28 ธันวาคม 2560

ต้นเหตุแห่งทุกข์


เมื่อโยมยังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ "ความคิด"นั้นมันก็มีตลอดเวลา เพราะโยมนั้นยังมีความจำคือสัญญา มีรูป มีเวทนา มีสังขาร และวิญญาณ..หล่อหลอมเป็นดวงจิต ถ้าโยมดับรูปแล้วเข้าถึงนามได้ โยมจะรู้ว่าจิตนั้น ที่แท้จริงนั้นเขาไม่คิดไม่ปรุงแต่งอะไร แต่ที่ไปคิดไปปรุงแต่ง เพราะเรานั้นไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เรานั้นไม่ละไม่วาง เข้าใจมั้ยจ๊ะ
ดังนั้นจิตและความคิดนี้ "จิต"นั้นก็คือตัวรู้เฉยๆ แต่เมื่อตัวรู้แล้วมันรู้ไม่จริงมันเลยเกิดความสงสัย เรียกว่าเป็น"อุปาทาน" ความคิดจึงบังเกิดขึ้น แต่ถ้าโยมรู้แล้ววางความคิดจะเกิดขึ้นได้มั้ยจ๊ะ โยมรู้แล้ววาง..ทีนี้รู้แล้วไม่วาง โยมไปปรุงแต่งต่อ ก็ไอ้ตัวปรุงแต่งนี้แหล่ะคืออุปาทาน ไอ้ตัวอุปาทานคือตัวยึดมั่นถือมั่นในดวงจิต เมื่อโยมไปยึดมั่นถือมั่นในดวงจิตแล้ว โยมเกิดอีกชาติใหม่โยมก็ต้องมาปรุงแต่งขึ้นมาใหม่อีก นี่เรียกเป็นอวิชชาอย่างหนึ่ง..ไม่จบสิ้น เพราะว่าความไม่รู้
แต่เมื่อโยมมากำหนดรู้อยู่บ่อยๆ จนรู้ความจริงว่าเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงมันเกิดจากที่ใด ความคิดนี้ก็ทำให้มนุษย์นั้นทุกข์อย่างหนึ่ง ดังนั้นการที่โยมจะเจริญภาวนาจิต โยมต้องดับทุกอย่าง ให้จิตมันว่าง ถ้าจิตมันยังว่างไม่ได้ ทำอย่างไรให้มันว่าง ขนสัมภาระอะไรที่ไม่สำคัญออกให้หมด นั่นหมายถึงว่า ในอดีตไม่ควรคำนึง อนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็ขอให้วาง ในขณะปัจจุบันขอให้รู้ว่าทำอะไรอยู่..ความคิดจักไม่เกิดขึ้น
ความคิดเกิดขึ้นจากอะไร..จากสัญญา "สัญญา"มันมาจากไหน..คือความจำ นั่นคืออดีต เข้าใจมั้ยจ๊ะ ให้รู้อยู่แต่ปัจจุบัน เช่นมีองค์ภาวนามากำกับจิต ให้จิตนั้นมีหลักยึด การที่ว่าต้องมีพุทโธก็ดี สัมมาอรหังก็ดี พุทธังสรณังคัจฉามิก็ดีนั้นมากำกับ เพื่อให้จิตนั้น"มีหลัก" จิตเมื่อไม่มีหลัก..พอมีอารมณ์มากระทบ มีผัสสะมากระทบแล้ว มันก็เกิดการ"ปฏิสนธิ" การปรุงแต่งขึ้นมาแห่งจิต เพราะว่ากระแสแห่งจิตนั้นมันมีความเร็วความไวมาก
แต่ถ้าผู้ใดฝึกจิต รู้เท่าทันจิต จิตนี้มีอานุภาพมาก นำมาใช้ประโยชน์ได้มหาศาล ถ้าจิตโยมฝึกดีแล้ว ศีลโยมปราณีตดีแล้ว ใจโยมตั้งมั่นดีแล้ว มีกำลัง เพียงโยมอธิษฐานลงไปฟ้าดินย่อมสะเทือน แต่มนุษย์นั้นจิตมันทราม จิตมันหยาบ เพราะขาดศีลขาดธรรม ขาดการฝึกการพิจารณา แล้วโยมจะไปหาความปาฏิหาริย์อะไรมันจะเกิดขึ้นได้ยังไง
นั้นตัวจิตกับความคิดนี้ จิตที่แท้จริงเดิมๆเขาไม่มีความคิด ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แล้วสิ่งที่ฉันกล่าวมาโยมย้อนกลับไปซิว่า ทำไมมันมีรส มันมีรูป มันมีเสียง มันมีกลิ่น มันมีเสียง เพราะโยมไปพอใจไปปรุงแต่ง..ใช่หรือไม่ แท้ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ของมัน มันไม่มีอะไรเลย แต่โยมไปพอใจอยากมีมันต่างหาก เพราะ"ตัวอยาก"แท้ๆ ใช่หรือไม่
เพราะถ้าโยมไม่อยากมันก็ไม่คิดแล้ว ไม่คิดไปอยากเอา ไม่คิดอยากมี แต่นี่โยมอยาก ความคิดมันก็เลยบังเกิด ถ้าบอกว่าความคิดทำให้เกิดกรรมได้มั้ยจ๊ะ..นี่คือตัว"ต้นเหตุ"เลย โยมอย่าอยากจะไปมีสิจ๊ะ ไม่ต้องอยากเป็นอะไร ไม่ต้องอยากมีอะไร นั่นแหล่ะจ้ะโยมจะมีทุกอย่างที่โยมคิดว่าโยมจะมี โยมดับอยากก่อน ดับความกระหายก่อน โยมทำกันได้มั้ยจ๊ะ..
ธรรมะมหัศจรรย์ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
ณ สถานปฏิบัติธรรมพรหมรังสี บ้านโปร่งวิเชียร จ.เพชรบุรี
โทร ๐๙๕ ๕๖๙๕๑๙๙ , ๐๙๒ ๓๔๑๗๒๖๖ (เพชรบุรี)
๐๘๔ ๘๙๓๖๙๖๑ , ๐๘๑ ๙๒๙๓๒๒๒ (กรุงเทพ)

28 ธันวาคม #วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี พระองค์ทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จภายในเวลา 7 เดือน นับตั้งแต่เสียกรุงเมื่อปี พ.ศ. 2310 หลังจากนั้นพระองค์ทรงยกทัพกลับมาที่ธนบุรี เพื่อตั้งราชธานีใหม่ โดยขนานนามว่า “กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” และทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ขณะมีพระชนมายุ 34 พรรษา ทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงครองราชย์ได้ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สิริพระชนมายุได้ 48 พรรษา ด้วยพระราชกรณียกิจที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถรอบด้านของพระองค์ คณะรัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน” และถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” เพื่อยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาติไทย ผู้กอบกู้เอกราชให้ชาติไทย และได้สร้างอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์ ประทับเหนืออัศวราชพาหนะ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ประดิษฐานบนแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก ณ บริเวณวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี และจัดให้มีพิธีวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ของพระองค์ เพื่อให้ชาวไทยร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อประเทศชาติ

เปิดตำนาน หลวงปู่เทพโลกอุดร คือ อาจารย์สอนกรรมฐาน พระเจ้าตาก

๒๘ ธันวาคม "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
"จากทางโลก เกิดใหม่ทางธรรม" “หนังสือ : เปิดตำนาน หลวงปู่เทพโลกอุดร คือ อาจารย์สอนกรรมฐาน พระเจ้าตาก”
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_30.html
*************
สมเด็จพระเจ้าตากสิน 
กู้แผ่นดินเพื่อคนไทย
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่
น้ำพระทัยใฝ่ในธรรม
กษัตริย์ผู้กล้าหาญ
ทรงเชี่ยวชาญศึกผู้นำ
ทรงปฏิบัติธรรม
เป็นประจำเพื่อได้พร
พบพระผู้ทรงเดช
หลวงปู่เทพโลกอุดร
ใจธรรมอย่างถาวร
พร้อมจากจรไม่กลับมา
ทรงเห็นแก่บ้านเมือง
ความรุ่งเรืองชาวประชา
พบธรรมอันล้ำค่า
พระราชาของคนไทย
พระองค์จิตเด็ดเดี่ยว
ไม่ข้องเกี่ยวโลกต่อไป
นำธรรมมาสู่ใจ
สุขยิ่งใหญ่ตลอดกาล
พระองค์ทรงหลุดพ้น
บุญกุศลมหาศาล
คนไทยจิตประสาน
ดลบันดาลท่านคุ้มครอง
พนมกราบเทิดทูน
ผู้ทรงคุณไทยทั้งผอง
ธรรมะเป็นครรลอง
ขอยกย่องพระองค์เอย
ปภาวีร์
ที่มาเกี่ยวกับ "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
https://goo.gl/w5d5xf
เกี่ยวกับ "หลวงปู่เทพโลกอุดร" http://msrivirat.blogspot.com/2015/01/blog-post_29.html

