก็แม่นจิตนั่นแหละเป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก 
แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสีย ให้ดับวิญญาณเสีย 
ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก 
ก็นั่นแหละพระนิพพานแหละ แน่ะ 
พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น มันไม่อยู่ที่อื่น 
นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น 
อย่าไปพิจารณาที่อื่น ให้ค้นที่สกนธ์กายของตน 
ให้มันเห็นเป็นอสุภะอสุภัง ให้เห็นเป็นของปฏิกูล 
ให้เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ 
แต่กี้มันเห็นว่าเป็นของสวยของงามของดี 
ดวงจิตนั่นเมื่อมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะ
ค้นหาเหตุผล ใคร่ครวญอยู่ 
มันเลยรู้เห็นว่า อัตตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูล ของเน่าเปื่อยผุพัง 
แล้วมันจะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย จิตนั่นแหละเบื่อหน่าย 
จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้ว เรียกว่า จิตหลุดพ้น ถึงวิมุตติ 
วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากความยึดถือ 
หลุดพ้นจากอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา

.เหตุแห่งบุญนั้นมีอยู่ ๓ ประการ

#การสั่งสมบุญ_นำสุขมาให้ | สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย. (สุ-โข, ปุน-ยัด-สะ, อุด-จะ-โย)
.
บุญ คือ สภาวะที่เป็นสุข เป็นสภาวะที่ชำระจิตใจของคนให้สะอาดจากบาป เมื่อไม่มีบาปอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จิตใจก็เป็นสุข
.
เหตุแห่งบุญนั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ
.
    - ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน
    - สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    - ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
.
บุญนั้นเราสามารถทำได้เรื่อย ๆ ทำได้บ่อย ๆ ทำได้มากเท่าที่อยากจะทำและมีกำลังทำ และเมื่อทำมากขึ้น ๆ บุญก็เพิ่มมากขึ้น ๆ เช่นเดียวกัน
.
เมื่อบุญมากขึ้นเท่าไร ความสุขอันเกิดจากบุญก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น จึงควรสั่งสมบุญเอาไว้ให้มาก ๆ เท่าที่จะทำได้
.
.
__________
ขอบคุณที่มา : https://www.jaisangma.com/the-accumulation-of-merit-brings-happiness/
ขอบคุณภาพจาก : pinterest

วันนี้วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

วันนี้วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย รำลึก​ ๒๓ ปี​ อาจาริยบูชาคุณ​ หลวงพ่อพุธ ท่านได้พยากรณ์ชีวิตท่านเองโดย หลวงพ่อได้เขียนกราฟชีวิตของท่านไว้ โดยได้วงกลมล้อมรอบที่อายุ ๗๘ และเขียนพยากรณ์ไว้ว่า “เตรียมตัวได้ ชีวิตต้องสิ้นสุด” หลวงตามหาบัว ให้ธรรม เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๒ เวลาประมาณ ๑๒ นาฬิกา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้มาร่วมงานศพหลวงพ่อ ท่านได้ยืนพิจารณาสรีระของหลวงพ่ออยู่นาน ได้เอามือกดบริเวณข้อมือของหลวงพ่อและจุดต่างๆ ๒ – ๓ จุด จากนั้นก็สรงน้ำศพ แล้วแสดงธรรมดังนี้ “..ท่านเจ้าคุณพุธ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นคณาจารย์มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในที่ทุกแห่ง ท่านก็ได้มาสิ้นสุดยุติเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ ซึ่งเหมือนกับโลกทั่วไป ถึงวาระแล้วอย่างนี้เอง พระพุทธเจ้าปรินิพพานก็หมายถึงตายเหมือนกันกับพวกเรานี้แหละ แต่คำว่านิพพาน หมายถึงคำว่าดับ ถึงเรืองกองทุกข์ทั้งมวลจะไม่มีปรากฏในนิพพานนี้อีกต่อไปเลย หลวงพ่อพุธกับหลวงตาสนิทกันมาตั้ง ๔๐ กว่าปีแล้ว คุ้นกันมานาน ท่านก็ไปแล้ววันนี้ เราก็จะตามท่านไปวันหลังแน่ ๆ ไม่สงสัย..” จึงขอน้อมนำประวัติปฏิปทาองค์หลวงพ่อพุธ มาเผยแพร่เป็นสังฆานุสติครับ 

• พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์เป็นผู้สนพระทัยในการปฏิบัติธรรม จึงมีการสนทนาธรรมระหว่างหลวงพ่อพุธ ฐานิโยกับในหลวงรัชกาลที่ ๙ จากหนังสือ "ฐานิยเถรวตุถุ" ซึ่งเป็นหนังสือเนื่องในงานพระราชเพลิงศพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จัดทำโดยท่านพระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร ดังนี้

พระราชปุจฉา : คำว่า "ภาวนา" และ "บริกรรม" ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ 

หลวงพ่อพุธ : ใช่แล้ว คำว่า "ภาวนา" กับ "บริกรรม" มีต่างกัน "ภาวนา" หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา แต่บริกรรมนั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง 

หลวงพ่อพุธ : เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก 

พระราชปุจฉา : ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่ 

หลวงพ่อพุธ : การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบก็มีอุบายที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิด กำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้ 

พระราชปุจฉา : คำว่า วิญญาณ หมายความว่า "ธาตุรู้" ใช่ไหมขอรับ 

หลวงพ่อพุธ : คำว่า วิญญาณ คือ "ธาตุรู้" วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ฆานวิญญาณ ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า กายวิญญาณ จิตนึกคิดอารมณ์เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด 

พระราชปุจฉา : พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป 

หลวงพ่อพุธ : เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไป คำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไปคำภาวนาจะหายไป ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจ หรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิอยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่าง อยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา เลื่อนให้จิตมาพิจารณา พิจารณาโดยเพ่งกำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูกแต่ตายังไม่เห็นก่อน ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น ซึ่งเคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธมาถึง ๖ ปี จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาวไม่ได้บวชเป็นเณรว่า "ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดีๆ สักที" อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำว่า "ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรมภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ" อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรกก็มองเห็น เศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไป และสลายตัวไป สลายไปหมด ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว และในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็ เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อยๆ เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่น นี้เรียกว่าอะไร อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียดของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งมีความหมายว่า "ฐีติ" คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่งเป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะ สงบ นิ่ง สว่าง อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมอย่างละเอียด ภูมิรู้ ภูมิธรรมซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกว่า "ภูตัง" หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะ รู้สิ่งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักรฯ ให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา"

• ชีวประวัติและปฏิปทา 
พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) 
พระราชสังวรญาณ มีนามเดิมว่า พุธ อินทรหา เป็นบุตรคนเดียวของ บิดา-มารดา เกิดที่หมู่บ้านชนบท ตำบลหนองหญ้าเซ้ง อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี เมื่อเดือน ๓ ปีระกา ตรงกับวันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๔ บิดา-มารดาของท่าน มีอาชีพทำไร่ทำนา และค้าขาย เมื่อท่านอายุได้ ๔ ขวบ บิดา-มารดาได้ถึงแก่กรรม ญาติที่อยู่ ณ หมู่บ้านโคกพุทรา ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จึงมารับท่านไป อุปการะ

ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒ อายุท่านได้ ๘ ขวบ จึงเข้าเรียนในโรงเรียน ประชาบาลวัดไทรทอง ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน ท่านได้เรียน จนจบชั้นประถมปีที่ ๖ เมื่อมีอายุได้ ๑๔ ปี ในสมัยนั้น ถ้าย้อนหลังไป ๖๐-๗๐ ปี การได้เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ ๖ ได้ ต้องถือว่าเป็นการเรียน ที่สูงพอสมควรแล้ว เมื่อเรียนจบแล้วครูบาอาจารย์ได้ชักชวนท่านให้เป็น ครูสอนนักเรียนในโรงเรียนที่ท่านเรียนนั้นต่อ หากทว่าจิตของท่านมุ่งมั่น สนใจที่จะบวชมากกว่า

