๑. “พยายามตัดกรรมเข้าไว้
ใครจักทำอะไรก็ช่างเขา
เจ้าอย่าเอาอารมณ์จิตไปผูกกรรมนั้นเข้าไว้ก็แล้วกัน”
(สาเหตุ ก็เพราะเพื่อนของผมถูกกระทบจากพวกที่ไม่ปรารถนาดี จิตก็ยังหวั่นไหวอยู่มาก)
๒. “มันเป็นธรรมดา เพราะเจ้ายังไม่ใช่อรหันต์
เมื่อใดที่อารมณ์จิตมันไหว
จักเป็นโมหะ วิตก หรือราคะ ปฏิฆะก็ตาม
จงมองเห็นโทษของการไหวไปในอารมณ์นั้น
เพราะเวลานี้จิตของเจ้าก็ถูกความทุกข์เข้าครอบงำ”
๓. “อย่างการร่วมเพศเสพกาม เจ้าก็ได้เห็นแล้วว่า ร่างกายมีทุกข์
เพราะความเจ็บปวดเข้าเบียดเบียน
แต่กามสัญญาเป็นธรรมารมณ์ที่เข้ามาเบียดเบียนจิต
ให้เกิดความทุกข์เข้าครอบงำ”
๔. “การกระทบกระทั่งทางกาย เป็นความทุกข์ของร่างกาย
การกระทบกระทั่งของจิต ก็เป็นความทุกข์ของจิต
มีความเจ็บปวดพอกัน
เพราะเวทนาของกายไม่เที่ยง
เวทนาของจิตก็ไม่เที่ยงเช่นกัน
แต่อารมณ์หลง ยึดเวทนาทั้งทางกายและเวทนาของจิต
มันไม่ยอมละ ไม่ยอมปล่อยวางเวทนานั้น
จึงเป็นเหตุให้เวทนานั้น หวนกลับมาทำร้ายจิตได้เสมอ ๆ”
๕. “จิตเกาะกรรมไม่ยอมปล่อย จึงตกเป็นทาสของอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะ อยู่เสมอ ๆ
เจ้าเห็นทุกข์ เห็นโทษของอารมณ์ของตนที่เบียดเบียนตนเองอยู่หรือไม่”
(ก็ยอมรับว่าเห็น)
๖. “อย่าโทษบุคคลอื่นที่ทำเหตุมากระทบ กระทั่งร่างกายและอารมณ์จิตของเรา
วินาทีนั้นผ่านไป ทุกอย่างก็อนัตตาแล้ว
อย่ายึดถือเอามาเป็นธรรมารมณ์
ทำร้ายจิตของตนให้บาดเจ็บต่อไปอีกเลย
เคารพกฎของกรรมให้มาก ๆ”
๗. “เอาคาถาว่ากันคุณไสยไว้บทหนึ่ง
เป็นการเตือนจิตของตนไว้
อย่าไปยึดการกระทบกระทั่งทางร่างกายและจิตเอาไว้
คาถานั้น คือ “พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปปมาโณ ปัด-ตัด ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา”
แล้วระลึกถึงความอนัตตาเข้าไว้
เจ้าก็จักปลอดภัยจากคุณไสย
และเตือนจิตให้ปลอดจากการกระทบกระทั่งทั้งทางร่างกายและจิตใจ”
“ขอให้ใคร่ครวญให้ดี ๆ”
ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม ๔)
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
แหล่งที่มา
https://www.facebook.com/100001376460538/posts/5080978545291311/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น