วีระกรรม 17 ประการ ของพระเจ้าตากสินมหาราช


(ตอนที่ 1)
โอม สิโนราชาเทวะ ชะยะตุภะวัง สัพพะศัตรูวินาสสันติ ปู่ตาก ตะกุ อิตัลตากสินราชะโยตังอิ
ขอบันทึกพระวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าตากสินมหาราช
ที่ทำให้สามารถกู้ชาติไทยได้ในระยะเวลาเพียงเจ็ดเดือนเท่านั้น
หลังเสียกรุงศรีอยุธยา เรียกว่าเป็นงานรวมชาติที่ยากที่สุด
ในช่วงที่วิกฤติที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
จึงขอนำเสนอเพื่อเทอดพระเกียรติท่านไว้โดยละเอียด ดังนี้
1. การมีพระวิสัยทัศน์ การมองเห็นภาพอนาคต
พระยาตากในขณะนั้นได้ประเมินคาดสถานการณ์ ผู้คน
กำลัง และภาวะศัตรูที่ล้อมพระนครอยู่ อย่างหนาแน่น
ประกอบกับเห็นความอ่อนแอของแม่ทัพนายกอง
จึงได้มองเห็นภาพที่กรุงศรีอยุธยาต้องเสียทีแก่พม่า
แน่นอน การคิดอ่านหาทางกู้ชาติในภายหลังน่าจะเป็น
หนทางที่ดีกว่า : ตามบันทึกในพงศาวดารระบุ ความว่า
พระยาวชิปราการถูกภาคทัณฑ์ เนื่องจากมีหมายสั่งว่า
ถ้ากองไหนจะยิงปืน ใหญ่ ต้องขออนุญาตที่ศาลาลูกขุนก่อน
พระยาวชิรปราการรู้สึกเศร้าสลดใจ ศัตรูหรือก็บุกโหม โจมตี
อย่างหนักหน่วง นักรบไทยสู้รบข้าศึกมาตลอด ต่างมี อาการ
อิดโรย เนื่องจากขาดเสบียงอาหาร ทหารบางคนยืนคอตก
บางคนก้มหน้านิ่ง บางคนล้มลงนอนด้วยความอ่อนเพลีย
พระยาวชิรปราการยืนเหม่อมองไป ข้างหน้าอย่างครุ่นคิด
ชีวิตของเพื่อนร่วมชาติล้มตายร่อยหรอลงไปทุกวัน
สภาพของนักรบร่วมใจที่เหลืออยู่เพียงหยิบมือเดียว
กรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกปิดล้อมเอาไว้โดยรอบ
แม้สมเด็จพระเจ้าเอกทัศจะขอเลิกราหย่าศึก
ฝ่ายพม่าก็หาได้ยินยอมตามพระประสงค์ไม่
พม่าต้องการตีกรุงศรีอยุธยาให้แตก และริบเอา
ทรัพย์ สมบัติกวาดต้อนผู้คนไปเมืองพม่าให้ได้..
สถานการณ์นั้นแม้มีความเสี่ยงถูกกล่าวหาว่าหนีทัพ
แต่ท้ายสุดกลับกลายเป็นผลดีต่อ ชาติบ้านเมือง
อย่างมหาศาลในเวลาต่อมา
การตั้งวิสัยทัศน์ ที่มองการณ์ไกล ข้ามเหตุการณ์วิกฤต
แล้วมองภาพว่าหลังวิกฤติแล้วนั้นท่านน่าจะช่วยเหลือ
ชาติได้มากกว่า นับเป็นวิสัยทัศน์ที่ยากจะหาคนธรรมดา
จะมองเห็น แต่ด้วยความเจนศึกที่ผ่านการรบมาหลายครั้ง
ประเมินสถานการณ์ “นาย” ที่เป็นหัวหน้าบัญชาการรบ
ในตอนนั้นดูท่าไม่มีทางที่จะเอาชนะพม่าได้เลย และเวลา
ก็จวนเจียนเต็มทีแล้วเพราะพม่าส่งกำลังเสริมมาอย่างต่อเนื่อง
2. ทรงมุ่งมั่น ด้วยเป้าหมายใหญ่ที่ชัดเจน
หลังจากพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้อย่างเด็ดขาด การกู้ชาติ
ในสภาพบ้านเมือง เวียงวัง วัดวา บ้านเรือน ถูกเผาทำลาย
จากศัตรู ขนาดหนักจนเหลือแต่ซาก ยากแก่การฟื้นฟู และ
มองไม่เห็นอนาคต ในภาวะสถานการณ์ ที่ไม่มีสิ่งใดชัดเจน
การผูกจิตรวมใจผู้คนหลังบ้านเมืองแตกสลายจึงสำคัญมาก
และต้องตอกย้ำอยู่เสมอ เพื่อให้มุ่งมั่นร่วมสู้กู้ชาติจากพม่า
การตั้งเป้าหมายว่าต้องกู้ชาติให้สำเร็จ และให้ทุกคนที่ตาม
กันออกมาจากอยุธยามีเป้าหมายร่วมกัน และต้องย้ำไพล่พล
ให้ฮึกเหิมอยู่เสมอ ไม่ให้ท้อถอย ให้ชนะในการรบย่อยๆ ว่า
เป็นไปเพื่อการเอาชนะสงครามใหญ่ คือการกู้ชาติบ้านเมือง
คืนมาจากพม่า จิตใจของไพร่พลในกองทัพพระเจ้าตาก
จึงมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ พร้อมรบ ฮึกเหิมอยู่เสมอ ต่างจากชุมนุม
ก๊กอื่นๆ ที่หลังทราบข่าวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว
มีเป้าหมายส่วนตนในการสถาปนาตั้งตนเป็นใหญ่ในเขต
ฃอาณาจักรตนเท่านั้น
3. สื่อสารให้ทุกคนทราบ ไปในทางเดียวกัน
พระยาตากทรงย้ำภารกิจกู้ชาติต่อกำลังพลเสมอให้ฮึกเหิม
อยู่เสมอ โดยตอกย้ำเป้าหมายใหญ่คือการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา
และขับไล่พม่าให้พ้นแผ่นดินไทย และมีเป้าหมายระยะสั้น
ด้วยการปลุกใจไพร่พลให้มุ่งมั่นเอาชนะในการรบย่อย ๆ
ให้ได้ทุกครั้ง ประชุมกำลังพล ทุกคนจึงเข้าใจในภารกิจ
ของตนอย่างดีว่าทำไปเพื่ออะไร มีความสำคัญอย่างไร
กำลังพลทุกนายจึงทุ่มเทในการรบอย่างสุดชีวิต
4. ไม่รอให้จำนนต่อสถานการณ์
ไม่ทรงรอให้กรุงแตกก่อน แต่ตัดสินใจดำเนินการล่วงหน้า
ก่อนจะสายเกินไป :
ย่อมไม่งอมืองอเท้า เมื่อสู้ไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ จำเป็นต้องหลบ
ไปตั้งหลักก่อน แล้วค่อยหาโอกาสกลับมากู้สถานการณ์
เพราะในภาวะนั้น ระบบการบริหารบ้านเมืองพังพินาศไป
ก่อนเมืองจะถูกเผา เช่น การยิงปืนใหญ่ต้องขอนุญาติก่อน
พระยาตากเคยยิงปืนใหญ่ไปในคราวคับขันแล้วไม่บอกก่อน
กลับต้องความผิดอาญา นอกจากนั้นคนบังคับบัญชาสั่งการ
สูงสุดเวลานั้นไม่ได้เชี่ยวเจนศึก ในที่สุดท่านจึงตัดสินใจ
ตีฝ่าวงล้อมข้าศึกจากค่ายหน้าวัดพิชัย เพื่อไปรวบรวมไพร่พล
แล้วจึงค่อยคิดอ่านย้อนกลับมากู้ชาติแผ่นดินคืนในภายหลัง
5. แสดงออกในการเสียสละ เป็นผู้นำ ในยามคับขัน :
ในการแสดงความกล้าหาญ
ขณะสั่งการให้นายท้ายช้างเข้าทำลายประตูเมืองจันทบูร
“เจ้าตากก็ขับช้างที่นั่งเข้าพังประตูเมือง ทหารที่รักษาหน้าที่
ก็ระดมยิงปืนใหญ่น้อยระดมมาเป็นอันมาก นายท้ายช้างที่นั่ง
เห็นดังนั้น เกรงว่าจะถูกเจ้าตาก จึงบังคับช้างให้ถอยออกมา
เจ้าตากขัดพระทัยชัก พระแสงหันมาจะฟันนายช้าง นายช้าง
ตกใจทูลขอชีวิตไว้ แล้วไสช้างกลับเข้ารื้อบานประตูพังลง
พวกทหารก็เข้าเมืองได้” เป็นการแสดงความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาด
ในการสั่งการในสถานการณ์ฉุกเฉิน บนความเป็นความตายนั้น
ต้องการการลงมือทำอย่างทันทีทันใดพร้อมกับการฉกฉวย
โอกาสหรือวินาทีทองไม่ให้หลุดลอยไป
6. ความกตัญญู รู้คุณคน คือสัญญลักษณ์ของคนดี :
การถวายพระเพลิงพระศพพระเจ้าเอกทัศน์
หลังจากที่เอาชนะพม่าที่โพธิสามต้นได้อย่างเด็ดขาดแล้ว
ทรงกลับมาฟื้นฟูอยุธยา สิ่งแรกที่ทรงกระทำคือการ ให้เกียรติ
ยกย่องราชตระกูลวงศ์ และข้าราชการ เก่า ซึ่งเคยร่วมทุกข์
ร่วมสุขมาตั้งแต่ครั้งอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตากได้พบ
กับบรรดาพระราชวงศ์ และบรรดาข้าราชการอื่น ๆ ที่ต้อง
ตกระกำลำบากอยู่ใน ค่ายโพธิ์สามต้น พระองค์ทรงรู้สึก
สังเวชพระทัย จึงได้พระราชทานทรัพย์สิน และสิ่งของ
เครื่องใช้แก่พวกขุนนาง ตลอดทั้งพระราชวงศานุวงศ์
หลังจากนั้น พระเจ้าตากได้ตรัสสั่งให้ทำการขุดพระศพ
พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสุกี้พระนายกองฝังไว้
ในพระนคร นำพระศพมาบรรจุพระโกศ ให้ตั้งเครื่องทำ
พระเมรุ หุ้มด้วยผ้าขาว อัญเชิญพระโกศไปตั้งที่ในกระเมรุ
บูชาสักการะพอสมควรแล้ว จึงได้นิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งพอจะ
หาได้ในยามนั้นมาสดับปกรณ์ ทรงถวายไทยทาน ตามสมควร
แล้วจึงจัดให้ทำพิธีถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติตาม
พระราชประเพณี
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความจงรักภักดีต่อเจ้านายอย่าง
ไม่เสื่อมคลายที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ และมิได้ละเลย
โบราณราชประเพณีแต่เก่าก่อน ประกอบด้วยพระกรุณา
ที่เห็นความทุกข์ของคนที่เคยอยู่ด้วยกันมาแต่เก่าก่อน
(อ่านต่อตอนที่ 2 ครับ)

กฤษฎาภินิหารสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์


สืบเนื่องจากไปค้นประวัติวัดเชิงท่า ที่จังหวัดอยุธยา
ซึ่งมีการเร่งบูรณะอยู่ขณะนี้ ก็พบว่าวัดนี้มีประวัติความสำคัญ
ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าตากฯ สมัยเมื่อครั้งพระองค์
ทรงพระเยาว์
และยังไปพบว่าเมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นดช.สินอยู่นั้น เกิดความมหัศจรรย์ขึ้นกับพระองค์ผู้ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้ทรงกอบกู้
อิสรภาพให้กับชาติไทย ตามบันทึก
จากหนังสือเรื่องของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ฉบับพิมพ์
พ.ศ. ๒๔๘๗ หน้า ๑ บันทึกไว้ว่า
วัดโกษาวาสแห่งนี้ (วัดเชิงท่า) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
วัดคลัง มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์มีนามว่า สิน ขณะพระชนมายุได้
๙ พรรษา เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝาก ให้เป็นศิษย์ของ
พระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ให้ศึกษาเล่าเรียน
หนังสือไทย ขอม และคัมภีร์พระไตรปิฎก
เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา วันหนึ่ง นายสินคิดตั้งตน
เป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว จึงได้ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการพนัน
พระอาจารย์ทองดีทราบเรื่องจึงลงโทษทุกคน โดยเฉพาะ
นายสินเจ้ามือถูกลงโทษหนักกว่าคนอื่น
พระอาจารย์ให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้ำเพื่อประจาน
ให้เข็ดหลาบ นายสินถูกมัดแช่น้ำตั้งแต่เวลาพลบค่ำ
พอดีเป็นช่วงเวลาที่น้ำขึ้น พระอาจารย์ทองดีไปสวด
พระพุทธมนต์จนลืมท่าน จนกระทั่งประมาณยามเศษ
เมือพระอาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็น
อันเตวาสิก ช่วยกันจุดไต้ค้นหา ก็พบนายสินอยู่ริมตลิ่ง
ในสภาพที่มือยังผูกมัดติดอยู่กับบันได แต่ตัวบันได
กลับหลุดถอนขึ้นมาอย่างอัศจรรย์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์
ช่วยกันแก้มัดนายสินแล้ว
พระอาจารย์ทองดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถ และ
ให้นั่งลงท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ แล้วให้พระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ด้วยชัยมงคลคาถา
เป็นการรับขวัญ
ต่อมาเมื่อนายสินเรียนจบการศึกษา เจ้าพระยาจักรี
ก็ได้นำไปถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในราช
สำนักสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนอายุได้ ๒๑ ปี
ก็ได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส
และบวชอยู่นานถึง ๓ พรรษา

พบสถานที่บรรจุฉลองพระองค์ของพระเจ้าตากสิน...ที่เมืองจีน


เมื่อ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ พระยาตากสินได้ปราบดาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ประชาชนขนานนามพระองค์ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี จากนั้นจึงได้ทรงปราบปรามก๊กต่างๆที่แตกแยกกันตอนเสียกรุงศรีอยุธยา อันมีก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้านคร และก๊กเจ้าพิมายได้สำเร็จ จึงทรงรวบรวมผืนแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่น และตกทอดมาเป็นมรดกของลูกหลานไทยในปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือวีรบุรุษของชาติไทยที่มีอนุสาวรีย์ และศาลเทพารักษ์ที่อุทิศแด่พระองค์มากมาย พระองค์ทรงเป็นลูกครึ่งไทย-จีน กล่าวคือ มีพระราชบิดาเป็นจีนชื่อไหฮอง มีพระราชมารดาเป็นไทยชื่อนกเอี้ยง และทราบต่อมาว่าจีนไหฮอง มีพื้นเพเดิมอยู่แถบเมืองซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้งเป็นจีนแต้จิ๋ว แซ่แต้ ซึ่ง แท้ที่จริงแล้วพระนามของพระราชบิดาพระเจ้าตากสิน นั้นคือ แต้ย้ง หรือ ต๋า และน่าจะมีบ้านเกิดอยู่ที่หมู่บ้านหัวฟู่ อำเภอเฉิ่งไห่ใกล้ๆกับเมืองซัวเถา ด้วยพบหลักฐานสำคัญที่หมู่บ้านนั้น คือศาลประจำตระกูลแต้ และสุสาน บรรจุฉลองพระองค์ของ พระเจ้าตากสิน ซึ่งสุสานนี้ไม่ใช่สุสานฝังพระศพพระเจ้าตากสิน เป็นประเพณีปฏิบัติในหมู่ชาวจีน หากไม่มีศพก็ให้ฝังเสื้อผ้าแทน