ปี พ.ศ. ๒๔๘๐ หลังจากออกพรรษา เป็นเหตุบังเอิญให้ในขณะนั้นที่ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง) ได้เดินธุดงค์มายังจังหวัดสกลนคร ในฐานะเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๔ แทนพระอาจารย์ของสามเณรพุธ อันได้แก่ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ท่าน เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร ได้เกิดความเมตตาต่อสามเณรพุธเป็นอย่างมาก สามเณรพุธจึงมีโอกาสได้ติดตามท่านเจ้าคุณพระอริยคุณาธารธุดงค์ออก จากอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น ทางคมนาคมยังไม่สะดวก ต้องเดินด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าเขาต่างๆ ท่านเล่าว่าต้องใช้เวลาถึง ๓๑ วัน จึงเดินเท้ามาถึง จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างทาง บางทีเหนื่อยนักเมื่อยนักก็พักค้าง แห่งละ ๒-๓ วัน บางช่วงในขณะที่เดินรอนแรมในป่า ก็หลงดงหลงป่าบ้าง บางวันไม่ได้ฉันข้าว เพราะหมู่บ้านห่างกันมาก เดินทางออกจากหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ตั้งแต่เช้าจนค่ำก็ยังไม่เจอหมู่บ้านอีกหนึ่งเลย ป่าดงในสมัยนั้น ก็ยังมีสัตว์ป่าชุกชุม บางครั้งได้ยินเสียงเสือเสียงสัตว์ต่างๆร้อง บางครั้ง เสือมันก็กระโดดข้ามทางที่จะเดินไปก็มี

เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้าพักที่วัดบูรพา และฝากตัว เป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์พร (พี่ชายของพระอาจารย์บุญ ชินะวังโส) ท่านพระอาจารย์พรเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งในขณะนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาด้วย สามเณรพุธจึงได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ และเริ่มรับ การอบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นครั้งแรก แต่เดิมทีในสมัยแรก ที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้บรรพชาในสังกัดมหานิกายคณะ

ที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี แห่งนี้ นอกจากจะได้รับการ อบรมทางด้านปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้ศึกษาทางด้านพระ ปริยัติธรรมอีกด้วย และสามารถสอบได้นักธรรมเอก เมื่อมีอายุเพียง ๑๘ ปี

ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้พาสามเณรพุธ เดินธุดงค์ จากจังหวัดอุบลราชธานีเข้ามายังกรุงเทพฯ และพาไปฝากตัวกับท่านเจ้าคุณ ปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ให้ช่วยอบรมสั่งสอน สามเณรพุธจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และสามารถสอบได้เปรียญ ๔ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรนั่นเอง

สามเณรพุธได้จำพรรษาเรื่อยมา ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ จนอายุได้ครบบวช ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านจึงได้รับการอุปสมบท โดยมีท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) พระอาจารย์ของท่านเป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "ฐานิโย"

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นสมัยสงครามเอเซียบูรพา ท่านได้อพยพ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และท่านได้อยู่จำพรรษา ที่วัดนี้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ในระหว่างนั้นท่านได้เกิดอาพาธหนัก เป็น วัณโรคอย่างแรง จนหมอไม่รับรักษา ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านพระ อาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบูรพา ตามคำสั่งของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เช่นกัน ท่านพระอาจารย์ฝั้นสอนให้ ท่านตั้งใจเพ่งอาการ ๓๒ โดยให้พิจารณาถึงความตายให้มากที่สุด ทั้งยัง คอยให้กำลังใจกับท่านตลอดเวลา