สุสานฉลองพระองค์อยู่ริมคูน้ำที่ล้อมรอบหมู่บ้าน สุสานหันหน้าไปยัง แม่น้ำหันเจียง ตัวสุสานเป็นเนินดินรูปครึ่งวงกลมก่ออิฐล้อมรอบมีบันได ทางขึ้นลดหลั่นเป็นระดับสองชั้น หน้าเนินหลุมดินมีแผ่นหินสลักอักษรจีน สามแถวปักประกาศไว้ เป็นประกาศที่แจ้งว่า สถานที่นี้คือสุสานบรรจุ ฉลองพระองค์พระเจ้าตากสินกษัตริย์สยาม ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจให้เรารำลึก ถึงวีรกรรมของพระองค์ ที่ได้ใช้พระปรีชาสามารถรวมแผ่นดินไทยให้เป็น ปึกแผ่นขึ้นใหม่ นับเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่พวกเราคนไทยไม่ควร ลืมเลือน

ไม่ไกลกันนักที่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของศาลประจำตระกูลแต้ ซึ่งคงเป็นบ้านเดิมของพระราชบิดาแต้ย้ง ตัวศาลเป็นอาคารสามหลัง ชั้นเดียวสร้างติดกันก่อด้วยอิฐ หลังคาทรงเก๋งจีน ศาลแห่งนี้มีประตูเหล็ก โปร่งมีแผ่นหินสลักอักษรจีนค่อนข้างเลือนรางติดข้างประตูใจความว่า เป็นศาลประจำ ตระกูลแต้ สถาปนาในปีที่ ๑๑ แห่งศักราชสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.๒๔๖๕) ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม
สถานที่สำคัญทั้ง ๒ แห่ง ที่หมู่บ้านหัวฟู่นี้ เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ อันมีความหมายต่อชาติไทย และเป็นหน้าที่ของคนไทย ที่จะต้องช่วยกัน ดูแลรักษาให้ดีกว่านี้ และให้คงอยู่สืบไป
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/69764

28 ธันวาคม พ.ศ.2310 วันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี















วันปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2310
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน ( ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน ) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ ( นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้ ) และ นางนกเอี้ยง ( กรมพระเทพามาตย์ ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง ) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า พระยาตากสิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปี

ผลงานอันสร้างชื่อของพระเจ้าตากสิน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราชเริ่มแต่ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ.2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ
นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรูที่มักจะล่วงล้ำเขนแดนเข้ามาซ้ำเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือ

ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน
ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูและสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงครามตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่ม สมุดไทย ในปี พ.ศ.2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่งเป็นอย่างมาก และในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ
นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที

ถวายพระนามมหาราช และการสร้างพระราชอนุสาวรีย์
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม “มหาราช” แด่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



พบสถานที่บรรจุฉลองพระองค์ของพระเจ้าตากสิน...ที่เมืองจีน
เมื่อ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ พระยาตากสินได้ปราบดาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ประชาชนขนานนามพระองค์ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี จากนั้นจึงได้ทรงปราบปรามก๊กต่างๆที่แตกแยกกันตอนเสียกรุงศรีอยุธยา อันมีก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้านคร และก๊กเจ้าพิมายได้สำเร็จ จึงทรงรวบรวมผืนแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่น และตกทอดมาเป็นมรดกของลูกหลานไทยในปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือวีรบุรุษของชาติไทยที่มีอนุสาวรีย์ และศาลเทพารักษ์ที่อุทิศแด่พระองค์มากมาย พระองค์ทรงเป็นลูกครึ่งไทย-จีน กล่าวคือ มีพระราชบิดาเป็นจีนชื่อไหฮอง มีพระราชมารดาเป็นไทยชื่อนกเอี้ยง และทราบต่อมาว่าจีนไหฮอง มีพื้นเพเดิมอยู่แถบเมืองซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้งเป็นจีนแต้จิ๋ว แซ่แต้ ซึ่ง แท้ที่จริงแล้วพระนามของพระราชบิดาพระเจ้าตากสิน นั้นคือ แต้ย้ง หรือ ต๋า และน่าจะมีบ้านเกิดอยู่ที่หมู่บ้านหัวฟู่ อำเภอเฉิ่งไห่ใกล้ๆกับเมืองซัวเถา ด้วยพบหลักฐานสำคัญที่หมู่บ้านนั้น คือศาลประจำตระกูลแต้ และสุสาน บรรจุฉลองพระองค์ของ พระเจ้าตากสิน ซึ่งสุสานนี้ไม่ใช่สุสานฝังพระศพพระเจ้าตากสิน เป็นประเพณีปฏิบัติในหมู่ชาวจีน หากไม่มีศพก็ให้ฝังเสื้อผ้าแทน


สุสานฉลองพระองค์อยู่ริมคูน้ำที่ล้อมรอบหมู่บ้าน สุสานหันหน้าไปยัง แม่น้ำหันเจียง ตัวสุสานเป็นเนินดินรูปครึ่งวงกลมก่ออิฐล้อมรอบมีบันได ทางขึ้นลดหลั่นเป็นระดับสองชั้น หน้าเนินหลุมดินมีแผ่นหินสลักอักษรจีน สามแถวปักประกาศไว้ เป็นประกาศที่แจ้งว่า สถานที่นี้คือสุสานบรรจุ ฉลองพระองค์พระเจ้าตากสินกษัตริย์สยาม ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจให้เรารำลึก ถึงวีรกรรมของพระองค์ ที่ได้ใช้พระปรีชาสามารถรวมแผ่นดินไทยให้เป็น ปึกแผ่นขึ้นใหม่ นับเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่พวกเราคนไทยไม่ควร ลืมเลือน

ไม่ไกลกันนักที่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของศาลประจำตระกูลแต้ ซึ่งคงเป็นบ้านเดิมของพระราชบิดาแต้ย้ง ตัวศาลเป็นอาคารสามหลัง ชั้นเดียวสร้างติดกันก่อด้วยอิฐ หลังคาทรงเก๋งจีน ศาลแห่งนี้มีประตูเหล็ก โปร่งมีแผ่นหินสลักอักษรจีนค่อนข้างเลือนรางติดข้างประตูใจความว่า เป็นศาลประจำ ตระกูลแต้ สถาปนาในปีที่ ๑๑ แห่งศักราชสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.๒๔๖๕) ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม
สถานที่สำคัญทั้ง ๒ แห่ง ที่หมู่บ้านหัวฟู่นี้ เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ อันมีความหมายต่อชาติไทย และเป็นหน้าที่ของคนไทย ที่จะต้องช่วยกัน ดูแลรักษาให้ดีกว่านี้ และให้คงอยู่สืบไป
ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/69764

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงลาจากพุทธภูมิ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๓



โดยพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
"..เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ อาตมาป่วยหนัก ไปนอนพักรักษาตัวที่กรมแพทย์ทหารเรือ (ปัจจุบันโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า) ไปนอนอยู่ที่ตึก ๑ เป็นห้องพิเศษ เวลาประมาณ ๔ ทุ่มเศษๆ ไฟฟ้าในห้องยังไม่ดับและประตูก็ใส่กลอนแล้ว ถึงเวลานอน นอนคนเดียวยังไม่หลับ ปรากฏว่ามีคนๆหนึ่งมายืนอยู่ข้างเตียง เป็นชายลักษณะเป็นคนล่ำๆ ท่าทางแข็งแรงทะมัดทะแมงปราดเปรียวมาก เป็นคนผิวขาว หน้าค่อนข้างจะสี่เหลี่ยมนิดๆ แต่มีเนื้อเต็ม นุ่งกางเกงขาสั้นสีขาวเหนือเข่านิดหนึ่ง ใส่เสื้อแขนสั้นสีขาวเหนือศอกหน่อย
ก่อนที่อาตมาจะเห็นท่านผู้นี้ ก็เพราะขณะที่ไปนอนป่วยอยู่ที่นั่นก็มีความรู้สึกว่า บรรดาผีทั้งหลายอาจจะแกล้งได้ง่าย เนื่องจากกำลังใจของคนป่วยความเข้มแข็งน้อย ก็นึกว่าในที่นี้เป็นเขตพระราชฐานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงขอพึ่งบารมีท่านให้คุ้มครอง พอท่านมายืนก็มองเห็น ไม่ต้องหลับตาไม่ต้องเข้าฌาน ในเมื่อผีจะแสดงตัวให้ปรากฏ แต่ความกลัวไม่มีเพราะเรื่องนี้ชินมาตั้งแต่บวชพรรษาที่ ๑ ก็เลยถามท่านว่า "ท่านเป็นใคร" ท่านผู้นั้นก็ถามว่า "เมื่อกี้ท่านนึกถึงใคร" ก็ตอบท่านว่า "นึกถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
ท่านก็บอกว่า "ผมนี่แหละ พระเจ้าตากสินมหาราช" ก็เลยมองไปมองมา ดูลักษณะการแต่งตัวของท่าน ท่านถามว่า "มองอะไร" ก็บอกว่า "มองดูลักษณะพระเจ้าตากสินมหาราช" ท่านถามว่า "เชื่อหรือยังว่าเป็นพระเจ้าตากสินมหาราช" ตอบว่า "ยังไม่เชื่อ ที่มองนี่เพราะยังไม่เชื่อ" ท่านถามว่า "ไม่เชื่อตรงไหน" ก็บอกว่า "ไม่เชื่อตรงกางเกงกับเสื้อเพราะพระมหากษัตริย์ไม่น่าจะนุ่งแบบนี้" ท่านถามว่า "กษัตริย์ต้องทรงเครื่องกษัตริย์นอนเชียวหรือ นี่มัน ๔ ทุ่มกว่าแล้วนะ" ก็บอกว่า "จะรู้ได้อย่างไรในเมื่อเป็นกษัตริย์ เวลาเป็นผีมาแสดงตนให้ปรากฏก็ต้องใช้เครื่องทรงแบบกษัตริย์" ท่านบอกว่า "ใช้เครื่องทรงกษัตริย์ก็ได้" พอพูดจบเครื่องทรงก็เป็นกษัตริย์ ท่านถามว่า "เชื่อหรือยัง" ตอบว่า "ตอนนี้เชื่อแล้ว"
ต่อมาก็คุยกันตั้งแต่ ๔ ทุ่มเศษๆ ถึงตี ๕ ครึ่ง คุยกันเรื่องในอดีต ความเป็นมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตั้งแต่เป็นเด็กชายสินไว้หางเปีย จนกระทั่งถึงขั้นวางแผนให้รัชกาลที่ ๑ เป็นพระมหากษัตริย์ เป็นการยืนยันว่าพระองค์ไม่ได้ถูกรัชกาลที่ ๑ ประหารชีวิต เมื่อรัชกาลที่ ๑ ขึ้นเถลิงราชสมบัติแล้ว ก็นำสมเด็จพระเจ้าากสินมหาราชท่านบวชเป็นพระแล้วนั่งคานหามไปส่ง ออกทางปากท่อตอนกลางคืนไปส่งที่ถ้ำในจังหวัดนครศรีธรรมราช ลูกชายของท่านมีสองคน คนพี่ให้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชจะได้บำรุงพ่อ คนน้องก็ให้ทุนเป็นพ่อค้าสำเภา เป็นการหาทรัพย์สินเข้าเมือง เป็นการยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก่อนจะสวรรคตเป็นพระสงฆ์ ไม่ได้ถูกฆ่าตาย พระองค์สวรรคตที่นครศรีธรรมราช ถ้ำที่ท่านพักก็ยังอยู่กุฏิหลังนั้นเขาทำเลียนแบบไว้ แต่ความจริงกุฏิที่อยู่จริงๆ ดีกว่านั้น เขาทำให้มีความผาสุกกว่านั้น ออกจากถํ้าท่านก็มีที่พัก มีห้องพักแบบสบายๆ ความจริงท่านไม่ได้สั่งแต่ลูกชายเป็นคนสร้างให้ ท่านอยู่ด้วยความสงบ คนที่เป็นกษัตริย์มาแล้ว เป็นทุกอย่างมาแล้ว มันก็หมดความโลภ ความโกรธ ความหลง และก็เป็นคนแก่ด้วยก็หมดความรัก ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมของท่านก็เป็นไปด้วยความเคร่งครัดแต่ไม่ได้เคร่งเครียด คำว่า "เคร่งครัด" คือ "ปฏิบัติตรงไปตรงมาในมัชฌิมาปฏิปทา"
ก่อนท่านจะลากลับ อาตมาถามว่า "ขอหวยสัก ๒ ตัวได้ไหม" ท่านบอกว่า "สมัยผมมีแต่หวยจับยี่กี หวยแบบเลขท้าย ๓ ตัว ๒ ตัว แบบนี้ไม่มี เรื่องหวยนี่ผมไม่รู้หรอก แต่เวลานี้ผมมีสตางค์ติดกระเป๋ามาเพียงแค่ ๒๕ สตางค์ ผมขอถวายหมด" พูดแล้วท่านก็หยิบเหรียญโยนไปใต้เตียงเห็นเลข ๒๕ ใสแจ๋ว พอตอนเช้าบรรดาพยาบาลและนายทหารประจำตึกมาถามว่า "เมื่อคืนมีอะไรบ้างครับ" ก็เลยเล่าให้ฟังว่าเมื่อคืนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาเยี่ยม ขอหวยท่าน ท่านบอกว่าไม่มี มีแต่เงินเหรียญ ๒๕ สตางค์ แล้วท่านก็โยนไปใต้เตียง ปรากฏว่าภายในวันนั้นข่าวกระจายไปทั่วกรมอู่ ทุกคนเล่นเลขท้าย ๒ ตัว ถูกกันมาก