หลวงพ่อพุธ ท่านเล่าว่า ขณะที่ท่านป่วยเป็นวัณโรคนั้น ท่านต้องรักษา พยาบาลตัวเอง ตั้งหน้าตั้งตามุ่งมั่นปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา โดยมุ่งที่จะพิจารณาดูความตายเท่านั้น โดยคิดว่า "ก่อนที่เราจะตายนั้น ควรจะได้รู้ว่า ความตายคืออะไร" จึงได้ตั้งอกตั้งใจพิจารณาดูความตาย อยู่เป็นเวลาหลายวัน ในวันสุดท้ายได้ค้นคว้าพิจารณาดูความตายอยู่ถึง ๗ ชั่วโมง ในตอนแรกที่พิจารณา เพราะความอยากรู้อยากเห็นว่า ความตาย คืออะไร ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เป็นอาการของกิเลส กิเลสจึงปิดบังดวงใจ ทำให้ความสงบใจที่เป็นสมาธิก็ไม่มี ความรู้แจ้งเห็นจริงก็ไม่มี ท่านเริ่มนั่ง สมาธิตั้งแต่ ๓ ทุ่ม จนกระทั่งเวลาตี ๓ จนเกิดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยแทบจะ ทนไม่ไหว ในขณะนั้นความรู้สึกทางจิตมันผุดขึ้นมาว่า "ชาวบ้านชาวเมือง ทั้งหลายเขานอนตายกันทั้งนั้น ท่านจะมานั่งตาย มันจะตายได้อย่างไร" ท่าน จึงเอนกายลงพร้อมกับกำหนดจิตตามไปด้วย เมื่อเกิดความหลับขึ้น จิตกลาย เป็นสมาธิแล้ว จิตก็แสดงอาการตาย คือวิญญาณออกจากร่างกายไปลอยอยู่ เบื้องบนเหนือร่างกายประมาณ ๒ เมตร แล้วส่งกระแสออกมา รู้กายที่นอน เหยียดยาวอยู่ แสดงว่าได้รู้เห็นความตาย ลักษณะแห่งความตาย ในเมื่อตาย แล้ว ร่างกายก็ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังไปตามขั้นตอน ในเมื่อร่างกายที่มองเห็น อยู่นั้นสลายตัวไปหมดแล้ว ก็ยังเหลือแต่จิตว่าง จิตว่างแล้วก็ยังมองเห็นโลก คือแผ่นดิน ในอันดับต่อมาโลกคือแผ่นดินก็หายไป คงเหลือแต่จิตดวงเดียว ที่สว่างไสวอยู่ มองหาอะไรก็ไม่พบ พอจิตมีอาการไหว เกิดความรู้สึกขึ้นมา ก็เกิดความนึกคิดขึ้นมาว่า "นี่หรือคือความตาย" อีกจิตหนึ่งก็ผุดขึ้นมารับว่า "ใช่แล้ว" ก็เป็นอันว่าได้รู้จริงเห็นจริงในเรื่องของความตายด้วยประการฉะนี้

ในเรื่องของจิตที่เป็นสมาธินั้น ท่านมักจะกล่าวเสมอว่า สมาธินั้นมีอยู่ในตัว ของเราอยู่แล้ว แต่เรามักไม่ได้นำเอาออกมาใช้ฝึกฝนให้เป็นประโยชน์ สำหรับเรื่องจิตเป็นสมาธิของหลวงพ่อพุธ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ในตอนเด็กๆ มีเกิดขึ้นโดยท่านไม่ทราบ ไม่รู้จักมาก่อนเช่นกัน กล่าวคือ สมัยที่ท่านเป็น สามเณร ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์ของท่านไม่อยู่ และสั่งให้ท่านคอยเฝ้ากุฏิไว้ ท่านจึงลงนั่งอยู่ที่หน้าประตูกุฏิ ในระหว่างที่คอยอยู่นั้น จิตของท่านก็เข้าภวังค์ ลงสู่สมาธิ นิ่งสงบอยู่นานมาก นานจนพระอาจารย์ของท่านกลับมา พระอาจารย์ และชาวบ้านที่ติดตามมาด้วยเรียกท่านอยู่นาน เรียกอย่างไร...อย่างไร ท่านก็ ไม่ไหวติง จนชาวบ้านผู้นั้นมาผลักท่านกระเด็นออกไป นั่นแหละท่านจึงรู้สึกตัว ออกจากสมาธิ ชาวบ้านผู้นั้นว่ากล่าวท่าน...ว่าหลับไม่รู้เรื่อง เรียกอย่างไร เรียกเท่าใดก็ไม่ตื่น ท่านปฏิเสธว่าไม่ได้หลับ ชาวบ้านผู้นั้นก็ไม่ยอมเชื่อ หลวงพ่อพุธท่านเล่าว่า ในขณะที่คอยนั้น ท่านรู้สึกตัวตลอดเวลา และไม่ได้หลับ หลังจากปฏิเสธหลายครั้งและไม่มีใครเชื่อ ท่านจึงตัดความรำคาญด้วยการรับ สมอ้างว่าหลับ ซึ่งต่อมาภายหลังเมื่อท่านย้อนกลับไปพิจารณาอีกครั้ง จึงได้ทราบ แน่ชัดว่า เหตุการณ์ในครั้งเป็นสมาเณรนั้น ก็คือจิตเป็นสมาธินั่นเอง

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงพ่อพุธ ได้มาจำพรรษาที่วัดเขาสวนกวาง จังหวัด ขอนแก่น อาการป่วยด้วยโรควัณโรคยังไม่หายขาด ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร จึงได้เร่งเตือนท่านว่า "คุณอย่าประมาท รีบเร่งปฏิบัติเข้าให้มันได้ภูมิจิตภูมิใจ อนาคตคุณจะไปนั่งเทศน์ในพระบรมมหาราชวัง"

อาการป่วยของท่านเป็นๆหายๆ เรื่อยมาจนถึง ๑๐ ปี จึงได้หายอย่างเด็ดขาด ในปีถัดมา คือ พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัด อุบลราชธานี อีกจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้เอง ท่านได้รับ การแต่งตั้งให้ช่วยงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ กล่าวคือ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ซึ่งภายหลังได้เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูพุทธิสารสุนทร และ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในนามเดิม และในปีถัดมา พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในนามเดิม

ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ท่านจึงมาจำพรรษาที่วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ท่านดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะจังหวัดอยู่เป็นเวลา ๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ นี้เอง ท่านยังได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นพิเศษ ในนามเดิมอีกด้วย ท่านจำพรรษา ณ วัดหลวง แห่งนี้ เป็นเวลา ๒ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์อีกครั้ง เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระชินวงศาจารย์

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีการตั้งโรงเรียนพระสังฆาธิการขึ้นที่ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทางเจ้าคณะภาคฯ ได้ขอให้ท่านมาเป็น กรรมการบริหารโรงเรียนพระสังฆาธิการในส่วนภูมิภาค ท่านจึงย้ายมาเป็น เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้ทำประโยชน์ ทั้งต่อพระบวรพุทธศาสนา และ ต่อสังคม เป็นอเนกอนันต์ โดยสม่ำเสมอเรื่อยมา ทั้งที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ มูลนิธิ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านรับเป็นประธานและวิทยากรในการอบรมสมาธิครูและนักเรียนของเขต การศึกษาที่ ๑๑ อันได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัด บุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักและ น่าเหน็ดเหนื่อยเป็นอย่างยิ่ง และในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ นี้เอง ท่านได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระภาวนา พิศาลเถร ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ท่านรับเป็นผู้อำนวยการศูนย์อบรม สมาธิภาวนาวัดป่าสาลวันอีกประการหนึ่ง ในปีถัดมา พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ทุนมูลนิธิคณะสงฆ์ธรรมยุต จังหวัดนครราชสีมา และในปีต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านรับเป็นองค์อุปถัมภ์ กองทุนพระภาวนา พิศาลเถร เพื่อการพัฒนาคุณธรรมในเขตการศึกษาที่ ๑๑ (ปัจจุบันเปลี่ยน ชื่อเป็นกองทุนสายธารธรรม ในความอุปถัมภ์ของพระราชสังวรญาณ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ) แม้ว่าหลวงพ่อพุธ ท่านจะมีภารกิจทางศาสนาและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมมากมาย แล้วก็ตาม เมื่อมีผู้ขอให้ท่านช่วยในกิจกรรมต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อ สังคมอีก ท่านก็เมตตารับเป็นธุระให้ ทำให้ภารกิจของท่านมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ นี้เอง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสังวรญาณ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เรื่อยมา หลวงพ่อพุธท่านจะจำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บ้าง หรือที่วัดวะภูแก้ว อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา บ้าง หรือที่วัดป่าชินรังสี อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา บ้าง สลับกันไป-มา

และตลอดมา หลวงพ่อพุธมิได้เคยหยุดที่จะทำประโยชน์ต่อพระบวร พุทธศาสนาและต่อสังคมไทย ท่านยังคงรับเป็นองค์บรรยายธรรม และ อบรมสมาธิภาวนาให้กับพุทธบริษัทในสถานที่ต่างๆมาตลอด 