ต่อมาวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ วันนั้น พ.อ.สถาพร ได้นำดาบเล่มหนึ่งมาจากเมืองตาก เขาบอกว่าเป็นดาบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อมาให้เจ้ากรมการสัตว์ทหารบกที่จังหวัดนครปฐม คืนนั้นก็นำดาบตั้งไว้ในที่มีเครื่องสักการะ พอตอนดึกเวลาประมาณสัก ๖ ทุ่ม เวลาจะนอนก็ทำจิตเป็นสมาธิตามปกติของพระ ก็เห็นภาพสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ สวยงามมากมาที่ดาบ ถามท่านว่า "มาทำไม" ท่านบอกว่า "ก็เขาว่าดาบของผมนี่ครับ ผมก็มาทำให้มันหน่อย" ถามว่า "ทำแล้วจะมีประโยชน์อะไรบ้าง" ท่านก็บอกว่า "ประโยชน์มี"
หลังจากนั้นก็คุยกันถามว่า "เวลานี้ลาจากพุทธภูมิหรือยัง" ท่านบอกว่า "ยังไม่ได้ลา" จึงถามว่า "ตั้งใจจะเป็นพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือ" ท่านบอกว่า "เวลานี้พระโพธิสัตว์ที่มีบารมีเต็มรอคิวกันยาวเหยียด ผมก็อยากจะลาพุทธภูมิเหมือนกัน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถ้าลาแล้วจะมีผลเป็นประการใด" ก็เลยบอกว่า "ถ้าอย่างนั้นไปคุยกับพระกันดีกว่า ไปด้วยกันไหม" ท่านบอกว่า "ไปซิ ที่มานี่ก็จะมาชวนไปหาพระด้วยกัน"
เมื่อไปถึงกราบท่านแล้วก็ถามว่า "เวลานี้เทวดาสินเป็นพระโพธิสัตว์ อยากจะทราบว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่เท่าไร หลังจากพระศรีอารย์ไปแล้ว" พระท่านก็บอกว่า "จะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓๐ หลังพระศรีอารย์นิพพานแล้ว" ก็เล่นเอาเทวดาสินต้องไปนั่งยิ้มที่ชั้นดุสิตอีกถึง ๓๐ พระพุทธเจ้า ก็เลยถามพระท่านว่า "ถ้าเทวดาสินจะลาจากพุทธภูมิ เมื่อไรจะไปนิพพาน" ท่านบอกว่า "เทวดาสินนี่ ถ้าหากลาจากพุทธภูมิเป็นสาวกภูมิ กำลังเต็มมานานแล้ว ก็เหลือแค่ เอหิภิกขุ เท่านั้นก็พอแล้ว ถ้าตรัสว่า เอหิภิกขุ เทวดาสินก็เป็นพระสมบูรณ์แบบ" ท่านก็เลยเข้าไปกราบพระ พระท่านก็บอกว่า "เอหิภิกขุ เจ้าจงเป็นภิกษุมาเถิด" เพียงเท่านี้ เทวดาสินก็กลับสภาพจากเทวดาเป็นวิสุทธิเทพ
นี่เป็นเรื่องของนิมิตลืมตา ไม่ใช่นิมิตหลับตา ไม่ได้เข้าฌานสมาบัติ ถ้าถามว่า "ถ้าไม่เข้าฌานสมาบัติ แล้วรู้ได้อย่างไร" ก็บอกว่า "ท่านแสดงภาพให้รู้ มันก็รู้ด้วยกันทุกคนแหละ ไม่ว่าใคร" คนที่เห็นผีเข้าฌานหรือเปล่า เดินไปแล้วก็ถูกผีหลอก ต้องเข้าฌานหรือเปล่า สภาพนี้ก็เหมือนกัน ผีไม่ได้หลอกแต่ว่าผีมาชวนคุย ผีมาบอกตามความเป็นจริง ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าฌานสมาบัติ..."


จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน

25 ธันวาคม 2560

ฝึกทรงอารมณ์

"..อารมณ์ทรงสมาธิถึงแม้ว่าจะทรงไม่ได้นาน แต่ถ้าทำด้วยความเคารพก็มีผลมหาศาล ตามที่ทราบมาแล้วในเรื่องมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร แต่ถ้ารักษาอารมณ์ได้นานกว่ามีสมาธิดีกว่าจะมีผลมากกว่านั้นมาก การฝึกทรงอารมณ์ให้อยู่นานหรือที่เรียกว่ามีสมาธินานนั้น ในขั้นแรกให้ทำดังนี้
     ให้ท่านภาวนาควบกับรู้ลมหายใจเข้าออกหายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ดังนี้ นับเป็นหนึ่ง นับอย่างนี้สิบครั้งโดยตั้งใจว่า ในขณะที่ภาวนาและรู้ลมเข้าลมออกอย่างนี้ ในระยะสิบครั้งนี้เราจะไม่ยอมให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรก คือไม่ยอมคิดอย่างอื่น จะประคองใจให้อยู่ในคำภาวนาและรู้ลมเข้าลมออก ทำครั้งละสิบ
     เพียงเท่านี้ไม่ช้าสมาธิของท่านจะทรงตัวอยู่อย่างน้อยสิบนาที หรือถึงครึ่งชั่วโมง จะเป็นอารมณ์ที่สงัดมาก อารมณ์จะสบาย จงพยายามทำอย่างนี้เสมอๆ ทางที่ดีทำแบบนี้เมื่อเวลานอนก่อนหลับและตื่นใหม่ๆ จะดีมาก บังคับอารมณ์เพียงสิบเท่านั้น ถ้าใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน จะสามารถทรงอารมณ์เป็นฌานได้เป็นอย่างดี.."
ที่มาจาก โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๑ หน้าที่ ๕

ทำไมต้องเวียนเทียน...? : พระธรรมเทศนาจากหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

: ทำไมต้องเวียนเทียน...? :
พระธรรมเทศนาจากหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
.....ทำไมต้องเวียนเทียน? ในเมื่อตอนเวียนเทียนนั้นมีทั้งธูป มีทั้งเทียน มีทั้งดอกไม้
ทำไมไม่เวียนธูป? ทำไมไม่เวียนดอกไม้? ทำไมต้องเป็นเทียน?
ทำไมต้องเลือกเทียน?





.....ให้สังเกตเห็นดี ๆ ว่าธูปเป็นยังไง? ดอกไม้เป็นยังไง?
สุดท้ายเทียนเป็นยังไง? แล้วเรามาดูว่าทำไมต้องเวียนสามรอบอีก? ตอนนี้ตอบแบบตลก ๆ กันก่อนนะ
.....ขนาดของที่เตรียมยังต้องมีสามอย่างเลยใช่มั๊ย? มีธูป เทียน ดอกไม้ ถ้าเราเวียนรอบเดียวก็เวียนแค่ธูปเหรอ?
ถ้าเราเวียนสองรอบให้แค่ธูปกับเทียนเหรอ?
แล้วดอกไม้ไม่เวียนเหรอ?
ถ้าเราเวียนสามรอบหมายถึง
เราเวียนทั้งธูปทั้งเทียนทั้งดอกไม้ใช่ไหม?
เนี่ยเป็นอย่างเนี้ย เพื่อเป็นเป็นการเวียนทั้งธูปทั้งเทียนทั้งดอกไม้
*** แล้วทำไมต้องมาเวียนเทียน...? ***
เอาคำตอบนี้ให้จบกันก่อน
.....เทียน น่ะ ให้เราลองสังเกตุดูสิ พอจุดแล้วมันสว่างนะ
ถ้าเราบอกว่าเวียนธูป ธูปมีแต่กลิ่น เดินไปเนี่ยลำบากนะ
ก็อย่างที่ปู่เคยบอกใช่ไหมว่าถ้าเราอยู่ในที่มืดมาก ๆ
เราได้แต่กลิ่นอย่างเดียว หากทางเดินมีหนามมีต้นไม้
มีอะไรอยู่ข้างหน้าเราก็จะชนสะเปะสะปะ ถ้าบอกว่าเวียนเทียน
เทียนมันให้แสง เราก็ เดินตามแสงไปเรื่อย ๆ
ไม่มีกลิ่นแต่ก็มีเทียนเป็นแสง
ลำแสงอยู่ตรงนั้นเราเห็นแล้วเราก็เดินตามแสงสบาย ๆ
แสงทำให้เราเห็นทุกอย่าง เราจึงถึงจุดหมายที่เราจะไปถึงได้สบาย ๆ
.....ถ้า เราเวียนดอกไม้ล่ะ? ดอกไม้เวียนแล้วกลิ่นก็จางกว่าธูป
สงสัยเป็นอย่างนี้คนไทยจึงเรียกว่าเวียนเทียนไง เพราะคนสมัยก่อนฉลาดน๊ะ จึงเรียกว่าเวียนเทียนใช่ไหม?
แต่ถ้าพระพุทธเจ้าเป็นคนตั้งก็ต้องบอกเลยว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสัพพัญญูจริง ๆ พระพุทธเจ้าของเรานั้นรู้เท่าทันทุกอย่างเลยเรียกว่าเวียนเทียน ถึงแม้ว่ามีสามอย่างคือธูป เทียน ดอกไม้ แต่เรียกว่าเวียนเทียน
*** ต่อไปทำไมถึงต้องเวียนสามรอบ...? ***
.....จะดูกันแบบให้หายเครียดก็บอกแล้วว่ามีสามอย่าง เวียนแต่เทียนรอบเดียว เดี๋ยวธูปกับดอกไม้น้อยใจ เวียนสองรอบ คือ เวียนธูปและเทียน เดี๋ยวดอกไม้น้อยใจ งั้นเราเวียนให้ครบกันไปเลยสามน๊ะ เวียนธูป เทียน ดอกไม้ แต่จริง ๆ นั้นไม่ใช่นะ
.....ที่จริงแล้วเวียนให้ครบเพราะอะไร? เวียนรอบแรกเรานึกถึงอะไร? เรานึกถึงพุทธคุณใช่ไหม? คือพระคุณของพระพุทธเจ้า
เวลาเราเวียนเทียนนะ ปู่แนะนำน๊ะให้ท่องบทถวายพรพระนะ รอบแรกก็ท่องเลย
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
.....บทนี้เรานึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ที่ไกลจากกิเลสใช่ไหม? แล้วพระองค์ยังทำไมอีก? ท่องไปน่ะ อย่าท่องเวอะ ท่องวะ นะ ท่องแล้วเราต้องรู้ความหมาย เป็นผู้ที่ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองใช่ไหม? พร้อมด้วยวิชาและจรณะ คืออะไร? จรณะก็คือความรู้และความประพฤติไง พระองค์จึงเป็นผู้ที่เสด็จไปดีแล้ว คือไปที่ใดก็ให้ประโยชน์กับที่นั่น แล้วมองย้อนดูตัวเราเองบ้านซิ
เราไปที่ใดเราเคยให้ประโยชน์กับที่นั้นบ้างไหม?
.....หรือไปเราสร้างความเดือดร้อนให้กับเขา? หนูให้ค่ะ ผมให้ครับแต่ผมให้ความเดือดร้อนกับเขานะ ผมไม่ได้ให้ประโยชน์กับเขานะ พวกเราชอบเป็นกันแบบนี้ ตรงกันข้ามกับพระพุทธองค์เพราะฉะนั้นท่องบทนี้บทแรก ก็เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ว่า พระองค์เป็นยังไงก็เดินตามพระองค์กันไป
เพราะพระองค์เป็นผู้รู้โลกได้อย่างแจ่มแจ้ง อย่างแจ่มใสใช่ไหม? เป็นผู้ที่ฝึกบุรุษได้โดยไม่มีใครเหมือนพระองค์
ทรงสอนเทวดาสอนมนุษย์สอนพวกเราหมด เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น
ผู้เบิกบาน อย่างที่พวกเราได้รู้ ๆ กัน นี้แหล่ะคือพระพุทธเจ้า พุทธคุณที่เป็นผู้นำให้กับเรา เป็นครูบาอาจารย์ของเรา
.....เวียนรอบที่สองเรานึกถึงอะไร? ก็นึกถึงพระธรรมคุณสิ
พระธรรมคุณเขาท่องกันยังไงล่ะ?
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
.....เอ้าท่องกันไป แต่ท่องแล้วก็ต้องรู้ความหมายเหมือนกัน
ว่าพระพุทธเจ้าท่านเมตตาแล้วใช่ไหม? แล้วท่านยังมีพระธรรมที่เขียนไว้ เพื่อให้เราได้เห็นธรรมะที่ถูกต้อง บอกแล้วว่าธรรมะคืออะไร? ธรรมะอย่างที่พระพุทธปฐมสอนกันใช่ไหมว่าธรรมะคือ ทอ อำ ทำ ธรรมะหากไม่ทำก็คือตัวหนังสือที่ถูกจารึกไว้บนหนังสือหรือบนใบลานเท่านั้น เพราะฉะนั้นให้เรานึกถึง
พระธรรมด้วยนะ
.....รอบที่สามคืออะไร? ก็คือพระสงฆ์ เราก็ท่องว่า
.....สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
.....ดูสังฆคุณก็คือดูพระสงฆ์ ดูทั้งทางจิตและทางกายใช่มั๊ย? เพราะฉะนั้นตอนที่เราเดินรอบที่สามก็ให้เราคิดว่า เราเป็นพระสงฆ์ผู้ที่นำคนเข้าสู่ประตูพระนิพพาน
.....ถ้าลูกเวียนรอบเดียวได้ไหม?
เวียนรอบเดียวก็เท่ากับว่าลูกนึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ลูกก็ลืมพระคุณพระธรรมและพระคุณของพระอริยสงฆ์
.....ถ้าลูกเวียนสองรอบลูก
ก็ได้รับพระธรรมด้วย รู้ว่าธรรมะคำสอนเป็นยังไง ทบทวน
แต่ลูกรู้แค่สองอย่างก็เหมือนกับอะไร?
ก็เหมือนกับการที่ลูกเรียนรู้หมดทุกอย่าง สัพพัญญูทุกอย่าง
แต่ลูกไม่ปฏิบัติ เพราะฉะนั้น
.....ลูกต้องเวียนรอบที่สามคือลูกต้องเป็นพระสงฆ์ ลูกจะต้องปฏิบัติด้วย คือลูกต้อง ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ แม้ลูกไม่ได้อยู่ด้วยการห่มเหลือง แต่จิตลูกจะต้องผู้ที่ปฏิบัติชอบ จิตมันดี การกระทำของลูกมันก็ดี จิตไม่ดีการกระทำอะไรก็ไม่ดีไม่ได้เรื่องสักอย่างนึง นั่นแหล่ะเวียนเทียน
.....หาก ใครกลัวว่าการที่พาเด็กเล็ก ๆ หรือลูกที่ยังเล็กอยู่ไปเวียนเทียน กลัวเวียนเทียนแล้วธูปจะถูกหลังชนหลัง ก็บอกให้อยู่บ้านไป เวียนที่บ้านไป ก็ไม่ต้องพากันมาเวียนเทียนที่วัด เพราะเดี๋ยวธูปมันจะมาชนหลัง
.....เพราะฉะนั้นการเวียนเทียนนั้นสำคัญเพราะเป็นการรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
หากลูกไม่ได้เวียนเทียนลูกก็นึกถึงคุณพระรัตนตรัยอยู่ที่บ้าน
รำลึกถึงพระองค์ไง นั่นก็เป็นการเวียนเหมือนกัน เวียนระลึกถึงท่านเวียนเทียนอย่างนั้นเหมือนกัน
.....เวียนเทียนไม่จำเป็นต้องไปทำที่วัดกันอย่างเดียวในวันเดียว
แต่ลูกทำกันได้ทุก ๆ วัน ทุก ๆ เวลา คือการเวียนรำลึกถึงพระคุณท่าน คุณพระรัตนตรัย หากลูกเวียนแล้วลูกนึกถึงตลอดเวลาลูกก็จะหลุดพ้นซึ่งการถูกทดลองอย่างแน่นอน
.....ขอลูกทั้งหลายจงจำไว้และเวียนให้เป็นปกติ เวียนให้เป็นนิสัย แค่นี้ลูกก็จะได้ทั้งสามอย่าง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
อยู่ในจิตของลูกแล้ว

ทรงให้พระราหุลพิจารณาธาตุห้า ทำใจเหมือนดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ


พุทธองค์ทรงให้พระราหุล ทำใจเหมือนดินน้ำไฟลม
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสสสอนพระราหุล
ถึงการพิจารณาธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศ โดยแยกออกเป็นส่วน ๆ ตอนท้าย
ได้ตรัสให้พระราหุลทำใจเหมือน ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศ พอสรุปเป็นใจความได้ดังนี้
“๑. ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เหมือนแผ่นดินเถิด
เพราะเมื่อเธอทำจิตให้เหมือนแผ่นดินเป็นประจำอยู่เสมอแล้ว
เมื่อกระทบอารมณ์ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ดี
อารมณ์เหล่านั้นจะไม่สามารถทำให้จิตใจหวั่นไหวได้
ราหุล ! เปรียบเสมือนคนทั้งหลาย ทิ้งสิ่งของที่สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
ถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง บ้วนน้ำลายรดบ้าง เทสิ่งของสกปรกอื่นลงบ้าง
ลงที่แผ่นดิน แต่แผ่นดินจะอึดอัดระอา หรือรังเกียจด้วยสิ่งของนั้น ๆ ก็หาไม่ ฉันใด ?
ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เสมอแผ่นดินฉันนั้นแล
เพราะเมื่อเธอทำจิตให้เหมือนแผ่นดินอยู่
เมื่อมีการกระทบกับอารมณ์เกิดขึ้น
ความรักหรือความชัง ก็จะไม่สามารถครอบงำจิตเธอได้ฉันนั้น
๒. ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เหมือนน้ำเถิด
เมื่อเธอทำจิตให้เหมือนน้ำแล้ว
จะไม่เกิดความชอบหรือความชัง ครอบงำจิตได้
ราหุล ! เปรียบเหมือนคนทั้งหลาย
ล้างของหรือทิ้งของที่สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างลงในน้ำ
น้ำจะอึดอัดระอาหรือรังเกียจด้วยของนั้น ๆ ก็หาไม่ ฉันใด ?
ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เสมอด้วยน้ำฉันนั้นแล
เมื่อกระทบอารมณ์แล้ว
ความชอบและความชัง จะไม่สามารถครอบงำจิตเธอได้ฉันนั้น.
๓. ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เหมือนไฟเถิด
เพราะไฟนั้น เมื่อมีผู้ทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
ทิ้งอุจจาระ ปัสสาวะบ้างฯ
ไฟจะรู้สึกอึดอัดระอาหรือรังเกียจด้วยสิ่งนั้น ๆ ก็หาไม่ ฉันใด ?
ราหุล ! เมื่อเธอทำจิตให้เหมือนด้วยไฟอยู่
การกระทบกับสิ่งที่ชอบและชังก็ย่อมจะไม่ปรุงแต่งให้จิตแปรปรวนได้ ฉันนั้น.
๔. ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เหมือนลมเถิด
เพราะลมนั้นย่อมพัดไปถูกต้องของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง
พัดถูกอุจจาระ ปัสสาวะบ้างฯ
ลมจะรู้สึกอึดอัดระอาหรือรังเกียจต่อสิ่งเหล่านั้นก็หาไม่ ฉันใด ?
ราหุล ! เมื่อเธอทำจิตให้เหมือนด้วยลมอยู่
การกระทบกับสิ่งที่ชอบและชังก็ย่อมจะไมปรุงแต่งให้จิตของเธอแปรปรวนได้ฉันนั้น.
๕. ราหุล ! เธอจงทำจิตให้เหมือนอากาศเถิด
เพราะอากาศนั้นไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ฉันใด ?
ราหุล ! เมื่อเธอทำจิตให้เหมือนด้วยอากาศอยู่ตลอดเวลาแล้ว
เมื่อกระทบกับอารมณ์ย่อมจะไม่เกิดความชอบและความชังขึ้นได้ ฉันนั้น”
(มหาราหุโลวาทสูตร ๑๓/๑๒๖)
พระสูตรนี้ เหมาะกับเป็นหลักคิดของท่านใดบ้าง ?
ผู้ที่มีทิฏฐิ มานะ อัตตา และโทสะจริต น่าจะลองนำเอาคำสอน ในพระสูตรนี้ไปใช้เป็นประจำ
เพื่อลดความโทมนัส น้อยใจหรือขัดเคืองใจ
เมื่อเห็นว่าผู้อื่นล่วงเกินแล้ว ทำให้เกิดความไม่สบายใจ หงุดหงิดหรือรำคาญใจ
แม้ทำไม่ได้เด็ดขาด ตามพระสูตรนี้
ถ้าเราได้หัดทำอยู่เสมอ ๆ
มีสติสัมปชัญญะ ระวังจิต ไม่ปล่อยไปตามอารมณ์ ที่มากระทบ
จิตของเราก็จะสงบ
นั่นก็คือจุดหมายปลายทางของความสุขที่ทุกคนปรารถนา
แม้ได้รับเพียงครั้งคราว ก็นับว่าประเสริฐสุดแล้ว.
.........................................................................
แหล่งข้อมูล
ธรรมจักร
ขอบคุณที่มา
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=26342