• คำถามหลังการมรณภาพ
ทำไมหลวงพ่อไม่ใช้สมาธิหรือวิชาสะกดจิตรักษาโรคมะเร็ง 
“เราพิจารณาดูแล้ว ปอดของเรามันพรุนไปหมด ใช้การไม่ได้แล้ว” 
การตายมีสาเหตุอยู่ ๒ ประการคือ
๑. หมดอายุขัย
๒. สังขารร่างกายหมดสภาพ ใช้การไม่ได้
โดยหลักฐานและคำพูดที่หลวงพ่อทิ้งไว้ให้พิจารณา พอสรุปได้ว่าการมรณภาพของท่านถึงพร้อมด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการ
หลวงพ่อเป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้ในศาสตร์ต่าง ๆ หลายศาสตร์ ซึ่งท่านจะย้ำอยู่เสมอว่า ท่านศึกษาเพื่อพิสูจน์ความจริงให้หายข้องใจ เมื่อรู้แล้ว หายสงสัยแล้วก็เลิก เช่น วิชาหนังเหนียว หรือศึกษาเรื่องการสะกดจิตเพราะใกล้เคียงกับเรื่องสมาธิ แล้วนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค เป็นต้น
วิชาโหราศาสตร์เป็นศาสตร์หนึ่งที่หลวงพ่อก็ได้ศึกษาอยู่บ้าง เคยมีผู้กราบเรียนถามท่านว่า “โหราศาสตร์หรือหมอดูนี่เชื่อได้หรือไม่ "
ท่านตอบว่า “หมอดูก็คู่หมอเดา แต่วิชาโหราศาสตร์ก็เป็นวิชาที่มีความจริงของเขาอยู่ อย่างไรก็ตามคนที่ภาวนา หมอดูดูไม่แม่นหรอก” ถึงแม้ว่าหลวงพ่อพอจะมีความรู้เรื่องโหราศาสตร์อยู่บ้าง แต่ก็ไม่เคยเห็นท่านพยากรณ์หรือดูหมอให้ใครเลยสักครั้ง จึงเป็นที่แปลกใจที่เมื่อวันหนึ่ง ประมาณปี ๒๕๔๐ ท่านใช้ให้พระจัดตู้หนังสือในกุฏิ และได้พบเศษกระดาษแผ่นเล็กๆ ซึ่งหลวงพ่อได้เขียนกราฟชีวิตของท่านไว้ โดยได้วงกลมล้อมรอบที่อายุ ๗๘ และเขียนพยากรณ์ไว้ว่า “เตรียมตัวได้ ชีวิตต้องสิ้นสุด”

ต่อมาช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๑ แพทย์ได้วินิจฉัยและสรุปว่าหลวงพ่อเป็นมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ เมื่อทราบดังนั้นท่านได้ถามหาแร่สะกดจิตซึ่งเป็นมรดกที่ ดร.ไมเคิล พ่อบุญธรรมของท่านมอบไว้ให้ และท่านได้ให้ศิษย์คนหนึ่งไปแล้ว ศิษย์ผู้นั้นจึงได้นำแร่สะกดจิตดังกล่าวมาถวายคืนท่านทันที ช่วงนี้ท่านรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล พระที่มีหน้าที่อุปัฏฐากเล่าว่า หลวงพ่อจะเดินจงกรม นั่งสมาธิและเพ่งแร่สะกดจิต พิจารณาอาการ ๓๒ เพื่อใช้พลังจิตรักษาตนเองควบคู่ไปกับการรักษาของแพทย์อยู่เกือบตลอดเวลา แต่แล้วช่วงต้นเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ท่านได้พูดว่า “เราพิจารณาดูแล้ว ปอดของเรามันพรุนไปหมด ใช้การไม่ได้แล้ว”

จนในที่สุดอาการของท่านมีแต่ทรงกับทรุดและถึงแก่การมรณภาพในที่สุดด้วยอายุ ๗๘ ปี ดังที่ท่านพยากรณ์ไว้

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ถึงแก่การมรณภาพ ด้วยอาการอันสงบเมื่อเวลา ๐๗.๑๕ น. วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๒ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๗ รวมอายุ ๗๘ ปี ๓ เดือน ๗ วัน ๕๗ พรรษา

กราบ​ กราบ​ กราบ

_/\_ _/\_ _/\_

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...