เหตุใดจึงต้องตั้ง นโม ก่อนถวายทานและรับศีล

องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ได้เมตตาอรรถาธิบายแสดงธรรม เรื่อง "นโม" อย่างลึกซึ้งว่า..
"...เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดีจึงต้องตั้ง นโม ก่อนจะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็น สิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏว่า น คือธาตุน้ำ โม คือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า
มาตาเปตฺติกสมฺภโว  โอทนกุมฺมาสปจฺจโย
สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมา เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้
"น" เป็นธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า "กลละ" คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ "นโม" นั้น
เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว "กลละ" ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น "อัมพุชะ" คือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น "ฆนะ" คือ แท่งและ เปสี คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ  แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑
ส่วนธาตุ "พ" คือ ลม "ธ" คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก กลละ นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นดั้งเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย "น" มารดา "โม" บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง
ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า "ปุพพาจารย์" เป็นผู้สอนก่อนใคร ๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้กล่าวคือ รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย
เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่
เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยา น้อมไหว้ลงภายหลัง นโม ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปล ต้นกิริยาไม่
มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ
นโม เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้นยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว "น" มาใส่ตัว "ม" เอา สระโอจากตัว "ม" มาใส่ตัว "น" แล้วกลับตัวมะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้

มโน คือ ใจ นี้เป็นดั้งเดิมเป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า
มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา
ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ
พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้น
เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก นโม แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น
สมบัติทั้งหลาย ในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด..."
เทศนาธรรมคำสอน..
องค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต
- จากหนังสือชีวประวัติและปฏิปทาของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

การปรามาสพระอริยเจ้าหรือผู้ทรงศีล ก็ตกนรกเหมือนกัน

ปรามาสพระอริยเจ้า
ผู้ถาม เรื่องพระอริยเจ้าก็มีอยู่นิดคือว่า การปรามาสพระอริยเจ้าด้วยเจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม โมโหด้วยความตั้งใจก็ตาม อยากเรียนถามว่า จะมีกรรมมากไหมครับ?
หลวงพ่อ ก็ลงนรกด้วย เจตนาก็ตาม ไม่เจตนาก็ตาม ลงเหมือนกัน
ผู้ถาม ไม่ต้องสอบสวนหรือครับ?
หลวงพ่อ ไม่ต้องสอบ... สบาย ก็ไม่ยาก ก็ไปขอขมาต่อพระพุทธเจ้าเสียซิ ถ้าไม่พบพระพุทธเจ้าก็พระพุทธรูป
ผู้ถาม ต้องไปพบพระพุทธรูปที่วัดท่าซุง หรือว่า
หลวงพ่อ ไม่จำเป็น...ที่บ้านก็ได้ ให้นึกว่าท่านคือพระพุทธเจ้า เพราะพระอริยเจ้านี่ ขอขมาโดยตรงตัวไม่มีผล อย่างสมมุติยกทรงเป็น “โสดาตาบัน” ใช่ไหม
ผู้ถาม เดี๋ยว ๆ ครับ ตามศัพท์พระไตรปิฎกเขาเรียก “โสดาบัน” ครับ
หลวงพ่อ ได้นี่มันหนักแน่ “โสดาตะบัน” นี่ขั้นเอกพิชีนะ เพราะตะบันจนกรทั่งแน่นปั๋งไม่คลายตัว สมมุติว่า ยกทรงเป็นพระโสดาบัน เขาไปด่าไปว่าเข้านินทาเข้าก็บาป ใช่ไหม...ไปขอโทษโดยตรงกับยกทรงนี่ไม่มีผล ต้องขอโทษโดยตรงกับพระพุทธเจ้า เพราะว่าความเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่เกิดจากยกทรงเกิดจากพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์
ผู้ถาม แล้วอย่างพระโสดาบันที่บวชเป็นพระ กับโสดาบันที่เป็นฆราวาส ถ้าเราปรามาสโทษจะเป็นอย่างไรครับ?
หลวงพ่อ ครือกัน
ผู้ถาม เพราะฉะนั้นพวกเราจำไว้นะ ฆราวาสที่เป็นพระอริยะมีเยอะแยะ
หลวงพ่อ เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน พระโสดาบันไปตันแค่ศีล ๑.เคารพพระพุทธเจ้า ๒.เคารพพระธรรม ๓.เคารพพระอริยสงฆ์ ๔.มีศีล ๕ บริสุทธิ์ องค์พระโสดาบันมีแค่นี้
ผู้ถาม อุ้ยตายแล้ว หลวงพ่อนี่เทศน์ไม่เหมือนกับโทรทัศน์เดี๋ยวนี้ยังออกอากาศปาว ๆ อยู่นะครับ ว่าพระโสดาบัน ๑.สักกายทิฏฐิ ต้องตัดขันธ์ ๕ โดยเด็ดขาด
หลวงพ่อ เอาเลื่อยที่ไหนมาตัด เดี๋ยวก่อน ... พระโสดาบันถ้าตัดขันธ์ ๕ เด็ดขาด ลองคิดดู นางวิสาขา ท่านเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ปี ขันธ์ ๕ นะคนเดียวนะ พออายุ ๑๖ ได้อีก ๕ ขันธ์...มีผัว ต่อไปก็ลูกชาย ๑๐ คน มีผู้หญิง ๑๐ คน ลูกทั้งหมด ๒๐ คน ตัดหรือไม่ตัด ตัดหรือต่อ ... พระโสดาบันกับสกิทาคามี สองอยางยังแต่งานได้ ไม่แต่งานก็อนาคามีขึ้นไปเท่านั้นเอง ไอ้เทศน์อย่างนั้น ท่านเทศน์ถูกของท่าน แต่ไม่ถูกตามพระไตรปิฎก
ผู้ถาม อย่างนี้ฆราวาส ที่จะเป็นพระโสดาบัน แค่ศีล ๕ ก็
หลวงพ่อ แค่นั้นแหละ เขาเรีย “สัตตักขัตตุง”
ผู้ถาม อย่างนี้เป็นฆราวาสก็ดีกว่าเป็นพระซิครับ?
หลวงพ่อ โอ้ย ดีกว่าเยอะ...ความจริงแล้วฆราวาสถ้าพูดตามส่วน เขาได้เปรียบกว่าพระมาก ๑.เจี๊ยะไม่เลือกเวลา ประการที่ ๒ เข้าวิกได้
ผู้ถาม หลวงพ่อรู้ด้วยหรือครับ?
หลวงพ่อ อ้าว...เคยเป็นฆราวาสมาก่อนนี่ ประการที่ ๓ มีผัวมีเมียได้ ประการที่ ๔ หลับตื่นสายได้ พระตื่นสายไม่ได้ใช่ไหม...เช้ามืดต้องทำวัตรสวดมนต์ ต้องเจริญกรรมฐาน ถ้าพลาดหน่อยเดียวพระลงนรก สมมุติว่ามีปลาหนึ่งตัวนะ พระมีปลาหนึ่งตัว ฆราวาสมีปลา ๑๐๐ ตัว ตัวขนาดเดียวกัน พระฆ่าปลาหนึ่งตัว ฆราวาสฆ่าปลา ๑๐๐ ตัว พระโทษมากกว่า ก็เพราะว่าทรงศีลเป็นบุคคลที่ชาวบ้านเขาต้องบูชา นี่ละบาปมาก พระไม่ใช่เรื่องเล็กนะ
ผู้ถาม โอ้ย ไม่บวชดีกว่า
หลวงพ่อ ใช่...ยกทรงก็เคยเสียท่ามา ๑๘ ปีแล้วซิ


พระพุทธรูปองค์ใหญ่และวัดที่สมเด็จโตสร้าง

พระพุทธรูปองค์ใหญ่และวัดที่สมเด็จโตสร้าง
ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
พรหมรังษี ได้เข้าเฝ้าฯ เพื่อขอพระราชทานพระบรม
ราชานุญาตใช้ที่ดินในเขตอำเภอไชโย แขวงอ่างทอง
เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๘ ว่า ๗ นิ้ว
สูง ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนประทับนั่ง ปางมารวิชัย
ถวายพระนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ และสร้างวัดไว้ ณ ที่นั้น
เพื่อเป็นการรำลึกถึงถิ่นกำเนิดของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ
(โยมบิดาและโยมมารดาพบกัน)
โดยตั้งชื่อวัดนี้ว่า วัดเกศไชโย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม
ราชานุญาตประทับตราแผ่นดินและตราพระราชบัญญัติ
วิสุงคามสีมา ถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เพื่อสร้าง
วัดเกตุไชโย อุทิศกุศลแก่โยมบิดา และสนองพระคุณ
โยมมารดาที่ทุกข์ทรมานอุ้มครรภ์และคลอด ตลอดจน
กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูสั่งสอน สอนเดิน ณ ตำบลแห่งนี้
ช่วงปลายชีวิตของท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ท่านเดินทาง
ไปหลายแห่งทั่วประเทศ และสร้างอนุสรณ์ไว้ เช่น
๑. พระพุทธรูปนอนใหญ่ที่วัดสะตือ ต. ท่าหลวง อ. ท่าเรือ
จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน
องค์พระยาว ๑ เส้น ๖ วา สูง ๘ วา ฐานยาว ๑ เส้น ๑๐ วา
กว้าง ๔ วา ๒ ศอก สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓
๒. พระพุทธรูปนั่งที่วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา เป็นพระก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย
หน้าตักกว้าง ๔ วา ๓ ศอก
๓. พระพุทธรูปที่วัดกลาง ต. คลองข่อย อ.โพธาราม
จ.ราชบุรี เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ทำด้วยอิฐถือปูน
สูง ๖ วาเศษ เล่ากันว่า สถานที่แห่งนี้เดิมเป็นป่ารกชัฏ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้เอาเงินตราเก่า ๆ มีค่าโปรย
เข้าไปในป่า ชาวบ้านย่านนั้นร่วมกันถางป่าจนราบเรียบ
เตียนโล่ง เพื่อหาเงินดังกล่าว จึงสามารถสร้างพระพุทธรูป
ยืนองค์นี้ได้ ต่อมาได้กลายเป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดในที่สุด
๔. เจดีย์วัดละครทำ ที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
ฝั่งธนบุรี เป็นเจดีย์นอน ๒ องค์ หันฐานเข้าหากัน ห่างกัน
ประมาณ ๒ ศอก ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก องค์ด้านใต้
ถูกรื้อทำลายไปนานแล้ว องค์ด้านเหนือก็แทบจะไม่เป็น
รูปร่างเสียแล้ว เนื่องจากถูกคนขุดค้นหากรุพระสมเด็จ
๕. รูปปั้นแทนโยมตาและโยมแม่ สร้างกุฏิ ๒ หลัง อยู่ด้าน
ทิศใต้ของวัดอินทรวิหาร ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง
ขนาดเท่ากัน กว้าง ๑ วา ยาววาครึ่ง ปั้นรูปแทนโยมตา
เป็นรูปพระสงฆ์นั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว อยู่กุฏิ
หลังซ้าย ส่วนแทนโยมมารดาปั้นเป็นรูปภิกษุนั่งขัดสมาธิ
หน้าตักกว้าง ๒๓ นิ้ว ประดิษฐานอยู่กุฏิหลังขวา
๖. หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ที่ตำบลบางขุนพรหม
กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูง ๑๖ วาเศษ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างได้ประมาณ ๙ วาเศษ ท่านก็ถึง
แก่มรณภาพเสียก่อน ต่อมาหลวงปู่แดงได้ก่อสร้างเพิ่มเติม
จนเสร็จสมบูรณ์

"บารมี" โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง


คำว่า "บารมี" :
โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

........ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับวันนี้ก็จะขอเริ่มต้นเรื่อง บารมี ๓๐ ทัศ เพื่อเป็นการสนองความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะว่าคำว่า บารมี บรรดาท่านทั้งหลายส่วนใหญ่มักจะมีความหนักใจกัน เมื่อเราพูดกันถึงว่าการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน หรือปฏิบัติเพื่อความดีในด้านของพระพุทธศาสนา อาตมาได้ยินมาเป็นปกติ ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยทั่วหน้ามักจะกล่าวกันว่า บารมียังไม่ถึงบ้าง บารมียังอ่อนอยู่บ้าง หรือ ยังไม่มีบารมีเพื่อจะปฏิบัติบ้าง
........การที่บรรดาท่านพุทธบริษัทปรารภอย่างนี้ อาตมาก็เห็นใจ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าอาตมาเข้าใจดีในคำว่า บารมี เดิมทีเดียวอาตมาเองก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับบรรดาท่านพุทธบริษัท คิดว่าคนที่จะปฏิบัติเอาดีในศาสนา ขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเข้าถึงความดีสูงสุดได้ต้องมีบารมีมาเต็มแล้ว ตามที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาก็ทรงตรัสแบบนั้น
........ทีนี้คำว่า บารมี นี่เราไม่เข้าใจกัน นี่อาตมาไม่พูดถึงว่า บรรดาพุทธบริษัทไม่เข้าใจ พูดว่าอาตมาเองน่ะมีความไม่เข้าใจเรื่องบารมีมาก่อน แล้วก็บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาจจะมีความดีกว่าอาตมามาก คือว่าท่านทั้งหลายอาจจะรู้จักคำว่าบารมีจริง ๆ มาก่อนก็ได้ แต่ว่าเรื่องนี้อาตมาขอยอมประกาศตรงๆ แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ยอมรับว่าอาตมาโง่เรื่องบารมีมามาก แล้วก็โง่มานาน อายุใกล้จะ ๖๐ ปี แล้วจึงได้รู้จักคำว่า บารมี
........ความจริงการปฏิบัติในด้านบารมีอาตมาทำถูก ทั้งนี้ก็ต้องขอประทานโทษ อย่าถือว่าเป็นการยกย่องตัวเองเกินไป ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น คือทำมาแบบชนิดที่เรียกว่าบังเอิญถ่ายอุจจาระตรงร่อง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการทำไป ไม่รู้หรอกว่าบารมีแปลว่าอะไร
........ตามที่ศึกษากันมา บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาตมาเคยเรียนภาษาบาลี ครูท่านก็สอนว่า บารมี แปลว่า เต็ม และ ปรมัง แปลว่า อย่างยิ่ง ก็คือเต็มไม่บกพร่อง ทีนี้เราก็เข้าใจกันว่าเต็ม เต็มกันอยู่เสมอ เลยไม่ทราบว่าบารมีเต็มตรงไหน อาตมาเป็นทั้งนักเรียน เป็นทั้งครู เป็นทั้งนักเทศน์ ก็สอนผิดเทศน์ผิดเข้าใจผิดมาตั้งแต่เป็นนักศึกษา ทั้งนี้อาตมาไม่โทษครูบาอาจารย์ เห็นจะเป็นเพราะว่าอาตมาเลวเกินไป ที่ไม่ได้สนใจไต่ถามครูบาอาจารย์ให้เข้าใจว่า บารมีหมายความว่าอะไร
........อาตมาทราบเอาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ ปีนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมามาอยู่ที่ วัดจันทาราม หรือ วัดท่าซุง นี้แล้ว ก่อนหน้านั้นนิดหนึ่ง อาตมาอยู่กระต๊อบโคนต้นโพธิ์เพราะว่าที่วัดนี้ไม่มีอะไรเป็นหลักเป็นฐาน มีกุฏิโกรงเกรง ๆ อยู่ ๓ หลัง สองหลังที่รื้อไปก็ใช้การอะไรไม่ได้ ฝาก็โปร่งหลังคาก็ผุ พื้นก็ผุ รอดก็ไม่ดี ก็รื้อออกไป ยังเก็บไว้แต่เฉพาะกุฏิที่ท่านเจ้าอาวาสอยู่หลังเดียว คือมีสภาพแข็งแรง ศาลาก็โย้เย้ โบสถ์ก็ร้าว วิหารก็พัง หอสวดมนต์ใช้การไม่ได้ เมื่อท่านเจ้าอาวาสนิมนต์มา ก็ต้องไปปลูกกระต๊อบอยู่โคนต้นโพธิ์
........ปีที่มานั้นเป็นวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ย้ายมาจาก วัดสะพาน โดยการอาราธนาของทางเจ้าอาวาสคือ พระครูสังฆรักษ์ (อรุณ อรุโณ) ได้จัดขบวนแห่ไปรับถึงวัด ไปกันเป็นร้อย ๆ คน ไม่ใช่คนสองคน
........ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ปลายปี ท่านพลอากาศตรี หม่อมราชวงศ์เสริม สุขสวัสดิ์ พร้อมด้วยคณะของท่าน ทอดกฐินเป็นปีที่ ๒ คือปีแรกท่าน พลอากาศตรี พะเนียง กานตรัตน์ สมัยนั้นมียศขณะนั้น เวลานี้เป็นพลอากาศเอกแล้วได้มาทอดกฐินถวายโดยการสนับสนุนของ นาวาอากาศเอก อาทร โรจนวิภาต (ปัจจุบันยศพลอากาศเอก) เป็นผู้ติดต่อให้เพราะบวชอยู่ด้วย หลังจากนั้นจึงได้สร้างกุฏิขึ้นมาใหม่เป็นตัวตึก ๒ ชั้น พร้อมด้วยศาลาการเปรียญและวิหาร สำหรับเอาพระที่เห็นควรแก่การบูชาประดิษฐานไว้ที่นั้น
........ปีนั้นพอสร้างเสร็จก็ปรากฏว่าน้ำท่วม ต้องหนีขึ้นชั้นบน ชั้นล่างท่วมหมด ไปดูที่กุฏิเก่า (กระต๊อบที่อยู่) น้ำแค่คอ นี่เป็นบุญแท้ ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท การสร้างกุฏิกับศาลาคราวนี้ มีทุนเดิมอยู่สามพันกับเจ็ดสิบห้าบาทเท่านั้น แต่ต้องใช้เงินทั้งหมดประมาณห้าแสนเศษ แต่ที่ผ่านไปได้ด้วยดีก็เพราะอาศัยบรรดาท่านพุทธบริษัทที่มีความเคารพในศาสนา ขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ช่วยกันสงเคราะห์ ซึ่งมีท่านพลอากาศตรี หม่อมราชวงศ์เสริม สุขสวัสดิ์ และ คุณเฉิดศรี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ผู้เป็นภรรยา เป็นหัวหน้าในการชักชวนพวกเพื่อนทั้งหลายมาร่วมบำเพ็ญกุศล จึงได้อาศัยกุฏิหลังนั้นสอนบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนเนื่องในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
........ก่อนจะเข้าถึงเรื่องบารมีกัน ก็มาเล่าเรื่องเบื้องต้นกันเสียก่อน เพื่อความเข้าใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท
........มีคืนวันหนึ่งน้ำท่วมขึ้นมาแล้ว แต่ว่าท่วมไม่มาก ยังไม่ถึงพื้น ขณะนั้นอาตมามีร่างกายไม่ดี ความจริงอาตมานี่ป่วยไข้ไม่สบายมาตลอดชีวิต ร่างกายไม่ปกติกับเขา เพราะเป็นคนสร้างความชั่วไว้ในอดีตมาก คือในชาติที่เป็นอดีตอาตมาสร้างปาณาติบาตไว้มากบรรดาท่านพุทธบริษัท กรรมเก่าเขาก็ตามสนอง อาการความไข้มันเครียดหนัก แต่อาตมาก็ไม่แสดงออกทางกาย เว้นไว้แต่บางครั้งที่ลุกไม่ไหว บรรดาประชาชนทั้งหลายจึงจะทราบว่าป่วยมาก ทั้งนี้เพราะอะไร ไม่ใช่มายาบรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมามีความอดทน ทนต่อกฎของกรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีต ถือว่าเป็นการชำระหนี้ความชั่วไป มันจะเบียดเบียนร่างกายเพียงใดก็ช่างมัน เพราะองค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ว่า
"ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
ร่างกายเป็นบ้านเช่าชั่วคราวเท่านั้น"
........นี่กระแสพระพุทธดำรัสขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังก้องอยู่ในโสตประสาทของอาตมาอยู่ตลอดเวลา
........ปรากฏว่าในคืนวันนั้น บรรดาท่านพุทธบริษัทซึ่งมาขอเรียนพระกรรมฐาน มากันครบถ้วน ถึงเวลาใกล้ ๒๐.๐๐ น. อาตมาก็ขึ้นธรรมาสน์ หวังจะสงเคราะห์บรรดาท่านพุทธบริษัทด้วยบทสอนพระกรรมฐานตามที่มีความรู้ ความจริงความรู้ในด้านนี้ของอาตมาเห็นจะน้อย ยาวไม่แค่หางอึ่ง แต่ถึงอย่างไรก็ดี ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทมีความปรารถนา อาตมาก็สงเคราะห์เท่าที่จะรู้ เท่าที่จะทำได้ อะไรก็ตามถ้าทำไม่ได้สิ่งนั้นไม่สอน เพราะทราบดีว่าถึงสอนก็ผิด
........ทีนี้วันนั้น เมื่อขึ้นไปบนธรรมาสน์แล้ว ก่อนที่จะให้ศีล ได้นำบรรดาท่านพุทธบริษัททำวัตรสวดมนต์ ก็ปรากฏว่าเจ้าร่างกายทรชนที่มันเป็นศัตรูใหญ่ของอาตมา ที่อาตมากล่าวว่าร่างกายนี้มันเป็นศัตรูกับอาตมาก็เพราะว่ามันไม่ดีสักคราว ไม่ว่าวันไหนบรรดาท่านพุทธบริษัท จำได้มาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี ร่างกายของอาตมานี้มันไม่เคยปกติ มันให้โทษอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งอาตมาเบื่อหน่ายมันเต็มทีแล้ว จึงได้เชื่อองค์สมเด็จประทีปแก้วว่า ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา อาตมาไม่สนใจมันนัก มันจะดีจะชั่ว มันจะทรงตัว มันจะพัง ก็ช่างหัวมัน ไม่คำนึงถึงมันอีก เพราะเจ้าศัตรูนี่ถ้าขืนคบไว้ก็สร้างแต่ความลำบากกายลำบากใจให้ปรากฏ
........ก่อนที่จะนำบรรดาท่านพุทธบริษัทนมัสการองค์สมเด็จพระบรมสุคต เจ้าร่างกายจอมร้ายมันก็แสดงอาการออก คืออาเจียนอย่างหนัก (นี่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓) การอาเจียนไม่ยับยั้งผ่านไปประมาณ ๒ กระโถน รู้สึกหน้ามืด ใจสั่น กายหวิว เกือบจะทรงตัวไม่ไหว ขณะนั้นปรากฏว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มานั่งอยู่ด้วย ต่างก็พากันรายงานบอกว่า ถ้าร่างกายไม่ดีก็นิมนต์หลวงพ่อลงจากธรรมาสน์ ไม่ต้องสอน เขาจะทำกันเอง แต่อาตมาก็คิดในใจว่า ถ้ายิ่งร่างกายไม่ดีแล้ว อาตมาก็จะคุมกำลังใจให้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่แน่ใจว่าการขึ้นมานั่งบนธรรมมาสน์คราวนี้จะเดินลงไปเองหรือว่าจะให้ชาวบ้านเขาอุ้มลงไป เพราะว่ากำลังใจมันสิ้นลมปราณลงไปเสียก่อน
........ในฐานะที่อาตมาประกาศตนเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินวร จึงบอกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทว่า ท่านไม่ต้องห่วง ถ้าอาตมายิ่งจะตายในขณะนี้ด้วย เรื่องการเจริญพระกรรมฐานจะให้งดนี้ไม่ได้แน่นอน เพราะยิ่งป่วยยิ่งเร่งรัดให้มาก เพราะเบื่อเจ้าร่างกายที่มีความอกตัญญูไม่รู้จักคุณที่เราขุนอยู่ตลอดเวลา อยากจะกินอะไรก็หาให้ ต้องการอะไรก็หาให้ แต่มันไม่เคยตามใจเรา ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้พูดเพราะเจ็บใจร่างกาย แต่เจ็บใจใจของตัวเองที่ไปคบกิเลสเข้าไว้
........วันนั้นเมื่อเสร็จจากการอาเจียน บ้วนปาก ทรงกำลังใจดีแล้ว เห็นว่าร่างกายไม่รวน ก็นำบรรดาท่านพุทธบริษัททำวัตรสวดมนต์ สมาทานพระกรรมฐาน แล้วก็มานั่งพิจารณาตัวเองว่า เวลานี้ใจมันหวิวเกือบจะขาดใจ เสียงที่กล่าวออกไปก็ไม่ค่อยจะออก หน้ามืด มองคนข้างล่างดำไปหมด จำไม่ได้ว่าเป็นใคร แต่ก็ควบคุมกำลังใจ ทรงสติสัมปชัญญะตามสมควร คิดว่าวันนี้บางทีเราจะไม่ได้ลงเอง จะต้องถูกหามลง เพราะว่าสิ้นลมปราณเสียบนธรรมาสน์ จึงได้ตัดสินใจว่า วันนี้ต้องสอนบรรดาท่านพุทธบริษัทเรียกว่าเอากันเฉือนขั้นสุดท้ายกันเลย เรียกว่าทิ้งทวนหรือว่าทิ้งไพ่ใบสุดท้าย และพุ่งทวนเล่มสุดท้ายที่มีอยู่ นั่นก็คือคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมครูที่เรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ
........วันนั้นสอนบารมี ๑๐ ทัศ แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายจะมีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจเพียงใด อาตมาก็ไม่ทราบ เพราะสอนไม่ค่อยตรงเป้าหมาย เมื่อสอนเสร็จเวลาผ่านไปก็ดับไฟ สั่งให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพากันเจริญพระกรรมฐานทรงสติสัมปชัญญะ คือว่าตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้คำภาวนาหรือพิจารณาตามอัธยาศัย เพราะการภาวนาก็ดีพิจารณาก็ดีนี่ อาตมาไม่ขัดใจใคร ใครเคยทำแบบไหนคล่องมาแล้ว ให้ทำอย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เพราะอะไร...?
........เพราะว่าการภาวนาหรือพิจารณาที่ทำมาแล้ว ถ้าไม่ผิดก็ไม่ควรจะเปลี่ยน เพราะแบบปฏิบัติมีมากด้วยกัน ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้จึงจะถูก ทำอย่างไรก็ตาม ถ้าปรารภจิตเป็นสมาธิระงับจากนิวรณ์ หรือปรารภจิตเป็นปฏิปักษ์ขันธ์ ๕ ใช้ได้หมด ถ้าตรงกับแนวคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตแล้ว อาตมาไม่ปฏิเสธการปฏิบัติของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน
........เมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทเริ่มปฏิบัติ อาตมาก็คิดในใจว่าร่างกายไม่ดีแบบนี้เราจะทนมันอยู่ทำไม ไปเสียจากร่างกายดีกว่า ปล่อยให้มันนั่งอยู่ตรงนี้ พอสัญญาณบอกเวลาปรากฏเราจึงจะกลับมา ฉะนั้นจึงได้ไปเสียจากกาย ไปไหว้พระ จะไปแบบไหนอันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมาไม่บอก บอกไม่ได้ ไปอย่างไร ไปโดยวิธีไหน อยากจะรู้ก็ปฏิบัติกันเอาเอง แต่ความจริงมันก็ไม่ใช่ของดีของเด่นอะไรนัก การไปได้ มาได้ ถ้าใจเหลิงเกินไปก็ยังลงนรกได้ ไม่ใช่ของพิเศษ เมื่อออกไปแล้วก็พบองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์
........นี่ขวางกับชาวบ้านเขาแล้ว เขาบอกว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว จะพบกันได้ยังไง นั่นมันเรื่องของเขาบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย นี่มันเรื่องของอาตมา อาตมาพบกันได้ก็แล้วกัน เมื่อพบแล้วก็เข้าไปนมัสการองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว พอเงยหน้าขึ้นมาพระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า
"สัมพเกษี วันนี้เธอสอนบารมี ๑๐ ทัศใช่ไหม ...?"
ก็กราบทูลพระองค์ว่า "ใช่พระพุทธเจ้าข้า"
พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า
"สัมพเกษี บารมีแปลว่าอะไร...?"
ตอนนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายขอได้โปรดทราบว่า ถ้าอาตมาสอนถูกพระองค์จะไม่ทรงตรัสแบบนั้น อาตมารู้ทันรู้เท่าเข้าใจทันทีว่า การสอนวันนี้ผิดพุทธพจน์บทพระบาลี
........นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทการสอนนี้ไม่ใช่ว่ามันจะถูกเสมอไป มันก็ผิดได้เหมือนกัน เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรมีพระพุทธฎีกาตรัสถามแบบนั้นอาตมาก็ทราบ จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่แน่ใจนักพระพุทธเจ้าข้า แต่ที่เรียนกันมา ครูสอนว่าบารมีแปลว่าเต็ม"
........พระองค์จึงทรงตรัสถามว่า "อะไรมันเต็ม และมันเต็มแบบไหน สมมุติว่าเธอจะปฏิบัติในทานบารมี ทำยังไงทานบารมีมันถึงจะเต็ม ถ้าหากว่าจะนำของมาให้เต็มโลก เธอจะไปขนมาจากไหน ถ้าเราจะไม่นำของมาให้ ทำยังไงทานบารมีมันจึงจะเต็ม...?"
........แบบนี้มันก็อยู่ด้วยกันทั้งนั้นแหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าคนอย่างอาตมา ถ้าหากว่าท่านที่เป็นนักปราชญ์ดีกว่าอาตมาก็ไม่เป็นไร ท่านไปได้ เพราะท่านมีความเข้าใจ ท่านมีความฉลาด อาตมาบอกแล้วนี่ว่าอาตมามีความรู้ไม่เท่าหางอึ่ง คือยาวไม่เท่าหางอึ่งหรือไม่แค่หางอึ่งเพราะความโง่มันมาก
เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสแบบนั้นก็ทูลถามพระองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจในบารมีพระพุทธเจ้าข้า"
........พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "สัมพเกษี เธอเข้าใจ ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่ว่าเธอดีแต่เฉพาะบริโภคเองเท่านั้น แต่การที่จะแบ่งปันให้บุคคลอื่นน่ะ เธอไม่มีความฉลาด การที่เธอตั้งกำลังใจในด้านบารมี ๑๐ ทัศ เป็น ๓๐ ทัศ ด้วยกัน ๓ ชั้น เธอทำได้ แต่ว่าวันนี้เธอสอนบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เธอทำไม่ถูก เธอจงมีความเข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่าบารมีนี้มันแปลว่าเต็ม แต่อะไรมันเต็มตถาคตจะบอกให้ว่า บารมีนี่ควรจะแปลว่ากำลังใจเต็ม"
........นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จำไว้ให้ดีว่า คำว่าบารมีก็คือกำลังใจ ทำกำลังใจให้เต็ม ตอนนี้ซิชักจะฉลาดขึ้นมาทันที มานึกในใจว่าเรานี่มันแสนจะโง่เสียมาก
กำลังใจเต็มตอนไหนบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านก็ทรงให้ทวนเรื่องบารมี ๑๐ ทัศ ว่ามีอะไรบ้าง อาตมาก็ถวายคำตอบแก่พระองค์ว่า
๑. ทานบารมี
๒. ศีลบารมี
๓. เนกขัมมบารมี
๔. ปัญญาบารมี
๕. วิริยบารมี
๖. ขันติบารมี
๗. สัจจบารมี
๘. อธิษฐานบารมี
๙. เมตตาบารมี
๑๐. อุเบกขาบารมี
........องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สัมพเกษี ถูกแล้ว บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ไม่มีอะไรบกพร่อง คือ
๑. จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
๒. จิตพร้อมในการทรงศีล นี่ซิบรรดาพุทธบริษัท พร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ ไม่ใช่ปล่อยให้ศีลมันหล่นไป
๓. จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะก็แปลว่าการถือบวช บวชผมยาว บวชผมสั้น บวชโกนหัว ไม่โกนหัว ได้ทั้งนั้น
๔. จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารอุปาทานให้พินาศไป
๕. วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
๖. ขันติ มีทั้งอดทั้งทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
๗. สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง ไม่มีอะไรในคำว่าไม่จริงสำหรับใจเรา ในด้านของการทำความดี
๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
๙. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดีไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
๑๐. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว
อย่างที่เธอเป็นวันนี้ อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า "ช่างมัน" ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี
........นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า วันนี้ยังไม่สอนอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัท เรามาคุยกันในคำว่า บารมี ทั้งหลายได้ทราบชัดว่า บารมีที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ให้เราสร้างให้มันเต็มนั้น ก็คือสร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งคิด เราจะมานอนคิด เราจะมาทรงจิตว่า เอ๊...บารมีของเรามันไม่มีนี่ ชาติก่อนบารมีของเรามันไม่พอ บารมีของเรายังไม่เต็ม เราจะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ยังไงได้
........ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย มีความเข้าใจตามนี้ พอยังจะรู้รึยังว่า เราสามารถจะสร้างบารมีได้ด้วยอาศัยกำลังใจ ความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัทมี กำลังใจอย่างเดียวเท่านั้นที่เราจะทำให้มันดีหรือไม่ดี อันนี้ก็ตรงกับพระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในเรื่อง พระจักขุบาล ว่า...
"มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา"
ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ นี่ความจริงเรื่องนี้ก็เรียนกันมาแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่เวลาปฏิบัติจริง ๆ มันทำไมถึงลืมก็ไม่ทราบ
........เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคงจะเข้าใจคำว่า บารมี แล้วอย่าลืม บารมีแปลว่าเต็ม แต่ส่วนที่เราจะทำให้เต็มนั้นก็คือกำลังใจ ให้กำลังใจมันพร้อม พร้อมที่จะทรงความดีในด้านบารมีไว้ ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย
ที่นำบารมีทั้ง ๑๐ ประการมากล่าวในตอนนี้ก็เพราะว่า ในตอนต้นพูดเรื่องพระโสดาบันเข้าไว้ เห็นว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาจจะคิดว่า แหม...มันยากเกินไป ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบันมันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์
ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ
ศีล เราก็ตัดความโกรธ
เนกขัมมะ ตัดอารมณ์ของกามคุณ
ปัญญา ตัดความโง่
วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
ขันติ ตัดความไม่รู้จักการอดทน
สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์บริบูรณ์
เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเราไม่ปรารภ
........เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทสมบูรณ์เพียงใด คำว่า พระโสดาบันนั้นบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะรู้สึกว่าง่ายเกินไปสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท
........ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนที่มีบารมีเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ มีกำลังใจเต็มทุกอย่างใน ๑๐ ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เรียกว่าพระโสดาบัน แล้วท่านเรียกว่าอะไร ท่านเรียกว่า "พระขีณาสพ" แปลว่า ผู้มี
อาสวะอันสิ้นไปแล้ว หรือเรียกว่า "พระอรหัตผล" เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาอันดับสูงสุดเข้าถึงซึ่ง
พระนิพพาน ได้
เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี
: หมายเหตุ คำว่า "สัมพเกษี" หมายถึงชื่อเดิมขององค์หลวงพ่อท่าน ในสมัยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระพรหม ก่อนที่จะจุติลงมาเกิดเป็นองค์หลวงพ่อฤาษี

จาก...หนังสือ บารมี ๑๐

อริยสัจ 4 และมรรคแปด

ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ห่างไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาค ทรงตรัส...